สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลีซู,จีนยูนนาน จีนมุสลิม(จีนฮ่อ),วิถีชีวิต,วัฒนธรรม,ความสัมพันธ์,เชียงราย
Author ธนู ดีเทศน์
Title ชีวิตและความสัมพันธ์ของจีนฮ่อ กับ ลีซอ หมู่บ้านหัวแม่คำ ตำบลป่าซาง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
Document Type ปริญญานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity จีนยูนนาน จีนฮ่อ มุสลิมยูนนาน, ลีซู, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 47 Year 2518
Source โครงการการศึกษาชั้นประกาศนียบัตรชั้นสูงบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Abstract

ศึกษาถึงความสอดคล้องและกลมกลืนในการดำรงชีวิต ของลีซอ ที่เป็นชาวบ้านส่วนใหญ่ กับ ฮ่อ หรือ จีนฮ่อ ในหมู่บ้านหัวแม่คำ ต.ป่าซาง อ.แม่จัน จ.เชียงราย ซึ่งมีความสัมพันธ์ในการดำรงชีวิต ตลอดจนจารีตประเพณี และวัฒนธรรมต่างๆ และการปกครองในหมู่บ้าน ที่อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยมีจุดเชื่อมหลักคือการทำการค้าที่ฮ่อมีบทบาทสำคัญ และ การจ้างแรงงานอันเป็นการพึ่งพาอาศัยกันของคนเชื้อชาติต่างๆ ในหมู่บ้าน เช่น ลีซอ ฮ่อ มูเซอร์ และอีก้อ

Focus

ศึกษาถึงความสัมพันธ์ ของลีซอ กับ จีนฮ่อ โดยเปรียบเทียบวิถีชีวิต ทั้งในด้าน สังคม เศรษฐกิจการปกครองตลอดจนการเมือง โดยใช้วิธีการสังเกตการณ์ในภาคสนาม

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

เผ่าลีซอ อยู่ในตระกูล ธิเบต-พม่า มีจำนวนมากเป็นอันดับสอง ในอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย พื้นเพเดิมของลีซอ อยู่ที่เมืองเชียงตุง และเมืองปัน อพยพ มาอยู่ในประเทศไทย เมื่อ 50 ปี ที่แล้ว ลีซอผู้ชาย มีรูปร่างสูง ส่วนผู้หญิง มีรูปร่างอ้วนเป็นส่วนใหญ่ ผิวขาว ใบหน้ากลม ไว้ผมยาว ลีซออยู่ในภาคเหนือ เช่น ใน จ.เชียงใหม่ อ.เชียงดาว อ.แม่แตง อ.พร้าว อ.ฝาง,จ.แม่ฮ่องสอน อ.ปาย จ.เชียงราย อ.เมือง อ.แม่จัน และใน จ.ลำปาง อ.เวียงเหนือ และ อ.แจ้ห่ม (หน้า 7-8) ฮ่อ หรือ จีนฮ่อ ได้แก่ ทหารจีนตกค้าง กองพล ที่ 93 อยู่ที่ ดอยแม่สลอง อ.แม่จัน จ.เชียงราย และที่ถ้ำงอบ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่กลุ่มที่ค้าขาย ส่วนใหญ่จะอยู่หมู่บ้านลีซอ หรือเผ่าอื่น ฮ่อกลุ่มนี้จะซื้อฝิ่นไปขายต่อกลุ่มที่ทำการค้าจะมีทั้งที่ทำประจำและค้าขายแบบชั่วคราว กลุ่มที่ค้าขายประจำจะเดินทางไปหมู่บ้านต่างๆ ส่วนกลุ่มที่ค้าขายแบบชั่วคราว จะเปิดร้านค้าเอาไว้หมู่บ้านอื่น จะเดินทางไปรับซื้อของนานๆ ครั้ง แล้วก็กลับมาบ้านที่อยู่อาศัยอยู่แบบถาวร กลุ่มฮ่อทั่วไป เช่น ฮ่อบ้านกลางใกล้ บ้านแม่สลองบ้านฮ่อหัวเมืองงาม อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ จะมีอาชีพเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ หรือขายของ ส่วน ฮ่อที่อยู่บ้านปางสา ต.ป่าตึงอ.แม่จัน จ.เชียงราย จะอยู่รวมกลุ่มกับลีซอ(หน้า 10,11)

Language and Linguistic Affiliations

ฮ่อ จะพูดภาษา ฮ่อ และเขียนด้วยตัวหนังสือจีนกลาง ภาษาฮ่อเป็นภาษากลางในการติดต่อ ในหมู่บ้าน แต่ทั้งนี้ ลีซอ 80% พูดภาษาฮ่อได้ แต่ฮ่อพูดลีซอไม่ค่อยเป็น เวลาประชุมหมู่บ้าน จะใช้ภาษาฮ่อ ลีซอโดยมาก จะพูดได้หลายภาษา เช่น ภาษาพม่า อีก้อ ไทยใหญ่ และภาษาคำเมือง แต่โดยทั่วไป ลีซอจะพูดได้ 3 ภาษา ลีซอ ฮ่อ และ มูเซอร์แดง (หน้า 25, 32)

Study Period (Data Collection)

ผู้เขียนใช้เวลาปฏิบัติงานเป็นเวลา 7 เดือน ที่บ้านหัวแม่คำ ตำบลป่าซาง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย (บทนำหน้า 3)

History of the Group and Community

เมื่อก่อน ลีซอ มูเซอร์ และ อีก้อ เคยอยู่บ้านปางหนุน ป่านะโก่ะ นามน ต่อมาได้ย้ายมาอยู่บ้านหัวแม่คำเพราะหมู่บ้านเดิม แห้งแล้ง ปลูกข้าวไม่เพียงพอสำหรับการบริโภค ต่างจากบ้านหัวแม่คำ ที่ปลูกพืชได้ผลดี และเหมาะแก่การปลูกฝิ่นเพราะมีภูมิอากาศที่เหมาะสม มีน้ำใช้พอเพียงทั้งปี การเปลี่ยนแปลงทางสังคมนั้น นอกจากสาเหตุมาจากความแห้งแล้งแล้ว ยังมาจากการแย่งที่ทำกิน เช่น ลีซอ ย้ายออกจากดอยแม่สลอง มาอยู่บ้านหัวแม่คำ เพราะว่าทหารจีนตกค้างกองพล 93 เข้าแย่งที่ทำกินและฆ่าผู้ใหญ่บ้านลีซอตาย (หน้า12)

Settlement Pattern

หมู่บ้านหัวแม่คำ ตั้งอยู่บนไหล่เขาหัวแม่คำ สูงจากระดับน้ำทะเล 1,200-1,360 เมตร มีพื้นที่ลาดเอียง การตั้งบ้านเรือน จะอยู่เป็นกลุ่มกระจัดกระจายอยู่ตามไหล่เขา รอบหมู่บ้านเป็นภูเขา หุบเขาทิศเหนือ และ ทิศใต้ มีน้ำไหลซึมทั้งปี ชาวบ้านทำรางไม้ไผ่ลำเลียงน้ำ มาใช้ดื่ม ใช้กิน มีทางเดินทางเท้าเชื่อมต่อถึงหมู่บ้านอื่นๆ บริเวณสันภูเขา ที่ทิศตะวันตกเป็นแนวเขตแดนติดประเทศพม่า ด้านทิศตะวันออกติดต่อ กับ ตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย (หน้า 13-15) บ้าน บ้านฮ่อกับลีซอจะมีรูปแบบคล้ายๆ กัน ตัวบ้านจะปลูกติดกับพื้นดิน มุงหลังคาด้วยหญ้าคา หรือ ไม้ไผ่ผ่าครึ่ง สลับกัน แบบ คว่ำหงาย เสาเป็นไม้ไผ่ และกั้นฝาด้วยไม้ไผ่สับเป็นแผ่น บ้าน แบ่งเป็นห้องนอน ห้องครัว แคร่รับแขก เตาไฟ ข้อแตกต่างระหว่างบ้านฮ่อ กับ ลีซอ คือหน้าบ้านฮ่อ จะทำเป็นร้านขายของ ในหมู่บ้านมีบ้านฮ่อ 2 หลัง และลีซอ 2 หลัง ที่มุงสังกะสี (หน้า 24, 32-33 ดูแผนผังหน้า 33)

Demography

หมู่บ้านหัวแม่คำ จากการสำรวจประชากร เมื่อ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2518 มี641 คน เป็นชาย 319 คน และเป็น หญิง 322 คน มี ลีซอ 80% ของจำนวนประชากรทั้งหมู่บ้านที่ประกอบชนเผ่าต่างๆ ได้แก่ ลีซอ ฮ่อ มูเซอร์ และอีก้อ มีจำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 100 หลังคาเรือน อันประกอบด้วย ลีซอ 81 หลังคาเรือน ฮ่อ 12 หลังคาเรือน มูเซอร์ 5 หลังคาเรือน และ อีก้อ 2 หลังคาเรือน (หน้า 1 2,15 และดูตารางหน้า 16) ในพื้นที่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย จะมีอีก้อ มากที่สุดโดยมีจำนวน 7,454 คน ถัดมา คือ มูเซอร์ กับ ลีซอ ส่วน เย้ามีจำนวนน้อยที่สุด (ดูตารางหน้า 6-7)

Economy

การผลิต ลีซอเพาะปลูกเป็นอาชีพหลัก เพราะพื้นที่หมู่บ้านเป็นหุบเขาเหมาะแก่การปลูกฝิ่น ข้าว ข้าวโพดและผักต่างๆ สำหรับข้าวโพด ส่วนใหญ่จะปลูกไว้เลี้ยงสัตว์ การปลูกข้าวจะปลูกไว้กินในครอบครัว หากปีไหนผลผลิตไม่ดี ก็จะซื้อข้าวจากหมู่บ้านใกล้เคียง หรือหมู่บ้านที่อยู่ในประเทศพม่า สำหรับฝิ่น จะขาย ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เฉลี่ยครอบครัวละ 3-7 จ๊อย (1จ๊อย เท่ากับ 1.6 ก.ก.) โดยจะขายให้พ่อค้าฮ่อที่มารับซื้อในหมู่บ้าน ซึ่งราคาฝิ่นดิบจะมีราคาราว จ๊อยละ 2,500-4,000 บาท สัตว์เลี้ยง ลีซอ จะเลี้ยงหมูและไก่ เพราะจะใช้เซ่นไหว้และประกอบพิธีต่างๆ เช่นพิธีเลี้ยงผี แต่งงาน หรือปีใหม่ ส่วนวัว ควาย ม้า และลา จะเลี้ยงเอาไว้เพื่อใช้งานขนพืชไร่ และขนส่งสินค้า แต่โดยส่วนใหญ่แล้วฮ่อจะเลี้ยงม้า เพื่อรับจ้างขนข้าวในช่วงหน้าเก็บเกี่ยว (หน้า 17-20, 22, 30-31, 42) การแลกเปลี่ยน ฮ่อจะขายปืน ลูกปืน ซื้อน้ำมันก๊าด ถ่านไฟฉาย เกลือและอื่นๆ ในตัวเมืองไปขายในหมู่บ้าน และรับซื้อฝิ่น จากลีซอมาขาย พ่อค้าบางรายจะนำฝิ่นไปขายให้กับ หัวหน้ากองพล 93 ที่ดอยแม่สลอง หรือขายให้พ่อค้าในอำเภอแม่สายการขายฝิ่นทำกันอย่างเปิดเผย สำหรับการแลกเปลี่ยนในหมู่บ้านฮ่อ จะจ้าง ลีซอ มูเซอร์ อีก้อ มาถางไร่ในราคาวันละ 25-30 บาท เพราะฮ่อ ทำทำไร่ไม่เก่ง แต่ก็ต้องปลูกข้าวกินเอง เพราะลีซอ มักจะไม่ยอมขายข้าว จะเก็บไว้กินในครอบครัว นอกจากนี้ ฮ่อยังจ้าง มูเซอร์ ลีซอ ทำงานเช่น ตำข้าว ตัดฟืน ขนฟืน และอื่นๆ (หน้า 19, 21, 30-31) การบริโภค จะกินผักเป็นส่วนใหญ่ไม่ได้ได้กินเนื้อ ผักจะมีมากในหน้าหนาว ฮ่อจะปลูกผักสวนครัวในบริเวณบ้าน แต่ลีซอจะปลูกไว้ที่ไร่ เช่น ผักกาดขาว ผักคะน้า พริก หอม กระเทียม ถั่วลันเตา มะเขือ และบางส่วนก็จะปลูกไว้ที่บ้านแต่ปลูกไม่มาก ในช่วงหน้าร้อนชาวบ้านจะถนอมอาหารไว้กิน เมื่อผักไม่ค่อยมี เช่น ทำผักกาดดอง หัวผักกาดเค็ม หน่อไม้แห้ง เป็นต้น ช่วงหน้าหนาว ราวเดือนมกราคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ฮ่อกับลีซอ จะฆ่าหมู ทำหมูแช่เกลือตากแห้งเอาไว้กินทั้งปี การกินอาหารฮ่อจะใส่ใจเรื่องการกินกว่าลีซอ อุปกรณ์ใส่อาหารจะสะอาดสะอ้าน ในงานพิธีสำคัญจะให้ผู้นำหมู่บ้าน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย ผู้อาวุโส และครู นั่งในวงในสุด ผู้ชายนั่งกินข้าวด้วยกัน ผู้หญิงกับเด็กจะแยกกินต่างหาก แต่ถ้ากินที่บ้านจะกินด้วยกันเหมือนเดิม (หน้า 23-24)

Social Organization

ลีซอ จะอยู่กันแบบพี่แบบน้อง คนในบ้านจะให้ความนับถือต่อกัน มีสิทธิ ในการปกครองตนเอง โดยจะอบรมลูกหลานตั้งแต่ยังเล็กว่า อะไรควรประพฤติหรือที่ไม่ควรประพฤติ จนพวกเขาไม่กล้าฝ่าฝืนสังคม ลีซอทุกคนมีความเท่าเทียมกัน อยู่ร่วมกันอย่างไม่มีผู้ปกครองแต่อาศัยความใกล้ชิดของคนในตระกูล และประเพณี การปกครองมีความเสมอภาคกัน (หน้า 9) ลีซอ จะมีความรู้สึกว่าเป็นญาติพี่น้องกัน ในหมู่บ้าน มี ลีซอ 4 ตระกูล คือ แซ่หมี่ แซ่ย่าง แสนหลิ่ว แซ่หยี่ ระบบครอบครัวเมื่อลีซอแต่งงานไปแล้ว ส่วนมากจะแยกไปตั้งเป็นครอบครัวใหม่สร้างบ้านเองอยู่ต่างหาก แต่ถ้าหากอยู่กับครอบครัวเดิมหรือเป็นแบบครอบครัวขยายก็มีไม่มาก ส่วนใหญ่จะอยู่กับครอบครัวทางฝ่ายชาย โดยจะกั้นห้องอยู่ในบ้านเดียวกับพ่อแม่ ช่วยกันทำงานในบ้านปลูกอะไรได้ ก็จะเป็นของทุกคนในบ้าน (หน้า 16-17) ฮ่อ ในความรู้สึกนึกคิดทุกคนจะคิดว่าเป็นญาติกัน ฮ่อในหัวแม่คำ จะสร้างบ้านไม่เป็นหลักแหล่ง เพราะบางคนจะมีบ้านอยู่หมู่บ้านอื่น ที่อยู่ชานเมือง ในเมือง หรือในอำเภอแม่สาย และก็จะมาสร้างบ้านอีกหลังในบ้านหัวแม่คำเพื่อเปิดเป็นร้านค้า ครอบครัวส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว (หน้า 17) พิธีแต่งงาน หมอผี จะกำหนดวันแต่งงานว่า ฝ่ายเจ้าบ่าว เจ้าสาว จะแต่งวันไหน ก่อนการแต่งงานนั้น ชายหนุ่ม และสาวลีซอ จะจีบกันโดยร้องเพลงโต้ตอบกัน ตอนตำข้าวที่บริเวณครกตำข้าวกลางลานบ้าน หากชอบพอกันผู้ชายก็จะหมั้นผู้หญิงด้วยกำไล แล้วพาไปอยู่บ้านด้วย 2 - 3 คืน จากนั้น ผู้ชาย ก็ส่งญาติผู้ใหญ่ ไปสู่ขอฝ่ายหญิงโดยจะให้สินสอดแก่พ่อแม่ฝ่ายหญิง ราว 4 พันถึง 5 พัน บาท เมื่อถึงวันแต่งงาน ทั้งสองฝ่าย จะฆ่าหมู เพื่อทำกับข้าวเลี้ยงแขกเหรื่อที่มาร่วมแสดงความยินดีก็จะให้เงินและผูกข้อมือ เจ้าบ่าว เจ้าสาว ส่วนการแต่งงานระหว่างเผ่าในบ้านหัวแม่คำหากฝ่ายชายเป็นฮ่อ หญิงเป็นลีซอ เมื่อลูกเกิดมาก็จะพูดภาษาลีซอ ส่วนฝ่ายชายก็จะหัดพูดภาษาลีซอตามเมีย (หน้า10, 35)

Political Organization

การปกครองในหมู่บ้าน จะปกครองแบบดูแลกันเอง เพราะอยู่ติดชายแดนทางการดูแลไม่ทั่วถึง ในหมู่บ้านมี ครู ตชด. เพียงคนเดียว ที่อยู่ประจำในหมู่บ้าน ดังนั้น ชาวบ้านจึงมีอาวุธครอบครองมาก การปกครองแบ่งเป็น ผู้นำอย่างเป็นทางการ ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วย และผู้นำอย่างไม่เป็นทางการได้แก่ ผู้อาวุโสในหมู่บ้าน ในหมู่บ้านหัวแม่คำมี ลีซอ มากที่สุด ดังนั้น ฮ่อ จึงรับฟังความคิดเห็นและการปกครองทุกอย่าง แต่จะให้ความเคารพผู้อาวุโสทั้งลีซอ หรือ ฮ่อ ในการปกครองหมู่บ้าน ชาวบ้าน จะเป็นผู้เลือกผู้ใหญ่บ้าน โดยมี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 3 คน เป็น ลีซอ 2 คน และ เป็น ฮ่อ 1 คน ชาวบ้านในหมู่บ้านทุกคน จะมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เช่นในการประชุมหมู่บ้าน ชาวบ้านมีสิทธิ์ที่จะเสนอความคิดเห็นได้อย่างทั่วถึง (หน้า 37-42)

Belief System

ลีซอ และฮ่อ มีความเชื่อเรื่องผี ผีหลวงเป็นผีที่ใหญ่ที่สุด รองลงมา คือ ผีเมือง โดยมีหมอผีเป็นผู้ทำพิธีกรรมต่างๆ ศาลของผีประจำหมู่บ้าน จะตั้งใกล้กับหมู่บ้าน ทั้งลีซอ และ ฮ่อ จะไหว้ผี ช่วงต้นหน้าเพาะปลูก โดยจะ เรี่ยไร เงินซื้อไก่หรือหมูมา ทำพิธีไหว้ผี เพราะเชื่อว่า ผีปกป้องรักษาหมู่บ้าน (หน้า 8-9, 34-35) วันปีใหม่ ตรงกับวันตรุษจีน ทุกคนจะสวมเสื้อผ้าชุดใหม่มาร่วมงาน ทั้งฮ่อหรือลีซอ เจ้าของบ้านจะฆ่าไก่ ฆ่าหมู ทำกับข้าวเลี้ยงแขก ที่มาร่วมงาน ในวันแรกจะจัดที่บ้านหมอผี วันที่สองจัดที่บ้านผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านลีซอ วันที่สามจะจัดที่บ้านผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ฮ่อ และวันสุดท้ายจะจัดที่บ้านผู้ใหญ่บ้านที่เป็น ลีซอ โดยในพิธี จะนำต้นไม้ ยาว 2 เมตร แขวนของเซ่นไหว้ แล้วนำมาปักที่กลางลานบ้าน จากนั้นชาวบ้านชาย หญิง ก็จะล้อมวงเต้นรำ และกินอาหาร (หน้า34) วันหยุดงานในเดือนหนึ่ง จะมีวันหยุดงาน หรือ วันศีล สองวัน ในวันนั้นชาวบ้านจะไม่ไปไร่นา โดยจะหยุดพักผ่อนอยู่ที่บ้าน หรือไปเยี่ยมกัน ในวันหยุด ผู้หญิงก็จะเย็บผ้า ปักผ้า อยู่บ้าน ส่วนผู้ชายก็จะเล่นลูกข่าง หรือไปเที่ยวบ้านผู้หญิง หรือเจอกันที่บริเวณครกตำข้าว ถ้าหากมีหนุ่มสาวหมู่บ้านอื่นมาเที่ยว หนุ่มสาวในหมู่บ้าน ก็จะนัดไปเจอกันเพื่อร้องเพลงจีบกัน ที่ลำธาร นอกหมู่บ้านในตอนกลางคืน (หน้า 35-36)

Education and Socialization

ชาวบ้านจะได้รับความรู้จากภายนอกและภายในหมู่บ้าน ซึ่งผู้เขียนระบุว่า เมื่อเข้าไปในหมู่บ้านครั้งแรก มีลีซอหนึ่งคน ที่ทำงานเป็นล่ามชาวเขาที่นิคมสงเคราะห์ชาวเขา อ.แม่จัน จ.เชียงราย เพราะเคยเรียนภาษาไทยกับครูสอนพิเศษ ที่อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ การศึกษาในหมู่บ้าน มี ครู 3 คน คือ ครูตำรวจตระเวณชายแดน (ต.ช.ด.) และครูพลเรือน ที่ ครู ตชด.ได้จ้างมาช่วยสอน และตัวผู้เขียนที่เป็นบัณฑิตอาสาที่เข้าไปสอนหนังสือให้กับเด็กๆ ในระหว่างปฏิบัติงานในพื้นที่เป็นระยะเวลา 7 เดือน โดยครู ตชด.ได้ขึ้นมา สร้างโรงเรียนชื่อ โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ 4 ซึ่งสร้างอาคารเรียนชั่วคราวมุงด้วยสังกะสี จากเงินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2516 การเรียนการสอน มีการสอนให้เด็กนักเรียนระดับชั้น ป. 1 เพียงชั้นเดียวโดยแยกเป็นเด็กเล็ก กับเด็กโต (หน้า 24, 26-27 ภาคผนวกหน้า 49-50)

Health and Medicine

การรักษาพยาบาล ลีซอ และ ฮ่อ จะรักษาด้วยไสยศาสตร์ สมุนไพร และยาสมัยใหม่ สำหรับการรักษาด้วยไสยศาสตร์ลีซอ เชื่อว่า ผีทำให้เจ็บป่วย ก็จะเซ่นไหว้ผี เช่น ฆ่าหมู ไก่ โดยหมอผี เป็นผู้ทำพิธี ส่วนการใช้สมุนไพร หากมีดบาด เป็นแผลก็จะนำสมุนไพร มาตำใส่แผล และการรักษาด้วยยาสมัยใหม่ จะมี ฮ่อ ไปซื้อยาในตัวเมือง มาฉีดให้ชาวบ้าน แต่จะคิดในราคาแพง เช่น ยาฉีดแก้ไข้ แก้ปวดหัวและยาบำรุง ส่วนกรมประชาสงเคราะห์ จะออกใบรับรองรักษาฟรีให้กับชาวเขาที่เข้ามารักษาตัวที่โรงพยาบาลในตัวเมืองเชียงราย ชาวบ้านยังได้รับยาสมัยใหม่ในบางครั้งจากผู้เขียนที่รับมาจากสถานีอนามัย ใน อ.แม่จัน และโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ (หน้า 23-24, 28, 35 หน้าผนวก 51) รักษาด้วยฝิ่น จะใช้ฝิ่นรักษา เมื่อเป็นไข้ ปวดท้อง ปวดหัว (หน้า 42) ดื่มน้ำไม่สะอาด-ชาวบ้านจะดื่มน้ำที่ไหลมาจากหุบเขาโดยไม่ได้ต้มให้สุก จึงทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย และเมื่อป่วยไข้ก็เชื่อว่าผีทำ ก็จะให้หมอผีรักษา ด้วยวิธีเซ่นไหว้ผี (หน้า 43)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การแต่งตัว ชายลีซอ สวมเสื้อแขนยาวสีดำเอวสั้น ผ่าอกข้าง กระดุมทำด้วยเงินจากคอเสื้อลงมาถึงเอว สวมกางเกงสีฟ้า สีเขียวขากว้างยาวถึงหัวเข่าและโพกผ้า หญิงลีซอ สวมเสื้อสีน้ำเงินสลับดำ แต่งด้วยสีเขียวกับสีฟ้าคลุมยาวจากด้านบนจนถึงน่องหรือเลยหัวเข่า เสื้อผ่าอกถึงรักแร้ชายเสื้อด้านซ้ายมือทับด้านขวา แขนเสื้อยาวจนถึงข้อมือคาดเอวด้วยผ้าดำ สวมกางเกงขากว้าง และหลวมยาวถึงหัวเข่า มวยผมแสกกลางรวบผมไว้ทางด้านหลัง โพกหัวด้วยผ้าสีดำ สวมกำไลข้อมือที่ทำด้วยเงินเหรียญรูปีของอินเดียราคาเหรียญละ 25-30 บาท กำไลหนึ่งวง จะใช้เหรียญ 5 - 7 เหรียญ (หน้า 8, 20-21) ผู้สูงอายุชายหญิงฮ่อ แต่งตัวเหมือนกันโดยสวมเสื้อแขนยาวคอตั้ง ติดกระดุมทางด้านหน้า สวมกางเกงขาบานยาวถึง หัวเข่า สำหรับคนหนุ่มสาว เด็ก และวัยกลางคนจะแต่งตัวตามสมัยนิยม (หน้า11)

Folklore

ชื่อหมู่บ้านหัวแม่คำ มาจากชื่อลำน้ำแม่คำ ชื่อหมู่บ้าน มีความหมายที่มาจากคำว่าหัว รวมกับคำว่าแม่คำ ซึ่งคำว่าหัว คือต้นน้ำ และแม่คำ คือลำน้ำ (หน้า13)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ในหมู่บ้านหัวแม่คำ คนต่างกลุ่ม จะมีความสัมพันธ์ทางด้านการค้า ในหมู่บ้านและการจ้างแรงงาน ในหมู่บ้านจะมีลีซออยู่มากที่สุด รองลงมาจะเป็น ฮ่อ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในด้านการค้าในหมู่บ้าน พ่อค้าฮ่อจะเป็นตัวกลางในด้านการค้าขายกับชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ในหมู่บ้าน โดยจ้าง อีก้อ มูเซอร์ และคนพื้นราบมาช่วยงาน ถ้าลีซอไม่มีเงินก็สามารถมาเชื่อสินค้าเอาไปใช้ก่อนได้ เมื่อมีเงินหรือมีฝิ่นก็นำมาจ่ายแก่ ฮ่อ ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างกันจึงเกี่ยวข้องกับการค้า (หน้า 3, 7,12, 29)

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนที่ จ.เชียงราย (หน้า 5) อ.แม่จัน จ,เชียงราย (ระหว่าง หน้า 5 กับหน้า6) เส้นทางเดินไปบ้านหัวแม่คำ (ระหว่าง หน้า 13 กับ 14) แผนผัง-บ้านลีซอ (หน้า 33) ตาราง -จำนวนหลังคาเรือน และจำนวนชาวเขาเผ่าต่างๆ ใน เขตอำเภอแม่จัน(หน้า 6) จำนวนหลังคาเรือนและจำนวนชาวเขาเผ่าต่างๆ ในเขตอำเภอแม่สาย(หน้า 7) อัตราส่วนร้อยของประชากรอายุต่างๆ กันระหว่างเพศ(หน้า 16)

Text Analyst ภูมิชาย คชมิตร Date of Report 27 ก.ย. 2555
TAG ลีซู, จีนยูนนาน จีนมุสลิม(จีนฮ่อ), วิถีชีวิต, วัฒนธรรม, ความสัมพันธ์, เชียงราย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง