สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลาหู่,มูเซอดำ,มูเซอเหลือง,การรักษาเอกลักษณ์,พรมแดนชาติพันธุ์,เชียงราย
Author อธิตา สุนทโรทก
Title มูเซอดำมูเซอเหลือง การรักษาเอกลักษณ์และพรมแดนชาติพันธุ์
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลาหู่ ลาหู่ ละหู่ ลาฮู, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 115 Year 2539
Source หลักสูตรสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Abstract

มูเซอดำและมูเซอเหลืองที่บ้านบาหลา มีเส้นทางการอพยพที่ต่างกันก่อนที่จะมาอาศัยอยู่ร่วมกัน เป็นผลให้ทั้งสองกลุ่มชนไม่ค่อยมีความผูกพันกันมากนัก นอกจากนั้นยังมีความต่างด้านศาสนา ค่านิยม พิธีกรรม มาตรฐานทางศีลธรรม เป็นผลให้กลุ่มคนทั้งสองมีการแบ่งพรมแดนทางชาติพันธุ์

Focus

ศึกษา เปรียบเทียบการรักษาเอกลักษณ์การรักษาพรมแดนทางชาติพันธุ์ระหว่างมูเซอดำและมูเซอเหลืองในบริบทการพัฒนาของรัฐและศึกษาที่บ้านบาหลา อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย (หน้า 1)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

มูเซอดำ( Lahu Na หรือ Black Lahu ) และมูเซอเหลือง( Lahu Shi หรือ Yellow Lahu ) (หน้า 15)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษามูเซอจัดอยู่ในกลุ่มโลโลซึ่งเป็นสาขาย่อยของตระกูลภาษาธิเบต - พม่า (หน้า 34) แต่มีชาวบ้านในหมู่บ้านไม่กี่คนที่พูดภาษาไทยได้ดีบางคนฟังภาษาไทยไม่เข้าใจแต่พูดไม่ค่อยได้ (หน้า16)

Study Period (Data Collection)

เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2538 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ.2539

History of the Group and Community

มูเซอในประเทศไทย จากหลักฐานลายลักษณ์อักษรที่สอดคล้องกันทั้งที่เป็นภาษาต่างประเทศและภาษาไทย ปรากฎว่า มูเซอ ได้อพยพเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่พ.ศ.2323 (หน้า 40) สามารถจำแนกได้เป็น 7 กลุ่มดังนี้ มูเซอดำ มูเซอเฌเล มูเซอแดง มูเซอเหลืองบาหลา มูเซอเหลืองบาเกียว มูเซอล่าบ้าและมูเซอกุเลา ทั้งหมดนี้อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายแม่ฮ่องสอน ตากและกำแพงเพชร โดยมีมูเซอแดงเป็นกลุ่มแรกที่อพยพเข้ามาในไทยตามด้วยมูเซอเฌเลและมูเซอเหลืองบาเกียว หลังจากนั้นประมาณปี พ.ศ.2497 มูเซอดำจึงอพยพเข้ามาในไทยและประมาณ พ.ศ.2513 ก็มีมูเซอดำ มูเซอเหลืองบาหลา และมูเซอเหลืองบาเกียวเข้ามาในไทยอีกระลอกหนึ่งเนื่องจากการสู้รบในพม่าและในปี พ.ศ.2525 มีการอพยพของมูเซอจากพม่าเข้ามาในไทยครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง (หน้า 41)

Settlement Pattern

เป็นหมู่บ้านคริสต์ ในหมู่บ้านมีโบสถ์สองแห่ง เป็นของมูเซอดำและมูเซอเหลืองกลุ่มละหนึ่งแห่ง บ้านเรือนถูกแบ่งเป็นกลุ่มๆ ตามถนนในหมู่บ้าน บ้านของมูเซอดำและมูเซอเหลืองอยู่ปะปนกัน รูปทรงบ้านเรือนมีหลายแบบ มีทั้งยกพื้นสูงและปลูกติดพื้นดิน บางหลังก็ก่ออิฐโบกปูนหลังคามุงกระเบื้อง บางหลังก็เป็นเรือนไม้ยกพื้นสูง บางหลังก็เป็นเรือนฝาไม้ไผ่หลังคาใบหญ้าหรือสังกะสี บ้านทุกหลังมีรั้วกั้น ภายในรั้วนอกจากมีเรือนนอนแล้ว ยังมียุ้งฉาง คอกหมู คอกควายและส้วม บางหลังก็มีเรือนครัวซึ่งเป็นเรือนพื้นติดดินแยกออกมาอีกหลังหนึ่ง บ้านที่มีรูปทรงแบบบ้านในเมืองส่วนใหญ่เป็นของมูเซอดำ (หน้า 63)

Demography

จำนวนประชากรมูเซอในประเทศไทยเมื่อกลางปี พ.ศ.2526 (ค.ศ.1983) มีประมาณ 40,000 คนและ 85%ของจำนวนนี้อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย มูเซอดำได้ย้ายจากดอยตุงเข้ามาในเขตอำเภอแม่สรวย ประมาณปี พ.ศ.2522 ประมาณ 200 ครอบครัว มีการย้ายไปตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ต่าง ๆ ประมาณปีพ.ศ. 2534 มีประมาณ 20 กว่าครอบครัวที่ย้ายมาที่บ้านบาหลาโดยซื้อที่ดินจากมูเซอเหลือง (หน้า 41, 60-61)

Economy

มีการเพาะปลูกไร่เลื่อนลอย ปลูกข้าว ฝิ่นและข้าวโพดเป็นพืชหลัก แต่ปัจจุบันไม่ทำไร่เลื่อนลอยและมิได้เพาะปลูกเพื่อบริโภคอย่างเดียวแต่ได้ปลูกเพื่อขายด้วย นอกจากนี้ ยังมีการเลี้ยงสัตว์ ทุกครัวเรือนเลี้ยงไก่ หมู บ้างก็เลี้ยงไว้ขาย เศรษฐกิจในหมู่บ้านมี 2 แบบคือการแลกเปลี่ยนสินค้าบริการและการค้าขายแบบใช้เงิน การแลกเปลี่ยนสินค้าบริการ ใช้เฉพาะภายในหมู่บ้าน ได้แก่ การสีข้าวและการจ้างผสมพันธุ์หมู ส่วนการค้าขายแบบใช้เงินซึ่งมีการค้าหลายชนิด เช่น การขายพืชผลในไร่ การขายหมูและการทอผ้าทำย่าม การรับจ้างรับส่งขนของ บางคนก็ออกไปทำงานนอกหมู่บ้าน (หน้า 74-77)

Social Organization

สังคมมูเซอไม่มีการสืบสายตระกูลบรรพบุรุษและมีเครือญาติไม่สลับซับซ้อนนับญาติเพียงแค่ 3 ชั่วอายุคน สายสัมพันธ์ของเครือญาติไม่ผูกพันแน่นแฟ้นเหมือนกลุ่มชาติพันธุ์อื่น และมิได้ตั้งอยู่บนหลักการของการสืบสายตระกูลบรรพบุรุษของฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง (หน้า 49) ลักษณะครอบครัวของมูเซอเหลืองและมูเซอดำยังคงรูปแบบเดิมเหมือนมูเซอทั่วไป คือ สมาชิกครอบครัวประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูกบางครอบครัวก็ประกอบด้วยพ่อ แม่ ลูกและปู่ย่าหรือตายาย บางครอบครัวลูกแต่งงานหรือไปทำงาน นอกหมู่บ้านเหลือแต่พ่อกับแม่ ความสัมพันธ์ของครัวเรือนภายในกลุ่มมูเซอเหลืองและมูเซอดำไม่ต่างกัน ในกลุ่มมูเซอเหลือง ผู้นำศาสนาหรือสล่า เป็นกลุ่มเครือญาติใหญ่ที่สุด สำหรับมูเซอดำประกอบด้วยกลุ่มญาติพี่น้องกลุ่มใหญ่สุดกลุ่มหนึ่ง กลุ่มหัวหน้ากลุ่มเป็นผู้ที่มีอายุอาวุโส การที่ทั้งสองกลุ่มต่างมีเครือข่ายของตนอยู่แล้วและเป็นกลุ่มใหญ่ ทำให้ต่างคนต่างมีพื้นที่ช่องทางของตน ไม่จำเป็นต้องพึ่งพากันก็ได้ ที่บ้านบาหลายังไม่มีมูเซอดำและมูเซอเหลืองแต่งงานกันแต่มีสาวมูเซอดำที่บาหลาแต่งงานกับมูเซอเหลืองจากบ้านอื่น มูเซอดำเป็นสังคมที่นับญาติสองสายทั้งข้างพ่อและข้างแม่ โดยมากผู้หญิงจะเลือกแต่งกับชายที่มีความขยัน สมัยก่อนการแต่งงาน ต้องมีสินสอด หลังแต่งงานแล้วฝ่ายชายต้องอยู่บ้านฝ่ายหญิง 3 ปีจึงจะย้ายกลับบ้านได้ และฝ่ายชายต้องอยู่บ้านกับพ่อแม่อย่างน้อย 3 ปีเช่นกันจึงจะแยกบ้านได้ การแต่งงานกับคนนอกเผ่าแม่เฒ่ามูเซอเหลืองคนหนึ่งบอกว่า แต่ก่อนไม่ค่อยมีเพราะไม่ค่อยมีการติดต่อกัน แต่ปัจจุบันมีมากขึ้น เพราะหนุ่มสาวพบกันนอกหมู่บ้าน (หน้า 65 -67) ความสัมพันธ์กับคนนอกชุมชน ชาวบ้านมีการติดต่อกับคนนอกชุมชนตลอดเวลา ทั้งญาติพี่น้องที่อยู่ชุมชนอื่น ชาวเขาเผ่าอื่นและคนเมือง เนื่องจากการเดินทางค่อนข้างสะดวก (หน้า73)

Political Organization

หน่วยพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาได้ตั้งที่ทำการชุมชนขึ้นที่หมู่บ้านบาหลา ตำบลท่าก๊อ อำเภอ แม่สรวย จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2527 ตั้งชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า "แม่ต๋ำสองสบ" ยังไม่มีฐานะเป็นหมู่บ้านตามกฎหมาย เป็นหมู่บ้านบริวารของบ้านแม่ต๋ำ มีตัวแทนชุมชนทำหน้าที่เป็นผู้ใหญ่บ้านเรียกว่า "พ่อหลวง" หน่วยงานราชการในชุมชน มีศูนย์เด็กเล็กซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมประชาสงเคราะห์ มีสถานบริการสาธารณสุขอยู่ในความดูแลของอนามัยอำเภอ ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1 - 2 กม.มีโรงพลังงานไฟฟ้าแต่มิใช่เพื่อให้บริการแก่ชุมชนบริเวณนี้ (หน้า 58 - 59)

Belief System

มูเซอดำนับถือศาสนาคริสต์ นิกายแบ็บติสต์ ซึ่งมีข้อห้ามเคร่งครัดไม่ให้บูชาหรือเซ่นไหว้ใด ๆ นอกจากพระคริสต์ สำหรับมูเซอเหลืองนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก แม้ว่ามูเซอเหลืองนับถือคริสต์แต่ยังมีพิธีทำบุญให้ญาติพี่น้องที่เสียชีวิตไปแล้ว ในพิธีมีการฆ่าหมูเพื่อทำอาหารและมีเหล้าเลี้ยงญาติและเพื่อนบ้าน โดย "สล่า" จะต้องสวดอธิษฐานก่อน ซึ่งพิธีนี้ไม่มีในหมู่มูเซอดำ พิธีกรรมในโบสถ์วันอาทิตย์ของทั้งสองเผ่ามีความต่างกันมาก มูเซอเหลืองเข้าโบสถ์วันละ 3 ครั้งส่วนมูเซอดำเข้าโบสถ์วันละ 4 ครั้ง เช้า สาย กลางวันและเย็น พิธีภายในโบสถ์มูเซอเหลือง สล่าเป็นผู้ดำเนินพิธีกรรมคนเดียว แต่มูเซอดำนอกจากสล่าแล้วยังมีสมาชิกคนอื่นเป็นผู้นำพิธีด้วยและไม่มีแต่เพียงการสวดและเทศน์เท่านั้น ยังมีการร่วมร้องเพลงโดยมีกีตาร์บรรเลงทำนองประกอบด้วย เนื่องจากทั้ง 2 เผ่านับถือศาสนาคริสต์ต่างนิกายกัน ดังนั้นจึงต้องมีโบสถ์ 2 หลัง (หน้า 67- 70)

Education and Socialization

หมอยาสมุนไพรจะได้รับการศึกษาสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น จากพ่อสู่ลูก หรือผู้สนใจที่มีอายุเป็นผู้ใหญ่ประมาณ 20 กว่าปีขึ้นไปและต้องมีฟันครบ 32 ซี่จึงจะรักษาได้ผล (หน้า 71)

Health and Medicine

ในบ้านบาหลานอกจากมีสถานบริการสาธารณสุขแล้วยังมีหมอยาสมุนไพรเรียนการรักษามาจากพ่อตั้งแต่ยังอยู่ในพม่า สมุนไพรที่รักษามี 2 วิธีคือต้มให้ดื่มกับประคบนอกจากใช้สมุนไพรแล้วยังใช้การเป่ารักษาด้วย ในช่วงที่รักษา มีความเชื่อว่าคนไข้ต้องงดอาหาร 3 ชนิดคือ ไก่ เนื้อวัว และปลา ในคนที่โดนกระสุนปืนต้องไม่อยู่ใกล้ผู้หญิงที่มีประจำเดือนและคนท้อง (หน้า 70-71)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ผู้ชายมูเซอแต่งกายเหมือนคนพื้นราบทั่วไป นุ่งกางเกงขายาว สวมเสื้อยืดหรือเสื้อเชิ้ต ตัดผมสั้น ส่วนผู้หญิงนุ่งซิ่นป้ายขวาบ้าง ป้ายซ้ายบ้าง เหน็บชายผ้าที่เอว สวมเสื้อสำเร็จรูปที่ซื้อจากตลาด ส่วนมากไว้ผมยาว ถ้าเป็นนักเรียนจะตัดผมสั้นทรงพวงมาลัย ผู้หญิงมูเซอเหลืองที่อายุมากจะสวมต่างหูเงินอันใหญ่และสวม กำไลเงินที่ข้อมือทั้งสองข้าง มูเซอทั้งหญิงและชายจะแต่งชุดประจำเผ่าในโอกาสพิเศษ เช่นงานฉลองปีใหม่และงานแต่งงาน การแต่งกายของมูเซอเหลืองที่บ้านบาหลาไม่เคร่งครัดนักเพราะบางคนก็ใส่เสื้อผ้าของมูเซอดำ เสื้อผ้ามูเซอดำจะสีขรึมทึบกว่ามูเซอเหลืองที่ใส่เสื้อผ้าสีสดใส แต่ทั้งสองเผ่าก็มีลักษณะหนึ่งที่ร่วมกันอยู่ คือ การใช้แถบผ้าเป็นริ้วตกแต่งเป็นลวดลาย (หน้า71 - 72)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับชนเผ่าอื่นแต่ได้มีการกล่าวถึงเรื่องการแต่งงานว่าปัจจุบันมีการแต่งงานกับคนนอกเผ่าเพราะมีการติดต่อกันกับกลุ่มคนภายนอกมากขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นภายใต้การปกครองของรัฐ วัฒนธรรมบางประการถูกกลืนและลดบทบาทลง เช่น การแต่งกาย ความเป็นอยู่และความเชื่อ เป็นต้น

Social Cultural and Identity Change

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมจะผันแปรตามเวลาและสถานที่เพื่อให้เข้ากับสถานที่และสภาพแวดล้อมที่ดำรงอยู่ การเปลี่ยนแปลงในอดีตที่มีผลอย่างมากต่อชุมชนมูเซอคือการยอมรับนับถือศาสนาคริสต์ เพราะส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมของมูเซอ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อดั้งเดิม การประกอบพิธีกรรม ประเพณีปฏิบัติหรือชีวิตความเป็นอยู่ (หน้า 85) และการที่อพยพย้ายถิ่นเข้ามาในประเทศไทยซึ่งมีสภาพแวดล้อมต่างไปจากเดิม จึงต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและบริบททางสังคม ในช่วงที่อพยพเข้ามาเป็นระยะที่รัฐบาลกำลังเผชิญกับปัญหาความไม่สงบ ดังนั้น นโยบายการพัฒนาชาวเขาที่รัฐประกาศจึงเน้นที่ความมั่นคงทางการเมืองเป็นสำคัญ เช่น การประกาศให้สัญชาติไทยในทะเบียนบ้านแก่ชาวเขา พ.ศ.2517 การใช้นโยบายรวมพวกในพ.ศ.2519 นอกจากนั้น การพัฒนาด้านการศึกษา การอนามัย สาธารณสุขโดยเฉพาะการส่งเสริมให้ชาวเขาคุมกำเนิด รวมทั้งโครงการพัฒนาที่สูงต่าง ๆ ก็เพื่อความมั่นคงปลอดภัยของชาติ นโยบายดังกล่าวล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของมูเซอดำและมูเซอเหลือง บ้านบาหลาทั้งสิ้น

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนที่แสดงบริเวณการตั้งถิ่นฐานของมูเซอ (32) แผนผังแสดงหมู่บ้านบาหลา(56) ภาพลักษณะการแต่งกายตามประเพณีของมูเซอดำ(53) ภาพลักษณะการแต่งกายตามประเพณีของมูเซอเหลือง(54) ภาพเด็กมูเซอดำและเด็กมูเซอเหลือง(62) ภาพเด็กอีก้อที่เพิ่งย้ายเข้ามาอยู่บ้านบาหลา(62) ภาพบ้านมูเซอดำ(64) ภาพบ้านมูเซอเหลือง(64) ภาพโบสถ์มูเซอดำ(68) ภาพโบสถ์มูเซอเหลือง(68) ภาพงานฉลองปีใหม่ที่ลานเต้นรำกลางหมู่บ้าน(79) ภาพวัยรุ่นมูเซอดำในงานฉลองปีใหม่(81)

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 08 ต.ค. 2555
TAG ลาหู่, มูเซอดำ, มูเซอเหลือง, การรักษาเอกลักษณ์, พรมแดนชาติพันธุ์, เชียงราย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง