สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject พวน ไทยพวน ไทพวน,ลาวเวียง,ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น,ฉะเชิงเทรา
Author เพ็ญศรี ดุ๊ก และ นารี สาริกะภูติ
Title ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชาวลาวเวียงและลาวพวนในอำเภอพนมสารคามและอำเภอสนามชัยเขต ฉะเชิงเทรา
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลาวเวียง ลาวกลาง, ไทยพวน ไทพวน คนพวน, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 187 Year 2529
Source โครงการไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract

พวนและชาวเวียงจันทน์ อพยพเข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีหลักฐานว่าคนอพยพรุ่นแรกเป็นลาวพวนที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นผู้นำเข้ามาในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมัยพระบาทสมเด็จนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการกวาดต้อนลาวและเขมรเข้ามาเป็นเชลยศึกและกำหนดพื้นที่เป็นหลักแหล่ง ในเขตอำเภอพนมสารคามและอำเภอสนามชัยเขต ซึ่งมีสถานะเป็นไพร่ ทาสและเลกลาว อยู่ภายใต้การปกครองระดับต้นของลาวด้วยกัน ผู้ปกครองเหล่านี้ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์และเบี้ยหวัดเช่นเดียวกับขุนนางไทย เลกลาวมีโอกาสเลื่อนจากไพร่เป็นนาย เปลี่ยนมูลนายหรือย้ายที่อยู่ได้ตามความเห็นชอบของทางการ ชุมชนลาวได้รับการยกฐานะเป็นเมืองพนมสารคามและเมืองสนามชัยเขต มีเจ้าเมืองเป็นคนลาวและปกครองแบบแผนดาญาสี่ เช่นเดียวกับหัวเมืองลาวตะวันออก ต้องทำส่วยและเลี้ยงโคหลวงโดยแยกทำส่วยต่างหากจากเลกเมืองฉะเชิงเทรา ส่วยที่สำคัญได้แก่ ส่วยทองคำ ส่วยเร่ว ส่วยหมากพอกและไม้รางปืนและส่วยโค

Focus

ศึกษาสาเหตุการอพยพ การตั้งถิ่นฐาน การปกครอง การเสียภาษีและขนบประเพณีของลาวพวนและลาวเวียงในอำเภอพนมสารคามและอำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ลาวพวนและลาวเวียง ตามพงศาวดารเรียกชาวพวนว่า "ลาวพวน" แต่ชาวพวนเรียกตัวเองว่า "ไทยพวน" (เชิงอรรถ 1 หน้า 2) ส่วนลาวเวียงน่าจะหมายถึงลาวเวียงจันทร์ (หน้า 13)

Language and Linguistic Affiliations

ลาวเวียงและลาวพวนยังใช้ภาษาดั้งเดิมของตนเองในหมู่บ้าน (หน้า 2)

Study Period (Data Collection)

พ.ศ.2529

History of the Group and Community

เมืองพนมสารคามและเมืองสนามชัยเขตเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเมืองฉะเชิงเทราในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เชื่อกันว่าเป็นเมืองเก่าตั้งแต่สมัยขอม เป็นชุมชนดั้งเดิมของคนไทยมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาก่อนที่จะมีชาวลาวเข้ามาตั้งรกรากอยู่ สมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการกวาดต้อนลาวและเขมรเข้ามาเป็นเชลยศึกและกำหนดพื้นที่เป็นหลักแหล่ง พื้นที่ดังกล่าวปัจจุบันอยู่ในเขต อำเภอพนมสารคามและอำเภอสนามชัยเขต สมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราโชบายยกหมู่บ้านที่เป็นชุมชนหนาแน่นขึ้นเป็นเมือง ได้ยก "บ้านท่าช่านเป็นเมืองพนมสารคาม" ปัจจุบันเรียกว่า ตำบลเมืองเก่า ส่วนบ้านพระงามได้ยกเป็นเมืองขึ้นเมืองฉะเชิงเทรา เนื่องจากเมืองนี้อยู่ในป่าติดต่อภายนอกไม่สะดวก พ.ศ. 2441 จึงยุบเป็นอำเภอ ชาวพวนและชาวเวียงจันทน์อพยพเข้ามาอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (หน้า 13-17) การกวาดต้อนครอบครัวลาวเข้ามาในราชอาณาจักรสยามยังคงดำเนินต่อไปอีก ดังเช่น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นแม่ทัพหลวงยกไปปราบ กวาดต้อนครอบครัวลาวเป็นเชลยและโปรดเกล้าให้ไปอยู่ที่เมืองต่างๆ เช่น เมืองลพบุรี เมืองสระบุรี แขวงเมืองชลบุรี เมืองสุพรรณบุรี เป็นต้น ลาวพวนที่เข้ามาตั้งรกรากในเมืองพนมสารคามเป็นกลุ่มแรกได้แก่ลาวพวนซึ่งถูกกวาดต้อนเข้ามาในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี(หน้า 33 - 34) เอกสารทางราชการระบุว่า เดือน 5 แรม 13 ค่ำ ท้าวเพียชาเนตหนองคาย เป็นผู้ควบคุมชาวลาวหมวดเพียศรีวงศา จำนวน 358 คน และเพียวงศ์ชมพูแก้วกัลยาจำนวน 419 คน ในเดือน 6 ขึ้น 6 ค่ำ กรมการเมืองปราจีนบุรีคุมครัวลาวลงมาอีก 2 หมวดคือ หมวดกองนาเหล่า 389 คนและหมวดเพียจันฤาชา 305 คนมาที่บ้านท่าทร่านแขวงเมืองฉะเชิงเทรา (หน้า 62) โดยผ่านมาทางหนองหาร นครราชสีมาและกบินทร์บุรี สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกบ้านพระงามขึ้นเป็นเมืองสนามชัยเขต ให้เลกลาวบ้านท่าทร่านและเลกลาวเมืองพลานคลองท่าไข่ มีฐานะสำคัญในการผลิต ทำส่วยและเลี้ยงโคหลวงโดยแยกทำส่วยต่างหากจากเลกเมืองฉะเชิงเทรา (หน้า 121,123) ส่วยที่สำคัญได้แก่ ส่วยทองคำ ส่วยเร่ว ส่วยหมากพอกและไม้รางปืนและส่วยโค ส่วนลาวเวียงอพยพจากเวียงจันทร์ซึ่งถูกตีแตกในปี พ.ศ. 2300 กว่าๆ คนที่นำมาเป็นลาวพวน จำนวนคนที่มามีเป็นร้อย มาตั้งรกรากที่บ้านเก่าซึ่งเป็นที่มีป่าอุดมสมบูรณ์ พวกพวนมากขึ้นจึงขยายหมู่บ้านไปเรื่อยๆ ลาวที่อพยพเข้ามามีทั้งพระสงฆ์ สามเณร คนชรา คนธรรมดา เช่น ชาย หญิง เด็ก และ มีเจ้านาย ท้าว เพีย (พระยา) แสน และ หมื่น (หน้า 85-86)

Settlement Pattern

ในอำเภอพนมสารคามกลุ่มประชากร ปลูกเรือนใกล้แม่น้ำเพื่อความสะดวกในการทำมาหากิน เมื่อมีการตัดถนนผ่านในปี พ.ศ. 2506 จึงพากันตั้งบ้านเรือนตามสองฟากของทางหลวงและถนนลูกรังที่ตัดเข้าหมู่บ้าน (หน้า 12) ลาวพวนและลาวเวียงในสองอำเภอตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่มไม่ปะปนกับคนเขมรซึ่งเป็นคนอพยพด้วยกันและไม่ปะปนกับคนไทยซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ก่อนแล้ว(หน้า 17)

Demography

ลาวพวนทั้ง 4 หมวด (เพียศรีวงศา เพียวงศ์ชมพูแก้วกัลยา กองนาเหล่า และ หมวดเพียจันฤาชา) ที่ถูกควบคุมเข้ามาในประเทศไทย ระหว่างที่อพยพได้หนีเจ็บป่วยฝากไว้ตามเมืองที่เดินผ่านและล้มตายบ้าง คงเหลือมาถึงบ้านท่าทร่านจำนวน 1,488 คน(หน้า 62) พ.ศ. 2383 เจ้าพระยาบดินทร์เดชานุชิต (สิงห์ สิงหเสนี) เกณฑ์เลกลาวบ้านท่าทร่าน 848 คน ไปทัพพนมเปญ พ.ศ. 2386 ทางการได้เกณฑ์กองลาว 8 กอง เป็นนายไพร่ 876 คนไปทัพเมืองนครพนม กองลาวบ้านท่าทร่านถูกเกณฑ์ไปทัพ พ.ศ. 2383 จำนวน 848 คน ลาวในเมืองต่าง ๆ ถูกเกณฑ์มา 3,883 คน (หน้า 98-99) ลาวที่อพยพเข้ามามีทั้ง พระสงฆ์ สามเณร คนธรรมดา เช่น คนชรา ชาย หญิง เด็ก และมี เจ้านาย ท้าว เพีย (พระยา) แสน และหมื่น (หน้า 85-86)

Economy

พวกที่อพยพเข้ามาทั้งลาวเวียงและลาวพวน ทำนา ทำไร่ ตัดไม้และเผาถ่านและปลูกฝ้าย (หน้า 77) พวกลาวเวียงมีเงินลาวเข้ามาด้วย คือเงินเสี้ยนและเงินฮาง นอกจากมีอาชีพดังกล่าวแล้ว ยังต้องเป็นแรงงานให้เจ้าหรือนายอีกในลักษณะต่างๆ

Social Organization

ทางราชการไทยได้กำหนดสถานภาพของลาวในแขวงเมืองฉะเชิงเทราไว้ต่าง ๆ ดังนี้ 1. เชลย เป็นทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์ที่อาจจะพระราชทานให้แก่ขุนนาง (หน้า 95 ) 2. เลกทาส เป็นแรงงานในการขุดทอง 3. เลกคงเมือง เป็นแรงงานที่กำหนดให้เป็นแรงงานของเจ้าเมือง 4. เลกกองนอก ทำหน้าที่เลี้ยงโคหลวง 5. ไพร่สม ทำหน้าที่ทำส่วยทองถวายพระมหากษัตริย์ 6. ไพร่หลวง ทำหน้าที่รับราชการหรือทำส่วยเร่ว ส่วยทองคำถวายพระมหากษัตริย์ แต่สามารถมีการเลื่อนชั้นกันได้ เช่น จากไพร่เป็นนายได้ (หน้า 99)

Political Organization

ในปัจจุบันจังหวัดฉะเชิงเทราแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 อำเภอ และ 1 กิ่งอำเภอ อำเภอพนมสารคามแบ่งพื้นที่การปกครองเป็น 8 ตำบล อำเภอสนามชัยเขตแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 ตำบล (หน้า 10,12) เมื่อ 200 ปีก่อนฉะเชิงเทรามีฐานะเป็นแขวงเมือง ลาวพวนและลาวเวียงบ้านท่าทร่าน และลาวเมืองพลานบ้านท่าไข่มีฐานะเป็นไพร่เชลยศึกหรือทาสเชลย(เลก) ทางการควบคุมโดยการกำหนดพื้นที่ให้ตั้งหมู่บ้าน มีผู้ควบคุมซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของเจ้าเมืองฉะเชิงเทรา ตามลักษณะการควบคุมกำลังคนในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (หน้า 94) เลกลาวบ้านท่าทร่าน ได้แก่ เชลย เลกทาส เลกคงเมือง เลกกองนอก ไพร่สมและไพร่หลวง

Belief System

คนลาวที่อพยพเข้ามาในจังหวัดฉะเชิงเทรานับถือผีบรรพบุรุษและพระพุทธศานา มีการนำความเชื่อมาผสมผสานกับพระพุทธศาสนาอย่างเหมาะสม เป็นต้นว่า การทำบุญข้าวห่อ ประเพณีที่สำคัญ ได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ บุญข้าวหลามและงานบุญพระเวส

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

พระอุโบสถลาวในอำเภอพนมสารคามโดยมากมีขนาดเล็ก รูปทรงเตี้ยแจ้มีหลังคาซ้อนลดหลั่นลงมา 2 หรือ 3 ชั้น ผนังก่ออิฐโบกปูนตลอด เจาะช่องแสงสว่างน้อย มีหน้าต่างต้นละ 2 ช่อง ด้านหลังพระอุโบสถไม่มีประตู สถาปัตยกรรมลาวที่เด่นชัดอีกแห่งได้แก่ พระอุโบสถเมืองแมดมีใบเสมาอยู่ภายในพระอุโบสถ มีฐานใบเสมาตั้งที่พัทธเสมา 8 ใบตามแนวเสาคู่ใน ซึ่งเป็นคตินิยมของเสมาพระอุโบสถลาวหรือในภาคอีสานซึ่งได้พบในวัดแห่งหนึ่งที่เมืองเวียงคุก จังหวัดหนองคาย (หน้า 142)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ตาราง - แสดงถิ่นที่อยู่คนอพยพในจังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรีและนครนายก(26-27) - แสดงเบี้ยหวัดนายกองลาวเป็นรายบุคคลเป็นรายปี(102) - เปรียบเทียบเบี้ยหวัด พ.ศ. 2483 กับพ.ศ. 2392(103) - แสดงกองลาวและจำนวนเบี้ยหวัดในการไปราชการเมืองพนมเปญ(105) - แสดงตำแหน่งและบรรดาศักดิ์ผู้ปกครองในกองลาว(107) - จำนวนผู้ปกครองกองลาวแต่ละกอง(109) - แสดงนายไพร่ไปทัพเมืองนครพนม(113) - แสดงกองลาวและประเภทของส่วย(124) - แสดงส่วยทองที่นำขึ้นทูลเกล้าฯถวายและไพร่ทาสส่วยทอง(127) แผนที่ - แสดงอาณาเขตหัวเมืองลาว(3) - แผนที่จังหวัดฉะเชิงเทรา(11) - การคมนาคมก่อนรัชกาลที่ 5(20) - แสดงเส้นทางการค้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(23) - ชาวลาวภาคตะวันออก(28) - แสดงหมู่บ้านลาวพวน อำเภอพนมสารคาม(39) - แสดงหมู่บ้านลาว อำเภอพนัสนิคม(53) - แสดงหมู่บ้านชาวโซ่(57) - แสดงเมืองพนัสนิคม(58) - แสดงลำคลองท่าลาดและบ้านตะเข้ปูน(64) - แสดงบ้านาเหล่าน้ำและบ้านเมืองแมด(65) - แสดงบ้านปากห้วยและบ้านซำข่า(72) - แสดงบ้านชำป่าหวาย หนองแหนและหนองอีบู่(73) - แสดงบ้านบางมะเฟือง(75) - เมืองพลาน(78) - ลาวเมืองพลานบ้านท่าไข่(82) - แผนที่หมู่บ้านลาวพวนและลาวเวียง(97) - เมืองฉะเชิงเทรา เมืองพนมสารคาม(137) ภาพ - ภาพเงินเสี้ยนและเงินฮาง(38) - ดาบคร่ำเงิน(38) - เต้าปูนลาวบรรจุในเจดีย์วัดมหาเจดีย์(42) - พระเจดีย์ใหญ่วัดมหาเจดีย์(43) - หลวงพ่อติ้ว(55) - ชาวเมืองแมด(68) - ต้นเร่ว(130) - พระอุโบสถวัดหนองเค็ด(140) - พระอุโบสถวัดเตาเหล็ก(140) - เสมาวัดเมืองแมด(141) - พระอุโบสถวัดเมืองแมค(141) - จิตรกรรมฝาผนังวัดบ้านเล้อ (144) - จิตรกรรมฝาผนังวัดเมืองกาย(144) - พระพุทธรูปสำริด(147) - ให้อาหารผีไม่มีญาติ(149) - กรวดน้ำ(149) - เครื่องไหว้ครูคาถาพัน(151) - บุญพระเวส(151) - บุญข้าวหลาม(153) - ปิดทองพระบาท(153)

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 27 ก.ย. 2555
TAG พวน ไทยพวน ไทพวน, ลาวเวียง, ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น, ฉะเชิงเทรา, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง