สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลีซู,ข้อห้าม,ข้อนิยม,ประเพณี,พฤติกรรมทางสังคม,แม่ฮ่องสอน,เชียงใหม่
Author ประเสริฐ ชัยพิกุสิต
Title ข้อห้ามข้อนิยมของชาวเขาเผ่าลีซอ
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลีซู, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 51 Year 2520
Source ศูนย์วิจัยชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย
Abstract

การศึกษามีจุดมุ่งหมายเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงในพฤติกรรมทางสังคมด้านข้อห้ามและข้อนิยมของชาวเขาเผ่าลีซอ ที่ได้ยึดถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษและยังคงปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อประโยชน์สำหรับหน่วยงานและผู้สนใจ (หน้า คำนำ)

Focus

ศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีความเชื่อและพฤติกรรมทางสังคมด้านข้อห้ามและข้อนิยมของชาวเขาเผ่าลีซอ (หน้า -2-)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ศึกษาหมู่บ้านลีซอ 10 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ - อำเภอแม่แตง 1) หมู่บ้านลุ่ม 2) หมู่บ้านท่าวังผา 3) หมู่บ้านห้วยเฮี้ย - อำเภอสะเมิง 4) หมู่บ้านผายผึ้ง - อำเภอพร้าว 5) หมู่บ้านต้นกู่ 6) หมู่บ้านขุนแจ๋ (แม่ปูน) - อำเภอเชียงดาว 7) หมู่บ้านดงสามหมื่น จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภอปาย 8) หมู่บ้านขุนสา 9) หมู่บ้านปางแปก 10) หมู่บ้านดอยยาง (ไม่มีเลขหน้า)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาลีซออยู่ในกลุ่มจีน-ธิเบต (Sino-Tibetan) สาขาธิเบต-พม่า (Tibeto-Burman) มีแต่ภาษาพูดไม่มีภาษาเขียน (หน้า 49) ลักษณะของประโยคในภาษาลีซอ ประธานจะมาก่อน ตามด้วยกรรมและกิริยาอยู่ท้ายประโยค หากมีคำขยายนามให้ไว้นำหน้าคำนามเช่นเดียวกับภาษาอังกฤษ พยัญชนะเดี่ยว ตัว ย. น. ส. มี 2 เสียง เสียงของตัว จ. จะปนกับตัว ก. ตัว ช. ปนกับตัว ค. และตัว ฉ. ปนกับตัว ข. ไม่มีเสียงควบกล้ำ ส่วนตัวสะกด ไม่มีตัวสะกด ก. ตัวสะกดอยู่ในลำคอ และมีตัว ง. สะกด (หน้า 49)

Study Period (Data Collection)

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2516 - 31 กรกฎาคม 2517 เป็นช่วงปฏิบัติงานภาคสนาม วันที่ 1 สิงหาคม 2517 - 30 กันยายน 2517 เป็นช่วงรวบรวมข้อเท็จจริงและเขียนรายงาน (ไม่มีเลขหน้า)

History of the Group and Community

เดิมลีซอมีถิ่นฐานอยู่ทางตอนต้นของแม่น้ำสาละวินและแม่น้ำโขงในตอนเหนือของธิเบต และทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลยูนนานในประเทศจีน และมณฑลอัสสัมของประเทศอินเดีย พื้นที่ที่ลีซออาศัยอยู่มากคือตะวันตกของมณฑลยูนนาน กระจายไปทางตะวันออกตามแนวเขตระหว่างมณฑลยูนนาน-เสฉวน ถึงเมืองติงชู (Tingchou) เหนือเมืองคุนหมิงและทางตะวันตกไปถึงเมือง มยิทจีนา (Myikyina) ของคะฉิ่นในประเทศพม่า (หน้า 1) ลีซออพยพจากเมืองเชียงตุงเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยบริเวณดอยช้าง จังหวัดเชียงรายระหว่างปี พ.ศ. 2462-2464 หลังจากนั้นจึงมีลีซอจากพม่าอพยพเข้ามาเรื่อยๆ ด้วยเหตุผลที่ดินเดิมขาดความสมบูรณ์ เกิดโรคระบาด เกิดความขัดแย้งในหมู่บ้าน หรือโจรผู้ร้ายชุกชุม (หน้า 2)

Settlement Pattern

ลีซอชอบตั้งหมู่บ้านบนภูเขาสูงที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 4,000 - 5,000 ฟุต ซึ่งอากาศค่อนข้างหนาวเย็น ที่ลีซอเชื่อว่าจะทำให้สุขภาพดี มีโรคภัยไข้เจ็บเกิดขึ้นน้อย เหตุผลการเลือกพื้นที่ตั้งหมู่บ้านที่สำคัญคือความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ทำกิน นิยมตั้งบนไหล่เขาหรือสันเขา ไม่ค่อยชอบอยู่บนยอดเขา หรือที่ราบลุ่มระหว่างหุบเขา (หน้า 8) บ้านลีซอปลูกสร้างอย่างไม่เป็นระเบียบ ไม่เป็นแถวเป็นแนว หน้าประตูบ้านหันคนละทิศคนละทาง บ้านบางแห่งมีรั้วกั้นเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงไม่ให้รบกวนพืชผัก นอกจากนี้ยังมีคอกสัตว์ เช่น คอกม้า หมู ไก่ และยุ้งฉางเก็บข้าวเปลือก ข้าวโพด บางหมู่บ้านมีโรงสีและโรงตีเหล็ก ใช้สำหรับซ่อมหรือสร้างเครื่องมือเครื่องใช้ในบ้านและการเกษตร เช่นมีด จอบ เสียมและเคียว (หน้า 8-9) บ้านของลีซอมี 2 แบบ คือบ้านที่ปลูกคร่อมดิน เรียกว่า "หมี่ซาฮี" และบ้านที่ปลูกยกพื้น เรียกว่า "คะซาฮี" บางหมู่บ้านปลูกแบบคร่อมดินทั้งหมด เช่น บ้านลีซอดอยช้าง จังหวัดเชียงราย และบางหมู่บ้านปลูกยกพื้นทั้งหมด เช่น บ้านลีซอในในสหกรณ์ที่ดินบ้านต้นกู่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ (หน้า 4) ข้อห้ามในการปลูกสร้างบ้าน คือ 1) ห้ามปลูกสร้างบ้านในทิศทางที่เป็นแนวตรงกัน ประตูบ้านของแต่ละบ้านจะตรงกันไม่ได้ ทำให้ผีโกรธ 2) ในบางตระกูลเชื่อว่าลูกหลานไม่ควรปลูกบ้านด้านข้างหรือด้านที่ต่ำลงมาจากบ้านของพ่อแม่ เพราะเชื่อว่าลูกหลานไม่สามารถแบกพ่อแม่ได้ และไม่ควรอยู่เสมอพ่อแม่ 3) บ้านที่ปลูกจะต้องไม่อยู่แนวตรงกับประตูหน้าของศาลผีประจำหมู่บ้าน 4) สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นเช่น ยุ้งข้าว คอกสัตว์หรือครกตำกระเดื่อง จะอยู่ตรงหน้าประตูบ้านไม่ได้ และ 5) ไม่นิยมนำไม้ที่ถูกฟ้าผ่ามาปลูกสร้างบ้าน (หน้า 6) ข้อนิยมเกี่ยวกับการปลูกสร้างบ้าน 1) นิยมปลูกได้ทั้งแบบคร่อมดินและยกพื้น 2) นิยมปลูกบ้านรวมกันเป็นหมู่ๆ ไม่ปลูกกระจัดกระจาย 3) นิยมสร้างให้มีประตูเข้าออกประตูเดียว 4) นิยมย้ายเข้าบ้านใหม่ในวันที่ถือว่าดี 5)ไม้ที่นิยมใช้ปลูกสร้างบ้านคือไม่ก่อ ไม้มะกอก และไม้จำปา และ 6) หากมีสุนัขหรือวัวขึ้นหลังคาบ้าน ถือว่าเป็นลางร้ายต้องทำพิธีเซ่นไหว้บูชาผี (หน้า 7) ตามเส้นทางเข้าออกหมู่บ้านห่างออกไปประมาณ 100-500 เมตร มักมีศาลาพักริมทางเพื่อเป็น "ทานศาลา" ในพิธีเรียกขวัญและพิธีรักษาความเจ็บป่วย ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ตนเองและลูกหลานอยู่เป็นสุข (หน้า 10)

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

เศรษฐกิจของลีซอมีการทำไร่เลื่อนลอย เลี้ยงสัตว์ และหาของป่า การทำไร่เลื่อนลอยเป็นการปลูกพืชซ้ำในที่ดินติดต่อกันหลายปี เมื่อดินขาดความสมบูรณ์ จึงย้ายหักร้างถางพงในพื้นที่ป่าแห่งใหม่ พืชหลักได้แก่ ข้าว ฝิ่น ข้าวโพด นอกจากนี้ยังปลูกพืชผักล้มลุกไว้บริโภค - แต่เดิมลีซอทำแต่ข้าวไร่ แต่ปัจจุบัน เริ่มมีการทำนาปลูกข้าวกันบ้างแล้ว ส่วนฝิ่นนิยมปลูกมาก เริ่มปลูกฝิ่นในเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน เก็บเกี่ยวเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ซึ่งฝิ่นสามารถปลูกซ้ำในแปลงเดิมได้ประมาณ 5-7 ปี ต้องหาที่เพาะปลูกใหม่ -ข้าวโพดนิยมปลูกไว้เป็นอาหาร ทำสุรา ขนม และอาหารสัตว์ เริ่มปลูกราวเดือน พฤษภาคม - มิถุนายน เก็บเกี่ยวเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน สัตว์ที่นิยมเลี้ยงได้แก่ หมู ไก่ และวัว เลี้ยงไว้สำหรับขาย - การล่าสัตว์และหาของป่า ผู้ชายลีซอนิยมเป็นพรานล่าสัตว์ เช่น หมูป่า อีเก้ง กระรอก นก บ่าง อีเห็น ลิง ตะกวด สัตว์ที่ล่าได้จะนำมาทำอาหาร ไม่นิยมใช้ในพิธีกรรม ส่วนการหาของป่า มักออกไปหากล้วยไม้เพื่อนำมาขาย นอกจากนี้ ยังหาเห็ด หน่อไม้ หวาย ผักหญ้า และผลไม้ป่า (หน้า 42-45) การใช้แรงงานแบ่งเป็น 4 แบบ คือ 1) แรงงานในครอบครัวมีการทำงานในไร่ร่วมกันทั้งหมด เช่น ถางหญ้า ปลูกข้าวโพด ส่วนภรรยาทำหน้าที่หุงหาอาหาร ลูกตักน้ำและเลี้ยงน้อง 2) การแลกเปลี่ยนแรงงานหมายถึงสมาชิกครอบครัวหนึ่งได้รับการขอร้องให้ช่วยทำงานให้กับอีกครอบครัวหนึ่ง โดยครอบครัวที่ร้องขอแรงงานจะต้องไปทำงานชดใช้ทีหลัง โดยคิดจำนวนคน จำนวนวันที่เท่ากัน ลักษณะงานขึ้นอยู่กับผู้ร้องขอ เช่น ถางหญ้า เกี่ยวข้าว แต่มีข้อยกเว้นอยู่บ้าง คือ เมื่อลูกเขยกลับมาช่วยงานที่บ้านพ่อแม่ตนเองไม่ต้องชดใช้แรงงานกลับ 3) การลงแขกหรือการร่วมแรงกัน หมายถึงการช่วยเหลือทำงานให้เปล่า ๆ ไม่มีการชดใช้แรงงาน เป้นงานที่ต้องการทำงานให้เสร็จรวดเร็ว เช่น ปลูกข้าว ปลูกสร้างบ้าน ตัดโค่นต้นไม้ ผู้ที่ขอแรงจะต้องทำอาหารมาเลี้ยงผู้ที่มาทำงานให้ และ 4) การจ้างแรงงาน โดยจ้างผู้ที่ติดฝิ่นมาทำงานในไร่ฝิ่น ใช้ฝิ่นเป็นค่าจ้างไม่นิยมใช้เงิน ซึ่งอาจมีการตกลงกันก่อน ลักษณะงานคือ ขุดดิน ถางหญ้า ตัดโค่นต้นไม้ เก็บเกี่ยวข้าว กรีดฝิ่น ผู้ที่มารับจ้างส่วนใหญ่ได้แก่กะเหรี่ยง คนไทยพื้นเมือง มูเซอ ม้งและลีซอ (หน้า 44-45)

Social Organization

ครอบครัวของลีซอโดยทั่วไปเป็นครอบครัวเดี่ยว และไม่ใช่ครอบครัวเดี่ยว เพราะสังคมยอมรับการมีภรรยาหลายคนได้ ขึ้นอยู่กับฐานะและความยินยอมของภรรยาคนแรก หลังจากแต่งงานแล้วฝ่ายหญิงจะใช้แซ่ของฝ่ายชาย และย้ายไปอยู่บ้านฝ่ายชาย แต่หากฝ่ายชายไม่มีเงินค่า "ซื้อ" ให้กับครอบครัวของฝ่ายหญิง ฝ่ายชายต้องเข้าไปอยู่บ้านฝ่ายหญิงระยะเวลาหนึ่งเพื่อทำงานชดใช้แรงงาน (หน้า 19-20) ลีซอถือว่าผู้ชายเป็นหัวหน้าครอบครัว มีสถานะทางสังคมเหนือกว่าฝ่ายหญิง มีหน้าที่เลือกที่อยู่อาศัยและเพาะปลูก และนิยมชอบบุตรชายมากกว่าบุตรหญิง จะได้เป็นที่พึ่งพายามแก่เฒ่าลง และเป็นผู้สืบตระกูลต่อไป ส่วนบุตรสาวเมื่อแต่งงานแล้วต้องไปอยู่บ้านสามี (หน้า 20) ลีซอมีความเชื่อว่า บุตรแฝดชาย 1 หญิง 1 เป็นคู่บุพเพสันนิวาสกัน เมื่อเลี้ยงดูจนหย่านมแล้ว จะแยกทั้งสองอยู่คนละแห่งโดยไม่ให้ทราบความจริงว่าเกิดจากท้องพ่อแม่เดียวกัน และเมื่อโตขึ้นเป็นญาติพี่น้องจะจัดการให้ทั้งสองแต่งงานกัน (หน้า 20)

Political Organization

การปกครองของลีซอในสมัยก่อนได้รับอิทธิพลจากไทยใหญ่และจีน มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองสูงสุด รองลงมาคือ ผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด นายอำเภอ กำนันและผู้ใหญ่บ้านตามลำดับ ในสมัยก่อนไม่มีกษัตริย์ แต่มีหลายคนถึงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด การดำรงตำแหน่งเหล่านี้ผู้ปกครองจะต้องมีฐานะทางเศรษฐกิจดีพอ และมีความสามารถด้านการใช้อาวุธด้วย (หน้า46) สำหรับในไทย ลีซอไม่มีหัวหน้าเผ่ามีแต่หัวหน้าหมู่บ้านที่ราชการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งขึ้นมา นอกจากนี้ในหมู่บ้านจะมีผู้ที่ได้รับการเคารพยกย่องจากคนในหมู่บ้าน ถือว่าเป็นกลุ่มผู้เฒ่าในหมู่บ้าน มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินพิจารณาคดี ตกลงปรึกษาหารือในเรื่องการย้ายที่อยู่อาศัย การทำกิจกรรมร่วมกันในหมู่บ้าน เช่นสร้างสะพาน สร้างศาลผีประจำหมู่บ้าน การปกครองหมู่บ้านของลีซอ ญาติพี่น้องมีส่วนสำคัญในการทำให้การปกครอง ความเป็นอยู่ของสมาชิกเป็นไปอย่างราบรื่น (หน้า 47-48)

Belief System

ลีซอมีความเชื่อเรื่องผี ซึ่งแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ผีดีและผีร้าย - ผีดีหมายถึงผีที่ทำให้สมาชิกในครัวเรือนรวมทั้งสัตว์เลี้ยงมีความเป็นอยู่อย่างมีความสุข ปกป้องคุ้มครองให้ปลอดภัยจากโรคร้ายและภัยต่างๆ ตัวอย่างของผีดีคือผีภูเขาใหญ่ ผีบรรพบุรุษ ผีครู ผีฟ้า (ผีเทวดา) ผีประจำหมู่บ้าน - ผีร้ายหมายถึง ผีที่คอยหาโอกาสทำร้ายมนุษย์ เช่น ผีลำห้วย ผีทางเดิน ผีป่า ผีคนตายโหง ผีพวกนี้มีความหิวโหยและโกรธง่าย ผีทั้งสองประเภทสามารถให้คุณหรือให้โทษแก่มนุษย์ได้ จึงต้องมีการเซ่นสรวงบูชาด้วยข้าวและอาหาร เพื่อให้ผีไม่อดอยาก และเมื่อผีไม่อดอยากแล้วก็จะไม่มาทำร้ายมนุษย์ (หน้า 12) หมอผีทำหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับผีบรรพบุรุษในสกุลเดียวกันกับตน หมอผีจะเป็นผู้เข้าทรง เชิญผีบรรพบุรุษเข้ามาสิงในร่าง และทำพิธีเซ่นไหว้ผี ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างคนกับผีมีบทบาทในการรักษาอาการเจ็บป่วย (หน้า 15) วิธีการเป็นหมอผี เป็นได้โดยมีผีบรรพบุรุษเข้ามาสิงร่างเอง และโดยวิธีเรียนรู้จากหมอผี ซึ่งต้องมีการฝึกหัดพิธีกรรมการเซ่นไหว้ การใช้คำพูด สวดมนต์ และมีข้อห้ามคือห้ามรับประทานเนื้อสัตว์ป่าบางชนิด เช่น เสือ หมี ลิง ค่าง ชะนี ผักบางชนิด เช่น หัวหอม กระเทียม และอาหารที่ใช้น้ำมันทอดทุกชนิด (หน้า 14)

Education and Socialization

ลีซอนิยมเลี้ยงเด็กด้วยน้ำนมเป็นหลัก เวลาออกไปทำงานในไร่จะใช้ผ้าสะพายห่อเด็กไว้ที่ข้างหลัง เด็กผู้ชายจะสวมหมวกสีดำ ส่วนเด็กหญิงจะสวมหมวกสลับสี เมื่อเด็กโตขึ้นจะติดตามพ่อแม่ไปไร่ หรืออยู่เฝ้าบ้านเลี้ยงน้อง เมื่อเด็กอายุได้ 10-12 ปี พ่อแม่จะหัดให้หุงหาอาหารและทำงานในบ้านเช่นกวาดบ้าน ตักน้ำ หรือออกไปช่วยงานเบาๆ ในไร่ เช่นถอนหญ้า เก็บข้าวโพด เด็กในช่วงวัยนี้พ่อแม่จะจัดให้บุตรชายหญิงนอนแยกกันคนละแห่ง (หน้า 23)

Health and Medicine

หากเกิดอาการเจ็บป่วย หมอผีจะให้ผู้ป่วยนั่งกลางบ้าน หันหลังให้กับหิ้งบูชาผีในบ้าน หมอผีจะอมน้ำหรือสุราไว้แล้วพ่นลงบนศีรษะและลำตัว หรืออาจใช้ดาบ 2 เล่ม ร่ายรำแล้วฟันลงที่ข้างๆ ลำตัวของคนไข้ อีกวิธีหนึ่งคือใช้เท้าเหยียบลงบนเตาไฟที่ร้อนจัด แล้วเอาเท้านั้นเหยียบลงบนที่หลังคนไข้ เป็นการไล่ผีร้ายให้ออกไปจากตัวคนไข้ (หน้า 15) อาหารของแม่เด็กที่เพิ่งคลอดบุตรใหม่ มีข้อห้ามบางอย่างคือ ภายใน 7 วัน ห้ามกินเนื้อสัตว์และพืชผักทุกชนิด ยกเว้นข้าว น้ำ ไก่ และไข่ไก่ มีความเชื่อว่า หากรับประทานอาหารโดยไม่มีข้อยกเว้น จะทำให้แม่ไม่มีนมให้ลูกกิน หรือทำให้เกิดความเจ็บป่วย หรือที่ร้ายแรงกว่านั้น อาจตายทั้งแม่และลูก หลังจากคลอดได้ครบ 7 วัน สามารถทานเนื้อหมูได้ แต่ห้ามรับประทานเนื้อหมูที่มีหางพันเป็นเกลียว เพราะมีความชื่อว่าถ้ารับประทานแล้วจะทำให้เกิดความเจ็บป่วย (หน้า 22) เมื่อเด็กเกิดมาแล้ว หัวหน้าครอบครัวต้องทำพิธีที่ศาลหมู่บ้าน เพื่อบอกให้ทราบว่าตนเองมีสมาชิกครอบครัวเพิ่มขึ้นมา 1 คน ขอให้ผีประจำหมู่บ้านช่วยคุ้มตรองป้องกันให้บุตรปราศจากโรคภัยและอันตรายต่างๆ ในพิธีจะใช้เนื้อหมู ไก่ น้ำ ข้าวสุก สำหรับเซ่นไหว้บูชา เสร็จแล้วจะกลับมาทำพิธีเซ่นไหว้ผีบ้านเรือน หลังจากนั้นจึงมีการเลี้ยงฉลอง (หน้า 22) คนชราเมื่อเกิดความเจ็บป่วย จะมีพิธีกรรมทำบุญเซ่นไหว้บูชาผีเพื่อต่ออายุ และการทำโลงศพให้กับผู้ป่วย โดยผู้ชายในหมู่บ้านจะไปช่วยกันตัดไม้ในป่ามาทำโลงศพ เจ้าของบ้านจะฆ่าหมูและเลี้ยงสุราอาหารให้กับแขก มีความเชื่อว่าโลงจะทำให้ผีร้ายหนีไป ทำให้คนป่วยหายป่วยได้ และมีอายุยืนขึ้น ส่วนโลงนั้นจะเก็บไว้ใช้เวลาตาย (หน้า 34)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ลีซอมีประเพณีการร้องเพลงตอบโต้กันระหว่างชายกับหญิง กลุ่มละ 4-6 คนเรียกว่า "โก่กั๊วตั๊ว" ทำในเวลากลางวันหรือกลางคืนก็ได้ ส่วนใหญ่ทำกันในวันหยุดงาน ก่อนที่จะมีการร้องเพลง ฝ่ายชายต้องไปถามฝ่ายหญิงก่อนว่ายินดีเต็มใจที่จะไปร้องเพลงร่วมกันหรือไม่ การร้องเพลงตอบโต้กันอาจใช้เวลายาวนานตั้งแต่เช้าจนถึงเย็น หากเป็นตอนกลางคืน เริ่มตั้งแต่ 2-3 ทุ่ม จนถึงประมาณเที่ยงคืน บางครั้งถึง ตี1 ตี 2 วิธีการร้องเพลงผู้ชายจะเป็นผู้เริ่มก่อน แล้วมีลูกคู่ร้องประสานตาม ฝ่ายหญิงก็จะร้องตอบโต้ และมีร้องเสียงประสานตามมาเช่นกัน เนื้อหาส่วนใหญ่ หากเป็นหนุ่มสาวจะเป็นการเกี้ยวพาราสี หรือหากเป็นผู้ใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการชื่นชมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสวยงาม หรือความเป็นอยู่ที่ดีของคนในหมู่บ้าน ยังมีการเต้นรำเกี้ยวพาราสีในวันขึ้นปีใหม่ จะเต้นในเวลากลางคืน มีการจับมือถือแขนกันได้โดยไม่ผิดประเพณี โดยมีผู้ใหญ่และญาติพี่น้องคอยดูแลอยู่ด้วย ข้อห้ามการเต้นรำคือ ห้ามเกี้ยวพาราสีกับคนในสกุลเดียวกัน เวลาร้องเพลงห้ามถูกเนื้อต้องตัวกัน ยกเว้นเวลาเต้นรำ และตำข้าว (หน้า 25-27)

Folklore

มีนิยายปรำปราที่เกี่ยวกับกำเนิดของลีซอคู่แรกของโลก มีเรื่องเล่ากันว่ามีชายหญิงคู่หนึ่งเป็นพี่น้องกัน ทั้งสองอาศัยอยู่ในผลน้ำเต้า ต่อมาเกิดความอดอยาก ชายผู้พี่จึงขอร้องเทพเจ้าวูซา ประทานฝนลงมาให้บนโลก เมื่อความอุดมสมบูรณ์กลับมา แต่ก็มีปัญหาเรื่องการสืบพันธุ์ ทั้งสองตกลงกันว่าจะแต่งงานกัน โดยฝ่ายหญิงอธิษฐานว่าหากก้อนหินก้อนใหญ่ที่มีลักษณะครึ่งก้อนที่ อยู่บนยอดเขา กลิ้งตกลงไปคนละด้านของภูเขาแล้วก้อนหินทั้งสองกลิ้งไปพบกันอีก เขาทั้งสองจึงจะแต่งงานกันในที่สุด เวลาผ่านไปเมื่อผู้หญิงมีครรภ์และคลอดออกมาเป็นผลน้ำเต้า ฝ่ายชายจึงร้องถามเทพเจ้า ซึ่งเทพเจ้าให้คำตอบว่าในผลน้ำเต้ามีคนอยู่ 101 ภาษา มีคน 201 คน ชายหญิงคู่นั้นจึงเปิดน้ำเต้า พบว่ามีผู้หญิง 100 คน ผู้ชาย 101 คน และผู้หญิงคู่หนึ่งที่ถูกปล่อยออกมานั้นคือต้นกำเนิดของลีซอ (หน้า 2-3)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

- แผนที่ภาพที่ 2 แสดงเส้นทางอพยพ (หน้า 47) - แผนที่อันดับที่ 1 บริเวณพื้นที่บ้านแม่ปูน (หน้า 68) - แผนผังอันดับที่ 1 หมู่บ้านแม่ปูน (หน้า 69) - แผนผังอันดับที่ 2 หมู่บ้านโล๊ะป่าไคร้ (หน้า 70) - แผนที่อันดับ 2 บริเวณพื้นที่หมู่บ้านโล๊ะป่าไคร้ (หน้า 71)

Text Analyst ชัยวัฒน์ ไชยจารุวณิช Date of Report 01 พ.ย. 2555
TAG ลีซู, ข้อห้าม, ข้อนิยม, ประเพณี, พฤติกรรมทางสังคม, แม่ฮ่องสอน, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง