สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject พวน ไทยพวน ไทพวน,ความเป็นอยู่,ความเชื่อ,บวชช้าง,หาดเสี้ยว,สุโขทัย
Author ศิริพร ศรีแสง
Title บวชช้าง : ภาพสะท้อนมิติทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวพวน กรณีศึกษาชุมชนบ้านหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทยพวน ไทพวน คนพวน, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 140 Year 2538
Source หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract

มีเนื้อหาหลายประเด็น คือ สภาพทั่วไปของชุมชน ประวัติความเป็นมา ประเพณีและความเชื่อ โดยจะเน้นที่ประเพณีบวชช้างในฐานะที่เป็นภาพสะท้อนมิติทางสังคมและวัฒนธรรม

Focus

พิธีบวชของพวนหาดเสี้ยว (หน้า 2-3)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ลาวพวนซึ่งผู้เขียนเรียกว่า ไทยพวนหาดเสี้ยว (หน้า 2-130)

Language and Linguistic Affiliations

ผู้วิจัยขอเรียกว่าภาษาพวน (หน้า 81, 92, 97, 115)

Study Period (Data Collection)

เก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามในพื้นที่ตั้งแต่เดือนมกราคม 2537 จนถึงเดือนกรกฎาคม 2538 ในช่วงแรกเข้าไปทำการสำรวจพื้นที่อย่างคร่าว ๆ เวลาที่อยู่ในชุมชนช่วงโรงเรียนปิดภาคเรียน (เดือนเมษายนและตุลาคม 2538) (หน้า 4)

History of the Group and Community

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่า พวนมีการอพยพย้ายไปตามดินแดนต่าง ๆ หลายช่วงเวลา เฉพาะในเขตประเทศไทยนั้นมีบรรพบุรุษอพยพเข้ามาทั้งด้วยความเต็มใจและด้วยความจำเป็น คือ สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รัชกาลที่ 1 รัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 5 กรณีของพวนหาดเสี้ยวนั้น วิเชียร วงษ์วิเศษ ได้สันนิษฐานถึงเส้นทางการอพยพว่ามาจากเมืองพวนเข้ามาทางจังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ แล้วจึงมุ่งหน้ามายังเมืองสวรรคโลก มักจะตั้งชื่อบ้านเมืองที่ตั้งขึ้นใหม่ตามชื่อเดิมหรือตั้งตามสภาพภูมิประเทศ บ้านหาดเสี้ยวเป็นหมู่บ้านพวนขนาดใหญ่ในประเทศลาวบริเวณแขวงเมืองเชียงขวาง พวนส่วนหนึ่งอพยพมาอยู่ที่บ้านหาดเสี้ยว จ.สุโขทัย เมื่อประมาณ พ.ศ. 2380 - 2381 สมัยรัชกาลที่ 3 โดยการนำของฝ่ายฆราวาส คือ สามเสน ส่วนฝ่ายสงฆ์ คือ ครูบาวัดหาดเสี้ยว และเจ้าหัวอ้ายสมเด็จบ้านตาดซึ่งมีหลักฐานจารึกไว้ที่ผนังโบสถ์วัดหาดเสี้ยว (หน้า 18-22)

Settlement Pattern

แต่เดิมนั้นชาวบ้านจะตั้งบ้านเรือนอาศัยกันอยู่อย่างหนาแน่นบริเวณริมฝั่งแม่น้ำยม เพราะการเดินทางต้องอาศัยทางน้ำ ปี พ.ศ. 2508 มีการจัดรูปบ้านใหม่เพราะ ต.หาดเสี้ยวเปลี่ยนสถานภาพเป็นสุขาภิบาล ทางการจึงได้เวนคืนที่ดินบางส่วนตัดเป็นซอยเชื่อมระหว่างทางเลียบแม่น้ำทำให้การคมนาคมสะดวกขึ้น ปัจจุบันสภาพของชุมชนบ้านหาดเสี้ยวนั้นได้ตั้งกระจายออกมาอยู่ด้านตะวันออกหมู่บ้านทั้งบ้านเหนือ บ้านใต้ มีตรอกซอยจัดเรียงเป็นเลขที่ เรียงตามลำดับจากซอยข้างที่ว่าการอำเภอเป็นซอยที่ 1 เรียง 2,3,4 ขึ้นไปทางบ้านเหนือ ตลาดร้านค้าเดิมตั้งกระจายอยู่สองฝั่งถนนเลียบริมแม่น้ำยมจากบ้านใต้จรดบ้านเหนือ วัดหาดเสี้ยวได้ย้ายศูนย์การค้ามาอยู่สองฝั่งถนนใหญ่ด้านทิศตะวันออก ซึ่งเป็นทางหลวงหมายเลข 101 เชื่อมต่อการคมนาคมระหว่างหาดเสี้ยว-อุตรดิตถ์-แพร่ทางด้านเหนือ รูปแบบการสร้างบ้าน เปลี่ยนไปตามสมัยนิยม หลังคามุงด้วยกระเบื้อง ตัวบ้านเป็นแบบครึ่งตึกครึ่งไม้หรือไม่ก็เป็นตึกทั้งหลัง (หน้า 22-24)

Demography

ตำบลหาดเสี้ยวมีครัวเรือนทั้งหมด 2,098 ครัวเรือน และมีจำนวนประชาการทั้งหมด 6,295 คน แยกเป็นชาย 3,043 คน และหญิง 3,252 คน (หน้า 14,17)

Economy

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม ได้แก่ การทำนา ทำสวนผลไม้ทำไร่ ประเภทถั่วเขียว ข้าวโพด ฝ้ายและอ้อย รวมไปถึงการเลี้ยงสัตว์การทำนาอาศัย น้ำฝน เรียกว่า นาน้ำฟ้า และ น้ำชลประทานเป็นบางแห่ง ส่วนใหญ่ทำนาได้ปีละ ครั้งเดียวระหว่างกรกฎาคม-ธันวาคม การลงแขกมีความสำคัญน้อยลงมาก การจ้างแรงงานคนมีบทบาทมากขึ้นและใช้เครื่องมือสมัยใหม่ เช่น รถไถเดินตาม (หน้า 27-29)

Social Organization

ความสัมพันธ์ในชุมชนจะมีลักษณะที่เกี่ยวดองกันทางเครือญาติ โดยการสืบสายทางสายโลหิตและการแต่งงาน รูปแบบของครอบครัวจะเริ่มจากครอบครัวเดี่ยวมาสู่ครอบครัวขยาย ส่วนใหญ่ชายจะเป็นฝ่ายย้ายมาอยู่กับครอบครัวฝ่ายหญิง(หน้า 25, 109-110)

Political Organization

อำเภอศรีสัชนาลัยแบ่งรูปแบบการปกครองเป็น 2 แบบ คือ การบริหารราชการส่วนภูมิภาคและการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น บุคคลในระดับผู้นำชุมชน ได้แก่ นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการ (หน้า 10, 105)

Belief System

พวนนับถือศาสนาพุทธมาตั้งแต่สมัยเมื่อยังอยู่เมืองพวนในประเทศลาวและนับถือเคร่งครัดมาก มีคติความเชื่อหลายอย่างที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาไม่ว่าจะเป็น ความเชื่อเรื่องการทำดีได้ดี ความเชื่อเรื่องโลกนี้โลกหน้า ความเชื่อในเรื่องบาป บุญและการทำบุญที่เชื่อว่าได้กุศลอย่างมาก คือ การได้มีโอกาสบวชบุตรหลาน รากต้นโพธิ์ซึ่งสูงขึ้นมาเหนือพื้นดินก็ห้ามไม่ให้เดินข้ามหรือเหยียบ ใบหรือกิ่งก็ห้ามเด็ดหรือหัก มิฉะนั้นจะถือว่าบาป ชาวบ้านยังคงมีความเชื่อในเรื่องภูตผีวิญญาณและอำนาจเหนือธรรมชาติควบคู่กันไปเห็นได้จากพิธีกรรมต่าง ๆ ที่ชาวบ้านยังคงถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เช่น ประเพณีกำฟ้า กำเกียง การรักษาพยาบาลด้วยวิธีทิ้งข้าว รดน้ำมนต์ สู่ขวัญ เสี่ยงทาย นอกจากนี้ ในห้องนอนหรือห้องส่วนตัวห้ามมิให้ผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของครอบครัวเข้าไปในห้องนั้น หากเกิดมีคนเข้าไปไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็กหรือผู้ใหญ่ก็ตามถือว่าเป็นการผิดผีพ่อเลี้ยง ผู้เป็นเจ้าของบ้านจะต้องทำพิธีขอขมาต่อผีพ่อเลี้ยง นอกเหนือจากความเชื่อในเรื่องของผีพ่อเลี้ยงซึ่งเป็นผีประจำบ้านแล้ว ในหมู่บ้านจะต้องมีศาลเพื่อเป็นที่สิงสถิตของผีที่คุ้มครองหมู่บ้าน คือ ศาลปู่ตาและจะมีผู้ที่ทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารระหว่างคนกับผี เรียกว่า จ้ำ เพื่อบอกกล่าวถึงความเป็นไปในหมู่บ้าน ประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา ได้แก่ ประเพณีเกี่ยวกับการเกิด ยังมีบางครอบครัวยังคงนิยมทำคลอดแบบโบราณอยู่ คือ การทำคลอดโดยใช้หมอตำแยหรือแม้บางคนจะไปคลอดที่โรงพยาบาล แต่เมื่อออกจากโรงพยาบาลแล้วก็จะกลับมาอยู่ไฟที่บ้านตามแบบโบราณ เมื่อภรรยาตั้งครรภ์ได้ 4-5 เดือน ฝ่ายสามีก็จะต้องไปตัดฟืนไม้สะแกใช้เป็นฟืนสำหรับอยู่ไฟ ต้นที่เถาวัลย์พันต้นก็ไม่เอา เชื่อว่าเพื่อให้ลูกคลอดง่ายและรกไม่พันตัวเด็ก การอยู่ไฟลูกคนแรกต้องอยู่อย่างน้อย 1 เดือนและต้องรับประทานข้าวกับเกลือเป็นเวลา 1 เดือนเช่นกัน เชื่อว่าเพื่อจะไม่ให้เป็นพิษเป็นภัยแก่ร่างกายส่วนที่เป็นแผล และแผลหายเร็วขึ้น ในระหว่างนี้ห้ามลงไปอาบน้ำที่แม่น้ำด้วย เด็กทารกเมื่อคลอดออกมาก็จะต้องตัดสายสะดือ เรียกว่า "สายแห่" ใช้ไม้ไผ่ตัดและใช้ถ่านสำหรับรองตัดด้วยเชื่อว่าสิ่งที่ใช้ตัดและรองตัดต้องไม่มีเชื้อโรค ประเพณีการบวช ชาวหาดเสี้ยวจะนิยมกระทำกันในเดือน 4 ผู้ใดได้บวชลูกหลานแล้วเชื่อในอานิสงส์จากการบวชเป็นพระภิกษุและการบวชเป็นสามเณรว่า เป็นการสนองพระคุณของบิดามารดาและผู้มีอุปการะคุณ ทำให้บิดามารดาและผู้มีอุปการะคุณเหล่านั้นเกิดความยินดีในการบุญการกุศลทางพระศาสนาเพิ่มมากยิ่งขึ้น ถ้าบิดามารดาไปเสวยทุกขเวทนาอยู่ในอบายภูมินรกก็จะช่วยบิดามารดาให้พ้นจากอบายภูมินรกได้ ในงานบวชก็จะมีการเตรียมผ้ากองบวช การจองช้างนำมาร่วมแห่ขบวนนาคด้วย การจองหมอทำขวัญนาค งานด้านความบันเทิง เช่น จัดภาพยนตร์ วงดนตรี ภาพสะท้อนที่ได้จากพิธีการบวชทำให้ทราบถึงโลกทัศน์ของพวนบ้านหาดเสี้ยวที่สามารถผสมผสานความเชื่อในพุทธศาสนากับความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน แม้ว่าในพิธีบวชจะมีการนำเอาพุทธศาสนาเป็นหลักในการประกอบพิธีมีพระสงฆ์เป็นผู้ดำเนินพิธีกรรมตั้งแต่ต้นจนจบ แต่ในหลายขั้นตอนของพิธีบวชจะต้องมีการอัญเชิญเซ่นสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายเพื่อบอกกล่าวและแสวงหาความเชื่อมั่นทางด้านจิตใจ การที่พวนนิยมนำช้างมาร่วมแห่นาคก็แสดงให้เห็นถึงการยอมรับคติความเชื่อในส่วนที่เกี่ยวกับศาสนา ชาดก และความอุดมสมบูรณ์ คติความเชื่อเกี่ยวกับศาสนาและชาดก ช้างถือเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า และในชาดกบางครั้งก็เป็นพระโพธิสัตว์ที่เสวยพระชาติเป็นพญาช้าง คติเรื่องช้างเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ พวนเชื่อว่าช้างที่มีลักษณะดีจะทำให้บ้านเมืองบริบูรณ์ ฝนตกตามฤดูกาล ทำไร่ไถนาได้ข้าวและพืชผักอุดมสมบูรณ์จึงนิยมนำช้างที่มีลักษณะดี สวยงามมาแห่นาค ประเพณีแต่งงาน ฝ่ายชายเป็นฝ่ายไปสู่ขอฝ่ายหญิงจะต้องมีหมากไหม 2 ไหมมัดติดกัน ไต้ 1 คู่มัดติดกัน กระเทียม 4 หัว มัดเป็น 2 มัด มัดละ 2 หัวแล้วมัดติดกันอีก เกลือ 2 มัด ห่อยา 2 ห่อมัดติดกันจัดใส่ย่ามให้เฒ่าแก่สะพายไปเป็นเคล็ดว่าที่มัดติดกันหมายถึงขอให้คู่บ่าวสาวมีความรักกัน ครองรักกันยั่งยืนนานจนแก่เฒ่า เมื่อถึงวันแต่งงาน เรียกว่า "วันก่าวสาว" ฝ่ายชายต้องจัดขันหมาก 1 ขัน โดยฝ่ายชายจะมาอยู่บ้านฝ่ายหญิง ในระหว่างเป็นเขยใหม่อยู่ในบ้านพ่อตาแม่ยายจะผลัดผ้านุ่งบนเรือนไม่ได้เป็นอันขาด จะเป็นการไม่เคารพยำเกรงต้องลงไปผลัดข้างล่าง ประเพณีการตาย เมื่อเกิดมีคนตายญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านก็จะมาช่วยเหลือโดยจะนำศพไว้บนบ้านให้ศพนอนหันหัวไปทางทิศตะวันตกหรือทิศใต้เพราะเป็นทิศของผีเอาผ้ามาขึงรอบศพป้องกันไม่ให้แมวกระโดดข้ามศพเพราะถือว่าถ้าแมวกระโดดข้ามศพจะลุกขึ้น(เรียกว่า ขึ้นดอย) ผู้ที่มาช่วยงานยังเชื่อว่าจะได้บุญได้กุศลแรง ส่วนพวกที่มีร่างกายแข็งแรงก็จะเข้าป่าตัดฟืนเตรียมไว้เผาศพ (เรียกว่า กองฟอน) ที่บ้านคนตายเจ้าบ้านจะจัดเตรียมขันน้ำส้มป่อยวางไว้ที่เชิงบันไดเพื่อที่แขกจะกลับบ้านจะได้เอามาประพรมที่ศีรษะก่อนกลับเพราะถือว่าผีสางคางแดงที่จับหรือเกาะตามเนื้อตัวหรือเสื้อผ้าก็จะปล่อยไม่กล้าจับ (หน้า 23, 33-51, 61-98, 100, 106-108, 114-115)

Education and Socialization

ปัจจุบันเด็กในชุมชนหาดเสี้ยวจะเริ่มเข้าโรงเรียนตั้งแต่อายุ 4-5 ขวบ โดยมีโรงเรียนอนุบาลของเอกชนรองรับและเมื่อเด็กอายุครบเกณฑ์ก็จะเข้าเรียนในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนหาดเสี้ยววิทยาและเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนเมืองเชลียง (หน้า 31-32)

Health and Medicine

ในปัจจุบัน ถึงแม้ในชุมชนหาดเสี้ยวจะมีโรงพยาบาลและคลีนิคเปิดบริการ แต่ชาวบ้านบางคนก็ยังนิยมรักษาโรคด้วยวิธีแบบพื้นบ้านอยู่เช่นเดิม คือ พิธีทิ้งข้าว (สำเนียงท้องถิ่นว่า "ทิ้มข้าว") พิธีนี้ใช้สำหรับรักษาเด็กเล็กๆ ที่ร้องไห้เพราะหาสาเหตุไม่ได้พ่อแม่ของเด็กจะไปหาหญิงที่มีอายุมาก 60-70 ปี เรียกกันว่า แม่เฒ่ามาทำพิธี แม่เฒ่าจะหยิบก้อนข้าวมาก้อนหนึ่งแล้วหงายมือใช้หลังมือส่วนที่เป็นปลายนิ้วลูบไปมาตามตัวเด็ก ปากก็พร่ำบ่น เมื่อกล่าวจบก็บ้วนน้ำลายใส่ก้อนข้าวแล้วโยนไปทางทิศตะวันตกเพื่อให้ผีสางคางแดงมากินข้าวจะได้ไม่มารบกวนเด็ก พิธีเรียกขวัญและสู่ขวัญ (เฮี๊ยะขวัญ) ใช้สำหรับเด็กโต เมื่อเด็กเกิดปวดหัวตัวร้อน พ่อแม่จะให้แม่เฒ่ามาสู่ขวัญให้ การเรียกขวัญจะใช้ข้าวสุก 1 ก้อน ไข่ไก่สุก 1 ฟอง เกลือ 1 หยิบมือ แล้วนำมาใส่ไว้ในกล่องข้าว แม่เฒ่าจะทำพิธี พอถึงเวลานอนพ่อแม่จะนำกล่องข้าวไปวางที่หัวนอนเด็ก พิธีสู่ขวัญจะทำในเช้าวันรุ่งขึ้นเตรียมชาม 3 ใบ ใส่ถาดไว้พร้อมด้วยกล่องขวัญที่นำไปเรียกขวัญเมื่อวานนี้นำมาให้แม่เฒ่าทำพิธีเสร็จแล้วข้าว ไข่และเกลือให้เด็กกินจนหมด การรดน้ำมนต์หมอจะใช้ขันตักน้ำแล้วมาเสกเป่าให้คนไข้ดื่มนิดหน่อยแล้วยืนขึ้นอมน้ำมนต์พ่นไป ตั้งแต่หัวจรดเท้าเสร็จแล้วใช้มีดหมอจุ่มลงที่ขันน้ำมนต์แล้วกรีดไปตามตัวคนไข้แล้วยืนขึ้นตักน้ำมนต์อาบให้คนไข้ การเสี่ยงทายหมอที่มารักษาเรียกว่า "หมอเยา" เวลามารักษาจะสะพายดาบหุ้มด้วยผ้าสีแดงมาด้วย สิ่งของที่ใช้เสี่ยงทาย คือ เอาไข่ไก่ 2 ฟองและข้าวสาร เขี่ยข้าวให้เป็นวงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 ฟุต ตั้งไข่ไก่ 2 ฟองไว้ตรงกลางจัดคนมานั่งข้างๆหมอเยา 1 คน เรียกว่า "จ่า" คอยรินเหล้า การเสี่ยงทายจะเริ่มด้วยการเชิญผีต่าง ๆ มาดื่มเหล้า โดยหมอเยาจะเป็นตัวแทนในการกินเหล้าจะเสี่ยงทายโดยใช้ฝ่ามือกอบข้าวสารขึ้นมาโปรยบนไข่ 2 ฟอง นับจำนวนข้าวที่ติดอยู่บนไข่ว่าเป็นเลขคู่หรือคี่ ทำเช่นนี้ซ้ำกันอีก 2 ครั้ง ถ้าผลออกมาเหมือนครั้งแรกแสดงว่าดี คนไข้จะหายวันหายคืน ถ้าผลที่ออกมาไม่ตรงกันก็จะทำจนกว่าผลที่ได้จะออกมาเหมือนกัน การรักษาด้วยยาแผนโบราณหมอที่รักษา เรียกว่า "หมอยา" จะมีตำราใบลานหรือสมุดข่อย เมื่อตรวจดูอาการแล้วหมอยาจะเปิดดูตำราจนกว่าจะพบยาที่มีสรรพคุณตรงกับอาการของคนไข้ (หน้า 37, 47-49)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ประเพณีชุมชนที่พวนหาดเสี้ยวถือปฏิบัติสืบทอดกันมา คือ ประเพณีกำเกียง กำฟ้า สงกรานต์ บุญบั้งไฟ ห่อข้าวดำดิน ทานข้าวสะ บวชช้าง หัตกรรม : การทอผ้ากองบวชได้แก่ ผ้ากั้ง ผ้าห่อคัมภีร์ ผ้ากราบ ผ้าปูนั่ง ผ้าเช็ดหน้า การแต่งกายของนาค คือ สวมเสื้อกำมะหยี่ แขนยาว นุ่งผ้าม่วง สวมเทริด สวมแว่นตา ห้อยกระจกที่หูทั้งสองข้าง ซิ่นตีนจกซึ่งในสมัยก่อนจะเป็นเครื่องบ่งบอกถึงสถานภาพของผู้สวมใส่ คือ ซิ่นตีนจกจะเป็นผ้านุ่งสำหรับหญิงสาวโสด เมื่อแต่งงานแล้วจะเลิกนุ่ง ปัจจุบัน(2538)ซิ่นตีนจกได้กลายความหมายมาเป็นสิ่งบ่งบอกถึงความเป็นชาติพันธุ์และเป็นตัวแทนของชุมชนหาดเสี้ยวด้วย ความหมายของการนำตีนจกมาใช้ในพิธีการบวชอาจตีความหมายได้ 2 ประเด็น คือ 1. มีความหมายในฐานะที่เป็นตัวแทนของผู้หญิงหรือเพศแม่ซึ่งจริงๆแล้ว ในสมัยก่อนผ้านุ่งของผู้หญิงถือเป็นของใช้ส่วนตัวจะไม่ใช้ปะปนกับผู้ชาย 2. ถือเป็นงานศิลปหัตถกรรมของพวนหาดเสี้ยวเป็นสิ่งแสดงถึงความเป็นชาติพันธุ์จะนำไปใช้กับใคร เมื่อใดหรือในโอกาสใดก็ได้ไม่จำกัด การละเล่นพื้นบ้าน เช่น เล่นนางสาก นางด้ง นางกวัก แข่งเรือจองกฐิน เข้าทำ (หน้า 24-25, 30, 52-98, 110-113, 122 )

Folklore

มีนิทานปรัมปรากล่าวถึงที่มาของชื่อบ้านหาดเสี้ยวไว้ตอนหนึ่งว่า "ธิดาเมืองเชียงรายเสด็จมาลงเรือมาดที่เมืองแพร่เพื่อไปเยี่ยมธิดาเจ้าเมืองตากระหว่างทางบังเอิญเรือรั่วจึงแวะจอดยาเรือที่ท่าน้ำของหมู่บ้านนั้น เมื่อเสด็จไปเยี่ยมชมหมู่บ้านได้สอบถามหัวหน้าหมู่บ้านว่าหมู่บ้านนี้ชื่ออะไร หัวหน้าหมู่บ้านทูลว่าชื่อ "บ้านหาดเสี้ยว" ธิดาเมืองเชียงรายมีความเห็นพ้องด้วยตามเหตุผลสภาพภูมิประเทศและชื่อเดิม จึงตั้งชื่อหมู่บ้านให้เพื่อเป็นสิริมงคลว่า "บ้านหาดเซี่ยว" ตามสำเนียงของคนพื้นเมือง หมู่บ้านแห่งนั้นก็คือ บ้านหาดเสี้ยว ต.หาดเสี้ยว อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย ในปัจจุบันหัวหน้าหมู่บ้านก็คือแสนสามพี่น้องซึ่งเป็นผู้นำพวนฝ่ายฆราวาสมาตั้งหลักฐานอยู่ที่บ้านหาดเสี้ยวแห่งนี้โดยใช้ชื่อว่า บ้านหาดเซี่ยว ต.หาดเสี้ยว ตลอดมา" และมีเรื่องเล่าถึงการเรียก "นาค" หมายถึง ผู้ที่จะบวชว่า "เมื่อครั้งพระพุทธเจ้ายังดำรงพระชนม์อยู่ มีพญานาคเกิดความเลื่อมใสศรัทธาได้แปลงร่างเป็นมนุษย์เพื่อขอบวชเป็นพระภิกษุ พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้บวชแต่ตามวิสัยของนาค ถ้าจะแปลงเป็นอะไรก็ตาม เวลาหลับก็จะกลับกลายเป็นนาคตามเดิม อยู่มาวันหนึ่งขณะที่นาคนอนหลับเกิดมีภิกษุรูปหนึ่งบังเอิญมาพบเข้าจึงนำความไปกราบทูลพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงตรัสแก่นาคให้กลับคืนสู่นครของตนและให้บำเพ็ญกุศล เมื่อพญานาคทราบก็เสียใจจึงกราบทูลว่าถึงไม่ได้บวชอีกต่อไปก็ขอฝากชื่อไว้กับผู้ที่จะบวชว่า "นาค" เสมอไปซึ่งเป็นความเชื่อที่เล่าสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน" (หน้า 21-22, 62-63)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ชาวบ้านจะติดต่อกับคนในหมู่บ้านใกล้เคียง (หน้า 70)

Social Cultural and Identity Change

การสร้างบ้านเรือนในสมัยที่พวนอพยพมาใหม่ ๆ จะยังคงสร้างกันแบบดั้งเดิมโดยสร้างติด ๆ กันอยู่เป็นหมู่บ้าน หลังคาและบันไดแทบจะเกยกัน มีใต้ถุนสูง หลังคาทำด้วยกระเบื้องแป้นเกล็ด การสร้างเพียงแต่ขอแรง แต่ปัจจุบันเปลี่ยนรูปแบบการสร้างบ้าน หลังคาจะมุงด้วยกระเบื้อง ตัวบ้านจะเป็นแบบครึ่งตึกครึ่งไม้หรือไม่ก็เป็นตึกทั้งหลัง รูปทรงเปลี่ยนไปตามสมัยนิยม รูปแบบการแต่งงานของพวนในระยะแรกจะเป็นการแต่งงานภายในกลุ่มพวนด้วยกันเอง ต่อมาเมื่อได้มีการปะทะสังสรรค์กับกลุ่มคนภายนอกทำให้มีการแต่งงานนอกกลุ่มเกิดขึ้น การแลกเปลี่ยนแรงงานในการทำนาจะมีเหลือปฏิบัติกันบ้างส่วนใหญ่จะเปลี่ยนไปเป็นการจ้าง มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มากขึ้นหลังจากที่ไฟฟ้าเข้าถึง แทบทุกบ้านจะมีอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทำให้หนังกลางแปลงไม่เป็นที่นิยม ชุมชนหาดเสี้ยววันนี้มีการเปลี่นนแปลงในทางความเจริญด้านวัตถุ ธุรกิจเติบโตขึ้นเป็นเมือง ความสะดวกสบายด้าน สาธารณูปโภค การคมนาคม มีมากขึ้นได้ส่งผลต่อสภาพสังคมและวัฒนธรรมให้มีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย (หน้า 23-25, 27, 31-32, 35, 124-126)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ภาพที่ 10 ศาลประจำหมู่บ้าน ภาพที่ 11 เครื่องเซ่นไหว้ศาลประจำหมู่บ้าน ภาพที่ 12 ผ้ากั้ง(ผ้าม่าน) ภาพที่ 13 ผ้าห่อคัมภีร์ ภาพที่ 14 ผ้านั่ง ภาพที่ 15 ผ้าเช็ดหน้า ภาพที่ 26 นาคที่แต่งตัวเสร็จเรียบร้อยแล้ว ภาพที่ 27 เทริดอายุมากกว่าหนึ่งร้อยปี ภาพที่ 28 สักกัจจัง(พนมนาค) ภาพที่ 31 นาคนำขันธ์ 5 วางไว้ที่ขาช้างเพื่ออนุญาตขึ้นไปนั่ง ภาพที่ 33 นาคของชาวหาดเสี้ยวมีช้างเป็นพาหนะ (หน้า 39,66,67,68,83,88,90)

Text Analyst จารุวรรณ เจนวณิชย์วิบูลย์ Date of Report 30 มิ.ย 2560
TAG พวน ไทยพวน ไทพวน, ความเป็นอยู่, ความเชื่อ, บวชช้าง, หาดเสี้ยว, สุโขทัย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง