สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลาหู่,มูเซอแดง,ข่าวสาร,วีถีชีวิต,แม่ฮ่องสอน
Author พัชรินทร์ ประสนธิ์
Title ความต้องการข่าวสาร เพื่อปรับปรุงวิถีชีวิตของชุมชนมูเซอแดง : กรณีศึกษา บ้านปางตอง ตำบลนาปู่ป้อม จังหวัดแม่ฮ่องสอน
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลาหู่ ลาหู่ ละหู่ ลาฮู, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Total Pages 101 Year 2541
Source หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

ผู้วิจัยศึกษาขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมของชุมชนมูเซอแดง และผลการศึกษาการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในชุมชน ได้แก่ แหล่งที่มา ความเข้าใจ ความน่าเชื่อถือ และตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการข่าวสาร คือ อายุ ระดับฐานะ ระดับการพูดภาษาไทย การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ การได้ฟังวิทยุ และการเดินทางเข้าเมือง และพบว่าในเพศที่ต่างกันจะมีความต้องการข่าวสารต่างกัน

Focus

ศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีและระบบเกษตรของชุมชนมูเซอแดง รวมทั้งความต้องการข่าวสารในการนำไปปรับปรุงวิถีชีวิต

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ผู้วิจัยเรียกชาติพันธุ์ที่ศึกษาว่า เผ่ามูเซอแดง (ที่มาและความสำคัญของปัญหา หน้า 2)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาพูดคือภาษามูเซอและภาษาไทยใหญ่ ปัจจุบันใช้ภาษาไทย (ภาษาเมือง) เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ เข้ามาติดต่อมาก (หน้า 42)

Study Period (Data Collection)

ผู้วิจัยได้อาศัยในหมู่บ้านในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม (หน้า 32,44) และบันทึกการสัมภาษณ์ เดือนพฤศจิกายน 2540 (หน้า34, 35, 37, 41, 42)

History of the Group and Community

ประวัติของหมู่บ้านตามคำบอกเล่าของผู้อาวุโสในหมู่บ้าน มีการย้ายถิ่นจากแหล่งอื่น สาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้นของประชากร ทำให้มีปัญหาเรื่องพื้นที่การเกษตรไม่พอเพียง โดยแต่เดิมอาศัยอยู่ที่หัวน้ำของ ติดประเทศพม่า ได้ย้ายมาอยู่ที่คะปี่โหล (ตอนเหนือของหมู่บ้านปางบอนในปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2518 ได้ย้ายถิ่นฐานอีกครั้งโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรกคือชาวบ้าน ที่ย้ายมาอยู่ที่หมู่บ้านปางตองเก่าจำนวน 11 ครอบครัว และกลุ่มที่ 2 คือชาวบ้านที่ย้ายไปอยู่ที่หมู่บ้านผาแดงน้อย จำนวน 5 ครอบครัว ในปี พ.ศ. 2527 ชาวบ้านในกลุ่มแรกได้เพิ่มจำนวนเป็น 20 ครอบครัว จึงได้ย้ายมาอยู่ในพื้นที่ปัจจุบันรวมกับชาวบ้านที่มาจากกลุ่มที่ 2 เป็นหมู่บ้านปางตองใหม่ จนปี พ.ศ.2528 หมู่บ้านปางตองจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหมู่บ้านอย่างเป็นทางการ (หน้า14-15)

Settlement Pattern

มีครัวเรือนทั้งหมด 75 ครัวเรือน 60 ครัวเรือนสร้างบ้านอยู่ใกล้กันโดยไม่มีการกั้นบริเวณบ้านที่แน่นอน แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มของผู้มีฐานะดีซึ่งเป็นเครือญาติของผู้นำหมู่บ้านจะอยู่บริเวณส่วนหน้าของหมู่บ้าน ถัดมาในส่วนกลางหมู่บ้านจะเป็นกลุ่มที่มีฐานะปานกลาง และกลุ่มที่ยากจนจะอยู่ในส่วนลึกเข้าไปถึงท้ายหมู่บ้าน ลักษณะการปลูกสร้างจะมีทั้ง บ้านที่มุงหลังคากระเบื้องหรือสังกะสี มีฝาและพื้นไม้จำนวน 23 หลัง และบ้านส่วนใหญ่จะสร้างตามแบบของมูเซอ คือ หลังคาที่มุงด้วยหญ้าคาหรือใบลานภาษาชาวบ้านเรียกว่า "ต๊อกก่อ" ฝาและพื้นทำด้วยไม้ไผ่ มีส้วมราดน้ำที่ใช้ได้ 15 ครัวเรือน ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ แต่มีไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของโรงเรียน (หน้า15) มีสิ่งก่อสร้างสาธารณสถานและของบุคคลไว้บริการชุมชน (หน้า16)

Demography

จากการรวบรวมข้อมูลของสถาบันวิจัยชาวเขา (พ.ศ. 2540) พบว่ามีชาวเขาเผ่ามูเซอ 447 หมู่บ้าน 15,025 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 11.02 ของชาวเขาในประเทศไทยทั้งหมด (หน้า21) โดยประชากรชุมชนมูเซอแดงบ้านปางตอง มีทั้งหมด 305 คน ชาย 169 คน หญิง 136 คน มีประชากรในวัยเด็กมากที่สุดคือ ช่วงอายุ 10-14 ปี จำนวน 53 คน คิดเป็นร้อยละ 17.4 (ตารางที่ 3 หน้า21)

Economy

เดิมชาวบ้านปางตองปลูกฝิ่นเป็นหลัก เก็บเกี่ยวในเดือนเมษายนเพื่อขายให้พ่อค้าไทยใหญ่และจีนฮ่อที่เดินทางมาซื้อในหมู่บ้าน มีการปลูกผักแซมในแปลง เช่น กระหล่ำ ผักกาด ผักชีเพื่อบริโภค รองลงมาคือการปลูกข้าวไร่ ข้าวโพด เพื่อบริโภค มีการนำเงินที่ได้จากการขายฝิ่นซื้อเครื่องใช้ต่างๆ เช่นเสื้อผ้า ปืน ทอง ฯลฯ ภายหลังได้มีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาทำงานพัฒนา และมีการติดต่อกับสังคมภายนอกเริ่มเน้นการผลิตเพื่อรายได้ มีพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ถั่วแปยี กระเทียม ถั่วแดง ถั่วแขก แครอท เผือก ขิง (ตารางที่ 6 หน้า 30 ) ข้าวที่ปลูกเพื่อบริโภคจะปลูกข้าวเจ้าเป็นหลัก มี 3 ชนิดคือ พันธุ์หนัก (ระยะเวลาปลูก-เก็บเกี่ยว 6 เดือน) พันธุ์กลาง (5 เดือน) พันธุ์เบา (3 เดือน) มีการปลูกข้าวเหนียวบ้าง ใช้พันธุ์หนักชนิดเดียว การปลูกมีกิจกรรมตลอดปี (ตารางที่7 หน้า 32 ) มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อการค้า เช่น โค กระบือ สุกร และการหาผลผลิตจากป่ามาขาย เช่น การขายเปลือกต้นก่อ (หน้า 29-32)

Social Organization

การแต่งงาน - ผู้ใหญ่ของฝ่ายชายจะเป็นผู้สู่ขอกับผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงและจะจัดพิธีแต่งงานที่บ้านฝ่ายหญิงในตอนกลางคืนของวันนั้น โดยไม่มีการเรียกสินสอดทองหมั้น มีการฆ่าไก่ฝ่ายละ 3-4 ตัวเพื่อเลี้ยงญาติผู้ใหญ่ที่มาร่วมในงาน ปู่จองจะเป็นผู้ทำพิธีโดยจุดเทียนอวยพรให้คู่บ่าวสาวและผู้ข้อมือด้วยด้ายที่ผ่านการสวดพรแล้ว ภายหลังจากแต่งงานฝ่ายสามีต้องอยู่ช่วยงานฝ่ายภรรยา 1 ปี และพาภรรยามาช่วยงานที่บ้านอีก 1 ปีแล้วจึงแยกครอบครัวออกมา โดยฝ่ายสามีจะต้องเตรียม เสา ไม้ ให้พร้อม และผู้ชายในหมู่บ้านจะมาช่วยกันสร้างบ้านภายใน 1 วัน หลังจากนั้นฝ่ายสามีจะต้องสร้างบ้านต่อเองจนเสร็จ ด้วยความเชื่อที่ว่า ผู้ชายมูเซอถ้าจะแต่งงานต้องสามารถสร้างบ้านเองได้ (หน้า 27) โดยจะสร้างบ้านอยู่ในบริเวณหมู่ญาติกัน (หน้า15)

Political Organization

ฐานเดิมผู้นำในการปกครองคือผู้นำในการสร้างหมู่บ้าน และต่อมาจะคัดเลือกกันเองจากฐานความสัมพันธ์ในระบบเครือญาติกับ ผู้นำอาวุโส โดยมีผู้นำทางศาสนาที่นับถือผี เรียกว่า "ปู่จอง" เป็นผู้นำในจารีตประเพณี พิธีการต่างๆ และเป็นที่นับถือของชาวบ้าน(หน้า 15,25) จนเมื่อได้ตั้งเป็นหมู่บ้านอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2528 ผู้นำหมู่บ้านจึงเป็นผู้ใหญ่บ้านและมีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้านทำหน้าที่ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อรับนโยบายมาปฎิบัติและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ (หน้า 15) หน่วยงานที่เข้ามาเริ่มจากกรมประชาสงเคราะห์และโครงการพัฒนาที่สูงไทย-เยอรมัน จากนั้นคือกรมส่งเสริมการเกษตร กรมอนามัย กรมการศึกษานอกโรงเรียน กรมป่าไม้ และกรมพัฒนาที่ดิน เข้ามาดำเนินโครงการต่างๆ

Belief System

ศาสนา - นับถือผี เป็นศาสนาหลักมีผู้นำในการประกอบพิธีกรรม เรียกว่า "ปู่จอง" ซื่งต้องเป็นผู้ที่รักษาศีลบริสุทธิ์ทั้งกายใจ โดยในหมู่บ้านจะมีปู่จอง 2 คน ทำหน้าที่ติดต่อเทวราชสูงสุดของมูเซอคือ "หงื่อซา" และเทวราชีนีคือ "ไอมา" นอกจากการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ตามประเพณีแล้วยังเป็นผู้นำในการอบรมสั่งสอนและตัดสินปัญหาต่างๆของชุมชน - ศาสนาคริสต์ มีการนับถือ 2 ครัวเรือนโดยเป็นชาวบ้านที่ย้ายมาจากหมู่บ้านยาป่าแหนซึ่งมีญาติฝ่ายหญิงอยู่ที่บ้านป่าตอง โดยทุกวันอาทิตย์จะไปร่วมพิธีที่โบสถ์บ้านปางบอน พิธีกรรม - โดยทั่วไปคนในชุมชนได้ถือเอาวันศีล (แรม 14 - 15 ค่ำ และข้างขึ้น 15 ค่ำ) เป็นวันพักผ่อนอยู่บ้าน งดการตำข้าว งด การกินเนื้อสัตว์ ไม่ทำงานนอกหมู่บ้าน การเกิด - บ้านที่มีเด็กเกิดใหม่จะมี การป้องกันผีร้ายโดยใช้ "ตะแหลว" เป็นไม้ไผ่สานเป็นแผ่นแบน เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร ปักติดปลายไม้ไว้ที่บันได และห้ามคนแปลกหน้าขึ้นบ้าน โดยตะแหลว 1 อันใช้กับเด็กแรกเกิด 1 คนและเก็บรวมไว้ในบ้าน ฉลองปีใหม่มูเซอ - ไม่มีการกำหนดวันที่แน่นอน โดยจะเลือกช่วงต้นปีในเวลาที่คนในชุมชนเสร็จภารกิจจากการเก็บเกี่ยวแล้ว จะมีการฉลองโดยการฆ่าสุกรเพื่อนำหัวและเนื้อบูชาเทพเจ้าหงื่อซา และนำมาปรุงอาหารเลี้ยงกัน มีการทำ "ข้าวปุ้ก" คือข้าวเหนียวนึ่งตำใส่งา กินฉลองกันตลอดเทศกาล ประมาณ 7 วัน แยกเป็นปีใหม่หญิง 4 วัน ปีใหม่ชาย 3 วัน เนื่องจากในสมัยก่อนผู้ชายมูเซอต้องออกไปปฎิบัติภารกิจนอกหมู่บ้าน เช่น สงคราม ค้าขาย ล่าสัตว์ ทำให้กลับมาร่วมงานไม่ทัน สถานที่ประกอบงานปีใหม่คือลานกว้างในหมู่บ้านกลางวันจะมีการละเล่น เช่น การขว้างลูกข่างของผู้ชาย การเล่นสะบ้าของผู้หญิง การโยนลูกบอลที่ทำจากผ้าเย็บห่อแกลบหรือรำข้าว ร่วมกันของหนุ่มสาว มีการเต้นรำที่เรียกว่า "จะคึ" บรรเลงเพลงปีใหม่ตลอดกลางคืนจนถึงเช้า กินข้าวใหม่ - ไม่มีการกำหนดวันแน่นอนโดยเป็นการฉลองผลผลิตข้าวหลังการเก็บเกี่ยวข้าวใหม่ มักอยู่ในช่วงเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน ผู้นำทางศาสนาจะจุดเทียนขึ้ผึ้งสวดขอบคุณและขอพรต่อองค์เทพเจ้าหงื่อซา มีการฆ่าสุกรและไก่เพื่อปรุงอาหารฉลองแขกที่มาบ้านโดยแขกสามารถขึ้นไปรับประทานอาหารได้ทุกบ้าน และมีการร้องรำกันเป็นที่สนุกสนาน ทำบุญ - ในแต่ละครัวเรือนจะทำบุญให้คนในบ้านอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ถ้ามีการเจ็บป่วยต้องทำบุญอีกในปีนั้น โดยการหุงข้าวให้พอกับจำนวนคนในหมู่บ้านที่ได้บอกข่าวไว้ และปรุงอาหารโดยฆ่าสุกรนำมาต้มกับพริกและเกลือ แขกที่มาร่วมงานจะร่วมกินอาหารหรือนำกลับไปกินที่บ้านและเตรียมด้ายขาวมาผูกข้อมือคนในบ้านให้ครบ ถ้าเจ้าบ้านเตรียมอาหารไว้พอเพียงกับแขกหรือมีเหลือ คนในบ้านจะอยู่อย่างสงบสุขไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ มูเซอเชื่อว่ามีความรู้ด้านตัวอักษรน้อยกว่าคนพื้นเมืองและคนในเมืองโดยเทวราชหงื่อซาเรียกบรรพบุรุษชนชนชาติต่างๆ เข้าเฝ้าเพื่อให้พรเกี่ยวกับตัวอักษรและวิทยาการ โดยเขียนลงบนกระดาษสา เมื่อบรรพบุรุษมูเซอเข้าเฝ้าเป็นคนสุดท้ายปรากฏว่ากระดาษหมด เทพเจ้าจึงเขียนลงในข้าวปุ้ก (ข้าวเหนียวตำใส่งา) เมื่อเดินทางกลับเกิดความหิวบรรพบุรุษมูเซอจึงเผลอกินข้าวปุ้กจนหมด ด้วยเหตุนี้จึงถือว่าความรู้ต่างๆ อยู่ในท้อง สามารถเรียนรู้ได้โดยไม่ต้องเรียน ความเชื่อนี้มีอิทธิพลต่อการศึกษาของเด็กทำให้มีเด็กมาเรียนที่โรงเรียนน้อย (หน้า25-29)

Education and Socialization

หมู่บ้านปางตอง มีโรงเรียนของหน่วยงานกรมการศึกษานอกโรงเรียน 1 แห่ง เปิดสอน 3 ระดับชั้นคือ ระดับอนุบาล ประถมศึกษาปีที่1 และประถมศึกษาปีที่ 2 นักเรียนจำนวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ 15.2 ส่วนที่เรียนในระดับประถมศึกษาตอนปลายและในระดับมัธยม ไม่ได้เรียนที่หมู่บ้านแห่งนี้ ประชากรส่วนใหญ่ร้อยละ 59.0 ซึ่งอยู่ในกลุ่มของผู้ใหญ่ กลุ่มคนรุ่นเก่า ไม่ได้รับการศึกษา (หน้า 23) (ตารางที่ 4 หน้า 23, ตารางที่ 5 หน้า 24)

Health and Medicine

มูเซอแดงเชื่อว่าต้องมีการทำบุญให้กับคนในบ้านปีละ 1 ครั้งหรือมากกว่าถ้ามีคนเจ็บในบ้าน ถ้าเจ้าบ้านเตรียมอาหารไว้พอเพียงกับแขกหรือมีเหลือ คนในบ้านจะอยู่อย่างสงบสุขไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ (หน้า 28) โดยความเชื่อนี้ยังถือปฎิบัติอยู่แม้ว่าในปัจจุบัน จะมีการจัดตั้งศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชนในปี พ.ศ.2528 โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานชุมชน 5 คน ซึ่งมาจากผู้มีฐานะปานกลาง-รวย และมีกองทุนยาในหมู่บ้านซึ่งมาจากหุ้นของครัวเรือน 16 ครัวเรือนจัดจำหน่ายยาสามัญประจำบ้านรักษาโรคในเบื้องต้น ซึ่งถ้าป่วยหนักจะต้องเดินทางไปที่อนามัย และมีเจ้าหน้าที่จากศูนย์มาเลเรียออกมาตรวจในหมู่บ้านบ้าง (หน้า 37-38)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

มูเซอแดงมีการละเล่นในงานปีใหม่คือ การขว้างลูกข่างของผู้ชาย การเล่นสะบ้าของผู้หญิง การโยนลูกบอลที่ทำจากผ้าเย็บห่อแกลบหรือรำข้าว ร่วมกันของหนุ่มสาว มีการเต้นรำที่เรียกว่า "จะคึ" บรรเลงเพลงปีใหม่ตลอดกลางคืนจนถึงเช้า โดยจะทำการ ละเล่นต่างๆที่ลานกว้างของหมู่บ้าน (หน้า27)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ชุมชนบ้านปางตองได้รับผลกระทบจากการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา ส่วนหนึ่งเกิดจากการพัฒนาที่มุ่งเน้นเศรษฐกิจและผสานให้ชาวเขากลายเป็นคนไทย โดยเปลี่ยนการเกษตรจากฝิ่นเป็นพืชเศรษฐกิจเพื่อขายเป็นเงินสด เพิ่มวัตถุและโครงสร้างพื้นฐาน เช่นโรงเรียน สถานีอนามัย ถนน เป็นผลให้เกิดช่องว่าระหว่างรายได้ระหว่างคนรวยกับคนจนมากขึ้น และเกิดความขัดแย้งในชุมชน เช่น การไม่ได้รับสัญชาติไทย การไม่มีกรรมสิทธิในที่ทำกิน ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย และปัญหาสังคมต่างๆ เช่น ยาเสพติด โสเภณี และปัญหาจากการหลั่งไหลเข้ามาของความเจริญจากหน่วยงานต่างๆ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของมูเซอแดงเปลี่ยนไป เช่น เน้นผลิตมากขึ้นเพื่อหาเงินมาจับจ่ายมากขึ้น การบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น เหล้า เบียร์ การเปลี่ยนมาพูดภาษาไทยมากขึ้น การมีลูกน้อยลงในครอบครัว (หน้า 41-42)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ความต้องการข่าวสารของชาวบ้านในชุมชนจะแตกต่างกันตามเพศ คือ เพศชายจะต้องการข่าวสารด้านการประกอบอาชีพและสุขภาพ และให้ความเชื่อถือกับแหล่งข่าวมากกว่าเพศหญิง (บทคัดย่อหน้า จ)

Map/Illustration

แผนที่หมู่บ้านปางตอง (หน้า 20) รูปภาพบ้านมูเซอแดง (หน้า99-100) ตารางประชากรและครัวเรือน (หน้า19,21,45,46,47,49,51) ตารางการศึกษา (หน้า23,24,48) ตารางอาชีพ (หน้า30,32) ตารางการรับข้อมูลข่าวสาร(หน้า51,53,57,59,61,63,64,68,70,72,75)

Text Analyst ปิยวรรณ สามเพชรเจริญ Date of Report 24 เม.ย 2556
TAG ลาหู่, มูเซอแดง, ข่าวสาร, วีถีชีวิต, แม่ฮ่องสอน, Translator Chalermchai Chaichomphu
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง