สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลเวือะ,เศรษฐกิจ,สังคม,วัฒนธรรม,ความเชื่อ,เชียงใหม่,แม่ฮ่องสอน
Author คณะวิชามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูเชียงใหม่
Title ลัวะในล้านนา
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลัวะ (มัล ปรัย) ลัวะมัล ไปร ลัวะปรัย, ลัวะ (ละเวือะ) ลเวือะ อเวือะ เลอเวือะ ลวะ ละว้า, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 169 Year 2531
Source คณะวิชามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูเชียงใหม่ สหวิทยาลัยล้านนา
Abstract

รายงานของผู้เขียนมีใจความสำคัญที่มุ่งศึกษาค้นคว้าในเรื่องวิถีการดำเนินชีวิตของลัวะในล้านนา ระหว่างนักวิชาการที่มีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องของลัวะในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นประวัติความเป็นมาของลัวะ ชีวิตความเป็นอยู่ ความเชื่อและประเพณี เศรษฐกิจ ถิ่นที่อยู่อาศัยในพื้นที่ต่าง ๆ รวมไปถึงลักษณะบ้านเรือน โครงสร้างทางสังคมที่สืบเชื้อสายทางฝ่ายมารดา นับถือผีบรรพบุรุษทางฝ่ายมารดา และการปกครองก็ยังเน้นให้เห็นถึงการนับถือผู้นำทางเครือญาติของตน ทั้งนี้เพื่อนำความรู้ในเรื่องที่ศึกษามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันของนักวิชาการ และจะได้รวบรวมเผยแพร่ข้อมูลจากเอกสารจากเรื่องลัวะในล้านนานี้ ให้กับผู้ที่สนใจที่จะศึกษาต่อไป (หน้า 1-10)

Focus

เป็นการศึกษาค้นคว้าแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องของลัวะในล้านนา เพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูลที่เป็นจริงของลัวะ มาเผยแพร่ให้ผู้สนใจได้ศึกษาหาความรู้ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวกับลัวะในล้านนา ให้เข้าใจได้ดียิ่งขึ้น (หน้าหลักการและเหตุผล)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ละเวือะ

Language and Linguistic Affiliations

ลัวะมีภาษาพูดเป็นของตนเอง แต่ไม่มีภาษาเขียน ภาษาของลัวะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. ภาษาถิ่นคลำปรัย 2. ภาษาถิ่นมาล ลัวะ ส่วนใหญ่จะพูดภาษาเหนือได้และใช้ภาษาไทยกับภาษาเหนือในการสื่อสารกับคนพื้นราบ (หน้า 3)

Study Period (Data Collection)

1-3 มีนาคม พ.ศ. 2531 ศึกษาภาคสนาม, 7-8 มีนาคม พ.ศ. 2531 ประชุมทางวิชาการ

History of the Group and Community

ประวัติความเป็นมาของลัวะ ยังเป็นที่สงสัยกันอยู่ เพราะไม่ได้ระบุชัดเจนว่ามีความเป็นมาอย่างไร แต่มีข้อสงสัยกันอยู่ 2 ข้อ คือ เป็นกลุ่มชนดั้งเดิมที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยอยู่ก่อนแล้ว อีกข้อหนึ่งเป็นกลุ่มชนที่อพยพมาจากประเทศลาว แต่ก็ยัง หาข้อสรุปไม่ได้ ลัวะได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยได้ประมาณ 40-80 ปีมาแล้วถ้านับจนถึงปัจจุบันก็ประมาณ 60-100 ปี (Frank M. Lebar) กลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานเมื่อปี ค.ศ. 1928 และสัณนิษฐานว่าชนกลุ่มแรกน่าจะอยู่อาศัยที่ประเทศไทยก่อนที่คนไทยจะอพยพจากประเทศจีนมาอยู่ที่แหลมอินโดจีนนี้เสียอีก (บุญช่วย ศรีสวัสดิ์) สาเหตุที่ลัวะอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยก็เพราะพวกเขากระด้างกระเดื่องต่อประเทศลาว จึงถูกทางประเทศลาวปราบปราม ทำให้ลัวะบางกลุ่มหนีมาอยู่ในประเทศไทย (หน้า 2)

Settlement Pattern

ลัวะมักจะนิยมตั้งบ้านเรือนอยู่บนไหล่เขาหรือบนที่ราบบนภูเขามีความสูงไม่ต่ำกว่า 300 เมตรแต่ไม่เกิน 1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล การตั้งถิ่นฐานจะอยู่ใกล้แหล่งน้ำที่ใช้อุปโภคบริโภค แต่ละหมู่บ้านจะอยู่รวมกันกลุ่มหนึ่งเฉลี่ย 51 หลังคาเรือน ซึ่งแต่ละหมู่บ้านจะเป็นกลุ่มที่อยู่ในเครือญาติเดียวกัน มาอาศัยอยู่ด้วยกัน พวกเขาจะไม่ค่อยนิยมย้ายหมู่บ้านบ่อยนัก หากได้อยู่ที่ใดก็จะอยู่แบบถาวร ตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นหลักแหล่งที่แน่นอน แต่จะย้ายหมู่บ้านก็ต่อเมื่อมีโรคระบาดติดต่อกันหลาย ๆ ปีเท่านั้น จึงจะมีการเคลื่อนย้ายหมู่บ้าน (หน้า 3-4) (ลักษณะบ้านเรือนดูหัวข้อ Art and Crafts)

Demography

ในการศึกษากล่าวถึงจำนวนประชากรของจังหวัดน่าน ที่มีลัวะอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น คือ อำเภอทุ่งช้าง เชียงกลาง ปัว โดยเฉพาะอำเภอปัว มี "ถิ่น" อาศัยอยู่ถึง 20,079 คน คิดเป็นร้อยละ 70.41 ของ "ถิ่น" ในจังหวัดน่าน รวมประชากรถิ่นในจังหวัดน่านทั้งหมดมีจำนวน 28,524 คน (พ. ศ. 2531) (หน้า 9) และมีการสำรวจเพิ่มอีกในปีต่อมาว่า พบถิ่นอาศัยอยู่กระจัดกระจายตามอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดน่าน 7 อำเภอ 146 หมู่บ้าน มีประชากรถึง 28,516 คนโดยเฉพาะอำเภอปัวมีถึง 109 หมู่บ้าน (หน้า 60)

Economy

(อยู่ในระหว่างดำเนินการนำข้อมูลเข้าฐานข้อมูล)

Social Organization

ลักษณะครอบครัวของลัวะหรือถิ่นเป็นครอบครัวเดี่ยว มีพ่อ แม่ ลูก นิยมมีผัวเดียวเมียเดียว และบางบ้านอาจจะมีพ่อ แม่ของฝ่ายหญิงที่มีอายุมากแล้วแต่ทำงานไม่ได้มาอาศัยอยู่ด้วย ครอบครัวของลัวะเป็นครอบครัวเล็กๆ มีสมาชิกในครอบครัวไม่มากนัก การสืบทอดตระกูลจะสืบทอดทางฝ่ายหญิง ผู้ชายหากแต่งงานแล้วจะต้องเปลี่ยนมาถือตระกูลทางฝ่ายหญิง นั่นคือนับถือผีบรรพบุรุษทางฝ่ายหญิง เพราะผู้หญิงจะต้องเป็นฝ่ายที่ถือผีตระกูลของตนเองตลอดไป ถ้าหากผู้หญิงคนไหนแต่งงานแล้วแต่ไปนับถือผีตระกูลของฝ่ายชาย ผู้หญิงคนนั้นจะถูกตัดขาดจากตระกูลของตน จะกลับขึ้นไปบนบ้านของพ่อ แม่ตนเองไม่ได้โดยเด็ดขาด หากพ่อ แม่ของตนป่วยหนักก็ไม่สามารถไปเยี่ยมเยียนพ่อ แม่ของตนได้ ดังนั้น การสืบทอดตระกูลของลัวะ เมื่อผู้ชายแต่งงานก็ต้องเปลี่ยนไปนับถือผีบรรพบุรุษทางฝ่ายหญิง การถือวันกรรมก็เปลี่ยนไปตามผู้หญิงด้วย ถึงแม้ว่าจะแยกออกมาจากบ้านพ่อ แม่ฝ่ายหญิงแล้วก็ตาม หากฝ่ายชายไม่ยอมถือผีบรรพบุรุษทางฝ่ายหญิงและไม่ยอมเปลี่ยนการถือวันกรรม ก็จะต้องหย่าขาดจากกัน ถ้าผู้หญิงไม่ยอมหย่าขาดจากฝ่ายชาย ญาติของฝ่ายหญิงจะตัดผู้หญิงคนนั้นออกจากตระกูลและห้ามไม่ให้ขึ้นไปที่บ้านพ่อ แม่ของตนอีกต่อไป (หน้า 10)

Political Organization

หมู่บ้านของลัวะมีเป็นกลุ่มย่อยๆ อาศัยอยู่ด้วยกันหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มส่วนใหญ่จะเป็นเครือญาติเดียวกัน และจะมีผู้นำของกลุ่มคือผู้อาวุโสในตระกูล เป็นผู้นำของพวกเขาแต่ละตระกูลจะเชื่อฟังและเคารพผู้อาวุโสของพวกเขา อีกทั้งผู้นำของพวกเขายังเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและเป็นหมอผีอีกด้วย แล้วรวมไปถึงเป็นบุคคลที่ตัดสินการกระทำผิดของคนใดคนหนึ่งว่าเป็นการกระทำที่ผิดจารีตประเพณีหรือไม่ แต่บางครั้งการปกครองก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะมักจะเกิดความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับผู้นำเสมอ เพราะบางหมู่บ้านเป็นหมู่บ้านใหญ่มีกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม (หน้า 12)

Belief System

ลัวะมีความเชื่อในเรื่องผี สิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ เชื่อในเรื่องไสยศาสตร์และสิ่งที่มองไม่เห็นตัว พวกเขาเชื่อว่าผีสามารถให้คุณและโทษแก่เขา หากทำผิดจารีตประเพณีที่บรรพบุรุษกำหนด ผู้กระทำผิดอาจเกิดการเจ็บป่วยจนถึงตายได้ ผีที่สำคัญของลัวะมี 4 ประเภทคือ
1. ผีหมู่บ้านจะมีการเซ่นไหว้บูชาทุกปี ผีหมู่บ้านเป็นผีที่ปกปักรักษาดูแลคนในหมู่บ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข
2. ผีเรือนมีหน้าที่คุ้มครองคนในบ้านให้รอดพ้นจากภัยอันตรายต่างๆ
3. ผีไร่จะปกปักรักษาไร่นา
4. ผีเจ้าที่เป็นผีที่สำคัญมาก พวกเขาเชื่อว่าพื้นที่ทุกที่มีเจ้าที่คอยปกปักรักษา แล้วพวกเขายังมีความเชื่อเกี่ยวกับผีอื่น ๆ เช่น ผีครู ผีบรรพบุรุษ ผีเตาไฟ ผียุ้งข้าว ผีหัวบันไดอีกด้วย

นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อในเรื่องของการทำศพว่าห้ามหามศพข้ามแม่น้ำ เพราะถือว่าเป็นสิ่งไม่ดี ทั้งนี้ยังรวมไปถึงความเชื่อในเรื่องขวัญ พวกเขาเชื่อว่าทุกคนมีขวัญประจำตัว 32 ขวัญ ขวัญดีจะอยู่กับเรา 1 ขวัญ ส่วนอีก 31 ขวัญจะออกไปเที่ยว หากคนใดเกิดสะดุ้งตกใจขวัญก็จะตกหาย และจะต้องทำพิธีเรียกขวัญหรือทำพิธีผูกข้อไม้ข้อมือ เพื่อที่ขวัญจะได้กลับมาอยู่กับเราเหมือนเดิม ในทางศาสนามีลัวะบางหมู่บ้าน อย่างลัวะแม่แจ่ม มีการนับถือศาสนาคริสต์ด้วย แต่ไม่มีวัดในศาสนาพุทธอยู่ในหมู่บ้าน แต่ก็มีหลายที่ที่นับถือศาสนาพุทธคู่กับการนับถือผีอย่างบ้านบ่อหลวง เป็นต้น - ด้านประเพณีมีประเพณีการเกิด ผู้หญิงที่คลอดลูกใหม่จะต้องอยู่ไฟ ห้ามรับประทานอาหารหลายชนิด อาหารบางอย่างจะทานไม่ได้เลย เช่น กล้วยแฝดเป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีประเพณีการฝังรกของเด็ก แล้วก่อนออกจากการอยู่ไฟจะเข้าเส้าหรืออบสมุนไพรก่อน ในการเข้าเส้าจะเอาน้ำปูเลยหรือน้ำไพรมาพรมลงบนก้อนอิฐสีแดง แล้วให้คนที่คลอดลูกเข้ากระโจมเพื่อให้เหงื่อออก เป็นการอบสมุนไพรเป็นเวลา 3 - 7 วัน ก่อนออกจากการอยู่ไฟของหญิงคนนั้น - ส่วนพิธีกรรมมีพิธีการเลี้ยงผีหมู่บ้าน ปีหนึ่งจะทำพิธีเลี้ยงผี 1 ครั้ง แต่ในกรณีที่มีคนมาบนบานศาลกล่าว หากเขาสำเร็จได้ดังหวัง ก็จะมีพิธีการเลี้ยงเพื่อแก้บนอีก ในการเลี้ยงผีทุกครัวเรือนจะต้องส่งตัวแทนมา 1 คนเพื่อเข้าร่วมพิธี และจะต้องเป็นผู้ชายเท่านั้น ผู้หญิงจะเข้าร่วมไม่ได้ แล้วทุกคนต้องนำข้าวมาร่วมด้วย หากเสร็จพิธีจะรับประทานอาหารร่วมกัน ของที่เหลือจากการกินจะไม่นำเอากลับไปบ้าน หากเหลือจะเททิ้งหมด เครื่องเซ่นที่ใช้ในการทำพิธีมีไก่ เหล้า ดอกไม้ ในการประกอบพิธีทุกพิธีจะขาดเลือดไก่ไม่ได้เพราะเลือดไก่เป็นสิ่งจำเป็นมาก อย่างพิธีนี้จะเอาเลือดไก่มาทาที่บันไดบ้านของผีหมู่บ้าน บางปีก็จะใช้หมูมาทำพิธี นอกจากนี้ ยังมีพิธีเกี่ยวกับการทำไร่อีกด้วย ได้แก่ พิธีไร่ ในการทำไร่แต่ละครั้งต้องประกอบพีที่ไร่ เพื่อเสี่ยงทายดูว่าที่ตรงนี้เจ้าที่อนุญาตให้ทำไร่หรือไม่ และก็มีพิธีทำโสรธ ทำตอนต้นข้าวสูงประมาณหัวเข่า มีพิธีกินข้าวเม่า และพิธีการกินดอกแดง หรือหมายความว่าหมดฤดูการเพาะปลูกแล้ว หลังจากทานดอกแดงไปก็เป็นการสิ้นสุดฤดูของการเพาะปลูก (หน้า 6-7, 9, 19, 21, 43-45, 56-57, 70-71)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ลัวะรักษาโรคโดยการใช้ไสยศาสตร์ มาทำการรักษาและวินิจฉัยโรค หากพวกเขาเกิดการเจ็บป่วย วิธีการรักษาก็คือ ดูว่าผีอะไรทำให้คนเจ็บป่วย โดยการนำไข่ดิบมากลิ้งให้ทั่วตัวผู้ป่วย หากไข่แตกจะทำนายว่าเป็นผีอะไรที่ทำให้เจ็บป่วย เพื่อจะได้เซ่นได้ถูกต้อง แล้วอาการเจ็บป่วยก็จะหาย (หน้า 21)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ด้านสถาปัตยกรรมกล่าวถึงลักษณะบ้านของลัวะแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ 1. บ้านแบบโบราณลักษณะประจำเผ่าเป็นบ้านยกพื้นสูง พื้นและฝาทำด้วยฟาก หลังคาทำด้วยหญ้าคา หลังคาด้านหนึ่งจะลาดลงมาเกือบถึงพื้น ใต้หลังคาด้านที่ลาดเทลงมาจะมีครกกระเดื่องไว้สำหรับตำข้าว และก็ยังใช้เป็นที่เก็บฟืนและสิ่งของต่างๆ อีกด้วย ภายในตัวบ้านไม่มีช่องหน้าต่าง มีแต่ประตูทางเข้า 2 ประตู หน้าบ้านมีระเบียงหรือนอกชาน ใต้ถุนบ้านจะเป็นคอกสัตว์ 2. บ้านกึ่งโบราณลักษณะประจำเผ่าผสมลักษณะคนพื้นราบ เป็นบ้านยกพื้นสูง หลังคาหน้าจั่วธรรมดา จั่วทั้งสองข้างจะยาวเท่ากัน ไม่มีข้างใดข้างหนึ่งยาวจดดิน หลังคาทำด้วยหญ้าคา พื้นและฝาทำด้วยฟาก แต่บางบ้านอาจทำด้วยไม้แปรรูป ลักษณะการแบ่งส่วนต่าง ๆ ในบ้านจะเหมือนกับแบบที่ 1 แต่จะไม่มีคอกไว้สำหรับเลี้ยงสัตว์ เพราะคอกสัตว์จะแยกออกจากตัวบ้าน 3. บ้านแบบคนพื้นราบเป็นบ้านยกพื้นสูงพื้นและฝาทำด้วยไม้แปรรูป หลังคามุงด้วยสังกะสี มีช่องหน้าต่างแบบคนพื้นราบเพื่อถ่ายเทอากาศ ถึงแม้ว่าบ้านทั้ง 3 แบบ จะมีความแตกต่างกันทางภายนอก แต่การจัดแบ่งพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านจะเหมือนกัน คือมีบันไดขึ้น มีระเบียงกว้าง ภายในบ้านแบ่งเป็นห้อง แยกเป็นห้องนอน 1-2 ห้อง และห้องครัวก็อยู่ในบ้าน ใช้ไม้ไผ่ทำเป็นกระบะสี่เหลี่ยมไว้ในมุมใดมุมหนึ่งของห้อง ภายในกระบะ จะใส่ทรายเต็มกระบะ มีหลัก 3 ขาวางไว้ หรือบางที่ก็ใช้หินสามก้อน วางเพื่อทำเป็นเตาไฟ บนเตาไฟจะมีไม้ไผ่สานแขวนไว้เพื่อใช้เป็นที่วางของหรือเนื้อสัตว์ เพื่อรมควันเป็นการถนอมอาหารแบบหนึ่งของถิ่น (หน้า 5) - ด้านเสื้อผ้าการแต่งกายเดิมทีลัวะจะทอผ้าไว้ใช้เอง แต่ในปัจจุบันการแต่งกายจะเหมือนกับคนพื้นราบ การแต่งกายของพวกเขาจะไม่มีอะไรเป็นจุดเด่น เหมือนชาวเขาเผ่าอื่น ที่มีเอกลักษณ์การแต่งกายเป็นของตนเอง การแต่งกายแบเดิมผู้หญิงจะนุ่งผ้าถุงลายขวาง แคบพอดีตัว เสื้อเป็นตัวยาวสีขาวแบบกะเหรี่ยง ผู้หญิงลัวะจะใส่สร้อยเงิน กำไล และต่างหู เพื่อความสวยงาม - ด้านหัตถกรรมกล่าวถึงการทอผ้าไว้ใช้เอง (หน้า 63) แต่ลัวะบางหมู่บ้าน อย่างหมู่บ้านแปะ ก็รับตีเหล็ก ทำเครื่องประดับ ปั้นหม้อไว้ใช้เองและไว้ขาย ลัวะบ้านมืดหลองก็ปั้นหม้อเหมือนกัน (หน้า 5, 18, 54, 56, 63) - ด้านศิลปการแสดงไม่ได้ระบุ

Folklore

กล่าวถึงตำนานสุวรรณดำแดง หรือตำนานเสาอินทขิล ในตำนานได้อ้างถึงเรื่องราวของลัวะ ว่าสังคมของลัวะเป็นชุมชนขนาดเล็ก ต่อมาได้ขยายชุมชนโดยการสร้างเวียง ที่เชิงดอยสุเทพ และเป็นศูนย์กลางของเวียงอื่น ต่อมาขยายเป็นเมืองสวนดอก (เวียงนพบุรี) ตามตำนานกล่าวว่า เป็นบริเวณกำแพงเมืองสี่เหลี่ยมชั้นในของเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน เวียงนพบุรีนี้สร้างโดยเศรษฐีลัวะ 9 ตระกูล ในการสร้างเมืองมีการสร้างเสาอินทขิล หรือเสาหลักเมืองไว้กลางเมืองของลัวะ ต่อมาก็เลยกลายเป็นเมืองเชียงใหม่ การตั้งเสาอินทขิลเป็นการสร้างตามคำแนะนำของพระอินทร์ เพื่อรวมจิตใจของชาวเมือง เพื่อให้เมืองมั่นคง และพระอินทร์ยังมอบให้กุมภัณฑ์สองตน เป็นผู้ดูแลรักษาเสาอินทขิลอีกด้วย ในการบูชาเสาอินทขิล ต้องนำข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียน มาไหว้ หากละเลยการกราบไหว้ จะทำให้บ้านเมืองพินาศ ดังนั้นพิธีการบูชาเสาอินทขิลจึงมีทั้งของลัวะและชาวเมืองล้านนา (หน้า 15, 16)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ด้านความสัมพันธ์ ลัวะกับคนเมืองจะอาศัยอยู่ใกล้กันเสมอมา จะไม่มีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นระหว่างคนเมืองกับลัวะ พวกเขาจะยอมรับซึ่งกันละกัน ลัวะจะพูดและใช้ภาษาของคนเมือง ดังนั้นจึงมีคนสันนิษฐานว่า คนเมืองกับลัวะมีวัฒนธรรมอยู่ร่วมกัน (หน้า 22-23)

Social Cultural and Identity Change

ในปัจจุบันลักษณะทางสังคมวัฒนธรรมของลัวะ ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก เพราะพวกเขามีความใกล้ชิดกับหมู่บ้านของคนเมือง ยอมรับวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะการแต่งกายที่ลัวะได้รับเอาวัฒนธรรมของคนเมืองไปใช้ จะเห็นได้ว่าการแต่งกายของลัวะ ในปัจจุบันจะเหมือนกับคนเมือง การแต่งกายแบบเดิมไม่มีให้เห็นแล้ว นอกจากจะเก็บเอาไว้ ถ้าใครมาขอดูก็ให้เขาดู ด้านประเพณีต่างๆไม่ว่าจะเป็นประเพณีการเกิด การตาย ก็รับเอาแบบคนเมือง หันมารับเอาประเพณีการเผาแทนการฝังตามแบบเก่า อาหารการกินก็จะกินคล้ายกับคนเมือง จะมีแต่ถั่วเน่าเท่านั้นที่เป็นอาหารหลักและคงความเป็นเอกลักษณ์ทางด้านการกินของลัวะ อยู่ (หน้า 22-23)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ลัวะกับการพัฒนาท้องถิ่นในปัจจุบัน จะเห็นว่าเป็นการยากลำบากที่จะพัฒนาท้องถิ่นของลัวะให้ดีขึ้น เคยมีทีมงานพัฒนาสังคมวิทยาลัยครูเชียงใหม่ เข้าไปวิเคราะห์ถึงปัญหาที่ทำให้การพัฒนา ไม่สำเร็จลุล่วงเท่าที่ควร ก็พบว่าพวกเขาไม่เข้าใจการพัฒนา จึงทำให้ยากลำบากต่อการทำงาน ปัญหาก็เยอะ ถ้าเทียบกันระหว่างลัวะกับกะเหรี่ยง ลัวะจะพัฒนาล่าช้ากว่าพวกกะเหรี่ยง แต่ไม่ใช่ว่าการพัฒนาจะไม่ได้ผล ก็ได้ผลเหมือนกัน แต่ได้ผลช้า อย่างการแบ่งกลุ่มกันทำงานอันนี้ก็พบปัญหาค่อนข้างมาก เพราะไม่ยอมลงรอยกัน พวกใครพวกมัน อีกปัญหาหนึ่งก็คือปัญหาความเชื่อ ลัวะจะไม่นิยมเลี้ยงหมูขาว เวลามีโครงการขอหมูมาเลี้ยงและทางการก็จัดให้ โดยการส่งหมูหลายพันธุ์มาให้รวมทั้งหมูขาวด้วย มาให้เลี้ยง พวกเขาไม่เอาลูกเดียว ไม่ยอมเลี้ยงก็เลยกลายเป็นปัญหา ส่วนการพัฒนาการเกษตรก็มีปัญหาเหมือนกัน คนที่มาร่วมกิจกรรมส่วนมากเป็นคนหนุ่ม เวลาให้ปลูกอะไรคนหนุ่มพวกนี้ก็ไม่ยอมปลูก ด้านผู้หญิงก็ไม่เข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนา อ้างว่าติดงานบ้าง ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ จึงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา (หน้า 134-141)

Map/Illustration

แผนที่-แสดงที่ตั้งของสถานที่รวมละหมาดของชาวมุสลิมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (หน้า 119)

Text Analyst บุษบา ปรังฤทธิ์ Date of Report 06 ม.ค. 2566
TAG ลเวือะ, เศรษฐกิจ, สังคม, วัฒนธรรม, ความเชื่อ, เชียงใหม่, แม่ฮ่องสอน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง