สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ไทยมุสลิม,ความเป็นอยู่,ประเพณี,ผู้นำชุมชน,กรุงเทพมหานคร
Author สรัญ เพชรรักษ์
Title บทบาทผู้นำชุมชนมุสลิมในกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาชุมชนสุเหร่าบ้านดอน
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity มลายู ออแฆนายู มลายูมุสลิม ไทยมุสลิม, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเนเชี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 103 Year 2542
Source หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract

มีเนื้อหาครอบคลุมหลายประเด็น คือ ประวัติความเป็นมาของมุสลิมสุเหร่าบ้านดอน สภาพปัจจุบัน การคมนาคม ระบบครอบครัวเครือญาติ การแต่งกาย ชุมชนกับระบบศาสนา บทบาทของผู้น้ชุมชน

Focus

ศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสังคมในชุมชนสุเหร่าบ้านดอนที่มีต่อบทบาทของผู้นำเฉพาะอิหม่ามและคณะกรรมการชุมชน (หน้า 5)

Theoretical Issues

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมของชุมชนจากชุมชนชนบทไปสู่ชุมชนเมือง ซึ่งทำให้มีพัฒนาการในเรื่องความชำนาญเฉพาะด้านมากขึ้นมีการแบ่งงานกันทำมากขึ้น มีส่วนสำคัญในการแบ่งบทบาทผู้นำ คือ อิหม่ามทำหน้าที่ผู้นำทางศาสนาและคณะกรรมการชุมชนทำหน้าที่อื่น ๆ ทางเศรษฐกิจและสังคมของชีวิตในชุมชน (หน้า 5-23)

Ethnic Group in the Focus

มุสลิมซึ่งคนในชุมชนเล่ากันว่าสืบเชื้อสายมาจาก "แขกตานี" หรือ "แขกปัตตานี" (หน้า 34)

Language and Linguistic Affiliations

มุสลิมในชุมชนสุเหร่าบ้านดอนเปลี่ยนมาใช้ภาษาไทยแต่ยังคงนิยมเรียกเครือญาติด้วยภาษายาวี (หน้า 47-49, 51-52, 79-90)

Study Period (Data Collection)

ผู้วิจัยไม่ได้ระบุช่วงเวลากล่าวแต่เพียงเข้าไปอาศัยอยู่ในชุมชนเป็นเวลา 1 ปี 4 เดือน (หน้า ฆ)

History of the Group and Community

ผู้เขียนได้อ้างข้อสันนิษฐานของเสาวนีย์ จิตต์หมวด (2531, 113) ว่าในสมัย รัชกาลที่ 1 ได้มีการอพยพมุสลิมจากจังหวัดปัตตานีมาไว้ตามที่ต่างๆ และจากการสัมภาษณ์ผู้อาวุโสในชุมชนสุเหร่าบ้านดอนซึ่งบอกว่าบรรพบุรุษมีมาจากปัตตานี ผู้เขียนจึงประมาณว่าสุเหร่าบ้านดอนอาจเก่าแก่ถึง 206-211 ปี ซึ่งผู้บุกเบิกได้เข้ามาจับจองที่ทำนา ในบริเวณที่เป็นชุมชนในปัจจุบันและเรียกชุมชนตนเองว่า "บ้านดอน" เนื่องจากเป็นที่ดอนและในสมัย รัชกาลที่ 3 ได้มีการขุดคลองแสนแสบชาวบ้านได้ย้ายเข้าไปอยู่ใกล้คลองมากขึ้น ซึ่งขณะนั้นมี 20-30 ครัวเรือนและพวก "ไบ๋" จากอินเดียซึ่งมีอาชีพเลี้ยงควายนมมาอยู่ร่วมด้วยบ้าง (หน้า 35-37)

Settlement Pattern

ลักษณะบ้านเรือนของคนในชุมชนสุเหร่าบ้านดอนค่อนข้างหลากหลายส่วนใหญ่จะปลูกบ้าน 2 ชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ชั้นบนสร้างด้วยไม้ที่เป็นบ้านชั้นเดียวหรือเป็นเรือนไทยมีสภาพเก่าแก่หรือทรุดโทรมมาก ส่วนบ้าน 3 ชั้นและอพาร์ทเมนท์จะมีสภาพใหม่เอี่ยม ชุมชนมีสภาพแออัดมาก ส่วนมัสยิดติดกับคลองแสนแสบและมีโป๊ะข้ามฟากบริการ 24 ชั่วโมง (หน้า 38, 48)

Demography

ข้อมูลจากงานพัฒนาชุมชน สำนักงานเขตคลองเตย ระบุว่ามีพื้นที่ทั้งหมด 15 ไร่ จำนวนครัวเรือน 500 หลังคาเรือน จำนวนครอบครัว 1,350 ครอบครัว จำนวนประชากร 3,750 คน สภาพการถือครองที่ดินส่วนใหญ่เช่าที่ปลูกบ้านและเป็นบ้านเช่า (หน้า 38)

Economy

จากสภาพแวดล้อมที่เป็นเส้นทางผ่านสายสำคัญๆ เป็นทำเลที่ดีในการประกอบอาชีพค้าขายโดยเฉพาะอาหารการกินเกือบทั้งหมดผู้หญิงเป็นคนทำ ผู้ชายในชุมชนมักมีรายได้ต่ำ ประกอบอาชีพขับรถรับจ้าง นอกจากนี้ ยังมีการประกอบอาชีพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นลานเช่าที่จอดรถ ร้านตัดผม ร้านเช่าหนังสือ ร้านเช่าวีดีโอ มีตลาดนัดทุกวันเสาร์และพุธ การประกอบกิจการที่หลากหลายเช่นนี้ทำให้มีสภาพเศรษฐกิจที่พึ่งพาแลกเปลี่ยนกันเองในชุมชนได้ (หน้า 43-44,49 )

Social Organization

การเลือกคู่ครอง ชาวสุเหร่าบ้านดอนไม่ยินยอมให้เกิดการสมรสกับคนนอกศาสนาจะแต่งงานกับคนมุสลิมด้วยกัน คนในชุมชนจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ปัจจัยทางเศรษฐกิจและพื้นที่อยู่อย่างจำกัดมีอิทธิพลต่อรูปแบบครอบครัว เมื่อประชากรเพิ่มขึ้นไม่สามารถขยับขยายออกไปตั้งครัวเรือนใหม่ได้นอกจากขยายบ้านขึ้นไปในทางสูง แต่ในกรณีที่กำลังทรัพย์ไม่เพียงพอก็จะอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวรวมเป็นส่วนใหญ่ บางครอบครัวมีสมาชิกในครอบครัวถึง 3 รุ่น แต่มีบางส่วนที่มีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยว การที่มีที่ดินจำกัดทำให้มีการตั้งถิ่นฐานหลังการแต่งงานที่หลากหลาย (หน้า 44-48)

Political Organization

บทบาทของผู้นำ จากเดิมมีอิหม่ามเป็นผู้นำทั้งในด้านศาสนาและเป็นผู้นำชุมชน ต่อมาหน่วยงานของรัฐได้จัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการชุมชนขึ้นรองรับนโยบายของภาครัฐ ตลอดจนแต่งตั้งผู้มีความรู้ความสามารถเหมาะสมเป็นที่ปรึกษาหรือคณะทำงานในฝ่ายต่าง ๆ ทำให้เกิดการแยกย่อยและการแบ่งงานทางโครงสร้างของผู้นำในชุมชนขึ้น จากที่เคยมีอิหม่ามเป็นผู้นำกลายเป็นมีผู้นำในชุมชน 2 ประเภท บทบาทในการเป็นผู้นำของอิหม่ามเฉพาะในด้านที่นอกจากเรื่องศาสนาจึงลดลง เนื่องจากมีคณะกรรมการชุมชนเข้าทำหน้าที่แทน (หน้า 2-3,68-87,89) บทบาทของอิหม่าม อิหม่ามเป็นผู้นำในการละหมาดในมัสยิด การจะเป็นอิหม่ามได้นั้นต้องผ่านการเลือกตั้งจากปวงสัปปุรุษ เมื่อได้รับเลือกตั้งแล้วต้องอยู่ในตำแหน่งจนตลอดชีวิต เว้นแต่ชราจนไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือทุพพลภาพอย่างใดอย่างหนึ่ง ในชุมชนอิหม่ามมีบทบาท คือ เป็นคณะกรรมการมัสยิด ก่อสร้างมัสยิด ก่อสร้างโรงเรียนสอนศาสนา ให้ความร่วมมือระหว่างชุมชน จัดตั้งกลุ่มยุวชน กรณีพิพาทเรื่องท่าเรือข้ามฟากทำให้คนในชุมชนกลุ่มใหญ่ไม่ชอบอิหม่าม เนื่องจากขัดผลประโยชน์ของคนกลุ่มหนึ่ง คณะกรรมการชุมชนเกิดขึ้นใน พ.ศ. 2528 สมัยที่นายดำรง ลัทธพิพัฒน์เป็นผู้ว่าการเคหะแห่งชาติได้ดำเนินนโยบายปรับปรุงทางเท้าเปลี่ยนสภาพที่เคยเป็นสะพานไม้พาดมาเป็นราดคอนกรีต รวมทั้งดำเนินการให้มีการก่อสร้างศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนและอำนวยการให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการชุมชนขึ้น หน้าที่นี้ต่อมาได้โอนให้สำนักงานเขตแต่งตั้งเจ้าหน้าที่มาอย่างน้อย 7 คน มาทำหน้าที่อำนวยการแทน ในทางปฏิบัติกิจกรรมของคณะกรรมการชุมชนขึ้นอยู่กับบุคลิกของคณะกรรมการบางคนมากกว่าคณะกรรมการโดยรวม บทบาทของคณะกรรมการในชุมชน คือ จัดตั้งหน่วยบรรเทาสาธารณภัยบ้านดอน งานด้านกีฬาและต่อต้านยาเสพติด จัดอบรมอาชีพผ้าบาติก นำประท้วงปิดคลองแสนแสบ ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ คนในชุมชนไม่ค่อยสนใจเข้าร่วมกิจกรรมที่คณะกรรมการชุมชนจัดขึ้น สิ่งนี้ไม่ได้มาจากความเพิกเฉยของคนในชุมชน หากคณะกรรมการชุมชนเป็นผู้นำในกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของคนส่วนใหญ่จริงๆ คนจำนวนมากก็พร้อมที่จะเข้าร่วม สภาพความสัมพันธ์ระหว่างอิหม่ามและคณะกรรมการชุมชนมีความพยายามในการผสมผสานกันระหว่างบทบาทของตนเข้ากับบทบาทของอีกฝ่ายหนึ่งในกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน (หน้า 68-95)

Belief System

ชาวชุมชนสุเหร่าบ้านดอนนับถือศาสนาอิสลามยึดหลักศรัทธา 6 ประการ คือ 1.ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า 2.ศรัทธาในบรรดามลาอิกะห์ 3.ศรัทธาในบรรดาคัมภีร์ 4.ศรัทธาในบรรดาศาสนทูต 5.ศรัทธาในวันพิพากษา 6.ศรัทธาในกำหนดสภาวการณ์ และหลักปฏิบัติ 5 ประการ คือ 1.การปฏิญาณตน 2.การละหมาด 3.การถือศีลอด 4.การบริจาคซะกาต 5.การประกอบพิธีฮัจญ์ อิทธิพลของศาสนาที่มีต่อประเพณีเกี่ยวกับชีวิต เช่น ประเพณีการเกิด มุสลิมถือว่าบุตรถือของขวัญที่พระเจ้าประทานมาให้ มุสลิมจะ "อะซาน" และ "อิกอมะห์" ที่หูซ้ายขวาของเด็กแรกเกิด พิธีกรรมนี้จึงนับว่าเป็นการต้อนรับเด็กเข้าสู่ความเป็นมุสลิมในเบื้องต้น ประเพณีการแต่งงาน มุสลิมจะให้ความสำคัญมาก โดยอัลกุรอ่านกล่าวไว้ว่า "สูเจ้าทั้งหลายอย่าอยู่ร่วมกันโดยไม่มีการนิก๊ะห์ (แต่งงาน) อย่างเด็ดขาด" ในพิธีอิหม่ามจะต้องร่วมอยู่ด้วยเสมอทำหน้าที่เป็นตัวแทนผู้ปกครองของฝ่ายเจ้าสาว ส่วนตัวเจ้าสาว จะไม่มาร่วมในพิธีแต่จะไปรออยู่ในห้องหอจนกว่าขั้นตอนจะเสร็จสิ้น ประเพณีการตาย เมื่อมีคนตายจะต้องนำศพไปฝังภายใน 24 ชั่วโมงมีการขอดูอา (ขอพร) ให้ศพซึ่งเรียกว่า มัยยัต อิหม่ามจะเป็นผู้นำทุกครั้ง เมื่อทราบข่าวว่ามีคนตายถือเป็นหน้าที่ที่คนรู้จักต้องไปเยี่ยมศพโดยไม่ต้องมีการเชิญ ใกล้เวลาของดูอาจึงค่อยนำศพไปบนสุเหร่า จากนั้น จึงเดินแถวนำศพไปฝัง พิธีฝังศพสามารถเป็นบทลงโทษสำหรับไว้ป้องกันมุสลิมเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอื่นได้ กล่าวคือ พวกที่เปลี่ยนศาสนาถือว่าละทิ้งศรัทธา 5 ประการ เมื่อตายลงบรรดาพ่อแม่พี่น้องจะไม่ทำพิธีศพให้ มุสลิมเชื่อในดวงวิญญาณผู้ที่ได้รับการศึกษาทางศาสนาอิสลามจะทราบว่าเมื่อคนตายแล้วดวงวิญญาณจะออกจากร่างไปรวมกันอยู่ที่หนึ่งและจะยังไม่ไปเกิดจนถึงวาระสุดท้ายของโลกหรือวันพิพากษา พระเจ้าจะตัดสินว่าดวงวิญญาณนั้นได้ทำความดี ความชั่วมามากน้อยเท่าใดต้องไปตกนรกหรือขึ้นสวรรค์ (หน้า 54-67)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ผู้วิจัยไม่ได้กล่าวถึง เนื่องจากชุมชนสุเหร่าบ้านดอนอยู่ในพื้นที่ที่เป็นเมือง มีการคมนาคมสะดวก สันนิษฐานได้ว่าชาวชุมชนน่าจะไปโรงพยาบาลหรือคลินิกเมื่อเกิดอาการเจ็บป่วย (หน้า 4-5)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การแต่งกายของผู้ชายห้ามใส่เครื่องประดับนิยมสวมหมวกครึ่งวงกลม เมื่อทำพิธีกรรมทางศาสนา นุ่งโสร่ง ผู้หญิงมุสลิมไม่ได้เคร่งครัดเรื่องการแต่งกายตามข้อกำหนดทางศาสนา จะแต่งกายก็เฉพาะตอนทำละหมาดเท่านั้น ปกติจะแต่งตัวเหมือนคนไทยอยู่กับบ้านนิยมนุ่งโสร่ง หากเป็นวัยรุ่นเมื่อออกนอกบ้านก็แต่งตัวตามสมัยนิยม ส่วนหญิงวัยกลางคนเมื่อออกนอกบ้านหรือไปร่วมงานประเพณี เช่น งานศพ งานแต่งงานจะแต่งฮิญาบและนุ่งโสร่ง แต่หลายรายมักนิยมสวมหมวกคลุมผมที่ทำด้วยไหมพรมแทนการคลุมหน้า ในส่วนของเด็ก ๆ ทั้งหญิงและชายจะแต่งกายเหมือนเด็กไทยทั่วไป แต่เมื่อต้องทำละหมาดก็จะนุ่งโสร่งสวมหมวก (หน้า 50-52 )

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ชาวชุมชนสุเหร่าบ้านดอนรู้สึกว่าแตกต่างจากคนไทยโดยทั่วไปที่นับถือศาสนาพุทธจะเรียกตนเองว่า "คนอิสลาม" หรือ มุสลิม แต่จะไม่เรียกตัวเองว่าแขกและไม่ชอบที่ถูกคนไทยเรียกว่า "แขก" (หน้า 63)

Social Cultural and Identity Change

เดิมที่เคยอยู่กันเป็นกลุ่มก้อนประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม ที่คลองแสนแสบเป็นแหล่งอาหารและเส้นทางคมนาคมหลักที่ทำให้การติดต่อกับคนภายนอกเป็นไปอย่างจำกัด ส่วนใหญ่เป็นการแลกเปลี่ยนอาหารและสิ่งจำเป็นในการดำรงชีพ ต่อมาเมื่อสภาพสังคมเปลี่ยนแปลง วิถีชีวิตของคนค่อยๆ เปลี่ยนตาม เมื่อมีการตัดถนนสุขุมวิทและถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ที่ดินราคาสูงขึ้น มีปัญหาทำนาได้ผลผลิตต่ำ น้ำในคลองแสนแสบเริ่มเน่าเสีย เงินตราเข้ามามีบทบาทสำคัญทำให้คนในชุมชนขายที่ออกไปมากและเลิกทำนาในที่สุด ผู้คนจากที่ต่าง ๆ เข้ามาอยู่อาศัยและเปิดกิจการต่างๆ อยู่อาศัยร่วมกับคนต่างวัฒนธรรม และการปฏิบัติทางศาสนาหย่อนยานไปบ้าง เช่น ไม่สามารถละหมาดได้ครบทุกเวลา บทบาทของอิหม่ามก็เปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยเป็นผู้นำทั้งศาสนาและชุมชน เมื่อหน่วยงานของรัฐมีนโยบายจัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการชุมชนขึ้น การยอมรับบทบาทผู้นำของอิหม่ามจึงคงเห็นเด่นชัดเฉพาะการเป็นผู้นำทางศาสนา (หน้า 36-37, 52-53, 88-94 )

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ภาพที่ 2 ท่าเรือข้ามฟากหน้ามัสยิดดารุ๊ลมัวะห์ซีนีน ภาพที่ 6 การแต่งกายเพื่อทำพิธีทางศาสนาของชายมุสลิมในชุมชนสุเหร่าบ้านดอน ภาพที่ 7 การละหมาดวันศุกร์ในมัสยิดดารุ๊ลมัวะซีนีน แผนที่ 1 ชุมชนสุเหร่าบ้านดอนบริเวณซอยประเสริฐสิทธิ์ แผนที่ 2 ชุมชนสุเหร่าบ้านดอนบริเวณซอยแสงเงินและซอยพร้อมพรรค (หน้า 39,40,41,51,58 )

Text Analyst จารุวรรณ เจนวณิชย์วิบูลย์ Date of Report 05 ม.ค. 2566
TAG ไทยมุสลิม, ความเป็นอยู่, ประเพณี, ผู้นำชุมชน, กรุงเทพมหานคร, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง