สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง),วิถีการผลิต,ความสัมพันธ์ทางสังคม,กาญจนบุรี
Author วัลย์ลิกา สรรเสริญชูโชติ
Title ศึกษาการเปลี่ยนแปลงในวิถีการผลิตและระบบความสัมพันธ์ทางสังคมในมิติหญิงชายของชุมชนกะเหรี่ยง : ศึกษาเฉพาะกรณีบ้านทิพุเย หมู่ที่ 3 ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity โพล่ง โผล่ง โผล่ว ซู กะเหรี่ยง, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 116 Year 2545
Source หลักสูตรปริญญาพัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Abstract

วิถีการผลิตดั้งเดิมของสังคมกะเหรี่ยงที่วางอยู่บนพื้นฐานของการผลิตเพื่อยังชีพ ภายใต้วิธีคิดแบบองค์รวมที่นำมโนทัศน์ที่มีต่อธรรมชาติ ความเชื่อเรื่องผีและจริยธรรมแบบพุทธมาผสมผสานเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแบบแผนในการดำเนินชีวิต และระบบความสัมพันธ์ทางสังคมโดยมิได้แยกจากกัน มีความสอดคล้องและเอื้อให้เกิดความยั่งยืนของสังคมมนุษย์และธรรมชาติ ซึ่งอยู่ร่วม ในระบบนิเวศเดียวกันภายใต้บริบทของความสัมพันธ์เชิงอำนาจทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง บนพื้นฐานของความพอเพียง แบ่งปันไม่ละโมบ ไม่สะสม ย่อมเอื้อให้เกิดความเกื้อกูล เสมอภาคและเท่าเทียมกันทั้งในแง่ชนชั้นทางสังคมและความสัมพันธ์ระหว่างเพศ ความเปลี่ยนแปลงของชุมชนกะเหรี่ยงเกิดจากปัจจัยหลักจากภายนอก 2 ประการได้แก่ 1. กลไกการพัฒนาของรัฐ การใช้กฎหมายในการควบคุมและจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจของชุมชน ด้วยนโยบายการพัฒนาชาวเขาแบบกลืนกลาย และดึงให้ชุมชนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมโยอาศัยเครื่องมือในการพัฒนาต่างๆ 2. การเชื่อมต่อของชุมชนกะเหรี่ยงกับเมืองและระบบกลไกตลาดทุนนิยม โดยผ่านถนนและสื่อต่าง ๆ การแต่งงานกับคนนอกพื้นที่ การเข้ามาซื้อที่ดินในชุมชนของนายทุน การอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานของคนภายนอกชุมชนและแรงงานต่างด้าว เป็นต้น

Focus

ศึกษาผลกระทบของการพัฒนาของรัฐและระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่มีต่อวิถีการผลิตและโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมของชุมชนกะเหรี่ยงในมิติชายหญิง

Theoretical Issues

การขยายตัวของทุนนิยมเข้าสู่ชุมชนกะเหรี่ยง ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบบการใช้ที่ดินที่เคยเป็นแบบไร่หมุนเวียน ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์หญิง-ชายในการผลิตในครัวเรือนใน 2 ทิศทางด้วยกัน คือ สำหรับครอบครัวที่ปรับตัวได้ดี สามีและ ภรรยาสามารถรักษาความสัมพันธ์ในลักษณะเดิมได้ ผู้หญิงมีความสำคัญในครัวเรือน แต่ครอบครัวที่ปรับตัวไม่ได้มีความยากจน ไม่มีที่ดิน ผู้หญิงจะสำคัญน้อยลง (หน้า 79 - 80)

Ethnic Group in the Focus

กะเหรี่ยงโป

Language and Linguistic Affiliations

กะเหรี่ยงบ้านทิพุเยใช้ภาษากระเหรี่ยงและภาษากลาง ภาษาเขียนเดิมใช้อักษรมอญอ่านเป็นภาษากะเหรี่ยง (หน้า 52)

Study Period (Data Collection)

พ.ศ. 2545

History of the Group and Community

"ทิพุเย" เป็นภาษากะเหรี่ยงหมายถึง ลำห้วยเล็กที่มีต้นเยขึ้นอยู่ ตั้งรกรากถาวรประมาณ 54 ปีมาแล้ว มัคนายกของชุมชนเล่า ว่าบรรพบุรุษของตนตั้งรกรากอยู่ในป่าตำบลชะแล และป่าทุ่งใหญ่นเรศวรในปัจจุบันมาหลายชั่วอายุคนแล้ว "หลวงปู่" บิดาของมัคนายกซึ่งมรณภาพแล้วเคยเล่าว่า เคยได้เลี้ยงดูช้างเผือกเชือกที่นำไปถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในคราวเสด็จประพาสไทรโยค (ขณะนั้นหลวงปู่อายุ 7 ขวบ) พระองค์ได้ตอบแทนชาวบ้านโดยยกเว้นการเกณฑ์ทหารสำหรับชายกะเหรี่ยงในตำบลชะแล หลักฐานอีกประการหนึ่ง คือ งานพระราชนิพนธ์ในคราวเสด็จพระราชดำเนินไทรโยคเป็นครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2420 เป็นหลักฐานที่ยืนยันว่าชุมชนกะเหรี่ยงมีถิ่นฐานอยู่แถบตะวันตกของประเทศไทยมาเป็นเวลากว่า 100 ปี (หน้า 45)

Settlement Pattern

การตั้งบ้านเรือนจะอยู่เป็นกลุ่มเครือญาติเล็กๆ ประมาณ 4 - 5 ครอบครัว (หน้า 46) กะเหรี่ยงจะปลูกเรือนจากวัสดุธรรมชาติ ใช้ไม้ไผ่ทำโครงพื้นและตัวบ้าน ใช้ตอกผูก หลังคาใช้ใบไม้ ใบหวายหรือหญ้าคาความเป็นอยู่เรียบง่าย ลักษณะบ้านไม่มั่นคงแข็งแรงเพราะจะไม่อยู่ที่ใดที่หนึ่งเป็นเวลานาน จะโยกย้ายเมื่อมีเหตุการณ์ไม่ดีหรือมีโรคระบาดเกิดขึ้น (หน้า 46)

Demography

บ้านทิพุเย มีจำนวน 61 หลังคาเรือน 67 ครอบครัว 335 คน เป็นชาย 178 คน หญิง 157 คน (หน้า 45) ปี พ.ศ. 2541 บ้านพิทุเย มีเด็กที่จบชั้นประถมศึกษาจำนวน 12 คน ได้รับการศึกษาต่อในระดับมัธยม 11 คน (หน้า 50)

Economy

เดิมชาวบ้านพิทุเยทั้งหมดยังชีพด้วยการทำไร่ข้าวแบบไร่หมุนเวียนและปลูกพืชอาหารต่างๆ เช่น พริก ฟักทอง เผือก มัน รวมอยู่ในไร่ข้าวด้วย ยังคงลักษณะเศรษฐกิจเพื่อการยังชีพและพึ่งตนเอง เงินมีความจำเป็นน้อยมากในการดำรงชีพ ปัจจุบันโดยมากยังคงประกอบอาชีพทำไร่ โดยปลูกพืชหลัก 3 ชนิดได้แก่ ข้าวไร่ พริกและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ บางครอบครัวทำสวนผลไม้ ปลูกผักสวนครัว ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและขุดบ่อเลี้ยงปลา โดยทั่วไป รายได้เสริมของชาวบ้านคืออาชีพรับจ้างและการหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ เช่น น้ำผึ้ง หน่อไม้ เห็ดต่าง ๆ เป็นต้น (หน้า 52 - 3)

Social Organization

ความสัมพันธ์ทางสังคมเป็นกลุ่มเครือญาติ เกือบทั้งหมดเป็นเครือญาติเดียวกัน การดำเนินชีวิตเรียบง่าย รักสงบ รักอิสระ สันโดษ พอใจในสิ่งที่มีอยู่ ความเป็นอยู่จะผูกพันกับไร่ข้าวและป่าตั้งแต่เกิดจนตาย (หน้า 49) จากสังคมที่ยึดกฎเกณฑ์ของผีและความสัมพันธ์ระบบเครือญาติ เป็นกติกาในการอยู่ร่วมกันในสังคมสู่ความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่อิงอยู่กับอำนาจและกลไกของรัฐและอำนาจทางเศรษฐกิจ ศูนย์กลางของอำนาจอยู่ที่ตัวบุคคลมากกว่ากติการ่วมของสังคมภายในชุมชน ดังนั้นกลไกแบบเดิมจึงไม่สามารถควบคุมความประพฤติของคนให้อยู่ในกรอบของประเพณีดั้งเดิมก่อให้เกิดความสัมพันธ์เชิงอำนาจแบบใหม่ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดช่องว่างทางชนชั้นและความสัมพันธ์ในแนวดิ่งมากขึ้น รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างเพศซึ่งผู้หญิงมีโอกาสที่จะเสียเปรียบมากขึ้น ผู้หญิงที่พึ่งพาฐานะทางเศรษฐกิจจากฝ่ายชาย โดยเฉพาะผู้หญิงในครอบครัวยากจน มีแนวโน้มที่จะเกิดความรุนแรงในครอบครัวมากขึ้น เนื่องจากความเครียดจากปัญหาทางเศรษฐกิจเกิดความวิตกกังวลทางด้านเศรษฐกิจโดยที่กลไกทางสังคมแบบเดิมไม่สามารถปกป้องคุ้มครองผู้หญิงได้มากนัก สังคมกะเหรี่ยงดั้งเดิมเป็นกิจกรรมร่วมกันระหว่างสมาชิกในครัวเรือนถ้าครอบครัวใดประสบปัญหาเนื่องจากสมาชิกในครอบครัวเจ็บป่วยจะมีการลงแขกช่วยเหลือแต่ปัจจุบันโครงสร้างของครอบครัวเป็นครอบครัวเดี่ยว จำนวนสมาชิกในครอบครัวลดลง เด็กที่เป็นแรงงานเสริมในครัวเรือนต้องเข้าสู่ระบบโรงเรียนตามกลไกของรัฐ หากสามีหรือภรรยาซึ่งเป็นแรงงานหลักของครอบครัวคนใดคนหนึ่งล้มป่วยลง ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องทำงานตามลำพังย่อมประสบความเดือดร้อน ปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจ สังคม ค่านิยมและความเชื่อที่เปลี่ยนไป ทำให้กลไกควบคุมความประพฤติของสมาชิกแบบเดิมใช้ไม่ได้กับทุกคนและทุกเรื่อง แต่รากฐานทางความคิดและวัฒนธรรมยังคงอยู่ในวิถีของชุมชน บทบาทด้านส่วนรวมและการพัฒนาชุมชน ในกลุ่มของผู้หญิงจะได้รับความร่วมมือสูง เป็นผลให้โครงสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ฝ่ายหญิงจะมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่าง ๆ ในครอบครัวสูงขึ้น เนื่องจากคุณลักษณะความเป็นผู้นำทำให้ได้รับการยอมรับจากกลุ่มสมาชิก ทำให้เกิดความสัมพันธ์ทางเครือญาติที่แน่นแฟ้นขึ้นอันเป็นปัจจัยสนันสนุนไปสู่การร่วมมือในกิจกรรมต่าง ๆ ของครอบครัว สำหรับครอบครัวที่ค่อนข้างยากจน เป็นกลุ่มที่มีบทบาทในการพัฒนาค่อนข้างน้อย การมีส่วนร่วมมักจะเป็นการเข้าร่วมหรือการให้ความร่วมมือในลักษณะการช่วยเหลือแรงงานหรือร่วมรับผลประโยชน์เป็นหลัก (หน้า 79 -90)

Political Organization

บ้านทิพุเย หมู่ที่ 3 ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิจังหวัดกาญจนบุรี อยู่ภายใต้การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลชะแล มีที่ทำการตั้งอยู่ในหมู่บ้านพิทุเย แบ่งเขตการปกครองเป็น 7 หมู่บ้าน (หน้า 47)

Belief System

กะเหรี่ยงดั้งเดิมจะยึดมั่นในพุทธศาสนาควบคู่กับการนับถือผีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวพันกับธรรมชาติและวิถีชีวิต (หน้า 46) คติความเชื่อของกะเหรี่ยงโปในเขตพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรีและสุพรรณบุรี เป็นการผสมผสานกันระหว่างพุทธศาสนานิกายเถรวาทตามแบบฉบับที่ได้รับจากมอญ ควบคู่กับการถือผีตามคติความเชื่อเดิมของบรรพบุรุษ กะเหรี่ยงโปภาคตะวันตก มีความต่างกับกะเหรี่ยงสะกอในภาคเหนือ เช่น ห้ามเลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภคเพราะถือว่าเป็นบาป เหล้าเป็นสิ่งต้องห้ามในสังคมกะเหรี่ยงโปภาคตะวันตก เป็นต้น (หน้า 50)

Education and Socialization

เดิมชาวบ้านมิได้เรียนภาษาไทยหน่วยงานแรกที่เข้ามาในชุมชนเมื่อปี พ.ศ. 2521 คือศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา มีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาและสร้างโรงเรียนชั่วคราวขึ้นในชุมชน ต่อมาได้ยุบตัวลงเนื่องจากเด็กไปเรียนที่โรงเรียนบ้านเกริงกระเวีย ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 4 กิโลเมตร มีศูนย์เด็กเล็ก 1 แห่ง มีโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ฯ จำนวน 3 โรงเรียนทำการสอนในระดับมัธยมศึกษาโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ปัจจุบันมีครู กศน.ประจำในหมู่บ้าน 1 คน เด็กและเยาวชนในหมู่บ้านโดยมากจะได้รับการศึกษาอย่างน้อยในระดับประถมศึกษา (หน้า 49 - 50)

Health and Medicine

มีสถานีอนามัยเกริงกระเวียอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 4 กิโลเมตร การรักษาของชาวบ้านมีทั้งใช้ยาสมุนไพรและใช้การรักษาทางไสยศาสตร์แบบพื้นบ้าน แต่โดยมากจะใช้บริการที่สถานีอนามัยและโรงพยาบาลทองผาภูมิ (หน้า 50)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ปัจจุบันการแต่งกายของชาวบ้านจะเหมือนกับคนพื้นที่ราบทั่วไป ชายนิยมใส่เสื้อยืด เสื้อเชิ้ต กางเกงขายาว ผู้สูงอายุชายนิยม นุ่งโสร่ง หญิงสูงอายุและหญิงที่มีครอบครัวแล้วนิยมใส่เสื้อกับผ้าถุง เด็กวัยรุ่นแต่งกายตามสมัยนิยม เวลามีงานบุญหรืองานประเพณีผู้หญิงจะนิยมแต่งกายด้วยชุดกะเหรี่ยง ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วจะใส่เสื้อกะเหรี่ยงทอลายแดงกับผ้าถุงทอลายสีพื้นเป็น สีแดง ส่วนหญิงที่ยังไม่แต่งงานจะแต่งชุดกะเหรี่ยงยาวกรอมเท้าทรงกระสอบสีขาว ผู้ชายนุ่งโสร่งหรือแต่งกายตามสมัยนิยม (หน้า 52)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ในอดีตประชากรเดิมเป็นคนไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงโปทั้งหมด ปัจจุบันมีคนต่างวัฒนธรรมจากภายนอกเข้ามาอาศัยอยู่ในชุมชนเพิ่มมากขึ้น โดยการซื้อที่ดินเพื่อทำการเกษตรและการแต่งงานกับคนในชุมชนแล้วย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ในชุมชน (หน้า 49) ในอดีตสังคมยึดกฎเกณฑ์ของผีเป็นกติกาของการอยู่ร่วมกันในสังคม ปัจจุบันสังคมเริ่มเปลี่ยนมาสู่การยึดถือกฎหมายและบรรทัดฐานทางสังคมสมัยใหม่ที่วางอยู่บนหลักประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล ความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจจากการผลิตเพื่อยังชีพการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนผลผลิตที่จำกัดภายในชุมชนและสังคมกะเหรี่ยงเป็นหลัก เปลี่ยนไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่มีความสัมพันธ์กับระบบเศรษฐกิจภายนอกชุมชนและเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบ ทุนนิยมมากขึ้น (หน้า 95,97)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

- ตารางข้อมูล จปฐ.3 ปี พ.ศ.2544 บ้านทิพุเย แสดงอัตราส่วนประชาชนมีการประกอบ อาชีพและมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ(72) - แผนที่บ้านทิพุเย หมู่ที่ 3 ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี(102)

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 05 ก.ย. 2555
TAG โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง), วิถีการผลิต, ความสัมพันธ์ทางสังคม, กาญจนบุรี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง