สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลาวครั่ง,สิ่งทอ,อุทัยธานี,ชัยนาท,สุพรรณบุรี
Author สิทธิชัย สมานชาติ
Title สิ่งทอในพระพุทธศาสนาของกลุ่มวัฒนธรรมลาวครั่ง (Textile in Buddhism of Lao Khrang Culture)
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text -
Ethnic Identity ลาวครั่ง ลาวขี้คั่ง, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 63 Year 2540
Source สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
Abstract

สิ่งทอในพระพุทธศาสนาของกลุ่มวัฒนธรรมลาวครั่งในศาสนสถานและชุมชนจาก 8 หมู่บ้าน พบว่า มีรูปแบบสีสันและลวดลายของสิ่งทอใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องนุ่งห่มหรือสิ่งทอในพระพุทธศาสนา โดยนิยมใช้สีวรรณะร้อนเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสีแดงที่ย้อมมาจากครั่ง รูปแบบและลวดลายของสิ่งทอก็คล้ายคลึงกัน จึงอาจสันนิษฐานได้ว่า กลุ่มวัฒนธรรมลาวครั่งทั้ง 8 หมู่บ้าน น่าจะอพยพมาจากถิ่นฐานเดียวกัน หรือใกล้เคียง โดยอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศฝนช่วงเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน (หน้า 1)

Focus

สิ่งทอในพระพุทธศาสนาของลาวครั่งที่ จ.อุทัยธานี จ.ชัยนาท และ จ.สุพรรณบุรี

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ในทางวิชาการจะเรียกกลุ่มวัฒนธรรมลาวครั่งว่า "ไทครั่ง" ซึ่งจะเรียกตนเองว่า ลาวครั่ง หรือ ลาวเวียง หรือ ลาวกา (หน้า 13)

Language and Linguistic Affiliations

กลุ่มวัฒนธรรมลาวครั่งใช้ภาษาตระกูลไท หรือไต โดยใช้อักษรไทยน้อยและไทยอีสานในภาษาเขียน (หน้า 14)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

สันนิษฐานว่ากลุ่มวัฒนธรรมลาวครั่งอพยพโยกย้ายจากลุ่มแม่น้ำโขงมาสู่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ซึ่งพระวออุปฮาดเมืองเวียงจันทน์ได้นำผู้คนประมาณ 2,000 คนมาขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของพระเข้าตากสิน และในช่วงเดียวกัน พระเจ้าตากสินก็ได้นำกองทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ และได้กวาดต้อนเชื้อพระวงศ์ และราษฎรเมืองเวียงจันทน์ลงมามีจำนวนหลายหมื่นคน ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2358 เจ้าเมืองเวียงจันทน์ได้ส่งครัวลาวเมืองภูครังและครัวเทืองพุกรางลงมาถวาย และในสมัยรัชกาลที่ 3 ในการปราบกบฏเมืองเวียงจันทน์ หรือกบฏเจ้าอนุวงศ์ ทำให้เกิดการอพยพครั้งใหญ่ของชาวเมืองเวียงจันทน์และหัวเมืองใกล้เคียงมาสู่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ประมาณว่ามีผู้คนถูกกวาดต้อนมาถึง 80,000-100,000 กว่าคน โดยกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณจังหวัดอุทัยธานี จังหวัดชัยนาท จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดพิจิตร (หน้า 13-15) 1. หมู่บ้านไร่ และ 2. หมู่บ้านทัพหลวง ชาวบ้านในหมู่บ้านเล่าสืบต่อกันมาว่าบรรพบุรุษของตนอพยพมาจากเวียงจันทน์นานนับเป็นร้อยๆ ปี เดิมอาศัยอยู่ที่ อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี ต่อมาได้อพยพมาตั้งถิ่นฐาน ณ บริเวณที่ตั้งของหมู่บ้านปัจจุบัน 3. ชาวหมู่บ้านทัพคล้ายได้เล่าสืบต่อกันมาว่า แต่เดิมบรรพบุรุษของตนมีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ และได้อพยพมายังประเทศไทยเมื่อครั้งเมืองเวียงจันทน์ถูกตีแตก โดยมีการสันนิษฐานว่า มีการตั้งบ้านเรือนครั้งแรกที่บริเวณลำห้วยกระเสียวเมื่อปี พ.ศ. 2371 โดยในระยะแรกมีเพียง 3-4 ครัวเรือน ต่อมาเมื่อชุมชนขยายตัวจึงมีการตั้งถิ่นฐานอย่างถาวร ตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้นมา ต่อมาเมื่อตั้งหมู่บ้านได้ประมาณ 80 ปี (พ.ศ. 2451) ได้เกิดฝีดาษระบาดขึ้น ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงพากันอพยพขึ้นทางเหนือไปตามลำห้วย ไปตั้งชุมชนใหม่ซึ่งอยู่ห่างจากชุมชนเดิมประมาณ 1 กิโลเมตร และเรียกชุมชนใหม่ว่า "บ้านใหม่" และเรียกชุมชนเก่าว่า "บ้านเก่า" โดยตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณทั้งสองฝั่งของลำห้วย โดยทางฝั่งตะวันตกของลำห้วยมีบ้านเรือนตั้งอยู่หนาแน่นกว่าจึงเรียกว่า "บ้านใหญ่" ส่วนอีกด้านเรียกว่า "บ้านทุ่งนา" ซึ่งทั้งหมดนี้ก็อยู่ในหมู่บ้านทัพคล้ายเช่นเดียวกัน 4. หมู่บ้านโคกหม้อ จากบันทึกประวัติวัดที่ได้กล่าวถึงการอพยพของกลุ่มวัฒนธรรมตนเองว่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2420 ขุนพีลึกฤาเดช หัวหน้าชุมชนได้พาชาวบ้านอพยพมาจากบ้านเก่า เขากระจิว จ.สุพรรณบุรี เดิมอยู่รวมกับหมู่บ้านกุดจอก จ.ชัยนาท ต่อมาได้อพยพเพื่อหาที่ทำกินที่อุดมสมบูรณ์ จึงได้มาตั้งถิ่นฐาน ณ หมู่บ้านโคกหม้อ ซึ่งเดิมเป็นที่อยู่ของกลุ่มมอญในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งได้โยกย้ายไปอยู่ที่บ้านเนินสาธาร อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี ก่อนที่ชุมชนเชื้อสายลาวจะอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน 5. ชาวบ้านเนินขามได้เล่าสืบต่อกันมาว่า บรรพบุรุษของตนได้อพยพมาจากลุ่มแม่น้ำโขงตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 โดยได้ตั้งบ้านเรือนครั้งแรกอยู่ที่บ้านโค้งและบ้านขาม อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ต่อมาได้อพยพออกจาก อ.อู่ทองมาประมาณ 30-40 ครัวเรือน เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณบ้านหนองแห้ว ต.เนินขาม เมื่ออยู่ได้สักระยะหนึ่ง เกิดไฟไหม้วัด จึงมาสร้างวัดใหม่ในบริเวณบ้านเนินขามปัจจุบัน และได้ย้ายครัวเรือนมาอยู่ใกล้วัด ซึ่งแต่เดิมมีต้นมะขามใหญ่ตั้งอยู่เป็นสัญลักษณ์ และเป็นที่เนินน้ำท่วมไม่ถึง จึงเรียกกันว่า บ้านเนินขาม 6. ชาวบ้านกุดจอกมีการเล่าสืบต่อกันมาว่าบรรพบุรุษของตน แต่เดิมอาศัยอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง บริเวณลุ่มน้ำโขง และได้อพยพมาอยู่ในบริเวณภาคกลางของประเทศไทยตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และจากเอกสารประวัติหมู่บ้านมีบันทึกไว้ว่า เมื่อปี พ.ศ. 2427 กองขุนศรีได้อพยพครอบครัวมาจากบ้านเขากระ จิว จ.สุพรรณบุรี จำนวนกว่า 20 ครัวเรือน มาตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ บริเวณบ้านกุดจอกในปัจจุบัน ซึ่งแต่เดิม ณ บริเวณหมู่บ้าน เป็นป่าและมีบึงน้ำขนาดกว้างประมาณ 100 เมตร ยาว 80 เมตร ในบึงมีดอกจอกใหญ่มากมายเต็มบึง หัวหน้าหมู่บ้านจึงให้ชื่อหมู่บ้านว่า หมู่บ้านกุดจอก 7. ชาวบ้านทับผึ้งน้อย ได้เล่าสืบต่อกันมาว่าบรรพบุรุษมาจากลุ่มแม่น้ำโขง และจากประวัติหมู่บ้านเขียนไว้ว่า เดิมชาวบ้านทับผึ้งน้อยตั้งถิ่นฐานกันอยู่ในเขตของ อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี โดยมีชื่อหมู่บ้านว่า "หมู่บ้านทับผึ้ง" มีชาวบ้านอาศัยกันอยู่ประมาณ 100 หลังคาเรือน ต่อมาในปี พ.ศ. 2450 ชาวบ้านได้อพยพออกจากหมู่บ้าน เนื่องจากผู้ปฏิบัติราชการในสมัยนั้นทำการขูดรีด ชาวบ้านจึงอพยพข้ามเข้ามาในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งห่างจากที่เดิมเพียง 1 กิโลเมตร และเรียกชื่อหมู่บ้านแห่งใหม่ว่า "หมู่บ้านทับผึ้งน้อย" 8. ชาวบ้านบ่อกรุได้เล่าสืบทอดต่อกันว่า บรรพบุรุษของตน แต่เดิมอพยพมาจากเมืองเวียงจันทน์ และตามประวัติหมู่บ้านได้กล่าวไว้ว่า ชาวบ้านบ่อกรุอพยพมาจากหมู่บ้านหนองเหียงใหญ่ อ.เล่าขวัญ จ.กาญจนบุรี เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2413 ต่อมามีชาวบ้านจากหมู่บ้านทุ่งกระโหลกอีกหลายครอบครัวมาอาศัยอยู่เพิ่มเติม (หน้า 16-25)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

1. หมู่บ้านไร่ปัจจุบันมีจำนวนครัวเรือนประมาณ 200 กว่าหลังคาเรือน 2. หมู่บ้านทัพหลวงปัจจุบันมีจำนวนครัวเรือนประมาณ 200 กว่าหลังคาเรือน 3. หมู่บ้านทัพคล้าย ไม่มีข้อมูล 4. หมู่บ้านโคกหม้อ ไม่มีข้อมูล 5. หมู่บ้านเนินขาม จัดเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ มีครัวเรือนมากกว่า 300 หลังคาเรือน 6. หมู่บ้านกุดจอกมีจำนวนครัวเรือน 100 กว่าหลังคาเรือน 7. หมู่บ้านทับผึ้งน้อยมีจำนวนครัวเรือนประมาณ 250 หลังคาเรือน 8. หมู่บ้านบ่อกรุ ไม่มีข้อมูล (หน้า 16-25)

Economy

การเกษตรกรรม : พืชไร่ที่มีค่าทางเศรษฐกิจของชาวเขามีหลายชนิด เช่น ข้าวไร่ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วเมล็ด ถั่วฝัก หอม กระเทียม มะเขือเทศ ผักเขียวต่างๆ ลูกเดือย มันสำปะหลัง มันแกว ฟักทอง หัวไชเท้า มันเทศ มันฝรั่งและผลไม้, พวกส้มต่างๆ ลูกฝรั่ง สับปะรด แต่คุณภาพไม่ดีเท่าไหร่ และแตงโม แหล่งรายได้เงินสดของชาวเขาที่สำคัญ คือ พริก ใบเมี่ยง ลูกไม้และกล้วยไม้ ชาวเขายังได้ผลผลิตเล็กๆ น้อยๆ จากป่า เช่น ผลไม้ ลูกไม้ ผักขม น้ำมันต่างๆ เครื่องปรุงรส ยางสน น้ำผึ้ง รวงผึ้ง ขี้ผึ้ง ใยไม้ เห็ด(ป่า) เปลือกไม้ ไม้ทำสีย้อมผ้า

Social Organization

ในสังคมของกลุ่มวัฒนธรรมลาวครั่ง มีการจัดแบ่งหน้าที่ในวิถีชีวิตประจำวันระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง เป็นวัฒนธรรมแบบ "หญิงทอผ้า ชายจักสาน" โดยหญิงสาวทุกคนจะต้องสามารถทอผ้าได้ เนื่องจากเป็นคุณสมบัติของกุลสตรีที่ดีงามและมีความพร้อมในการออกเรือน และฝ่ายชายต้องมีความสามารถในการจักสาน เพื่อทำเครื่องมือในการทำมาหากิน และจะต้องผ่านการบวชเรียนในพระพุทธศาสนา จึงจะถือว่ามีความพร้อมในการออกเรือน (หน้า 15) ทุกครัวเรือนจะมีการทอผ้าเพื่อใช้สอยกันภายในครอบครัว และมีการถ่ายทอดและสั่งสมกรรมวิธีการทอผ้าให้แก่สมาชิที่เป็นเพศหญิง แม่หรือยายจะเป็นผู้รับหน้าที่อบรมและถ่ายทอดวิธีการ กรรมวิธี และประสบการณ์ในการทอผ้าให้แก่บุตรสาวหรือหลานสาว (หน้า 49) ในส่วนของการขัดเกลาพฤติกรรมของคนในสังคม พระพุทธศาสนามีส่วนสำคัญและเป็นกลไกที่ทำให้คนในสังคมรู้จักความสามัคคีและความเสียสละเป็นอย่างดี (หน้า 59)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

กลุ่มวัฒนธรรมลาวครั่งทุกครัวเรือนนับถือศาสนาพุทธ โดยประสานกันกับความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ ซึ่งมีการนับถือทั้งแบบฝ่ายเจ้านายและฝ่ายเทวดา (หน้า 15) และน่าจะนับถือพระพุทธศาสนามายาวนานหลายชั่วอายุคน ตั้งแต่ครั้งยังอาศัยอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง (หน้า 27) - ชนเผ่าไทเชื่อสืบต่อกันว่า การทำทานตุง ถือเป็นการทำบุญที่ให้อานิสงส์แรง ผลบุญจากการทำทานตุงสามารถช่วยให้ตนขึ้นไปสู่สวรรค์ หรือหลุดพ้นจากความทุกข์อันเนื่องจากวิบากกรรม ตุงจึงเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของชนเผ่าไท ให้มุ่งสร้างสมอานิสงส์ให้กับตนและผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว การถวายทางตุงนั้น กลุ่มวัฒนธรรมลาวครั่งเรียกว่า พิธีปลุกธง (หน้า 32-33) - ผ้าม่านกั้นผนัง เป็นสิ่งทอประเภทหนึ่งที่พุทธศาสนิกชนสร้างถวายวัด โดยมีการสอดแทรกเรื่องราวทางศาสนา เช่น เรื่องพุทธประวัติหรือชาดก ในบางท้องถิ่นก็แทรกสัญลักษณ์ของความเชื่อท้องถิ่นลงไป พร้อมกับคำอุทิศถวายผ้าม่านแก่พระพุทธศาสนา โดยมุ่งหวังผลแห่งอานิสงส์ที่พาตนเองและครอบครัวให้พ้นทุกข์ และเกิดในศาสนาพระศรีอาริย์ (หน้า 37)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

- หมอนน้อย หรือบางท้องที่เรียกว่า "หมอนหก" คือหมอนที่มีจำนวนช่องในการอัดไส้จำนวน 6 ช่อง หรือหมอนหน้าอิฐ คือหมอนที่มองดูคล้ายก้อนอิฐ ใช้สำหรับหนุนศีรษะขณะนอนหลับ มีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือมีลักษณะคล้ายก้อนอิฐสี่เหลี่ยม โดยมีความสูงประมาณ 10 ซ.ม. กว้างประมาณ 17 ซ.ม. และมีความยาวประมาณ 30 ซ.ม. โดยมีลวดลายอยู่ที่ด้านข้างโดยรอบหมอน โดยจัดวางตำแหน่งลวดลายหลักไว้ตรงกลาง และลวดลายประกอบอยู่ 2 ข้าง ถัดออกมาจากลวดลายหลัก ส่วนหน้าหมอนจะเป็นผ้าพื้นสีเรียบ เป็นการทอด้วยการจก ผสม ขิด (หน้า 32-34) - ผ้าห่อคัมภีร์ ชนิดของผ้าที่นำมาทำผ้าห่อคัมภีร์ได้แก่ ผ้ามัดหมี่น้อย ผ้ามัดหมี่ตา ผ้ามัดหมี่โลด ผ้าซิ่นหมี่โลด ผ้าซิ่นหมี่ตาต่อตีนจก ผ้ามันหมี่สองเชิง (ผ้าโจงกระเบน) ผ้าฝ้ายสีขาวกุ๊นริมแดง ผ้าฝ้ายสีแดงครั่งขอบสีขาว (หน้า 35) - ผ้าคลุมหัวนาค มีรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดความกว้างประมาณ 40-50 ซ.ม. ขอบด้านหนึ่งจะกุ๊นด้วยผ้าสีแดงทั้งสองด้าน ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นชายครุยเป็นพู่ระย้าตลอดแนว ตรงกลางของผืนผ้าจะเว้นไว้เป็นช่องสี่เหลี่ยม โดยไม่มีการจกตกแต่งใดๆ (หน้า 36) - ผ้าม่านติดธรรมาสน์ มีรูปแบบโครงสร้างของสิ่งทอเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดความกว้างประมาณ 30 ซ.ม. และยาวประมาณ 60 ซ.ม. ชายด้านล่างเป็นสายลูกปัดร้อยเป็นเส้นติดพู่ระย้าเรียงกันตลอดแนว ทอด้วยการจก (หน้า 39) - หมอนเท้า มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมแหลม ตัวหมอนจะเป็นลวดลายจกผสมขิด ส่วนของหน้าหมอนจะเป็นผ้าพื้นเรียบ เย็บเป็นช่องสามเหลี่ยมต่อๆ กัน (หน้า 41) -ผ้าล้อ คือผ้าที่ใช้สำหรับปูที่นอน มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างประมาณ 65 ซ.ม. ยาวประมาณ 200 ซ.ม. ผ้าล้อแบบ ดั้งเดิมจะประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนบน ตรงกับตำแหน่งวางหมอนหรือศีรษะ จะมีการตกแต่งลวดลายเป็นแถบยาวตามแนวขวาง สร้างลวดลายด้วยเทคนิคการขิด ผสมการจก ส่วนกลาง ตรงกับช่วงตำแหน่งของลำตัว เป็นการทอขัดพื้นสีขาวด้วยเส้นด้ายยืนและเส้นด้ายพุ่งธรรมดา ส่วนเชิง ตรงกับบริเวณปลายเท้าใยเวลานอน จะมีการตกแต่งลวดลายเป็นแถบยาวตามแนวขวาง สร้างลวดลายด้วยเทคนิคการขิด ผสมการจก โดยลวดลายส่วนนี้จะมีขนาดเล็กกว่าส่วนบน ริมผ้าโดยรอบจะกุ๊นริมด้วย ผ้าแดงทั้ง 4 ด้าน (หน้า 46) - ผ้าหน้ามุ้ง คือผ้าประดับหน้ามุ้ง หน้ามุ้งคือส่วนของมุ้งที่ในเวลานอนจะเป็นด้านที่ปลายเท้าชี้เข้าหา ผ้าหน้ามุ้งจะใช้ติดส่วนบนขอบมุ้งด้านนี้ เพื่อยอกทิศทางในการเข้ามุ้งนอน ผ้าหน้ามุ้งเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดความยาวพอดีกับขนาดของหน้ามุ้ง โดยมีความยาวประมาณ 150 ซ.ม. และกว้างประมาณ 30 ซ.ม. ส่วนชายด้านล่างตามความยาวตลอดแนวจะเป็นชายครุย (หน้า 47) - นาคไทครั่ง จะแต่งกายด้วยผ้านุ่งโจงกระเบนมัดหมี่ สวมเสื้อสีขาว ส่วนศีรษะจะคลุมด้วยผ้าคลุมหัวนาค โดยให้ชายครุยอยู่ด้านข้าง สวมหมวกทับ (หน้า 36)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

การทอผ้าของไทครั่งในการศึกษาครั้งนี้ยังคงมีการทออยู่บ้าง แต่ไม่ได้มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ปลูกฝ้ายเอง ส่วนมากเป็นการทอโดยใช้เส้นใยที่ซื้อมาจากที่อื่นเป็นส่วนใหญ่ (หน้า 19) และการทำสิ่งทอถวายพระพุทธศาสนา ไทครั่งในอดีตก็มักจะ ทอขึ้นเองในครัวเรือน แต่ปัจจุบัน ผู้คนไทครั่งรุ่นหลังๆ จะนิยมซื้อเครื่องสมณบริขารจากร้านในเมืองมาถวายเป็นพุทธบูชา เนื่องจากไทครั่งรุ่นใหม่ นิยมออกไปหางานทำในตัวเมืองมากขึ้น จึงไม่มีเวลาที่จะทอผ้าเองเพื่อใช้บูชาพระพุทธศาสนา (หน้า 27) จึงทำให้ไม่มีผู้สืบทอดการทำสิ่งทอในพระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิม ทั้งในด้านของรูปแบบ ลวดลาย และสีสัน ซึ่งเกิดมาจากการทอเพื่อจำหน่าย โดยการดัดแปลงรูปแบบลักษณะให้เป็นไปตามความต้องการของคนภายนอกชุมชน นอกจากนี้ ประเพณีต่างๆ ที่มีการถวายสิ่งทอในพระพุทธศาสนา ก็เริ่มจะเลือนหายไปเช่นเดียวกันกับการทอผ้า (หน้า 60-61)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ตาราง - ตารางที่ 1 การประมาณผลผลิตข้าวจากแปลงตัวอย่างโดยวิธีตัดแปลงในบริเวณสำรวจชาวเขาทางตอนเหนือของประเทศไทย (ภาคผนวก 4 หน้า 11) ตารางที่ 2 การประมาณผลผลิตฝิ่นต่อไร่โดยวิธีตัดแปลงตัวอย่างในบริเวณสำรวจชาวเขาทางตอนเหนือของประเทศไทย (ภาคผนวก 4 หน้า 12) ตารางที่ 3 ความสูงจากระดับน้ำทะเลของแปลงตัวอย่างฝิ่น (ภาคผนวก 4 หน้า 13) ตารางที่ 4 จำนวนแปลงตัวอย่าง ที่ตัดจากแปลงฝิ่นและผลผลิตต่อไร่ของชาวเขาเผ่าต่างๆ (ภาคผนวก 4 หน้า 14) ตารางที่ 5 ลักษณะของป่าเดิมก่อนถูกถางทำไร่ฝิ่น (ภาคผนวก 4 หน้า 15) ตารางที่ 6 ลักษณะของดินปลูกฝิ่นที่เกิดจากภูเขาหินชนิดต่าง ๆ (ภาคผนวก 4 หน้า 16) ตารางที่ 7 พืชที่ปลูกในฤดูฝนก่อนปลูกฝิ่น (ภาคผนวก 4 หน้า 17) ตารางที่ 8 จำนวนครั้งที่กรีดผลฝิ่นในการเก็บเกี่ยวแปลงตัวอย่าง (ภาคผนวก 4 หน้า 18) ตารางที่ 9 การปลูกฝิ่นซ้ำที่โดยไม่เคลื่อนย้าย (ภาคผนวก 4 หน้า 19) แผนที่ - การแจกแจงตามภูมิศาสตร์ของชาวเขาเผ่าต่างๆ ในทางภาเหนือของประเทศไทย, บริเวณทำไร่เลื่อนลอยของชาวเขา, ศูนย์และหมู่บ้านที่คณะสำรวจเดินทางไปเยี่ยม (หลังภาคผนวก 7) รูปภาพ - คณะผู้เชี่ยวชาญกำลังวางแผนกำหนดพื้นที่ทำการสำรวจจากแผนที่ หญิงและเด็กชาวเขาเผ่าแม้วลาย คณะผู้เชี่ยวชาญกำลังวางแผนกำหนดพื้นที่ทำการสำรวจจากแผนที่ คณะผู้สำรวจเดินทางขึ้นเครื่องบินไปทำการสำรวจ ในบริเวณที่เป็นป่าทึบ เครื่องเฮลิคอปเตอร์มีบทบาทสำคัญในการสำรวจ หัวหน้าคณะสำรวจประชาชาติและหัวหน้าศูนย์วิจัยชาวเขาเชียงใหม่กำลังสัมภาษณ์ชาวเขา, ณ ลานบินสนามเชียงใหม่ เด็กชาวเขาเผ่าเย้า ไร่ชาบริเวณนิคมดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ไร่มันฝรั่งพันธุ์ไอริชที่สถานีทดลองกสิกรรม อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ คณะสำรวจสหประชาชาติกำลังสนใจกับมันฝรั่งพันธุ์ไอริชและถั่วลันเตา บ้านชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง คณะสำรวจสหประชาชาติเยี่ยมบ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอร์ดำ บริเวณนิคมดอยเชียงดาวเป็นการศึกษา ความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อม ไม้ไผ่ผ่าซีกใช้เป็นท่อรับน้ำจากแหล่งน้ำบนภูเขา บริเวณนิคมดอยเชียงดาว เชียงใหม่ ผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติกับเจ้าหน้าที่ร่วมงาน ณ นิคมดอยเชียงดาว เชียงใหม่ ผู้เชี่ยวชาญหยุดชมบ่อน้ำร้อนที่ฝาง หมู่บ้านอีก้อบนยอดเขาแห่งหนึ่ง, หมูเป็นสัตว์เลี่ยงที่ชาวเขานิยมเหมือนกัน, ปรึกษาวางแนวข้อสอบถามก่อนการเดินทางไปสำรวจยังหมู่บ้านชาวเขา, บ้านชาวมูเซอดำ บริเวณนิคมดอยเชียงดาว, คณะสำรวจสหประชาชาติสนใจการทำไร่ ปลูกข้าวตามที่ราบชายเขา, บ้านชาวเขาเผ่าลีซอ, ภาพถ่ายทางอากาศของหมู่บ้านชาวเขา, บ้านชาวเขาล้อมรอบด้วยต้นไม้ใหญ่ๆ ในป่า, พ่อของชาวเขาเผ่าแม้ว, หมู่บ้านชาวเขาบนที่ราบระหว่างช่องเขา (หลังภาคผนวก 7)

Text Analyst ชมพรรณ จันทิมา Date of Report 27 ก.ย. 2555
TAG ลาวครั่ง, สิ่งทอ, อุทัยธานี, ชัยนาท, สุพรรณบุรี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง