สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลาวโซ่ง ไทยโซ่ง ผู้ลาว โซ่ง ไตดำ,อิ่นก๋อน,การละเล่น,เพชรบุรี
Author พรพิมล ชันแสง
Title อิ่นก๋อน : ประเพณีการละเล่นของลาวโซ่ง : เขาย้อย เพชรบุรี
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทดำ ลาวโซ่ง ไทยโซ่ง ไทยทรงดำ ไทดำ ไตดำ โซ่ง, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 163 Year 2541
Source หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท สาขาวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract

การละเล่นอิ่นก๋อนเมื่อครั้งอดีตทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการในระดับปัจเจกบุคคลของลาวโซ่ง ปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยน ไป ทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการด้านสังคมมากขึ้น แต่ก็ยังคงแฝงความต้องการของปัจเจกบุคคลอยู่ เช่น ในรูปแบบ ของนันทนาการที่กำหนดขึ้นเป็นงานประจำปี เพื่อส่งเสริมกิจกรรมท่องเที่ยว แต่มีส่วนทำให้ลาวโซ่งได้มีจิตสำนึกชาติพันธุ์ร่วมกัน

Focus

ศึกษาประวัติความเป็นมา วิถีชีวิต และเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมประเพณีการละเล่นอิ่นก๋อน การร้อง การรำ และดนตรี รวมถึงความสำคัญของการละเล่นอิ่นก๋อนที่มีต่อชีวิตลาวโซ่ง และศึกษาปัจจัยทางสังคมที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของการละเล่นอิ่นก๋อน รวมทั้งแนวโน้มในการสืบทอดและการอนุรักษ์การละเล่นอิ่นก๋อนต่อไป (หน้า 110)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาติพันธุ์ลาวโซ่งที่บ้านทับคาง ตำบลทับคาง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาลาวโซ่ง เป็นภาษาถิ่นตระกูลไทย (หน้า 20)

Study Period (Data Collection)

ตุลาคม พ.ศ. 2539 - เมษายน พ.ศ. 2540

History of the Group and Community

ลาวโซ่งมีถิ่นฐานเดิมอยู่ในบริเวณสิบสองจุไทย ในเขตเวียดนามตอนเหนือเชื่อมต่อกับลาวและจีนตอนใต้ จนกระทั่งกลุ่มไทย ทางด้านทิศตะวันตกมีอำนาจขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 19-20 จึงได้เข้ามาอยู่ในความคุ้มครองของหลวงพระบาง แต่เนื่องจาก สิบสองจุไทยอยู่ใกล้เคียงกับประเทศจีนและเวียดนาม เจ้าเมืองสิบสองจุไทยจึงต้องส่งเครื่องบรรณาการไปผูกไมตรีสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้นอาณาจักรสยามเข้าไปมีอำนาจเหนืออาณาจักรล้านช้าง และได้ยกทัพไปตีนครเวียงจันทน์และเมืองต่างๆ หลายเมืองพร้อมทั้งกวาดต้อนเอาราษฎรจากเมืองเหล่านั้นเข้ามาตั้งบ้านเมืองอยู่ในอาณาจักรสยาม แต่เมื่อฝรั่งเศส แผ่อิทธิพลเข้าไปในเวียดนาม ได้พยายามรวมสิบสองจุไทยเข้าไปอยู่ในเขตอาณานิคมของตนด้วย ลาวโซ่งอำเภอเขาย้อย จ. เพชรบุรี ตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยกว่า 200 ปีมาแล้ว โดยอพยพมาจากแคว้นสิบสองจุไทยเข้าสู่ประเทศไทย 3 ครั้ง คือ ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เนื่องมาจากสงคราม มาตั้งบ้านเรือนอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ ในภาคกลาง ครั้งที่ 2 สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีการกวาดต้อนลาวโซ่งเข้ามา ให้ตั้งบ้านเรือนแถบจังหวัดเพชรบุรี ครั้งที่ 3 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ต่อมาลาวโซ่งกลุ่มนี้ได้อพยพเข้าไปอยู่ในเขตอำเภอเขาย้อย จ. เพชรบุรี (หน้า 111)

Settlement Pattern

ลาวโซ่งมีความคุ้นเคยกับความเป็นอยู่ในที่ดอนมากกว่าที่ราบลุ่ม จึงมักตั้งที่อยู่ในพื้นที่ทางฝั่งตะวันตกของถนนเพชรเกษมอย่างหนาแน่นนิยมตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ๆ กัน ลาวโซ่งเรียกบ้านว่า "เฮือน" ลักษณะบ้านแบบดั้งเดิมไม่มีฝากั้นห้อง เป็นบ้านไม้ชั้นเดียวยกพื้นใต้ถุนสูง สร้างด้วยไม้ไผ่และไม้อื่นๆ ในท้องถิ่น ห้องน้ำห้องส้วมแยกออกไปจากตัวเรือนประมาณ 6 เมตร ตัวบ้านมุงหลังคาเป็นจั่วสูงลาดลงมาคลุมตัวบ้าน พื้นเฮือนทำด้วยฟากไม้ไผ่ ใช้ลิ่มไม้เป็นสลักและหวายนำมาผูกแทนตะปู เสาบ้านทำด้วยไม้เนื้อแข็ง มีระเบียง ห้องโล่ง ห้องพิเศษ 1 ห้องเรียกว่าห้องผีเรือนหรือ "กะล้อห่อง" สำหรับทำพิธีเสนเรือน บนหน้าจั่วมี "ขอกุด" ถือเป็นเอกลักษณ์ของเฮือนลาว สำหรับบ้านลาวโซ่งที่อยู่ในตระกูลผู้ท้าว ส่วนหลังของเฮือนติดกับกะล้อห่องเรียกว่า "กว่าน" มีบันไดไม้ไผ่ไว้ขึ้นในตอนหามหมูที่เตรียมเรียบร้อยแล้ว สำหรับทำพิธีเสนเรือน โดยปกติบันไดนี้จะเก็บไว้ไม่นำมาใช้สำหรับการขึ้นหรือลงจากบ้านในยามปกติ ปัจจุบันบ้านเรือนบางหลังปลูกเป็นตึกแบบใหม่แต่ยังมีลักษณะรูปแบบของเรือนลาวโซ่งแบบดั้งเดิมผสมผสานกับรูปแบบบ้านเรือนของคนไทยในบางส่วน (หน้า 28 - 37)

Demography

ตำบลทับคางมีประชากรทั้งหมด 2,978 คน และประชากรร้อยละ 70 ของประชากรในอำเภอเขาย้อยมีเชื้อสายลาวโซ่งจำนวน 22,545 คน จากประชากรของอำเภอเขาย้อยทั้งหมด 37,320 คน (ฝ่ายปกครองอำเภอเขาย้อย ปี 2536) (หน้า 25-26)

Economy

ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ข้าวที่ปลูกส่วนใหญ่คือข้าวเจ้าเพื่อการบริโภคและจำหน่าย ทำสวนชมพู่ สวนมะม่วง ไร่มะขามหวาน เลี้ยงเป็ด ไก่ หมู โค กระบือ ชะมด ไหม สำหรับทอผ้าเพื่อจำหน่ายและใช้ในครัวเรือน เลี้ยงปลา ค้าขายรายย่อย อาชีพกลึงไม้ตาล ทอผ้า สานเข่ง การตัดเย็บเสื้อผ้า เสริมสวย งานช่าง รับราชการ รับจ้าง ในปัจจุบันอำเภอเขาย้อยได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่เขตอุตสาหกรรมเขตที่ 3 ในลักษณะนิคมอุตสาหกรรม มีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก (หน้า 28 - 35)

Social Organization

ในระบบสังคมดั้งเดิมของลาวโซ่ง มีการแบ่งชนชั้นออกเป็น 2 ชนชั้นคือ "ผู้ท้าว" ซึ่งสืบทอดมาจากพวกขุนนางและ"ผู้น้อย" ในปัจจุบันวิถีชีวิตของผู้ท้าวและผู้น้อยมีความแตกต่างกันน้อยมาก ที่ยังรักษาความแตกต่างไว้คือมีการประกอบพิธีเสนเรือบางอย่างที่ไม่เหมือนกัน ลาวโซ่งทั้งที่เป็นผู้ท้าวและผู้น้อยนับถือผีบรรพบุรุษ ซึ่งสืบทอดผ่านลูกผู้ชายคนที่ผีเดียวกัน ถือว่าอยู่ในตระกูลเดียวกัน ซึ่งลาวโซ่งเรียกว่า "สิง" ผู้หญิงที่แต่งานแล้วต้องเข้าไปอยู่ในตระกูลของสามีและนับถือผีบรรพบุรุษของสามี ครอบครัวของลาวโซ่งมีลักษณะเป็นครอบครัวขยาย ซึ่งมักจะให้ความสำคัญกับฝ่ายชายมากกว่าฝ่ายหญิง แต่ลักษณะครอบครัวมีการเปลี่ยนแปลงไป เพราะรุ่นหนุ่มสาวที่แต่งงานกันนิยมย้ายออกไปอยู่ต่างหาก (หน้า 40 - 43)

Political Organization

ตำบลทับคางแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 หมู่บ้าน (หน้า 26)

Belief System

ความเชื่อของลาวโซ่ง คือ ความเชื่อที่เกี่ยวกับผีและสิ่งที่เหนือธรรมชาติ ลาวโซ่งได้แบ่งระดับของผีออกเป็นระดับต่างๆ มีแถนใหญ่เป็นหัวหน้าคอยบัญชาให้แถนบริวารทำหน้าที่ต่างๆ กันคือ - แถนปัวก่าวิลาวี ดูแลทุกข์สุขและความอุดมสมบูรณ์ของมนุษย์โลก - แถนชาด กำหนดชะตาชีวิตและส่งให้มนุษย์มาเกิดในโลก - แถนแนน (แตนแนน) ตั้งมิ่งขวัญทำให้มนุษย์อายุสั้นยาวตามที่กำหนด ให้มีขวัญเป็นของตน - แถนบุน บันดาลความมั่งคั่งให้มนุษย์ - แถนคอ ทำให้เกิดการเจ็บป่วย - แถนเคาระ บันดาลให้เกิดเคราะห์ร้าย - แถนสิ๋ง (สิง) เป็นแถนประจำตระกูลรักษาให้ผู้ที่อยู่ในวงศ์ตระกูล อยู่เย็นเป็นสุข - แถนสัตย์ ดูและมนุษย์ให้อยู่ในระเบียบวินัย จับคนผิดมาลงโทษ - แถนนุ่งขาว บันดาลให้เกิดแสงสว่าง ทำให้คนมีความสวยงาม ลาวโซ่งเชื่อกันว่าเมื่อตายแล้ว วิญญาณจะล่องลอยเดินทางกลับไปเมืองลาวเหนือ เมืองไล เมืองแถง อันเป็นถิ่นฐานเดิม ลาวโซ่งจึงจัดพิธีศพเซ่นสรวงบอกทางให้เดินทางกลับไป เมื่อไปถึงแล้ววิญญาณต้องไปรายงานต่อผีแถน ผีฟ้าก่อน เมื่อผีแถน ผีฟ้ารับให้อยู่แล้ว ประมาณ 10 หรือ 15 วันจึงกลับมาบ้านเดิม ลูกหลานก็ทำพิธีรับ เรียกผีขึ้นเรือน ให้อยู่ในกะล้อห่อง แล้วทำพิธีสู่ขวัญเจ้า บ้านนอกจากนี้ลาวโซ่งยังนับถือ ผีบ้านผีเมือง ที่อยู่ตามศาลเจ้า ศาลหลักเมือง ต้นไม้ใหญ่ ผีประจำบ้านประจำตระกูล ได้แก่ ผีเรือน ผีขวัญ เชื่อว่าเมื่อแรกเกิดนั้นทุกคนต่างมีแม่ซื้อเป็นผีขวัญคุ้มครองอยู่ อายุพ้น 5 ขวบ แล้วมีผีเกือดคุ้มอยู่ พอ 10 ขวบขึ้นไปมีผีขวัญคุ้มครองจนแก่จนตาย มีแถนแนนเป็นผู้กำหนดสร้างให้เป็นมนุษย์สวยงาม มีอาการครบ 32 ประการ เชื่อว่าในร่างกายมี 32 ขวัญ ประเพณีและความเชื่ออื่น ๆ - ความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีเกี่ยวกับชีวิต เช่น การเกิด ต้องเซ่นผีเรือนที่กะล้อห่อง ให้ผีเรือนรับทราบและคุ้มครองให้ปลอดภัย การทำขวัญเด็กเกิดใหม่ การบวช การเลือกคู่ครอง เป็นต้น - ประเพณีเกี่ยวกับการทำมาหากิน การตั้งศาล บริเวณที่ทำกิน เช่น ท้องนา ศาลประจำหมู่บ้าน ปาดตงข้าวเม่า เป็นพิธีรับขวัญข้าวใหม่ การขึ้นบ้านใหม่ การนับมื้อเวนตง ในปัจจุบันได้หันมานับถือศาสนาพุทธและผสมผสานกับความเชื่อเรื่องผี (หน้า 43 - 44)

Education and Socialization

มีโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนวัดเทพประชุมนิมิตรและโรงเรียนวัดดอนทราย มีศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน 1 แห่ง (หน้า 28)

Health and Medicine

แต่เดิมรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยการใช้สมุนไพรควบคู่ไปกับคาถาอาคม มีหมอปัดเป่า หรือหมอเป่า เป็นผู้ทำพิธี เชื่อว่าผู้เจ็บป่วยส่วนมากถูกผีกระทำ หมอปัดเป่ายังทำการเสี่ยงทาย โดยให้ญาติผู้ป่วยหาไข่ไก่ใหม่ๆ 3 ฟอง มาปลุกเสกแล้วเอาไปกลิ้งตามตัวคนไข้ตั้งแต่หัวจรดเท้าทีละฟอง แล้วนำไปใส่ถ้วยเล็กๆ ถ้วยละฟอง ตอกเปลือกไข่ให้แตกเพื่อพิจารณาดูลักษณะของไข่มาทำนาย การรักษาคนไข้กระทำได้ตลอดเวลายกเว้นวันขึ้นหรือแรม 15 ค่ำ เพราะมีความเชื่อว่าเป็นวันผีแรม รักษาไปก็ไม่ได้ผล ปัจจุบันมีบริการสาธารณสุขทั้งสถานีอนามัยประจำตำบลทับคาง มีแพทย์ประจำตำบล ร้านขายยาแผนปัจจุบัน การรักษาในแบบดั้งเดิมที่ต้องอาศัยหมอชาวบ้าน ใช้สมุนไพรและอำนาจเหนือธรรมชาติลดบทบาทลงไป (หน้า 29-39)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ทอผ้า ลาวโซ่ง ทอผ้าเอง ย้อมเอง ใช้สีจากธรรมชาติ - การแต่งกาย ผู้ชายสวม เสื้อไท กางเกงส้วงขาเต้น นิยมคาดผ้าขาวม้า หรือคาด "หลวม" สำหรับใส่ยาสูบ หมากพลู เงินทอง - ผู้หญิงสวมผ้าซิ่นลาว ลาย "ลายแตงไทย" หรือ ลายแตงโม มีเชิงซิ่นหรือตีนซิ่น เมื่อสามีเสียชีวิต ผู้เป็นภรรยาต้องเลาะเอาตีนซิ่นออก เป็นการไว้ทุกข์ และซิ่นตาหมี หรือซิ่นตาหมี่ การนุ่งมีลักษณะพิเศษคือ จะจับริมผ้าทั้งสองชายมาทบกันตรงกลางให้จีบแยกจากกันแล้วพับริมผ้าด้านบนลงมาที่หน้าท้อง ชายซิ่นด้านหน้าสูงกว่าด้านหลัง เพื่อความสะดวกในการทำงาน ใส่เสื้อก้อม และนิยมแต่งกายด้วยผ้าเปียวหรือผ้าฮ้างนม ไปงานรื่นเริงหรือเมื่อทำงานบ้าน การแต่งกายในโอกาสพิเศษ - ผู้ชาย สวมกางเกง "ส้วงขาฮี" สวม "เสื้อฮี" - ผู้หญิง นุ่งผ้าซิ่นลาว สวมเสื้อฮี - เสื้อฮี เป็นเสื้อที่ใช้ในงานพิธีต่างๆ เช่น พิธีแต่งงาน งานศพ พิธีเสนเรือน พิธีเชิญผีผู้ตายขึ้นเรือน หากเสียชีวิตลงก็ใช้คลุมโลงศพ โดยการกลับเอาด้านที่มีลวดลายงามไว้ด้านนอก ด้วยความเชื่อที่ว่าด้านที่มีลวดลายสวยงามหรือที่เรียกว่าด้านผิด หมายถึงความไม่ดี มีไว้สำหรับคลุมศพเท่านั้น เวลาใส่ในพิธีต่างๆ จะเอาด้านที่มีลวดลายสวยงามไว้ด้านในเพื่อปกปิดลวดลายและเทคนิคการปักของแต่ละตระกูล - การแต่งกายของเด็ก สวมเสื้อผ้าที่มีสีดำ สีขาว เป็นเสื้อคอกระเช้า คอกลม หรือเพียงผ้าที่มีลักษณะคล้ายเอี๊ยม สวมหมวกทำด้วยผ้าสีดำ เย็บเป็นรูปทรงคล้ายถุงผ้า ไม่มีปีก ปลายชายด้านหลังยาวคลุมไหล่ นิยมปักด้วยไหมเป็นลวดลาย เรียกว่า มู หรือ มู่ นอกจากนี้มีเครื่องประดับ เช่น ต่างหู ไม้ขัดเกล้า สายพานหลา สร้อยคอ กำไลข้อมือ กำไลเท้า กะเหล๊บ - ทรงผม แบ่งตามวัย คือ เอื้อมไหล่ เอื้อมไร เป็นทรงผมของเด็กผู้หญิง ที่ผมยังสั้นอยู่ อายุ 13 - 14 ปี สับปิ้น พับปลายผมม้วนขึ้นใช้หวีสับไว้ตรงท้ายทอย ผู้หญิงอายุ 14 - 15 ผมจุกต๊บ ขมวดเป็นกระบังกระจุกหนึ่งอยู่ข้างหน้าส่วนข้างหลังถักเป็นเปีย ผู้หญิงอายุ 15 - 16 ปี การขับร้อง ฟ้อนรำและดนตรี - หมอขับ หนุ่มสาวลาวโซ่งที่มีความสามารถในการขับร้องโต้ตอบกันตามบทกลอนที่กำหนดขึ้นเอง บทเพลงคล้ายกับเพลงพื้นบ้านของไทย - การฟ้อนรำ แบ่งเป็นรำแคนย่าง รำแคนแล่น และรำแคนแกร - ดนตรี แคนเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการละเล่นเกือบทุกชนิดของลาวโซ่ง เช่น การบรรเลงนำขบวนสนุกสนานต่างๆ เช่น งานบวชนาค งานประจำปี งานกฐิน ผ้าป่า บรรเลงประกอบการขับร้องในงานเลี้ยง งานรื่นเริงต่างๆ (หน้า 45 - 50)

Folklore

อิ่นก๋อน หมายถึง การเล่นลูกช่วง หรือการโยนลูกช่วง เป็นการละเล่นที่ประกอบ ด้วยการต๊อดมะก๋อน การขับร้อง การฟ้อนรำและดนตรี เริ่มตั้งแต่เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ หรือประมาณต้นเดือนเมษายน เป็นต้นไป เมื่อเข้าสู่เดือน 6 ขึ้น 1 ค่ำ มีการเลี้ยงศาลประจำหมู่บ้าน การละเล่นอิ่นก๋อนก็ต้องยุติลง วิธีการเล่น แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ - อิ่นก๋อนเตียว หรืออิ่นก๋อนกลับ ชายหนุ่มผู้เข้าร่วมอิ่นก๋อนต่างแยกย้ายกันกลับหมู่บ้านของตนเองเมื่อเสร็จสิ้นการละเล่นในแต่ละครั้ง - อิ่นก๋อนค้าง ชายหนุ่มผู้เข้าร่วมอิ่นก๋อนยังไม่กลับหมู่บ้านของตนเองเมื่อเสร็จสิ้นการละเล่นลงในแต่ละครั้ง แต่เดินทางต่อไปเพื่อขอแสวงหาขวงที่ยินยอมให้กลุ่มตนได้อิ่นก๋อนด้วย สถานที่ในการละเล่นอิ่นก๋อน คือ ขวง หรือ ข่วง หมายถึง สถานที่นัดหมายในการอิ่นก๋อน ฝ่ายหญิงเป็นผู้กำหนดและจัดเตรียมขึ้น ส่วนใหญ่เป็นลานบ้านของบ้านใดบ้านหนึ่ง มักจะทำแคร่ด้วยไม้ไผ่เป็นที่นั่งสำหรับผู้เข้าร่วมอิ่นก๋อน และแต่ละขวงต้องจัดเตรียมกองไฟไว้กลางสำหรับให้แสงสว่าง หมู่บ้านใดที่มีลูกคอนผูกติดเสาไม้สูงๆ แสดงว่าบ้านนั้นเป็นขวงของหมู่บ้าน ชายหนุ่มจึงเป่าแคนและปรบมือเดินเข้าไปในลานขวง สาวน้อยใหญ่ในขวงก็ออกมาพูดคุย ระหว่างเป่าแคนปรบมือ เล่นกันอยู่ ชายหนุ่ม เริ่มกล่าวคำร้องทักทาย ชักชวนให้สาวๆ สนใจ ลงมาเล่นด้วย มีหมอขับ หรือหมอลำ สามารถตอบโต้กับฝ่ายตรงข้ามได้ทันท่วงที ทำหน้าที่ร้องลำนำ โดยไม่มีดนตรีประกอบ เรียกว่าขับสายแปง แล้วถามความสมัครใจของฝ่ายหญิงว่าจะอิ่นก๋อนกับพี่น้องขวงนี้จะได้หรือไม่ ฝ่ายสาวจะปรึกษากันว่ารับเล่นหรือไม่ ถ้าขวงนั้นมีหนุ่มจากกลุ่มอื่นเข้ามาเป่าแคน ปรบมือขออิ่นก๋อนไว้ก่อนแล้ว กลุ่มหนุ่มที่เข้าไปทีหลังก็หมดโอกาส และต้องเดินทางไปขวงอื่น ในกรณีที่รับ ชายหนุ่มก็เริ่มเป่าแคนต่อไปอีก 3-4 เพลง ก็หยุดแล้วล้างหน้าทาแป้งแต่งตัวลงต๊อดมะก๋อน (โยนลูกช่วง) ต่อไป การเล่นต๊อดมะก๋อนมีผู้ร่วมเล่นฝ่ายละประมาณ 5-6 คนเท่าๆ กัน โดยการยืนหันหน้าเข้าหากันอยู่กลางขวง เรียงตามลำดับสูงต่ำ หรือบางครั้งเรียงตามลำดับอาวุโสห่างกันประมาณ 3-5 วา แล้วลงมือโยนลูกช่วง ฝ่ายชายพูดชักชวนฝ่ายหญิงว่า "ฮับมะกอนเน้อปีน้อง" จากนั้นก็จับสายมะก๋อน แกว่ง 3-4 รอบจึงโยนตรงให้หญิงสาว เมื่อฝ่ายสาวรับลูกมะก๋อนแล้วจึงโยนลูกช่วงกลับบ้าง ฝ่ายหนุ่มจะกล่าวคำท้าว่า "ถ้าฮับได้สู่จีให้ฮังฮาแจ๋เร้ย ปีน้องเอ้ย ถ้าฮับได้ฮาจีส่อเยาะไม้เน็บหูส้างหนึ่งเร้ย" หรือ "ส่อผ้าเปียวสู่เร้ย" ถ้าฝ่ายสาวรับได้สิ่งของที่ฝ่ายหญิงสาวต้องการจากชายหนุ่มอาจเป็น นาฬิกาข้อมือ หรือผ้าขาวม้า เมื่อยุติการเล่นลงแล้วก็คืนให้กัน ระยะเวลาที่ใช้ในการทอดลูกช่วงประมาณ 2 ชั่วโมง แล้วหยุดพัก ขณะหยุดพัก และก่อนเวลาอาหาร หมอขับหนุ่มเริ่มทำหน้าที่ขับลำนำเป็นบทชมเชย ยกย่องหมู่บ้านที่กลุ่มตนมาเยือน 1 บท แล้ว หมอขับสาวทำหน้าที่เป็นตัวแทนฝ่ายหญิงทำหน้าที่ขับร้องลำนำตอบ ซึ่งบทขับนี้ไม่มีเสียงดนตรีประกอบใดๆ เป็นการถามถึงที่อยู่ของฝ่ายหนุ่มๆ และเรื่องทั่วๆ ไป เกี่ยวกับหมู่บ้าน ต่างฝ่ายต่างขับลำนำแก้กันคนละบทสองบทแล้วจึงชวนกันหยุดพักเพื่อกินข้าวงาย อาหารที่นำมาเลี้ยงเป็นหน้าที่ของฝ่ายหญิง หรือบางครั้งอาจต้องกลับไปเอาที่บ้าน หนุ่มๆ ที่หมายตาสาวก็ติดตามสาวไปที่บ้าน เพื่อทำความรู้จักพ่อแม่ของฝ่ายหญิง และอาจช่วยอาสาตัดฟืน ตำข้าว ทำงานเพื่อแสดงให้เห็นความแข็งแรงของตน เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้วต่างฝ่ายต่างแยกกันไปพักผ่อน เวลาประมาณ 4 โมงเย็น เล่นโยนลูกช่วงอีกครั้งหนึ่ง ขณะที่โยนลูกช่วงมีการขับเพลง เรียกว่าขับสายแปง ในเชิงเกี้ยวพาราสีกัน ด้วยภาษาที่แสดงความรัก การเจียมเนื้อเจียมตัว เวลาหยุดพักชักชวนกันไปช่วยงานบ้านด้วยการฝ่าฟืน ตักน้ำ ตำข้าว หาบน้ำใช้ เพื่อความสนิทสนมอีกครั้ง ถึงเวลาค่ำ หมอแคนเริ่มเป่าแคนเป็นการชักชวนสาวๆ ให้เข้าร่วมฟ้อนรำ ในระหว่างนั้นผู้ใหญ่ในหมู่บ้านต่างชักชวนลูกหลานที่ยังอยู่ในวัยเด็กไปดูการฟ้อนรำด้วย ในการฟ้อนรำมีเสียงเพลงที่ร่วมกันขับร้องประกอบเพลงแคนเรียกว่า "เซิ่งกอน" ตอบโต้กันในลีลาต่างๆ หากฝ่ายใดร้องไม่ทัน ตอบโต้ไม่ได้ ถือว่าเป็นฝ่ายแพ้ ต้องเริ่มต้นร้องกันใหม่ ถึงเวลา 5 - 6 ทุ่มก็หยุดพัก กินแลง เมื่ออิ่มแล้ว หนุ่มหมอขับเริ่มขับสายแปงอีกครั้งเพื่อเป็นการอวยพร ขออภัยผู้สูงอายุของขวงนั้น เมื่อล่วงเข้าสู่เที่ยงคืน ถึงขั้นตอนการวานสาว คือ การจองสาวเพื่อคุยด้วย และ โอ้สาว คือ การที่ชายหนุ่มพูดคุยกับหญิงสาวที่ตนสนใจ โดยให้กลุ่มหญิงสาวมานั่งเรียงแถวกันเรียงตามอายุน้อยไปหามาก ใช้ผ้าสไบหรือผ้าเปียวคลุมหน้า ชายหนุ่มต้องอาศัยการจดจำรูปร่างลักษณะของหญิงสาวที่ตนสนใจในขณะร่วมอิ่นก๋อนเพื่อบอกแก่หัวหน้าขวงได้ถูกต้องว่าตนเองจะวานสาวคนใด ฝ่ายหญิงสาวก็พยายามปิดบังตัวเองเพื่อทดสอบความจำของชายหนุ่ม ในขณะนั้นกองไฟที่ให้แสงสว่างจะเริ่มถูกพรางให้มืดลงเพื่อไม่ให้แต่ละฝ่ายจำหน้ากันได้ เมื่อทั้งสองฝ่ายพร้อมแล้วหัวหน้าข่วงเป็นผู้ดำเนินการด้วยการตั้งคำถามว่า ใครจะวานแม่ที่ 1 ฝ่ายชายจะลุกขึ้นยืนตรงหน้าหญิงสาวที่ตนหมายปอง สาวคนแรกจะลุกขึ้นเดินนำหนุ่มคนนั้นไป เพื่อหาสถานที่คุยกันตามลำพัง หัวหน้าขวงดำเนินการต่อไปจนครบจำนวนหญิงสาว การพูดคุยนั้นถ้าถูกใจก็จะสานสัมพันธ์ต่อไป ถ้าไม่ถูกใจฝ่ายหญิงก็ขอตัวกลับบ้าน การอยู่ในที่ลับตานั้นไม่มีการประพฤติที่เสียหาย หรือล่วงเกินกัน ผู้เข้าร่วมอิ่นก๋อน ต้องเป็นหนุ่มสาวที่อายุประมาณ 15 - 16 ปีขึ้นไป ผู้ชายลาวโซ่งนิยมสวมกางเกงส้วงฮีและสวมเสื้อไท ในระหว่างการเดินทางไปอิ่นก๋อนตามหมู่บ้านต่างๆ ใช้ผ้าขาวม้า หรือหลวม กระเป๋าเล็กๆ สำหรับใส่หมาก พลู บุหรี่ และของใช้อื่นๆ คาดเอว หนุ่มๆ ต่างเตรียมเสื้อฮี ติดตัวไปด้วย ผู้หญิงที่ร่วมอิ่นก๋อนต่างนุ่งผ้าซิ่นลายแตงไทย สวมเสื้อก้อม หรือสวมเสื้อกระโปรง ห่มทับด้วยผ้าสไบสีต่างๆ หรือผ้าเปียว มาพันรอบอก ใส่เครื่องประดับอย่างสวยงาม เมื่อถึงเวลาโยนลูกช่วงต่างเปลี่ยน เป็นสวมเสื้อฮีกันทุกคน (หน้า 63-110)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

การละเล่นอิ่นก๋อนมีส่วนทำให้เกิดการมีสำนึกทางชาติพันธุ์ร่วมกัน (หน้า 113)

Social Cultural and Identity Change

ปัจจัยทางสังคมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของการละเล่นอิ่นก๋อน ด้านกระบวนการละเล่น ยังคงรูปแบบเดิม ในด้านความบันเทิง แต่การละเล่นบางขั้นตอนได้ถูกตัดทอนไป คือ การเล่นต๊อดมะก๋อน การวานสาว และการโอ้สาว มีการควบคุมจังหวะด้วยเครื่องกำกับจังหวะสมัยใหม่แทนการตบมือ ความเปลี่ยนแปลงในเรื่องของค่านิยมและประเพณีปฏิบัติ เช่น มีการละเมิดกฎเกณฑ์การห้ามมิให้ล่วงเกินกันระหว่างหนุ่มสาวในขวง หนุ่มไทยนิยมเข้าร่วม อิ่นก๋อนกับกลุ่มลาวโซ่ง บางครั้งไปล่วงเกินหญิงสาวลาวโซ่ง ทำให้ฝ่ายหญิงเกิดความกลัว ไม่กล้าอิ่นก๋อน ทำให้การเล่นอิ่นก๋อนไม่ได้รับความนิยมที่จะสืบทอด ความเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษา แต่เดิมมีการถ่ายทอดความรู้สืบต่อกันจากบิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย และบุคคลใกล้ชิด ต่อมานิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนในระบบของรัฐบาลและให้ความสำคัญกับการศึกษามากขึ้น ทำให้ละเลยประเพณีและวัฒนธรรมพื้นบ้าน ความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ หนุ่มสาวลาวโซ่งขาดการเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน เนื่องจากความจำเป็นทางเศรษฐกิจ ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารและการคมนาคม สามารถหาความสนุกสนานจากแหล่งอื่น เช่น โทรทัศน์ ได้ง่ายกว่าการเล่นอิ่นก๋อน เวลาที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงและสูญไปของอิ่นก๋อนคือ 2516-2521 หลังจากนั้นการละเล่นอิ่นก๋อนก็หมดบทบาทหน้าที่ไปจากอำเภอเขาย้อย จนกระทั่ง พ.ศ. 2528 มีกลุ่มอนุรักษ์ประเพณีลาวโซ่งร่วมมือกับทางราชการฟื้นฟูและอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรม ของชนกลุ่มนี้ขึ้น ด้วยเหตุผลทางด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยการกำหนดรูปแบบที่มุ่งเน้นไปทางคามบันเทิงเป็นส่วนใหญ่ มีการเปลี่ยนชื่อ จากอิ่นก๋อน เป็น งานฟื้นฟูประเพณีไทยทรงดำ ลาวโซ่งและคนไทยเชื้อสายอื่นๆ ในอำเภอเขาย้อยนิยมเรียกว่า งานทรงดำ ปัจจุบันการละเล่นอิ่นก๋อน กำลังอยู่ในช่วงเวลาของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรมของสังคมเมืองและสังคมชาติ รูปแบบ ความหมาย และบทบาทหน้าที่ของอิ่นก๋อน จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย โดยเฉพาะในเรื่องการพบปะพูดคุยเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยสนิทสนมกันของหนุ่มสาวที่นำไปสู่การเลือกคู่ครองนั้น ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องอยู่ ภายใต้กฎเกณฑ์และเงื่อนไขของอิ่นก๋อน อีกต่อไป เพราะหนุ่มสาวมีโอกาสได้พบปะสนิทสนมกันเองอย่างอิสระ อย่างไรก็ ตาม อิ่นก๋อนยังมีบทบาทด้านความบันเทิง และตอบสนองความต้องการของสังคมในแง่ของการรวมกลุ่ม ความเป็นปึกแผ่นมั่นคงของปัจเจกบุคคลและชุมชน ตอบสนองเรื่องของการมีสำนึกร่วมทางกลุ่มชาติพันธุ์ที่ต้องการรักษาเอกลักษณ์ดั้งเดิมของกลุ่มให้คงอยู่ตลอดไป

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนภูมิกรอบความคิดการจัดการทรัพยากรชีวภาพในระดับหมู่บ้าน (หน้า 33) แผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่เพาะปลูกกับทิศทางของแสงอาทิตย์ (หน้า 125) แผนที่แสดงพื้นที่ศึกษา (หน้า 35) แผนที่หมู่บ้านหน่าโข (หน้า 38)

Text Analyst พัชรลดา จุลเพชร Date of Report 05 พ.ย. 2555
TAG ลาวโซ่ง ไทยโซ่ง ผู้ลาว โซ่ง ไตดำ, อิ่นก๋อน, การละเล่น, เพชรบุรี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง