สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject มอญปี่,พาทย์-มอญรำ,นาฏศิลป์, ความนิยม,นนทบุรี
Author ไพโรจน์ บุญผูก
Title ปี่พาทย์-มอญรำ ความอลังการแห่งคีต-นาฏกรรมที่เรืองรุ่งและดำรงอยู่ในจิตวิญญาณของความเป็นมอญ
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity มอญ รมัน รามัญ, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 12 Year 2537
Source สยามอารยะ ปีที่2 ฉบับที่23 พฤศจิกายน 2537 (หน้า 43-53)
Abstract

วงปี่พาทย์มอญและรำมอญใช้บรรเลงหรือรำเฉพาะงานศพเท่านั้น แต่ในความจริงแล้วสามารถบรรเลงได้ทั้งงานมงคลและงานอวมงคล ปัจจุบันวงปี่พาทย์มอญเหลืออยู่เพียงไม่กี่คณะและลดความนิยมลงเนื่องด้วยกระแสโลกาภิวัตน์ที่เปลี่ยนทิศทางของวัฒนธรรมไทยให้เบ่งบานในรูปแบบตะวันตกมากขึ้น ส่งผลให้ปี่พาทย์มอญเปลี่ยนแปลงเช่นกัน

Focus

ปี่พาทย์-มอญรำ ข้อสันนิษฐาน ที่มาและค่านิยม

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

มอญ

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ไม่มีข้อมูล

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

มีการถ่ายทอดวิชาการหัดรำมอญแก่ทายาทและผู้สนใจ จากรุ่นสู่รุ่น (หน้า 49)

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

เปิงมาง มีลักษณะเป็นกลองเล็กๆ แขวนในแนวตั้งรอบตัวผู้ตี ผู้บรรเลงจะตีกลองเปิงมางด้วยมือทั้งสองอย่างรวดเร็ว พร้อมกับออกท่าทาง ไกวแขน โยนมือ โยกตัวอย่างสนุกสนาน ในงานวัดหรืองานบรรเลงประกอบการรำผี บรรดาหนุ่มสาวจะร่วมสนุกกับวงปี่พาทย์มอญ อย่างครึกครื้น โดยเข้ามาร่วมตีไม้ไผ่ที่วางทอดยาวลำหนึ่งหรือหลายลำ ใช้ไม้เล็กตีบนลำไม้ไผ่ตามจังหวะพร้อมกับออกเสียงลูกล้อลูกขับ(หน้า 45) การรำมอญ แต่งกายในชุดนุ่งซิ่นกรอมเท้า สวมเสื้อแบบมอญ พร้องสไบและเกล้าผมมวยรัดเกล้าแบบมอญ ก่อนรำผู้รำจะกราบเสียก่อน ผู้รำจะเหยียดมือทั้งสองออกรำในท่านิ่งอยู่กับที่ จะเน้นท่าทีที่สง่า หลังตรงแต่อ่อนช้อยยามร่ายรำ การเยื้องกรายก้าวเท้าของการรำมีลักษณะย่างก้าวไปข้างหน้าเฉียงออกด้านข้างและโย่งเท้า ผู้รำมอญจะหันหน้าล้อมกันเป็นวงชุดหนึ่งราว 4 หรือ 6 คน เมื่อปี่พาทย์เริ่มบรรเลง ผู้รำจะย่อเท้าลงไปทางด้านข้างพองามทั้งด้านซ้ายและขวาจากนั้นจึงขึ้นท่ารำ เมื่อจะเปลี่ยนเป็นท่ารำต่อไป ผู้รำจะลดมือลงแนบตัวและจะเปลี่ยนท่ารำต่อไป (หน้า 48)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

การใช้เท้าและการทอดตัวของรำมอญ มีลักษณะคล้ายกับการฟ้อนเล็บของชาวล้านนา ต่างกันเพียงใช้เล็บฟ้อนและท่ารำของล้านนามีน้อยกว่ามอญรำ (หน้า 48)

Social Cultural and Identity Change

วงปี่พาทย์มอญใช้บรรเลงได้ทั้งงานมงคลและงานอวมงคล คนไทยในสมัยปัจจุบันยึดถือกันว่า ปี่พาทย์มอญใช้บรรเลงได้แต่งานศพเท่านั้น (หน้า 44) สมัยก่อนผู้บรรเลงปี่พาทย์มอญมีแต่คนรามัญเท่านั้นแต่สมัยหลังต่อมานักดนตรีปี่พาทย์ไทยได้เริ่มเรียนเพลงมอญและสร้างเครื่องปี่พาทย์มอญกันมากขึ้นสมัยนี้จึงมีผู้บรรเลงปี่พาทย์มอญทั้งรามัญและไทย (หน้า 46) งานศพปัจจุบันเรียบง่าย ประหยัดและเน้นการประทะสังสรรค์มากกว่าที่จะอนุรักษ์ขนบดั้งเดิมซึ่งมีค่าใช่จ่ายสูง (หน้า 50-51)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

- มอญรำ ส่วนใหญ่จะรำในงานศพ(43) - การรำมอญ,วงปี่พาทย์มอญ(44) - ก่อนรำมอญผู้รำจะกราบเสียก่อน(46) - บางครั้งจะสอนให้เด็กคุ้นเคยกับการรำมอญแต่เล็กๆ(47) - หนึ่งในกระบวนท่ารำที่แสดงลักษณะความเป็นมอญโดยแท้(48) - นางมะลิ วงศ์จำนงค์ ครูมอญรำอาวุโสแห่งบ้านเกาะเกร็ด(49) - ขณะถ่ายทอดการรำมอญแก่เด็กเล็ก(50) - การรำมอญ (51) - วงทะแยมอญ(52) - ซอมอญเหลืออยู่เพียง 2-2 คันเท่านั้นในเมืองไทยและผู้บรรเลงก็ใกล้สูญสิ้นหมดแล้ว เราะอายุมากขึ้นทุกที(53)

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 09 พ.ค. 2556
TAG มอญปี่, พาทย์-มอญรำ, นาฏศิลป์, ความนิยม, นนทบุรี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง