สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ญ้อ ย้อ ญ่อ โย้,ไทญ้อ,วิถีชีวิต,สระแก้ว
Author ศิริกมล สายสร้อย
Title วิถีชีวิตของชาวไทญ้อในอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ญ้อ ไทญ้อ, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 40 Year 2541
Source ศูนย์วัฒนธรรมอำเภออรัญประเทศ
Abstract

ผู้วิจัยได้ศึกษาวิถีชีวิตของไทญ้อ ตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ศึกษาข้อมูลทั้งจากทางเอกสาร และออกภาคสนามเก็บข้อมูล ไทญ้อ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ไท-ลาว อพยพมาจากเวียงจันทร์และท่าอุเทน เข้ามาอยู่ในประเทศกัมพูชา มีปัญหาเรื่องดินแดนจึงอพยพมาอยู่ตามแนวชายแดนไทย วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อและรูปแบบการดำรงชีวิต คล้ายกับไท-ลาวทั่วไป ต่างกันที่สำเนียงในการออกเสียง พูดภาษาญ้อ ไม่มีภาษาเขียน เป็นครอบครัวขยาย มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ประกอบอาชีพเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์และทอผ้า เพื่อยังชีพ ยกเว้นพืชไร่ แต่งกายตามกาลเทศะ โอกาส เพศและวัย ทานข้าวเจ้าเป็นหลัก นับถือศาสนาพุทธแต่ยังมีพิธีกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการไหว้ผี ปัจจุบันสร้างบ้านแบบครึ่งตึกครึ่งไม้ มุงด้วยหลังคากระเบื้อง มีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทันสมัยมากขึ้น มีการวางแผนครอบครัวทำให้ขนาดของครอบครัวเล็กลง ในตำบลคลองน้ำใสมี 5 โรงเรียน เด็ก ๆ เรียนต่อในระดับมัธยมมากขึ้น มีสถานีสาธารณสุขตำบล ระบบน้ำประปาและน้ำบาดาลใช้แทนน้ำจากคลอง

Focus

เน้นศึกษาถึงประวัติความเป็นมา วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ ศาสนาศิลปวัฒนธรรม เพื่อศึกษาเปรียบเทียบวัฒนธรรมดั้งเดิมกับวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลง ไปของไทญ้อ ในอำเภออรัญประเทศ จัวหวัดสระแก้ว (หน้า 2)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ตระกูลไท-ลาว อพยพมาจากริมแม่น้ำโขง เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ทางด้านตะวันออก เป็นกลุ่มชนรุ่นแรกที่เข้ามาอยู่ในอำเภออรัญประเทศ และเป็นบรรพบุรุษของชาวอรัญประเทศ (คำนำ ก, หน้า 37)

Language and Linguistic Affiliations

ไทญ้อ ตำบลคลองน้ำใส มีภาษาพูด เรียกว่า "ภาษาญ้อ" คล้ายกับภาษาลาวทั่วไป จะแตกต่างด้านการออกเสียง คือ มีเสียงแหลมและการทอดเสียงมากกว่าและไม่มีภาษาเขียน (หน้า 15, 20)

Study Period (Data Collection)

ผู้วิจัยได้ศึกษาไทญ้อ ตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ใช้ระยะเวลาในการศึกษาประมาณ 1 ปี โดยนคว้าข้อมูลเอกสารทางประวัติศาสตร์ การสัมภาษณ์ สำรวจ สังเกตการณ์ มีทั้งการบันทึกภาพและเสียง (หน้า 3-4, 36)

History of the Group and Community

ไทญ้อถูกรุกรานจึงอพยพจากเวียงจันทร์ ลงมาตามลำน้ำโขง บางส่วนจะตั้งรกรากตามริมแม่น้ำโขง ก่อนที่จะมาตั้งถิ่นฐานที่ตำบลห้วยน้ำใส เดิมเคยอยู่ที่ประเทศ กัมพูชา บ้านดงอรัญ บ้านกูบใหญ่ และ บ้านกูบน้อยหลายปี เมื่อฝรั่งเศสเข้าปกครอง ประเทศกัมพูชา ได้ปักเขตแดนกัมพูชา ไทญ้อ จึงได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในเขตประเทศไทยและตั้งชื่อว่า "บ้านห้วยใส" สมัยต่อมาผู้ใหญ่บ้าน นายสิบจำปา พลอยมาลี ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "บ้านคลองน้ำใส" ปี 2518-2521 เกิดสงครามในประเทศกัมพูชา ทำให้ไทญ้อที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนเดือดร้อน จึงอพยพเข้าไปอยู่ในบริเวณเขาน้อยชมพู แต่ก็ยังเรียกว่า "บ้านคลองน้ำใส" เหมือนเดิม (หน้า 6-11,14)

Settlement Pattern

ในหมู่บ้านคลองน้ำใส จะตั้งบ้านอยู่กันเป็นกลุ่มๆ และไม่อยู่ห่างจากถิ่น (หน้า 18) เดิมปลูกบ้านด้วยไม้ หลังคามุงด้วยหญ้าแฝก ปัจจุบันเป็นหลังคากระเบื้องหรือสังกะสี ก่อนจะอพยพมาอยู่ที่ใหม่นี้ เดิมปลูกบ้านทรงไทยเดิม ใต้ถุนสูง หลังคาโปร่ง ปัจจุบันหลังคาไม่สูงมากนัก มี 2 ห้องนอนคือ ห้องเปิง เป็นห้องเล็ก ๆ มีหิ้งบูชาผีบรรพบุรุษ ไม่มีคนอยู่ ห้ามไม่ให้เขยหรือสะใภ้เข้าไปเด็ดขาด อีกห้องหนึ่งเป็นของผู้หญิง อาจจะเป็นลูกสาว เอาไว้เก็บของ แต่งตัวและนอน ผู้ชายจะอาศัยอยู่บริเวณที่กว้างรอบห้อง ครัวจะยกพื้นต่ำลงมาจากตัวบ้าน เวลาทานอาหารจะยกมาทานบนเรือน เรือนของไทญ้อ ตำบลคลองน้ำใส จะเปิดโล่ง ส่วนใหญ่ไม่มีประตูปิด จะมีเฉพาะห้องเท่านั้น (หน้า 22)

Demography

ชุมชนไทญ้อ ตำบลคลองใส ส่วนมากเป็นไทญ้อ อาจจะมีคนไทย และไทยลาวอาศัยอยู่ด้วยประมาณร้อยละ 10 แต่จะใช้ชีวิตแบบไทญ้อ คนเหล่านี้มาโดยการแต่งงานกับคนในหมู่บ้าน ปัจจุบันตำบลคลองน้ำใสมี 12 หมู่บ้าน รวม 4,597 คน (หน้า 15, ดูแผนที่สังเขป อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว หน้า 13,16)

Economy

อาชีพหลักคือ ทำนา ปลูกในพื้นที่ลุ่ม ส่วนมากจะปลูกเพื่อการยังชีพ ส่วนพืชไร่จะปลูกในที่ดอน มีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อหรือจะลงทุนให้ในรูปของปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ และเงิน แล้วเก็บเป็นผลผลิต เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย ถั่วลิสง และฝ้าย พืชสวนครัวจะปลูกเพื่อยังชีพหรือแลกเปลี่ยนกันในละแวกบ้าน เช่น ต้นหอม ผักชี สะระแหน่ พริก ฯลฯ การทำสวนจะปลูกบริเวณรอบๆ บ้าน นิยมปลูกไม้ยืนต้น ที่บริโภคได้ เช่น มะม่วง มะพร้าว ขนุน อาจมีกอไผ่ และกระถินริมรั้ว การเลี้ยงสัตว์ โดยจะเลี้ยงไว้ใช้งาน เช่น วัว และควายใช้ไถนา ปัจจุบันใช้งานน้อยมาก และเลี้ยงไว้เป็นอาหาร เช่น เป็ด ไก่ เป็นพันธุ์พื้นเมือง ให้หาอาหารเอง บางครั้งจะเอาหยวกสับผสมกับรำให้บ้าง และยังมีการทอผ้า ทั้งเส้นใยจากไหมและฝ้าย มีการถ่ายทอดสู่ลูกหลานที่เป็นผู้หญิง นิยมทอผ้าฝ้ายไว้ใช้ภายในบ้าน สมัยสงครามพวกกัมพูชาได้ทำลายเครื่องมือในการทอผ้าเสียหาย (หน้า 18-19)

Social Organization

ครอบครัวไทญ้อ เป็นสังคมชนบท นิยมมีผัวเดียวเมียเดียว สามีเป็นผู้นำครอบครัวมีลักษณะเป็นครอบครัวขนาดใหญ่หรือขยาย ผู้เฒ่าผู้แก่จะมีบทบาทมากในการเลือกคู่ครองของฝ่ายหญิง เพราะหลังจากแต่งงานแล้ว ฝ่ายชายต้องไปอยู่ในบ้านฝ่ายหญิง รับใช้ผู้ใหญ่ทางฝ่ายหญิง จนมีลูก 1-2 คน จึงแยกเรือนได้ ถ้าฝ่ายชายถูกใจพ่อตา แม่ยายก็จะให้ปลูกเรือนใกล้กัน และช่วยเหลือเรื่องเงินทองและแรงงาน ถ้าเกเรต้องหาที่ไกลๆ พี่น้องกันจะปลูกบ้านในบริเวณเดียวกัน เรือนดั้งเดิมจะเป็นของลูกที่แต่งงานช้าที่สุดหรือลูกคนเล็ก เพราะต้องเลี้ยงดูพ่อแม่ นับถือผู้เฒ่าผู้แก่และจะคอยอบรมลูกหลาน ถ่ายทอดประสบการณ์และการประกอบอาชีพให้ สมาชิกในหมู่บ้านมีความสัมพันธ์กันดีให้ความช่วยเหลือกัน เช่น มีการลงแขกในการเกษตรกรรม (หน้า 17-18, 38)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ไทญ้อมีความเชื่อและศรัทธาในพระพุทธศาสนาแต่ยังคงนับถือผี อาจเรียกได้ว่าพุทธแบบผี จะมีการสร้างวัดในทุกที่ที่ได้อพยพไปอยู่ พระสงฆ์ได้รับการเคารพจากชาวบ้านมาก และจะมีการจัดสรรกันว่าในแต่ละบ้านจะมีหน้าที่นำอาหารมาถวายพระ และวัดยังเป็นที่พบปะสังสรรค์ด้วย ผีที่นับถือได้แก่ - ผีประจำหมู่บ้าน : มีการตั้งศาลเรียกว่า ศาลนักตา หรือ หอนักตา ไทญ้อ ตำบลคลองน้ำใสมีศาลนักตา 3 หลัง คือ ผีเจ้านายที่เคยปกครองไทญ้อมาก่อน ศาลของพระครูจันทร์กับเจ้าพ่อเขาน้อยสีชมพู และศาลของผีป่าผีเจ้าที่ ศาลจะตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก หันหน้าไปทางทิศตะวันตก อยู่ในป่าห่างจากหมู่บ้าน และเชื่อว่าเป็นป่าศักดิ์สิทธิ์ ห้ามตัดไม้และล่าสัตว์เด็ดขาด จะมีการเซ่นไหว้ปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกในอาทิตย์แรกของเดือน 6 ย่างเข้าสู่ฤดูทำนา เพื่อบนบานให้ได้ผลผลิตดี ครั้งที่สอง เดือน 12 เพื่อเป็นการแก้สิ่งที่บนไว้ในเดือน 6 "กวนหอ" หรือ "เจ้ากวน" จะประกาศวันประกอบพิธีเซ่นไหว้ 7 หรือ 10 วัน และเก็บเงินจากชาวบ้านเพื่อไปจัดหาเครื่องมาเซ่นไหว้ ก่อนวันงานมีการทำความสะอาด ตัดหญ้า ร่วมประกอบพิธีที่บ้านกวนหอ ซึ่งมาจากคนที่ชาวบ้านเห็นว่าเหมาะสม ไม่มีการสืบทอดจากพ่อสู่ลูก ส่วนมากเป็นผู้ชายสูงอายุ และจะต้องนำดอกไม้ ธูปเทียนไปบูชาศาลนักตาทุกวันพระ - ผีบรรพบุรุษ : ไทญ้อจะมีห้องเล็ก ๆ เรียกว่า ห้องเปิง ในทุกหลังคาเรือน ภายในห้องจะมีหิ้งบูชาบรรพบุรุษ จะบูชาทุกวันขึ้น 15 ค่ำ 8 ค่ำ ด้วยพานใส่ดอกไม้ ถ้าต้องการให้ช่วยเหลือหรือมีการเปลี่ยนแปลงภายในบ้านต้องจุดธูปบอก เชื่อว่าบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วจะคุ้มครองดูแล ถ้าลูกหลานทำผิดก็จะลงโทษ - ผีเทวดาหรือผีฟ้า : เป็นผีของเทพชั้นสูงที่ต้องการช่วยเหลือมนุษย์โดยผ่านร่างทรงส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง จะมีประเพณีเลี้ยงผีเทวดาในเดือน 4 ของทุกปี - ย่าซอม : เป็นดวงวิญญาณหรือผีของสตรีเขมร มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของไทญ้อ ที่อยู่บริเวณชายแดน ไทย เขมร ลาว มาก บางหมู่บ้านมีการตั้งศาลย่าซอม ไทญ้อจะมีประเพณีปฏิบัติตั้งแต่เกิดจนตาย ได้แก่ - ประเพณีการเกิด : เมื่อเด็กคลอด ตัดสายสะดือ ทำความสะอาดแล้ว นำเด็กนอนคว่ำบนกระด้งที่คว่ำอยู่ ให้แม่ฮับซึ่งเป็นยายของเด็ก หรือ ญาติผู้สูงอายุ อุ้มกระด้งแล้วพูดว่า "นกเค้าฮ้อง กุ๊กกู กุ๊กกู ถ้าแม่นลูกสูให้มาเอาไปซะมื้อนี้ ถ้ากลายมื้อนี้แล้วให้เป็นลูกกู" 3 รอบ แล้ววางลงพื้น ตบมือให้เสียงดัง ถ้าเด็กตกใจแสดงว่าเลี้ยงง่าย ถ้านอนนิ่งจะเลี้ยงยาก แล้วนำไปวางข้างแม่ แล้วแม่จะทำการอยู่กรรมหรือการปกหม้อไฟ โดยพ่อจะขุดดินเป็นรางยาว 3 ศอก กว้าง 2 ศอก ลึก 1 ศอก หาไม้มาสุมเป็นถ่าน ยกแคร่ขึ้นคร่อม ห่างจากพื้นดิน 1-2 ศอก นำใบไม้มาปู ให้หญิงที่คลอดลูกมานอน ถ้าร้อนเกินไปก็เอาน้ำมาสาด จะต้องอยู่กรรมไม่น้อยกว่า 10 วันหรือเป็นเดือนแล้วแต่ความพร้อมของแม่ แล้วแม่ต้องกินข้าวกับเกลือหรือปลาเค็มเท่านั้น เมื่อออกกรรม จะมีพิธีสู่ขวัญแม่และลูก โดยนำข้าวสวย ไข่ต้มและตีนไก่ใส่ในบายศรี หมอขวัญทำพิธีฮ้องขวัญ แล้วผูกแขนให้แม่และลูก มีการเสี่ยงทายใช้ไข่แทนตัวเด็ก ถ้าปอกไข่แล้วมีรอยบุ๋มแสดงว่าเด็กเลี้ยงยาก เจ็บป่วย ต้องทำพิธีแก้ ใช้ตีนไก่แทนตัวแม่ ถ้าต้มแล้วนิ้วเท้าไก่มารวมกันจะดี - พิธีกรรมเกี่ยวกับการตัดแม่ซื้อ แม่หา : คือ ผีที่คอยคุ้มครองดูแลเด็ก เด็กบางคนอาจไม่ถูกกับแม่ซื้อแม่หา ทำให้เจ็บป่วยบ่อย เลี้ยงยาก ต้องทำพิธีตัดแม่ซื้อแม่หา โดยนำด้ายโยงจากตัวเด็กมาที่กระทง หมอขวัญจะฮ้องขวัญ แล้วจุดไฟเผาด้ายให้เหลือความยาวแค่พอผูกข้อมือเด็กแล้วใส่ในกระทง ให้พ่อเด็กนำกระทงไปทิ้งในป่าทิศตะวันตก พิธีนี้ถ้าทำในวัยหนุ่มสาว เรียกว่า "แกล้งบ่าว แกล้งสาว" - ประเพณีการแต่งงาน : เมื่อทำการสู่ขอแล้ว ญาติฝ่ายหญิงจะเอาดอกไม้ ธูป เทียน ขึ้นหิ้ง จุดธูปบอกผีปู่ผีย่า ขันหมากใช้ขันใส่ดอกไม้ ธูปเทียน ไม่มีผ้าหุ้ม บางครั้งไม่ต้องใช้ขันแค่ใช้ผ้าขาวมน ในขบวนขันหมากจะมี กล้วยและอ้อย ใช้เป็นปล้อง เงินสินสอด ทอง แล้วแต่ตกลงกันข้าวต้มมัด 1 มัด แก้ออกจากกัน เมื่อเจ้าบ่าวมาถึงบ้านเจ้าสาว ต้องขึ้นเหยียบบนหินลับมีดมีใบตองปิดไว้ที่หน้าบันได ญาติผู้น้องฝ่ายเจ้าสาวจะล้างเท้าให้เจ้าบ่าว ก่อนขึ้นเรือนต้องจ่ายเงินค่าขวางทาง เจ้าสาวจะนั่งรออยู่ในห้องแล้ว ทั้งสองคนจะนั่งที่หน้าบายศรี มีกรวย ไข่ต้ม 2 ฟอง และเทียนที่ฟั่นเองยาวรอบศรีษะและยาวจากคอหอยถึงสะดือเจ้าบ่าวเจ้าสาวคนละเล่ม ใช้จุดตอนฮ้องขวัญ ก่อนพิธีหมอขวัญจะนำไข่ต้มมาใส่ฝ่ามือ เพื่อทำนาย ถ้าไม่ดีจะแก้เคล็ดหลังแต่งงานโดยการอาบน้ำมนต์หรือทำพิธีเสียเคราะห์ ฮ้องขวัญแล้วจะทำพิธีผูกข้อมือ ให้เงินสินสอดกัน -ประเพณีสู่ขวัญ : เมื่อใดที่ขวัญออกจากตัว ทำให้ผู้นั้นเหม่อลอย เจ็บป่วยต้องทำพิธีสู่ขวัญ โดยนั่งหน้าบายศรี หมอขวัญฮ้อง ขวัญเสร็จแล้ว จะนำข้าวสุกและไข่มาวางใส่มือแล้วผูกข้อมือ และทำการเสี่ยงทายจากไข่ต้ม - พิธีกรรมเกี่ยวกับการตาย : คล้ายกับพิธีกรรมของ ไท - ลาว ทั่วไป ถ้ามีคนตายในครอบครัวจะมีการล้มวัว ล้มหมู ทำบุญอย่างใหญ่โต อาหารที่ใช้เลี้ยงกันในบ้านงานห้ามนำกลับบ้านเด็ดขาด ถือว่าเป็น "คะลำ" ห้ามทำขนมเส้นเป็นอาหาร จะมีญาติมาอยู่ช่วยจนเสร็จงาน 3-4 วัน ถ้า "ตายโหง" ต้องฝังศพให้เสร็จวันนั้น ตายที่ไหนก็จะฝังที่นั่น ไม่นำกลับบ้าน ก่อนฝังจะต้องมีการสะกดวิญญาณก่อน จะเก็บกระดูกที่วัดและมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลในโอกาสต่าง ๆ - พิธีเลี้ยงผีเทวดา : เพื่อไม่ให้ผีตามมารังควานและเป็นการเสี่ยงทายอนาคตด้วย จะทำในเดือน 4 ข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ อยู่ในช่วง 16.00-19.00 น.หรืออาจจะเป็นเช้าวันรุ่งขึ้นของอีกวัน เวลา 6.00-8.00 น. ขณะทำพิธีจะมีผู้เป่าแคนตลอดเวลา ร่างทรงจะจุดธูป เทียน โปรยข้าวสารแล้วนั่งพนมมือ ผีเข้าแล้วจะมีคนมาช่วยแต่งตัวให้ จากนั้นจะเลือกพวงมาลัยสวมหัวแล้วจึงร่ายรำ ร้องคำผญาซึ่งเป็นการทำนายว่าเจ้าของพวงมาลัยจะผิดหวังหรือสมหวัง และมีเนื้อคู่เป็นอย่างไร คนจะทำนายต้องใส่ค่ายกครู 1.50 บาท หรือใช้เหล้าแทนได้ - พิธีสืบชะตาบ้าน : ทำเมื่อเกิดสิ่งไม่ดีขึ้นในหมู่บ้าน เป็นการทำบุญร่วมกันของคนทั้งหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านจำกำหนดวัน โดยจะโยงสายสิญจ์จากลานกว้างกลางหมู่บ้านที่ใช้ประกอบพิธี ไปทั่วทุกหลังคาเรือน นิมนต์พระ 9 รูป มาสวดและฉันท์อาหารเพล โดยชาวบ้านจะนำอาหารมาถวาย และต้องทำกระทงจากกาบกล้วย 4 มุม ปักธงกระดาษสมาชายที่มุม ภายในกระทงแบ่งเป็น 4 ช่อง ใส่ข้าว ของหวาน ของคาว ข้าวตอก - ดอกไม้ เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ จากนั้นจะทำพิธีกรวดน้ำ แล้วนำกระทงไปทิ้งในป่าทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน - ประเพณีขึ้นเขาของไทญ้อคลองน้ำใส : โดยเชื่อว่าเจ้าพ่อเขาน้อยหรือเจ้าพ่อขุนดาบจะคุ้มครองให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ในวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 6 นิมนต์พระทุกวัดในตำบลคลองน้ำใสไปเจริญพระพุทธมนต์และฉันท์ภัตตาหารเพล ช่วงบ่ายจะขนทรายขึ้นไปก่อเจดีย์ทราย เป็นการบูชาเจ้าพ่อเขาน้อย - ประเพณีทำบุญข้าวประดับดิน : เป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ ด้วยการเซ่นไหว้ดวงวิญญาณ ต้องทำทุกปี ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 9 ตอนเช้ามืด นำห่อหมกซึ่งมีข้าว กับข้าว และของหวาน 2 ห่อ โดยถวายพระ 1 ห่อ ส่วนอีกห่อจะเอาไปไว้ที่ธาตุบรรจุกระดูกของบรรพบุรุษ จุดธูป เทียน แล้วทำพิธีหยาดน้ำ อุทิศส่วนกุศล - ประเพณีการแห่ปราสาทผึ้ง : เป็นประเพณีเก่าแก่ จะทำกันในวันออกพรรษา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 โดยใช้ไม้ไผ่เป็นโครง นำกาบกล้วยมาแกะสลักลายมุงเป็นหลังคา เอาขี้ผึ้งมาหลอมละลายเป็นรูปดอกไม้ ใช้แม่พิมพ์จากมะละกอ ตัวองค์ปราสาทจะมีขนาดไม่เท่ากัน จะทำกันประมาณ 8.00 - 16.00 น. บางคนเอาดอกขี้ผึ้งปักต้นกล้วยมาถวายวัดเลยก็ได้ ขึ้นอยู่กับความศรัทธา องค์ปราสาทจะตกแต่งด้วยโคมไฟ สบู่ผงซักฟอก ดินสอ สมุด ผ้าสบงและเงิน ในช่วงเย็นจะมีการจัดขบวนแห่ไปวัด แต่งกายแบบดั้งเดิม แห่รอบอุโบสถ 3 รอบ แล้วขึ้นเอาปราสาทผึ้งตั้งบนศาลา มีการประกวดกัน จากนั้นนิมนต์พระ 9 รูปหรือทั้งวัดมาเจริญพุทธมนต์เย็น วันรุ่งขึ้นคือ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลังจากฉันท์ภัตตาหารเช้าแล้วจะทำพิธีถวายปราสาทผึ้ง (หน้า 23-34)

Education and Socialization

ตำบลคลองน้ำใสมี 5 โรงเรียน โรงเรียนประจำตำบลคือ โรงเรียน อ.พ.ป. คลองน้ำใส เป็นโรงเรียนขยายโอกาส เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 นอกนั้นเป็นโรงเรียนตามหมู่บ้าน เด็ก ๆ ได้เรียนตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับทุกคน ปัจจุบันเด็กประมาณ 70-80 % เรียนต่อระดับมัธยมศึกษา (หน้า 38)

Health and Medicine

ปัจจุบันมีสถานีสาธารณสุขตำบล นิยมคลอดลูกที่โรงพยาบาล มีการคุมกำเนิด ใช้ส้วมซึม ใช้น้ำประปาและน้ำบาดาล (หน้า 38-39)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การแต่งกาย : ขึ้นอยู่กับโอกาส เพศ วัยและฐานะ การแต่งกายของผู้ชาย : ผ้าโสร่ง ใส่อยู่กับบ้าน, กางเกงขาก๊วย นิยมเหน็บหัวผ้าที่บั้นเอว, กางเกงขาสั้น ยาวเลยเข่าเล็กน้อย นิยมใส่ทำงาน, ผ้านุ่งโจงกระเบน หรือผ้าหาง หรือผ้าเข็น ใช้นุ่งในโอกาสพิเศษต่าง ๆ เช่น งานบุญ, ผ้าแพร หรือ ผ้าขาวม้าจะเรียกตามวัสดุที่ใช้ทอ ใช้พาดบ่าเวลาไปงานบุญ ถ้าอยู่บ้านจะนุ่งอาบน้ำ, เสื้อทำจากผ้าฝ้าย แขนสามส่วน คอกลม ผ่าอก เมื่อก่อนใช้กระดุมเงิน ปัจจุบันใช้พลาสติกแทน ตัวเสื้อยาวคลุมสะโพก ถ้าใส่กางเกงขาก๊วยจะใส่เสื้อคล้ายเสื้อม่อฮ่อม การแต่งกายของผู้หญิง : ผ้านุ่งหรือ ซิ่นคั่น คั่นลายทางลง ถ้าแต่งงานแล้วต้องนุ่งซิ่นต่อหัวด้วยผ้าสีใดก็ได้ และต่อตีนด้วยผ้า สีดำเท่านั้น, เสื้อ ผ่าอกใช้กระดุมเงินปัจจุบันเป็นพลาสติกแทน ยาวคลุมสะโพก นิยมสีครีมและขาว โอกาสพิเศษจะห่มผ้าแพรเบี่ยง, เสื้อห้อย ใส่อยู่บ้าน เดิมใช้ผ้ารัดอกเป็นเสื้อจับจีบที่อก แขนเป็นเส้นเล็ก ๆ ยาวเลยเอวเล็กน้อย, ผ้าเบี่ยง ใช้พาด ไหล่ข้างซ้าย เวลาไปงานบุญ จะใช้ผ้าเบี่ยงสีขาว (หน้า 20-21)

Folklore

สมัยพุทธกาลมีความเชื่อว่า พระเจ้าประเสนธิโกศล พระเจ้าแผ่นดินของกรุงสาวัตถี ถวายปราสาทผึ้งแก่พระพุทธเจ้าทุกปี ในวันออกพรรษา โดยจะได้อานิสงส์ 6 กัปล์ (หน้า 35)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมเกิดผลกระทบหลายอย่าง ได้แก่ บทบาทของโรงเรียนในการอบรมมีมากขึ้น ได้รับ การศึกษาทั่วถึงและสูงขึ้น มีโลกทัศน์กว้างขึ้น หนุ่มสาวออกไปเที่ยวกันเอง ครอบครัวอยู่ร่วมกันน้อยลง เด็กได้รับข้อมูลข่าว สารจากสื่อต่างๆ ทำให้เด็กยึดถือความคิดของผู้ใหญ่น้อยลง จนดูเหมือนขาดความเคารพผู้อาวุโส มีการวางแผนครอบครัว ขนาดของครอบครัวเล็กลง ยอมรับการแต่งงานข้ามเชื้อชาติมากขึ้น ไทญ้อรุ่นใหม่ฟังภาษาญ้อได้แต่พูดไม่ได้ แต่ในตำบลคลองน้ำใสยังใช้ภาษาญ้อสื่อสารกันอยู่ การทำไร่ทำนาลดลงและจะไปค้าขาย รับจ้างในเมืองมากขึ้น การสื่อสารคมนาคมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ช่วยให้สะดวกมากขึ้น เช่น โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ แม้จะมีคนมากขึ้น หลายเชื้อชาติ แต่ถ้าหากเกิดความขัดแย้ง ก็จะ ให้ผู้อาวุโสช่วยตัดสินให้ (หน้า 39-40)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนที่แสดงอาณาเขตติดต่อของจังหวัดสระแก้ว (หน้า 12) แผนที่สังเขปอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว (หน้า 13) แผนที่สังเขป อำเภออรัญประเทศ (หน้า 16)

Text Analyst ปัญญ์ชลี ผกามาศ Date of Report 04 เม.ย 2556
TAG ญ้อ ย้อ ญ่อ โย้, ไทญ้อ, วิถีชีวิต, สระแก้ว, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง