สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง),โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง),ประวัติความเป็นมา,การตั้งถิ่นฐาน,ประเทศพม่า
Author Saw Hanson Tadaw
Title The Karens: Their Origin and Early Movements
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity โพล่ง โผล่ง โผล่ว ซู กะเหรี่ยง, ปกาเกอะญอ, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพายัพ Total Pages 5 Year 2505
Source The Nation Supplement : Rangoon, July 8.
Abstract

กะเหรี่ยงเป็นที่รู้จักของชาวยุโรปในราวคริสต์ศตวรรษที่ 18 และถูกเรียกในชื่อต่าง ๆ ส่วนคำว่า "กะเหรี่ยง" นั้นมาจากภาษาพม่าว่า "Kayin" ซึ่งมีผู้สันนิษฐานถึงที่มาของศัพท์หลากหลายแนว ส่วนหนึ่งที่บทความนี้ได้ให้ความสนใจคือ ภาษาของกะเหรี่ยงซึ่งเป็นภาษาที่มีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาจีน เพราะภาษา กะเหรี่ยงมีเสียงวรรณยุกต์ แต่ด้านการเรียงคำมีความแตกต่างจากภาษาจีน นอกจากนี้ลักษณะทางภาษาเป็นส่วนสำคัญ ที่ใช้ในการสันนิษฐานถึงทิศทางการอพยพ รวมถึงช่วงเวลาของการอพยพก่อนหรือหลังชนเผ่าอื่นอีกด้วย กะเหรี่ยงมีเรื่อง ราวคล้ายคลึงกับในพระคัมภีร์ไบเบิล แต่ไม่สามารถอธิบายได้ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร หรืออาจจะเกิดจากการพ้องกัน โดยบังเอิญก็ได้ อย่างไรก็ดี แม้ว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่บ่งบอกความเป็นมาของชนเผ่ากะเหรี่ยงไม่ได้ถูกบันทึกไว้ แต่จากนิทาน มุขปาฐะที่เล่าถึงการอพยพจากบ้านเกิด ที่อยู่ทางเหนือลงมาทางใต้นั้นทำให้สันนิษฐานได้ว่า ต้นกำเนิดเดิมของกะเหรี่ยง นั้นอยู่ทางเหนือ แล้วเคลื่อนที่ลงมาสู่ประเทศพม่า ผ่านรัฐฉานและกระจายตัวไปทางทิศใต้และทิศตะวันตก กะเหรี่ยงแบ่งได้ 3 กลุ่มย่อย คือ กะเหรี่ยงสะกอ กะเหรี่ยงโปว์ และ กะเหรี่ยงบะไค (บางเอกสารใช้คำว่า บเว : ผู้สังเคราะห์) ซึ่งจากข้อสันนิษฐานของผู้เขียน เชื่อว่า กะเหรี่ยงโปว์น่าจะเป็นกลุ่มแรกที่อพยพเข้ามาก่อน ตามด้วย กะเหรี่ยงสะกอ ส่วน กะเหรี่ยงบะไคนั้นเป็นกลุ่มสุดท้ายโดยพิจารณาจากการตั้งถิ่นฐานและการกระจายตัวในเขตต่างๆ ทั้งในประเทศพม่าและไทย

Focus

ที่มาของคำว่า "Karen" และแนวคิดว่าด้วยเรื่องทิศทาง ช่วงเวลา และทิศทางของการอพยพย้ายถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในประเทศพม่า

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

กะเหรี่ยง แบ่งได้ 3 กลุ่มย่อยคือ สะกอว์ (Sgaw) โปว์ (Pwo) และ บะไค (Bghai) กะเหรี่ยง สะกอว์ และ โปว์ มีจำนวนคร่าวๆ เท่ากัน คือประมาณ 37 % ของประชากรกะเหรี่ยงในพม่า

Language and Linguistic Affiliations

ภาษากะเหรี่ยงอยู่ในกลุ่มภาษา ไทย-กะเหรี่ยง (Siamese-Karen language) จัดอยู่ในกลุ่มย่อยของกลุ่มภาษา ไทย-จีน (Siamese - Chinese sub - family) ของตระกูลภาษาทิเบต - จีน (Tibeto - Chinese Language) แม้ว่าภาษากะเหรี่ยง จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับภาษาไท (Shan) หรือจีน แต่ไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดมากนัก แม้ว่าปรากฏเสียงวรรณยุกต์ และมีลักษณะคำพยางค์เดียว แต่ลักษณะการเรียงคำในประโยคเหมือนกับภาษาอังกฤษมากกว่า (หน้า 3) ภาษากะเหรี่ยงน่าจะ ได้รับอิทธิพลเสียงวรรณยุกต์จากภาษาจีน (หน้า 4) ภาษากะเหรี่ยงไม่มีอักษรใช้เป็นของตัวเอง จนกระทั่ง ปี ค.ศ. 1832 หมอสอนศาสนาอเมริกันได้สร้างชุดอักษรเพื่อถ่ายถอดเสียงในภาษากะเหรี่ยง

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ชาวยุโรปเริ่มรู้จักกะเหรี่ยงในราวกลางคริสต์วรรษที่ 18 โดยไม่มีความแตกต่างจากชนเผ่าอื่นในประเทศพม่า ราวปี ค.ศ.1828 ได้ศึกษาค้นคว้าและแบ่งกะเหรี่ยงออกจากชนเผ่าอื่นๆ แต่ก็ยังถูกมองว่าเป็นชนเผ่าดั้งเดิมที่ดุร้ายป่าเถื่อน ราวต้นคริสต์ศตวรรษ ที่19 หมอสอนศาสนานิกายแบปติสต์ ได้สอนศาสนาและชักจูงให้นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งทำให้กะเหรี่ยงเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวคริสต์ กะเหรี่ยงไม่มีตัวอักษรใช้บันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่บ่งบอกความเป็นมาและการย้ายถิ่นฐาน แต่มีนักวิชาการหลายคน ได้ให้ข้อสันนิษฐานถึงการย้ายถิ่นฐานไว้ดังนี้ - ดร.ครอส เชื่อว่ากะเหรี่ยงเป็นชนเผ่าดั้งเดิมในพม่า โดยสันนิษฐานจากคำเรียกชื่อ "Karen" ซึ่ง เขาได้ให้ความหมายว่า "ชน เผ่าดั้งเดิม" - ดร.เลาเฟอร์ เสนอว่า กะเหรี่ยงมีถิ่นกำเนิดบริเวณแม่น้ำหวงโห เพราะ ความเชื่อ การประกอบพิธีกรรม อุปกรณ์พิธี แนวคิดทางสังคม รวมถึงเสียงวรรณยุกต์ที่เหมือนภาษาจีน ดังนั้นจากหลักฐานที่มีลักษณะพิเศษนี่บ่งชี้ได้ว่า กลุ่มชนกะเหรี่ยงน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับคนจีน - ศาสตราจารย์ เป มวง ติง เสนอว่า จากจารึกโบราณของพม่า ได้กล่าวถึง "จะเกรา" (กะเหรี่ยง สะกอ) ได้อาศัยอยู่ในอาณาจักร ศรีเกษตรใน คริสต์วรรษที่ 8 - ดร.ลูซ ชี้ชัดไปว่า กะเหรี่ยงสะกอ ตั้งฐิ่นฐานในจังหวัด มินบู ก่อนชาวพม่า อพยพเข้ามาในคริสต์วรรษที่ 9 และกะเหรี่ยงน่าจะอพยพมาจากทางตะวันออก ผ่านทางใต้ของรัฐฉาน - ผู้บัญชาการลูวิส ได้เสนอว่า กะเหรี่ยงน่าจะอพยพเข้ามาสู่ดินแดนพม่าหลังชนเผ่าอื่น เนื่องจากลักษณะทางเสียงวรรณยุกต์ที่ ได้รับอิทธิพลจากจีนซึ่งไม่ใช่ลักษณะที่ปกติ แสดงว่า ไม่ได้ตั้งถิ่นฐานบริเวณนี้มาก่อน กะเหรี่ยงน่าจะอพยพเข้ามาในเวลาเดียวกับไทใหญ่ เขาเชื่อว่า กะเหรี่ยงและไทใหญ่อพยพมาจากทางเหนือลงสู่ทางใต้ ข้ามแม่น้ำโขง ที่ราบหุบเขาแม่น้ำสาละวินไปสู่รัฐฉาน เนื่องจากต้องปะทะกับไทใหญ่จึงต้องอพยพไปสู่รัฐคะเรนนี แล้วกระจายไปทางทิศตะวันตกและใต้ ไปตามที่ราบหุบเขาแม่น้ำสาละวินและแม่น้ำสะโตง จากนั้นก็เคลื่อนไปยังดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี และทางใต้ของเขต เตนัสเสอริม (หน้า4) - นักวิชาการบางคนนั้นเชื่อว่า กะเหรี่ยงไม่ใช่ชนเผ่าดั้งเดิมในพม่า แต่อพยพเข้ามาก่อนชาวพม่าและไทใหญ่ แต่หลังมอญหรือตะเลง ประมาณคริสต์วรรษที่ 5 - กิลมอร์ เสนอว่า กะเหรี่องโปว์น่าจะอพยพเข้ามาสู่พม่าก่อนกะเหรี่ยงสะกอ - ผู้เขียน เสนอว่า กะเหรี่ยงสะกอน่าจะอพยพตามหลังกะเหรี่ยงโปว์ โดยเริ่มจากภูเขาคะเรนนี หรือ เตาโง เป็นจุดศูนย์กลางในการกระจายตัวไปทางใต้และตะวันตก กลุ่มหนึ่งเคลื่อนที่มาทางตะวันตกข้ามที่ราบหุบเขาแม่น้ำสะโตงไปยังดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี อีกกลุ่มอพยพมาทางใต้จนถึงชายแดนไทย-พม่า และรักษาทิศทางลงไปสู่เมืองทวายและมะริด จากจุดศูนย์กลางและการกระจายตัวของการตั้งถิ่นฐานทำให้สันนิษฐานได้ว่า กะเหรี่ยงโปว์น่าจะเป็นกลุ่มที่อพยพเข้ามาก่อนเมื่อยึดการตั้งบ้านเรือนของกะเหรี่ยวโปว์เป็นเกณฑ์ ก็จะพบว่า กะเหรี่ยงสะกอได้กระจายห่างไปไม่เกิน 30 ไมล์ ดังนั้นกะเหรี่ยงสะกอจึงน่า อพยพตามเส้นทางการเคลื่อนที่ของกะเหรี่ยงโปว์ ส่วนกะเหรี่ยงบะไคนั้น น่าจะเป็นกลุ่มที่อพยพเข้ามาหลังสุดเพราะไม่ได้กระจายตัวไปเกินจากรัฐคะเรนนีและจังหวัดเตาโง นอกจากนี้กะเหรี่ยวโปว์และสะกอ ยังอาศัยในประเทศกัมพูชา เพราะตกเป็นเชลยในสงครามและถูกเนรเทศไปยังกัมพูชา

Settlement Pattern

กะเหรี่ยงบะไค มักตั้งบ้านเรือนในหุบเขา

Demography

กะเหรี่ยง สะกอว์ และ โปว์ มีจำนวนคร่าวๆ เท่ากัน รวมแล้วมีจำนวนราว 74% ของ ประชากรกะเหรี่ยงในพม่า ส่วนกะเหรี่ยงบะไค มีจำนวน 26 %

Economy

ไม่มีข้อมูล

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ความเชื่อของกะเหรี่ยงพ้องกับเรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิล ดร.เมสัน ผู้เชื่อว่า กะเหรี่ยงเป็นกลุ่มชนที่อพยพมาจากอิสราเอล ผู้เขียนกล่าวว่า ความคิดนี้เป็นไปได้ยากเพราะไม่สามารถอธิบายได้ว่า กะเหรี่ยงนั้นสอดพ้องกับเรื่องในคัมภีร์ได้อย่างไร และกะเหรี่ยงไม่มีความเกี่ยวข้องทางชาติพันธุ์กับชาวฮิบรูเลย (หน้า 2) วัฒนธรรมของกะเหรี่ยงบางอย่างมีลักษณะเหมือนกับวัฒนธรรมจีน เช่น การบูชาบรรพบุรุษ และการเสี่ยงทายโดยใช้กระดูกไก่ นอกจากนี้ ยังพบการใช้กลองสำริด ซึ่งแสดงถึงวัฒนธรรมที่มีต้นกำเนิดเดียวกัน (หน้า 4)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

นิทานมุขปาฐะกล่าวถึง การอพยพจากบ้านเกิดซึ่งอยู่ทางเหนือ และอพยพลงมาทางใต้ โดยผู้นำชื่อ "Htaw Meh Pa" จนกระทั่งพบ "Hti She Meh Ywa" ซึ่งเป็นแม่น้ำกั้นขวางไว้ แม้ว่า นิทานนี้ไม่มีความน่าเชื่อถือทางประวัติศาสตร์ ที่ใช้อ้างอิงได้ แต่ทว่ามีคุณค่าทางชาติพันธุ์ ศึกษามากกว่าการโอ้อวดถึงความเจริญทางอารยธรรมมากกว่าชนชาติอื่น (หน้า 3)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ชาวยุโรปได้เขียนชื่อ กะเหรี่ยงกันหลายแบบ เช่น Carians, Carrians, Carayners, Carrianers, หรือ Karen คำว่า "Karen" นั้นเกิดจากการถ่ายถอดเสียงที่ไม่สมบูรณ์จากภาษาพม่าว่า "Kayin" ซึ่งชาวพม่าใช้เรียกกะเหรี่ยง นักวิชาการได้ให้ความหมายและที่มาของคำว่า "Karen" ไว้ดังนี้ - ดร.ครอส เสนอว่า คำนี้หมายถึง ชนเผ่าดั้งเดิม หรือ คนป่า ก็ได้ เพราะชาวพม่าได้เปรียบเทียบตัวเองกับกะเหรี่ยงว่า กะเหรี่ยงมีอารยธรรมที่ด้อยกว่าตน โดยคำว่า "yine" หมายถึง "ป่าเถื่อน" ในทางตรงกันข้าม คำว่า "yin" อาจจะหมายถึง อารยธรรม หรือ ก่อน ดังนั้นคำว่า "Kayin" คำนั้นหมายถึง คนป่า ซึ่งปรากฏรูปเขียนตรงกันข้ามกับที่ดร.ครอสได้ให้ความหมายไว้ - พระสงฆ์รูปหนึ่งในเมืองเตาโง ได้เสนอว่าคำนี้น่าจะมาจากภาษาบาลี หมายถึง คนเลี้ยงผู้สกปรก หรือคนในวรรณะต่ำ คำนี้อาจจะมาจากคำว่า "ยาง" ชื่อที่ถูกเรียกโดยไทใหญ่ และเปลี่ยนแปลงเสียงโดยผู้พูดภาษาพม่าเป็น "yen" หรือ "yein" และเติมอุปสรรค "ka" เช่นเดียวกับการเรียกชื่อชนเผ่าอื่นในภาษาพม่า

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst ไพศาล จารุฉัตราภรณ์ Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง), โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง), ประวัติความเป็นมา, การตั้งถิ่นฐาน, ประเทศพม่า, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง