สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลาหู่,มูเซอ,การศึกษา,ตาก
Author ศุภชัย สถีรศิลปิน
Title ปัญหาการศึกษาของชาวเขาเผ่ามูเซอในบริเวณดอยมูเซอ จังหวัดตาก
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลาหู่ ลาหู่ ละหู่ ลาฮู, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 45 Year 2527
Source สถาบันวิจัยชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย
Abstract

มูเซอหมู่บ้านอุมยอมให้ความสนใจและมองเห็นประโยชน์ของการศึกษาอยู่บ้าง แต่อ้างว่า เหตุที่ไม่ส่งบุตรหลานไปเรียนนอก หมู่บ้าน เป็นเพราะโรงเรียนอยู่ห่างไกลจากหมู่บ้าน ถ้าส่งบุตรหลานไปเรียนนอกหมู่บ้านทำให้ขาดผู้ดูแลบ้านพักในระหว่างที่ผู้ปกครองออกไปทำงานในไร่ เป็นต้น มูเซอให้ความสนใจที่จะเรียนหนังสืออยู่ในหมู่บ้านมากกว่าที่จะไปเรียนนอกหมู่บ้าน จึงมีการสร้างโรงเรียนในหมู่บ้าน แต่เหตุที่โรงเรียนในหมู่บ้านต้องทิ้งร้าง เป็นเพราะขาดแคลนครูที่มีความสามารถ และครูมิได้มาสอนเป็นประจำในหมู่บ้าน เพราะหมู่บ้านอยู่ในเขตอันตรายจากภัยผู้ก่อการร้าย เจ้าหน้าที่พยายามที่จะชักจูงให้เด็กนักเรียนมาเรียนที่โรงเรียนบ้านมูเซอที่ตั้งอยู่นอกหมู่บ้านโดยผ่านทางผู้นำหมู่บ้านแต่ก็ยังไม่เป็นผล ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาทางการศึกษา โดยเจ้าหน้าที่ควรสร้างความศรัทธาให้เกิดกับมูเซอโดยใช้เวลาคลุกคลีในหมู่บ้านให้มากขึ้นและปฏิบัติงานร่วมกันตามโครงการต่าง ๆ และใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับการสอนหนังสือ นอกจากนั้น การศึกษาชุมชนโดยเรียนรู้ขนบธรรมเนียมและความเชื่อ เพื่อหาลู่ทางการส่งเสริมให้สอดคล้องกับความเชื่อและสร้างความศรัทธาต่อกัน ควรเห็นความสำคัญของการศึกษาภาษามูเซอบ้างเพื่อประโยชน์ในแง่การเข้าถึงและการยอมรับต่อกัน ที่สำคัญคือปัญหาในเรื่องการเป็นหนี้สิน ควรระมัดระวังอย่างยิ่ง เพราะอาจเป็นให้ความเชื่อถือในตัวบุคคลหมดไปได้ (หน้า 39-41)

Focus

การแก้ไขปัญหาการศึกษาของชาวเขาเผ่ามูเซอในบริเวณดอยมูเซอ จังหวัดตาก ที่ไม่ยอมรับการศึกษาและไม่สนับสนุนให้บุตรหลานของตนไปเรียนหนังสือในโรงเรียนที่ตั้งอยู่นอกหมู่บ้าน

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

มูเซอ

Language and Linguistic Affiliations

มูเซอเป็นชนเผ่ามองโกลอยด์พวกหนึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ธิเบต สาขาพม่า-ธิเบต คำว่ามูเซอเป็นคำในภาษาไทยใหญ่ ภาษาพูดของมูเซอ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่คือภาษามูเซอดำและมูเซอกุ้ย แต่ละกลุ่มภาษายังแบ่งได้เป็นหลายภาษาถิ่นย่อย โดยกลุ่มภาษามูเซอดำเป็นภาษาถิ่น มูเซอดำ มูเซอแดงและมูเซอเฌเล ส่วนกลุ่มภาษามูเซอกุ้ย แบ่งออกเป็นภาษาถิ่นมูเซอ บาหลาและมูเซอเกียว (หน้าที่ 11-12)

Study Period (Data Collection)

ระยะเวลาการศึกษา 150 วัน เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2525 เป็นต้นไปแต่มีเหตุจำเป็นที่ต้องเลื่อนระยะเวลา เนื่องจากต้องรอการอนุมัติโครงการ ซึ่งการดำเนินการที่แท้จริงได้เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526 เป็นต้นไป (หน้า 3-4)

History of the Group and Community

หมู่บ้านอุมยอม เริ่มตั้งหมู่บ้านประมาณปี พ.ศ. 2490 เดิมมูเซอเรียกว่า "กะปี่" หรือมูเซอบ้านเก่า เปลี่ยนชื่อเป็นหมู่บ้านอุมยอมตามการแต่งตั้งของทางราชการเมื่อปี พ.ศ. 2502 ประชากรโดยมากอพยพมาจากดอยช้าง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย มีนายยะป่า เป็นผู้นำการอพยพ ซึ่งอ้างกันว่าหมู่บ้านเดิมเกิดโรคระบาดและไม่มีที่ดินทำกิน (หน้า 8-9)

Settlement Pattern

ไม่ได้ระบุชัดเจนว่ามีลักษณะรูปแบบการตั้งถิ่นฐานและลักษณะการตั้งบ้านเรือนอย่างไร เพียงแต่กล่าวในภาพรวมว่า สภาพหมู่บ้านตั้งอยู่บนพื้นที่ราบไหล่เขา (หน้า 8) และระบุว่าธิเบตคือถิ่นฐานดั้งเดิมของมูเซอ และอพยพเคลื่อนย้ายลงมาทางใต้ของจีนจนถึงมณฑลยูนนานพร้อมกับชาวเขาเชื้อชาติโลโลเผ่าอื่น คาดว่าการอพยพของมูเซอยังคงดำเนินอยู่จนถึงปัจจุบันและได้อพยพจากตะวันออกของรัฐฉานของพม่าเข้าสู่ทางตอนเหนือของประเทศไทยในราวสงครามโลกครั้งที่ 2 การเข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทยประมาณว่าเริ่มขึ้นราว พ.ศ. 2418 (หน้า 11)

Demography

หมู่บ้านอุมยอม ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง จังหวัดตาก มีจำนวน 42 หลังคาเรือน จำนวน 53 ครอบครัว มีประชากรรวม 204 คน แบ่งเป็นเพศชาย 103 คน เพศหญิง 101 คน (หน้า 9) ในประเทศไทยมีมูเซออยู่หนาแน่นบริเวณต้นเขาต้นน้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงรายและจังหวัดแม่ฮ่องสอน บางส่วนอาศัยอยู่ในจังหวัดตาก มูเซอที่สำรวจพบในจังหวัดต่างๆ ทางภาคเหนือของประเทศไทยในปี พ.ศ.2523 มีจำนวนประชากรรวมประมาณ 35,509 คน โดยอาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 15,396 คน จังหวัดเชียงราย 15,748 คน จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2,808 คน จังหวัดกำแพงเพชร 266 คนและจังหวัดตาก 1,291 คน จำนวนมูเซอเฌเลเท่าที่สำรวจในประเทศไทย มีจำนวนประมาณ 26 หมู่บ้าน ประชากรรวม 4,335 คน อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ 9 หมู่บ้าน จำนวน 1,673 คน จังหวัดแม่ฮ่องสอน 6 หมู่บ้าน จำนวน 769 คน จังหวัดเชียงราย 4 หมู่บ้าน จำนวน 1,047 คน จังหวัดตาก 6 หมู่บ้าน จำนวน 780 คนและจังหวัดกำแพงเพชร 1 หมู่บ้าน 66 คน(หน้า 12-13)

Economy

ไม่มีข้อมูล

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

มีการจัดตั้งผู้นำหมู่บ้านซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับสูงสุดสืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุดทางศาสนา "ปู่จาร" โดยทางประเพณี สังคมมูเซอเฌเลมักยกย่องบุคคล 3 คนคือ "คะแชผ่า" (หัวหน้าหมู่บ้าน) "ปู่จาร" (ผู้นำทางศาสนา) และแปตูป่า (ผู้จุดเทียนบูชาเทพเจ้ากือซา) ซึ่งผู้นำหมู่บ้านจะทำหน้าที่ทั้ง 3 อย่างพร้อมกันได้ (หน้า 9, 28 -29)

Belief System

โดยมากยังนับถือผี เทพเจ้าสูงสุดคือเทพเจ้ากือซา สังเกตได้จากการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ

Education and Socialization

การนำระบบการศึกษาไปสู่สังคมมูเซอกับสภาพปัญหาทางการศึกษาที่เกิดขึ้นและวิธีการค้นหาสาเหตุรวมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาทางการศึกษาของหมู่บ้านอุมยอม หมู่ที่ 6 ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง จังหวัดตาก

Health and Medicine

มีการประกอบพิธี "ซึต่าหนี่ตีเลอ" เพื่อรักษาอาการเจ็บปวดกระดูกตามข้อและหลัง อันเนื่องมาจากถูกผีต้นไม้ลงโทษเพราะ ไปตัดฟันถูกต้นไม้ใหญ่ที่มีภูตผีอาศัยอยู่ พิธีนี้ได้ตั้งเครื่องบูชาหน้าต้นไม้นั้น โดยมีกระดาษ เทียน ขี้ผึ้ง ข้าวสารและไข่ไก่ เป็นเครื่องเซ่นและกล่าวคำบูชา (หน้า 26) มีการประกอบพิธีเลี้ยงผีบ้าน "กื่อซา กูเลอ" เพื่อใช้รักษาพยาบาลผู้ป่วยตาม จารีตประเพณีของมูเซอ (หน้า 32)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

มูเซอเฌเลแบ่งตัวเองออกเป็น 3 กลุ่มย่อยและเรียกชื่อต่างกันไปคือ มูเซอหมะลอ มูเซอพะคอและมูเซอนะมื่อ ทั้ง 3 กลุ่มนี้มีลักษณะการแต่งกายแบบอย่างเดียวกันคือทั้งหญิงและชายแต่งกายด้วยเสื้อผ้าชุดดำ จึงอาจเป็นเหตุให้คนไทยเรียกชนเผ่านี้ว่ามูเซอดำก็ได้ ที่เห็นได้ชัดคือ ชุดประจำเผ่าของผู้หญิงจะมีแถบผ้าสีขาวกว้างประมาณ 1 นิ้วที่สาบ ขอบแขนและชายเสื้อทั้งตัว (หน้า 12)

Folklore

ความเชื่อในเรื่องการเรียนรู้หนังสือ ตามตำนานเล่ากันว่า กาลครั้งหนึ่งเทวราชกือซาเรียกบรรพบุรุษของเผ่าชนทั้งหลายขึ้นไปเฝ้า เพื่อจะให้ศีลให้พรเกี่ยวกับตัวอักษรและวิทยาการ โดยเขียนลงบนกระดาษสาแต่บรรพบุรุษของมูเซอขึ้นไปเฝ้าเป็นคนสุดท้าย กระดาษที่เขียนนั้นหมดลงพอดี พระองค์จึงคว้าเอาข้าวปุก (ข้าวเหนียวตำใส่งา) แล้วเขียนตัวอักษรและศิลปวิทยาการลงบนข้าวปุก แล้วมอบให้มูเซอ ในระหว่างทางที่มูเซอเดินกลับมายังหมู่บ้าน เขาเกิดความหิวและเผลอหยิบข้าวปุกนั้นขึ้นมากินจนหมด จึงเป็นเหตุให้มูเซอมักจะกล่าวอ้างว่า ตัวอักษรและวิทยาการทั้งหลายนั้นไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ก็อยู่ได้ เพราะความรู้ต่างๆนั้นมีอยู่ในท้องแล้ว (หน้า 13)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

หน่วยงานทางราชการเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อชุมชน อาทิ ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา การจัดระบบการปกครองโดยมีการจัดตั้งผู้ใหญ่บ้าน และการจัดตั้งสถานศึกษา เป็นผลทำให้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมบางประการต้องปรับเปลี่ยน เพื่อให้เข้ากับบริบททางสังคมที่ผันแปร

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนที่หมู่บ้านที่ทำการวิจัย(5) แผนผังหมู่บ้านอุมยอม(6) ภาพที่ 1 ที่ทำการศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดตาก(42) ภาพที่ 2 สภาพหมู่บ้านชาวเขาเผ่ามูเซอเฌเล หมู่บ้านอุมยอม ตำบลแม่ท้อ อำเภอ เมือง จังหวัดตาก(42) ภาพที่ 3 อาคารโรงเรียนหลังเก่าที่ชำรุดจนหมดสภาพ(43) ภาพที่ 4 การประชุมกลุ่มผู้นำชุมชนเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาการศึกษา(43) ภาพที่ 5 การร่วมมือของชาวมูเซอเฌเลในการปลูกสร้างอาคารโรงเรียนหลังใหม่(44) ภาพที่ 6 หัวหน้าศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา จังหวัดตาก ครูใหญ่โรงเรียนบ้านมูเซอและเจ้าหน้าที่หลายฝ่ายรวมทั้งผู้นำมูเซอร่วมกันกระทำพิธีเปิดอาคารโรงเรียนหลังใหม่(44)

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 08 ต.ค. 2555
TAG ลาหู่, มูเซอ, การศึกษา, ตาก, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง