สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลาวโซ่ง ไทยโซ่ง ผู้ลาว โซ่ง ไตดำ,ดนตรี,พิธีเสนเรือน,เพชรบุรี
Author อัมรินทร์ แรงเพ็ชร
Title วงปี่ไม้แมน : ดนตรีในพิธีเสนของชาวลาวโซ่ง ในอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทดำ ลาวโซ่ง ไทยโซ่ง ไทยทรงดำ ไทดำ ไตดำ โซ่ง, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 106 Year 2545
Source หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract

วงปี่ไม้แมน เป็นดนตรีใช้บรรเลงประกอบพิธีเสน ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเป่าเท่านั้น ในขณะที่บรรเลงมีการขับบทสวดของหมอมดควบคู่ไปด้วย วงปี่ไม้แมนถูกใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารกับผีในพิธีเสน พิธีดังกล่าวมีบทบาทหน้าที่ในการตอบสนองความต้องการพื้นฐานทางด้านความมั่นคงทางจิตใจ เป็นเครื่องมือในการปลูกฝังจริยธรรม ทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและระดับสังคม เป็นสัญลักษณ์ในการแสดงชนชั้นทางสังคม ก่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคมโซ่งภายใต้การนับถือผีเดียวกัน ปัจจุบันพิธีเสนและวงปี่ไม้แมนเริ่มลดบทบาทลง เนื่องจากการรับเอาวัฒนธรรมและค่านิยมแบบสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันมากขึ้น ประกอบกับวงปี่ไม้แมนเป็นดนตรีสำหรับประกอบพิธีกรรมเท่านั้น ในเวลาปกติจะนำมาใช้มิได้ นักดนตรีต้องมีสถานภาพพิเศษคือ "หมอมด" ดังนั้น จึงเป็นข้อจำกัดของการสืบทอด ภาวะการณ์ดังกล่าวอาจทำให้วงปี่ไม้แมนสูญหายไปจากสังคมของลาวโซ่งได้ในอนาคต

Focus

ศึกษาองค์ประกอบทางดนตรีและบทบาทหน้าที่ของวงปี่ไม้แมนที่มีต่อพิธีเสนและต่อสังคมของลาวโซ่งในอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ลาวโซ่ง

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

พ.ศ.2545

History of the Group and Community

โซ่งถูกกวาดต้อนเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. 2322 ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จากประวัติการอพยพของลาวโซ่งที่มีการจดบันทึกได้กล่าวถึงการเดินทางเข้าสูประเทศไทยหลายครั้ง แต่ละครั้งจะถูกเกณฑ์ให้มาอยู่ที่เพชรบุรีแทบทุกครั้ง โดยครั้งแรกทางการได้จัดให้อยู่ที่อำเภอบ้านแหลมซึ่งเป็นพื้นที่ติดทะเล แต่เนื่องจากลาวโซ่งไม่ชอบภูมิประเทศแถบนี้จึงได้ขอย้ายมาอยู่ที่อำเภอเขาย้อยเพราะภูมิประเทศมีป่าไม้และภูเขามากคล้ายกับบ้านของตนที่อพยพมา โดยมากอาศัยอยู่ในพื้นที่ 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลเขาย้อย ตำบลทับคาง ตำบลหนองปรง และตำบลห้วยท่าช้าง ซึ่งเป็นลาวโซ่งกลุ่มดั้งเดิมที่อพยพเข้ามาเป็นรุ่นแรก ๆ เหตุที่ทางการจัดให้ลาวโซ่งอยู่ที่อำเภอเขาย้อยจังหวัดเพชรบุรี เนื่องจากลาวโซ่งที่อพยพมาแต่ละครั้งอยู่ในฐานะเชลยสงครามต้องอยู่ภายใต้การดูแลของทางการไทย ประกอบกับอำเภอเขาย้อยเป็นพื้นที่ที่อยู่ไม่ใกล้จนอาจเป็นอันตรายกับพระนครหากเกิดการก่อกบฏและไม่ไกลจากพระนครมากจนทางการไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง (หน้า 22-24)

Settlement Pattern

เรือนลาวโซ่ง สร้างด้วยวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น ผังเรือนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เสาเรือนทำด้วยไม้เนื้อแข็งทั้งต้น ลำต้นตรงและมีง่ามที่ปลายลำไม้ สำหรับรองรับรอดซึ่งนิยมทำจากไม้ตาล โครงสร้างส่วนอื่นทำด้วยไม้ไผ่ ผูกมัดด้วยหวาย หลังคามีลักษณะโค้งคลุมต่ำ คล้ายกระโจมมุงด้วยหญ้าคาหรือแฝก พื้นบ้านและฝาทำด้วยฟาก ยกใต้ถุนสูงคล้ายบ้านทรงไทย (หน้า 24)

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ลาวโซ่งส่วนใหญ่ในตำบลเขาย้อย ตำบลทับคาง ตำบลหนองปรงและตำบลห้วยท่าช้าง อำเภอเขาย้อย โดยมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ ทำสวนผลไม้ต่างๆ เช่น ชมพู่ มะม่วงและไร่มะขามหวาน นอกจากนี้ยังมีอาชีพเลี้ยงสัตว์ เช่น เป็ด หมู ไก่ ปลาและเลี้ยงไหม (หน้า 26)

Social Organization

ในอดีตสังคมลาวโซ่งจะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันและทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างสมาชิกในสังคม (หน้า 27)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ลาวโซ่งมีความเชื่อเรื่องการนับถือผีมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบันโดยจัดลำดับและหน้าที่ของผีแต่ละประเภทไว้ชัดเจน นอกจากนั้น ยังมีความเชื่อเรื่องขวัญ ความเชื่อเรื่องโชคลาง คาถาอาคมต่าง ๆ แต่ความเชื่อที่เป็นโครงสร้างหลักทางสังคมของลาวโซ่งคือความเชื่อในเรื่องผีและขวัญ (หน้า 28) ผีบรรพบุรุษ ซึ่งเรียกว่า "ผีเฮือน" หรือ "ผีเรือน" ถือเป็นผีที่มีความสำคัญและใกล้ชิดมากที่สุด เชื่อว่าบรรพบุรุษผู้ล่วงลับจะมาปกป้องลูกหลานให้มีความสุขได้ ถ้าผู้ตายอยู่ดีมีความสุข ญาติพี่น้องในโลกมนุษย์ก็มีความสุขด้วย ความเชื่อนี้มีลักษณะที่เรียกว่า "ลัทธิบูชาบรรพบุรุษ" พิธีเสน คือพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการไหว้ผีต่าง ๆ โดยมีหมอเสนเป็นผู้ประกอบพิธีกรรม พิธีเสนที่เกี่ยวกับผีบรรพบุรุษ ได้แก่ "พิธีเสนเรือน" จัดขึ้นเพื่อไหว้ผีบรรพบุรุษเพื่อบรรพบุรุษที่ตายแล้วอยู่อย่างสุขสบายและไม่อดอยาก "พิธีเสนเชิญผีขึ้นบ้าน" เป็นพิธีอัญเชิญผีบรรพบุรุษของตนขึ้นมาอยู่บนเรือนเพื่อความเป็นสิริมงคล "พิธีเสนปาดตง" เป็นการปฏิบัติเพื่อระลึกถึงพ่อแม่และบรรพบุรุษที่ล่วงลับ "พิธีเสนกวัดกว้าย" เป็นพิธีขับไล่สิ่งชั่วร้ายหลังจากมีพิธีศพ เพื่อให้คนในบ้านอยู่อย่างมีความสุข "พิธีเสนฆ่าเกือด" เป็นพิธีเสนฆ่าแม่เดิมของเด็กแรกเกิดซึ่งเป็นผีที่คอยติดตามมาด้วย พิธีเสนเกี่ยวกับผีมด (ผีมด คือบุคคลที่เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่มีวิชาอาคม) ได้แก่ "พิธีเสนรับมด" เป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่อรับผีมด เนื่องจากผีมดมาขออยู่อาศัย "พิธีเสนตั้งบั้ง" หน่อ เป็นการเสนเพื่อไหว้ผีมดเหมือนกับการไหว้ครูของดนตรีไทย "เสนเรียกขวัญหรือการเสนตัว" เป็นการตามขวัญให้มาอยู่กับตัวและเพื่อต่ออายุสำหรับผู้สูงอายุที่อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป

Education and Socialization

อำเภอเขาย้อย มีโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ 18 โรงเรียน จำแนกเป็นโรงเรียนขยายโอกาสถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามแผนพัฒนาการศึกษา 5 โรงเรียนและมีโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา 3 โรงเรียน นอกจากนี้ ยังมีศูนย์พัฒนาเด็กก่อนเกณฑ์ของกรมพัฒนาชุมชน 8 แห่ง และมีโรงเรียนเพื่อฝึกอาชีพให้กับชาวบ้าน ลาวโซ่งรุ่นใหม่เมื่อจบในระดับมัธยมศึกษาแล้วโดยมากจะนิยมต่อระดับอุดมศึกษา (หน้า 27)

Health and Medicine

อำเภอเขาย้อย มีโรงพยาบาล 1 แห่ง ศูนย์อนามัยซึ่งตั้งอยู่ตามตำบลต่าง ๆ 8 แห่งและคลินิกของเอกชนอีก 3 แห่ง (หน้า 27)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

วงปี่ไม้แมน แบ่งออกเป็น 2 วงได้แก่วงเล็กและวงใหญ่ วงปี่ไม้แมนวงใหญ่ ประกอบด้วยผู้บรรเลงทั้งหมด 7 คนใช้ผู้บรรเลงปี่ใหญ่ 2 คนต่อปี่ใหญ่หนึ่งเล่มมีลักษณะพิเศษกว่าปี่อื่นคือต้องมีคนเป่า 1 คนและคนขยับนิ้วปิดเปิดอีก 1 คน มีปี่เล็ก 2 เล่ม ใช้คนเป่า 1 เล่มต่อคน อีกคนคือ "หมอเก็บข้าว" ทำหน้าที่เก็บข้าวเสี่ยงทาย ส่วนอีก 2 คนคอยเปลี่ยนกับหมอปี่ในกรณีที่ทำพิธีนาน วงปี่ไม้แมนวงเล็ก ประกอบด้วยผู้เล่น 4 คน มีปี่ใหญ่ 1 เล่ม ปี่เล็ก 1 เล่มและหมอเก็บข้าว ใช้ในกรณีที่ทำพิธีไม่นานนัก (หน้า 52)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ปัจจุบันเรือนของลาวโซ่งในอำเภอเขาย้อยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก หลายครอบครัวได้รื้อเรือนแบบเดิมออกแล้วสร้างบ้านแบบคนเมืองขึ้นแทน เนื่องด้วยข้อจำกัดด้านต่าง ๆ (หน้า 25)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

- วงปี่ไม้แมน(53) - ปี่ใหญ่(55),การจับและวิธีการเป่าปี่ใหญ่(56),ปี่น้อย(58) - การจับและวิธีการเป่าปี่น้อย(59) - ภาพเปรียบเทียบขนาดของปี่น้อยและปี่ใหญ่(60) - ตารางแสดงระดับเสียงของปี่ใหญ่(วัดระดับเสียงจากปี่ของนายแอ เจือจาน)(61) - ตารางแสดงระดับเสียงของปี่น้อย(วัดระดับเสียงจากปี่ของนายแอ เจือจาน)(62) - กะล่อห่อง(ห้องผี),เครื่องเซ่น(93) - ปานเสน,บุงข้าวม้า ถ้วยข้าวรวงและอุปกรณ์ของหมอมด(94) - บายศรีและหลักมั่นหลักยืน,การจับหลักมั่นหลักยืน(95) - การเดินข้ามสะพานเพื่อไปจับหลักมั่นหลักยืน,การแห่นำกล้วยไปปลูกตอนเช้ามืด(96) - การปลูกกล้วยโดยลูกหลานของผู้เสน,การตัดขอบเล่ง(97) - การจับหลักมั่นหลักยืน,คนเฒ่าคนแก่ลาวโซ่งที่มาร่วมงาน(98) - หมอมดกำลังท่องคาถาเพื่อรับเครื่องเซ่น,ผู้ช่วยหมอมดกำลังขัยแทนหมอมด(99) - หมอมดกำลังทำพิธี,เครื่องเซ่นผี(100) - ไก่นำขวัญที่เตรียมไว้เพื่อปล่อยในตอนเช้า(101)

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 10 เม.ย 2556
TAG ลาวโซ่ง ไทยโซ่ง ผู้ลาว โซ่ง ไตดำ, ดนตรี, พิธีเสนเรือน, เพชรบุรี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง