สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject มอญ,เอกลักษณ์,การเปลี่ยนแปลง,วัฒนธรรม,ปทุมธานี
Author พัลลภ สุริยกุล ณ อยุธยา, ร.ต.อ.
Title เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของชาวมอญ : ศึกษากรณีหมู่บ้านเจดีย์ทอง ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity มอญ รมัน รามัญ, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 148 Year 2542
Source หลักสูตรมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขามานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract

การศึกษานี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและประเพณีมอญและปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงและการธำรงรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวบ้านในหมู่บ้านเจดีย์ทอง ต.คลอง อ.สามโคก จ.ปทุมธานี

Focus

ศึกษาวิถีชีวิตของมอญและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม (หน้า 4)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

มอญ บ้านเจดีย์ทอง ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี (หน้า4)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษามอญและภาษาไทย โดยการศึกษาภาษามอญนั้นจะมีการสอนโดยเจ้าอาวาสวัดและจะมีเด็กผู้ชายเท่านั้นที่ได้เรียน ส่วนเด็กผู้หญิงจะไม่ได้รับการศึกษา เพราะฉะนั้นผู้หญิงส่วนใหญ่ที่พูดมอญได้จะอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ การติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวันนั้นก็จำกัดอยู่แต่คนรุ่นเก่าเท่านั้น แต่ปัจจุบันพบว่าการใช้ภาษามอญปนไทยสูงขึ้นร้อยละ 50 และร้อยละ 50 ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารกันในครอบครัวและไม่มีการใช้ภาษามอญล้วนๆ ในครอบครัวเลย (หน้า 87-89)

Study Period (Data Collection)

ไม่ได้ระบุช่วงเวลา แต่ระบุว่าในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสภาพทั่วไปของชุมชนและพิธีกรรมบางส่วนเป็นเวลา 5 เดือน (หน้า 5)

History of the Group and Community

ในอดีตมอญได้ตั้งหลักแหล่งอยู่ในบริเวณพม่าตอนล่างตามแนวบริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอิระวดี การอพยพของมอญเข้าสู่ประเทศไทยมีลักษณะต่อเนื่องแต่ไม่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน มอญอพยพเข้ามาหลบอาศัยในไทยเมื่อยามสงครามและเมื่อใดเหตุการณ์สงบหรือสามารถกอบกู้เอกราชได้ก็จะอพยพกลับ หรือบางส่วนได้ตั้งหลักแหล่งในไทยและยังมีบางส่วนถูกกวาดต้อนมา (หน้า 36-37) การตั้งถิ่นฐานของมอญโดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ริมแม่น้ำ โดยเฉพาะแม่น้ำทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ แม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำแม่กลอง มอญที่อพยพเข้ามาในกรุงศรีอยุธยามักตั้งบ้านเรือนอยู่แถบชานพระนครและบริเวณที่ติดต่อกับจังหวัดนนทบุรีพอมาถึงสมัยกรุงธนบุรีก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้มอญที่เข้ามาอยู่ให้ไปอยู่ที่ปากเกร็ดแขวงเมืองนนทบุรีและที่สามโคกแขวงเมืองปทุมธานี ต่อมาได้มีมอญอีกกลุ่มหนึ่งอพยพหนีพม่าเข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร มอญกลุ่มนี้ได้เดินทางแยกย้ายหลายสายเข้ามาทางเมืองตากบ้างอุทัยธานีบ้าง ในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะนั้นดำรงตำแหน่งพระอิสริยยศเป้นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ามงกุฎและได้ทรงโปรดพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้มอญกลุ่มนี้บางส่วนไปตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลสามโคกแขวงเมืองปทุมธานีจึงเรียกมอญกลุ่มนี้ว่ามอญสามโคก (หน้า39-40)

Settlement Pattern

จากอำเภอสามโคกที่ตั้งของชุมชนมอญเก่าแก่มาแต่โบราณ หมู่บ้านเจดีย์ทองเป็นชุมชนมอญหนึ่งในอำเภอสามโคกที่โดยลักษณะเด่นของหมู่บ้าน คือ มีการตั้งบ้านเรือนอยู่ติดกับริมแม่น้ำเป็นส่วนใหญ่ ต่อมามีการตัดถนนทำให้มีการขยายอาณาเขตการตั้งหมู่บ้านห่างออกจากแม่น้ำมาติดถนนแทน และมีการสร้างบ้านเรือนสมัยใหม่ ซึ่งส่งผลให้ชาวบ้านอพยพออกจากบ้านริมน้ำไปอยู่ใกล้กับถนนมากขึ้น (หน้า 76) ลักษณะบ้านเรือนที่พักอาศัยในอดีต ส่วนใหญ่จะเป็นบ้านทรงไทยการปลูกบ้านไม่จำเป็นต้องใช้ตะปู แต่จะใช้สลักแทนตามวิธีการปลูกบ้านแบบโบราณของไทย ซึ่งจำนวนบ้านดังกล่าวไม่ค่อยได้พบเห็น ในปัจจุบันมีเพียงไม่กี่หลังเท่านั้น ขณะที่บ้านส่วนใหญ่ที่อยู่ติดริมถนนหรือใกล้แม่น้ำจะเป็นบ้านแบบใหม่มากขึ้น อย่างไรก็ตาม บ้านเรือนส่วนใหญ่ที่อยู่ติดแม่น้ำจะมีลักษณะที่ยกใต้ถุนสูงมากกว่าปกติเพื่อเตรียมไว้ป้องกันกรณีน้ำท่วม และอีกประการคือแทบทุกบ้านจะมีศาลพระภูมิอย่างน้อย 1 หลัง บางบ้านอาจมีมากถึง 2 หลัง ซึ่งสิ่งนี้เป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่ชาวบ้านยังคงมีความเชื่อและนับถือผีบ้านผีเรือนอยู่เป็นส่วนใหญ่ ศาลพระภูมิหนาแน่นมากกว่าหมู่บ้านของไทย (หน้า 81-82)

Demography

ประชากรหมู่บ้านเจดีย์ทองมี 136 ครัวเรือนรวมประชากรทั้งหมด 764 คน แบ่งเป็นชาย 358 คน แบ่งเป็นหญิง 376 คน เป็นคนไทยเชื้อสายมอญร้อยละ 90 และส่วนใหญ่จะเป็นคนมอญที่เกิดในชุมชนนี้ประมารร้อยละ 86.4 ผู้ที่มาจากท้องที่อื่นร้อยละ 13.6 (หน้า76)

Economy

ในอดีตชุมชนบ้านเจดีย์ทองส่วนใหญ่ทำการเกษตรเป็นหลัก ในปัจจุบันพบว่าร้อยละ 54.5 มีอาชีพทำงานเป็นลูกจ้างหรือพนักงานในโรงงานและบริษัทเอกชน รองลงมาร้อยละ 13.6 ประกอบอาชีพรับราชการรวมถึงการเป็นลูกจ้างของหน่วยงานภาครัฐส่วนร้อยละ 9.1 ประกอบอาชีพค้าขายส่วนตัวและร้อยละ 22.7 ไม่ได้ทำงานเนื่องจากเป็นนักเรียนนักศึกษาและคนชรา (หน้า 78-79)

Social Organization

ระบบความสัมพันธ์ในครอบครัวและเครือญาติ ลักษณะครอบครัวมอญในอดีตไม่ต่างจากของไทยมากนัก มีลักษณะเป็นครอบครัวใหญ่และนิยมมีบุตรหลายคน และเคารพนับถือผู้อาวุโสในครอบครัว การแต่งงานนิยมแต่งกับคนเชื้อสายเดียวกัน แต่การแต่งงานกับคนไทยถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่น้อยมากที่จะแต่งงานกับคนจีนหรือคนมุสลิม (หน้า 61) สำหรับการแต่งงานของคนมอญหมู่บ้านเจดีย์ทองคล้ายคลึงกับของคนไทยโดยทั่วไป เพียงแต่จะให้ความสำคัญในเรื่องการผูกสายศีล พิธีทางสงฆ์ ฉะนั้น องค์ประกอบของงานโดยทั่วไปจะประกอบพิธีทางสงฆ์และพิธีของฆาราวาส กล่าวคือ ในส่วนของสงฆ์จะมีการนิมนต์พระมาสวดปริยัติธรรมเพื่อเป็นมงคลแก่ผู้บ่าวสาว คนมอญให้ความสำคัญต่อการครองเรือนซึ่งต้องประพฤติตนตามหลักพุทธศาสนา และการถ้อยทีถ้อยอาศัยแก่กัน โดยเฉพาะสตรีมักจะถูกวางบทบาทในลักษณะของการเป็นช้างเท้าหลังและการให้การสนับสนุนสามีตามค่านิยมทางสังคมตะวันออก (หน้า94)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

การนับถือศาสนาและการนับถือผีของมอญ : มอญนับถิอศาสนาพุทธเช่นเดียวกับไทยแต่พระมอญจะมีวัตรปฎิบัติที่เคร่งกว่าอย่างไรก็ตาม นอกจากประเพณีศาสนาที่มอญยึดถือแล้วมอญยังให้ความสำคัญต่อการนับถือผีด้วย และได้แบ่งประเภทของผีไว้ 3 กลุ่มใหญ่ๆ - ผีสิง ผีที่ไม่ดีนำพาความเจ็บป่วยและอุบัติเหตุมาให้ ส่วนใหญ่เกิดจากวิญาณคนตายที่เร่ร่อนไปในสถานที่ต่างๆ ตามป่าเขา - ผีบ้าน ผีเรือน ผีที่คุ้มครองบ้านเรือนของตนส่วนใหญ่มักเป็นผีประจำตระกูล - ผีเจ้าพ่อและผีเจ้าแม่ ผีบรรพบุรุษของคนในหมู่บ้านเป็นที่เครารพสักการะของคนในหมู่บ้านและจะมีการตั้งศาลไว้ในอาณาเขตหมู่บ้านและมีการทำพิธีบวงสรวงเป็นประจำทุกปีโดยมีคนทรงเป็นผู้ประกอบพิธีเป็นสื่อกลางให้กับผีเจ้าพ่อและผีเจ้าแม่ นอกจากนี้มอญบางกลุ่มยังมีความเชื่อเกี่ยวกับผีเต่า ผีงู ผีไก่ ผีหมู ฯลฯ ด้วย โดยเฉพาะเกี่ยวกับเต่าจะถือกันว่าหากใครพบเต่าแล้วไม่ต้องการมันหรือจะหลีกเลี่ยงไป เขาจะบอกว่า "เหม็น" แล้วผ่านไป หากใครจับเต่าได้หรือเลี่ยงไม่พ้นจะต้องนำกลับไปที่บ้าน และนำไปปรุงอาหารกิน นำส่วนหัวและส่วนตีน ไปเซ่นศาลพระภูมิ ส่วนหางให้ทิ้งไป แต่ถ้าเต่าตัวใหญ่มากจะต้องนำไปปล่อยวัด (หน้า 62) ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรม ได้แก่ - การเกิด เมื่อภรรยาตั้งท้องได้ 2-3 เดือน สามีจะไปตัดฟืนมา 9 ท่อนแล้วตั้งเป็นรูปกระโจมไว้ ในวันที่เด็กคลอด พ่อจะล้มกระโจมทันที แล้วขุดดินมา 9 ก้อน เพื่อทำก้นเตาสำหรับการอยู่ไฟ และนำฟืนเหล่านั้นมาทำเป็นเชื้อไฟ ที่ก้นเตาทั้งสี่มุมจะมีข้าวสุกปั้นเป็นก้อน ๆ เพื่อเซ่นสรวงแม่เตาไฟ (หน้า 62) - การโกนจุก เป็นการททำขวัญครั้งแรกของชีวิตคนมอญ เนื่องจากมอญมักจะกล่าวว่าผู้ชายมีการทำขวัญ 3 ครั้ง คือ โกนจุก, แต่งงาน และบวช ส่วนผู้หญิงทำขวัญ 2 ครั้งคือ โกนจุก และแต่งงาน - การบวช คล้ายคลึงกับของไทย แต่ผู้ที่จะบวชยังไม่ได้โกนผมจะแต่งตัวคล้ายผู้หญิงในสมัยโบราณ (หน้า 63) - การแต่งงาน เหมือนธรรมเนียมไทย แต่มีการขอขมาผีบ้านผีเรือน และมีผ้าไหว้สีขาว เจ้าบ่าวจะต้องเทียวไปมาบ้านเจ้าสาวกับบ้านตนเป็นเวลา 7 วันจึงจะย้ายมาอยู่ด้วยกันได้ การทำศพ จะแบ่งศพออกเป็น 2 ประเภทคือ ศพตายดี ห้ามนำโลงขึ้นบ้าน แต่ต้องสร้างแท่นวางศพไว้บนบ้าน และเมื่ออาบน้ำศพเสร็จให้ก่อกองไฟไว้ที่ปลายเท้าของศพ เอาหม้อดินใส่น้ำต้มไว้ ปล่อยให้ไฟมอดลงเอง ใช้ฟืน 3 ดุ้น และจุดตะเกียงอีก 1 ดวงไว้ที่หัวนอน แล้วนิมนต์พระมาสวดต่อไป ศพตายไม่ดีจะต้องนำไปฝังที่วัดทันที ไม่มีการสวดหรือทำบุญ นอกจากตายไปแล้ว 7 วันจึงจะทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ และหากเป็นพระเมื่อจะเผาศพก็จะมีการสร้างปราสาทสำหรับตั้งศพ ซึ่งปราสาทนี้จะเผาไปพร้อม ๆ กับโลง (หน้า 64-65) ประเพณีที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา ได้แก่ - ตักบาตรน้ำผึ้ง จัดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ชาวบ้านจะนำผ้ามาถวายพระ โดยนำผ้ามาวางไว้ที่ก้นบาตร เชื่อว่าน้ำผึ้งเป็นหนึ่งในเภสัชทาน การตักบาตรน้ำผึ้งจะทำให้มีความสมบูรณ์มั่งคั่งในโลกหน้า (หน้า 66-67) - ทำบุญกลางบ้าน เป็นการทำบุญให้กับผีไม่มีญาติ นิยมทำกลางหมู่บ้านเพราะในบ้านนั้นจะมีผีบ้านผีเรือน จะจัดปีละครั้งโดยไม่กำหนดตายตัว - ส่งข้าวแช่วันสงกรานต์ วันที่ 13-15 จะส่งข้าวแช่ไปยังบ้านญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือตั้งแต่เช้าจนถึงเพล ตอนปลายจะเป็นการก่อพระทราย ปล่อยนกปล่อยปลา สรงน้ำพระ การแห่หางหงส์นางมอญและธงตะขาบ มีที่มาจากตำนานเป็นการระลึกถึงเมืองหงสาวดี (หน้า 67-68) - การรำพาข้าวสาร จัดหลังออกพรรษา ช่วงทอดกฐินและผ้าป่า โดยคณะผู้รำจะพายเรือออกไปขอรับบริจาคข้างสาร เงินทอง การตักบาตรพระร้อย เป็นของกลุ่มมอญที่มีบ้านติดแม่น้ำ ในช่วงออกพรรษา วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 จะจัดเตรียมอาหารคาวหวานลงเรือมาจอดเรียงรายเพื่อรอตักบาตร (หน้า 68-69)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ลักษณะการแต่งกายของมอญคล้ายกับพม่า โดยลักษณะของผู้ชายจะชอบนุ่งโสร่ง หรือ "สะล่ง" ในภาษามอญส่วนเสื้อเป็นคอกลมผ่าอกตลอดแขวนทรงกระบอกและมีเสื้อตัวสั้นแบบแจ๊กเก็ตสวมทับอยู่ข้างนอกและในสมัยก่อนโพกผ้าที่ศีรษะด้วย ลักษณะของผู้หญิงนุ่งผ้า "กานิน" ซึ่งก็คล้ายกับสะล่งของผู้ชายแต่เล็กกว่าและมักเป็นสีพื้นหรือตาเล็กๆ ผ้านุ่งแบบนี้บางทีก็เรียกว่า "ผ้าตาโถง" เวลามีงานหญิงชาวรามัญจะมีผ้าคล้องคอด้วย ส่วนผมนั้นก็นิยมไว้ยาวและมัดเกล้าเป็นมวยเช่นเดียวกับพม่า แต่เกล้าไปข้างหลังต่างจากพม่าซึ่งจะเกล้าสูงขึ้ไปข้างบน (หน้า60) เจดีย์ทรงรามัญอยู่บริเวณหน้าวัดสร้างขึ้นมาพร้อมกับวัดนี้อายุ 186 ปีเศษนับว่าเป็นเจดีย์เก่าแก่มากองศ์หนึ่ง ซึ่งก่อสร้างเลียนแบบเจดีย์จิตตะกองของเมืองมอญ ประชาชนทั่วไปเรียกเจดีย์นี้ว่า เจดีย์ มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบรามัญ (หน้า 83)

Folklore

ที่มาของหงส์มีตำนานเล่าว่า หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ในประเทศอินเดียแล้วได้ 8 ปี จึงเสด็จโปรดเวไนยสัตว์ในแคว้นต่างๆ จนกระทั่งวันหนึ่งได้เสด็จมาถึงภูเขาสุทัศพนมรังสิตซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของเมืองสะเทิม ทรงผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกทอดพระเนตรเห็นเนินดินกลางทะเลเมื่อน้ำขึ้นเปรี่ยมฝั่งเห็นพอกระเพื่อมน้ำยังมีหงส์ทอง 2 ตัวลงเล่นน้ำอยู่ ตัวเมียเกาะอยู่บนหลังตัวผู้เนื่องจากมีเนินดินที่จะยืนเพียงนิดเดียว จึงทรงทำนายว่ากาลสืบไปภายหน้าเนินดินที่หงส์ทองทั้งสองเล่นน้ำอยู่นั้นจะเป็นมหานครขึ้นชื่อว่าหงสาวดีและจะเป็นที่ตั้งพระธาตุ สถูปเจดีย์ พระศรีมหาโพธิ์ คำสั่งสอนทางพุทธศาสนาของพระพุทธศาสนาของพระองค์เจริญรุ่งเรืองขึ้น ณ ที่แห่งนี้ครั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพานล่วงไปแล้ว 100 ปี เนินดินกลางทะเลใหญ่นั้นก็ตื้นเขินจนกลายเป็นแผ่นดินอันกว้างใหญ่มีพระราชบุตรของพระเจ้าเสนะคงคาทรงพระนามว่าสมลกุมารและวิมลกุมารเป็นผู้รวบรวมไพร่พลตั้งเมืองขึ้นจนเป็นเมืองหงสาวดี ณ ดินแดนที่มีหงส์ทองเคยเล่นน้ำอยู่ ฉะนั้นมอญในหงสาวดีจึงใช้หงส์เป็นสัญลักษณ์ของประเทศนับแต่นั้นมา (หน้า 63-64)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

หมู่บ้านเจดีย์ทองมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชุมชนมอญอย่างต่อเนื่องตามยุคสมัยโดยเฉพาะในยุคของการพัฒนาประเทศได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและความเป็นอยู่ของชุมชนอย่างมากฉะนั้นเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปย่อมทำให้ความเชื่อและความเป็นอยู่ของชุมชนและประเพณีบางอย่างขาดหายไป (หน้า117) ชุมชนหมู่บ้านเจดีย์ทองเป็นชุมชนมอญแห่งหนึ่งที่มีความเคร่งและยึดมั่นในหลักพุทธศาสนาอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากในหมู่บ้านมีวัดเจดีย์ทองเป็นศูนย์กลางทางจิตใจและวัฒนธรรมมอญที่สำคัญ ส่วนความเชื่อเรื่องผีพบว่าในอดีตรุ่นปู่ของปู่มีการกล่าวถึงประเพณีการรับผีหรือสืบทอดผีประจำตระกูล เนื่องจากมีการรับผีแล้วจะต้องมีกิจกรรมต่างๆ ตามมามีข้อห้ามต่างๆ มากมายทำให้ความเชื่อเรื่องผีค่อยๆ เสื่อมคลายลงจนถึงรุ่นปัจจุบันโดยส่วนใหญ่ไม่มีการนับถือและการประกอบประเพณีเกี่ยวกับผี (หน้า123) กรณีของหมู่บ้านเจดีย์ทองประสบปัญหาทางวัฒนธรรมอย่างมากในเรื่องของภาษามอญ คนรุ่นใหม่ไม่สนใจศึกษา นอกจากนี้ประเพณีการละเล่นดั้งเดิมไม่มีผู้ชำนาญและความสามารถในการเล่น (หน้า127)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนที่ (หน้า73,76) - แสดงหมู่บ้านเจดีย์ทอง ต. คลองควาย อ. สามโคก จ. ปทุมธานี - แผนที่จังหวัดปทุมธานี ภาพประกอบ 24 ภาพ (ภาคผนวก 73-114)

Text Analyst พิมพ์ชนก พงษ์เกษตร์กรรม์ Date of Report 30 มิ.ย 2560
TAG มอญ, เอกลักษณ์, การเปลี่ยนแปลง, วัฒนธรรม, ปทุมธานี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง