สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject จีนยูนนาน, ลื้อ, ไต, ชาวเขา,ปัญหาการรวมพวก,เชียงราย
Author ธีระพงค์ อินทนาม
Title ปัญหาการดำเนินนโยบายรวมพวกชนกลุ่มน้อยในจังหวัดเชียงราย
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทลื้อ ลื้อ ไตลื้อ, ไทใหญ่ ไต คนไต, จีนยูนนาน จีนฮ่อ มุสลิมยูนนาน, Language and Linguistic Affiliations ไม่ระบุ
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 108 Year 2543
Source หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

งานชิ้นนี้ศึกษาถึงสภาพปัญหาในการดำเนินนโยบายรวมพวกชนกลุ่มน้อยเพื่อที่ศึกษาถึงแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมที่จะนำมาปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาการรวมพวกชนกลุ่มน้อยในจังหวัดเชียงราย จากการศึกษาพบว่าชนกลุ่มน้อยส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะรับเอาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของคนพื้นราบไปปฏิบัติ เห็นได้จากการปกครองชุมชนและหมู่บ้านที่ผู้ใหญ่บ้านมา จากการรับเลือกตั้ง ด้านสังคมวัฒนธรรมมีการแต่งกายเหมือนกับคนพื้นราบเป็นต้น ทั้งนี้ทำให้มองเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมและเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน โดยชนกลุ่มน้อยส่วนใหญ่ได้คลายความเหนียวแน่นทางวัฒนธรรมดั้งเดิมลงไปบ้างแล้วแต่จะมีเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุเท่านั้นที่ยังยึดมั่นในวัฒนธรรมดั้งเดิมอยู่ การดำเนินนโยบายรวมพวกชนกลุ่มน้อยเป็นวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุด เพราะแนวทางแก้ไขปัญหาเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ทำให้สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชนกลุ่มน้อยกับชนพื้นราบได้เป็นอย่างดี จะอย่างไรก็ตามการดำเนินนโยบายรวมพวกชนกลุ่มน้อยในจังหวัดเชียงรายถือว่าประสบความสำเร็จมากพอสมควร ถึงแม้จะมีบางปัญหาที่คอยเป็นอุปสรรคต่อการรวมพวก ปัญหานั้นก็คือ ปัญหายาเสพติด ปัญหาการอพยพถิ่นฐาน ปัญหาพิสูจน์สถานะบุคคลบนพื้นที่สูงเป็นต้น หากปัญหาดังกล่าวไม่ได้รับการแก้ไข อาจส่งผลกระทบต่อสังคมส่วนรวมได้ (หน้า 75-78, 99-101)

Focus

ต้องการศึกษาสภาพปัญหา การดำเนินนโยบายรวมพวกชนกลุ่มน้อยในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เพื่อเน้นให้เห็นถึงการศึกษาแนวทางการปฏิบัติ เพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาการรวมพวกชนกลุ่มน้อย (หน้า 8, 9, 59-87)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาติพันธุ์จีนฮ่อ ที่มีเชื้อสายเป็นยูนนาน และไทยภูเขา ไทลื้อ -ไทใหญ่ ซึ่งมีเชื้อสายพม่า (หน้า 30-35)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาท้องถิ่นภาคเหนือ ภาษาไทยกลางและภาษาประจำเผ่าซึ่งใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างชนเผ่าเดียวกัน ส่วนภาษาไทยและภาษาถิ่นทางภาคเหนือใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารกับคนพื้นราบ (หน้า 76)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงราย มีทั้งชนกลุ่มน้อยที่อพยพมาตั้งรกรากและอยู่อาศัยเป็นเวลานานมาแล้วกับอีกลุ่มหนึ่งที่เพิ่งอพยพมาอยู่ได้ไม่นานมานี้เอง สาเหตุที่พวกเขาอพยพมาอาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงรายก็เพราะสภาพทางภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่สูงอยู่ติดกับแนวชายแดนซึ่งเป็นถิ่นฐานเดิมของชนกลุ่มน้อยเหล่านี้และชนกลุ่มน้อยเหล่านี้จะตั้งถิ่นฐานอยู่บนดอยสูงซึ่งจำแนกตามกลุ่มชาติพันธุ์ ศาสนา ประเพณีวัฒนธรรมตามลักษณะดังนี้ - ชาวไทยภูเขาได้แก่เผ่าอาข่า มูเซอ เย้า กระเหรี่ยง ลีซอ ม้ง เป็นชนเผ่าที่มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างกัน มีประเพณีและภาษาพูดเป็นของตนเองบางเผ่าจะมีภาษาพูดที่คล้ายกัน - กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มจีนฮ่อเป็นกลุ่มชนที่เป็นอดีตทหารจีนคณะชาติกองพลที่ 93 ของไต้หวันแต่อพยพหลีกหนีการปราบปรามของจีนคอมมิวนิสต์ แล้วเดินทางเข้ามาทางพม่าแล้วเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยในปี พ.ศ 2493-2499 เพราะเหตุผลการหนีภัยทางการเมือง ทั้งนี้ได้รวมถึงจีนฮ่ออพยพและจีนฮ่ออิสระที่อ้างว่าเป็นครอบครัวของทหารจีนอพยพ แต่ชนกลุ่มน้อยกลุ่มหลังนี้ทางรัฐบาลไทยไม่ได้ให้สิทธิพิเศษใด ๆ ทางกฎหมายแก่ชนกลุ่มหลังนี้ทั้งสิ้นแต่จะอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของทหารไทย - ชนกลุ่มน้อยสัญชาติพม่าซึ่งเป็นไทยลื้อ ไทยใหญ่ และแรงงานต่างชาติพม่า ไทยลื้อมีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงประเทศจีนในเขตสิบสองปันนาและประเทศพม่า ลาว ชนกลุ่มนี้อพยพมาอยู่ที่จังหวัดเชียงรายระหว่างปี พ.ศ 2480-2498 ส่วนชนกลุ่มน้อยชาวไทยใหญ่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่รัฐฉานพม่า อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเพราะหนีภัยการสู้รบกับรัฐบาลพม่าและหนีความอดอยากเข้ามาหางานทำในประเทศไทยและอาศัยอยู่มาจนถึงปัจจุบันนี้ (หน้า 30-35, 45-47)

Settlement Pattern

ชนกลุ่มน้อยในจังหวัดเชียงรายจะตั้งถิ่นฐานอยู่บนภูเขาสูงติดกับแนวชายแดน เป็นเขตที่ติดกับบ้านเกิดเมืองนอนของตนที่เคยอยู่แล้วอพยพมาอยู่ในประเทศไทย จึงทำให้ดูเหมือนว่าชนกลุ่มน้อยเป็นคนนอกขอบเขตอำนาจของรัฐและของสังคม เพราะรัฐบาลไม่อาจดูแลให้ทั่วถึงได้ วิธีการดำรงชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมก็แตกต่างจากชนกลุ่มใหญ่ จึงทำให้เป็นปัญหาบุคคลต่างวัฒนธรรม (หน้า 30, 49)

Demography

ผู้เขียนกล่าวถึงแต่จำนวนประชากรรวมของชนกลุ่มน้อยในจังหวัดเชียงรายทั้งหมด แต่จำนวนชนกลุ่มน้อยที่อยู่ในพื้นที่ศึกษาไม่ได้ระบุไว้ (หน้า 46-47)

Economy

ระบบเศรษฐกิจของชนกลุ่มน้อยเป็นระบบเศรษฐกิจเพื่อการยังชีพ อาชีพที่ทำกันส่วนใหญ่คือการทำการเกษตรกรรมปลูกพืชหมุนเวียนไม่รู้จักวิธีการใช้ปุ๋ย การทำกินของพวกเขาก็คือการทำไร่ เพราะจากสภาพพื้นที่อยู่อาศัยอยู่บนภูเขา ประกอบกับความเคยชินในการประกอบอาชีพทำไร่ตามไหล่เขา แต่ปัจจุบัน ระบบเศรษฐกิจแบบการค้าเข้ามามีอิทธิพลต่อชนกลุ่มน้อย ส่วนหนึ่ง พวกเขามุ่งค้าขายเพื่อหวังผลกำไรมากขึ้น แต่ก่อนเป็นระบบเศรษฐกิจเพื่อการเลี้ยงชีพ บุกรุกพื้นที่เพื่อทำการเพาะปลูก แต่ปัจจุบันพื้นที่ทำกินไม่เพียงพอเพราะจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ประชากรบางส่วนจึงออกไปหางานทำในตัวเมืองและต่างจังหวัด ส่วนกลุ่มผู้สูงอายุก็ยังคงยึดอาชีพการเพาะปลูกเป็นหลักอยู่เหมือนเดิม ดังนั้น จะเห็นได้ว่าระบบเศรษฐกิจใน ปัจจุบันเน้นการขายมากกว่าในยุคก่อน ๆ (หน้า 48, 74, 75)

Social Organization

ชาวเขาเป็นกลุ่มชนที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ประเพณีประจำเผ่าที่สะท้อนให้เห็นถึงความเจริญทางด้านความคิดของพวกเขา ในสังคมของชาวเขา ผู้ชายและผู้หญิง โดยส่วนใหญ่จะมีความเสมอภาคกันเหมือนกับคนพื้นราบทั่วไป เคารพเชื่อฟังบิดา มารดา ญาติผู้ใหญ่ รู้จักขอบเขตอำนาจของตน ไม่ก้าวก่ายสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น ชายหญิงสามารถแต่งงานกันได้ตามความพอใจของตน แต่ก็สามารถอย่าขาดจากกันได้เช่นกันเพราะทางสังคมไม่ถือว่าเป็นเรื่องเสียหาย (หน้า 49) ชนกลุ่มน้อยเป็นกลุ่มชนที่ ยึดและปฏิบัติตามจารีตประเพณี วัฒนธรรมค่อนข้างเหนียวแน่นที่สุด โดยเฉพาะเผ่าอาข่า หรืออีก้อ แม้ว่าปัจจุบันการปฏิบัติตามประเพณีดั้งเดิมจะลดลงไปค่อนข้างมาก แต่พวกเขาก็ยังคงยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมมากกว่าเผ่าอื่นๆ ( หน้า 76 )

Political Organization

โครงสร้างทางการปกครองของชนกลุ่มน้อยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ หมู่บ้านที่เป็นทางการและหมู่บ้านที่ไม่เป็นทางการ - หมู่บ้านเป็นทางการเป็นหมู่บ้านที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทย ทุกครัวเรือนจะมีเลขที่บ้านกำกับ ส่วนมากเป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ใกล้เส้นทางคมนาคม อยู่ใกล้กับชุมชนของชาวพื้นราบหรือหมู่บ้านหลัก - ส่วนหมู่บ้านที่ไม่เป็นทางการเป็นหมู่บ้านที่ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการ เนื่องจากบางหมู่บ้านอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ อยู่ในเขตป่าต้นน้ำลำธาร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สามารถเข้าไปดำเนินการใด ๆ ได้ เพราะขัดต่อระเบียบปฏิบัติ หรือบางหมู่บ้านเพิ่งก่อตั้งขึ้นมาใหม่ไม่สามารถจัดตั้งขึ้นเป็นหมู่บ้านอย่างเป็นทางการได้ จะอย่างไรก็ตาม หมู่บ้านที่ไม่เป็นทางการทั้งหมด ก็ได้รับการจัดให้เป็นหมู่บ้านบริวารของหมู่บ้านหลักที่มีการจัดการปกครองในรูปแบบตามระเบียบการบริหารราชการส่วนภูมิภาค การปกครองหมู่บ้านแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ - ลักษณะแรก อยู่ภายใต้การปกครองส่วนภูมิภาคอย่างเต็มรูปแบบมีผู้นำหมู่บ้านที่มาจากการเลือกตั้งและมีคณะกรรมการหมู่บ้านคอยช่วยเหลืองานของผู้นำ ในด้านการปกครองดูแลหมู่บ้านมีรูปแบบที่เปลี่ยนไปจากการปกครองแบบที่เชื่อฟังผู้นำตามจารีตประเพณีอย่างสิ้นเชิง - ลักษณะที่ 2 อยู่ระหว่างการเปลี่ยนถ่ายอำนาจ จากรูปแบบการปกครองตามจารีตประเพณีเข้าสู่การปกครองส่วนภูมิภาค ซึ่งหมู่บ้านของชนกลุ่มน้อยอยู่ในสภาพเป็นหมู่บ้านบริวารของหมู่บ้านหลัก มีการศึกษาและเรียนรู้ร่วมกับชาวพื้นราบ แต่อีกส่วนหนึ่งยังยึดถือและเชื่อฟังผู้นำตามจารีตประเพณีดั้งเดิมของชนเผ่าอยู่โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ - ลักษณะที่ 3 ปกครองตามจารีตประเพณีดั้งเดิมของชนเผ่าซึ่งส่วนใหญ่เป็นหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลจากชุมชนใหญ่ และเป็นหมู่บ้านที่ไม่ได้รับการจัดตั้งหมู่บ้านอย่างเป็นทางการ เนื่องจากว่าเป็นหมู่บ้านบริวารของหมู่บ้านหลักซึ่งแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาค ดังนั้น การปกครองของชนกลุ่มนี้จึงยึดถือละปฏิบัติตามผู้นำแบบจารีตประเพณีที่มีบทบาทต่อผู้ที่อยู่ใต้ปกครองค่อนข้างสูง (หน้า 73,74 ) จะเห็นได้ว่าการปกครองของชนกลุ่มน้อยมีทั้งอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ เหมือนกับคนพื้นราบ แต่ต่างกันเพียงรูปแบบเท่านั้น อำนาจนิติบัญญัติเกิดจากขนบธรรมเนียมประเพณี แต่ไม่ได้กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ก็ยังยึดถือและปฏิบัติกันสืบมา อำนาจบริหารเกิดจากการยอมรับนับถือบุคคลสำคัญของกลุ่มที่คอยดูแลให้ประชากรอยู่ดีกินดี ส่วนอำนาจตุลาการ หากมีคดีความใดๆ เกิดขึ้นจะมีการไต่สวนให้ความเป็นธรรมก่อนจะมีการลงโทษ การปกครองมีการจัดการปกครองอย่างเป็นระเบียบตั้งแต่หน่วยครัวเรือนไปจนถึงระดับหมู่บ้าน ปัญหาความขัดแย้งภายในชนเผ่าจึงเกิดขึ้นไม่มากนัก (หน้า 48,73,74)

Belief System

แต่เดิมชาวเขามีความเชื่อดั้งเดิมในการนับถือผีบรรพบุรุษอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ แต่ในปัจจุบัน ศาสนาเข้ามา มีอิทธิพลต่อชนกลุ่มน้อยมากขึ้น คนส่วนใหญ่หันไปนับถือศาสนาแทนการนับถือผี ศาสนาที่เข้าไปมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลง วิถีชีวิตของชนกลุ่มน้อยก็คือ ศาสนาคริสต์และศาสนาพุทธ ชนกลุ่มน้อยจะนับถือศาสนาคริสต์มากกว่าศาสนาพุทธ เพราะศาสนาคริสต์จะเข้าไปชักจูงให้ผู้นำตามจารีตให้ไปนับถือศาสนาคริสต์ เมื่อผู้นำตามจารีตนับศาสนาคริสต์หมู่บ้านก็จะขาดผู้ที่ทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรม ฉะนั้นจึงทำให้ชาวบ้านหันไปนับถือศาสนาคริสต์ตามผู้นำ ส่วนพุทธศาสนาไม่ค่อยมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชนกลุ่มน้อยมากนักเพราะคนที่นับถือศาสนาพุทธสามารถประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อดั้งเดิมของตนได้ โดยที่ไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตดั้งเดิมแต่อย่างใด ส่วนพิธีกรรมประเพณี ได้แก่การจัดงานประเพณี "เทศกาลกินวอ" หรือ งานปีใหม่ ซึ่งถือเป็นประเพณีที่ยังยึดถือและปฏิบัติกัน อยู่ แต่ถือเอาวันสำคัญของศาสนาคริสต์เป็นวันจัดงานแทน ( หน้า 77-78,91 )

Education and Socialization

ปัจจุบัน การศึกษามีบทบาทต่อชนกลุ่มน้อยมากขึ้น พวกเด็กๆ ได้เข้ารับการศึกษาภาคบังคับมากถึงร้อยละ 90 และเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษามีจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีฐานะค่อนข้างดี ประกอบกับเส้นทางคมนาคมสะดวกสบาย ทำให้พวกเขาเดินทางมาเข้าเรียนในโรงเรียนพื้นราบและโรงเรียนในเมืองมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ในสังคมมากขึ้น จะเห็นได้ว่าชนกลุ่มน้อยให้ความสำคัญด้านกานศึกษามากขึ้น แต่ในหมู่บ้านที่มีสถานภาพไม่เป็นทาง การยังมีเด็กที่เข้ารับการศึกษาในวัยเรียนค่อนข้างต่ำ ด้วยสาเหตุหลายประการคือ ระยะทางจากบ้านไปถึงโรงเรียนค่อนข้าง ห่างไกล อีกสาเหตุหนึ่งก็คือความแตกต่างทางด้านภาษา ไม่ค่อยเข้าใจภาษาไทยเพราะ ชนกลุ่มน้อยบางส่วนยังไม่ได้รับสัญชาติไทย จึงไม่สามารถส่งบุตรหลานเข้ารับการศึกษาได้ จึงทำให้อัตราการเรียนรู้หนังสืออยู่ในระดับค่อนข้างต่ำมาก (หน้า 76,77)

Health and Medicine

ปัจจุบัน หน่วยงานสาธารณสุขของรัฐได้ไปตั้งสถานพยาบาลในเขตชุมชนของชนกลุ่มน้อยในถิ่นทุรกันดารมากขึ้น มีการสร้างสถานีอนามัยชุมชนประจำตำบล แต่ก็ยังไม่ครบทุกพื้น ชนกลุ่มน้อยส่วนใหญ่ได้หันมารักษาพยาบาลในยามเจ็บไข้ได้ป่วยที่สถานพยาบาลของรัฐมากขึ้น ส่วนการรักษาแบบวิธีดั้งเดิม เช่น การให้หมอผีรักษาโรคได้ลดลงไปมาก แต่ก็ยังมีบางพื้นที่ที่ยังมีสภาพไม่ค่อยดีนัก ยังขาดความรู้ทางด้านโภชนาการและสุขภาพอนามัย มีการตรวจพบผู้ที่ติดเชื้อเอดส์ในกลุ่มประชากรชาวเขามากถึงร้อยละ 3-4 สาเหตุก็มาจากวัยรุ่นหนุ่มสาวไปทำงานขายแรงงานและบริการในเขตเมืองและต่างจังหวัด แต่ขาดความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคจึงทำให้ติดเชื้อได้ง่าย เลยกลายเป็นพาหะนำเชื้อมาระบาดในชุมชนของตนเอง (หน้า 77)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ด้านสถาปัตยกรรม หัตถกรรม ศิลปะการแสดงไม่ได้ระบุในงานศึกษา ส่วนเสื้อผ้าและการแต่งกาย ในปัจจุบันการแต่งกายของชนกลุ่มน้อยจะแต่งแบบคนพื้นราบ ชุดประจำเผ่าจะใส่เฉพาะในงานเทศกาลสำคัญประจำเผ่าเท่านั้น และก็จะมีแต่ผู้เฒ่าผู้แก่บางส่วนที่ยังคงยึดถือและปฏิบัติตามจารีตประเพณีของชนเผ่าของตนอย่างเหนียวแน่น ชุดประเผ่าแต่ละเผ่ามีดังนี้ - เผ่าอาข่าหรืออีก้อ ผู้หญิงจะนิยมไว้ผมยาวแต่รวบไว้แล้วใส่หมวกทับ หมวกจะประดับประดาอย่างสวยงาม คอสวมด้วยเครื่องประดับ เสื้อผ้าเป็นสีดำ เสื้อชั้นในใช้ผ้ารัดอกแล้วสวมเสื้อแขนยาวผ่าหน้าทับอีกชั้นหนึ่ง ด้านหลังของเสื้อจะปักเป็นลายสวยงามมาก กระโปรงจะนิยมนุ่งสั้นต่ำกว่าสะดือ ขาพันด้วยสนับแข้ง ส่วนผู้ชายจะนิยมโกนหัวไว้ผมเปีย สวมเสื้อคอกลมแขนยาวนุ่งกางเกงสีดำ - มูเซอหรือละหู่ ผู้หญิงจะไว้ผมยาวเกล้าผมแล้วโพกด้วยผ้าสีดำ สวมเสื้อตัวสั้นแขนยาวสีดำประดับด้วยผ้าสีแดงนุ่งผ้าซิ่นสีดำสลับแดง ในวันรื่นเริงของหมู่บ้านผู้หญิงมูเซอดำจะใส่เสื้อแขนยาวลำตัวยาวครึ่งน่องสวมกางเกงและสนับแข้งสีดำ ผู้หญิงมูเซอเชเล จะแต่งกายคล้ายกันจะต่างกันก็ตรงที่จะเย็บปักลวดลายผ้าเป็นลายสีเหลืองขาวสลับแดง การแต่งกายของผู้ชายมูเซอทั่วไปจะสวมเสื้อผ่าอก นุ่งกางเกงจีนสีดำ - เผ่าเย้า ผู้หญิงเย้าจะทาผมด้วยขี้ผึ้งแล้วโพกผ้าที่มีลายปักสวยงามมาก สวมเสื้อที่มีคอเสื้อประดับด้วยไหมพรมสีแดง สวมกางเกงขายาวที่ข้างหน้าปักด้วยลวดลายที่สวยงามด้วยเช่นกัน ส่วนผู้ชายสวมเสื้อสีดำ อกไขว้แบบเสื้อคนจีนยาวคลุมลงไป จนถึงเอว นุ่งกางเกงขายาวสีดำปลายขาขลิบด้วยสีแดง - กะเหรี่ยง จะมีหลายเผ่า กะเหรี่ยงสะกอ ผู้ชายจะแต่งกายโดยใส่เสื้อสีแดง โพกศีรษะด้วยผ้าสีต่างๆ ส่วนผู้หญิงที่ยังไม่แต่งงานจะสวมเสื้อแขนยาวสีขาว แต่ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วจะสวมเสื้อสีน้ำเงิน นุ่งกระโปรงสีแดงลายตัดแล้วโพกผ้าแดง - กระเหรี่ยงโปว์ ผู้ชายจะแต่งกายเหมือนชาวนาไทย ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วจะแต่งกายแบบเดียวกับกะเหรี่ยง สะกอแต่ลำตัวจะยาวกว่าและใส่กระโปรงสีดำและสีน้ำเงินเข้ม ผู้หญิงที่ยังไม่แต่งงานจะใส่เสื้อคลุมยาวเย็บปักด้วยลวดลายกับลูกปัดที่มีสีสันสวยงามมาก - กระเหรี่ยงบะเว ผู้ชายนิยมนุ่งกางเกงขาสั้นสีแดง โพกศีรษะ และจะนิยมในการสักรูปต่างๆที่แผ่นหลัง ส่วนผู้หญิงจะนุ่งกระโปรงสั้นมาก สวมกำไลที่ข้อเท้า - ลีซอหรือลีซู การแต่งกายผู้ชายลีซอจะใส่เสื้ออกไขว้สีขาวหรือสีดำ นุ่งกางเกงสีขาว สีดำหรือสีน้ำเงิน ยาวกว่าเข่าเล็กน้อย พันสนับแข้ง บางคนก็จะสวมหมวกหรือโพกผ้าก็ได้ ส่วนผู้หญิงจะเกล้าผมไว้ที่ท้ายทอยสวมเสื้อแขนยาวอกไขว้ยาวลงมาถึงหัวเข่า ตัวของเสื้อจะขลิบสีเป็นชั้นๆทับกางเกงขายาวสีดำแล้วคาดเอวด้วยผ้าสีดำ เวลามีงานเทศกาลที่สำคัญจะสวมห่วงที่คอด้วย เงินกับเครื่องประดับอื่นๆ - พวกผู้ชายแม้ว หรือที่เรียกตนเองว่าม้ง จะใส่เสื้อแขนยาวรัดรูป อกไขว้เปิดให้เห็นหน้าท้องสีดำ สวมกางเกงจีนขายาวเป้าสีดำ คาดเอวด้วยผ้าผืนใหญ่สีแดงทิ้งชายข้างหน้า มีเข็มขัดเงินคาดทับ สวมหมวกครึ่งกลมยอดเป็นพู่สีแดง และผู้หญิงใส่เสื้อแขนยาวผ่าหน้าสีดำ ด้านหลังปักผ้าลายเหลี่ยม เวลาทำงานอยู่กับบ้านจะใส่กางเกงขายาวสีดำ ส่วนกระโปรงจีบรอบเอวส้นแค่หัวเข่าแต่จะใส่เฉพาะเวลามีงานเทศกาลสำคัญเท่านั้น

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ด้านความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ระหว่างชนกลุ่มน้อยกับคนพื้นราบหรือชนกลุ่มใหญ่ช่วงแรกจะค่อนข้างมีความแตกต่างกันแทบจะทุกด้าน อย่างเช่นมีลักษณะทางสังคมวัฒนธรรม ภาษา ศาสนาและความเชื่อที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างความสัมพันธ์ของชนกลุ่มน้อยกับชนกลุ่มใหญ่จนไม่สามารถที่จะรวมกันให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ จึงใช้วิธีการปล่อยให้ชนกลุ่มน้อยแต่ละกลุ่มอยู่ร่วมกันในสังคม และมีการปรับความสัมพันธ์แบบค่อยเป็นค่อยไปโดยผ่านกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคม ใช้การศึกษา ศาสนาเข้ามาเป็นตัวช่วยที่จะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชนกลุ่มน้อยและชนกลุ่มใหญ่ (หน้า 88-89)

Social Cultural and Identity Change

ด้านสังคมและวัฒนธรรมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างชัดเจน เห็นได้จากการแต่งกายและภาษาพูด ซึ่งชนกลุ่มน้อยที่เป็นวัยรุ่นหรือวัยหนุ่มสาวแทบจะไม่ปรากฏว่ามีการยึดถือตามขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมของชนเผ่ามากนัก เพราะได้รับอิทธิพลจากการศึกษา และสื่อสารมวลชนที่เป็นสิ่งคอยหล่อหลอมความรู้สึกนึกคิดของชนกลุ่มน้อยให้ไปนิยมในวัฒนธรรมเดียวกับคนพื้นราบ ทั้งนี้ ยังเกิดจากการคมนาคมที่สะดวกสบายกว่าในอดีตทำให้ชนกลุ่มน้อยสัมผัสกับสังคมวัฒนธรรมของชนพื้นราบได้ง่ายขึ้น จากช่องว่างที่เคยมีต่อกัน ก็ค่อยจางหายไปจนทำให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ (หน้า 88- 91)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

นโยบายการพัฒนาชาวเขา ในปี พ.ศ 2510 เกิดการแผ่ขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยกลุ่มผู้ก่อการร้ายได้เข้าไปแทรกซึมในหมู่บ้านของชาวเขา และยุยงให้ชาวเขากระด้างกระเดื่องต่อรัฐบาล ทางสภาความมั่นคงแห่งชาติจึงเสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการสงเคราะห์ชาวเขา และให้เปลี่ยนชื่อเป็น คณะกรรมการชาวเขา ให้มีหน้าที่รับผิดชอบในภารกิจของชาวเขาทุกกรณี โดยคณะกรรมการดังกล่าวมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน เป้าหมายหลักคือการกำหนดนโยบายและวิธีการดำเนินการกับชาวเขา แนวทางการดำเนินนโยบายมีดังนี้ - นโยบายระยะสั้น ได้แก่การจัดให้มีเจ้าหน้าที่เข้าถึงชาวเขา ที่เป็นจุดล่อแหลมให้เร็วที่สุด เป็นวิธีที่ผูกจิตสำนึกให้พวกเขามีความจงรักภักดีต่อประเทศไทย - นโยบายระยะยาว ได้แก่การพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา ให้อยู่อาศัยและทำมาหากินบนภูเขาเป็นหลักแหล่งที่แน่นอน เลิกการปลูกฝิ่นโดยให้ปลูกพืชชนิดอื่นแทน เลิกการตัดไม้ทำลายป่า และให้เป็นพลเมืองดีทำประโยชน์ต่อประเทศชาติเหมือนกับคนไทยโดยทั่วไป จุดประสงค์ก็คือ 1. เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาวเขาให้อยู่ดีกินดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี 2. เพื่อป้องกันการทำลายป่าต้นน้ำลำธาร 3. ป้องกันการปลูกฝิ่นโดยส่งเสริมให้ปลูกพืชชนิดอื่นแทนการปลูกฝิ่น 4. เพื่อรักษาความสงบและความปลอดภัยทางชายแดนภาคเหนือ ส่งเสริมให้ชาวเขามีความรักชาติไทย หวงแหนผืนแผ่นดินไทย เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการต่อต้านการแทรกซึมจากบ่อนทำลายชาติฝ่ายตรงข้าม

Map/Illustration

-แผนที่จังหวัดเชียงราย และพื้นที่เป้าหมายในการทำวิจัย (หน้า 10) - แผนที่แสดงการอพยพเข้ามาของชาวเขาเข้าสู่ประเทศไทย (หน้า45) - ภาพลักษณะการแต่งกายของชาวเขาเผ่าต่างๆ (หน้า 36-43)

Text Analyst บุษบา ปรังฤทธิ์ Date of Report 30 มิ.ย 2560
TAG จีนยูนนาน, ลื้อ, ไต, ชาวเขา, ปัญหาการรวมพวก, เชียงราย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง