สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลาวเวียง,ภาษา,มานุษยวิทยาวัฒนธรรม,อุตรดิตถ์
Author กิตติภัต นันท์ธนะวานิช
Title การศึกษามานุษยวิทยาวัฒนธรรมของชุมชนลาวเวียง กรณีศึกษา หมู่บ้านหาดสองแคว ตำบลหาดสองแคว อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลาวเวียง ลาวกลาง, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 307 Year 2545
Source ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาชนบทศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract

วัฒนธรรมชุมชนลาวเวียง หมู่บ้านหาดสองแคว ตำบลหาดสองแคว อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ ระบบเศรษฐกิจของชุมชนมีการเปลี่ยนจากการผลิตเพื่อยังชีพสู่ระบบการผลิตเพื่อขาย มีวิถีชีวิตวัฒนธรรมทางการผลิตที่ผูกพันอยู่กับการทำนาเพาะปลูกข้าวเป็นอาชีพหลัก ระบบครอบครัวและเครือญาติภายในชุมชนมีพัฒนาการจากระบบ ครอบครัวขยายมาสู่ระบบครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น เป็นผลสืบเนื่องจากการเพิ่มของประชากรและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ทางเครือญาติแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ เครือญาติโดยสายโลหิตและเครือญาติโดยการสมรส ชุมชนมีระบบความเชื่อทางพุทธศาสนาผสมผสานกับความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ ระบบเสียงภาษาลาวเวียง ประกอบด้วยหน่วยเสียงพยัญชนะต้นเดี่ยว 20 หน่วยเสียง สามารถปรากฏเป็นพยัญชนะท้ายคำได้ 9 หน่วยเสียงและมีพยัญชนะควบกล้ำ 2 หน่วยเสียง หน่วยเสียงสระ 21 หน่วยเสียง หน่วยเสียงวรรณยุกต์มีการแตกตัวเป็นสามและมีจำนวนหน่วยเสียง 5 หน่วยเสียง ลักษณะโครงสร้างพยางค์สามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ โครงสร้างพยางค์เดี่ยว โครงสร้างสองพยางค์และโครงสร้างหลายพยางค์ ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของชุมชนลาวเวียง หมู่บ้านหาดสองแควมี 2 ลักษณะได้แก่ ปัจจัยภายนอก เช่น การเข้ามาของเส้นทางคมนาคมขนส่ง ไฟฟ้า การแนะนำแผนทางการผลิตในรูปแบบใหม่โดยเจ้าหน้าที่และหน่วยงานภาครัฐตลอดจนการเผยแพร่เทคโนโลยีสมัยใหม่ในกระบวนการผลิต ปัจจัยภายใน ได้แก่ อัตราการขยายตัวของประชากรและคุณภาพของพื้นที่ทำกินมีความอุดมสมบูรณ์ลดลง

Focus

ศึกษาระบบเสียงลาวเวียงและวัฒนธรรม ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมชุมชนลาวเวียง หมู่บ้านหาดสองแคว ตำบลหาดสองแคว อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์และปัจจัยที่ส่งผล

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ลาวเวียง

Language and Linguistic Affiliations

ระบบเสียงภาษาลาวเวียง ประกอบด้วยหน่วยเสียงพยัญชนะต้นเดี่ยว 20 หน่วยเสียง สามารถปรากฏเป็นพยัญชนะท้ายคำได้ 9 หน่วยเสียงและมีพยัญชนะควบกล้ำ 2 หน่วยเสียง หน่วยเสียงสระ 21 หน่วยเสียง หน่วยเสียงวรรณยุกต์มีการแตกตัวเป็นสามและมีจำนวนหน่วยเสียง 5 หน่วยเสียง ลักษณะโครงสร้างพยางค์สามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ โครงสร้างพยางค์เดี่ยว โครงสร้างสองพยางค์และโครงสร้างหลายพยางค์

Study Period (Data Collection)

พ.ศ.2545

History of the Group and Community

พงศาวดารล้านช้างกล่าวว่า ประมาณ พ.ศ. 1272 "ขุนบูลมหรือพระเจ้าพีล่อโก๊ะ" ได้เสวยราชย์เป็นกษัตริย์ลาวราชวงศ์หนองแสพระองค์ได้ขยายอาณาจักรลาวหนองแสออกไปอย่างกว้างขวาง โดยส่งพระโอรสทั้ง 7 ไปสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นใหม่ในดินแดนแหลมทองเพื่อขยายอาณาจักร ต่อมาในปี พ.ศ.1797 "คุปไลข่าน" กษัตริย์ชนชาติมองโกลแห่งราชวงศ์หงวน ได้ใช้อำนาจทางทหารแผ่ขยายลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เข้าตีอาณาจักรลาวหนองแส จนอาณาจักรลาวหนองแสสูญเสียเอกราชแก่จีน ชนชาติลาวจึงพากันอพยพมาทางใต้ในดินแดนสุวรรณภูมิหรือแหลมทองโดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ได้แก่ กลุ่มแม่น้ำโขง กลุ่มแม่น้ำคงและสายแม่น้ำแดง กลุ่มที่อพยพมาทางแม่น้ำโขงต่อมาได้แยกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่อพยพมาตั้งตัวเป็นอิสระในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเรียกตนเองว่า "ไทหรือไท้" กลุ่มที่อพยพสู่ลุ่มแม่น้ำโขงเรียกตนเองว่า "ลาว" ในปี พ.ศ. 2321 อาณาจักรล้านเพีย สามารถรวบรวมอาณาจักรล้านาและล้านช้างเข้ามาเป็นสหราชอาณาจักรเดียวกันเรียกว่า "พระราชอาณาจักรสยามหรือประเทศสยาม" กระทั่งปี พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสได้ยึดอาณาจักรล้านช้างทั้ง 3 รัฐเป็นอาณานิคม ได้แก่ ล้านช้างหลวงพระบาง เวียงจันทน์และล้านช้างจำปาศักดิ์ซึ่งเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของอาณาจักรสยาม จนกระทั่ง พ.ศ. 2497 ฝรั่งเศสถอนตัวออกจากอินโดจีนตามสัญญาเจนีวาทำให้ลาวได้รับเอกราช ... การอพยพย้ายถิ่นของชนลาวเวียงจันทน์ แบ่งได้เป็น 2 ช่วงหลักได้แก่ สมัยกรุงธนบุรี และสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ (หน้า 52-54,58 ) ชุมชนลาวเวียงหมู่บ้านหาดสองแคว ตำบลหาดสองแคว อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ บรรพบุรุษของตนได้ถูกกวาดต้อนมา จากเมืองลาวเวียงจันทน์ในฐานะเชลยศึก เริ่มแรกถูกส่งเข้ามาตั้งหลักแหล่งที่หมู่บ้านกองโค ตำบลคอรุม อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ในปัจจุบัน เมื่อชุมชนขยายใหญ่ขึ้นจึงขยายจากที่ตั้งเดิมขึ้นไปทางทิศเหนือตามแม่น้ำน่านจนถึงเขตบ้านแก่งจนเกิด เป็นชุมชนเล็กๆ ได้แก่บ้านวังสะโม บ้านหาดสองแคว บ้านเด่นสำโรงและบ้านวังแดง เนื่องจาก ที่ตั้งของหมู่บ้านหาดสองแควเป็นทางออกของลำน้ำสองสายได้แก่ แม่น้ำน่านและคลองตรอนมาบรรจบกันจึงเรียกว่า "สองแคว" และที่ตั้งของหมู่บ้านเกิดเป็นสันทรายยื่นออกมาจนเป็นหาดทรายแนวยาวตลอดหมู่บ้าน จึงเรียกบริเวณนี้ว่า "บ้านหาดสองแคว" (หน้า 65)

Settlement Pattern

การตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนแบบรวมตัวกันแบบจับกลุ่มเรียงเดี่ยวไปตามแนวยาวของลำน้ำ (หน้า 80) รูปแบบเรือนลาวเวียงบ้านหาดสองแควสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการใช้สอย ได้แก่ - เรือนลักษณะกึ่งถาวร เช่น เรือนเครื่องผูกแบบอเนกประสงค์สร้างแบบง่าย ๆ จะมีเพียง 2 ห้อง ตัวเรือนประกอบด้วย เรือนใหญ่มีระเบียง ครัวไฟซึ่งจะอยู่ในแนวระเบียง วัสดุที่ใช้โดยมากเป็นไม้ไผ่และหวาย ฝาเรือนเป็นฝาขัดแตะ พื้นเรือนเป็นพื้นฟากทำจากไม้ไผ่สีสุก หน้าต่างทำเป็นแผงเวลาเปิดจะใช้ไม้ค้ำยัน ส่วนหลังคามุงด้วยตับจากหรือแฝก - เรือนลักษณะถาวร ได้แก่ เรือนเครื่องสับ เป็นเรือนไม้จริงหรือเรือนฝากระดาน โดยมากมีผังพื้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า จัดเป็นเรือนประเภทเรือนระเบียงหรือเรือนเกย มีลักษณะเป็นเรือนเดี่ยวใต้ถุนสูง มีหลังคาทรงจั่วแต่ไม่สูงแบบเรือนสยามภาคกลาง มีทั้งการมุงหลังคาด้วยแป้นเกล็ดและแฝก ตัวเรือนประกอบด้วย เรือนใหญ่นิยมมี 3 ช่วงเสา ระเบียงหรือเกย ชานแดด เรือนครัวและพื้นที่ใต้ถุน (หน้า 80-81 ) ยุ้งของชาวบ้านหาดสองแควมี 2 แบบได้แก่ แบบสร้างเป็นอาคารไม้ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมกว้างประมาณ 2 เมตร ยกพื้นสูงห่างจากพื้นดินประมาณ 1.50 เมตรฝาผนังทำจากไม้ไผ่สานขัดแตะทาด้วยมูลวัวหรือควายผสมดินหรือาจใช้ฝากระดานทึบทั้ง 4 ด้าน ทั้งนี้ขึ้นกับฐานะของเจ้าของเรือน แบบที่สร้างด้วยไม้ไผ่สานจะมีลักษณะรูปทรงกระบอก ตรงกลางป่องเล็กน้อยสูงตั้งแต่ 1 -3 เมตรชาวบ้านเรียกยุ้งแบบนี้ว่า "กระพ้อม" (หน้า 158)

Demography

ลาวเวียงบ้านหาดสองแควจัดเป็นกลุ่มชาติพันธุ์มนุษย์ผิวเหลืองหรือมองโกลอยด์ใต้ มีจำนวนทั้งสิ้น 423 หลังคาเรือน มีประชากรจำนวน 1,674 คน จำแนกเป็นชาย 775 คน หญิง 889 คน หลังคาเรือนเฉลี่ยต่อประชากร อัตราส่วน 1 หลังคาเรือนต่อประชากร 3-4 คน (หน้า 82-83) โรงเรียนบ้านหาดสองแคว มีข้าราชการครู 18 คน นักการ 1 คน เด็กนักเรียน 306 คน (หน้า 89)

Economy

ในอดีตเป็นการผลิตเพื่อยังชีพ มีลักษณะความผูกพันอยู่กับการผลิตทางการเกษตรภายในครัวเรือนและชุมชนเป็นหลัก ได้แก่ การทำนาปลูกข้าว การปลูกพืชไร่บางชนิดรวมถึงการปลูกพืชยืนต้นจำพวกไม้ผลและเลี้ยงสัตว์ เช่น โคเนื้อ ไก่ เป็นต้น โดยมากเป็นการผลิตเพื่อใช้ภายในครัวเรือนและชุมชน ส่วนที่เหลือจะนำไปแลกเปลี่ยนหรือขายให้กับชุมชนข้างเคียง โดยมีปัจจัยการผลิตที่สำคัญ ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน เทคโนโลยีการผลิตขั้นพื้นฐาน และทุน ซึ่งแต่เดิมมิได้จัดอยู่ในรูปแบบการสะสมทุนในลักษณะที่เป็นเงินตรา แต่อยู่ในรูปแบบของการนำผลิตผลหรือเมล็ดพันธุ์ที่เหลือจากการบริโภคไปขายหรือแลกเปลี่ยนกันภายในและภายนอกชุมชน โดยเฉพาะสิ่งของเครื่องใช้ที่ไม่สามารถผลิตได้ในชุมชน ต่อมาเมื่อมีระบบการผลิตเพื่อการค้าที่มีเงินเป็นปัจจัยในการกำหนดราคาสินค้ามีตลาดเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเกิดขึ้นส่งผลให้ชาวบ้านต้องใช้ความพยายามในการเพิ่มผลผลิตเพื่อส่งออกให้กับตลาดภายนอกชุมชนมากขึ้น (หน้า 133,160)

Social Organization

ความสัมพันธ์ของกลุ่มชาวบ้านตั้งอยู่บนพื้นฐานของระบบเครือญาติ มีการนับญาติทั้งฝ่ายบิดามารดาและมีการนับถือบรรพบุรุษร่วมกัน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือเครือญาติโดยสายโลหิตและเครือญาติโดยการสมรส รูปแบบครอบครัวในอดีตจะมีลักษณะที่เป็นวงจรครอบครัวเดี่ยวมาสู่ครอบครัวขยายจากนั้นจะเริ่มเป็นครอบครัวเดี่ยวอีกครั้งที่มีการพัฒนาหมุนเวียนต่อเนื่อง ครอบครัวเดี่ยวจะมีสมาชิกเฉลี่ย 5 - 6 คน ผู้เป็นพ่อจะทำหน้าที่หลักเป็นส่วนใหญ่ (หน้า 85,187)

Political Organization

มีองค์กรที่เป็นสถาบันการปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับหมู่บ้านและตำบลทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ กำนันและผู้ใหญ่บ้านต้องเป็นผู้ทำหน้าที่ติดต่อประสานงานระหว่างชุมชนกับทางราชการโดยตรงอยู่เสมอ แต่จะมีการประสานร่วมมือ กับผู้นำอย่างไม่เป็นทางการในชุมชนด้วย (หน้า 84)

Belief System

พิธีกรรม - พิธีขอพื้นที่ทำกินจากผีบรรพบุรุษหรือผีปู่ตา เป็นการขออนุญาตให้ผีบรรพบุรุษซึ่งเป็นเจ้าของหมู่บ้านทราบถึงเจตนาของตนและครอบครัวก่อน โดยหัวหน้าครอบครัวจะกล่าวในเชิงขออนุญาตประกอบกิจกรรมทางการเกษตรในพื้นที่ เมื่อย่างเข้าฤดูฝนในเดือน 6 จะเริ่มทำการเพาะปลูกข้าวไร่ ก่อนที่จะทำการเพาะปลูกจะทำพิธีเลี้ยงผีบรรพบุรุษ เพื่อขอบคุณที่ช่วยดูแลและปกป้องรักษาผลผลิตในไร่ให้งอกงาม - พิธีเอาฝุ่นเข้านา พิธีกรรมจะเริ่มต้นในการเพาะปลูกข้าวในวันขึ้น 3 ค่ำเดือน 3 เชื่อว่าจะทำให้ได้ผลผลิตข้าวดีออกรวงงามเก็บเกี่ยวกินกันไม่มีวันหมดและจำนวนข้าวจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ - พิธีแฮกนา จัดกันในเดือน 6 วันข้างขึ้นหรือข้างแรม 1 ค่ำ 3 ค่ำ 6 ค่ำ 11 ค่ำถึง 13 ค่ำวันใดวันหนึ่ง เชื่อว่าเป็นการไถนาครั้งแรกเพื่อเอาฤกษ์ก่อนการไถนาเพื่อหว่านกล้าและปักดำ - พิธีกรรมสู่ขวัญควาย เดือน 8 เป็นการขอขมาและรำลึกถึงบุญคุณของควาย - พิธีตาแฮก จัดในเดือน 8 เช่นกัน อาจถือฤกษ์วันเดียวกับพิธีสู่ขวัญควายก็ได้ โดยจะจัดขึ้นในบริเวณแปลงแฮกก่อนเวลาเที่ยงวันเพื่อขอให้รักษาไร่นา ให้ต้นข้าวออกรวงงามใหญ่อย่าให้แมลงมากัดแทะ - พิธีกรรมทำขวัญแม่โพสพ จัดขึ้นประมาณเดือน 11 เวลาเย็นมีการกล่าวคำเรียกขวัญแม่โพสพ เมื่อย่างเข้าเดือน 12 หัวหน้าครัวเรือนจะประกอบพิธีเกี่ยวกกแฮก ในพิธีจะไม่มีเครื่องบูชามีแต่คำกล่าวในขณะที่เกี่ยวกกแฮก (หน้า 142 - 145,149,153) ประเพณีการเกิด ผู้เป็นมารดาจะละเว้นการกินอาหารที่เกิดโทษหรืออันตรายที่จะเกิดกับลูกที่อยู่ในครรภ์และปฏิบัติตัวตามความเชื่อที่ได้สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ เช่น ห้ามกินของที่มีรสชาติจัดเพราะเชื่อว่าจะทำให้เด็กในครรภ์ร้อนเนื้อร้อนตัว ห้ามกินเนื้อวัวควายเพราะเชื่อว่าจะทำให้เกิดเมือกไขมันตามตัวเด็กเมื่อคลอดออกมาจะทำความสะอาดยาก ห้ามกินสัตว์ที่ฟักไม่เป็นตัว เช่นไข่ข้าวหรือลูกวัว เพราะเชื่อว่าจะทำให้ลูกในท้องเสียชีวิต ห้ามนั่งขวางบันได ขวางประตูเพราะเชื่อว่าลูกที่คลอดออกมาจะมีความบกพร่องทางจิต เป็นต้น (หน้า 215) ประเพณีการบวช เกณฑ์การบวชกำหนดอายุการบวชเรียนเริ่มตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป โดยมีระยะเวลาการถือครองบรรพชิตตั้งแต่ 7 วัน 9 วัน 15 วันหรือ 1 เดือน เพื่อเป็นการทดแทนพระคุณของพ่อแม่ก่อนที่จะมีเหย้าเรือน ประเพณีการแต่งงาน จะมีการเลือกคู่ครอง 2 ลักษณะได้แก่ พ่อแม่และญาติผู้ใหญ่จะเป็นผู้จัดหาให้ ในลักษณะที่สองจะเป็นการชอบพอรักใคร่กันเองระหว่างชายหญิง ค่าสินสอดจะเป็นเงินที่อาจจะเริ่มต้นตั้งแต่ 10 บาทและต้องลงท้ายด้วย 4 เสมอเพื่อเป็นค่าบูชาให้แก่ผีบรรพบุรุษของครอบครัวฝ่ายหญิง โดยมากพิธีแต่งงานจะจัดที่บ้านของฝ่ายหญิง เนื่องจากอุดมคติของรูปแบบการตั้งถิ่นฐานหลังการแต่งงานจะนำเอาฝ่ายชายเข้ามาอยู่ร่วมกับครอบครัวฝ่ายหญิง ประเพณีงานศพ หากยังไม่สามารถบรรจุศพได้ไม่ว่ากรณีใดจะต้องจุดตะเกียงตามไฟที่ปลายเท้าของศพผู้ตายพร้อมกับนำผ้าขาวมาคลุมศพ พิธีศพโดยมากจะจัดกันที่บ้านอย่างน้อย 3 วัน ขณะที่เผาศพ ลูกหลานของผู้ตายจะนำผ้าขาวที่คลุมโลง โยนข้ามโลงศพไปมา 3 ครั้งแล้วนำผ้าดังกล่าวถวายพระสงฆ์ในพิธีต่อไป หลังจากนั้น 3 วันลูกหลานจะมาทำพิธีเก็บกระดูกแล้วนิมนต์พระสงฆ์มา "สวดบังสุกุลตาย" แล้วช่วยกันยกผ้าขาวที่มีเถ้ากระดูกของผู้ตายให้หันกลับมาทางทิศตะวันออกเพื่อพระสงฆ์จะได้สวด "บังสุกุลเป็น" ซึ่งเป็นการส่งวิญญาณผู้ตายให้ไปเกิดใหม่ จากนั้นจะเก็บกระดูกผู้ตายไว้ในโกศไม้จำลอง ขวดแก้วหรือห่อด้วยผ้าขาวเพื่อนำไปบรรจุเจดีย์หรือนำไปบูชาสักการะที่บ้านต่อไป

Education and Socialization

การศึกษาของชุมชนลาวเวียงหมู่บ้านหาดสองแควปัจจุบันมี 2 ประเภท ได้แก่ - การศึกษาในระบบโรงเรียน ชื่อโรงเรียนบ้านหาดสองแคว เป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษา ทำการสอน ระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา - การศึกษานอกระบบโรงเรียน มี 1 แห่งคือศูนย์การเรียนเฉลิมพระเกียรติ มีกรมการศึกษานอกโรงเรียนเป็นผู้ดำเนินการ เป็นกิจกรรมทางการศึกษาที่ไม่มีรูปแบบโครงสร้างแน่นอน (หน้า 89)

Health and Medicine

อดีตชาวบ้านใช้วิธีการรักษาพยาบาลแบบแผนโบราณ หมอพื้นบ้านที่กระจายอยู่ตามชุมชนต่าง ๆ ได้แก่ - หมอเป่า ใช้วิธีการรักษาโดยใช้คาถาอาคมเสกเป่าลมในปากหรือเสกเป่าคาถาอาคมใส่วัตถุสิ่งของ - หมอน้ำมัน ใช้น้ำมันที่ได้จากพืชและสัตว์ในการรักษา เช่น มะพร้าว งาดำ เลียงผา เป็นต้น - หมอยา ใช้ยาสมุนไพรในการรักษาโรค หมอตำแย เป็นหมอที่ดูแลรักษาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และคลอดลูก ปัจจุบันชาวบ้านโดยมากเข้ารับการรักษาพยาบาลที่สถานีอนามัยประจำตำบล เนื่องจากสะดวกในการเดินทางและอาการของโรคหายขาดอย่างรวดเร็ว หากมีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยจะหาซื้อยาแผนปัจจุบันมารับประทานเอง แต่ก็มีชาวบ้านจำนวนหนึ่งที่ใช้การรักษาโดยใช้ยาสมุนไพรกับหมอพื้นบ้าน (หน้า 90-92)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

รูปแบบเรือนลาวเวียงบ้านหาดสองแคว ดูหัวข้อ Settlement Pattern

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

อดีตชาวบ้านหาดสองแควใช้วิธีการรักษาพยาบาลแบบแผนโบราณโดยหมอพื้นบ้าน ที่กระจายอยู่ตามชุมชนต่าง ๆ ปัจจุบันชาวบ้านโดยมากเข้ารับการรักษาพยาบาลที่สถานีอนามัยประจำตำบล เนื่องจากสะดวกในการเดินทางและอาการของโรคหายขาดอย่างรวดเร็ว (หน้า 90-92) ในอดีตเป็นการผลิตเพื่อยังชีพ มีลักษณะความผูกพันอยู่กับการผลิตทางการเกษตรภายในครัวเรือนและชุมชนเป็นหลัก ต่อมาเมื่อมีระบบการผลิตเพื่อการค้าที่มีเงินเป็นปัจจัยในการกำหนดราคาสินค้ามีตลาดเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเกิดขึ้นส่งผลให้ชาวบ้านต้องใช้ความพยายามในการเพิ่มผลผลิตเพื่อส่งออกให้กับตลาดภายนอกชุมชนมากขึ้น (หน้า 133,160) ปัจจุบันการเกิดของชาวบ้านหาดสองแควเปลี่ยนแปลงมาก เนื่องจากความเจริญทางการแพทย์และสาธารณสุข (หน้า 219) ปัจจุบันการแต่งงานของชาวบ้านหาดสองแควได้เปลี่ยนไปตามสภาพทางเศรษฐกิจทุนนิยม คนหนุ่มสาววัยแรงงานเข้าไปหางานหรือศึกษาเล่าเรียนในเมืองใหญ่ ทำให้ได้มีโอกาสใช้ชีวิตและพบปะกับบุคคลนอกหมู่บ้านส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทัศนะคติของการปฏิบัติตัวกับเพศตรงข้ามในการเข้าหาสังคม หรือทัศนคติของการเลือกคู่ครอง (หน้า 228 - 229)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ตาราง - แสดงจำนวนร้อยละของประชากร( 83) - แสดงรายชื่อกำนันหาดสองแคว(85) - แสดงจำนวนคุ้มเรือน(85) - แสดงจำนวนนักเรียนโรงเรียนบ้านหาดสองแคว(89) - แสดงหน่วยเสียงพยัญชนะที่พบในภาษาลาวเวียง(93) - แสดงการปรากฏร่วมกันของหน่วยเสียงพยัญชนะต้น หน่วยเสียงควบกล้ำและหน่วยเสียงสระที่พบในภาษาลาวเวียง(102) - แสดงหน่วยเสียงสระที่พบในภาษาลาวเวียง(103) - แสดงการปรากฏร่วมกันของหน่วยเสียงสระ หน่วยเสียงพยัญชนะท้ายที่พบในภาษาลาวเวียง(113) - แสดงคำศัพท์ทดสอบหน่วยเสียงวรรณยุกต์(114) - แสดงหน่วยเสียงวรรณยุกต์ที่พบในภาษาลาวเวียง(115) - แสดงการปรากฏร่วมกันของหน่วยเสียงวรรณยุกต์กับคำพยางค์เป็นและพยางค์ตายที่พบในภาษาลาวเวียง(120) - แสดงการปรากฏร่วมกันของโครงสร้างพยางค์กับหน่วยเสียงวรรณยุกต์ที่พบในภาษาลาวเวียง(132) แผนภาพ - แสดงที่ตั้งจังหวัดอุตรดิตถ์และอำเภอตรอน(300) - แสดงที่ตั้งหมู่บ้านหาดสอง ตำบลหาดสองแคว อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ (301) แผนภูมิ - แสดงกรอบความคิดในการศึกษา(43) - แสดงโครงสร้างการบริหารคณะกรรมการหมู่บ้านหาดสองแคว(86) - แสดงคำเรียกชื่อกลุ่มเครือญาติของชาวบ้านหาดสองแคว(195)

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 05 เม.ย 2548
TAG ลาวเวียง, ภาษา, มานุษยวิทยาวัฒนธรรม, อุตรดิตถ์, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง