สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject มอญ,อพยพ,ด่านเจดีย์สามองค์,ประวัติศาสตร์,กาญจนบุรี
Author จำลอง ทองดี
Title ด่านเจดีย์สามองค์
Document Type หนังสือ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity มอญ รมัน รามัญ, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 116 Year 2540
Source บริษัทเคล็ดไทย, กรุงเทพฯ,2540
Abstract

โอกาสที่จะได้สัมผัสกับคนมอญและแผ่นดินมอญแทบจะไม่มีเพราะสหภาพพม่าได้กำหนดให้เมืองมอญเป็นเมืองปิดแต่จะรับรู้เพียงข่าวคราวจากพระสงฆ์มอญ แนวคิดที่จะแยกมอญออกมาจากการปกครองของพม่ามีโอกาสน้อยมาก เพราะมอญขาดผู้นำขาดการพัฒนาและฟื้นฟูชนชาติ แต่ที่ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ภาษามอญจนทุกวันนี้ได้เพราะพระสงฆ์มอญและวัดมอญยังพึ่งพิงได้ ปัญหาที่เกิดจากการกดขี่ข่มเหงและการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนที่ผ่านมานั้นเป็นผลของระบอบการปกครองของพม่าที่มีมาทั้งในอดีตและปัจจุบัน (หน้า 14) ดร.นาย ปัน ละ เสนอข้อคิดเห็นว่า น่าจะมีการรื้อฟื้นเส้นทางรถไฟระหว่างกรุงเทพฯ กับย่างกุ้งได้โดยอาศัยเส้นทางรถไฟสายมรณะโดยขอความร่วมมือจากญี่ปุ่นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศและด้านเศรษฐกิจ การยึดเมืองมอญคืนจากพม่า น่าจะเป็นการยึดพื้นที่ทางเศรษฐกิจในแผ่นดินมอญมากกว่า คนมอญคงจะได้เมืองคืนโดยเหตุผลทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและการศึกษามากกว่าที่จะจับอาวุธขึ้นมาทำสงครามในยุคของการแข่งขันทางเศรษฐกิจการค้าและเทคโนโลยี มอญคงไม่สูญชาติและเผ่าพันธุ์ ตราบเท่าที่ยังมีความเชื่อในพระพุทธศาสนา (หน้า 42)

Focus

ประวัติศาสตร์มอญที่มีความสัมพันธ์กับด่านเจดีย์สามองค์

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

มอญ

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

พ.ศ. 2540 (1997)

History of the Group and Community

ดินแดนลุ่มเจ้าพระยาเคยเป็นถิ่นที่อยู่ของมอญ-เขมรมาก่อนอย่างน้อยที่สุด อาณาจักรทวารวดีก็เคยมีมอญเป็นผู้เผยแพร่วัฒนธรรมและพระพุทธศาสนา (หน้า 5) การอพยพของคนมอญเข้าสู่เมืองไทยสามารถแบ่งได้เป็น 3 ยุคมีทั้งหมด 9 ครั้งได้แก่ สมัยอยุธยา 6 ครั้ง สมัยกรุงธนบุรี 1 ครั้งและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 2 ครั้ง (หน้า 17) การอพยพครั้งใหญ่ที่สุดคือในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มอญอพยพเข้าทางด่านพระเจดีย์สามองค์มากถึง 30,000 คน หัวหน้ามอญครั้งนั้นคือสมิงสอดเบา (หน้า 22) ได้อพยพมาตามเส้นทางที่ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สร้างทางรถไฟสายมรณะ (หน้า 27)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

จากสถิติประชากรที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติมอญ (MNU) รวบรวมเมื่อปี ค.ศ. 1983 พบว่า ในตอนเหนือ มีประชากรมอญเป็น ชาย 1,888,105 คน หญิง 1,912,135 คน ในตอนกลาง ชาย 832,980 คน หญิง 849,061 คน ในตอนใต้ ชาย 461,062 คน หญิง 456,566 คน รวมทั้งสิ้น 6,399,909 คน ซึ่งทั้งหมดอยู่ในประเทศเมียนมาร์ (หน้า 8) ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับมอญที่ด่านเจดีย์สามองค์

Economy

มอญตอนบนมีอาชีพหลัก คือ ทำไร่ ทำนา ทำไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งปัจจุบันมีถึง 72 โรงมอญภาคกลางโดยมากมีอาชีพทางการเกษตร มีข้าวเป็นพืชหลัก สวนยางพารา ขุดแร่และจับปลาทะเล ขุดแร่ อุตสาหกรรมป่าไม้และมีโรงงานอุตสาหกรรมมากกว่า 29 แห่ง มอญตอนล่างมีอาชีพคล้ายคลึงกับภาคอื่นๆ และเป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติมหาศาล (หน้า 10-13)

Social Organization

ไม่ระบุชัดเจน กล่าวเพียงว่ามอญเป็นชาติที่รักสงบ (หน้า23) สหภาพพม่ากำหนดให้เมืองมอญเป็นเมืองปิด (หน้า 14)

Political Organization

พื้นที่ที่พรรคมอญกำหนดเป็นแผ่นดินมอญประกอบด้วย 5 จังหวัดได้แก่ เมาะละแหม่ง สะเทิม พะโค มะริดและทะวาย มอญภาคเหนือมี 28 อำเภอ ภาคกลางมี 10 อำเภอและภาคใต้มี 10 อำเภอ (หน้า 8) แต่ในบริเวณด่านเจดีย์สามองค์ก็มีมอญใหม่ เข้ามาอยู่จำนวนมากเพราะหลบหนีอำนาจพม่า แต่ก็ยังมีการสู้รบกับพม่าหรือกับกระเหรี่ยงคริสต์ เช่น ในวันที่ 24 มิถุนายน 2541 และรบกับทหารพม่าในเดือนกุมภาพันธ์ 2533 เป็นต้น (หน้า 63-70)

Belief System

มอญเป็นพุทธศาสนิกชนที่เคร่งครัด (หน้า 5) วันชาติมอญตรงกับวันแรม 1 ค่ำเดือน 3 ราวเดือนกุมภาพันธ์ (หน้า 47) กลุ่ม KNU ถือว่า กระเหรี่ยงอยู่ที่ไหนก็ตาม ตรงนั้นคือแผ่นดินของกระเหรี่ยง บรรดาแกนนำของกลุ่ม เค-เอ็น-ยูเป็นกระเหรี่ยงนับถือศาสนาคริสต์ทั้งหมด ส่วนกระเหรี่ยงที่นับถือพุทธถือว่าเป็นพวกมีปมด้อย เพราะไม่เชื่อในพระเจ้า (หน้า 51)

Education and Socialization

มอญจะฝากลูกฝากหลานให้เรียนหนังสือกับพระสงฆ์ (หน้า 5)

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

พระเจดีย์กลางน้ำเมืองเจตกามิ ตามตำนานเล่าว่า โลกนี้มีพระพุทธรูปลอยน้ำ 3 องค์ องค์แรก คือ องค์ที่เจตกามิ ปัจจุบันไม่สามารถอัญเชิญขึ้นฝั่งได้ พุทธบริษัทจึงสร้างเจดีย์ไว้กลางน้ำ พระพุทธรูปองค์ที่ 2 ลอยไปขึ้นฝั่งที่เมืองทะวาย ส่วนองค์ที่ 3 คือ "พระพุทธโสธร" ที่ลอยเข้ามาในแม่น้ำบางปะกง (หน้า 58)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

กลุ่มคนที่กู้แผ่นดินไทยได้สำเร็จ มิใช่มีแต่คนไทยแท้ๆ เท่านั้น หากแต่เป็นคนไทยเชื้อสายจีน เชื้อสายมอญและเชื้อสายอื่นๆ(หน้า 75) สมัยโบราณ กองทัพไทยเคยใช้มอญเป็นกองสอดแนมตามแนวชายแดน อาจเรียกได้ว่าเป็นหน่วยสืบราชการลับของไทยก็ว่าได้ (หน้า 45)

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

- พ.ต.ปะโกมาน(กลาง)กับกองกำลังทหารมอญ MNDAที่ตะนาวศรี(12)
- ผู้หญิงและเด็กมอญอพยพ ณ ลำห้วยที่ฮะรอกนี(15)
- แผนที่แผ่นดินเมืองมอญในอดีต(16)
- ค่ายทหารมอญ(M.N.L.A.)ที่น้ำเกิ๊ก,ใกล้ด่านเจดีย์สามองค์(17)
- อนุสาวรีย์นักรบพม่า นักรบชายลับมีดดาบฯ(21)
- พลเอกเกรียงศักดิ์ ชะมะนันท์ อดีตนายกรัฐมนตรีเชื้อสายมอญ(23)
- หัวรถจักรไอน้ำสมัยสงครามญี่ปุ่นอนุรักษ์ไว้เตือนใจลูกหลาน ส่วนหนึ่งของอนุสรณ์สถานเมืองสบปุ๊ ภาคใต้ของสหภาพพม่า(28) - ดร.นาย ปัน ละ(36)
- ชาวบ้านมอญ ณ จุดสุดสายทางรถไฟ103กิโลเมตรจากด่านเจดีย์สามองค์(43)
- หนุ่มสาวชาวมอญ ที่น้ำตกเกริงทอ(หลังวันชาติมอญ แรม 1 ค่ำเดือน 3)(46)
- แผนที่สหภาพพม่าหรือเมียนมาร์แสดงส่วนที่เป็นแผ่นดินมอญในอดีตและปัจจุบัน(49)
- แผนที่อัปยศของสาธารณรัฐกอธูเลย์(50)
- พระเจดีย์กดลางน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ที่เจตกามิ หรือ Amherst(56)
- การลงนามในสัญญาพัฒนารัฐมอญ ระหว่างบริษัท รามัญญะ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดโดยท่านประธาน ส่วยเจ้น กับประธานกรรมการของบริษัท พาวเวอร์-พี จำกัดที่กรุงย่างกุ้ง(กันยายน 2539)(62)
- ผู้เขียนกับสหายเก่า พล ท.ทอม่อน(กลางปี 2539)(67)
- พิธีศพนายโนนลาได้ถูกจัดขึ้นอย่างสมเกียรติ์ของชายชาติรักรบฯ(70) - รีสอร์ท เจดีย์สามองค์(84)
- พระครูสาครกิจโกศล(พระอาจารย์จ้อน)(85) นายสเวจินถวายของหลวงพ่ออุตตมะ ณ เจดีย์สามองค์(89)

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 07 พ.ค. 2556
TAG มอญ, อพยพ, ด่านเจดีย์สามองค์, ประวัติศาสตร์, กาญจนบุรี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง