สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ออแรนายู มลายูมุสลิม มุสลิมมลายู,มุสลิม,นโยบายบูรณาการ,ความสัมพันธ์,ชนกลุ่มน้อย,ชนกลุ่มใหญ่,ฟิลิปปินส์,ประเทศไทย
Author ปีเตอร์ จี กาววิ่ง : เขียน / บัณฑร อ่อนดำ : แปล
Title โมโรและแขก : ฐานะของชาวมุสลิมในฟิลิปปินส์และไทย
Document Type จุลสาร Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity มลายู ออแฆนายู มลายูมุสลิม ไทยมุสลิม, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเนเชี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 48 Year 2518
Source มูลนิธิโกมลคีมทอง
Abstract

ผู้นำของประเทศฟิลิปปินส์และไทยพยายามจะประกาศความเป็นเอกภาพแห่งชาติโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างของกลุ่มชาติพันธุ์ แต่ทัศนคติของกลุ่มมุสลิมมิได้เห็นคล้อยตามนโยบายของรัฐบาลแม้แต่น้อย ทำให้เกิดช่องว่างขึ้นระหว่างนโยบาย กับความรู้สึกที่แท้จริงของชาวฟิลิปปินส์ในเรื่องเอกภาพแห่งชาติ (หน้า 28)

Focus

ผู้เขียนได้ศึกษาเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างชนกลุ่มใหญ่ และชนกลุ่มน้อยมุสลิมในประเทศฟิลิปปินส์และประเทศไทย โดยพิจารณาการใช้นโยบายบูรณาการทางการเมืองเศรษฐกิจ และสังคมของรัฐบาลของประเทศทั้งสอง ที่มีต่อชนกลุ่มน้อยมุสลิม ในการที่จะนำมาซึ่งความเป็นปึกแผ่น ความมั่นคงของชาติเป็นสำคัญ (หน้า13)

Theoretical Issues

ผู้เขียนเน้นการวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้มุสลิมเป็นจำนวนมากเข้าร่วมในขบวนการแบ่งแยกดินแดนได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในฟิลิปปินส์และไทย ทำให้นำไปสู่การขาดเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์โดยรวม และก่อผลเสียต่อเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์และไทยโดยเฉพาะ และได้อธิบายว่ามีสาเหตุสำคัญๆ 3 ประการ คือ นโยบายบูรณาการทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของรัฐ ทัศนคติระหว่างชนกลุ่มน้อยและกลุ่มใหญ่ และจิตสำนึกความเป็นอิสลามของชนกลุ่มน้อยมุสลิมซึ่งมีความสำคัญต่อการขจัดความขัดแย้งที่มีอยู่ร่วมกัน (หน้า 39-40)

Ethnic Group in the Focus

ผู้เขียนเน้นการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกเรียกว่า "มุสลิม" ที่อยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทยและทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์ (หน้า 13-15)

Language and Linguistic Affiliations

เนื่องจากผู้เขียนเน้นศึกษาเกี่ยวกับการบูรณาการทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ของประเทศฟิลิปปินส์และประเทศไทยต่อชนกลุ่มน้อยมุสลิม ผู้เขียนจึงไม่ได้กล่าวถึงข้อมูลของระบบภาษาในงาน เพียงแต่กล่าวถึงเพียงความหมายของคำว่า โมโร และแขก ไว้เท่านั้น (ดูในหัวข้อ Ethnicity/Ethnic Relation )

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

มุสลิมในฟิลิปปินส์หลังจากสเปนเข้าครอบครองฟิลิปปินส์แล้ว สเปนก็ต้องทำสงครามกับมุสลิมอยู่เป็นเวลานาน เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 และยืดเยื้อมานาน 300 ปี ก่อนที่สุลต่านแห่งรัฐมินดาเนา และรัฐซูลจะยอมแพ้ต่อสเปน ต่อมาเมื่อสหรัฐฯปกครองฟิลิปปินส์ต่อจากสเปน สหรัฐฯ จึงได้วางขั้นตอนดำเนินการตามนโยบายไว้ให้ฟิลิปปินส์ปกครองตนเองในรูปสาธารณรัฐอย่างเต็มที่ ซึ่งชาวฟิลิปปินส์ที่เป็นคริสเตียนก็สามารถเข้าไปปกครองดินแดนมุสลิมได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเจตนารมณ์ของสหรัฐฯ มุสลิมในไทยมีการต่อสู้ระหว่างรัฐสยาม (ประเทศไทยในปัจจุบัน) กับรัฐมาเลย์เล็กๆ ตามบริเวณด้านเหนือของคาบสมุทรมาเลย์มาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 และแม้ว่ารัฐมาเลย์เล็กๆ ดังกล่าวจะยอมอยู่ใต้การปกครองของไทย แต่ไม่ได้หมายความว่าไทยเข้าไปมีอำนาจเหนือได้โดยง่าย ทั้งนี้เพราะไทยต้องเสียเลือดเนื้อในการต่อสู้กับมุสลิมไปเป็นอันมากเช่นกัน แต่ในที่สุด ปรากฏว่า เมื่อไทยได้ทำสนธิสัญญากับอังกฤษ ซึ่งเป็นผู้ปกครองประเทศมลายู (ปัจจุบันมาเลเซีย) ในปี พ.ศ. 2447 และ 2452 ไทยก็ต้องเสียรัฐมลายู 4 รัฐไปให้แก่อังกฤษ และอังกฤษยอมให้ไทยมีอำนาจเหนือรัฐมาเลย์อื่น ๆ ด้านเหนือของเขตแดนประเทศมลายูตามที่ตกลงกันไว้ ซึ่งได้แก่ จังหวัดสตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาสในปัจจุบัน ทำให้จังหวัดดังกล่าวมีมุสลิมเชื้อสายมลายูเป็นกลุ่มคนที่ส่วนใหญ่ (หน้า13-15)

Settlement Pattern

มุสลิมในประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศไทยมีข้อแตกต่างกับมุสลิมในอินเดียอยู่ประการหนึ่งคือ มุสลิมอินเดียนั้นกระจัดกระจายอยู่ในชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศอินเดีย ส่วนมุสลิมฟิลิปปินส์และไทย (2,200,000 คนในฟิลิปปินส์ และ 1,500,000 คนในไทย) รวมกันอยู่เป็นกลุ่มเป็นก้อน คือ อยู่ในภาคใต้ของประเทศเหมือนกัน และเขตแดนภาคใต้ของฟิลิปปินส์และไทยก็ติดต่อกับประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย (หน้า 9)

Demography

ในงานเขียนผู้เขียนไม่ได้ระบุข้อมูลเกี่ยวกับประชากรที่แน่นอน เพียงแต่กล่าวโดยรวมว่าเป็นชนกลุ่มใหญ่ และชนกลุ่มน้อยมุสลิมในประเทศฟิลิปปินส์และประเทศไทย (อย่างไรก็ตาม จากในวงเล็บจำนวนมุสลิมที่ปรากฏในหัวข้อ Settlement Pattern มีมุสลิมจำนวน 2,200,000 คนในฟิลิปปินส์ และจำนวน 1,500,000 คนในไทย)

Economy

การดำเนินการบูรณาการทางด้านบริหาร รัฐบาลฟิลิปปินส์ และรัฐบาลไทยก็ดำเนินการบูรณาการทางด้านเศรษฐกิจควบคู่ไปด้วย ทั้งนี้โดยการรวมดินแดนมุสลิมภาคใต้เข้ามาไว้ในจุดมุ่งหมายแห่งการพัฒนาประเทศด้วย สำหรับการวางมาตรการดำเนินการในบูรณาการทางด้านเศรษฐกิจนี้ เริ่มแรก รัฐบาลของประเทศทั้งสองพยายามอย่างยิ่งที่จะป้องกันไม่ให้การบริหารดินแดนมุสลิมภาคใต้เป็นภาระในด้าน งบประมาณแห่งชาติมาเกินไป วิธีการที่จะทำให้การบริหารดินแดนมุสลิมภาคใต้ไม่เป็นภาระในด้านงบประมาณแห่งชาติ ที่รัฐบาลของทั้งสองประเทศนำมาใช้ คือ การจัดเก็บภาษีรูปต่าง ๆ ภายในดินแดนมุสลิมภาคใต้ เหมือนกับจังหวัดอื่น ๆ โดยทั่วไป นอกจากการจัดเก็บภาษีดังกล่าวรัฐบาลของประเทศทั้งสองยังวางนโยบายในการนำทรัพยากรต่าง ๆ ในดินแดนมุสลิมภาคใต้ไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติอีกด้วย (หน้า 16)

Social Organization

ไม่ได้ระบุชัดเจน

Political Organization

รัฐบาลของทั้งสองประเทศมุ่งที่จะนำดินแดนมุสลิมภาคใต้เข้ามาไว้ในระบบการเมืองแห่งชาติ อันเป็นระบบการเมืองที่รวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ซึ่งเป็นการมองข้ามผู้นำดั้งเดิมของสังคมอิสลามไปอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากผู้นำดั้งเดิมไม่ได้รับการผนวกไว้ในโครงสร้างทางการเมืองแห่งชาติ ในฟิลิปปินส์แม้ผู้นำมุสลิมดั้งเดิมจะมีโอกาสเข้าไปอยู่ในโครงสร้างทางการเมืองแห่งชาติ โดยการเลือกตั้งบ้างและการแต่งตั้งบ้าง แต่จำนวนผู้นำมุสลิมดั้งเดิมที่มีโอกาสเช่นนี้ก็มีน้อยมาก จะเห็นได้ว่าก่อนทศวรรษระหว่างปี พ.ศ. 2493-2502 ผู้ว่าราชการจังหวัดมุสลิมภาคใต้ทุกคนเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งออกไปจากส่วนกลาง และผู้ว่าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งออกไปจากส่วนกลางส่วนมากเป็นคริสต์ศาสนิกชน สำหรับในประเทศไทยนั้นปรากฏว่าตั้งแต่ต้นมาจนกระทั่งบัดนี้ ยังไม่เคยมีผู้ว่าราชการจังหวัดภาคใต้คนใดเลยที่เป็นมุสลิม (หน้า 15-16) ผู้เขียนอธิบายถึงการที่ประเทศไทย และประเทศฟิลิปปินส์ได้เริ่มดำเนินการบูรณาการทางด้านการเมือง ซึ่งมุ่งเน้นที่จะนำดินแดนมุสลิมภาคใต้เข้ามาไว้ในระบบการเมืองแห่งชาติ อันเป็นระบบการเมืองที่รวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ศูนย์กลางแห่งอำนาจทางการเมืองของฟิลิปปินส์อยู่ที่กรุงมะนิลา ส่วนของไทยอยู่ที่กรุงเทพฯ แต่โดยที่มุสลิมในฟิลิปปินส์และไทยยังไม่มีประสบการณ์กับระบบการเมืองแห่งชาติ รัฐบาลฟิลิปปินส์จึงจำเป็นต้องส่งชาวฟิลิปปินส์ที่เป็นคริสเตียนออกไปปกครองดินแดนมุสลิมภาคใต้ และรัฐบาลไทยก็จำต้องส่งชาวไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชนออกไปปกครองดินแดนมุสลิมภาคใต้เช่นเดียวกัน (หน้า 15)

Belief System

ธรรมดาทั่วไปมุสลิมในฟิลิปปินส์และไทย ยังเป็นผู้ที่ไม่มีความรู้สึกลึกซึ้งเกี่ยวกับศาสนา ปรัชญา และกฎหมายอิสลาม นอกจากนี้ บางครั้งก็สับสนถือเอาลัทธิเชื่อโชคลางบางประการที่มีอยู่ก่อนการเกิดขึ้นของศาสนาอิสลาม และขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม ว่าเป็นสาระสำคัญของศาสนาอิสลาม แต่ถึงกระนั้นก็ดี มุสลิมส่วนมากทราบดีถึงคำสอนและหน้าที่พื้นฐานตามหลักของศาสนาอิสลาม และสำนึกดีว่าศาสนาอิสลาม ทำให้ตนเองแตกต่างจากผู้อื่น และเป็นเครื่องผูกพันพวกตนเข้าไว้ด้วยกันเป็นชุมชนหนึ่งต่างหาก และอย่างน้อยในอุดมคติ ก็ถือว่าศาสนาอิสลามครอบคลุมชีวิตความเป็นอยู่ทุกด้านของตนเอาไว้ (หน้า 32) ในศาสนาอิสลาม คำว่า อุมมะ (Umma) หมายถึงชุมชนทางสังคมของศาสนาอิสลาม อุมมะเป็นอุดมการทางศาสนาซึ่งพระผู้เป็นเจ้าประทานให้แก่มุสลิม ในชุมชนสังคมของศาสนาอิสลามซึ่งเรียกว่า อุมมะนี้ สมาชิกของชุมชนมีหลักธรรมคำสอน ขนบธรรมเนียมและกฎหมายสำหรับปฏิบัติเหมือนกัน มุสลิมทุกคน โดยที่มีฐานะเป็นมุสลิมจึงเป็นสมาชิกของชุมชนอุมมะ อันเป็นชุมชนทางด้านจิตใจ ไม่ใช่ชุมชนทางดินแดนของศาสนาอิสลามทั่วโลก โดยไม่คำนึงว่ามุสลิมจะอาศัยอยู่ในที่ใด ๆ ในโลก (หน้า 34)

Education and Socialization

ไม่ได้ระบุชัดเจน

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ในฟิลิปปินส์ คนส่วนใหญ่เรียกมุสลิมว่า โมโร ส่วนในไทย คนส่วนมากเรียกมุสลิมว่า แขก ทั้งคำว่า โมโร และ แขก ซึ่งคนส่วนมากใช้เรียกมุสลิมนั้นเป็นคำที่มีความหมายไม่ดี และเป็นคำที่ใช้แสดงให้เห็นว่ามุสลิมมีฐานะต่ำกว่าชนกลุ่มใหญ่โดยทั่วไปทั้งในฟิลิปปินส์ และไทย (หน้า 24)

Social Cultural and Identity Change

ในด้านการบูรณาการทางวัฒนธรรมของรัฐบาลฟิลิปปินส์และรัฐบาลไทย ที่มีเจตนารมณ์ในการดำเนินการผสมกลมกลืนวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยภายในประเทศ รวมทั้งชนกลุ่มน้อยมุสลิม ปรากฏว่าเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและลึกซึ้งยากแก่การที่จะวิเคราะห์ออกมาให้เห็นได้ชัดเจนว่ามีผลอย่างไร (หน้า 18)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Text Analyst วศิน เชี่ยวจินดากานต์ Date of Report 06 พ.ย. 2555
TAG ออแรนายู มลายูมุสลิม มุสลิมมลายู, มุสลิม, นโยบายบูรณาการ, ความสัมพันธ์, ชนกลุ่มน้อย, ชนกลุ่มใหญ่, ฟิลิปปินส์, ประเทศไทย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง