สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject อีก้อ,วัฒนธรรม,ประเทศไทย
Author อุไรวรรณ แสงศร
Title บ้านอีก้อ
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity อ่าข่า, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 25 Year 2526
Source ศูนย์วิจัยชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย จ.เชียงใหม่
Abstract

อธิบายถึงประวัติความเป็นมา ความเชื่อและประเพณีต่างๆ ของอีก้อในประเทศไทย

Focus

ศึกษาประวัติความเป็นมา สภาพแวดล้อมและความเชื่อของอีก้อในประเทศไทย

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

อีก้อจะเรียกตัวเองว่า "อาข่า" คนไทยและพม่าเรียกว่า "อีก้อ ก้อ หรือ ข่าก้อ" พวกลาวและแถบอินโดจีนตอนเหนือเรียกว่า "โก๊ะ" คนจีนเรียกว่า "โวนี หรือ ฮานี" (หน้า 1)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาของอีก้อจัดอยู่ในตระกูลภาษาธิเบต-พม่า ซึ่งเป็นสาขาย่อยในตระกูลภาษาจีน-ธิเบต จัดอยู่ในสาขาโลโล-พม่า คล้ายกับภาษามูเซอและลีซอ ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกัน ออกเสียงพยางค์เดียว มีเสียงสูง- ต่ำ พยัญชนะตัวสุดท้ายออกเสียงควบกล้ำยากมาก บางคำมีรากศัพท์มาจากภาษาอื่น เช่น จีน พม่า ไทยใหญ่และภาษาไทยภาคเหนือ อีก้อทางภาคเหนือของไทยสามารถพูดและเข้าใจภาษามูเซอ ลีซอ ไทยใหญ่ จีนฮ่อ พม่าและภาษาไทยทางภาคเหนือ ผู้ชายอีก้อส่วนมากมีความรู้เรื่องภาษาอื่นมากกว่าผู้หญิง อาจเพราะผู้หญิงมีโอกาสติดต่อกับคนนอกเผ่าน้อย (หน้า 2)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ตามหนังสือเรื่อง "กลุ่มชาติพันธุ์ในผืนแผ่นดินใหญ่แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ระบุไว้ว่า อีก้อแบ่งออกเป็น 7 กลุ่มย่อย ได้แก่ ปูรี ยีเชอะ นาคี มาเว ทูลา อาเข่อและยีเยาะ อีก้อบางพวกอ้างว่าพวกเขามี 7 กลุ่มบ้าง 9 กลุ่มบ้าง จากแม่เดียวกัน ไม่ปรากฏบิดา แล้วก็แยกย้ายกันไปสร้างเผ่าพันธุ์อีก้อใหม่ ประวัติความเป็นมาของชนเผ่านี้ยังไม่กระจ่างนัก นักมานุษยวิทยาหลายท่าน ให้ความเห็นว่า แต่เดิมอีก้ออาศัยอยู่ตามเขาสูงทางตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ต้นแม่น้ำไทฮั่วสุย หรือแม่น้ำดอกท้อในแคว้นธิเบต ต่อมาถูกรุกรานจึงถอยร่นมาอยู่ที่ มณฑลยูนนานและมณฑลไกวเจา เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ครอบครองจีน อีก้อก็ได้อพยพลงทางใต้ โดยกระจัดกระจายอยู่ในหลายที่รวมถึงในจังหวัดเชียงราย ด้วย (หน้า 1-2) อีก้อในประเทศไทยแบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย ได้แก่ อีก้ออูโล อีก้อโลมิซา และอีก้อหมอแป๊ะ (หน้า 3)

Settlement Pattern

อีก้อปลูกบ้านเป็นแนวตามสันเขา อาจมีหลายๆ แถว ไม่ค่อยเป็นระเบียบ นิยมปลูกหันหน้าไปทางทิศเดียวกัน ตัวบ้านยกพื้นสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร บางแห่งลาดชันมากก็จะยกพื้นบ้านขึ้นครึ่งหนึ่ง ส่วนอีกครึ่งหนึ่งใช้พื้นดินเป็นพื้นบ้าน ด้านหนึ่งใช้ผนังภูเขาเป็นฝาบ้าน ภายในมี 2 ห้องนอน มีเตาไฟอยู่ห้องละ 1 เตา ส่วนมากสร้างด้วยไม้ไผ่ ต้นเสาทำจากไม้เนื้อแข็ง ฝาและพื้นทำด้วยไม้ไผ่สับเป็นฟาก หลังคาคลุมด้วยหญ้าคาคลุมยาวเกือบถึงพื้นเพื่อกันลม มีบันไดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ขั้นบันไดจะเป็นเลขคี่เสมอ ประมาณ 3-5 ขั้น ระเบียงหน้าบ้านใช้รับแขกและนั่งเล่น ผู้ชายจะจัดหาไม้ไผ่ ไม้เนื้อแข็งและวัสดุต่าง ๆ ในการสร้างบ้านส่วนผู้หญิงจะหาหญ้าคา เอามาตากแห้งและไพคาให้เป็นตับไว้มุงหลังคา (หน้า 20) ขนาดของบ้านเล็กใหญ่ตามฐานะ ทุกหลังจะมีครกตำข้าวอยู่ที่บันไดหลังบ้าน ห้ามตำครกเปล่าเล่นแและห้ามตำข้าวหลังพระอาทิตย์ตกดินถึงรุ่งสางประมาณ 3-4 นาฬิกา เชื่อว่า ถ้าผีได้ยินจะบันดาลให้สัตว์ร้ายเข้ามาในหมู่บ้านห้องติดประตูด้านหน้าเป็นห้องผู้ชาย ห้ามผู้หญิงเข้าไปเหยียบย่ำยกเว้นเดินผ่านทางปลายเท้า ถัดไปเป็นห้องของผู้หญิง ภายในเหนือเตาไฟจะเป็นหิ้งเก็บของ และมีหิ้งบรรพบุรุษติดอยู่กับเสาเอก มีตะกร้าใส่พันธุ์ข้าวที่จะปลูกวางบนหัวนอน ห้ามผู้ชายเข้า ห้ามเหยียดเท้าไปทางหิ้งผีและห้ามแตะต้อง ตรงข้ามห้องนอนจะมีหิ้งยาวขนานไปกับผนังห้อง ใช้เก็บเครื่องครัว ห้ามสามีภรรยาที่เป็นหัวหน้าครัวเรือนนอนห้องเดียวกันตลอดคืน ไม่มีเตียงนอน นิยมนอนพื้นฟากปูด้วยเสื่อเปลือกไม้ บางครัวเรือนให้ลูกชายนอนกับผู้อาวุโสก็อาจทำเตียงนอนหรือยกแคร่ให้นอน เพื่อแสดงความเคารพ (หน้า 15-16, ดูแผนผังบ้านอีก้อ หน้า 17, ดูรูปลักษณะบ้านอีก้อหน้า 18) บ้านทุกหลังคาเรือนจะมีรั้วล้อมรอบ เพื่อป้องกัน หมู วัวและควาย ส่วนเป็ดและไก่จะทำเล้าไว้ใต้ถุนบ้าน (หน้า 24-25)

Demography

อีก้อในประเทศไทยแบ่งเป็น 3 กลุ่มได้แก่ อีก้ออูโล อพยพเข้ามากลุ่มแรกมีประชากรมากที่สุด อีก้อโลมิซา มีจำนวนรองลงมา และอีก้อมอโป๊ะ มี 2 หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านผาหมีและหมู่บ้านผาฮี้ จ.เชียงราย รวมแล้วมีทั้งหมด 92 หมู่บ้าน 2,141 ครอบครัว และ 13,729 คน (หน้า 3, ดูตารางประชากรอีก้อในประเทศไทยหน้า 4)

Economy

พืชที่นิยมปลูก ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ฝิ่น จะปลูกจนดินจืดแล้วจึงย้ายไปที่ใหม่ ผลผลิตที่ได้จะเอาไปแลกสินค้ากับชาวเขาเผ่าอื่นที่อยู่รอบ ๆ หมู่บ้านและพวกพื้นราบ โดยเฉพาะฝิ่น ส่วนข้าวและข้าวโพดปลูกไว้บริโภคเท่านั้น และยังมีการเลี้ยงสัตว์ ส่วนมากเลี้ยงไว้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น หมู ไก่ และนิยมทานเนื้อสุนัข อาชีพอื่นๆ เช่น ล่าสัตว์ จับปลา ทำเครื่องเหล็ก เครื่องเงินและเครื่องจักสาน (หน้า 3)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

การเลือกดอยเป็นที่ตั้งหมู่บ้าน จะเลือกลูกที่อยู่กลางๆ เพราะเชื่อว่าจะทำให้ผลผลิตดี อยู่เย็นเป็นสุข การเลือกดอยที่ตั้งหมู่บ้าน หมอผีจะดูกระดูกขาไก่ ถ้ามีรูจะดี แต่ถ้าไม่มีรูก็จะเชื่อว่าผีไม่อนุญาตให้ตั้งหมู่บ้าน ต้องหาที่อื่น ถ้ามีจอมปลวกด้วยจะดีมากเพราะ เชื่อว่ามีผีสิงสถิตอยู่และจะช่วยคุ้มครองหมู่บ้าน (หน้า 5) การเลือกที่ตั้งหมู่บ้าน หัวหน้าพิธีกรรมของหมู่บ้าน (เหยื่อมะ หรือ เจ้าฮีต) ช่างตีเหล็กและผู้อาวุโส จะช่วยกันเลือกสถานที่ จากนั้นจะทำการเสี่ยงทาย โดยใช้ไข่ไก่สามฟองโยนทีละฟอง ถ้าไข่ใบแรกที่โยนลงพื้นแตกถือว่าดี ถ้าไม่แตกจะโยนใบที่สอง ถ้ายังไม่แตกอีกต้องโยนใบที่สาม ถ้าไข่ไม่แตกเลยทั้งสามใบจะตั้งหมู่บ้านบริเวณนั้นไม่ได้ (หน้า 5) การเลือกที่ตั้งบ้านจะให้ "หยื่อมะ" หรือหัวหน้าพิธีกรรมเลือกก่อนและชาวบ้านต้องช่วยกันสร้าง เริ่มด้วยพิธียกเสาเอก หัวหน้าครัวเรือนหรือบุตรชายคนโตจะเป็นคนทำพิธี โดยใช้ข้าวสาร น้ำ เกลือ แร่เงินและไข่ไก่ 1 ฟอง ใส่ในหลุม เอาหิ้งผีบรรพบุรุษ หรือ อะพีเปาะเลาะ ผูกติดกับเสาเอก แล้วเซ่นด้วย สุนัข หมูหรือไก่ อย่างละตัว สุราและข้าวเล็กน้อย นำไปปรุงอาหารเลี้ยงชาวบ้านที่มาช่วยงาน จากนั้นชาวบ้านจึงเลือกที่ตามความพอใจ ส่วนมากไม่ชอบให้จอมปลวกอยู่หน้าบ้านเชื่อว่าไม่ดี บางคนบอกว่าไม่เป็นไรแต่ต้องไม่อยู่ในที่สร้างบ้าน เมื่อก่อนจะปลูกบ้านต้องทำพิธีขอพื้นที่จากผีเจ้าที่ โดยขุดหลุมวางข้าวสารไว้ 3 เม็ดพร้อมกับอธิษฐานเสี่ยงทายและทิ้งไว้ 1 คืน ถ้าเม็ดข้าวยังอยู่เหมือนเดิมก็สร้างได้แต่ถ้ามีการเคลื่อนย้ายก็ต้องหาที่ใหม่ บางหมู่บ้านจะใช้ แร่เงิน ข้าวสาร น้ำและไข่ไก่เป็นการแลกเปลี่ยนแก่ผีเจ้าที่ หัวหน้าครอบครัว หรือ บุตรชายคนโตจะเสี่ยงทาย โดยการโยนไข่ลงหลุมที่เตรียมไว้สำหรับฝังเสาเอก ถ้าไข่แตกถือว่าดี ถ้าไม่แตกหรือแตกแต่มีเลือดปนด้วยต้องหาที่ใหม่ ห้ามนำไม้ที่มีเปลือกทำให้คัน ไม้ที่ถูกฟ้าผ่า ไฟไหม้และไม้ยืนตาย มาสร้างบ้านจะทำให้เจ้าของบ้านเดือดร้อน และห้ามเอาส่วนยอดปลายไม้ปักลงดิน ถือเป็นเรื่องผิดธรรมชาติ และห้ามคนต่างนามสกุลปลูกบ้านในที่ว่างระหว่างบ้านสองหลังที่เป็นพี่น้องกันเป็นความเชื่อที่สืบทอดกันมา (หน้า 19-20) การขึ้นบ้านใหม่ "หยื่อมะ" จะหาฤกษ์ดีในการขึ้นบ้านใหม่หรือทำบุญ อาจจะหลังจากสร้างบ้านเสร็จ 10-15 วัน "หยื่อมะ" จะทำพิธีเลี้ยงผีภายในบ้าน โดยมีเครื่องเซ่น คือ สุราหนึ่งขวด ข้าวเปลือกและข้าวสารอย่างละ 1 กำใส่ลงในกระบอกไม้ไผ่และน้ำหนึ่งกระบอกไปเลี้ยงผีที่ธรณีประตู แล้วหัวหน้าครอบครัวจะทำเลี้ยงผีบรรพบุรุษด้วยไก่ หมูและสุรา จากนั้นจะเชิญผู้อาวุโสและญาติพี่น้องจากหมู่บ้านอื่นมาร่วมทานอาหารเย็นด้วย (หน้า 20) - หิ้งผีบรรพบุรุษ ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สุดภายในบ้าน เป็นที่สิงสถิตของผีปู่ ย่าตา ยาย จะเซ่นไหว้ปีละหลาย ๆ ครั้ง จะมีพิธีใหญ่ ๆ ประจำปีอย่างน้อย 9 ครั้ง บางพิธีกรรมจะต้องไหว้อย่างน้อย 2 ครั้ง ส่วนมากแล้วนิยมให้แม่บ้านเป็นผู้นำเครื่องเซ่นไปบวงสรวง ถ้าแม่บ้านตายอาจใช้ลูกสะใภ้หรือพ่อบ้านแทนได้ (หน้า 21) - ศาลขวัญข้าว หรือ ฉิจิ๊ สุ่มหมะ อุหุ่ม ทุกบ้านจะต้องมีและอยู่ใกล้กับยุ้งข้าว สร้างพร้อมกับบ้าน เป็นเพิงเล็กๆ ตั้งอยู่บนเสาไม้ไผ่สี่เสา ทำด้วยไม้ไผ่ มุงด้วยหญ้าคา สูง 1.5 เมตร ใช้เก็บเมล็ดพันธุ์ที่จะใช้ทำพิธีในฤดูปลูกข้าว ก่อนจะมีพิธีเลี้ยงผีป่าและผีบ่อน้ำ จะต้องให้ภรรยาของหัวหน้าครัวเรือนเซ่นผีพันธุ์ข้าวด้วยไก่หนึ่งตัว ช่วงเดือนธันวาคมจะมีการซ่อมแซมศาลนี้และเอาเมล็ดพันธุ์ข้าวใหม่ไปเก็บไว้ ห้ามจับต้องศาลและห้ามทำให้ศาลเสียหาย หากละเมิดต้องถูกปรับด้วยหมูและสุรา(หน้า 22) - ยุ้งข้าว อยู่ใกล้กับศาลขวัญ ฝาและพื้นทำด้วยไม้ไผ่สับฟาก เสาทำจากไม้เนื้อแข็ง ส่วนมากจะอยู่ทางตะวันออกหรือหน้าบ้าน หลังเก็บเกี่ยวจะมีพิธีเลี้ยงผียุ้งข้าว โดยแม่บ้านจะสวมกระโปรงสีขาว นำไข่ไก่สด 1 ฟองไปวางกลางยุ้งข้าวและบอกให้ผีช่วยดูแลข้าวในยุ้ง เมื่อนำข้าวเก็บในยุ้งแล้วเอาใบไม้ 3 ชนิดคือ ใบชิมะปะ 9 ใบ ใบชาและขิง 3 แง่ง วางบนข้าว พ้นปีใหม่ไปจึงนำข้าวมากินได้ และต้องเลี้ยงผีก่อน โดยให้แม่บ้านสวมกระโปรงสีขาวนำไก่ หมู และไข่ไก่ต้มอย่างละหนึ่งไปวางที่ประตูยุ้งข้าว แล้วฆ่าหมูและไก่ที่หน้าประตู จากนั้นก็ตักข้าวออกมา 1 ลิตรเพื่อเป็นพิธี เอาหมูและไก่มาปรุงอาหารทาน (หน้า 23) อีก้อนับถือผี ได้แก่ ผีน้ำ ผีป่า ผีบรรพบุรุษ ทุกครัวเรือนจะทำพิธีทางศาสนาที่บ้านจะไม่มีสถานที่ส่วนรวม (หน้า 2) - อีก้อเชื่อว่าผีน้ำจะนำอันตรายมาสู่หมู่บ้านจึงไม่นิยมต่อรางน้ำมาใช้ในหมู่บ้าน ปัจจุบันบางหมู่บ้านก็เลิกเชื่อถือแล้ว (หน้า 4) - ประตูยะข่อ หรือ ประตูยาเกา ทำจากไม้ไผ่กั้นทางเดินเข้าหมู่บ้าน จะปิดตลอดเวลาเพื่อกันสัตว์เลี้ยงออกไป เวลาเข้า-ออกต้องเปิดและปิดด้วย (หน้า 6, ดูรูปประตูยะข่อหน้า 7) - ประตูหมู่บ้าน หรือ ลกข่อ หรือ ประตูผี มีทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ถือว่าศักดิ์สิทธิ์มากและเป็นสัญลักษณ์ของอีก้อ ห้ามจับต้อง ถ้าละเมิด ผีประจำประตูจะโกรธและทำให้ประสบภัยได้ยกเว้นวันที่ทำประตูใหม่ซึ่งหนึ่งปีมีเพียงหนึ่งวันเท่านั้น ถ้าละเมิดต้องทำพิธีขอขมา โดยใช้หมูหนึ่งตัวและสุราหนึ่งขวดเป็นเครื่องเซ่น และนำเครื่องเซ่นไปเลี้ยงชาวบ้านที่ประตูผี ห้ามนำเครื่องเซ่นเข้าหมู่บ้านเพราะเป็นเครื่องเซ่นที่มาจากการกระทำผิด รอบๆ ประตูจะมีเครื่องหมายลูกศรเรียกว่า "หมิแซ ตะหม่อ ผ่าเออะ" หรือ "อึมมะ พอ ลกข่อ" ทำจากไม้ เป็นรูปหอก ดาบ ปักไว้ข้างทางเดิน เพื่อให้ผีใช้ในการปกป้องหมู่บ้าน เสาประตูลกข่อ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 10-12 นิ้ว สูง 2.50-3.00 เมตร กว้าง 2 เมตร มีไม้พาดข้างบนหนึ่งท่อน เชื่อว่ามีผีชายหญิงคุ้มครองประตูอยู่ มีรูปแกะสลักนก 2 ชนิด ได้แก่ นกอายีและนกโนกุ้ม เชื่อว่าเป็นนกที่ส่งข่าวร้ายให้ทราบ บานประตูจะมีไม้ไผ่สานเป็นตาชลอม เรียกว่า เฉลว หรือ ตาแหล่ล้อ ติดอยู่จำนวนมาก เชื่อว่าช่วยป้องกันภูตผีไม่ให้เข้ามาในหมู่บ้าน ที่โคนเสาประตูจะมีไม้ไผ่ เรียกว่า "คะโล้ว" ยาว 4 เมตร ปักอยู่ 2-3 อัน แสดงถึงความอยู่ดีมีสุข โคนเสามีรูปแกะสลักชายหญิงสมสู่กัน เรียกว่า "ตาผ่ามะ" เป็นเครื่องช่วยค้ำจุนเพื่อไม่ให้สูญพันธุ์ ประตูนี้จะสร้างขึ้นพร้อมการตั้งหมู่บ้านและจะสร้างเพิ่มทุกปี สามารถนับอายุของหมู่บ้านได้จากประตูนี้ถ้ามันไม่ผุพังไปก่อน (หน้า 7- 9, ดูรูปประตูลกข่อหน้า 9) - ลานสาวกอด หรือ "แด๊ะข่อ" เป็นสัญลักษณ์ของอีก้อ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ มีลักษณะเป็นลานเตียนโล่ง อยู่ถัดจากประตูลกข่อ มีขอนไม้หรือม้านั่งรอบๆ กองไฟ ใช้เป็นที่นัดพบ พลอดรักกันของหนุ่มสาวเวลากลางคืน ชายที่แต่งงานแล้วสามารถมาเที่ยวที่นี่ได้ แต่ฝ่ายหญิงไม่ได้ ผู้หญิงที่ยังไม่แต่งงานจะมีน้ำเต้าลูกเล็กๆ ผูกติดเอวทั้งสองข้าง ห้ามชายหญิงนัดพบกันที่บ้าน ถ้าคุยกันอยู่ที่ลานสาวกอดแล้วพ่อแม่ฝ่ายหญิงมาเห็น ฝ่ายหญิงต้องรีบวิ่งกลับบ้านทันที ชายหญิงถ้าต้องการหลับนอนกันก็จะชวนกันเข้าไปในป่าหรือยุ้งข้าว ห้ามเข้าบ้านเด็ดขาด การลงลานสาวกอดจะลงได้ทุกคืนยกเว้น วันกรรมหรือวันพระ คือขึ้น 8 และ 10 ค่ำ และวันที่มีคนตาย หากหนุ่มสาวละทิ้งประเพณีนี้ถือเป็นลางร้าย (หน้า 10, ดูรูปลานสาวกอดหน้า 11) - ชิงช้า หรือ "หละชา" หรือ "โละซ่า" อยู่ในเขตประตู "ลกข่อ" ใกล้กับลานสาวกอด ถือเป็นสิ่งศักสิทธิ์ มี 2 แบบคือ แบบระหัดวิน้ำ และแบบกระโจมสี่เสา สร้างเพื่อเป็นการฉลองพิธีรำลึกเทพธิดาที่ประทานความอุดมสมบูรณ์แก่พืชในไร่ ชิงช้าใหญ่แบบกระโจมสี่เสาจะสร้างถาวรและมีผีประจำอยู่ เมื่อถึงพิธีโล้ชิงช้าจะซ่อมแซม หรือทำแทนอันเก่าในที่เดิมก่อนวันงาน 3 วัน จะทำกันระหว่างเดือนสิงหาคมของทุกปี ถือเป็นวันปีใหม่ โดยเฉพาะผู้หญิงจะเป็นวันเปลี่ยนวัย พิธีการโล้ชิงช้าซึ่งเชื่อว่ามีผีนั่งอยู่ หัวหน้าพิธีกรรมจะเป็นคนแรกที่โล้ชิงช้าเปล่า 3 รอบ แล้วคนอื่น ๆ จึงโล้ชิงช้าได้ จะทำพิธีกัน 3 วัน เสร็จพิธีแล้วหัวหน้าพิธีกรรมต้องดูแลห้ามไม่ให้ผู้ใดจับต้อง ผู้ละเมิดจะต้องเซ่นผีด้วยหมูหนึ่งตัวและสุราหนึ่งขวด (หน้า 11-12, ดูรูปที่หน้า 12) - ศาลผี หรือ "หมิชา" หรือ "ลอเอ๊อะ" เป็นผีที่อีก้อกลัวที่สุด ตั้งอยู่ในป่าใกล้หมู่บ้าน นอกเขตประตูลกข่อ สร้างเพื่อเป็นที่พักของผีป่าที่ผ่านมาจะได้ไม่เข้าไปในหมู่บ้าน มีการเซ่นสรวงทุกปี (หน้า 13) - เขตป่าสงวนประจำหมู่บ้าน เป็นที่พักอาศัยของผีป่า หรือ ผีหม้อ เชื่อว่าจะสิงสถิตอยู่ในโพรงไม้ของต้นที่ใหญ่ที่สุด ช่วยรักษาทางเดินเข้าหมู่บ้าน ผู้ละเมิดต้องเซ่นด้วยหมูและสุรา (หน้า 13) - หนะชิ หนะจะ ข่อตุ๊ เป็นสัญลักษณ์ของอีก้อ อยู่นอกประตูลกข่อจะมีไม้ไผ่คล้ายคันเบ็ดปักไว้ 2-3 อัน ปลายไม้มีวงแหวนไม้ไผ่ผูกไว้หลายอัน เพื่อดักผีร้ายไม่ให้เข้าหมู่บ้านทางอากาศได้ ห้ามจับต้อง (หน้า 14) - ป่าช้า หรือ หลอบยุ้ม อยู่ทางทิศตะวันออกและคนละดอยกับหมู่บ้าน ห้ามโค่น ถาง ตัดไม้หรือทำการเพาะปลูกเพราะเกรงจะเหยียบขวัญของผู้ตาย ถ้ากิ่งไม้หล่นบนหลุมฝังศพถือว่าไม่ดีต้องให้ผู้อาวุโสหยิบออกแล้วเซ่นด้วยหมูหนึ่งตัว การถางป่าจะถางได้เฉพาะบริเวณหลุมศพและทำในวันที่มีพิธีเกี่ยวกับป่าช้าเท่านั้น หากละเมิดต้องเสียหมูหนึ่งตัว ถ้าไฟไหม้แสดงว่าผีบรรพบุรุษไม่ต้องการอยู่ที่นี่ต้องหาที่ให้ใหม่ ถึงแม้ชาวบ้านจะไม่เห็นเวลาไฟไหม้เชื่อว่าผีประจำป่าจะบอกให้รู้ (หน้า 15) - แหล่งน้ำประจำหมู่บ้าน หรือ หละดู่ ทุกหมู่บ้านจะมี 1- 2 บ่อ จะล้อมรั้วและมุงหลังคาไว้อย่างดี ถ้าหมู่บ้านใดมี 2 บ่อ ก็จะใช้บริโภค 1 บ่อ ส่วนอีกบ่อจะใช้ทำพิธีเลี้ยงผีบ่อน้ำและพันธุ์ข้าว ถ้ามีบ่อเดียวก็ใช้ทั้ง 2 อย่าง ใช้น้ำเต้าตักน้ำเท่านั้น เพราะเชื่อว่าผีไม่เคยเห็นภาชนะอื่นอาจทำให้ผีไม่พอใจได้ และยังห้ามเหยียบขอบบ่อหรือทำให้บ่อน้ำได้รับความเสียหาย ยกเว้นวันซ่อมแซมประจำปีเท่านั้น ผู้ละเมิดต้องเสียหมูและสุราอย่างละหนึ่ง (หน้า 15)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

เตาไฟภายในบ้านของอีก้อ นอกจากใช้ปรุงอาหารและให้ความอบอุ่นในหน้าหนาวแล้ว ควันไฟยังช่วยไล่ยุงอีกด้วย ภายในบ้านจะไม่มีห้องน้ำ ต้องอาศัยป่ารอบๆ บ้าน สัตว์เลี้ยงไม่มีการล้อมคอก หมูและสุนัขทำหน้าที่เป็นเทศบาลช่วยทำความสะอาดหมู่บ้าน อีก้อจะทิ้งขยะตามใจชอบ นานๆ จะมีการเผาทำลายสักที ช่วงหน้าฝนจะสกปรกมาก นอกจากเผาไม่ค่อยได้แล้วยังต้องทำไร่ไม่มีเวลาเผา (หน้า 24-25)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ตารางแสดงจำนวนประชากรอีก้อในประเทศไทย (หน้า 4) รูปภาพ หมู่บ้านอีก้อ (หน้า 6) ประตูยะข่อ (หน้า 7) ประตูหมู่บ้านลกข่อ (หน้า 9) ลานสาวกอด (หน้า 11) ชิงช้าระหัดวิดน้ำและชิงช้าใหญ่ (หน้า 12) ศาลผีประจำหมู่บ้าน (หน้า 13) หนะจิ หนะจะ ข่อตู๊ (หน้า 14) แผนผังบ้านอีก้อ (หน้า 17) ลักษณะบ้านอีก้อ (หน้า 18) หิ้งผีบรรพบุรุษ (หน้า 21) ศาลขวัญข้าว (หน้า 22) - ยุ้งข้าว (หน้า 24)

Text Analyst ปัญญ์ชลี ผกามาศ Date of Report 02 พ.ค. 2548
TAG อีก้อ, วัฒนธรรม, ประเทศไทย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง