สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject มอญ,ประวัติศาสตร์,สังคม,วัฒนธรรม,ราชบุรี
Author ไม่ปรากฏชัดเจน
Title หนังสือนำชม พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง ประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมมอญ เตลง เมง รามัญ รามัญ เมง เตลง มอญ
Document Type หนังสือ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity มอญ รมัน รามัญ, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 156 Year 2547
Source พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านบ้านม่วง ตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
Abstract

คนมอญสังกัดรัฐมอญในประเทศพม่า อพยพเข้าสู่ประเทศไทยเป็นระลอกๆ โดยมีการอพยพครั้งใหญ่ 9 คราว จำแนกเป็นสมัยอยุธยา 6 คราว สมัยกรุงธนบุรี 1 คราวและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 2 คราว ในช่วงต้นมีฐานะเป็นชนกลุ่มน้อยแต่ก็มีความเป็นอยู่ทัดเทียมกับคนไทย ปัจจุบัน เป็นชนชาติที่ "สิ้นแผ่นดิน แต่ไม่สิ้นชาติ" ความเป็นมอญและคนมอญยังซ้อนทับอยู่กับการเป็น ผู้คนกลุ่มหนึ่ง หรือส่วนหนึ่งในรัฐใหญ่ โดยเฉพาะประเทศพม่านั้นยังอยู่ในเขตแดนของรัฐและบ้านเมืองของชาวพยู การที่มอญนับถือผีและเคร่งครัดในพระพุทธศาสนาทำให้มอญอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจในการทำงานให้ชุมชนและวัด ทำให้วัฒนธรรมเดิมยังดำรงอยู่ได้ และยังมีพลังในการรักษาชุมชนท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม

Focus

นำเสนอประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรมมอญ

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

มอญ

Language and Linguistic Affiliations

สำเนียงภาษามอญของชาวบ้านม่วงมีลักษณะค่อนข้างแตกต่างจากสำเนียงภาษามอญในย่านลุ่มน้ำแม่กลอง (หน้า 126)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

คนมอญสังกัดรัฐมอญในประเทศพม่า อพยพเข้าสู่ประเทศไทยเป็นระลอก ๆ โดยมีการอพยพครั้งใหญ่ 9 คราว จำแนกเป็นสมัยอยุธยา 6 คราว สมัยกรุงธนบุรี 1 คราวและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 2 คราว ดังนี้ คราวแรกเมื่อพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ตีเมืองหงสาวดีแตกในปี พ.ศ. 2081 และ พ.ศ. 2084 คราวที่ 2 เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไปพม่าเพื่อช่วยพระเจ้านันทบุเรงปราบกบฏเมืองอังวะแล้วทรงประกาศอิสรภาพจากพม่าในปี พ.ศ. 2127 คราวที่ 3 ราชวงศ์ตองอูปกครองมอญอย่างทารุณและในปี พ.ศ. 2138 พวกยะไข่ทำลายเมืองหงสาวดีจนร้าง เกิดการอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร คราวที่ 4 เมื่อพระเจ้าสุทโธธรรมราชาแห่งอังวะ ทำพิธีราชาภิเษกที่เมืองหงสาวดีเมื่อปี พ.ศ. 2156 มอญไม่พอใจจึงก่อการกบฏแต่ถูกพม่าปราบปรามอย่างหนักจึงเกิดการอพยพเข้าไทย คราวที่ 5 มอญที่เมาะตะมะก่อการกบฏในปี พ.ศ. 2204 - พ.ศ. 2205 แต่ถูกพม่าปราบจึงอพยพหนีเข้ามา คราวที่ 6 ปลายราชวงศ์ตองอู มอญตั้งอาณาจักรได้และสามารถตีกรุงอังวะแตกแต่ครั้งพระเจ้าอลองพญาสถาปนาราชวงศ์ใหม่และในปี พ.ศ. 2300 สามารถตีหงสาวดีได้ คราวที่ 7 พ.ศ. 2316 เกิดกบฏมอญในย่างกุ้ง พม่าจึงเผาเมืองย่างกุ้ง คราวที่ 8 พ.ศ. 2357 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จตีและยึดเมืองทวายได้ แต่ไม่สามารถรักษาได้ ต้องถอยกลับเข้าสู่ไทย ได้นำมอญเข้ามาด้วย คราวที่ 9 พ.ศ. 2357 เกิดกบฏมอญที่เมาะตะมะ ถูกพม่าปราบอย่างรุนแรงหนีเข้าไทยเป็นระลอกใหญ่ (หน้า 38-39) มอญในไทย ในช่วงต้นมีฐานะเป็นชนกลุ่มน้อยแต่ก็มีความเป็นอยู่ทัดเทียมกับคนไทย ปัจจุบันมอญเป็นชนชาติที่ "สิ้นแผ่นดินแต่ไม่สิ้นชาติ" เพราะมีประเพณี วัฒนธรรมและความเชื่อที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง (หน้า 61) ในประเทศไทยมีการตั้งถิ่นฐานสำคัญ ๆ ของมอญในหลายแห่ง คือ มอญสามโคก "สามโคก" เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดปทุมธานี พบร่องรอยการอยู่อาศัยตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ต่อมาชุมชนหนาแน่นขึ้นเนื่องจากมีคนมอญอพยพจากเมืองมอญเข้ามาตั้งถิ่นฐานนับแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และอพยพเข้ามาอย่างต่อเนื่องสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีและสมัยสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย - มอญสมุทรสาคร เจ็ดริ้วเป็นแหล่งของคนมอญในจังหวัดสมุทรสาคร ที่ย้ายถิ่นจากจังหวัดปทุมธานี ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มาตั้งรกรากอยู่บ้านมหาชัยก่อนขยายพื้นที่ทำการเกษตรกรรมไปยังบ้านเจ็ดริ้ว สมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว - มอญบ้านโป่ง - โพธาราม จังหวัดราชบุรีอพยพมาตั้งชุมชนเรียงรายอยู่ทั้งสองฟากของลุ่มแม่น้ำแม่กลองตอนล่างตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ - มอญพระประแดง "พระประแดง" เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสมุทรปราการ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวจังหวัดบริเวณริมสองฝั่งแม่น้ำตอนเหนือของอ่าวไทย คนมอญเหล่านี้อพยพเข้ามาตั้งแต่สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี นำโดยพระยาเจ่งตะละและต่อมามีการอพยพเพิ่มเติมในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (หน้า 63, 65) - ชุมชนมอญบ้านม่วง เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อบรรพบุรุษรุ่นแรกอพยพมาจากประเทศพม่าในสมัยอยุธยา ราวรัชสมัยของพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. 2133-2148) โดยติดตามพระมหาเถรคันฉ่อง ซึ่งเป็นพระสงฆ์มอญนิกายมหาญาณเข้ามาตั้งถิ่นฐานริมแม่น้ำแม่กลอง ให้ชื่อหมู่บ้านเหมือนบ้านเดิมในพม่าว่า "บ้านม่วง" และตั้งวัดประจำหมู่บ้านว่า "วัดม่วง" (หน้า 125)

Settlement Pattern

คนมอญนิยมตั้งถิ่นฐานอยู่ริมน้ำโดยเฉพาะบริเวณสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา (หน้า 43)

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ไม่มีข้อมูล

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

คนมอญนับถือผีบรรพบุรุษและเชื่อมั่น ศรัทธา ในพระพุทธศาสนาเถรวาท และให้ความสำคัญกับพระภิกษุอาวุโสในฐานะสถาบันทางปัญญาทั้งทางโลกและทางธรรม (หน้า 31) มีประเพณี 12 เดือนที่เกี่ยวกับความเชื่อทางพุทธและความเชื่อผี โดยแบ่งช่วงเวลาประกอบพิธีกรรมสัมพันธ์กับการกสิกรรมในรอบปี เดือนอ้ายทำข้าวเม่าถวายผีเรือน เดือนยี่ ลงแขกเกี่ยวข้าว เดือนสามบุญโอะห์ต่าน เดือนสี่ สิ้นฤดูทำนาสะสางงานบ้าน เดือนห้าบุญสงกรานต์ เดือนหกแรกนาขวัญ เดือนเจ็ดบุญถวายผ้าอาบน้ำฝน เดือนแปดเข้าพรรษา เดือนเก้าทำบุญแด่ผู้ล่วงลับ เดือนสิบตักบาตรน้ำผึ้ง เดือนสิบเอ็ดบุญออกพรรษา เดือนสิบสองไหว้แม่โพสพ (หน้า 35) ชาวบ้านม่วงจะมีการเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษในเดือนหกของทุกปี โดยจะเป็นวันใดก็ได้ ยกเว้นวันเสาร์ซึ่งถือเป็นวันแข็งไม่ควรทำพิธีมงคล ถ้าผู้หญิงจะแต่งงานออกเรือนไปต้องมีพิธี "คืนผี" ถ้ามีการกระทำที่ไม่ถูกต้องที่เรียกกันว่า "ผิดผี" ถือเป็นเรื่องใหญ่ เชื่อว่าจะทำให้คนในครอบครัวเกิดเจ็บป่วย รักษาไม่หาย ต้องทำพิธีขอขมาโดยทำ "พิธีรำผีมอญ" นิยมจัดในเดือนคู่ยกเว้นวันพระและวันเข้าพรรษา นอกจากผีบรรพบุรุษแล้วยังมีผีที่ชาวบ้านม่วงนับถือร่วมกันคือ "ศาลต้นโพธิ์" ได้แก่ ศาลต้นโพธิ์กลางทุ่งนา จะมีพิธีเซ่นในเดือน 6 ของทุกปี ปีใดฝนฟ้าไม่ค่อยตก ชาวบ้านจะทำพิธี "แคะขนมครก แห่นางแมวขอฝน" ศาลต้นโพธิ์กลางหมู่บ้าน ชาวบ้านเรียกว่า "เจ้าพ่อเจินเละงิ่ม หรือ ศาลเจ้าพ่อช้างพัน" มีเจ้าพ่อ 3 องค์ ปัจจุบันมีการเซ่นไหว้ปีละ 3 หน ในเดือน 4 และเดือน 6 ศาลต้นโพธิ์ในวัด เรียกว่า "ศาลอาหน้วก" หรือ "ศาลหลวงตา" หรือ "ศาลหลวงปู่" ศาลนี้เมื่อมีงานหรือกิจกรรมใด ๆ ในวัดจะต้องจุดธูปเทียนบอกกล่าว ขออนุญาตทุกครั้ง หรือบอกบนก็ได้ ประเพณีงานบุญใหญ่ทางพุทธศาสนาของชาวบ้านม่วงได้แก่ วันมาฆบูชา วันเข้าพรรษาและออกพรรษา เทศกาลเทศน์มหาชาติ ประเพณีสงกรานต์ และประเพณีลอยกระทง (หน้า 126 -129)

Education and Socialization

ในอดีต เด็กชายทุกคนจะอยู่ประจำที่วัดเพื่อเรียนหนังสือมอญ โดยมีพระเป็นครูสอนอ่าน เขียนภาษามอญเมื่อเรียนจบถึงวัยบวชเรียนก็จะบวชเรียนอีกอย่างน้อย 3 พรรษา ส่วนเด็กหญิงมอญบ้านม่วงเริ่มมีโอกาสเรียนหนังสือ แต่เป็นการเรียนหนังสือภาษาไทยเมื่อทางจังหวัดราชบุรี ชาวบ้านม่วงและหลวงปู่เข็ม เจ้าอาวาสวัดม่วงในสมัยนั้นได้สร้างอาคารเรียนหลังแรกในวัดเมื่อ พ.ศ. 2456 และได้เปิดเป็นโรงเรียนอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2480 ชื่อโรงเรียนวัดม่วง (ศรี ประชา) (หน้า128)

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

คำร้องขอฝนในพิธี "แคะขนมครก แห่นางแมวขอฝน" ที่ศาลต้นโพธิ์กลางทุ่งนา "นางแมวเอ๋ย ขอฟ้าขอฝน ขอน้ำมนต์รดก้นนางแมว...น้ำแห้งให้ฝนตกหน่อย..." (หน้า 127)

Folklore

ตำนานเมืองหงสาวดี นับแต่ พ.ศ. 1116 ถึง พ.ศ. 1600 ตามตำนานกล่าวว่า มีราชบุตรของพระเจ้ากรุงสะเทิม (ตั้งอยู่เหนือเมืองเมาะตะมะ) 2 องค์ทรงนามว่า "เจ้าสามล" และเจ้าวิมล ตั้งเมืองขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1116 ขณะสร้างเห็นหงส์ทำรังอยู่ ณ เกาะใกล้กับเมืองเป็นนิมิต จึงขนานนามเมืองว่า "หงสาวดี" แต่โดยทั่วไปนิยมเรียกว่า "เมืองพะโค" (PEGU) เพราะอยู่ริมลำน้ำพะโค (หน้า 104) เพลงยาวนิราศ คราวเสด็จไปตีเมืองพม่า เมื่อ พ.ศ. 2336 กลอนเพลงยาวตอนท้าย กล่าวถึงนิทานคำทำนายไว้ดังนี้ "เพราะเหตุบาปกรรมมาซ้ำเติม จะพูนเพิ่มให้ระยำยับยี่ ด้วยทำนายว่าไว้แต่ก่อนมี เหมือนครั้งมอญไปตีนครา คือหงส์มาหลงกินน้ำหนอง เหตุต้องเมืองมอญหงสา ตัวนายอองไจยะคือพรานป่า คิดฆ่าหงส์ตายจึงได้ดี คือพม่ามาตีเอามอญได้ ก็สมในทำนายเป็นถ้วนถี่ ยังแต่พยัคฆ์เรืองฤทธี จะกินพรานที่ยิงหงส์ตาย บัดนี้ก็ถึงแก่กำหนด จะปรากฏโดยเหตุเป็นกฎหมาย ทัพเราเข้าต้องคำทำนาย คือเสือร้ายอันแรงฤทธา จะไปกินพรานป่าที่ฆ่าหงส์ ให้ปลดปลงม้วยชีพสังขาร์ แล้วมีคำทำนายบุราณมา ว่าพม่าจะสิ้นซึ่งรูปกาย ถ้าผู้ใดใครเห็นให้เขียนไว้ จึงจะได้ประจักษ์สืบสาย เหตุเป็นเห็นต้องเหมือนคำทำนาย อังวะจะฉิบหายในครั้งนี้ " "หงส์ลงในหนอง พรานผู้หนึ่งยิงหงส์ตาย ภายหลังเสือกินพรานผู้ที่ยิงหงส์ตายนั้นเสีย" (หงส์คือมอญ พรานคือพม่าและเสือคือไทย) ผลทำนายเทียบ หงส์คือเมืองหงสาวดี เดิมสูญเสียเมืองแก่พม่าจนสิ้นเชื้อวงศ์มานานแล้ว สมัยแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เจ้าฟ้าพรกรุงเก่า สมิงทอและพระยาทะละ คิดกบฏแข็งเมืองตั้งรามัญประเทศขึ้นเป็นเอกราชโดยมีเมืองหงสาวดีเป็นศูนย์กลาง ได้ชัยชนะและจับเจ้าแผ่นดินพม่ามาขังไว้ที่เมืองหงสาวดี อองไจยะบ้านนายมุกโชโบซึ่งเป็นมังลองมาตีเมืองหงสาได้จึงได้แก่ พรานผู้ซึ่งยิงหงส์ตาย ฝ่ายกรมพระราชวังบวรพระองค์ที่ 1 เมื่อครั้งยังเป็นพระยาสุรสีห์ ผู้สำเร็จราชกาลเมืองพิษณุโลก พวกพม่าเรียกกันว่า พระยาเสือ (หน้า 101-102)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

เมงกับมอญ พวกมอญโบราณเรียกตัวเองว่า เรมญ (จารึกมอญ พ.ศ. 1644-1645) ต่อมากลายเป็น รมน ไทยรับมาใช้ในรูปของอักษรเป็น รามัญ แต่มอญเองออกเสียง รมน ในรุ่นหลังกร่อนเป็น ห-ม่อน หรือ ม่อน ไทยจึงเรียกตามภาษาปากอีกคำหนึ่งว่า มอญ ไททางล้านนาและล้านช้าง ออกเสียง ญ สะกดเป็นแม่กงเสียส่วนใหญ่ คำสระอะที่มี ญ สะกด จะออกเสียงเป็นสระเอที่มี ง สะกด จะเห็นได้จากวรรณคดีล้านนาและล้านช้าง เช่น บัญชร เป็น เบ็งชร คำ รามัญ จึงเป็น รเมง กร่อนเหลือ เมง เพราะไม่มีเสียง ร ในภาษาไตเหนือและล้านช้าง มอญ - เตลง - รามัญ มอญเรียกตัวเขาเองว่า "โม่น" เขียนมน พม่าก็มีคำเรียกคล้ายอย่างนี้ เขียน มอน ออกเสียงมุ่น แต่ส่วนมากเรียก ตไลง (เสียง ไอมี ง สะกด) คำนี้คงเป็นคำเดียวกับเตลงมอญเขียนตเลง ออกเสียง ตลอญ มอญเชื่อว่าคำเต็มคงเป็น อิต๊ะลอญ พม่าคงได้ยินคำนี้เป็น ตไลง จึงนำมาใช้เป็นคำเรียกชนชาติมอญ หรืออาจสันนิษฐานได้ว่าคำว่า เตลง เป็นคำที่ได้จาก ตลิงคะนะ อันเป็นเชื้อชาติของคนที่มาจากดินแดนตลิงคะนะ ส่วนคำรามัญ เชื่อกันว่าเป็นชื่อประเทศบ้านเมืองอันเป็นที่อยู่ของมอญเรียกเต็ม ๆ ว่ารามญญเทส คือประเทศของราม คงเป็นชื่อที่ชาวฮินดูตั้งไว้แต่เดิมเมื่อชนชาติมอญเข้ามาอยู่จึงเรียก รามัญเทส ไปด้วย เดิมมีอยู่ 3 แคว้นคือ หริภุญชัย ทวารวดีและสะเทิม แต่ภายหลังหมายถึงเมือง พะโค พะสิมและเมาะตะมะ (หน้า 108 - 110) พอจะกำหนดได้ว่า "มอญ" คือชื่อที่เจ้าของเชื้อชาติเรียกตัวเอง "เตลง" เป็นชื่อที่พม่าหรืออาจจะมีชาติอื่นเรียกลส่วน "รามัญ" เชื่อกันว่าน่าจะเป็นชื่อของถิ่นที่อยู่เพราะคำเต็มควรเป็น "รามัญเทส" คือดินแดนของรามัญหรือดินแดนของราม

Social Cultural and Identity Change

ปัจจุบันไม่ค่อยมีพิธีแห่นางแมวขอฝน และมิได้ทำการแคะขนมครกประกอบพิธีที่ต้นโพธิ์กลางทุ่งนา เนื่องจากต้นโพธิ์ถูกตัดเพราะเป็นจุดผ่านและตั้งเสาไฟฟ้าแรงสูง (หน้า 127) ปัจจุบันการเรียน อ่าน-เขียนภาษามอญของเด็กชายชาวบ้านม่วงลดลงและมักเรียนตอนเย็นหลังโรงเรียนเลิกและไม่ค่อยอยู่ประจำ ปัจจุบัน สภาพแวดล้อมเริ่มเปลี่ยนแปลง การคมนาคมทางบกสะดวกขึ้นทำให้ชาวบ้านม่วงรุ่นใหม่เดินทางออกไปศึกษาและทำงานที่อื่นมากขึ้น จึงเหลือแต่ผู้เฒ่าผู้มีอายุอยู่ คนรุ่นใหม่จึงเคร่งครัดในพระพุทธศาสนาน้อยลง (หน้า 128 -129)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

- แผนที่แสดงที่ตั้งหมู่บ้านมอญลุ่มน้ำแม่กลอง (หน้า 8 - 9) - แผนที่วัดม่วงและพิพิธภัณฑ์ (หน้า10-15) - พ่อค้าชาวอินเดียและพระเกศธาตุ (หน้า 16) - พุทธทำนายเรื่องหงส์คู่เล่นน้ำ (หน้า 18) - แผนที่แสดงเมืองต่างๆ ในสุวรรณภูมิ (หน้า 20) - แผนที่แสดงภูมิประเทศและขอบเขตเมืองยุครามัญเทศ (หน้า 22) - แผนที่แสดงเมืองสำคัญยุคผู้ชนะสิบทิศ (หน้า 24) - เจดีย์ชเวดากอง (หน้า 26) - พระมุเตา (หน้า 29) - ความเป็นมอญ (หน้า 30) - พระพุทธศาสนา(ชาดกพระเจ้าห้าร้อยชาติ) (หน้า 32) - ประเพณี 12 เดือน (หน้า 34) - ภาษามอญในจารึก (หน้า 36) - มอญอพยพ 9 ระลอก (หน้า 38 - 41) - การกระจายตัวมอญในไทย (หน้า 42) - ผู้นำทางวัฒนธรรม (หน้า 4) - พระเจ้าอโนรธา (หน้า 46) - อานันทวิหาร (หน้า 48) - มะกะโท (หน้า 50) - พระเจ้าราชาธิราช (หน้า 53) - บุเรงนอง (หน้า 54) - หลวงพ่ออุตตมะ (หน้า 56) - พระครูวรธรรมพิทักษ์ (หน้า 58) - คลังศิลปะและโบราณวัตถุ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดม่วง (หน้า 67) - กล่องไม้แกะรูปกวางหมอบ สมบัติของหลวงปู่เข็ม อดีตเจ้าอาวาสวัดม่วง (หน้า 68) - แผ่นไม้ประกับคัมภีร์ (หน้า 69) - แผ่นคัมภีร์ ฝีมือช่างมอญสมัยรัตนโกสินทร์ได้รับอิทธิพลจากจีนและมุสลิม,แผ่นคัมภีร์และไม้ประกับคัมภีร์ รูปลายทองสัตว์หิมพานต์สมัยอยุธยาตอนปลายราวครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ 23 (หน้า 70) - หีบคัมภีร์ เขียนหรือระบายสี ฝีมือช่างพื้นบ้านได้รับอิทธิพลจากตะวันตก (หน้า 71) - หีบคัมภีร์, ไม้ไผ่ห่อคัมภีร์ (หน้า 72) - ผ้าฝ้ายพิมพ์ลายห่อคัมภีร์จากต่างประเทศ,ผ้าฝ้ายพิมพ์ลายห่อคัมภีร์สมัยรัตนโกสินทร์(หน้า73) - ผ้าฝ้ายห่อคัมภีร์จากต่างประเทศ,ผ้าฝ้ายพิมพ์ลายห่อคัมภีร์จากอินเดีย (หน้า 74) - ผ้าฝ้ายทอพื้นบ้านห่อคัมภีร์ของชาวบ้านม่วง (หน้า 75) - พระบฏ ตอนพระบรมศพของพระพุทธเจ้าในหีบทอง (หน้า 76) - พระบฏ ตอนพระพุทธองค์เสด็จสู่ปรินิพพานใต้ต้นรังคู่ (หน้า 77) - หงส์อาสน์ สลักไม้ ฝีมือช่างมอญ - พม่าเมื่อราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 25 (หน้า 78) - สิงห์อาสน์ สลักไม้ ฝีมือช่างมอญ พม่า (หน้า 79) - เครื่องปั้นดินเผาสมัยอยุธยา พบในแม่น้ำแม่กลอง บริเวณหน้าวัดม่วง (หน้า 80) - แผนที่เก่าแสดงของเขตของรามัญประเทศ (หน้า 81) - หงส์ทอง 2 ตัว รูปปั้นสัญลักษณ์เมืองหงสาวดี(พะโค)ในพม่าทุกวันนี้ (หน้า 98) - แม่น้ำแม่กลอง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี (หน้า114) - แผนที่ประเทศไทยแสดงให้เห็นเส้นแม่น้ำสำคัญ (หน้า 117) - แผนที่แสดงแม่น้ำแควน้อย แม่น้ำแควใหญ่และแม่กลอง (หน้า 118) - คัมภีร์ใบลานของวัดม่วงที่อายุเก่าแก่ที่สุดคือหมายเลข 321 พระปริตรร(12 ตำนาน) "ศักราช1000 เดือน 6 แรม 5 ค่ำจารเสร็จเมื่อตะวันบ่าย", นายจวน เครือวิชฌยาจารย์ นักปราชญ์แห่งบ้านม่วง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี (หน้า 131) - เสาเอกที่มอญนับถือและไหว้ผีบรรพบุรุษ, ศาลต้นโพธิ์กลางหมู่บ้านบ้านม่วง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี (หน้า 132) - เรือนของมอญบ้านม่วง (หน้า 133) - วัดม่วง,ลำน้ำแม่กลอง หน้าวัดม่วง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี (หน้า 134) - แผนที่มณฑลราชบุรี (หน้า 135) - แผนที่เส้นทางรถไฟเลียบลำน้ำแม่กลอง (หน้า 136) - แผนที่แสดงวัดและชุมชนริมแม่น้ำแม่กลองตั้งแต่บ้านโป่ง - โพธาราม (หน้า 137) - แผนที่แสดงวัดและชุมชนบริเวณบ้านเจ็ดเสมียนและใกล้เคียง (หน้า 138) - แผนที่จังหวัดราชบุรี (หน้า139) - แผนที่แสดงบริเวณบ้านโป่งถึงวัดเจ็ดเสมียน (หน้า140) - แผนที่แสดงที่ตั้งเมืองด่านตะวันตกรามัญ 7 เมือง ในเมืองกาญจนบุรี (หน้า 141)

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 25 เม.ย 2548
TAG มอญ, ประวัติศาสตร์, สังคม, วัฒนธรรม, ราชบุรี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง