สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject โส้ โซร ซี,การผสมกลมกลืน,วัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,สกลนคร
Author ขบวน พลตรี
Title การผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมของโซ่กับวัฒนธรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศึกษาเฉพาะกรณีโซ่ ตำบลกุสุมาลย์และตำบลโพธิ์ไพศาล อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity โส้ โทรฺ, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 86 Year 2527
Source ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Abstract

พื้นฐานของการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมของโซ่กับวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจ การเข้าร่วมกิจกรรมของสังคมและการติดต่อกับคนภายนอก โซ่ครึ่งหนึ่งสามารถพูดภาษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ดี เวลาออกจากบ้านจะพูดภาษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาษากลางมากกว่าภาษาโซ่ คนโซ่ 4 ใน 5 เห็นว่าคู่สมรสไปอยู่บ้านของฝ่ายใด ให้เป็นไปตามความสมัครใจของทั้ง 2 ฝ่าย ความเชื่อในผีวงศ์มีเพียง 1 ใน 3 ที่ไม่นิยมเลี้ยงผีวงศ์ประจำปีและไม่นิยมตามหมอเยาเพื่อรักษาคนป่วย คนโซ่ครึ่งหนึ่งนิยมบวชในพุทธศาสนาและตักบาตรเป็นประจำ ผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมของโซ่กับวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่า 2 ใน 10 ผสมกลมกลืนมาก 1 ใน 10 ยังผสมกลมกลืนน้อย และ 7 ใน 10ผสมกลมกลืนอยู่ในระดับปานกลาง เพศหญิงมีแนวโน้มที่จะผสมกลมกลืนมากกว่าเพศชาย ผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงจะผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมมากกว่าผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมของสังคมและติดต่อกับคนนอกชุมชนมาก จะผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมมากกว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมของสังคมและติดต่อกับคนนอกชุมชนน้อย ส่วนอายุและระดับการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม

Focus

ศึกษาวัฒนธรรมและปัจจัยที่ทำให้เกิดการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม กับวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของโซ่ ในตำบลกุสุมาลย์และตำบลโพธิ์ไพศาล อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

" โซ่ "เป็นกลุ่มมองโกลอยด์ ตระกูลออสโตรเอเซียติค มอญ - เขมร อยู่ในกลุ่ม "ข่า" เช่นเดียวกับพวกกะเลิงและพวกแสก(หน้า17) โซ่คิดว่าตัวเองเป็น "ข่า" แต่ไม่ใช่ "ข่า" ป่าเถื่อน

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาโซ่คล้ายกับภาษาเขมรและส่วย บางคำในปัจจุบันได้เลือนหายกลายเป็นภาษาไทยอีสานทั่วไปแต่ออกสำเนียงโซ่ (หน้า 26)

Study Period (Data Collection)

พ.ศ. 2527

History of the Group and Community

"โซ่ "ยืนยันว่าบรรพบุรุษของตนมาจากหลายแหล่งและหลายรุ่น เช่น เมืองมหาชัยกองแก้ว เมืองบก เมืองวังและเมืองบ้ำ อันเนื่องจากสงคราม เมื่อกองทัพไทยยกทัพปราบและโจมตีเวียงจันทน์ เจ้าอนุได้หลบหนีมาอยู่เมืองมหาชัยกองแก้วซึ่งเป็นเมืองของเจ้าจุลนี เมื่อกองทัพพระยาราชสุภาวดียกกองทัพมาตีเมืองมหาชัยกองแก้ว เจ้าอนุและเจ้าจุลนีพร้อมด้วยญาติจำนวนหนึ่งหลบหนีไปทางเมืองเซเมืองกะปอมและไปอาศัยในเขตแดนญวน เจ้าจุลนีได้ขอกำลังจากญวนเข้ายื้อแย่งเมืองมหาชัยกองแก้วจากไทย กองทัพไทยหลบหนีมาตั้งที่เมืองนครพนมและลงไปยึดเมืองคืนไว้ได้อีก พฤติกรรมของเจ้าจุลนีแห่งเมืองมหาชัยกองแก้วที่ฝักใฝ่ต่อญวนทำให้แม่ทัพไทยไม่พอใจ จึงกวาดต้อนผู้คนในเมืองมหาชัยกองแก้ว ซึ่งถือเป็นเมืองใหญ่มีชนกลุ่มเผ่าต่าง ๆ รวมอยู่หนาแน่น กว่าแห่งอื่น ชนเผ่าต่าง ๆ จึงหนีไปอยู่ตามป่าเขาและถูกติดตามจับกุมทุกวันมิได้ขาดจนเมืองมหาชัยกองแก้วไม่มีผู้อยู่อาศัย จากการกวาดต้อนครั้งนี้ทำให้เกิดการแพร่กระจายของพวกข่าและกระโซ่ในพื้นที่ต่าง ๆ เช่น โซ่ได้เข้ามาตั้งบ้านเรือนในบริเวณ ที่ปัจจุบันเรียกว่าบ้านหนองสิม บริเวณห้วยขมานและมีความสัมพันธ์ในการตั้งชื่อเมืองกุสุมาลย์ในเวลาต่อมา (หน้า 18 - 19 )

Settlement Pattern

บ้านเรือนยังล้าหลัง ครัวไฟอยู่รวมกับตัวเรือน โดยมากไม่มีส้วมใช้ ทำคอกสัตว์ไว้ใต้ถุนบ้าน (หน้า 21)

Demography

เมื่อเริ่มแรก ตามหลักฐานมี "...บุตรหลานท้าวเพี้ยจัดแจงให้ครอบครัวกระโซ่ตั้งอยู่บ้านกุดขมานแขวงเมืองสกลนคร เป็นคนท้าวเพี้ย 67 ฉกรรจ์ 512 รวม 679 คน ครอบครัว 2503 รวมฉกรรจ์ 3209 คน ครัว 2000..." (หน้า 19) ปัจจุบันกลุ่มประชากรที่มีอายุ 20 - 39 ปีมีมากที่สุด (ร้อยละ 50) กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปมีน้อยที่สุด (ร้อยละ 14.83) คนวัยหนุ่มสาวที่อยู่ในวัยใช้งานและวัยเจริญพันธุ์มีมาก ประชากรเกือบทั้งหมดสมรสแล้ว โดยทั่วไปในสังคมชนบททางภาคตะวันออกเฉียงเหนือหนุ่มสาวอายุ 20 ปีขึ้นไปมักจะสมรสเป็นส่วนใหญ่และเป็นที่ยอมรับของสังคม ส่วนหญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปโดยมากจะเป็นหม้าย (หน้า 22-23)

Economy

อาชีพของประชากรคือทำนา อาชีพรองยังไม่เป็นกิจลักษณะ (หน้า 21) คนโซ่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลาง มีพียง 1 ใน 5 ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำ แต่โดยทั่วไปสภาพรายได้ที่ได้เป็นตัวเงินไม่ต่างกันมากนัก แต่จะต่างกันที่การถือครองที่ดินและจำนวน วัว ควาย ฯลฯ (หน้า 25)

Social Organization

"โซ่ " ยึดมั่นในเรื่องความเชื่อ ค่านิยม ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างเหนียวแน่น เชื่อมั่นในการดำเนินชีวิตในกลุ่มของพวกตน ยากที่จะเปลี่ยนแปลง ไม่นิยมคบค้ากับชนกลุ่มอื่น พูดภาษาของตนเอง โดยมากนิยมแต่งงานกับคนในกลุ่ม ความเป็นอยู่ทั่วไปยังล้าหลังหญิงวัย 40 ปีขึ้นไป โดยมากเป็นหม้าย ส่วนหนุ่มสาวที่อยู่ในวัยทำงานและวัยเจริญพันธุ์มีมาก โดยทั่วไปในสังคมชนบทของภาคตะวันออกเฉียงเหนือหนุ่มสาวอายุ 20 ปีขึ้นไปโดยมากจะสมรสและเป็นที่ยอมรับของสังคม (หน้า 20 - 23) การแต่งงาน ไม่นิยมให้พ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่มาทาบทามสู่ขอ แต่จะบอกกล่าวกับครอบครัวฝ่ายหญิงเอง หลังจากนั้นอีก 2 - 3วันจะนำพ่อแม่และญาติมาสู่ขอและแต่งงาน โดยวันสู่ขอและวันหมั้นรวมอยู่ในวันเดียวกัน พิธีการแต่งงานของโซ่ไม่ยุ่งยาก มีล่ามซึ่งเป็นผู้อาวุโสในเหล่ากอของฝ่ายหญิง นั่งอยู่ข้างคู่สมรสกล่าวโอวาทและอวยพร มีการดูดเหล้าไหเพื่อสาบานจะซื่อสัตย์ต่อกัน บรรดาญาติมิตรผูกแขน อวยพรและรับประทานอาหารร่วมกันเป็นเสร็จพิธี ไม่นิยมการสู่ขวัญเพราะถือว่าเป็นพิธีของลาวในตอนค่ำมีพิธีลักพาเจ้าสาวหนี (หน้า 30 - 33)

Political Organization

ตำบลกุสุมาลย์ มี 7 หมู่บ้าน เป็นโซ่ทั้งหมดยกเว้นบ้านนิรมัย ตำบลโพธิ์ไพศาล มี 11 หมู่บ้าน ทั้งสองตำบลมีวัดพุทธ 16 วัด วัดคริสต์ 1 วัด โรงเรียนประถมศึกษา 13 โรงเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 โรงเรียน (หน้า 21)

Belief System

โซ่นับถือผีคู่กับการนับถือพระพุทธศาสนา (หน้า 21) ผีเหล่ากอหรือผีวงศ์ หมายถึงผีบรรพบุรุษของเหล่ากอใดกอหนึ่ง ความเชื่อในเรื่องมนุษย์มีบรรพบุรุษร่วมกัน มีลักษณะคล้ายกับการนับถือ "แซ่" ของชาวจีนหรือการถือเหล่ากอ (Clan) ของชนเผ่าต่างๆ ผีวงศ์ของโซ่ถือฝ่ายแม่เป็นหลัก เมื่อแต่งงานแล้วจะถือว่าฝ่ายชายต้องเป็นสมาชิกผีเหล่ากอฝ่ายหญิง เมื่อมีงานจัดเลี้ยงผีฝ่ายแม่ของฝ่ายชาย ผู้เป็นสามีก็ยังเกี่ยวข้องกับผีเดิมของตน

Education and Socialization

"โซ่" ไม่นิยมเรียนหนังสือ (หน้า 21)

Health and Medicine

"การเยา" เป็นการรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วย โดยการพยายามขอร้องให้ผีออกจากร่างผู้ป่วยโดยการหาสิ่งตอบแทน ในพิธีจำเป็นต้องมีหมอแคนบรรเลงนับแต่เริ่มพิธีกรรม การเจ็บป่วยที่มิใช่เกิดจากผี หมอเยาจะแนะนำให้ใช้ยาสมุนไพรในการรักษา

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

มีตำนานเรื่อง กษัตริย์อ้ายกก ซึ่งเป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ได้ทรงคิดประดิษฐ์อักษรเพื่อใช้สอนประชาราษฎร์ของพระองค์ให้รู้จักขีดเขียนและอ่านหนังสือ แต่พระองค์ถูกศัตรูทำร้ายจนสิ้นพระชนม์ในสนามรบ ยิ่งกว่านั้น สุนัขยังเข้าไปในพระราชวังของพระองค์และได้คาบเอาหนังควายที่จารึกอักษรโซ่ไว้ไปกิน จึงทำให้โซ่ไม่มีอักษรตั้งแต่บัดนั้น คงเหลือแต่ภาษาพูด (หน้า 26)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

โซ่จะพูดภาษาโซ่ในหมู่คนโซ่แต่เมื่อพูดกับคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะพูดภาษาไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือสลับกันไปตามพวกในวงสนทนา ยกเว้นคนที่อายุมากจะมีปัญหาเรื่องการใช้ภาษา โซ่ยอมรับการใช้ภาษาอื่นว่าเป็นภาษาที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน (ร้อยละ 77.74) คนโซ่ส่วนใหญ่ร้อยละ 80.22 เห็นด้วยว่าโซ่จะแต่งงานกับใครก็ได้ ส่วนวิถีชีวิตและการนับถือพระพุทธศาสนาของโซ่ไม่แตกต่างกับคนไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (หน้า 49 - 53)

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

- เพศและอายุของประชากร(22) - สถานภาพการสมรสของประชากร(23) - ระดับการศึกษาของประชากร(24) - ฐานะทางเศรษฐกิจของประชากร(หน้า 25) - การพูดภาษาโซ่ในชีวิตประจำวันในครอบครัวของประชากร(39) - ความคิดเห็นของประชากรต่อการที่จะให้บุตรหลานหรือญาติสนิทต้องรู้และพูดภาษาโซ่ได้เป็นอย่างดี(40) - พื้นเพของผู้สมรสของประชากร(41) - พิธีการสมรสของประชากร(42) - ความคิดเห็นของประชากรต่อคำกล่าวที่ว่าคนโซ่ต้องแต่งงานกับคนโซ่เท่านั้น (43) - ความคิดเห็นของประชากรต่อคำกล่าวที่ว่าพิธีสมรสของโซ่จะต้องจัดตามประเพณีของโซ่จึงจะถือว่าถูกต้อง(44) - สถานที่อยู่ของคู่สมรสหลังจากแต่งงานแล้วของประชากร(45) - ความคิดเห็นของประชากรต่อคำกล่าวว่าหลังจากแต่งงานแล้วฝ่ายหญิงจะต้องไปอยู่ที่บ้านของฝ่ายชายเท่านั้น(46) - การเคยเข้าร่วมเลี้ยงผีคุณหรือจุ้มผีของประชากร(47) - การเคยตามหมอเยามาเยาเพื่อรักษาคนป่วยที่บ้านของประชากร(48) - ความสามารถพูดภาษาไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประชากร(49) - การพูดภาษาโซ่ในชีวิตประจำวันนอกครอบครัวของประชากร(50) - ความคิดเห็นของประชากรต่อคำกล่าวว่าโซ่จะแต่งงานกับใครก็ได้(51) - ความเชื่อและการปฏิบัติตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนาของประชากร(52) - ความคิดเห็นของประชากรที่ว่า ถ้ามีโอกาสบวชจะบวชหรือไม่(53) - ความคิดเห็นของประชากรต่อคำกล่าวว่า หลังจากแต่งงานแล้วคู่สมรสจะอยู่บ้านของฝ่ายใดก็ได้แล้วแต่ความสมัครใจของทั้ง 2 ฝ่าย(54) - การเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มของประชากร(55) - การเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาของประชากร(56) - การเคยเดินทางไปธุรกิจนอกหมู่บ้าน นอกตำบลของประชากร(57) - การพบปะคนภายนอกในชีวิตประจำวันของประชากร(58) - การเข้าร่วมกิจกรรมของสังคมและติดต่อกับคนนอกชุมชนของประชากร(59) - ระดับการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมของโซ่กับวัฒนธรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(60) - ความสัมพันธ์ระหว่างเพศกับการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมของโซ่กับวัฒนธรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(61) - ความสัมพันธ์ระหว่างอายุกับการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมของโซ่กับวัฒนธรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(62) - ความสัมพันธ์ระหว่างระดับการศึกษากับการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมของโซ่กับวัฒนธรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(64) - ความสัมพันธ์ระหว่างฐานะทางเศรษฐกิจกับการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมของโซ่กับวัฒนธรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(66) - ความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรมของสังคมและติดต่อกับคนภายนอกชุมชนกับการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมของโซ่กับวัฒนธรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(68)

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 01 พ.ย. 2555
TAG โส้ โซร ซี, การผสมกลมกลืน, วัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, สกลนคร, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง