สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลาหู่,สังคม,เศรษฐกิจ,การเกษตรกรรม,เชียงใหม่
Author สนิท วงศ์ประเสริฐ
Title สังคม - เศรษฐกิจการเกษตรของชาวเขาเผ่ามูเซอ ( ดำ)
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text -
Ethnic Identity ลาหู่ ลาหู่ ละหู่ ลาฮู, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Total Pages 115 Year 2522
Source ศูนย์วิจัยชาวเขา จังหวัดเชียงใหม่ กองสงเคราะห์ชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย
Abstract

เป็นการศึกษาถึงสภาพทางสังคมของมูเซอและเศรษฐกิจ การผลิตทางการเกษตร ซึ่งสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกำหนดวิถีการดำรงชีวิตของชาวเขาเผ่ามูเซอ ไม่ว่าจะเป็นพิธีกรรมทางศาสนาที่เกี่ยวกับการเกษตรกรรมทั้งสิ้น และค่านิยมในชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสังคม และศาสนาที่ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำเผ่า ทั้งนี้ ยังได้ศึกษาถึง ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์นานาชนิด และได้ศึกษาถึงผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ อย่างพืชหลัก ก็คือ ข้าว ข้าวโพด และฝิ่น รวมถึงศึกษาถึงหลักการบริโภคอีกด้วย (หน้า 106 -107)

Focus

ศึกษาพื้นฐานทางสังคม ซึ่งเป็นตัวกำหนดวิถีการดำเนินชีวิต ด้านเศรษฐกิจการเกษตรกรรม เพื่อค้นหาแนวทางที่จะพัฒนา แนวความคิดทางด้านการทำการเกษตรของมูเซอดำ และวิเคราะห์ผลกระทบที่มีต่อวิถีทางสังคม เศรษฐกิจ เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนโครงการพัฒนาชาวเขา ให้มีชีวิตที่ดีขึ้น

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

มูเซอ (ดำ) หรือ ลาฮูนะ (หน้า 6, 7)

Language and Linguistic Affiliations

มูเซอใช้ภาษาพูดเป็นภาษา ธิเบต - พม่า ภาษาพูดของมูเซอจัดอยู่ในสาขาธิเบต - พม่า (หน้า 6)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

เมื่อปี 2495 ชาวเขาเผ่าลีซอ ได้อพยพจากดอยช้าง จังหวัดเชียงราย เข้ามาอยู่บนดอยสองพี่น้อง หรือใกล้ห้วยน้ำดั้น เพราะในหมู่บ้านที่เคยอยู่เดิมมีจำนวนประชากรน้อย ไม่สามารถต่อสู้กับพวกสัตว์ป่า ที่มาทำลายพืชผลและสัตว์เลี้ยงได้ จึงชักชวนเพื่อนลีซอด้วยกัน และมูเซอที่อยู่บริเวณใกล้เคียง ให้อพยพมาอยู่ในเขตตำบลแม่ตื่นด้วยกัน แต่ตอนนั้นมูเซอกลุ่มนี้ อาศัยอยู่ที่จังหวัดตาก พอปี 2497 มีมูเซอประมาณ 10 หลังคาเรือน ได้อพยพมาตามคำชวนของลีซอ ในขณะเดียวกันลีซอเจ้าถิ่นที่ได้ชวนผู้อื่นมาอยู่ ก็พากันอพยพออกไปอยู่ที่อื่น และให้มูเซออาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งนี้ จากนั้นก็มีมูเซอพวกเดียวกัน เดินทางมาสมทบอีก แล้วก็เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ ที่อพยพกันมาก็มาจากหลายแห่ง อย่างเช่น อำเภอเมือง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เขตอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันนี้ มูเซอดำที่อยู่ในตำบลแห่งนี้ ยังยินดีต้อนรับญาติพี่น้อง จากหมู่บ้านที่ต่าง ๆ ให้เข้าไปอยู่ร่วมด้วยอย่างไม่จำกัดจำนวน แต่มูเซอดำจะห้ามชาวเขาเผ่าอื่น ไม่ให้เข้ามาอยู่ในเขตของพวกตน แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ยอมให้มูเซอพวกของตนเองอพยพไปอยู่ที่อื่น

Settlement Pattern

มูเซอนิยมตั้งถิ่นฐานอยู่บนภูเขาสูง เพราะพวกเขามีอาชีพทำการเกษตร ล่าสัตว์ป่า และอาศัยอยู่กันแบบกึ่งหลักแหล่ง - กึ่งเร่ร่อน ลักษณะผังหมู่บ้านของมูเซอจะแบ่งแยกพื้นที่อยู่อาศัยอย่างเป็นสัดเป็นส่วน แยกพื้นที่ทำกินออกจากตัวบ้าน ภายในพื้นที่บ้านจะมีตัวบ้าน ถัดออกไปจะเป็นยุ้งข้าว ยุ้งข้าวโพด มีเล้าไก่ คอกม้า คอกวัว คอกควาย ที่เก็บฟืนและมีพื้นที่สำหรับปลูกพืชผักสวนครัวอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย (หน้า 7, แผนผังหมู่บ้านหน้า 19)

Demography

จากการสำรวจรวม 4 ครั้ง ครั้งหลังสุดเมื่อเดือน มิถุนายน 2519 มีประชากร 433 คน พอเดือนกรกฎาคมปี 2521 มีประชากร 479 คน ภายใน 2 ปีนี้ มีอัตราการเพิ่ม - เกิด -ตาย -อพยพเข้า รวมจำนวน 46 คน เท่ากับ 23 คน ต่อปี ปีละ 5 % ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ปี 2521 มี 452 คน ถึงปลายเดือนมกราคม 2522 มี 507 คน เพิ่มขึ้นประมาณ 10 % อัตราการอพยพเข้า จากปีสำรวจล่าสุด ระหว่าง วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2521 - 12 กุมภาพันธ์ 2522 มีผู้อพยพเข้าจำนวน 49 คน เทียบ % เท่ากับ 9.77 % อัตราการเพิ่มของจำนวนประชากรตามธรรมชาติ ต่อปี เท่ากับ 12.53 ต่อ 1,000 หรือ 1.25 % อัตราการเพิ่มของประชากรจากการอพยพเข้า 9.77 % เฉลี่ยรวม การเพิ่มจำนวนประชากร เท่ากับ 10.02 % ต่อปี (หน้า 16, 18)

Economy

อาชีพหลักของมูเซอคือทำไร่ข้าว เลี้ยงสัตว์ เน้นเพื่อการบริโภค และมีการปลูกพืชอีกหลายชนิด อย่างเช่น ฝิ่น ข้าวโพด นอกจากนั้น ยังมีอาชีพเสริมอย่างการร่อนหาเศษแร่ดีบุกมาขายอีกด้วย จากผลผลิตทั้งหมดที่ปลูกได้ บางครั้งก็จะนำมาขาย อย่างข้าวมีการซื้อขายกันในหมู่บ้านราคาถังละ 25 บาท ทุกครัวเรือนจะขายข้าวได้เฉลี่ย 4,468 บาทต่อครัวเรือน ส่วนพืชผัก ที่ปลูกแซมในไร่ข้าว เช่น ข้าวหางหมา เป็นน้ำมัน ก็ซื้อขายกันกิโลกรัมละ 5 บาท ผักอื่น ๆ ก็อาจขายกันในราคากิโลกรัมละ 1 บาท ส่วนการผลิตฝิ่น หากซื้อขายกันในหมู่บ้าน จะขายกันในราคากิโลกรัมละ 4,500 บาท หากปีใดปลูกฝิ่นได้งาม ฝิ่นก็ จะขายได้ราคาดี เห็นได้ว่าปัจจุบันมูเซอทำการผลิตทางการเกษตรเน้นเพื่อการขายมากขึ้น ทุกสิ่งทุกอย่างที่ปลูกและเสาะแสวงหาล้วนขายได้เงินทั้งสิ้น ถือว่าเศรษฐกิจของมูเซอเป็นการผลิตเพื่อการยังชีพ เพราะการเพาะปลูกเน้นการพอมีพอกิน ชาวบ้านมีความพึงพอใจที่พวกเขาสามารถพึ่งตนเองได้ (หน้า 41,61-62,74-99)

Social Organization

มูเซอ นับญาติทั้งฝ่ายพ่อ และฝ่ายแม่ แต่ให้ความสำคัญกับ ผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เพราะเป็นผู้เลือกที่อยู่อาศัยหลังการแต่งงาน และมักจะแวดล้อมไปด้วยญาติพี่น้องของฝ่ายภรรยา ส่วนสามีเป็นเหมือนผู้แปลกหน้า ในหมู่บ้านของภรรยา - ครัวเรือนเป็นสถานที่สำคัญอันดับแรก มีพ่อ แม่ ลูก ลูกเขย และหลาน พ่อและแม่ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าครัวเรือน คอยอบรมสั่งสอนให้สมาชิกในครัวเรือน ประพฤติปฏิบัติตามจารีตประเพณี ศีลธรรมและเชื่อมั่นในศาสนาของหมู่บ้าน รวมไปถึงการใช้แรงงานทางด้านการเกษตร ให้เป็นไปตามแบบอย่างของบรรพบุรุษ - อันดับที่ 2 คือครอบครัว ชาย หญิง ที่แต่งงานกันแล้ว ฝ่ายชายต้องไปอยู่ร่วมชายคาในบ้านของฝ่ายหญิง อย่างไม่มีการกำหนดเวลา ที่ต้องรับใช้พ่อตา แม่ยาย หน้าที่หลักของลูกเขยก็คือรับผิดชอบร่วมกันกับภรรยา ในงานทุกอย่างในไร่ เมื่อมีลูก ลูกจะได้รับการเลี้ยงดูเอาใจใส่จาก ตา ยาย ของเด็ก ลูกเขยกับภรรยาจะได้รับอนุญาตจากพ่อ แม่ ให้ไปตั้งบ้านเรือนของตนเองได้ก็ต่อเมื่อ น้องสาวของภรรยาคนรองแต่งงาน แล้วอยู่ในบ้านเดียวกัน เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันทุกวัน ลูกที่รับใช้พ่อ แม่ มานานก่อนแล้ว จะได้รับสิทธิ์ให้ไปตั้งบ้านเรือนของตนเองได้ แล้ว พ่อ แม่ ของภรรยาจะมอบเครื่องมือ เครื่องใช้ในการทำไร่ ทำนา ให้ไป ใช้ทำกินต่อไป พ่อ แม่วัยสูงอายุ โดยทั่วไป มักจะไม่ให้ ลูกของตนอพยพออกไปตั้งถิ่นฐานจากชายคาของเขา แต่มีน้อยคนนักที่หัวหน้าครอบครัวจะประสบความสำเร็จ ที่ลูกหลานอยู่ภายใต้การปกครองของตนเอง ทั้งนี้ยังได้แยกระดับความมีฐานะในหมู่บ้านอีกด้วย ระดับฐานะของแต่ละครอบครัว แบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ 1 .กลุ่มที่มีฐานะดี ก็คือ กลุ่มของผู้นำหมู่บ้าน และหัวหน้าหมู่บ้าน 2. กลุ่มที่มีฐานะปานกลาง มี 7 หลังคาเรือน 3. กลุ่มที่มีฐานะยากจน (หน้า 7, 9, 11, 13)

Political Organization

หัวหน้าหมู่บ้านเป็นผู้ปกครองหมู่บ้าน มีผู้ช่วยหัวหน้าหมู่บ้านอีก 1 คน คอยทำหน้าที่ช่วยเหลืองานของหัวหน้าหมู่บ้าน หัวหน้าหมู่บ้านเป็นผู้ที่มีความรู้ทางจารีตประเพณี มีคาถาอาคม และเป็นผู้ที่เคร่งครัดต่อศีลธรรมของมูเซอ เป็นผู้รับผิดชอบทุกสิ่งทุกอย่าง ในหมู่บ้าน และยังมีผู้นำทางศาสนาที่เป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุดในหมู่บ้าน เรียกว่า "แก่หลวงป่า" มีหน้าที่ในการประกอบพิธีกรรมเฉพาะคือ ส่วนใหญ่จะฆ่าหมูและทำบุญผูกข้อมือ แก่หลวงป่าเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ มีฐานะดี เป็นผู้ที่มีอิทธิพลสูงสุดในหมู่บ้าน บุคคลที่เป็นผู้นำในหมู่บ้านมักจะเกี่ยวดองเป็นญาติผู้น้อยของแก่หลวงป่า ส่วนหัวหน้าหมู่บ้าน มีหน้าที่ติดต่อกับบุคคลภายนอก ที่เดินทางมาติดต่อกับแก่หลวงป่า คอยเอาใจใส่ในภารกิจต่าง ๆ ในหมู่บ้าน แล้วคอยเฝ้าสังเกตพฤติกรรมของแขกไม่ให้มาเปลี่ยนความเชื่อถือทางศาสนาของชาวบ้านไปในทางอื่น นอกจากนี้ หัวหน้าหมู่บ้าน ยังมีหน้าที่ติดต่อขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการอีกด้วย (หน้า 12)

Belief System

มูเซอมีความเชื่อถือทางศาสนาแบบชาวเขา นับถือผีฟ้า ผีบรรพบุรุษ ผีป่า ผีดอย และผีอื่นๆ พวกเขาเชื่อว่า ผีเหล่านี้เป็นผู้กำหนดทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาบนโลก ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น และก็สามารถให้คุณและโทษแก่มนุษย์ทั้งโลก รวมถึงคนที่ตายไปแล้ว พิธีกรรมทางศาสนาของมูเซอ จะเกี่ยวข้องกับการทำไร่ข้าวและฝิ่นเท่านั้น ส่วนใหญ่จะประกอบขึ้น เพื่อขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้ข้าวและฝิ่นของพวกเขาอุดมสมบูรณ์ พิธีกรรมที่สำคัญได้แก่ - พิธีจะมี่พ้อก๊าเก่าเก หรือพิธีถางข้าวไร่ พิธีนี้จะทำก่อนถางข้าวไร่ ในต้นเดือนมกราคม เพื่อขออนุญาตผีเจ้าที่ให้อนุญาตให้พวกเขาทำไร่ พิธีนี้จะทำขึ้นที่ไร่ เครื่องเซ่นไหว้ก็มี ขี้ผึ้ง 8 คู่ ข้าวสารใส่ซอง ใบไม้ มีใบผ่าสามแฉก ปักพื้นดินรองรับ หัวหน้าครัวเรือนหรือผู้เฒ่าของหมู่บ้านเป็นผู้ทำพิธี - พิธีหยอดเมล็ดข้าวข้าวไร่ ทำกันในกลางเดือนเมษายน และมีพิธีทำขวัญข้าว ทำในเดือนมิถุนายน พิธีทำขวัญต้นข้าว ทำกันปลายเดือนกรกฎาคม พิธีทำขวัญดอกข้าว ทำตอนข้าวออกรวง และพิธีกินข้าวใหม่ ในต้นเดือนตุลาคม ส่วนการปลูกฝิ่นก็มีพิธีกรรมถางไร่ฝิ่น ทำก่อนถางไร่ในเดือนตุลาคม เพื่อขออนุญาตผีไร่ เพื่อทำการปลูกฝิ่นทำเหมือนการถางไร่ข้าว พิธีหว่านเมล็ดฝิ่น ทำในกลางเดือนสิงหาคมและกันยายน เพื่อบอกให้ผีไร่ได้รู้ว่าบัดนี้ได้นำเครื่องเซ่นมาเซ่นเพื่อขอให้ช่วยดูแลรักษาไร่ฝิ่นด้วย หัวหน้าครัวเรือนหรือผู้เฒ่าในหมู่บ้านเป็นผู้ประกอบพิธี อีกพิธีหนึ่งก็คือพิธีเรียกขวัญดอกฝิ่น ทำเมื่อเริ่มออกดอก ก็ประมาณเดือนพฤศจิกายนและกลางธันวาคม เพื่อเป็นการขอให้ผีไร่ ดลบันดาลให้มีน้ำหล่อเลี้ยงต้นฝิ่น เพื่อที่ต้นฝิ่นจะได้งามและให้ยางมาก (หน้า 6, 101 - 105)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ความสัมพันธ์ระหว่างชนเผ่าอื่นเป็นมิตรที่ดีต่อกัน เห็นได้จากการที่ลีซอ ชักชวนมูเซอให้มาอยู่ร่วมกัน ทั้งที่ต่างเผ่าพันธุ์ แต่พวกเขาก็สามารถอยู่ร่วมกันได้ และมีมิตรไมตรีที่ดีต่อกัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันอยู่เสมอ (หน้า 8)

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ทรัพยากร หากกล่าวถึงทรัพยากรโดยการจำแนกเป็นทรัพยากรแต่ละชนิด ได้แก่ สินแร่ ป่าไม้ ผลไม้ป่า สมุนไพร พืชล้มลุก สัตว์ป่า ปู ปลา กุ้งหอย และแมลงอีกหลายชนิด มูเซอเป็นผู้รู้ในเรื่องการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเป็นอย่างดี - พรรณไม้ ที่สำคัญที่มูเซอนำมาใช้ประโยชน์คือ อย่อ หรือ ต้นก่อ ผลใช้กิน กื่อนะมา ไส้ในใช้ต้มเป็นอาหารของหมู พวกเถาวัลย์ เช่น อ้อล้อ ผลมีรสเปรี้ยวใช้แกง อะลอญี้ ผลใช้เป็นอาหารตอนที่สุกแล้ว ยื้อ หรือ หญ้าคา ใบใช้มุงหลังคา เป็นต้น - พรรรณไม้ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ได้แก่ ไม้เกี๊ยะ ไทย ก็เรียกว่าไม้เกี๊ยะ ใช้จุดไฟ อกื๋อ คือต้นสน ตองตึงไม้แดง ไม้เปา ไม้สัก - พรรณไม้ที่มีพิษ คือ อะลู ใบเมื่อถูกมือจะเจ็บปวด และก็ยังมีอีกหลายชนิดที่เป็นพืชมีพิษ - พรรรณไม้ที่ใช้ปรุงอาหาร ได้แก่ ว้าตู หรือหน่อไม้ มื่อชอญี้ คือเห็ดแดง มือแพ คือเห็ดขาว อะปอ คือกล้วยป่า - ผลไม้ป่าที่บริโภคได้ คือ อู้จื่อแปะสื่อ ผลสุกมีรสอมเปรี้ยวอมหวาน มะมัว คือมะม่วงป่า มะก่อไลสื่อ คือลิ้นจี่ป่า มะไฟสื่อคือ มะไฟ ซึมื่อปื้อสื่อคือเงาะป่า เป็นต้น - สัตว์ป่า ได้แก่ ฮอ หรือช้างป่า แรด อ๊อก่า หรือควายป่า แฮนู้ คือกระทิง และก็ยังมีสัตว์อีกหลายชนิดจำนวนมากมาย (หน้า 22-37)

Map/Illustration

- แผนที่แสดงที่ตั้งหมู่บ้านมอญลุ่มน้ำแม่กลอง (หน้า 8 - 9) - แผนที่วัดม่วงและพิพิธภัณฑ์ (หน้า10-15) - พ่อค้าชาวอินเดียและพระเกศธาตุ (หน้า 16) - พุทธทำนายเรื่องหงส์คู่เล่นน้ำ (หน้า 18) - แผนที่แสดงเมืองต่างๆ ในสุวรรณภูมิ (หน้า 20) - แผนที่แสดงภูมิประเทศและขอบเขตเมืองยุครามัญเทศ (หน้า 22) - แผนที่แสดงเมืองสำคัญยุคผู้ชนะสิบทิศ (หน้า 24) - เจดีย์ชเวดากอง (หน้า 26) - พระมุเตา (หน้า 29) - ความเป็นมอญ (หน้า 30) - พระพุทธศาสนา(ชาดกพระเจ้าห้าร้อยชาติ) (หน้า 32) - ประเพณี 12 เดือน (หน้า 34) - ภาษามอญในจารึก (หน้า 36) - มอญอพยพ 9 ระลอก (หน้า 38 - 41) - การกระจายตัวมอญในไทย (หน้า 42) - ผู้นำทางวัฒนธรรม (หน้า 4) - พระเจ้าอโนรธา (หน้า 46) - อานันทวิหาร (หน้า 48) - มะกะโท (หน้า 50) - พระเจ้าราชาธิราช (หน้า 53) - บุเรงนอง (หน้า 54) - หลวงพ่ออุตตมะ (หน้า 56) - พระครูวรธรรมพิทักษ์ (หน้า 58) - คลังศิลปะและโบราณวัตถุ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง (หน้า 67) - กล่องไม้แกะรูปกวางหมอบ สมบัติของหลวงปู่เข็ม อดีตเจ้าอาวาสวัดม่วง (หน้า 68) - แผ่นไม้ประกับคัมภีร์ (หน้า 69) - แผ่นคัมภีร์ ฝีมือช่างมอญสมัยรัตนโกสินทร์ได้รับอิทธิพลจากจีนและมุสลิม,แผ่นคัมภีร์และไม้ประกับคัมภีร์ รูปลายทองสัตว์หิมพานต์สมัยอยุธยาตอนปลายราวครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ 23 (หน้า 70) - หีบคัมภีร์ เขียนหรือระบายสี ฝีมือช่างพื้นบ้านได้รับอิทธิพลจากตะวันตก (หน้า 71) - หีบคัมภีร์, ไม้ไผ่ห่อคัมภีร์ (หน้า 72) - ผ้าฝ้ายพิมพ์ลายห่อคัมภีร์จากต่างประเทศ,ผ้าฝ้ายพิมพ์ลายห่อคัมภีร์สมัยรัตนโกสินทร์(หน้า73) - ผ้าฝ้ายห่อคัมภีร์จากต่างประเทศ,ผ้าฝ้ายพิมพ์ลายห่อคัมภีร์จากอินเดีย (หน้า 74) - ผ้าฝ้ายทอพื้นบ้านห่อคัมภีร์ของชาวบ้านม่วง (หน้า 75) - พระบฏ ตอนพระบรมศพของพระพุทธเจ้าในหีบทอง (หน้า 76) - พระบฏ ตอนพระพุทธองค์เสด็จสู่ปรินิพพานใต้ต้นรังคู่ (หน้า 77) - หงส์อาสน์ สลักไม้ ฝีมือช่างมอญ - พม่าเมื่อราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 25 (หน้า 78) - สิงห์อาสน์ สลักไม้ ฝีมือช่างมอญ พม่า (หน้า 79) - เครื่องปั้นดินเผาสมัยอยุธยา พบในแม่น้ำแม่กลอง บริเวณหน้าวัดม่วง (หน้า 80) - แผนที่เก่าแสดงของเขตของรามัญประเทศ (หน้า 81) - หงส์ทอง 2 ตัว รูปปั้นสัญลักษณ์เมืองหงสาวดี(พะโค)ในพม่าทุกวันนี้ (หน้า 98) - แม่น้ำแม่กลอง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี (หน้า114) - แผนที่ประเทศไทยแสดงให้เห็นเส้นแม่น้ำสำคัญ (หน้า 117) - แผนที่แสดงแม่น้ำแควน้อย แม่น้ำแควใหญ่และแม่กลอง (หน้า 118) - คัมภีร์ใบลานของวัดม่วงที่อายุเก่าแก่ที่สุดคือหมายเลข 321 พระปริตรร(12 ตำนาน) "ศักราช1000 เดือน 6 แรม 5 ค่ำจารเสร็จเมื่อตะวันบ่าย", นายจวน เครือวิชฌยาจารย์ นักปราชญ์แห่งบ้านม่วง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี (หน้า 131) - เสาเอกที่ชาวมอญนับถือและไหว้ผีบรรพบุรุษ, ศาลต้นโพธิ์กลางหมู่บ้านบ้านม่วง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี (หน้า 132) - เรือนของชาวมอญบ้านม่วง (หน้า 133) - วัดม่วง,ลำน้ำแม่กลอง หน้าวัดม่วง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี (หน้า 134) - แผนที่มณฑลราชบุรี (หน้า 135) - แผนที่เส้นทางรถไฟเลียบลำน้ำแม่กลอง (หน้า 136) - แผนที่แสดงวัดและชุมชนริมแม่น้ำแม่กลองตั้งแต่บ้านโป่ง - โพธาราม (หน้า 137) - แผนที่แสดงวัดและชุมชนบริเวณบ้านเจ็ดเสมียนและใกล้เคียง (หน้า 138) - แผนที่จังหวัดราชบุรี (หน้า139) - แผนที่แสดงบริเวณบ้านโป่งถึงวัดเจ็ดเสมียน (หน้า140) - แผนที่แสดงที่ตั้งเมืองด่านตะวันตกรามัญ 7 เมือง ในเมืองกาญจนบุรี (หน้า 141)

Text Analyst บุษบา ปรังฤทธิ์ Date of Report 30 มี.ค 2561
TAG ลาหู่, สังคม, เศรษฐกิจ, การเกษตรกรรม, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง