สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง),การเมืองเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติ,ป่าชุมชน,ไร่หมุนเวียน,เชียงใหม่
Author Laungaramsri, Pinkaew (ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี)
Title Redefining Nature : Karen Ecological Knowledge and the Challenge to the Modern Conservation Paradigm.
Document Type หนังสือ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity ปกาเกอะญอ, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 257 Year 2544
Source Regional Center for Social Science and Sustainable Development, Chiang Mai University
Abstract

งานชาติพันธุ์นิพนธ์ชิ้นนี้ เสนอบทวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ในประเด็นการเมืองว่าด้วยการอนุรักษ์ธรรมชาติร่วมสมัยในประเทศไทย งานศึกษาสำรวจพัฒนาการของอุดมการณ์กระแสหลักในเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติในไทย และการตอบโต้โดยกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในเขตภูเขา ต่อการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการควบคุมทางสิ่งแวดล้อม งานศึกษามุ่งเน้นแนวทางการวิเคราะห์สองประเด็นด้วยกัน ประเด็นแรก คือประวัติศาสตร์ป่าไม้ในไทย และบทบาทของ วิทยาศาสตร์ป่าไม้ในการสร้างวาทกรรมและปฏิบัติการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ ประเด็นที่สอง เป็นการศึกษาความรู้ทางนิเวศวิทยาของกะเหรี่ยงและการตอบโต้ต่อกระบวนทัศน์อนุรักษ์ธรรมชาติกระแสหลัก งานศึกษาได้ชี้ให้เห็นว่า วาทกรรมว่าด้วย "ชาวเขา" "ธรรมชาติ" และ "การอนุรักษ์ธรรมชาติ" ไม่เพียงแต่เป็นสิ่งสร้าง (construct) แต่ยังเป็นสิ่งที่อยู่ภายใต้กระบวนที่ถูกสร้างอยู่ตลอดเวลา (constantly under construction) คำถามสำคัญคือ อุดมการณ์กระแสหลักเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติ ถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร และได้ถูกท้าทายอย่างไรบ้าง จากการวิเคราะห์พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ป่าไม้ในไทย งานศึกษาชิ้นนี้ได้ชี้ว่า แนวคิดเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติในไทย เป็นผลผลิตของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมือง ที่ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในแนวคิดเรื่องป่า เป็นส่วนสำคัญของกระบวนการสร้างความทันสมัยของรัฐชาติไทย มรดกทางแนวคิดของอาณานิคมตะวันตกในการจัดการป่าเพื่อการพาณิชย์ ความปรารถนาของรัฐไทยที่มีต่อกระบวนการสร้างความทันสมัย และการใช้ทรัพยากรเพื่อเป้าหมายในการพัฒนา เป็นองค์ประกอบหลักในการพัฒนาอุดมการณ์การอนุรักษ์ธรรมชาติของสังคมเมืองของไทย การสร้างแนวทางการอนุรักษ์ธรรมชาติ เป็นรูปแบบที่สำคัญของเทคโนโลยีของรัฐ ซึ่งประกอบไปด้วย การสร้างสถาบันในการควบคุมจัดการ การสร้างสถาบันความรู้ และการสร้างระบบเหตุผลแบบรัฐการ อย่างไรก็ตาม รัฐไทยเองก็ไม่ได้เป็นสถาบันที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หากแต่การเมืองภายในสถาบันรัฐ ก็เป็นเงื่อนไขสำคัญของการที่หน่วยงานรัฐต่าง ๆ มองและจัดการทรัพยากรแตกต่างกัน หนังสือเล่มนี้ยังได้ศึกษาถึงฐานคิดและวัฒนธรรมของนักป่าไม้ และนักอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยเสนอว่า ความมีประสิทธิผลของอุดมการณ์อนุรักษ์ธรรมชาติ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอำนาจของวิทยาศาสตร์ป่าไม้ในการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดที่มีต่อภูมิทัศน์ และความสัมพันธ์ระหว่างภูมิทัศน์กับชุมชนเท่านั้น แต่ยังอยู่ที่ความสามารถในการผสานวิธีคิดดังกล่าวให้เข้ากับโครงสร้างความไม่เท่าเทียมทางชนชั้น และทางชาติพันธุ์ที่ดำรงอยู่แล้วในสังคม ในแง่นี้ การเหยียดทางชนชั้น และการเหยียดทางชาติพันธุ์จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญของโครงสร้างของอุดมการณ์การอนุรักษ์ธรรมชาติในสังคมไทย ส่วนที่สองของหนังสือ ศึกษาความรู้ของกะเหรี่ยง และการตั้งคำถามต่อกระบวนการสร้าง และการรวมศูนย์อำนาจของกระบวนทัศน์การอนุรักษ์ธรรมชาติสมัยใหม่ของรัฐ ในการประทะประสานกับการเมืองเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติร่วมสมัย ความรู้นิเวศของกะเหรี่ยงทำหน้าที่ในการโต้ตอบอย่างมีพลวัตต่อแบบแผนแนวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติที่ผลิตโดยกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม โดยเฉพาะโดยรัฐ การท้าทายของท้องถิ่นที่มีต่ออุดมการณ์ป่าไม้กระแสหลัก พัฒนาขึ้นจากกระบวนการเรียนรู้และเลือกใช้ ความรู้ต่างถิ่นสมัยใหม่ เช่น แผนที่ ตลอดจนการประดิษฐ์ประเพณีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติท้องถิ่น ทั้งนี้ การเลือกรับและเลือกใช้วาทกรรมต่าง ๆ เช่น ป่าชุมชน ไร่หมุนเวียน ที่ปรากฏในแผนที่ชุมชน ได้เปิดพื้นที่และสร้างเครื่องมือในการสื่อสารให้กับชาวบ้าน ในการสนทนากับเจ้าหน้าที่และองค์กรพัฒนาเอกชน วาทกรรมคัดง้าง จึงเป็นสิ่งที่กะเหรี่ยงใช้ ในฐานะเครื่องมือเชิงยุทธศาสตร์ในการปกป้องทรัพยากรของตน และเพื่อจัดวางพื้นที่และอัตลักษณ์ชายขอบของตนเสียใหม่ ภายในสังคมไทย ในแง่นี้ การสร้างใหม่ทางความรู้ของท้องถิ่น จึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในกระบวนการประทะสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดและปฏิบัติการกระแสหลักและแนวคิดและปฏิบัติการชุมชน ในการต่อสู้เพื่อการยอมรับ ของกะเหรี่ยงในสังคมไทย

Focus

ศึกษาการเมืองเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติในไทย โดยวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ความคิดในเรื่องการอนุรักษ์ป่าไม้ และการเปลี่ยนแปลงแนวคิดจากยุคก่อนสมัยใหม่ มาสู่ยุคสมัยใหม่ที่เน้นคุณค่าเชิงพาณิชย์ของธรรมชาติ จนกระทั่งยุคการอนุรักษ์ที่ธรรมชาติเป็นสิ่งสงวนสำหรับชนชั้นกลาง และเป็นอริกับชุมชนเกษตรกรรม โดยชี้ให้เห็นถึงความลักลั่น และเศรษฐศาสตร์การเมืองของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ที่ได้พัฒนาขึ้นเป็นอุดมการณ์หลักของสถาบันป่าไม้ และนักป่าไม้ในไทย นอกจากนี้ยังศึกษาถึงความรู้ในการนิยามธรรมชาติชุมชนกะเหรี่ยงในภาคเหนือ และการท้าทายต่อแนวคิดครอบงำของกรมป่าไม้ ผ่านวาทกรรม ป่าชุมชน ไร่หมุนเวียน และการสร้างแผนที่ตอบโต้ เพื่อต่อรองการนิยามแนวคิด และวิถีทางการอนุรักษ์ธรรมชาติที่มีมนุษย์และชุมชนเป็นศูนย์กลาง

Theoretical Issues

นิเวศการเมือง (political ecology) ความรู้ท้องถิ่น (local knowledge) และการวิเคราะห์เชิงวาทกรรม (discourse analysis) ดู abstract ประกอบ (หน้า 6-15)

Ethnic Group in the Focus

กะเหรี่ยงสะกอ

Language and Linguistic Affiliations

ภาษากะเหรี่ยง (หน้า 33)

Study Period (Data Collection)

กุมภาพันธ์ 2539- พฤศจิกายน 2539 พฤศจิกายน 2539 - สิงหาคม 2540 และ พฤษภาคม 2541 (หน้า 17)

History of the Group and Community

กะเหรี่ยงสะกอ ได้อพยพเข้าตั้งถิ่นฐานในภาคเหนือของไทย นับแต่คริสตศตวรรษที่ 13 เป็นต้นมา โดยอาศัยอยู่ในเขตที่ราบตามหุบเขา และใกล้ชิดกับชุมชนลั๊วะ ตลอดจนมีความสัมพันธ์ในการแลกเปลี่ยนกับคนเมืองที่อาศัยอยู่ในพื้นราบ ในยุคก่อนสมัยใหม่ กะเหรี่ยงเป็นชุมชนที่มีลักษณะกึ่งเอกเทศ (semi-autonomous) และอยู่ภายใต้ระบบการปกครองของล้านนา อย่างไรก็ตาม สถานภาพของกะเหรี่ยงได้เริ่มเปลี่ยนแปลงไปในปลายคริสตศักราชที่ 19 ในยุคการปฏิรูปการปกครองของรัชกาลที่ 5 และเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญในยุคสงครามเย็นราวกลางคริสตศักราชที่ 20 ที่สถานะชาวป่า ได้กลายสภาพมาเป็นชาวเขา และถูกนิยามว่าเป็นผู้ทำลายป่า กะเหรี่ยงในหมู่บ้านแม่นิงใน ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณห้วยแม่นิง มาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 100 ปี โดยทำไร่หมุนเวียนเป็นระบบการผลิตเพื่อยังชีพ (หน้า 33-59, 127-140)

Settlement Pattern

ตั้งถิ่นฐานอย่างถาวร ในที่ราบกลางหุบเขา บริเวณลำห้วยแม่นิง อันเป็นลำห้วยสาขาของลำน้ำแม่หยอด และแม่น้ำแม่แจ่ม ตามลำดับที่ตั้งหมู่บ้าน สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1,000 เมตร มีที่ราบในการทำนาน้อยมาก ชุมชนทำไร่หมุนเวียนในเขตป่าโดยใช้หมุนเวียนใช้ประโยชน์ที่ดินป่า ซึ่งขึ้นทดแทนในวงจร 6-7 ปีติดต่อกันมาเป็นเวลามากกว่า 100 ปี (หน้า 20, 127-128, 191-194)

Demography

จำนวนครัวเรือนทั้งหมดในปี 2541มี 14 ครอบครัว คือมีการเพิ่มขึ้นของประชากรระหว่างปี 2501-2541 จาก 10 ครอบครัว เป็น 14 ครอบครัว (หน้า 206)

Economy

ระบบการผลิตแบบยังชีพ โดยทำไร่หมุนเวียนแบบผสมผสาน โดยมีข้าวเป็นหัวใจของการผลิตผสมกับพืชอาหารชนิดอื่น ๆ ความหลากหลายของพืชอาหารเป็นปัจจัยสำคัญของการผลิตเพื่อยังชีพของหมู่บ้าน พันธุ์ข้าวไร่ที่มีการปลูกและเก็บรักษาในหมู่บ้าน มีทั้งหมด 25 สายพันธุ์ โดยมีพืชผักที่ปลูกในไร่รวมกันประมาณ 78 ชนิด การทำไร่จะใช้พื้นที่ "ไร่เหล่า" ทำการเพาะปลูกเป็นเวลา 1 ปี และพักฟื้นเป็นเวลา 7-12 ปีก่อนจะย้อนกลับมาทำไร่ในที่เดิมอีก โดยระบบการทำไร่ประกอบไปด้วยขั้นตอนต่างๆ คือ การเลือกพื้นที่ การถางที่ตากไร่ และเผาไร่ การหยอดข้าว เกี่ยวข้าว ตีข้าว และนำข้าวขึ้นยุ้งฉาง ระบบการผลิตมีลักษณะหลากหลายในพันธุ์พืช การทำไร่หมุนเวียนเป็นระบบการผลิตที่ผู้หญิงเป็นผู้รับผิดชอบหลักตลอดกระบวนการผลิต ตลอดจนเป็นผู้เก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ต่าง ๆ โดยกะเหรี่ยงถือว่า พื้นที่ไร่หมุนเวียนเป็นพื้นที่ของผู้หญิง (หน้า 193-195)

Social Organization

กะเหรี่ยงสะกอในภาคเหนือ เป็นสังคมที่ถือสายตระกูลทางมารดา (matrilineal) โดยผู้หญิงเป็นหัวหน้าสายตระกูล เป็นผู้สืบทอดพิธีกรรมที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับสายตระกูล และเครือญาติ ตลอดจนเป็นผู้ดูแลระบบการผลิตไร่หมุนเวียนของครัวเรือน ผู้หญิงเป็นผู้สืบทอดที่ดินในการทำไร่หมุนเวียนของสายตระกูล ในหมู่บ้านเซโดซา ขั้นตอนสำคัญ ๆ ในการทำไร่ เช่น การถางที่ เผาที่ หยอดข้าว และเกี่ยวข้าว ใช้การระดมแรงงานภายใต้ระบบเครือญาติ หรือเอามื้อเอาวัน อันเป็นระบบการเกื้อกูลเรื่องแรงงานต่างตอบแทนที่ไม่ใช้ตัวเงิน (หน้า 199-203)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ตำนานเรื่องแรก เป็นเรื่องยุคสมัยของกะเหรี่ยง ซึ่งได้แบ่งประวัติศาสตร์ของกะเหรี่ยงเป็น 3 ยุค ยุคแรกเป็นยุคที่กะเหรี่ยงอยู่แบบฤาษี สมถะ ยุคที่สอง เป็นยุคที่กะเหรี่ยงถูกคนเมืองพื้นราบ ข่มเหง จึงหนีมาอยู่ในป่า ใช้ชีวิตเหมือนไก่ป่า และยุคที่สาม เป็นยุคที่สังคมกะเหรี่ยง มีตะกร้าที่เต็มไปด้วยเงิน แต่ในยุ้งข้าวกลับว่างเปล่า ตำนานเรื่องที่สอง เป็นเรื่องนกทราย ซึ่งกล่าวถึงแม่นกทรายที่ออกลูกบนดิน และได้ถูกช้าง ซึ่งเป็นสัตว์ใหญ่ (หมายถึงมีอำนาจ) เดินมาเหยียบลูกนกตาย แม้ว่าแม่นกจะขอร้องให้ช้างมีความระมัดระวัง แต่กลับไม่ได้รับการไยดีจากช้าง แม่นกได้ขอร้องให้สัตว์เล็กต่างๆ เช่นงู นก และแมลงวัน ช่วย วันหนึ่งสัตว์เล็กทั้งหลาย ได้รวมพลังกัน ช่วยขับไล่ช้างจนตกหน้าผาตาย (หน้า 128, 226-228)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

กะเหรี่ยงสะกอ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในบรรดากะเหรี่ยงกลุ่มต่าง ๆ คือ โปว์ ตองตู และบะเว โดยเรียกตนเองว่า ปกาเกอะญอ ซึ่งแปลว่า คน ในอดีต เมืองที่กะเหรี่ยงอาศัยอยู่ตามชายแดนไทย-พม่า มักได้รับการแต่งตั้งให้เมืองหน้าด่าน มีเจ้าเมืองเป็นกะเหรี่ยง ทำหน้าที่ป้องกันการรุกรานของพม่า ให้กับรัฐสยาม และล้านนา อย่างไรก็ตาม สถานะภาพดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อกะเหรี่ยงถูกจัดกลุ่มใหม่ ให้กลายเป็นชาวเขา ภายใต้นิยามใหม่ของรัฐ ที่หมายถึงผู้อาศัยอยู่ในป่า และทำการเกษตรที่ทำลายป่า และถูกมองว่าเป็นปัญหาของชาติ ความสัมพันธ์ดั้งเดิมที่กะเหรี่ยงเคยมีกับคนพื้นราบ เช่น การเลี้ยงวัวผ่ากึ่ง ที่แสดงให้เห็นถึงการพึ่งพาซึ่งกันและกันระหว่างชาวป่าและชาวพื้นราบ ตลอดจนการค้าขายระหว่างกัน กลายเป็นสิ่งที่ไม่มีความหมาย ในวาทกรรมว่าด้วยชาวเขา (หน้า 31-61)

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

1. กะเหรี่ยงในป่า ถือหน้าไม้ จิตรกรรมฝาผนัง หอพระสมุทรวชิรญาณ (เมืองโบราณ 19(2) กรกฎาคม-กันยายน 2536) (หน้า 36) 2. กะเหรี่ยงสามคน จิตรกรรมฝาผนัง หอพระสมุทรวชิรญาณ (เมืองโบราณ 19(2) กรกฎาคม-กันยายน 2536) (หน้า 37) 3. ครอบครัวกะเหรี่ยงกำลังตกปลา กองทัพเรือของสยามแล่นผ่านอยู่เบื้องล่าง จิตรกรรมฝาผนัง วัดบางแคใหญ่ สมุทรสงคราม (เมืองโบราณ 19(2) กรกฎาคม-กันยายน 2536) (หน้า 42) 4. กะเหรี่ยงบนภูเขา จิตรกรรมฝาผนัง วัดบางขุนเทียน (เมืองโบราณ 19(2) กรกฎาคม-กันยายน 2536) (หน้า 43) 5. กะเหรี่ยงบอกข่าวแก่กองทัพสยาม จิตรกรรมฝาผนัง วัดบางแคใหญ่ สมุทรสงคราม (เมืองโบราณ 19(2) กรกฎาคม-กันยายน 2536) (หน้า 51) 6. ความเป็นชายขอบของกะเหรี่ยงภายในรัฐสยาม เห็นได้จากแถวกองทัพหลากหลายชาติพันธุ์ ที่กะเหรี่ยงยืนอยู่มองไกลสุดของแถวทหาร จิตรกรรมฝาผนัง วัดปทุมวนาราม (เมืองโบราณ 19(2) กรกฎาคม-กันยายน 2536) (หน้า 53) 7. แผนที่หมู่บ้านแม่นิงใน อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ (หน้า 131) 8. แนวคิดที่ตัดกันในเรื่องต้นน้ำระหว่างคนพื้นราบและคนบนที่สูง (หน้า 147) 9. วาดภาพแม่น้ำและขอบเขตหมู่บ้าน (หน้า 152) 10. ทำแผนที่ (หน้า 152) 11. ทำแบบจำลองของหมู่บ้านแม่นิงใน (หน้า 157) 12. วางตำแหน่งของไร่หมุนเวียน (หน้า 158) 13. วางตำแหน่งของไร่หมุนเวียนและไร่เหล่า (หน้า 158) 14. แผนที่หมู่บ้านแม่นิงในจัดทำโดยชาวบ้าน (หน้า 160) 15. ชาวกะเหรี่ยงเดินขบวนในโอกาสที่ธนาคารพัฒนาเอเชียมาประชุมที่เชียงใหม่ในต้นเดือนพฤษภาคม 2543 (หน้า 219) 16. ชาวกะเหรี่ยงเดินขบวนคัดค้านการขยายพื้นที่ป่าอนุรักษ์ทับที่ชุมชน ในปี 2538 (หน้า 220)

Text Analyst ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง), การเมืองเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติ, ป่าชุมชน, ไร่หมุนเวียน, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง