สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject เย้า,การเปลี่ยนแปลง,การปรับตัว,วัฒนธรรม,วิถีชีวิต,เชียงราย
Author สุจิรา ประยูรพิทักษ์
Title การเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวทางสังคมของชาวเขาเผ่าเย้าบ้านผาเดื่อ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity อิ้วเมี่ยน เมี่ยน, Language and Linguistic Affiliations ม้ง-เมี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 307 Year 2520
Source หลักสูตรปริญญาสังคมวิทยามหาบัณฑิต แผนกวิชาสังคมวิทยามานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract

งานชิ้นนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมต่างๆ เช่น ภาษา การแต่งกาย การดำรงชีวิต การช่วยเหลือกันของคนในชุมชน ของเย้าบ้านผาเดื่อที่ต้องมีการปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับชนเผ่าอื่นในหมู่บ้านตลอดจนการปรับตัวเมื่อติดต่อกับคนต่างถิ่นไม่ว่าจะเป็นคนไทยพื้นราบหรือชาวเขาเผ่าอื่นที่เข้ามามีส่วนสำคัญต่อการดำรงชีวิตของเย้า

Focus

ศึกษาเรื่องการปรับตัวในทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวเขาเผ่าเย้าบ้านผาเดื่อ เช่นการปรับตัวในทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม การปกครอง การอนามัย การศึกษา ศาสนาและความเชื่อ

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

เย้าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีตระกูลภาษาอยู่ในกลุ่มจีน-ธิเบต (Sino-Tibetan) ในประเทศไทยมีอยู่กลุ่มเดียวแต่ในประเทศจีนมีหลายกลุ่มแบ่งตามอาชีพและเครื่องแต่งกายที่อยู่อาศัยและความเชื่อ เช่น พวกแพนเย้า (Pan Yao) ได้แก่ กลุ่มที่ทำงานแกะสลักไม้ พวกฮุงเย้า (Hung Yao) เป็นกลุ่มที่ใช้ผ้าแดงโพกหัว พวกนานติงเย้า(Nan Ting Yao) คือกลุ่มที่สวมผ้าสีน้ำเงินทั้งชุด (หน้า44-45)

Language and Linguistic Affiliations

นักวิชาการได้แบ่งชาวเขาออกตามตระกูลภาษาเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. ตระกูลจีน-ธิเบต (Sino-Tibetan) ได้แก่ สาขาธิเบต-พม่า มี ลีซอ มูเซอและอีก้อ สาขาคะเร็น เช่น กะเหรี่ยง สาขาแม้ว-เย้า เช่น แม้วและเย้า 2. ตระกูลออสโตรเอเชียติค (Austroasiatic) ในสาขามอญ-เขมร เช่น ละว้า ขมุ ผีตองเหลือง ถิ่น ชาวบน สัก ส่วนโซ กุย เชมัง-ซามอย 3. ตระกูลมลายู-โปลินิเชี่ยน (Malayo-Polynesian) สาขามาเลย์มีชาวน้ำ (หน้า 35-36) ภาษาเย้าเป็นภาษาที่มีเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ มากเป็นคำโดดเหมือนกับภาษาไทย มีแต่ภาษาพูดไม่มีภาษาเขียน เวลาเขียนจะใช้ตัวหนังสือจีน แต่ออกเสียงเป็นภาษาเย้า เย้าในหมู่บ้านผาเดื่อ 96% พูดได้มากกว่า 1 ภาษา เช่น ภาษามูเซอ ไทยเหนือ จีนฮ่อ อีก้อ ไทยใหญ่ พม่าและ ลาว เย้าที่เคยอยู่ในประเทศพม่าและประเทศลาวก็จะพูดภาษาที่พูดในประเทศนั้นได้ เมื่อติดต่อกับคนเผ่าอื่นหากเย้าคุยกับคนพื้นราบก็จะพูดภาษาไทยเหนือ หากคุยกับจีนฮ่อจะพูดภาษาจีนฮ่อเพราะภาษาจีนเป็นภาษากลาง เมื่อเย้าคุยกับอีก้อส่วนใหญ่จะคุยภาษามูเซอ เย้าส่วนใหญ่พูดภาษาอีก้อได้น้อยเพราะเรียนยากไม่ว่าจะเป็นการออกเสียงและการพูด (หน้า 206-210, 217- 218)

Study Period (Data Collection)

เก็บข้อมูล ตั้งแต่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 ถึง 30 มีนาคม พ.ศ. 2519 รวมเวลา 3 เดือน ครึ่ง (บทคัดย่อ ก. , หน้า 29)

History of the Group and Community

บ้านผาเดื่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2490 เย้าที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านส่วนใหญ่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่บ้านหนองเตา บ้านห้วยส่วน นายกองเมืองๆ (หรือจังหวัดเมืองๆ) แขวงห้วยทราย ประเทศลาว ชาวบ้านย้ายถิ่นมาอยู่ในประเทศไทยเพราะการเพาะปลูกให้ผลผลิตต่ำ และมีการสู้รบในประเทศลาว หมู่บ้านผาเดื่อที่ชาวบ้านอยู่ในปัจจุบันเป็นหมู่บ้านร้างของมูเซอแดงที่ย้ายไปอยู่ประเทศพม่า เชื่อว่าที่มูเซอย้ายถิ่นคงเป็นเพราะความเชื่อบางอย่างประจำเผ่า ในการย้ายถิ่นมาอยู่ในประเทศไทยครั้งแรกนั้น เริ่มมาจากที่ผู้ใหญ่บ้านผาเดื่อคนปัจจุบันได้เดินทางมาเยี่ยมญาติฝ่ายเมียที่บ้านเล่าซิบที่อยู่ติดบ้านผาเดื่อประมาณ 4 กิโลเมตร และพบว่าในหมู่บ้านดินอุดมสมบูรณ์จึงกลับไปชักชวนเพื่อนบ้านที่อยู่ในประเทศลาวมาอยู่ เริ่มแรกมีเย้าย้ายมา 15 ครอบครัว จำนวน 200 คน เมื่อมาอยู่ได้ 3 ปี ก็เริ่มมีเย้าหนีภัยการสู้รบจากลาวย้ายมาอยู่เพิ่มขึ้นรวมทั้งมีกลุ่มที่ย้ายมาจากหมู่บ้านใกล้เคียงเช่นบ้าน ห้วยหนัก เล่าซิบ บ้านเล่าอูก๋วน เป็นต้น ในปี พ.ศ.2500 ตำรวจตระเวณชายแดนได้เข้ามาตั้งโรงเรียนและสอนหนังสือชาวบ้าน แต่หยุดทำหน้าที่เมื่อ ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา มาตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. 2508 แต่ก่อนบ้านผาเดื่อมีความสำคัญเพราะเป็นทางผ่านขนส่งสินค้าไปยังดอยแม่สลอง กองพล 93 ก๊กมินตั๋งที่มาตั้งหมู่บ้านเมื่อปี พ.ศ. 2507 ความสำคัญของหมู่บ้านผาเดื่อด้านเป็นทางผ่านขนส่งสินค้าได้ยุติเมื่อ ปี พ.ศ. 2514 เมื่อศูนย์พัฒนาสงเคราะห์ชาวเขาได้ตัดถนน ยาวประมาณ 20 กิโลเมตร ไปยังดอยแม่สลอง (หน้า 47-51)

Settlement Pattern

หมู่บ้านเย้าผาเดื่อตั้งอยู่บนดอยผาเดื่อ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 600 เมตร ห่างจากศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดเชียงราย ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 5 กิโลเมตร ตัวหมู่บ้านตั้งเรียงรายอยู่บนไหล่เขาที่เป็นที่ราบแคบ ๆ ในระดับความสูงประมาณ 550 เมตร หมู่บ้าน มี 50 หลังคาเรือน แบ่งเป็นส่วนล่างและส่วนบน อยู่บนภูเขาเดียวกัน ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของหมู่บ้านมีห้วยขนาดเล็ก 3 สาย ไหลแยกออกจากห้วยเดื่อที่เป็นลำห้วยขนาดกลาง ลักษณะการปลูกบ้านส่วนใหญ่ จะหันหน้าบ้านออกจากภูเขาไปทางทิศตะวันออกและทิศใต้จึงทำให้หมู่บ้านดูเรียงรายเป็นแนวยาวตามไหล่เขา ซึ่งการหันหน้า หมู่บ้านไปทางตีนเขาด้านทิศตะวันออก และลาดต่ำลงไปสู่พื้นราบซึ่งเปรียบเสมือนประตูสวรรค์ตามตำรา ทางด้านขวาเป็นสันเขา ยาวโอบเข้าหาตัวหมู่บ้านเปรียบเป็นมังกร ส่วนด้านซ้ายมือเป็นสันเขาสูง โอบเข้ามาทางด้านซ้ายของหมู่บ้านเปรียบเป็นเสือ ซึ่งการตั้งหมู่บ้านแบบนี้ตามตำราถือว่าดี (หน้า 51, 52, 216, 217, 231) บ้านเย้า-จะสร้างค่อมดินใช้พื้นดินเป็นพื้นบ้าน ใช้ไม้ไผ่กั้นฝาบ้านและฝากั้นห้อง โครงบ้านจะทำด้วยไม้ เสาบ้านจะใช้ทั้งไม้ไผ่และไม้แก่น มุงด้วยหญ้าคา ตัวบ้านเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดของตัวบ้านจะขึ้นอยู่กับจำนวนสมาชิกของบ้านนั้นว่ามีมากหรือน้อย ถ้าในบ้านมีหลายครอบครัวก็จะกั้นห้องแบ่งแต่ละครอบครัว แต่ถ้ามีลูกเป็นหนุ่ม,สาว จะห้องขนาดเล็กให้นอนต่างหากขนาดนอนได้ 1-2 คน บ้านไม่มีหน้าต่าง ห้องนอนจะทึบและอยู่ใกล้กับเตาไฟ จึงทำให้อากาศไม่ค่อยระบาย (หน้า 231-233) น้ำเต้าตักน้ำ ภาชนะตักน้ำส่วนใหญ่จะใช้น้ำเต้าผ่าซีกคล้ายกระบวยตักน้ำ ใช้ตักน้ำกินและน้ำใช้ภายในบ้าน (หน้า238)

Demography

บ้านผาเดื่อมีชาวเขาอาศัยอยู่ 50 หลังคาเรือนมี เย้า 485 คน โดยแบ่งออกเป็น เย้า 47 หลังคาเรือน จีนฮ่อ 2 หลังคาเรือน อีก้อ 1 หลังคาเรือน รวมทั้งหมด 50 หลังคาเรือนหรือ 90 ครอบครัว แยกเป็นเพศหญิง 275 คน เพศชาย 210 คน (หน้า 28, 52) ชาวเขาในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 6 เผ่าได้แก่ แม้ว เย้า มูเซอ ลีซอ อีก้อ และกะเหรี่ยง แต่ขณะนี้ยังไม่มีการสำรวจจำนวนที่แน่นอน จากการประเมินจำนวนประชากรที่อยู่ตามบริเวณแนวชายแดนที่ติดต่อกับประเทศพม่าและลาวมีประมาณ 2-5 แสนคน ดูตารางประกอบหน้า 37 (หน้า 36, 47)

Economy

เย้าได้ค้าขายกับคนพื้นราบที่อยู่อำเภอแม่จันและอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และจีนฮ่อ ที่ดอยแม่สลองหรือหมู่บ้านสินติคีรี (กองพล 93 ก๊กมินตั๋ง) ซึ่งตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2509 หมู่บ้านนี้ห่างจากบ้านผาเดื่อ 20 กิโลเมตร หมู่บ้านผาเดื่อเป็นจุดพักสินค้าที่บรรทุกมาจากรถยนต์จากอำเภอแม่จัน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เพื่อนำสินค้า เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง หมู ไก่ พริก มาขึ้นใส่ม้าหรือลาเพื่อขนไปยังดอยแม่สะลอง แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาได้ตัดถนนจากบ้านผาเดื่อถึงดอยแม่สะลอง จึงหยุดการค้าขาย ในช่วงปี พ.ศ. 2508 และปี พ.ศ. 2510 ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาได้เข้ามา ส่งเสริมให้ชาวบ้านผาเดื่อ ปลูกกาแฟ เพื่อเพิ่มรายได้ และจัดหาตลาดให้ และส่งเสริมให้ปลูกข้าวสาลี และ ผักสวนครัว เช่น กะหล่ำปลี กระหล่ำดอก ผักกาด ถั่วลันเตา ส่วนการปลูกไม้ผลต่าง ๆ แล้วแต่ความสมัครใจของชาวบ้านว่าจะปลูกพืชชนิดใด หากอยากปลูกไม้ผล เช่น ลิ้นจี่ ฝรั่ง ส้มเขียวหวาน มะม่วง ขนุน ลำไย มะพร้าว และอื่น ๆ ก็ไปเอากล้าไม้ที่ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา ทางศูนย์ฯจะส่งเสริมให้เย้าเลี้ยงปลานิลและปลาไน และคัดเลือกครอบครัวที่สนใจให้เลี้ยงปลาเพื่อเป็น ตัวอย่างแก่ครอบครัวอื่น ๆ (หน้า 50-51, 74-77, 131-132, 140-145, 167-168, 171-174) สภาพทางเศรษฐกิจของชาวบ้านผาเดื่อเป็นแบบเศษรฐกิจแบบเลี้ยงตัวได้ เช่น ปลูกผักสวนครัว ฟักเขียว ฟักทอง ผักกาดเขียว พริก แตงกวา ผักชี เผือก มัน กล้วย อ้อย ข้าวโพดเอาไว้เลี้ยงสัตว์ หรือ ต้มเหล้า ถั่วเหลือง ปลูกข้าวและเลี้ยง หมู ไก่ วัว ควาย และม้าเพื่อเอาไว้ขนของ ชาวบ้านจะเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเอาไว้บริโภคและประกอบพิธีกรรมต่างๆ ส่วนการปลูกพืชจะปลูกแบบหมุนเวียนเพื่อรักษาหน้าดินให้มีความสมบูรณ์ แต่ก็พบกับปัญหาเพราะว่าที่เป็นไหล่เขา และเย้าไม่ทำนาแบบขั้นบันไดจึงทำให้ความอุดมสมบูรณ์ลดน้อยลง จึงหันมาทำนาแบบคนพื้นราบที่ได้ผลผลิตที่ดีกว่าการทำไร่เลื่อนลอยที่ต้องถางป่าอยู่บ่อย ๆ และถ้าปล่อยให้รกร้างก็จะมีหญ้าขึ้นสูงเพาะปลูกได้ลำบากและกำจัดหญ้าได้ยาก (หน้า 82, 84, 88, 95 -106, 120-124, 128-140, 155,158) การปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ของเย้าในปีหนึ่งจะมีการทำงานอย่างชัดเจน เช่น เดือน มกราคม นวดข้าว ขนข้าวเข้ายุ้งฉาง เดือน กุมภาพันธ์ กรีดฝิ่น ฟันไร่ เดือน มีนาคม ฟันไร่เพื่อเตรียมปลูกข้าว ข้าวโพดและถั่วเหลือง เดือน เมษายน เผาไร่ เดือน พฤษภาคม ปลูกถั่วเหลือง ปลูกข้าว ข้าวโพด เดือนมิถุนายน ทำนาดายหญ้าในไร่ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง เดือน กรกฎาคม ดายหญ้าในไร่ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง เดือน สิงหาคม เฝ้าไร่ เก็บถั่วเหลือง ข้าวโพด เดือน กันยายน เก็บเกี่ยวผลผลิตใน ไร่ เดือน ตุลาคม ถางหญ้าในไร่ฝิ่น ปลูกฝิ่น เดือน พฤศจิกายน ปลูกฝิ่น ดายหญ้าในไร่ฝิ่น เดือน ธันวาคม ดายหญ้าในไร่ฝิ่น เกี่ยวข้าวไร่และข้าวในนา (ดูหน้า 106 -107,113 -117) ที่ทำนาของเย้าในหมู่บ้านมีประมาณ 1,690 ไร่ โดยแบ่งออกเป็นไร่ข้าว 400 ไร่ ไร่ถั่วเหลือง 600 ไร่ ไร่ข้าวโพด 500 ไร่ และที่นา 190 ไร่ เฉลี่ยคนในหมู่บ้านมีที่ดินครอบครัวละ 33.8 ไร่ โดยแบ่งเป็นการถือครองที่ทำไร่ครอบครัวละ 30 ไร่ และ ที่ทำนาครอบครัวละ 3.8 ไร่ นอกจากนี้ ยังไปเสาะหาที่ดินใหม่ในหมู่บ้านใกล้เคียง เช่น บ้านนาบัวและบ้านแม่แพงที่ให้ ผลผลิตที่ดีกว่าในหมู่บ้านเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว จึงส่งคนไปเก็บผลผลิตแต่ทุกวันนี้ได้เลิกแล้ว (หน้า 89 - 92, 154) ฝิ่น - เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของเย้า ถึงแม้รัฐบาลจะห้ามปลูกแต่ชาวบ้านยังคงปลูกไว้ในที่ที่ห่างไกลบ้าน ชาวบ้านจะนำ ฝิ่นมาขายเมื่อจำเป็น เช่น เป็นค่าจ้างหมอผีที่มาทำพิธี เป็นต้น เย้าในหมู่บ้านปลูกฝิ่นประมาณ 94 % ฝิ่นที่ปลูกมี 4 พันธุ์ คือ พันธุ์ดอกขาว พันธุ์ดอกแดง พันธุ์ดอกสีม่วง และพันธุ์ดอกสีขาวปนชมพู ฝิ่นทั้ง 4 พันธุ์จะให้ผลผลิตใกล้เคียงกัน แต่พันธุ์ที่เย้าชอบปลูกคือ พันธุ์ดอกสีขาว และ ดอกสีม่วง ผลผลิตฝิ่นในช่วงแรกเมื่อมาตั้งหมู่บ้านจะให้ผลผลิตปีละประมาณ 60 -70 จ้อย (1 จ้อย เท่ากับ 1.6 กิโล) แต่ปัจจุบัน (ปี 2519) เหลือปีละ 30-40 จ้อย ผู้เขียนระบุว่าในปี 2519 ฝิ่นมีราคาร้อย ละ 2,000-2,500บาท แต่ในปี 2518 จะราคาดีกว่าคือราคาจ้อยละ 4,000 บาท (หน้า 125 -127,160-162) การล่าสัตว์ - ในอดีตเมื่อตั้งหมู่บ้านใหม่ ๆ เย้าจะล่าสัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ เช่น เก้ง กวาง หมูป่า ลิง ไก่ป่า ต่อมาสัตว์ได้ลดน้อย ลงจึงเข้าไปล่าในเขตประเทศพม่า ต่อมาเมื่อทางการพม่าเข้มงวดกวดขันเรื่องการล่าสัตว์ เย้าจึงหันมาล่าสัตว์เล็กที่มีใกล้ หมู่บ้าน เช่น หมูป่าที่มากินพืชไร่ สัตว์ป่าที่ล่ามาได้จะนำมาแบ่งกันทำอาหารกิน บางส่วนจะแบ่งขายให้แก่เพื่อนบ้าน ราคา เนื้อหมูป่าที่ชาวบ้านขายในหมู่บ้านจะมีราคาประมาณ 20-25 บาท (หน้า 146-147,174-176) การหาของป่า - เย้าจะออกไปหาของป่าที่ออกตามฤดูต่าง ๆ เช่น เห็ด หน่อไม้ หวาย รังผึ้ง ดอกไม้หวาด จิ้งหรีด หนอนหน่อไม้ เปลือกไม้ ไม้ไผ่ เมื่อได้ของป่าจะนำมาทำอาหารกินในครอบครัวและหมักดองเอาไว้กินตลอดปี ส่วนหนึ่งจะนำไปขาย เช่น ดอกไม้หวาด (หน้า 147,148,176) อุตสาหกรรมในครัวเรือน - ชาวบ้านจะเย็บปักถักร้อยขายให้กับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เข้ามาเที่ยวในหมู่บ้าน โดยชาวบ้านจะไปซื้อผ้าในอำเภอแม่จัน นำมาย้อมแล้วปักลวดลาย สินค้าที่ทำขายมีทั้งเสื้อผ้าหญิง,ชายและเด็ก (หน้า 148 -150,176 -177) อาหาร - อาหารหลักได้แก่ข้าวเจ้าและผักต้มใส่เกลือ น้ำมันหมู อาหารประเภทเนื้อสัตว์จะไม่ค่อยได้กิน แต่จะกินเมื่อล่าสัตว์ป่าได้หรือเมื่อประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ก็จะฆ่าหมูหรือไก่เลี้ยง นอกจากนี้ ยังเก็บรักษาถนอมอาหาร เช่น ทำหมูเค็ม หมูดอง ไส้กรอก ในฤดูที่มีผักมากจะทำผักดอง ผักแห้ง ทำหน่อไม้ดอง ทำถั่วเน่า เต้าหู้ดอง จากถั่วเหลืองเอาไว้กินในช่วงที่ขาดแคลนอาหาร ส่วนเวลามีงาน เช่น งานเลี้ยงปีใหม่ หรือ งานแต่งงานอาหารส่วนใหญ่จะไม่ค่อยผสมผักเพราะเย้าถือว่า ตามปกติก็กินผักเยอะแล้วถ้าจะมีผักบ้างก็จะเอาไว้จิ้มกับน้ำพริกอาหารส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อหมูล้วนๆ เช่น ลาบดิบ ลาบเลือด เป็นต้น (หน้า 233 - 237)

Social Organization

ครอบครัวแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ 1.ครอบครัวเดี่ยว (Nuclear Family) ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก มี 18 ครอบครัว หรือร้อยละ 36 2.ครอบครัวขยาย(Extended Family) ประกอบด้วยหลายครอบครัวอยู่ในบ้านหลังเดียว ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัวมักจะเป็นผู้ที่ได้รับความนับถือมากที่สุด คือ พ่อ ครอบครัวชนิดนี้มี 32 ครอบครัวหรือร้อยละ 64 ของหมู่บ้าน สาเหตุที่มีครอบครัวแบบนี้เยอะเป็นเพราะเมื่อลูกชายแต่งงานแล้วก็จะนำฝ่ายหญิงเข้ามาอยู่ในบ้านโดยฝ่ายหญิงจะอยู่ที่บ้านฝ่ายชายและนับถือผีของฝ่ายชาย ดังนั้นจึงทำให้ค่าสินสอดแพงประมาณ 1 หมื่น -2 หมื่นบาท เพราะเย้าถือว่าการแต่งงานก็เหมือนกับการขายลูกสาว เย้าจึงให้ความสำคัญกับลูกชายเพราะจะได้เป็นผู้ดูแลเมื่อแก่เฒ่า (หน้า 181-184,190 -191) ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว - สามีเย้าจะมีฐานะที่สูงกว่าภรรยา และจะเป็นผู้ตัดสินใจทุกเรื่อง และควบคุมค่าใช้จ่ายของครอบครัว สามีจะว่ากล่าวตักเตือนภรรยายังไงก็ได้ภรรยาไม่มีสิทธิ์เถียงตอบโต้ การใช้เงินสามีจะนำไปซื้ออะไรก็ได้ เช่นครอบครัวที่สามีติดฝิ่น หากสามีนำเงินไปซื้อฝิ่นสูบโดยไม่เหลือเงินไว้ซื้อข้าว ภรรยาและลูกก็จะยอม อดข้าวและไม่ว่าอะไร ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ครอบครัวเย้าจะให้ความเคารพหัวหน้าครอบครัว ลูกเคารพพ่อแม่ พี่น้อง รักและสามัคคีกันทำงานบ้านและทำงานในไร่ เมื่อขายผลผลิตหัวหน้าครอบครัวก็จะเป็นผู้เก็บเงิน ถ้าในครอบครัว อยากจะซื้อของก็ไปขอหัวหน้าครอบครัว ผู้เขียนบอกว่าระหว่างที่ศึกษาอยู่นั้นไม่มีครอบครัวที่หย่าร้างกัน (หน้า 188-190) การแต่งงาน - หลังจากแต่งงาน ฝ่ายหญิงต้องไปอยู่บ้านฝ่ายชาย และนับถือผีบรรพบุรุษของฝ่ายชาย โดยถือว่าได้ขาดจากการนับถือผีบรรพบุรุษของตน ดังนั้น เย้าส่วนใหญ่จึงถือว่าลูกชายมีค่ากว่าลูกสาว เพราะลูกชายเป็นกำลังสำคํญในด้านแรงงานและเมื่อแต่งงานแล้วก็จะนำลูกสะใภ้เข้ามาอยู่ช่วยทำงานในบ้านและทำงานในไร่ (หน้า 182-183)

Political Organization

การปกครองของหมู่บ้าน มี 2 ลักษณะ คือ การปกครองจากส่วนราชการและการปกครองโดยจารีตประเพณี หมู่บ้านผาเดื่อ เป็นหนึ่งใน 24 หมู่บ้านที่อยู่ในเขตตำบลป่าซาง อ.แม่จัน จ.เชียงราย การปกครองในหมู่บ้านประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน (แก่บ้าน) ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและกรรมการหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านได้รับการแต่งตั้งจากทางราชการ ส่วนผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและกรรมการหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านจะเป็นผู้เลือกขึ้นมาเอง ผู้ใหญ่บ้านมีหน้าที่ดูแลความสงบในหมู่บ้านและเป็นตัวแทนชาวบ้านในการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ราชการ การปกครองแบบจารีตประเพณี - พฤติกรรมของเย้าถูกครอบคลุมด้วยจารีตประเพณี จารีตประเพณีของเย้าตั้งขึ้นเพื่อให้เกิดความสงบในสังคมที่อยู่ เมื่อมีผู้กระทำผิดผู้นั้นจะถูกปรับไหม ขับไล่ออกจากสังคมหรือถูกผีลงโทษให้เจ็บป่วย พฤติกรรมบางอย่างจะเป็นการผิดผี บางอย่างก็ไม่ผิดแต่เป็นการผิดผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งจะถูกปรับไหมหรือเป็นเงินหรือสิ่งของ แต่หากเป็นการผิดผีผู้กระทำผิดต้องเลี้ยงผีเสียหมู ไก่ หรือ เหล้า แต่ในหมู่บ้านผาเดื่อมักจะไม่มีผู้ทำผิดจารีตประเพณีเพราะพ่อแม่พี่น้องจะสอนให้ทำความดีมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก (หน้า 221-230)

Belief System

การเผยแพร่ศาสนา-มีพระธรรมจาริกขึ้นมาเผยแพร่พุทธศาสนาให้แก่เย้าในหมู่บ้าน โดยจะขึ้นมาประจำในหมู่บ้าน 2-3 รูปเป็นเวลาประมาณ 3 เดือนการเผยแพร่เริ่มมีขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 พระจะช่วยสอนหนังสือกับเด็กเย้า แล้วก็เดินทางกลับ ต่อมาในปี พ.ศ. 2516 มีพระ 3 รูป เดินทางมาเผยแพร่พุทธศาสนาอีกครั้ง อยู่ประมาณ 2 เดือนแล้วก็เดินทางกลับ กระทั่งต่อมามีเย้า 4 คน มาบวชที่กรุงเทพฯ จากการสนับสนุนของเจ้าหน้าที่อำเภอและจังหวัดแต่บวชได้ไม่นานก็สึก ความศรัทธาในพุทธศาสนาของเย้ามีความแตกต่างกัน การไปวัดจะไม่เหมือนกัน บางคนไปทำบุญบางคนไปเที่ยวงานวัด หรือไปขอยาจากพระ เป็นต้น (หน้า 80, 277 - 281, 301) ความเชื่อของเย้าเป็นแบบลัทธิบูชาผี (Animism) เชื่อเรื่องวิญญาณและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เย้าเชื่อว่า ทุกอย่างในธรรมชาติมีวิญญาณสิงอยู่ ปรากฎการณ์ต่างๆ ที่เกิด ผี เป็นผู้ทำ เช่น ผีบ้าน ผีป่า ผีภูเขา ผีต้นไม้ ผีน้ำ ผีสะพาน เป็นต้น เย้าเชื่อว่าผีให้ทั้งคุณและให้โทษ นอกจากนี้ผียังอยู่ในความเชื่อและอยู่ในชีวิตประจำวันของคนในครอบครัว เช่น ถ้าคนในครอบครัวตายก็จะบอกผีบรรพบุรุษแล้วจะเซ่นไหว้ให้คุ้มครองผู้ที่ยังอยู่ ผีบรรพบุรุษของเย้ามี 9 ขั้น คือคนที่ตายไปก่อนแล้ว 9 คนถ้าเกิน 9 คน ไปแล้วก็จะตัดคนต้นๆ ออก แต่บางบ้านที่ยังคงเอาไว้ และบางบ้านเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษถึง 22 ชั้น เย้าจะจดชื่อใส่กระดาษเอาไว้เมื่อถึงเทศกาลต่างๆ ก็จะเรียกมากินเครื่องเซ่น นอกจากนี้ ยังมีผีใหญ่อีก 18 ตนที่เย้าไม่นิยมเรียกเพราะหาหมอผีเรียกยากและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ผีทั้ง 18 ตน มีผีใหญ่ที่มีบารมีสูงสุดอยู่ 3 ตนคือ ผีสามดาว (ฟ่ามชิง) เหมือนเป็นประมุขของผีเหล่านี้ ผีทั้ง 18 ตนนี้มีบทบาทเสมือนสถาบันการปกครองของผี (หน้า 264, 266) พิธีกรรมและประเพณี - พิธีทางศาสนาบ้านผาเดื่อแบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ 1. พิธีที่ทำเป็นประจำทุกปี (Calendrical Ceremonies) - พิธีเชงเม่ง เป็นพิธีที่ทำในเดือนเมษายน เพื่อแสดงความกตัญญูรู้คุณต่อพ่อแม่และบรรพบุรุษที่ล่วงลับ - พิธีปุดชุน (พิธีเรียกขวัญข้าว) ทำในเดือนพฤษภาคม - พิธีปีใหม่น้อย ทำเดือนสิงหาคม เพื่อเลี้ยงผีบรรพบุรุษที่เคยทำมา - พิธีปีใหม่ ทำในเดือนมกราคม - พิธีเลี้ยงผีดอย (ผีภูเขา) ผีห้วย (ผีแม่น้ำ) ทำในเดือนมิถุนายน (หน้า 269) พิธีกำต่างๆ ในรอบหนึ่งปีมีอยู่ 8 กำ คือ การหยุดงานเพื่อเป็นเคล็ดลับอย่างหนึ่งในวันต่าง ๆ เหล่านี้จะไม่มีทำพิธีใด ๆ เพียงแต่จะหยุดทำงาน แต่ใครไม่หยุดก็ไม่เป็นไร เช่น - กำเสือ จะหยุดงาน 2 วันห้ามไม่ให้ผู้ใดเข้าหมู่บ้านหรือออกหมู่บ้าน ถ้าออกไปจะได้รับอันตรายจากเสือ ชาวบ้านจะกำในวันเสือวันแรกหลังจากปีใหม่ - กำมีด จะหยุดงาน 1 วันไม่ไปฟันไร่ถ้าเย้ากำมีดหลังจากกำเสือ 1 วัน - กำลม จะหยุดงาน 1 วัน ชาวบ้านจะกำลมหลังจากปีใหม่ 20 วัน - กำนก ไม่ไปทำงานในไร่ 1 วัน เย้าจะกำนกหลังจากปีใหม่แล้ว 1 เดือน - กำหนู กำนก กับกำหนูจะเป็นพิธีที่ทำติดต่อกัน เย้าจะหยุดงานในเดือนกุมภาพันธ์ ไม่ไปทำงานในไร่ติดกัน 2 วัน แล้วจะห่อข้าวต้มไปกินใกล้ ๆ ยุ้งข้าวเพื่อเป็นเคล็ดไม่ให้นกกับหนูมีลูกหลานจะได้ไม่ไปกินพืชไร่ - กำผีฟ้า จะหยุดงานอยู่บ้าน 1 วันจะทำหลังจากปีใหม่แล้ว 2 เดือนเพื่อป้องกันไม่ให้ฟ้าผ่า เพราะบางครั้งก็ทำงานกลางฝนกลัวฟ้าผ่า - กำงู หยุดทำงาน 1 วัน ในเดือนตุลาคมเพื่อไม่ให้ถูกงูกัดเวลาไปไร่ - กำไร่ จะหยุดงาน 1 วันในช่วงเดือนพฤศจิกายนเพื่อบอกผีไร่ให้ช่วยรักษาไร่ (หน้า 269 - 270) 2. พิธีที่ทำกันเมื่อต้องการ (Critical Cremonies) เช่น พิธีเรียกขวัญ แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ พิธีเกิด พิธีตาย ต่ออายุ พิธีกินต่ออายุ พิธีบวช เป็นต้น พิธีทั้งสองชนิด มีพิธีที่ทำทั้งหมู่บ้านและพิธีที่ทำส่วนตัว (หน้า267) หมอผี - เป็นอาชีพรับจ้างที่สร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน คนที่เป็นหมอผีต้องเรียนภาษาจีน เพื่ออ่านคัมภีร์ภาษาจีนที่เกี่ยวกับการทำผี อัตราค่าจ้าง ถ้า พิธีเรียกขวัญค่าจ้างประมาณ 5 -10 บาท หากเป็นพิธีใหญ่เช่นวันขึ้นปีใหม่ จะได้ค่าจ้างประมาณ 40-100 บาท (หน้า 151,271-275)

Education and Socialization

พ.ศ. 2500 ตำรวจตระเวณชายแดนหรือ ตชด. ได้สร้างโรงเรียนและสอนหนังสือให้แก่เด็กและผู้ใหญ่เย้า โดยมีครูตำรวจตระเวนชายแดนอยู่ประจำ 1 นาย ต่อมาศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาได้จัดสร้างโรงเรียนที่บ้านผาเดื่อเมื่อ ปี พ.ศ. 2518 ในระดับชั้น ป.1 ส่วนระดับชั้นประถม 2-4 เด็กนักเรียนจะไปเรียนที่โรงเรียนที่ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาที่อยู่ห่างจากหมู่บ้าน 5 กิโลเมตร การช่วยเหลือด้านการศึกษาทางศูนย์ฯ ก็ได้จัดหาอุปกรณ์การศึกษา เช่น สมุด ดินสอ หนังสือเรียนและเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มเพื่อช่วยเหลือเด็กชาวเขา (หน้า 50, 77, 78, 282-288, 291-295)

Health and Medicine

ตำรวจตระเวนชายแดนที่อยู่ประจำหมู่บ้านจะแจกยาให้นักเรียนและชาวบ้าน และรักษาคนที่เป็นไข้ไม่สบาย รวมทั้งแนะนำเรื่องสุขภาพ การรักษาความสะอาดบ้านเรือน ต่อมาในปี พ.ศ.2508 ทางราชการได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา ตำรวจ ตระเวนชายแดนจึงหยุดช่วยเหลือ สำหรับทางศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจะรักษาชาวบ้าน แจกยาและฉีดยา และให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ชาวบ้าน ในหมู่บ้านและที่ทำการศูนย์โดยจะออกเยี่ยมชาวบ้านสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ถ้าเจ้าหน้าที่รักษาไม่ได้ ก็จะส่งผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลประจำจังหวัดเชียงรายหรือโรงพยาบาลโอเว่อร์บรุค (หน้า 50, 79-80, 248, 261-263) ฝิ่น สามารถนำมาเป็นยารักษาโรคได้ เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง เมื่อยตามร่างกาย (หน้า126) การรักษาด้วยไสยศาสตร์ - ชาวบ้านจะทำพิธีเรียกขวัญ ไม่สบาย หรือปวดศีรษะ ฝันร้าย เด็กร้องไห้ ก็จะฆ่าหมู ไก่เพื่อทำพิธีเรียกขวัญ (หน้า 234) การเสี่ยงทาย จะโยนไม้คู่ถามผีว่าผู้ป่วยถูกผีทำหรือไม่ ถ้าไม้เสี่ยงทายที่โยน 3 ครั้งออกมาในลักษณะโยนครั้งแรกหงายทั้งคู่ โยนครั้งสองคว่ำหนึ่ง โยนครั้งที่สามคว่ำทั้งคู่ก็จะเชื่อว่าผีทำ ก็จะเรียกหมอผีมาถามเพื่อเลี้ยงผี (หน้า249) - การรักษาโดยใช้ไฟจี้ - หมอบ้านจะใช้ใจข้างในของต้นอ้อ เหมือนหลอดฟองน้ำสีขาว ชุบน้ำมันก๊าซ จุดไฟจี้อวัยวะผู้ป่วย เช่น ปวดหัว ก็จะจี้ตามใบหน้า หน้าผากและที่ขมับ ถ้าปวดฟันก็จะใช้ไฟจี้เป็นวงกลมรอบแก้ม ถ้าปวดท้องและมีอาการอาเจียรก็จะใช้ไฟจี้รอบสะดือ ถ้าไข้หนาวสั่นก็จะใช้ไฟจี้ที่ด้านหลังทั้งทางซ้ายและขวา (หน้า 250, 260) - วิธีดูดด้วยกระดาษใส่ขวด - จะใช้กระดาษใส่เข้าไปในขวด ปากกว้างขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว จุดไฟให้ติดกระดาษที่อยู่ในขวดแล้วใช้ปากขวดครอบกดลงที่อก หรือหน้าผากถ้าเจ็บอกหรือปวดหัว ไฟที่ไหม้กระดาษก็จะลวกผิวหนัง และเมื่อในขวดมีการเผาไหม้อากาศภายในขวดหมดลง ทำให้เกิดการดูดระหว่างขวดกับผิวหนังบริเวณที่ครอบไว้ เมื่อดึงขวดออก จึงรู้สึกว่าผิวหนังถูกดูดเอาสิ่งที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด เช่น เลือด หนอง มาไว้บริเวณที่ถูกดูดในบริเวณที่ถูกดูดจะแดงเป็นวงกลมตามรอบปากขวดเมื่อดูดเสร็จแล้วก็จะใช้ปลายมีดกรีดบริเวณรอบที่ถูกดูด 1 ครั้ง เพื่อให้เลือดและหนองเสียที่ดูดออกมา ถ้าดูดครั้งแรกไม่หายก็จะดูดซ้ำที่เดิมอีกหลายเที่ยว จนหนังกำพร้าแดงและลอก - นอกจากนี้ ผู้เขียนยังอธิบายถึงการรักษาด้วยวิธีอื่น เช่น ถ้าไอไม่หายก็จะใช้ไข่ไก่ตีให้แตกใส่หัวหอมพริกไทย ยาป่าบางชนิดแล้วรับประทานแก้ไอ ส่วนเด็กเป็นหวัด ก็จะใช้ขิงทุบเผาไฟแล้วนำมาใส่ที่หัวเด็ก ใส่หมวกปิดไว้ 1-2 คืน ถ้าผู้ใหญ่เป็นไข้ก็จะฆ่าไก่ตัวเล็ก ใส่หอม ใส่พริกไทยยาป่าแล้วนึ่งรับประทาน หากจะรักษาเด็กที่ออกหัดก็จะฆ่าไก่ถอนขนไก่ แล้วนำน้ำที่ใช้รวกไก่ ถอนขนไปทาตามตัวเด็ก เพื่อให้หัดออกให้มาก ๆ เด็กก็จะหายจากหัด (หน้า 250-251) ปัญหาสุขภาพจากการสูบฝิ่น - จำนวนผู้สูบฝิ่นในหมู่บ้านมีทั้งหมด 48 คน เป็น ชาย 28 คน หญิง 20 คน การสูบฝิ่นจะทำให้ผอมไม่มีแรงทำงาน คนที่สูบมาก ๆ จะมีกลิ่นตัวเหม็น ในหมู่บ้านผาเดื่อ มีผู้สูบฝิ่น 33 ครัวเรือน ในแต่ละครัวเรือน มีผู้สูบฝิ่นครอบครัวละ 1-3 คน ในครัวเรือนที่มีผู้สูบฝิ่น 1 คนมีอยู่ 19 ครัวเรือน และผู้ที่ติดฝิ่น 2 คน อยู่ 13 ครัวเรือน (หน้า 244-246)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

เครื่องชั่งฝิ่น - เป็นเครื่องชั่งที่มีการถ่วงดุลย์ 2 ข้าง มาตรการชั่งฝิ่น เย้าจะใช้เงินเหรียญอังกฤษและเงินเหรียญฝรั่งเศสเป็นเครื่องวัด ได้แก่ 2 แป เท่ากับ 1มู, 2 มู เท่ากับ 1 เถ่อ, 4 เถ่อ เท่ากับ 1 จาบ, 10 จาบ เท่ากับ 1 ขัน (4ตำลึง เท่ากับ 1ขัน) 10 ขัน เท่ากับ 1 จ้อย (หน้า128) การแต่งกาย - การแต่งกาย แบบผู้หญิง และแบบผู้ชาย จะเหมือนกันเพราะใช้ผ้าประเภทเดียวกัน โดยจะใช้ผ้าฝ้ายเนื้อหนาสีดำหรือสีน้ำเงินเข้ม ผ้าชนิดนี้เป็นผ้าที่เงี้ยวในพม่าทอขายให้แก่ชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ผ้าจะยาว 4 วา กว้างศอกเศษ ผ้าสีขาวราคาผืนละ 34 บาท ผ้าสีดำราคาผืนละ 120 บาท เย้าชอบซื้อผ้าขาวมาย้อมกับเปลือกไม้ แล้วเอาไปตากแดดให้ผ้าแห้งก่อนที่จะนำมาตัดเย็บเสื้อผ้า ผ้าชนิดนี้มีขายที่อำเภอแม่จันและอำเภอแม่สาย การแต่งกายผู้หญิง จะโพกหัวด้วยผ้าดำยาว 2 วา กว้างศอกเศษ ปลายผ้าจะปักเป็นลายดอก เสื้อสีดำยาวคลุมจนถึงข้อเท้า เสื้อด้านหน้าจะผ่าตลอด ติดไหมพรมสีแดงเป็นพวงรอบคอเสื้อยาวถึงหน้าท้อง ด้านข้างผ่าจากเอวมาตลอดชายเสื้อ ตัวเสื้อด้านหน้าตั้งแต่เอวลงไปเป็น 3 แฉก คือแผ่นหน้า 2 แฉกและแผ่นหลังผืนใหญ่ 1 แผ่น ถ้าสวมชายเสื้อด้านหน้าทั้ง 2 แฉกจะถูกมัดไขว้กันไว้รอบเอวแล้วผูกเงื่อนไว้ทางด้านหลัง ส่วนแผ่นหลังจะปล่อยไว้รองนั่งไม่ให้กางเกงเปื้อน หรือใช้ปิดอกด้านหลังกางเกง เสื้อจะประดับด้วยแผ่นเงขนาดหัวเข็มขัด 4-5 อัน จากอกถึงเอว แขนเสื้อจะเป็นแขนยาวถึงข้อมือขลิบด้วยเส้นเงินและไหมสีแดง กางเกงจะมีสีเดียวกับเสื้อ เป็นกางเกงตัวใหญ่เป้ายาวด้านข้างปักเป็นลวดลาย เมื่อใส่กางเกงจะสวมเข็มขัดสวมเสื้อคลุมทับ เครื่องประดับของผู้หญิงเย้าได้แก่ ห่วงคอ ต่างหู กำไล เข็มกัดที่หน้าอกเสื้อทำด้วยเงินฮาง เป็นเงินแท่งราคา 1,000 -1,100 บาท การแต่งกายของผู้ชายเย้า กางเกงเหมือนกางเกงขาก๊วย เป้ากางเกงยาว กางเกงจะไม่ปักลวดลายใดๆ เสื้อแขนยาวสีเดียวกับกางเกง คอกลมติดกระดุมที่คอ เฉียงไว้มาทางรักแร้ยาวไปถึงเอว กระดุมเสื้อเป็นเงินลูกทรงกลมที่ชายเสื้อและที่แขนจะขลิบด้วยด้ายเส้นเงินและไหมแดง หน้าอกเสื้อจะปักด้วยลวดลายเล็ก ๆ น้อย ๆ สำหรับคนหนุ่ม ส่วนคนสูงอายุจะไม่ปักลายเสื้อ การแต่งกายของเด็ก - เด็กชายหญิง แต่งกายเหมือนคนพื้นราบ แต่จะใส่กางเกงแบบเย้าในหน้าหนาว เสื้อกับกางเกงจะไม่ครบจะเลือกใส่อย่างใดอย่างหนึ่งไม่พร้อมกัน (หน้า 201-205)

Folklore

สาเหตุที่จีน เรียกว่า เย้า นั้นมาจากคำว่า เย้า แปลว่า หมา หรือ ป่าเถื่อน ตามตำนานระบุว่า บรรพบุรุษของเย้าเป็นหมา ที่อาสาจีนเพื่อปราบพวกแม้วที่เป็นกบฎได้สำเร็จจึงได้รับพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงจีนเป็นคู่ครอง ต่อมาจึงได้รับมอบหมายไปไปปกครองเกาะดังกล่าว (หน้า 44)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

เย้ามีทัศนคติที่ไม่ดีต่อชาวจีนฮ่อที่อยู่ดอยแม่สลอง (กองพล 93 ก๊กมินตั้ง) เนื่องจากเย้าที่ไปทำไร่ที่ดอยแม่สลองรู้สึกว่าชาวจีนฮ่อเป็นคนดุจึงไม่อยากจะไปอยู่ใกล้ ๆ และเคยมีความขัดแย้งเรื่องที่ดินที่ดอยแม่สลอง การติดต่อระหว่างเย้ากับจีนฮ่อ จะเป็นเรื่องค้าขายที่มีนานๆ ครั้งและต่างฝ่ายต่างระวังตัวเพื่อไม่ให้มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ จีนฮ่อจะมาขอซื้อสัตว์เลี้ยง ข้าวเปลือก ถั่วเหลือง ฝิ่นจากเย้า ส่วนเย้าก็จะซื้อปืนจากจีนฮ่อ เพื่อเอาไปขายต่อให้กับชาวพื้นราบหรือใช้เอง ฉะนั้นการติดต่อจึงเป็นไปอย่างลับ ๆ ไม่ชัดแจ้ง (หน้า 92,197, 214) กรณีที่ครอบครัวใดเมียมีลูกไม่ได้ ผัวจะขอมีเมียคนที่ 2 แต่คนที่จะมีเมียใหม่ต้องร่ำรวย เพราะพ่อแม่ฝ่ายหญิงจะเรียกค่าสินสอดแพง เพราะไม่อยากให้ลูกเป็นเมียน้อยคนอื่น (หน้า 184) ลูกบุญธรรม หรือลูกเก็บ-ครอบครัวไม่มีลูก จะไปขอหรือซื้อเด็กที่เป็นเผ่าอื่น เช่น อีก้อ หรือมูเซอ มาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรมเด็กจะมีราคา 2 พัน ถึง 4 พันบาท แต่ทุกวันนี้ราคาจะเหลือประมาณคนละ 50-100 บาท สาเหตุที่พ่อแม่นำเด็กมาขายเพราะเลี้ยงไม่ไหว หรือ ติดฝิ่นก็จะขายลูกเอาเงินไปซื้อฝิ่น แต่ในบางกรณี พ่อแม่ของเด็กตาย ญาติเลี้ยงไม่ไหวก็เลยเอาเด็กมาขายให้เย้า การรับเด็กมาเลี้ยงนั้นยังเป็นที่นิยมในกลุ่มหนุ่มสาวเย้าที่ยังไม่แต่งงาน ก็จะซื้อเด็กมาเลี้ยง ฉะนั้นแล้วบางรายพ่อหรือแม่กับลูกบุญธรรมจึงมีอายุใกล้เคียงกัน แต่เย้าถือว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา นอกจากนี้แล้วหนุ่มสาวเย้ายังมีความเสรีในเรื่องความสัมพันธ์ทางเพศ เมื่อยังไม่ได้แต่งงาน ชายหญิง อาจมีเพศสัมพันธุ์กับใครก็ได้ถ้าชอบพอกันโดยไม่มีการหึงหวงจึงทำให้เกิดปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนการแต่งงาน เมื่อฝ่ายหญิงตั้งครรภ์หากพ่อแม่ซักถามเอาความจริง ลูกสาวก็จะบอก ส่วนฝ่ายชายก็มักจะยอมรับและยอมแต่งงานกับฝ่ายหญิงตามประเพณี (หน้า 85,186 -187) เย้าจะไม่ห้ามลูกหลานแต่งงานกับคนเผ่าอื่น จะมีบางส่วนที่หนีตามกันไปแต่ก็ไม่ถือว่าเป็นการแต่งงานตามประเพณี ผู้เขียนบอก ว่าระหว่างที่อยู่ในหมู่บ้านนั้นมีหญิงเย้า 3 คนที่หนีไปกับคนเผ่าอื่นคือ หนีไปกับคนพื้นราบ 2 คน และหนีไปกับคนฮ่อ 2 คนแต่ ไม่ถือว่าเป็นการแต่งงาน ในการแต่งงาน ค่านิยมการแต่งงานกับคนเผ่าอื่นนั้นเย้าจะไม่ห้ามปรามลูกเช่นจะส่งเสริมให้ลูกแต่งงานกับอีก้อเพราะเห็นว่าเป็นคนขยันและสินสอดถูกกว่าเย้า การแต่งงานระหว่าง เย้ากับเผ่าอื่นเช่น อีก้อ แม้ว มูเซอ และคนเมือง ยังมีอยู่ไม่น้อย เพราะเย้าชอบซื้อเด็กมาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรมเมื่อเด็กกลุ่มนี้โตขึ้นก็จะแต่งงานกับเย้าในหมู่บ้าน (หน้า187,188) ความสัมพันธ์ของคนในหมู่บ้าน - ในหมู่บ้านผาเดื่อที่ส่วนใหญ่จะเป็นเย้าและยังมีคนเชื้อชาติอยู่อาศัยในหมู่บ้านอีก 3 ครอบครัวคือครอบครัวอีก้อ 1 ครอบครัว และฮ้อ อีก 2 ครอบครัว การอยู่ร่วมกันจะอยู่อย่างสันติสุข ไม่ดูถูเหยียดหยามกัน ความสัมพันธ์โดยทั่วไป เย้าจะช่วยเหลือกันดีแต่ถ้าหากไม่เดือดร้อนก็จะไม่ไปขอความช่วยเหลือจากใคร เช่น การยืมเงิน ข้าว สิ่งของ มักจะยืมอยู่ในกลุ่มญาติพี่น้อง แต่ถ้าไม่จำเป็นเย้าก็จะไม่ยืมเพราะต้องเสียดอกเบี้ย เย้าไม่ชอบไปขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น เช่น การเงิน เพราะถ้าไปยืมแล้วถ้าถูกปฏิเสธก็จะทำเกิดความรู้สึกอับอายแก่คนที่ไปขอความช่วยเหลือ (หน้า 93-94) ความสัมพันธ์ระหว่างเย้ากับอีก้อ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการค้าขาย อีก้อที่อยู่หมู่บ้านใกล้เคียงจะเข้ามาซื้อข้าว สัตว์เลี้ยง ฝิ่นจากเย้า และอีก้อก็จะนำหน่อไม้ เนื้อสัตว์ป่า แมลงต่าง ๆ สัตว์เลี้ยง เครื่องเงิน เครื่องนุ่งห่มมาขาย การค้าขายเย้ามักได้เปรียบ เช่น ซื้อของได้ถูกและขายแพง เย้าจะถือว่าตนเองมีความเป็นอยู่เหนืออีก้อ เย้าเชื่อว่าอีก้อมีความเป็นอยู่ที่สกปรกและฉลาดน้อยกว่า แต่เย้ามักจะชื่นชมอีก้อว่ามีความทรงจำดีเยี่ยม เช่น การจำวันเดือนปีของการทำพิธีต่างๆ โดยไม่ได้บันทึกเป็นตัวหนังสือ เพียงแต่บอกเล่าแก่กันเท่านั้น อย่างไรก็ดี เย้ามักจะให้ความช่วยเหลืออีก้อ เช่น ให้ที่พักเวลานอนค้างคืน หรือให้ที่พักเมื่อมาสูบฝิ่น เป็นต้น (หน้า196, 214) ความสัมพันธ์ระหว่างเย้า กับคนพื้นราบ - ความสัมพันธ์เป็นในด้านติดต่อซื้อขายสินค้า โดยเย้าจะนำสินค้าไปขายที่ตัวอำเภอแม่จัน เมื่อขายสินค้าแล้วก็จะซื้อสินค้าที่อยากได้ แต่ถ้าพ่อค้าในอำเภอแม่จันขึ้นมาซื้อของ เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพด ตองกุ่ง (ดอกไม้กวาด) เย้ามักไม่อยากจะขายให้เพราะได้ราคาน้อย สู้ค้าขายกันเองในหมู่บ้านไม่ได้ และพ่อค้ามักจะหักค่าขนส่ง ความสัมพันธ์ของเย้ากับชาวพื้นราบเป็นแบบช่วยเหลือเกื้อกูลกัน โดยคนพื้นราบก็ไม่รู้สึกรังเกียจเย้า ชาวพื้นราบที่อยู่ใกล้เคียงบางครั้งก็ขึ้นไปยืมเงินเย้า หรือซื้อฝิ่นลงมาขายหรือขึ้นไปเอาสินค้าไปขาย หรือไปทำงานรับเหมาก่อสร้างหรือไปช่วยทำนา ส่วนเย้านั้นมักจะรู้สึกว่าตนด้อยกว่าคนพื้นราบ เพราะคนพื้นราบอยู่สบายกว่าทำนาได้ผลผลิตดีกว่า อย่างไรก็ดี เย้ายังไม่อยากไปอยู่พื้นราบกับชาวพื้นราบเพราะมีวัฒนธรรมแตกต่างกัน และมีสัตว์เลี้ยงจำนวนมากถ้าหากไปอยู่พื้นราบก็กลัวสัตว์เลี้ยงจะไปทำลายพืชผลทางการเกษตรเสียหาย (หน้า 197-200, 214 -215)

Social Cultural and Identity Change

เย้าย้ายถิ่นมาจากแขวงห้วยทราย ประเทศลาว มาที่หมู่บ้านผาเดื่อ เพราะว่าการเพาะปลูกไม่ได้ผล ส่วนรุ่นต่อมาย้ายถิ่นมาเพราะมีการรบกันระหว่างลาว 2 ฝ่ายจึงทำให้เกิดความไม่สงบ และฝ่ายลาวอิสระได้เก็บภาษีจากเย้า เช่น ข้าว หมู ไก่ (หน้า 47-49) ในปัจจุบัน (พ.ศ.2519) เย้าที่ขาดแคลนที่ดินทำกินจึงย้ายถิ่นไปจับจองที่ ที่ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา ที่ปากคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งมีที่ทำกินมากกว่าและมีความอุดมสมบูรณ์ (หน้า 92-93,155 -157) การเปลี่ยนแปลงเรื่องการแต่งกาย มีมานานแล้ว เช่น ตอนที่เดินทางเข้ามาอยู่ประเทศไทย เย้าไม่ใช้ผ้าแดงพันที่มวยผมก่อนที่จะโพกหัวด้วยผ้าดำ ไม่ใช้ผ้าพันเอว และกลุ่มผู้หญิงจะสวมเสื้อแบบคนพื้นราบไว้ข้างในแล้วทับด้วยเสื้อคลุมแบบเย้า ส่วนผู้ชายก็จะเปลี่ยนแปลงโดยจะสวมเสื้อแบบคนพื้นราบแทนเสื้อผ้าแบบเย้า การสวมหมวกแต่ก่อนจะสวมหมวกประจำเผ่าก็จะเปลี่ยนมาสวมหมวกเบเล่ห์ หรือหมวกแก๊ป การเปลี่ยนแปลงทรงผม จะเปลี่ยนจากที่เคยโกนผมเหลือผมไว้เพื่อถักเปียกลางศีรษะก็จะเปลี่ยนมาไว้ผมแบบคนพื้นราบ (หน้า 215, 216, 217) การเปลี่ยนแปลงทางด้านภาษามาจากการค้าขาย เช่น เย้าที่เคยตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศลาวจะใช้ภาษาจีน กับภาษามูเซอ ส่วนในพม่าจะใช้ภาษาจีน พม่า และมูเซอ แต่เมื่อเย้า เข้ามาอยู่ในประเทศไทยก็จะเรียนภาษาไทยมากขึ้น (หน้า 217-218)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ตาราง แสดงจำนวนครั้งและจำนวนของผู้อพยพ (หน้า53) จำนวนปีของผู้ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน(หน้า53) สินค้าและราคาของงานฝีมือที่เย้าทำขายในหมู่บ้าน(หน้า150) อายุ เพศ และจำนวนของผู้สูบฝิ่นในหมู่บ้านผาเดื่อ (หน้า 246) อายุ เพศ และจำนวนผู้ตาย (หน้า 252) อายุ และโรคที่ตายแสดงเพศและโรคที่ตาย (หน้า 253) จำนวนผู้ที่เรียนและเคยเรียนอยู่ในชั้นต่างๆ แยกตามเพศ(หน้า289) ช่วงอายุของผู้เรียนแยกตามชั้นต่างๆ (หน้า290)

Text Analyst ภูมิชาย คชมิตร Date of Report 18 ส.ค. 2557
TAG เย้า, การเปลี่ยนแปลง, การปรับตัว, วัฒนธรรม, วิถีชีวิต, เชียงราย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง