สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject พวน ไทยพวน ไทพวน,ความสำนึกในชาติพันธุ์,นครนายก
Author ปิยะพร วามะสิงห์
Title ความสำนึกในชาติพันธุ์ของลาวพวน
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทยพวน ไทพวน คนพวน, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 97 Year 2538
Source หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา ภาควิชามานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract

คนพวนในอำเภอปากพลีมีเอกลักษณ์ชาติพันธุ์ที่ซับซ้อนอยู่ 2 ระดับคือ ระดับที่เป็นคนไทยและระดับที่เป็นคนพวนควบคู่กันไป ความสำนึกในชาติพันธุ์ของลาวพวนจะมีผลต่อสังคมโดยการเกิดการรวมตัวของลาวพวนในท้องถิ่นและต่างถิ่น อันก่อให้เกิดการช่วยเหลือระหว่างลาวพวนด้วยกันมากขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลต่อสังคมส่วนรวมโดยก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างลาวพวนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐอีกด้วย

Focus

นำเสนอ ความสำนึกในชาติพันธุ์และการรักษาไว้ซึ่งความสำนึกในกลุ่มชาติพันธุ์ของลาวพวนในอำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก

Theoretical Issues

ผู้เขียนพบว่า คนพวน ที่อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก มีความสำนึกชาติพันธุ์ใน 2 ระดับ คือ ระดับที่เป็นคนไทย และที่เป็นคนพวนควบคู่กันไป (หน้า 51) โดยแสดงออกให้เห็นในภาษาพูด การประกอบประเพณี และพิธีกรรมที่มีลักษณะเฉพาะเป็นของพวน เช่น กำฟ้า บุญข้าวหลาม และที่เป็นของไทยแสดงออก ให้เห็นจากการแต่งงาน การปลูกสร้างบ้านเรือน และการใช้ภาษาไทยกลาง ความเป็นพวน มิใช่เป็นเครื่องมือในการรักษาผลประโยชน์ หรือ ทำให้มีโอกาสมากขึ้นอย่างที่ Cohen (1974) ได้เสนอแนวคิดไว้ เพราะลาวพวนสามารถเป็นคนไทยได้ และมีโอกาสดังกล่าวอย่างสมบูรณ์เช่นกัน (หน้า 51) คนพวนจึงไม่มีพรมแดนชาติพันธุ์ แต่ไม่ได้หมายความว่าขาดจิตสำนึกทางชาติพันธุ์ ซึ่งได้รับถ่ายทอดจากบรรพบุรุษผ่านเรื่องเล่าต่าง ๆ ซึ่งในบางครั้งก็เกี่ยวกับความรู้สึกที่กลัวคนไทยเมื่อในอดีต

Ethnic Group in the Focus

ลาวพวน อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาไทยและภาษาพวน (หน้า 58)

Study Period (Data Collection)

พ.ศ. 2538 (ค.ศ.1995)

History of the Group and Community

ลาวพวนที่บ้านปากพลี อพยพมาจากแขวงเมืองเชียงขวาง เมืองพวน ลาวพวนใน อำเภอปากพลีมีทั้งอพยพเข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีหลายหมู่บ้านที่เอาชื่อบ้านเกิดเมืองนอนในแขวงเมืองเชียงขวาง เมืองพวนมาตั้งเป็นชื่อบ้านด้วย(หน้า 11-12) อำเภอปากพลี เดิมชื่อว่าอำเภอปู่งไร่ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2436 ในปีพ.ศ. 2448 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอหนองโพธิ์และย้ายที่ว่าการอำเภอไปอยู่ที่บ้านท่าแดง อำเภอเขาใหญ่เพราะท้องที่ได้ครอบคลุมถึงเขาใหญ่ เหตุที่ชื่อปากพลีนั้นเดิมสมัยก่อนประชาชนสัญจรทางเรือและบริเวณปากคลองยาง ในฤดูน้ำหลากน้ำจะหมุนวนเชี่ยว เรือที่ผ่านไปมามักจะล่มได้รับอันตราย ดังนั้นประชาชนจึงร่วมใจสร้างศาลขึ้นเพื่อทำ "พลี" หรือพลีกรรมอยู่ที่ปากคลองจึงเรียกชื่อคลองบริเวณนั้นว่า "คลองปากพลี" และใช้ชื่อเรียกหมู่บ้านและตำบลปากพลีเป็นต้นมา ในปี พ.ศ. 2457 มีกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่จึงใช้ชื่ออำเภอปากพลีเป็นชื่อทางราชการ (หน้า 14)

Settlement Pattern

พวนนิยมสร้างบ้านอยู่ใกล้ ๆ กันเป็นคุ้มในหมู่เครือญาติที่อพยพมาด้วยกัน และที่ขาดมิได้คือ การสร้างวัดเพื่อเป็นศูนย์กลางในการพบปะและทำบุญตามประเพณีพื้นบ้าน (หน้า 12,15) เรือนของพวนสมัยก่อนเป็นเรือนสูง ใต้ถุนเรือนใช้ทำประโยชน์ได้หลายอย่าง ตัวเรือนทำด้วยไม้และไม้ไผ่ จำนวนห้องขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละครอบครัว แต่ปัจจุบันนิยมสร้างบ้านสมัยใหม่ (หน้า 15)

Demography

อำเภอปากพลีมีประชากรทั้งสิ้น 26,994 คน เป็นชาย 13,324 คน เป็นหญิง 13,670 คน สำหรับประชากรพวนในอำเภอสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2534 มีจำนวนประมาณ 14,000 คนโดยมากอยู่อำเภอเกาะหวาย (หน้า 16)

Economy

ชาวบ้านโดยมากมีอาชีพการเกษตร เช่น ทำนา ทำสวน เช่น ปลูกไผ่ตง ทำสวนผลไม้ ถั่วเหลืองและพืชหลังฤดูการเก็บเกี่ยว อาชีพอื่นเช่น ค้าขาย บ้างก็ทำงานที่กรุงเทพฯ มีอุตสาหกรรมในครัวเรือนบ้างเล็กน้อยคือ การทำไม้กวาด (หน้า 18)

Social Organization

ชาวบ้านในอำเภอปากพลีโดยทั่วไปเป็นผู้มีนิสัยใจคอสุภาพ อ่อนโยน มีความเป็นอยู่อย่างง่าย ๆ และมีความสัมพันธ์ฉันญาติพี่น้องและความเป็นเครือญาติ ความเกี่ยวดองนั้นสืบเนื่องจากการเป็นลูกหลานของบรรพบุรุษที่สืบเชื้อสายมาจากต้นตระกูลเดียวกัน (หน้า 18-19)

Political Organization

อำเภอปากพลี แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 ตำบล 51 หมู่บ้าน สุขาภิบาล 1 แห่งคือสุขาภิบาลเกาะหวาย และมีสภาตำบล 7 แห่ง (หน้า 18)

Belief System

ความเชื่อในชุมชน คนพวนมีความเชื่อเรื่องผีโดยเฉพาะผีประจำหมู่บ้าน ทุกหมู่บ้านจะต้องมี "ศาลปู่ตา" เชื่อว่าเป็นผู้รักษาหมู่บ้านและลูกบ้านจะสร้างไว้ทางทิศตะวันออกหรือทิศเหนือของหมู่บ้าน พวนจะมีพิธีเลี้ยงผีปู่ตาในเดือน 6 ของทุกปี นอกจากนี้ พวนยังมีความเชื่อในฮีต 12 คอง 14 ซึ่งเป็นคล้ายธรรมเนียมที่บรรพบุรุษพวนสั่งสอนลูกหลานให้ประพฤติปฏิบัติ เช่น ประเพณีกำฟ้า เป็นต้น คนพวนที่นี่มีความศรัทธายึดมั่นในพุทธศาสนา เห็นได้จากวัดวาอารามจำนวนมากตลอดจนการทำบุญในวาระต่าง ๆ ได้เข้าไปอยู่ในข้อกำหนดของคนลาวพวนในฮีต 12 คอง 14 โดยมีคำสั่งสอนที่เน้นการปฏิบัติตนอ่อนน้อมและหมั่นทำบุญทำทาน (หน้า 19-20) ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต - การเกิด การทำคลอดหมอตำแยจะตัดสายสะดือด้วยผิวไม้รวก ตัดแล้วจะต้องใส่กระบอกไม้ไผ่ เอาเกลือโรยเล็กน้อยแล้วนำไปฝังดินเชิงบันไดบ้าน หลังจากนั้นจะมีการโกนผมไฟ - การแต่งงาน พิธีแต่งงานที่นี่จะต้องมีพิธีกินดองด้วย คือก่อนถึงวันแต่งหนึ่งวันฝ่ายเจ้าบ่าวจะต้องไปบ้านเจ้าสาวเพื่อทำพิธีเซ่นสรวง วันเดียวกันนั้นฝ่ายหญิงจะไปบ้านเจ้าบ่าวเพื่อให้ผูกข้อมือและทำขวัญเช่นเดียวกัน - ประเพณีเกี่ยวกับการตาย คนพวนในอดีตมีข้อห้ามว่าถ้าผู้นั้นตายโหง ตายท้องกลม ตายด้วยโรคห่า โบราณท่านว่าห้ามนำศพขึ้นบ้าน ต้องนำไปฝังโดยเร็วที่สุด การอาบน้ำศพจะทำเฉพาะคนธรรมดาเท่านั้น ในสมัยก่อนยังไม่มีการสร้างเมรุจึงต้องตั้งกองฟอนหรือเชิงตระกอนขึ้นเองแล้วเผาพร้อม ๆ กับโลง (หน้า 22-24) ประเพณีของลาวพวนอำเภอปากพลีในรอบปี ที่ยังคงปฏิบัติในปัจจุบัน - ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว ประเพณีทานข้าวเม่าบุญข้าวเม่า ทำกันเดือนอ้ายข้างแรมไม่กำหนดแน่นอน ประเพณีนี้เป็นการรับขวัญข้าวที่กำลังออกรวง ประเพณีบุญข้าวหลาม แต่เดิมทำเพื่อให้คนเดินป่าติดตัวไปเป็นอาหารกลางวัน ประเพณีบุญข้าวจี่ ประเพณีกำฟ้า ประเพณีอาบน้ำก่อนกา เพื่อชำระล้างสิ่งสกปรกออกจากร่างกาย ทำกันในวันที่ 13 เมษายนของทุกปี - พิธีสูดเสื้อผ้า เป็นการสวดต่ออายุโดยชาวบ้านจะนำเสื้อผ้าของครอบครัวมาห่อนำไปที่วัด นิมนต์พระสวดเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ - ประเพณีแห่นางแมว จะทำในเดือน 5-6 เพราะฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลจึงต้องแห่นางแมวขึ้นโดยมีความเชื่อว่าแมวเป็นสัตว์กลัวน้ำเมื่อถูกน้ำแล้วจะทำให้เทพยดาเทฝนลงมาให้มนุษย์ - ประเพณีเลี้ยงผีปู่ตาหรือพิธีเลี้ยงบ้าน จะทำในเดือน 6 กลางเดือน 6 ขึ้น 12 ค่ำและแรม 12 ค่ำเดือน 7 ณ ที่ตั้งศาลปู่ตาเพื่อเป็นการเซ่นไหว้สิ่งเคารพบูชาประจำหมู่บ้าน ประเพณีการส่งกระทง ทำขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ - ประเพณีไล่ผีย่าเจียงหรือผีไม่มีญาติ ทำเพื่อไล่ภูตผีปีศาจในวันแรม 5 ค่ำเดือน 9 โดยทำที่บ้านหรือวัดในวันสารทพวน - ประเพณีสารทพวน เป็นการทำบุญในเดือน 9 ขนมประจำเทศกาลคือกระยาสารท วัตถุประสงค์ของการทำขนมกระยาสารทนั้นเชื่อว่ามีคติมาจากพราหมณ์ ซึ่งเห็นข้าวกำลังตั้งท้อง ก็เก็บเอามาทำข้าวมธุปายาสยาคูเพื่อให้เกิดสิริมงคลในนา - ประเพณีทานข้าวเปลือก ทำกันในเดือน 9 โดยชาวบ้านจะนำข้าวเปลือกไปวัดเพื่อถวายพระองค์ละ 1 ถัง - ประเพณีบุญมหาชาติ (บุญพระเวส) จะมีในเดือน 12 พิธีทำบุญลาน เริ่มทำหลังฤดูเก็บเกี่ยว โดยมากกระทำในหมู่ชาวนาที่ทำนาได้มากในปีนั้น เพื่อเป็นการแสดงการขอบคุณต่อแม่โพสพ ประเพณีประสาทผึ้ง ทำเพื่ออุทิศให้แก่ผู้ที่ตายไปแล้วอยู่ในปรโลกและจะทำเมื่อทำบุญครบ 7 วันของผู้ตาย

Education and Socialization

อำเภอปากพลี มีนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยจัดบริการทางการศึกษาให้แก่ประชาชนทั้งในและนอกระบบโรงเรียน มีการฝึกอาชีพให้แก่ประชาชน โดยมีสถานศึกษาคือ โรงเรียนของกรมสามัญศึกษา ระดับมัธยมตอนปลาย 1 แห่ง ครู 65 คน นักเรียน 688 คน โรงเรียนระดับประถมศึกษา 23 แห่ง ครู 215 คน นักเรียน 2,347 คน โรงเรียนเอกชนระดับอนุบาล 2 แห่ง ครู 10 คน นักเรียน 128 คน สมัยก่อนยังไม่มีโรงเรียน สถาบันครอบครัว วัด และชุมชนเป็นสถานที่ให้การศึกษาเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต ครอบครัวเป็นสถาบันแรกที่ให้การศึกษาเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต วัดเป็นสถานที่ให้การศึกษาทางธรรม (หน้า 17)

Health and Medicine

เมื่อการแพทย์สมัยใหม่และสถานพยาบาลยังมิได้เข้ามามีบทบาทต่อชุมชนเมื่อมีอาการเจ็บไข้จะใช้ยาสมุนไพรต้มหรือบดรับประทานถ้ามีอาการมากก็เชิญหมอมาทำการรักษาแต่เนื่องด้วยชาวบ้านมีการเชื่อถือผีสางอยู่บ้างจึงรักษาทางผีสางควบคู่กับการรักษาด้วยสมุนไพรหรือรักษาทางผีสางอย่างเดียวก็มี วิธีทิ้งข้าว เด็กขนาดเล็กที่ยังรับประทานนมแม่อยู่ เมื่อร้องไห้มากจนตัวขดงอปลอบโยนอย่างไรก็ไม่หยุด พ่อแม่ของเด็กจะต้องเรียกหญิงที่เรียกว่าแม่เฒ่ามาทำพิธีทิ้งข้าว แต่ในปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีพิธีนี้แล้ว นอกจากนี้ยังมีการรักษาที่เรียกว่า วิธีเสี่ยงทาย โดยใช้หมอเยาโดยหมอเยาจะเชิญผีต่าง ๆ มาเพื่อทำการเสี่ยงทาย (หน้า 23)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

การทำบุญข้าวจี่ มีเรื่องเล่าว่าในครั้งพุทธกาลมีคนใช้ของเศรษฐีชื่อนางหุณณะ ต้องทำตักน้ำ ตำข้าวทั้งกลางวันและกลางคืน อาหารที่ทำเพื่อรับประทานเองคือข้าวจี่ วันหนึ่งขณะที่ตักน้ำ นางได้พบพระพุทธเจ้าเสด็จผ่านมา นางจึงถวายข้าวจี่แด่พระองค์และพระองค์ได้เสวยต่อหน้านาง ถือว่านางได้บุญมาก ด้วยเหตุนี้ชาวนาเมื่อเก็บเกี่ยวข้าวแล้วจึงทำบุญข้าวจี่สืบต่อกันมา (หน้า 28) ลำพวน เป็นการละเล่นพื้นเมืองของลาวพวนเล่นในเทศกาลสงกรานต์และงานรื่นเริง สถานที่เล่นคือลานบ้านหรือวัดโดยจะมีพ่อเพลงแม่เพลงเป็นผู้ร้องลำพวน สำหรับเนื้อร้องจะเป็นการตอบโต้กันระหว่างหญิงชาย เนื้อหาในทำนองตัดพ้อต่อว่าในความรักที่มีต่อกันหรือร้องจีบกันก็มี (หน้า 33)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ในระยะแรก ลาวพวนจะรวมกันอยู่เฉพาะพวกพ้องของตนและนิยมแต่งงานเฉพาะในกลุ่มชาติพันธุ์ของตน มีการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ตลอดมา ความสำนึกในชาติพันธุ์จึงมีอยู่อย่างครบครัน ต่อมาเริ่มมีการติดต่อกันชุมชนอื่นมากขึ้น เริ่มมีการแต่งงานกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น เช่น คนไทย คนจีนและโซ่ง เนื่องจากการรักความสงบและยึดมั่นในพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกันจึงเป็นเหตุหนึ่งที่สามารถอยู่ร่วมกันได้ ปัจจุบันความสำนึกในชาติพันธุ์ของลาวพวนยังคงอยู่ แต่สิ่งที่กำลังจะสูญหายคือ ภาษาพวน อย่างไรก็ตามสิ่งที่ยังดำรงอยู่คือขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ แต่ก็มีขั้นตอนและรายละเอียดต่างไปจากเดิมเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน ในด้านอาหารการกิน คนพวนจะรับประทานอาหารเช่นเดียวกับคนไทยทั่วไป แต่อาหารที่ใช้ในพิธีกรรมยังแสดงให้เห็นถึงความเป็นพวน เช่น ข้าวปุ๊น ข้าวจี่และปลาร้าซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการประกอบอาหาร ในด้านการประกอบอาชีพและการปลูกเรือนไม่แตกต่างกับคนไทยทั่วไปเนื่องจากสภาวะของสังคมที่เปลี่ยนแปลง สังคมมีความซับซ้อนมากขึ้น ตลอดจนความล่มสลายของสภาพชีวิตในชนบท คนพวนจึงรวมกลุ่มจัดตั้งชมรมไทยพวนสาขาจังหวัดต่างๆ ถึง 18 สาขาจังหวัดโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงเทพมหานคร มีการจัดงานรวมน้ำใจไทยพวนทุกปี เป็นการรวบรวมคนในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันเพื่อสร้างจิตสำนึกและความสามัคคีในหมู่เชื้อสายไทยพวนและนำไปสู่ความสามัคคีของสังคมไทยในส่วนรวม (หน้า 47 - 60)

Social Cultural and Identity Change

เรือนของพวน สมัยก่อนเป็นเรือนสูง ใต้ถุนเรือนใช้ทำประโยชน์ได้หลายอย่าง ตัวเรือนทำด้วยไม้และไม้ไผ่ จำนวนห้องขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละครอบครัวแต่ปัจจุบันสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไปทำให้การปลูกเรือนนิยมสร้างแบบสมัยใหม่ (หน้า 15) การแต่งงาน พิธีแต่งงานที่นี่จะต้องมีพิธีกินดองด้วย คือก่อนถึงวันแต่งหนึ่งวันฝ่ายเจ้าบ่าวจะต้องไปบ้านเจ้าสาวเพื่อทำพิธีเซ่นสรวง วันเดียวกันนั้นฝ่ายหญิงจะไปบ้านเจ้าบ่าวเพื่อให้ผูกข้อมือและทำขวัญเช่นเดียวกัน แต่ปัจจุบันรายละเอียดในพิธีบางประการจะตัดออกไปเนื่องจากเศรษฐกิจและกาลเวลาไม่เอื้ออำนวย (หน้า 22) ในอดีตนั้นเมื่ออาบน้ำศพแล้วจะไม่มีการรดน้ำศพอีก แต่ปัจจุบันมีการพบปะกับกลุ่มต่าง ๆ มากขึ้นจึงต้องเพิ่มการรดน้ำศพเข้าไปด้วย อีกทั้งการเผาศพในอดีตยังไม่มีการสร้างเมรุขึ้นมาในวัดเหมือนปัจจุบัน จึงต้องสร้างกองฟอนหรือเชิงตะกอนขึ้นเองแล้วเผาไปพร้อมๆ กับโลงศพ (หน้า 24) ประเพณีบุญข้าวหลาม แต่เดิมทำเพื่อให้คนเดินป่าติดตัวไปเป็นอาหารกลางวันปัจจุบันประเพณียังคงทำกันอยู่ที่จะเปลี่ยนไปคือ การเตรียมกระบอกไม้ไผ่ สมัยดั้งเดิมชาวบ้านจะตัดลำไผ่มาทำปล้องข้าวหลามเอง แต่ปัจจุบันนิยมซื้อกระบอกข้าวหลามสำเร็จรูปบางบ้านก็เผาเองบ้างก็ซื้อจากแม่ค้าที่ทำไว้ขาย (หน้า 28)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

- แผนที่เส้นทางการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย(13) - คลองท่าแดง วัดท่าแดง อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก(38) - บริเวณคลองท่าแดง ที่ลาวพวนอพยพมาเริ่มแรก(39) - วัดท่าแดง อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก(40) - ศาลเจ้าปู่เจ้าตา วัดท่าแดง(41) - ศาลเจ้าปู่เจ้าตา วัดท่าแดง(42) - สภาพชุมชนลาวพวน(43) - ตลาดสุขาภิบาลเกาะหวาย(44) - ตลาดสุขาภิบาลเกาะหวาย(45) - ศาลปู่ตา วัดเกาะหวายอำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก(61) - ทุ่งนาหลังการเก็บเกี่ยว(62) - ทุ่งนาหลังการเก็บเกี่ยว(63) - ที่ทำการชมรมไทยพวน(64) - ชุมชนลาวพวน(65)

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 27 ก.ย. 2555
TAG พวน ไทยพวน ไทพวน, ความสำนึกในชาติพันธุ์, นครนายก, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง