สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject แสก,วิถีครอบครัว,ชุมชน,พิธีกรรม,นครพนม
Author สมศักดิ์ ศรีสันติสุข, ปรีชา ชัยปัญหา
Title วิถีครอบครัวและชุมชนชาติพันธุ์ไทยแสก บ้านบะหว้า ตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity แสก แทรก (ถะ-แหรก), Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 183 Year 2538
Source สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
Abstract

วิถีครอบครัวของบ้านบะหว้าไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากนัก กล่าวคือ เดิมมีครอบครัวแบบขยายตั้งแต่ 2 ครอบครัวขึ้นไปมาอยู่กับ ปู่ย่า ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นครอบครัวเดี่ยวตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ๆ ครอบครัวของปู่ย่า การสืบสายตระกูลทางฝ่ายชายลูกชายคนสุดท้ายจะได้รับมรดกและเลี้ยงดูพ่อแม่ ญาติพี่น้องจะมีความสัมพันธ์กันอย่างมาก บทบาทของพ่อจะมีหน้าที่อบรมสั่งสอนลูกชาย ส่วนแม่จะอบรมสั่งสอนลูกหญิง ในอดีตสมาชิก ภายในครอบครัวสามารถหาอาหารจากแหล่งหากินรอบ ๆ ชุมชน แต่ปัจจุบันปริมาณอาหารจากแหล่งธรรมชาติเริ่มลดลง อาหารการกินโดยมากได้มาจากตลาด สภาพบ้านเรือนได้เปลี่ยนแปลงในด้านวัสดุก่อสร้างตลอดจนรูปแบบการใช้สอยที่แตกต่างกันออกไป จากเรือนเดิมที่มีใต้ถุนไว้เลี้ยงสัตว์กลายเป็นเรือน 2 ชั้น ไทยแสกชอบความสะอาด เครื่องนุ่งห่มเคยปลูกฝ้ายและทอ เย็บตัดเอง แต่ปัจจุบันเสื้อผ้าโดยมากจะซื้อสำเร็จรูป นอกจากนี้มีการรักษาโรคโดยแพทย์แผนปัจจุบันควบคู่กับการรักษาจากแพทย์พื้นบ้าน ไทยแสกบ้านบะหว้าสามารถปรับตัวในกระแสโลกาภิวัตน์เป็นอย่างดี สามารถรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีโดยเฉพาะพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัดและสามารถจัดการสภาพแวดล้อมของชุมชนในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนมีกระบวนการร่วมกันของความเป็นชาติพันธุ์ภายในชุมชน กลุ่มสังคม และกระบวนการที่พัฒนาไปสู่ความทันสมัยในกระแสโลกาภิวัตน์ แต่ก็ดำรงรักษาและความสำนึกในเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ไทยแสกบ้านบะหว้าได้อย่างเหมาะสม

Focus

วิถีครอบครัวและการเปลี่ยนแปลงในชุมชนชาติพันธุ์ไทยแสก บ้านบะหว้า ตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ไทยแสก

Language and Linguistic Affiliations

ชนชาติพันธุ์ไทยแสกเป็นชนชาติหนึ่งซึ่งพูดในภาษาตระกูลไต สันนิษฐานกันว่าภาษาแสกเป็นภาษาตระกูลไตที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งใกล้เคียงกับภาษาไทยจ้วงในแคว้นยูนนาน (หน้า 42)

Study Period (Data Collection)

พ.ศ. 2538

History of the Group and Community

ประวัติชนชาติไทยแสก ปัจจุบันยังมีชนชาติไทยแสกอยู่แคว้นสิบสองปันนาในประเทศจีนและยังมีไทยแสกที่มีภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองสอง ขึ้นกับกรุงเว้ ประเทศเวียดนาม ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยา คนไทยแสกอพยพข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เรียกว่า "ป่าหายโศก" เพราะอาจเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ จึงได้พากันอพยพมาประกอบอาชีพ คือ ทำนา ประมง การทำปูนขาวและร่อนทอง ภายหลังเจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนีย์) แม่ทัพไทยยกทัพไปปราบเจ้าอนุวงศ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้แต่งตั้งให้ "ฆานบุคดี" หัวหน้าแสกเป็นหัวหน้ากอง เรียกว่า "กองอาตมาต" มีหน้าที่ควบคุมบริวารแสกตระเวนรักษาชายแดน ต่อมามีกลุ่มแสกที่อพยพหนีการรุกรานของเวียดนามมาตั้งภูมิลำเนาทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขงมากขึ้น จาก "ป่าหายโศก" ได้ตั้งเป็น "เมืองอาตมาต" ในปี พ.ศ. 2380 โดยมี "ฆานบุคดี" เป็นจ้าเมืองแสกคนแรก "เมืองอาตมาต" ปัจจุบันคือ "บ้านอาจสามารถ" อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ประวัติไทยแสกบ้านบะหว้า เดิมมาจากบ้านนากระแด้ง ตำบลโพธิ์ค้ำ เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน ประเทศลาว ตั้งบ้านเรือนอยู่กับญาติพี่น้องที่บ้านอาจสามารถ ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เมื่อเมืองอาจสามารถใหญ่ขึ้น ชาวบ้านส่วนหนึ่งจึงย้ายไปอยู่บ้านดอนสมอ ตำบลท่าบ่อสงคราม อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม คนกลุ่มหนึ่งที่อยู่บ้านดอนสมอไม่สะดวกในการหาเลี้ยงชีพจึงอพยพต่อไปจนถึงบ้านบะหว้า ตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม เมื่อตั้งเรือนอยู่พื้นที่แห่งหนึ่งที่มีต้นหว้ามาก จึงได้ตั้งชื่อว่า "บ้านบะหว้า" (หน้า 42 - 44)

Settlement Pattern

การตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นกระจุก อยู่ที่ราบต่ำติดลำห้วย (หน้า 34) ในอดีตเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา เรือนโดยมากใช้ไม้กับใบตองในการสร้าง มีสภาพใต้ถุนสูง ห้องนอน ห้องครัวและห้องน้ำจะอยู่บนเรือน ห้องน้ำในอดีตเรียกว่า "ซานน้ำ" ใช้อาบน้ำชำระร่างกาย ตลอดจนการล้างผัก ปลาต่าง ๆ จึงนิยมจัดให้ครัวใกล้ซานน้ำ บันไดขึ้นลงบ้านส่วนใหญ่มี "ซาน" บ้าน สำหรับล้างเท้า ล้างตัวและสิ่งของต่าง ๆ ก็ต้องผ่าน "ซาน" ก่อนที่จะไปยังส่วนต่างๆ ส่วนใต้ถุนเป็นคอกสัตว์ ใช้หญ้าคา หญ้าแฝก ใบตองหรือไม้แผ่นเล็ก ๆ ในการมุงหลังคา ฝาเรือนเป็นฝาไม้ไผ่หรือฝาไม้ไผ่ แนบใบตอง ไม่นิยมสร้างประตูหน้าต่างทางทิศตะวันตกเพราะในฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ลมแรงมาก คนถิ่นอื่นมักจะเรียกเรือนรูปแบบนี้ว่า "บ้านทรงเหล้า" ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะและวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างเป็นเสาคอนกรีต พื้นเตี้ย หรือพื้นสูง หลังคามุงกระเบื้องหรือสังกะสี ตัวเรือนทำอย่างแน่นหนา บางครอบครัวใส่ลูกกรงเหล็กเพื่อกันโจร เป็นต้น รูปทรง ของเรือนมีบางส่วนที่เปลี่ยนแปลงแต่บางครอบครัวยังคงรักษารูปแบบเดิม (หน้า 74 - 75)

Demography

บ้านบะหว้า มีครัวเรือนทั้งสิ้น 215 ครัวเรือน มีประชากร 1,047 คน จำแนกเป็นชาย 515 คนและหญิง 532 คน (18 เมษายน พ.ศ. 2538) (หน้า 34)

Economy

ชาวบ้านบะหว้าในปัจจุบันมีฐานะเศรษฐกิจอยู่ในระดับดี ถ้าเทียบกับหมู่บ้านชนบทในอำเภอเดียวกัน โดยมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนาเป็นหลัก มีการขายข้าวเปลือกเกือบทุกหลังคาเรือน เกือบทุกครอบครัวมีงานทำมีรายได้ คือ การทำขนมและการตัดเย็บเสื้อผ้าส่งห้างร้านต่าง ๆ ในเขตจังหวัดใกล้เคียง นอกจากนี้ ยังมีการประกอบอาชีพต่าง ๆ อีกมาก เช่น อาชีพรับจ้างทั่วไป รับราชการครู ค้าขาย เลี้ยงสัตว์ โรงสีข้าว เป็นต้น (หน้า 46)

Social Organization

ไทยแสกมีความขยัน อดทนในการทำนาและประหยัดอดออม (หน้า 46) ชุมชนไทยแสกเป็นสังคมที่ประชาชนมีจิตสำนึกของความเป็นกลุ่มสูงมีความสามัคคี พร้อมเพรียงและให้ความร่วมมือกันอย่างเต็มที่ในทุก ๆ ด้าน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันทั้งในครอบครัวและในหมู่ญาติมิตรเป็นไปอย่างดีมาก (หน้า 52 - 53) ในอดีตเมื่อ 20 ปีย้อนหลัง ไทยแสกจะอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ เป็นครอบครัวขยาย ประกอบด้วยสมาชิกหลายกลุ่ม (หน้า 61) ซึ่งสืบสกุลทางฝ่ายชายเพราะคนบ้านแสกเคารพและให้เกียรติผู้ชายมากกว่าผู้หญิง การแต่งงานของชาวบ้านบะหว้ามีลักษณะคล้ายกับชาติพันธุ์อื่น คือ จัดเลี้ยงและทำพิธีบายศรีสู่ขวัญภายในวันเดียว โดยมีพราหมณ์สู่ขวัญบอกกล่าวและมีพิธีผูกด้ายให้กับคู่สมรสแต่การจัดงานของไทยแสกไม่เคยจัดมหรสพ ไม่มีการเลี้ยงผีบรรพบุรุษแต่ในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายใดผ่ายหนึ่งกำพร้าพ่อแม่ ผู้เป็นลูกจะไปบอกที่ธาตุกระดูกเท่านั้น (หน้า 90 - 92) การรับประทานอาหารต้องรอให้ผู้สูงอายุหรือบุคคลที่เป็นหัวหน้าครอบครัวได้กินก่อนทุกครั้ง ยกเว้นหัวหน้าครอบครัวบอกให้ทุกคนกินข้าวได้เลย เมื่อสามีภรรยาที่แต่งงานและมีลูก 1 คนขึ้นไปแล้ว ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดตายจาก ฝ่ายที่เหลือจะครองตนไม่ยอมแต่งงานกับคู่ครองใหม่ โดยฝ่ายหญิงจะรักษาตัวได้ดีกว่าฝ่ายชาย การแต่งงานในอดีตจะใช้เวลา 2 วัน วันแรกมีการกินเลี้ยง วันที่สองจะจัดพิธีบายศรีสู่ขวัญ โดยมีหมอสูตรหรือหมอพราหมณ์เป็นผู้ทำพิธี ประเพณีการแต่งงาน ไม่แต่งใน พ.ศ. ที่ลงท้ายด้วยเลขคี่ ไม่แต่งช่วงเข้าพรรษาและต้องสู่ขอกันตามประเพณี (หน้า 58-60) ไทยแสกมีความเชื่อว่าที่อยู่อาศัยต้องสะอาดหากมีสะใภ้อยู่ร่วมกัน ก็ต้องสำรวมกิริยา มารยาท ปฏิบัติต่อปู่ย่าอย่างนบน้อม ครอบครัวจึงจะมีความสุขความเจริญ (หน้า 80)

Political Organization

บ้านบะหว้า ตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม เดิมแบ่งการปกครองออกเป็น หมู่ที่ 5 หมู่เดียวต่อมาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคมแบ่งการปกครองออกเป็น 2 หมู่ คือ หมู่ 5และหมู่ 7 มีผู้ใหญ่บ้านปกครองตั้งแต่ตั้งหมู่บ้านจนถึงปัจจุบัน (หน้า34)

Belief System

ความสำคัญของประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ ยังมีความสำคัญมากต่อคนไทยแสกในปัจจุบัน แต่ประเพณีบางอย่างอาจจะลดน้อยลงหรือมีการปรับเปลี่ยนลักษณะบางประการ ประเพณี 12 เดือน เหมือนกับชนชาติพันธุ์ไทยลาว ไทยย้อ และอื่นๆ แต่มีประเพณีและวัฒนธรรมบางประการที่แปลกไปจากชนชาติพันธุ์อื่น ได้แก่ ไทยแสกนับถือศาสนาพุทธและเคร่งครัดมาก มีความเชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้าและเชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว (หน้า 58-60,106) ประเพณีการบวช จะมีการบวชพระ บวชเณรและบวชหน้าศพ การบวชหน้าศพจะมีทั้งการบวชชายและหญิง จะบวชและสึกภายในวันเดียว ผู้ชายจะนุ่งเหลืองห่มเหลือง โกนผมโกนคิ้ว ถือศีล 10 ส่วนผู้หญิงนุ่งขาวห่มขาว ไม่ได้โกนคิ้วหรือผม ถือศีล 8 วันพระธายข้าวเปลือกและวันส่งท้ายปีเก่า จัดในวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี ในตอนเช้าทุกครอบครัวจะนำข้าวเปลือกไปรวมกันที่ศาลาประชาคมกลางบ้าน คนที่ไม่มีข้าวจะนำเงินมาบริจาคร่วมกับชาวบ้าน เวลาบ่ายจะนำข้าวขวัญใส่ถ้วยไปร่วมทำพิธีที่วัดเพื่อให้พระสวดมงคลคาถาแล้วนำกลับมาไว้ที่ยุ้งฉางของตนเพื่อความเป็นสิริมงคล มีการจัดเลี้ยงรับประทานอาหารร่วมกัน เวลาค่ำก่อนถึง 6 ทุ่ม ชาวบ้านจะไปรวมตัวกันที่ศาลากลางบ้านเพื่อต้อนรับปีใหม่พร้อมกัน (หน้า 85-86) การเตรียมตัวก่อนคลอด เพื่อความปลอดภัยของผู้เป็นแม่ ไทยแสกจึงมีพิธี "การผูกไก่ขาวก่อนคลอดลูก" เพื่อช่วยเหลือผู้เป็นแม่ มีการทำพิธีผูกขาไก่ขาวและผูกแขนคนท้องเพื่อให้เป็นเพื่อนกัน จะได้คลอดลูกง่ายเหมือนไก่ออกไข่ (หน้า 88) การทำศพ เมื่อมีคนตายเกิดขึ้นกลุ่มญาติใกล้ชิดจะทำความสะอาดและแต่งกายศพ รวมถึงการทำความสะอาดบริเวณที่ผู้ตายนอนป่วยและจัดเตรียมงาน ก่อนนำศพเข้าบรรจุหีบจะทำพิธีคารวะศพ เมื่อนำศพเข้าหีบจะมีการประดับตกแต่งจากนั้นมีงาน "เฮือนดี" วันที่นำศพไปประชุมเพลิง ตอนเช้าที่จะมีการทำบุญถวายอาหารบิณฑบาตแด่พระภิกษุสงฆ์และจัดอาหารเลี้ยงแขก ก่อนนำศพไปเผามีการทำพิธีไหว้พระสวดมนต์ ถ้าผู้ตายเป็นผู้มีอายุหรือผู้อาวุโสจะทำพิธีคาราวะครั้งใหญ่ แล้วนำศพไปเผาในช่วงบ่าย (หน้า 92) การเคารพบรรพบุรุษและการถือผี ผีที่นับถือจะมีอยู่ 2 พวก ได้แก่ ผีบรรพบุรุษและผีอื่นๆ เมื่อมีใครไม่สบายจะเชื่ออยู่ 2 อย่างคือ เป็นโรคกับผีเข้า ถ้าสงสัยว่าผีเข้าญาติคนป่วยจะไปขอให้หมอเหยาและหมอแคนมาประกอบพิธี ผีตาแฮก เป็นผีที่ชาวนาต้องการให้ช่วยรักษานาและข้าว การทำพิธีตาแฮกจะเริ่มตอนดำนาหรือตอนทำนา (หน้า 100) การถือผีดอนหอ เนื่องจากสมัยนั้นไทยแสกเชื่อว่าผีมีจริง การปลูกบ้านบริเวณที่มีต้นไม้ใหญ่รู้สึกน่ากลัวและไม่สบายใจจึงได้เชิญผีไปอยู่ที่ดอนหอ ซึ่งเป็นป่าที่มีต้นไม้ใหญ่น้อยมากพอสมควร อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหมู่บ้านเป็นที่สถิตของผีปู่ตาหรือผีดอนหอ คอยปกป้องรักษาชาวบ้าน โดยมี "จ้ำ" ซึ่งเป็นตัวกลางระหว่างคนกับผี จ้ำจะเป็นคนเตือนบุคคลเหล่านั้นให้หยุดกระทำความชั่ว (หน้า 102)

Education and Socialization

ชุมชนไทยแสกมีโรงเรียนราษฎร์สามัคคี ซึ่งเป็นโรงเรียนชุมชน 3 หมู่บ้าน คือชุมชนบ้านบะหว้า บ้านท่าเรือและบ้านนาซ่อม โรงเรียนห่างจากบ้านบะหว้าประมาณ 1 กิโลเมตร (หน้า 40)

Health and Medicine

มีสถานีอนามัยบ้านท่าเรืออยู่ใกล้บ้านท่าเรือ และมีโรงพยาบาลนาหว้าอยู่ห่างจากชุมชนบะหว้าประมาณ 8 กิโลเมตร (หน้า 40) ยารักษาโรคของไทยแสกปัจจุบัน มี 2 พวก คือ ยาแพทย์แผนปัจจุบันและยาสมุนไพร ชาวบ้านนิยมใช้ยาสมุนไพรควบคู่กับยาแผนปัจจุบัน ส่วนมากต้องการให้ยาออกฤทธิ์เร็วจะไปหาแพทย์แผนปัจจุบัน ถ้าไม่หายก็จะกลับมารักษาด้วยยาสมุนไพรอีก (หน้า 81, 155)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

เครื่องนุ่งห่มในอดีตใช้ผ้าฝ้ายเย็บเป็นเสื้อ กางเกงและผ้าถุง ใช้สีที่ได้จากธรรมชาติในการย้อม เช่น ต้นคราม ผ้าที่ใส่มี 2 สี ได้แก่ สีขาวและสีครามหรือลายขาวคราม เช่น ผ้าถุงมัดหมี่ แต่ปัจจุบันเสื้อผ้าโดยมากจะซื้อสำเร็จรูปเพราะชาวบ้านส่วนหนึ่ง มีอาชีพในการตัดเย็บเสื้อผ้าอยู่แล้ว (หน้า 80 - 81)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ปัจจุบัน การแต่งงานจะทำวันเดียว บางคนทำเต็มวัน บางคนก็ทำครึ่งวันก็เสร็จพิธี รวมถึงการกินเลี้ยงและการบายศรีสู่ขวัญด้วย (หน้า 59) ไทยแสกในอดีตจะอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ ครอบครัวขยาย ประกอบด้วยสมาชิกหลายกลุ่ม แต่ปัจจุบัน โดยมากจะเป็นลักษณะครอบครัวเดี่ยวถึงร้อยละ 70.9 ความสัมพันธ์ของครอบครัวและเครือญาติมีความสัมพันธ์อย่างเหนียวแน่น โดยมากจะให้ลูกผู้ชายรับมรดกและสืบสายตระกูลยกเว้นครอบครัวนั้นไม่มีลูกผู้ชาย (หน้า 61) เมื่อสิบกว่าปีย้อนหลัง การทำนาโดยเฉพาะการปักดำ การเกี่ยวข้าว ญาติพี่น้องจะช่วยเหลือกัน ผู้เป็นเจ้าของนาจะไม่เสียเงินแต่จะต้องรับผิดชอบในเรื่องอาหารการกินแต่ปัจจุบันการเกี่ยวข้าวจะต้องจ่ายเป็นเงินค่าจ้างในราคาเท่ากันตามข้อเท็จจริง (หน้า 97)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ตาราง - ข้อมูลประชากรและเศรษฐกิจของคุ้มต่างๆ (2537 - 2538) ในชุมชนชาติพันธุ์ไทยแสกบ้านบะหว้า หมู่ที่ 5, 7 ต.ท่าเรือ อ.นาหว้า จังหวัดนครพนม (หน้า47) - อัตราส่วนร้อยของหัวหน้าครัวเรือน จำแนกตามอาชีพหลักและอาชีพเสริม(หน้า48) - อัตราส่วนร้อยของหัวหน้าครัวเรือน จำแนกตามรายได้ของอาชีพหลักเมื่อปีที่ผ่านมา (หน้า49) - อัตราส่วนร้อยของหัวหน้าครัวเรือน จำแนกตามรายได้ของอาชีพเสริมต่อเดือนเมื่อปีที่ผ่านมา (หน้า 50) - อัตราส่วนร้อยของหัวหน้าครัวเรือนจำแนกตามที่ดินทำกิน (หน้า 51) - อัตราส่วนร้อยของหัวหน้าครัวเรือน จำแนกตามเพศ อายุ (หน้า 55) - อัตราส่วนร้อยของหัวหน้าครัวเรือน จำแนกตามสมาชิกในครัวเรือนไปทำงานต่างจังหวัดเมื่อปีที่ผ่านมา (หน้า 57) - อัตราส่วนร้อยของหัวหน้าครัวเรือน จำแนกตามภาษาที่พูดในครัวเรือน (หน้า 57) - อัตราส่วนร้อยของหัวหน้าครัวเรือน จำแนกตามโครงสร้างครอบครัว (หน้า 62) - อัตราส่วนร้อยของหัวหน้าครัวเรือน จำแนกตามวิถีครอบครัวในเรื่อง อาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจ การอบรมสั่งสอน การปฏิบัติต่อผู้สูงอายุและญาติพี่น้องของสมาชิกภายในครัวเรือนปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบ 10 ปีที่ผ่านมา (หน้า 65) - อัตราส่วนร้อยของหัวหน้าครัวเรือน จำแนกตามการปฏิบัติตามวิถีครอบครัวในเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับอาหาร ขะลำและการเจ็บป่วยของสมาชิกภายในครัวเรือนปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบ 10 ปีที่ผ่านมา (หน้า 68) - อัตราส่วนร้อยของหัวหน้าครัวเรือน จำแนกตามการปฏิบัติต่อความเชื่อทางศาสนาของสมาชิกภายในครอบครัวปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบ 10 ปีที่ผ่านมา (หน้า 84) - อัตราส่วนร้อยของหัวหน้าครัวเรือน จำแนกตามการเข้าร่วมกับชุมชนของสมาชิกภายในครอบครัวปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบ 10 ปีที่ผ่านมา (หน้า 91) - อัตราส่วนร้อยของหัวหน้าครัวเรือน จำแนกตามความเชื่อเรื่องผีของสมาชิกภายในครอบครัวปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบ 10 ปีที่ผ่านมา (หน้า 102) - อัตราส่วนร้อยของหัวหน้าครัวเรือน จำแนกตามความคิดเห็นของบุคลิกภาพและพฤติกรรมในอดีต 10 ปีที่ผ่านมากับปัจจุบัน (หน้า146) แผนผัง - แสดงชุมชนชาติพันธุ์ไทยแสกบ้านบะหว้า (หน้า 35) - แสดงอาณาเขตติดต่อระหว่างชุมชนกับอำเภอ (หน้า 37) - แสดงภาพตัดขวางชุมชนชาติพันธุ์ไทยแสกบ้านบะหว้า (หน้า 38) - แสดงที่ตั้งโรงเรียน สถานีอนามัยและชุมชนใกล้เคียง (หน้า 41) - แสดงเขตพื้นที่ป่าชุมชนชาติพันธุ์ไทยแสกบ้านบะหว้า (หน้า 110) - แสดงบริเวณแหล่งดินชุมชนชาติพันธุ์ไทยแสกบ้านบะหว้า (หน้า 114) - แสดงเขตบริเวณแหล่งน้ำชุมชนชาติพันธุ์ไทยแสกบ้านบะหว้า (หน้า 118) รูปภาพ - ปิรามิดประชากรแจกแจงอายุและเพศของชุมชนชาติพันธุ์ไทยแสก (หน้า 56) - การแห่ขบวนฝ่ายชายไปบ้านฝ่ายหญิงในพิธีแต่งงาน (หน้า 182) - การทำพิธีบายศรีสู่ขวัญการแต่งงานของฝ่ายชายและฝ่ายหญิง (หน้า182) - การผูกไก่ขาวก่อนคลอดลูก (หน้า 183) - การอยู่ไฟหลังคลอดลูก (หน้า 183)

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 04 เม.ย 2556
TAG แสก, วิถีครอบครัว, ชุมชน, พิธีกรรม, นครพนม, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง