สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ม้ง, อ่าข่า,ลีซู,ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง),จีนยูนนาน, ชาวเขา, ลุ่มน้ำปิง เชียงใหม่
Author สมพงษ์ ชีวสันต์
Title ลักษณะของชุมชนที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ปรับปรุงลุ่มน้ำปิงและหน่วยงานปรับปรุงต้นน้ำปิง
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity อ่าข่า, ลีซู, ลาหู่ ลาหู่ ละหู่ ลาฮู, ม้ง, ปกาเกอะญอ, จีนยูนนาน จีนฮ่อ มุสลิมยูนนาน, Language and Linguistic Affiliations ไม่ระบุ
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 48 Year 2532
Source สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทบวงมหาวิทยาลัย
Abstract

งานชิ้นนี้ศึกษาถึงความเป็นอยู่ของชุมชนต่าง ๆ ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเกษตร การศึกษา วัฒนธรรม ศาสนา ตลอดจนวิถีชีวิตของชาวไทยพื้นราบ และชาวเขาที่กระจายกันอยู่ในพื้นที่ของศูนย์ปรับปรุงลุ่มน้ำปิงที่ครอบคลุมหลายอำเภอ ในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำความรู้ไปศึกษาเพื่อกำหนดนโยบายในการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวและช่วยเหลือชาวบ้านในอนาคต

Focus

ประมวลข้อมูลต่าง ๆ ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ประชากร ตลอดจนปัญหาและความต้องการของชุมชน เพื่อนำไปกำหนดนโยบายและประกอบการวางแผนพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ และเป็นพื้นฐานการวิจัยในรายละเอียดระดับลึก โดยในรายงานการวิจัยได้สำรวจกลุ่มบ้าน 125 หมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ปรับปรุงลุ่มน้ำปิงและหน่วยงานปรับปรุงต้นน้ำปิง (จุดประสงค์การดำเนินงานในหน้าคำนำ)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ประกอบด้วยคนไทยในท้องถิ่น ชาวเขา เช่น กะเหรี่ยง ม้ง มูเซอ ลีซอ ก้อ จีนฮ่อ และอื่นๆ (หน้า6)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ศูนย์และหน่วยปรับปรุงลุ่มน้ำปิงมี 11 หน่วยงาน อยู่เรียงรายตามลุ่มน้ำต่างๆ ที่ไหลลงสู่ลุ่มน้ำปิงมีพื้นที่ 3,321.44 ตารางกิโลเมตร(ไม่นับหน่วย 2 แกน้อย) มีทั้งหมด 125 กลุ่มบ้าน 6,619 ครัวเรือน มีผู้อยู่อาศัย 32,464 คน ดูตารางประกอบ (หน้า5) เป็นคนไทยร้อยละ 53.37 กะเหรี่ยงร้อยละ 41.59 ม้งร้อยละ 6.42 มูเซอร้อยละ 4.06 ลีซอร้อยละ 3.26 อีก้อ จีนฮ่อและอื่น ๆ อีกร้อยละ 0.30 (ดูตารางหน้า 6) ขนาดประชากรเฉลี่ย 4.9 คน /ครัวเรือน อัตราเพศชาย 108.6 คน ต่อหญิง 100 คน อัตราเกิด 20.0 ต่อประชากร 1,000 คน และอัตราตาย 6.7 ต่อประชากร 1,000 คน อัตราเพิ่มตามธรรมชาติคิดเป็นร้อยละ 1.3 ปี (หน้า 7)

Economy

ครัวเรือนร้อยละ 83.5 มีอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 30.1 ประกอบอาชีพรับจ้าง และครัวเรือนที่ค้าขายร้อยละ 3.5 เมื่อคิดตัวเลขแล้วจะเกิน 100% เพราะบางครัวเรือนจะเป็นเกษตรกร รับจ้างและค้าขาย (ดูตารางหน้า 10) มีพื้นที่ทำกิน 74,556 ไร่ หรือร้อยละ 3.59 ของพื้นที่ทั้งหมด 2,075,900 ไร่ (3,321.449 ตารางกิโลเมตร) อีกร้อยละ 96.41 เป็นพื้นที่ป่าและอื่นๆ เช่น แหล่งน้ำ ถนน ที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำกินร้อยละ 45.92 ใช้ปลูกข้าว ร้อยละ14.52 ปลูกพืชไร่ อีกร้อยละ 14.25 ปลูกไม้ผล เฉลี่ยพื้นที่ทำกินเท่ากับ 11.3 ไร่/ครัวเรือน หากดูตามประเภทที่ทำกินพบว่า ปลูกข้าว 5.2 ไร่ ปลูกพืชไร่ 1.6 ไร่และไม้ผล 1.6 ไร่ (ดูตารางหน้า11) - ข้าวที่ปลูก ได้แก่ ข้าวนาปี ทั้งข้าวเหนียวและข้าวเจ้า ข้าวนาและข้าวไร่ที่ชอบ ปลูกมากที่สุดคือข้าวไร่เฉลี่ย 2.2ไร่ /ครัวเรือน ข้าวเจ้านาปี 1.9 ไร่ ข้าวเหนียว 1.0 ไร่ และข้าวนาปรัง 0.1 ไร่ รวมปลูกข้าวชนิดต่าง ๆ เฉลี่ย 5.2 ไร่ต่อครัวเรือนเฉลี่ยพื้นที่ปลูกข้าวต่อครัวเรือนชี้ให้เห็นว่ามีข้าวพอกินหรือไม่ ถ้าปลูกข้าวน้อยจะทำงานอื่นเสริม เช่น ทำเมี่ยง ปลูกไม้ผล รับจ้าง หรือปลูกพืชอย่างอื่นเช่น ปลูกฝิ่นหรือมีอาชีพอื่น เช่น ลักไม้ ขายไม้เถื่อน หรือใกล้แหล่งของเถื่อน (หน้า 12 และดูตารางพื้นที่ปลูกข้าวหน้า13) - พืชไร่ - ชอบปลูกข้าวโพดและถั่วเหลืองในเนื้อที่ 3,626 ไร่และ 2,732 ไร่ และปลูกถั่วลิสงในหลายหมู่บ้านมีพื้นที่ 627ไร่ (ดูตารางหน้า14) - ไม้ผล - จำแนกได้ 3 อย่าง คือ ปลูกเพื่อกิน เพื่อขายและปลูกไม้ผลที่ได้จากการส่งเสริม ไม้ผลที่ปลูกเพื่อบริโภค เช่น มะม่วง ลำไย ขนุน มะพร้าว มะนาว มะขาม ส้มโอ มักปลูกตามหมู่บ้านชาวพื้นราบโดยจะปลูกไว้ตามรั้วบ้านและข้างบ้าน ปลูกโดยจะขายก็ต่อเมื่อเหลือกินในครัวเรือนประมาณด้วยการนับจำนวนต้น แต่ไม่ทราบพื้นที่ปลูก เช่น ในหน่วย 1 (แม่กวง) และหน่วย 2 (แม่กลาง) ในหมู่บ้านชาวเขาจะพบในหมู่บ้านที่ตั้งมานาน ไม้ผลที่ปลูกเพื่อขายทำให้ทราบพื้นที่และจำนวนต้นพืชที่ปลูก ได้แก่ มะม่วง ลิ้นจี่ ลำไย สำหรับต้นชาหรือต้นเมี่ยงจะขึ้นตามพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากในหมู่บ้านนั้นมักจะเป็นเจ้าของสวนเมี่ยงและมีอาชีพทำเมี่ยงและรับจ้างเก็บเมี่ยง เช่น หมู่บ้านจากศูนย์ฯ บนหน่วย 4 (แม่แตง) หน่วย 1 (แม่กวง) ไม้ผลส่งเสริม เช่น กาแฟ ท้อ สาลี่ บ้วย ไม้ผลเหล่านี้จะปลูกในพื้นที่แตกต่างกัน เช่น กาแฟปลูกมาที่หน่วย 4 (แม่แตง) และหน่วย 1 (แม่กวง) ท้อมีมากที่หน่วย 2 (แม่ป๋าย) และหน่วย 2 (แม่กลาง) และในหน่วย 3 (แม่วาง) มีสาลี่ บ๊วย และแอปเปิลเป็นจำนวนมาก (หน้า15 ดูตารางหน้า16) - สัตว์เลี้ยง - สัตว์เลี้ยงในชุมชนที่การคมนาคมไม่สะดวกจะชอบเลี้ยงม้าเพราะเดินทางได้ไกลและเร็วกว่าวัวต่าง สัตว์เลี้ยงเป็นเครื่องแสดงถึงฐานะทางเศรษฐกิจที่จะนำสัตว์เหล่านั้นไปขายเป็นเงิน โดยถือว่าวัวเป็นเหมือนธนาคารของชาวบ้าน เช่น เมื่อมีเหตุจำเป็นต้องการปลูกบ้าน แต่งงาน หรือไปโรงพยาบาลก็จะนำไปขาย นอกจากนี้ ยังมีชาวบ้านหลายหมู่บ้านมีอาชีพ "เลี้ยงผ่า" เช่น ในกลุ่มชุมชนศูนย์ปรับปรุงน้ำปิงตอนล่างจะใช้วิธีนี้คือ เจ้าของจ้างเลี้ยง เมื่อสัตว์เลี้ยงที่นำไปเลี้ยงคลอดลูก จำนวนลูกก็จะแบ่งกันคนละครึ่งกับเจ้าของ (หน้า17,18) - ช้าง - กลุ่มผู้เลี้ยงช้างส่วนใหญ่อยู่หน่วย 1 แม่กวง และหน่วย 3 แม่วาง กลุ่มนี้มักเป็นผู้มีฐานะสร้างบ้านใต้ถุนสูงแข็งแรงและมักจะอยู่รวมกลุ่มกับผู้เลี้ยงช้างด้วยกัน (หน้า18 และดูตารางหน้า 19) - อาชีพรับจ้าง ใน 6,619 ครัวเรือน ประมาณ 1ใน 5 หรือกว่า 1,500 ครัวเรือนมีอาชีพรับจ้าง รับจ้างทำไร่นาทั้งในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้านค่าจ้างไม่ตายตัว ถ้าแรงงานมากค่าจ้างจะต่ำ และถ้าแรงงานน้อยค่าจ้างจะสูง งานหนักเช่นขุดดินถางป่าทำไร่บุกเบิกนา ค่าจ้างจะสูง แต่ถ้าปลูกข้าวหรือพืชไร่ดายหญ้า และเก็บเกี่ยวผลผลิตค่าจ้างก็จะต่ำเพราะเป็นงานเบา ค่าจ้างของกะเหรี่ยงจะรับเป็นฝิ่นในบางครั้ง ตามอัตราท้องถิ่นเช่นข้าวสาร 5 ลิตร เงิน 25 บาท หรือฝิ่นหนึ่ง 1 สลึง หากเป็นงานหนักจะได้ข้าวสาร 10 ลิตร เงิน 50 บาท หรือ ฝิ่นหนัก 2 สลึง (หน้า20) หน่วย 4 (แม่แตง) และ หน่วย 1 ที่อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอสันกำแพง ชาวบ้านจะทำงานเก็บชา หรือเก็บเมี่ยงโดยมีรายได้ตกวันละ 30 ถึง 40 บาท ต่อคน การรับจ้างแบ่งครึ่งกับเจ้าของสวนเมื่อนำไปขายให้โรงน้ำชาถ้าขายได้ กิโลกรัมละ 5 บาท คนเก็บก็จะได้ 2.50 บาทเป็นค่าตอบแทน (ดูตารางหน้า 21) ธุรกิจและบริการในพื้นที่ชี้ให้เห็นสถานะทางเศรษฐกิจของชุมชนและความสัมพันธ์ใกล้เคียง หมู่บ้านที่ตั้งมานานจะเป็นศูนย์กลางธุรกิจของหมู่บ้านใกล้เคียง (หน้า 23 ดูตารางประกอบหน้า 24)

Social Organization

หมู่บ้าน แบ่งเป็น กลุ่มทางสังคมอย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ แบ่งออกเป็น 15 กลุ่ม ซึ่งการแบ่งกลุ่มจะมีข้อแตกต่างกันคือคน ไทยในท้องถิ่นโดยทั่วไปมักมีทั้งกลุ่มเป็นทางการที่มีชื่อย่อได้แก่ กม. กสต. ดปต.และกลุ่มที่ไม่เป็นทางการจำแนกออกเป็นกลุ่มทางเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง เช่น กลุ่มเกษตรสหกรณ์ แม่บ้าน หนุ่มสาว ทส.ปช. อพป. เป็นต้น ส่วนชาวเขามักจะบอกว่าไม่มีกลุ่มในหมู่บ้านแต่เมื่อสังเกตจากการทำกิจกรรมของชาวบ้านจะพบว่ามีกลุ่มกิจกรรม (หน้า38, 39 ดูตารางหน้า 40) ชาวบ้านยังอยากให้หน่วยงานภาครัฐช่วยเหลือหลายเรื่อง เช่น การส่งเสริมอาชีพ ความรู้ด้านการเกษตร หมู่บ้านที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร การคมนาคมไม่สะดวก มักประสบปัญหาส่งผลผลิตได้ช้า ซึ่งจากรายงานระบุว่าบางปัญหาสามารถแก้ได้ด้วยองค์กรประชาชนที่อยู่ในหมู่บ้านโดยการสนับสนุนของเจ้าหน้าที่ของรัฐในเรื่องการฝึกอบรมเช่นการส่งเสริมอาชีพการเกษตร การศึกษาและสาธารณสุข ปัญหาสำคัญ คือเรื่องถนนที่ชาวบ้านอยากให้ภาครัฐช่วยเหลือ เพราะว่าใช้งบประมาณสูงเพราะต้องใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ (หน้า 44, 45, 48)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

กลุ่มบ้านที่มีวัดมักจะใหญ่กว่ากลุ่มบ้านที่ไม่มีวัด บางพื้นที่มีวัดมากกว่า 1 แห่ง บางหมู่บ้านมีทั้งวัดและโบสถ์คริสต์ ในพื้นที่มีวัด 34 แห่ง สำนักสงฆ์ 15 แห่ง ภิกษุ 55 รูป สามเณร 73 รูป เด็กวัด 24 คน โบสถ์คริสต์ มี 19 แห่ง มีศิษยาภิบาล 18 คน มีชาวบ้านนับถือศาสนาคริสต์ 3,000 คน โดยเฉพาะที่หน่วย 3 (แม่วาง) มีมากถึง 1,500 คน (หน้า 30, ตารางวัดและโบสถ์คริสต์ หน้า31) คนไทยท้องถิ่นเกือบทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ โดยมีกิจกรรมทางศาสนาเหมือนกับคนไทยภูมิภาคอื่น แต่จะต่างกันในเรื่องของรายละเอียด เช่น เข้าพรรษาตรงกับเดือน 10 เหนือขึ้น 15 ค่ำ ออกพรรษาตรงกับเดือนเกี๋ยงเหนือขึ้น 15 ค่ำ ลอยกระทงเดือนยี่เป็ง ปีใหม่เหนือ (สงกรานต์) จะรดน้ำดำหัวพ่อแม่ผู้หลักผู้ใหญ่ที่นับถือ และสรงน้ำพระธาตุที่วัด ส่วนคนไทยภูเขาจะมีทั้งนับถือศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ โดยมากจะนับถือผีโดยสังเกตจากศาลผีประจำหมู่บ้าน กะเหรี่ยงเชื่อว่า คนตั้งแต่เกิดจนตายจะมีความผูกพันกับความเชื่อเรื่องผี ดังนั้น จึงมีการเซ่นไหว้ผี เช่น ผีบ้าน ผีเรือน ผีนา ผีป่า ผีน้ำและจะเลี้ยงผีเรือนหรือผีบรรพบุรุษอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ประเพณีของกระเหรี่ยง - ประเพณีขึ้นปีใหม่ในเดือน 10 เหนือประมาณเดือนกรกฎาคม จะจัดพิธีก่อนลงทำไร่นาโดยหมอผีจะกำหนดวัน และนัดชาวบ้านฆ่าหมู ฆ่าไก่จัดเลี้ยงในหมู่บ้าน - ประเพณีตั้งข้าวและเผาไร่จะจัดหลังจากเผาป่า ก่อนเผาต้องบอกผีก่อนเพราะเชื่อว่าจะทำให้เผาป่าลุล่วงไปด้วยดีและไม่ลุกลามไปที่อื่นนอกจากนี้ก็จะทำให้ปลูกข้าวได้ผลดีเครื่องเซ่น ได้แก่ เหล้า 1 ขวด ไก่ 1 ถึง 2 ตัว ข้าวสุกและในบางครั้งก็มีหมู - ประเพณีกินข้าวใหม่ - จัดในเดือนตุลาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวจากไร่นาก็จะจัดเลี้ยงในกลุ่มเพื่อนบ้านและทำอาหารไปถวายพระ - ประเพณีแต่งงาน-ส่วนมากจะจัดหลังฤดูเก็บเกี่ยว ของหมั้นจะเป็นเงินก้อนและเสียมขุดดินเมื่อตกลงกันแล้วก็จะจัดหาวัว หมู ไก่มาเลี้ยงโดยฝ่ายหญิงและฝ่ายชายจะเป็นเจ้าภาพจัดเลี้ยงฝ่ายละ 1 วัน - ขึ้นบ้านใหม่-ประเพณีนี้กะเหรี่ยงเชื่อว่าถ้าไม่จัดพิธีจะทำให้ผู้ที่อยู่อาศัยไม่มีความสุขดังนั้นจึงให้ความสำคัญในการจัด (หน้า32, 33) มูเซอ-มีประเพณีที่สำคัญ 3 อย่างคือ - ประเพณีขึ้นปีใหม่ใน เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ และเดือนมิถุนายนเรียกว่าปีใหม่ใหญ่และปีใหม่น้อยโดยมีปู่จารย์เป็นผู้กำหนดวัน วันงานชาวบ้านจะหยุดงานแล้วฆ่าหมูฆ่าไก่เลี้ยงฉลอง ส่วนในเวลากลางคืนจะเต้นรำวง (จะคึ) ผูกข้อมือและแลกของขวัญด้วยขนมข้าวเหนียวเรียกว่า "ข้าวมุก" (ข้าวเหนียวคลุกงา) - ประเพณีขอพรต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะจัดในวันพระ 3 ครั้งได้แก่วันสงกรานต์ในเดือนเมษายน เข้าพรรษาในเดือนกรกฎาคมและออกพรรษาในเดือนตุลาคมซึ่งเป็นช่วงฉลองรวงข้าวสุก โดยจะจัดทำบุญดอกข้าวจัดงานเลี้ยงฉลองส่วนในเวลากลางคืนมีจะคึ - ประเพณีกินข้าวใหม่-จัดในวันข้างขึ้นประมาณ เดือนตุลาคม - พฤศจิกายน ที่ข้าวสุกเต็มที่ในพิธีจะเซ่นผีด้วยเหล้า หมู ไก่ กลางคืนมีจะคึ (หน้า 33) ลีซอ-มีประเพณีสำคัญคืองานกินฟ้า หรือ งานปีใหม่ จะจัดใน เดือนมกราคม - ต้นเดือนกุมภาพันธ์ แบ่งออกเป็นปีใหม่น้อยฉลอง 3 วัน กับปีใหม่ใหญ่ (หลวง) ฉลอง 3 ถึง 6 วัน (หน้า34)

Education and Socialization

คนไทยท้องถิ่นในพื้นที่จะได้รับการศึกษาภาคบังคับอย่างทั่วถึง แต่ถ้าเป็นชาวเขาจะได้รับการศึกษาน้อย ทั้งหมด 125 กลุ่มบ้านมีโรงเรียน 61 แห่ง นักเรียน 4,912 คน ครู 280 คน อัตราส่วนครู : นักเรียน 1 ต่อ 17.5 เมื่อปี พ.ศ. 2530 มี นักเรียนชั้น ป. 6 ทั้งหมด 475 คน หลายพื้นที่ครูไม่เพียงพอ บางแห่งครูอาสาหรือพระเป็นผู้สอน หลายพื้นที่แก้ปัญหาโดยตั้งศูนย์การศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขามีชื่อย่อว่า ศศช. สังกัดศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ เช่นในพื้นที่ของหน่วย 2 แม่กลาง และ หน่วย 4 แม่แจ่ม (หน้า28 ดูตารางหน้า29) ปัญหาเกี่ยวกับการศึกษามีมาก เช่น หน่วย 3 แม่วางและหน่วย 5 แม่ตื่น ชาวบ้านต้องการเรียนหนังสือทั้งเด็กและผู้ใหญ่ (หน้า47)

Health and Medicine

โรคระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ไข้หวัด หอบหืด จะพบมาก โรคระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องร่วง บิด ไทฟอยด์ โรคกะเพาะ มาลาเรีย ไข้เลือดออก (ดูตารางหน้า 35) คนไทยในท้องถิ่นที่อยู่ในหมู่บ้านใหญ่จะไม่มีปัญหาสุขภาพ เพราะมีสถานีอนามัย หรือไปโรงพยาบาลในอำเภอหรือในจังหวัด สะดวก ส่วนชาวเขาที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารมักมีปัญหาเรื่องสุขภาพเพราะบ้านเรือนไม่สะอาด จึงทำให้เป็นโรคทางเดินหายใจ สำหรับบุคคลากรมีความรู้เรื่องสุขภาพอนามัย เช่น อสม. ผสส. อมม. แพทย์ประจำตำบล ผดุงครรภ์โบราณหมอโบราณยังมีไม่ทั่วถึงเมื่อป่วยมักเชื่อว่าได้กระทำผิดผี มีสำนักงานสุขภาพชุมชน (สสช.) ที่หน่วย 4 แม่แจ่มเพียงที่เดียว (หน้า 36 ดูตารางหน้า 37,45,46)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ที่หน่วย 3 แม่งัด 24 ครัวเรือนทำงานเครื่องปั้นดินเผา ที่หน่วย 1 แม่กวงในเขตอำเภอดอยสะเก็ด ทำไม้กวาด ที่บ้านปางไฮ ทำเครื่องจักสาน ที่บ้านยางเละ หมู่บ้านกะเหรี่ยงเกือบทุกหลังคาเรือนจะมีเครื่องทอ ผู้หญิงทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะทอผ้า เสื้อ ผ้าซิ่น กางเกง และจะทอย่ามใช้เองมากกว่าทอขาย (หน้า22) ในงานวันปีใหม่ลีซอจะแต่งกายชุดใหม่สวยงามประดับเครื่องเงินนำกระดาษเงิน กระดาษทอง ธูปเทียนไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษและผีเรือน (หน้า 34)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

การปลูกข้าวจะสัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์ ชาวเขาจะกินข้าวไร่และข้าวเจ้า คนพื้นราบชอบกินข้าวเหนียว การปลูกข้าวยังสัมพันธ์กับหมู่บ้านใกล้เคียงเพื่อการแลกเปลี่ยนซื้อขาย (หน้า 12) ในการจ้างงานค่าจ้างของผู้ชายจะมากกว่าผู้หญิงคือผู้ชายได้ค่าจ้าง 30-50 บาทต่อวัน ส่วนผู้หญิงได้ 25-50 บาท ต่อวัน กะเหรี่ยงจะรับจ้างมากกว่าเผ่าอื่น หลายหมู่บ้านจะทำนาเพื่อยังชีพ เมื่อข้าวไม่พอกินตลอดปีก็ออกไปรับจ้างชาวเขาเผ่าอื่นและคนพื้นราบถ้าไปรับจ้างม้ง ลีซอ หรือมูเซอก็อาจจะได้รับค่าตอบแทนเป็นฝิ่น ข้าวหรือเงินสดแล้วแต่ความหนักเบาของงาน สำหรับกะเหรี่ยงงานรับจ้างไม่ใช่อาชีพโดยตรงเพราะจะไปรับจ้างช่วงไม่มีงานประจำเท่านั้น (หน้า 20) ชาวเขาที่อยู่รวมกันแต่ละกลุ่ม บ้านมักจะเป็นเผ่าเดียวกัน (homogenity) เมื่อมีกิจกรรมในหมู่บ้านก็จะช่วยเหลือกันเช่นการเอาวัน หรือ ลงแขก หรืองานประเพณี เช่นไปช่วยงานแต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ งานศพ วันปีใหม่สร้างบ้าน เป็นต้น (หน้า39)

Social Cultural and Identity Change

การขาดแคลนที่ดินทำกิน หลายหมู่บ้านที่ดินทำกินมีน้อยทำให้เกิดการย้ายถิ่นบ่อยอยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง ชาวบ้านจึงต้องทำไร่เลื่อนลอย ทำลายป่าและต้นน้ำลำธาร บางหมู่บ้านจึงมีกรณีพิพาทกับหน่วยป่าไม้เมื่อต้องการเข้าไปปลูกสร้างเสริมป่า ปัญหาการว่างงาน - การว่างงานมักเกิดขึ้นหลังฤดูเก็บเกี่ยว ดังนั้น ชาวบ้านจึงต้องการให้เจ้าหน้าที่เข้าไปส่งเสริมอาชีพ (หน้า46)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนที่จังหวัดเชียงใหม่ที่แสดงที่ตั้งศูนย์ฯและปรับปรุงลุ่มน้ำปิง (ต่อจากหน้าคำนำ ง มี 2 รูป) แผนภูมิ-ศูนย์ปรับปรุงลุ่มน้ำปิง (หน้า4) ตาราง-ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ (หน้า5) ประชากรและชาติพันธุ์ (หน้า6)จำนวนประชากรและอัตราต่างๆ ทางประชากร(หน้า8) การตั้งถิ่นฐาน (หน้า9)โครงสร้างทางอาชีพ (หน้า10) พื้นที่ทำกิน(หน้า11) พื้นที่ปลูกข้าวและพื้นที่เฉลี่ยครัวเรือน จำแนกตามหน่วยฯ (หน้า13) พื้นที่ปลูกพืชไร่ชนิดต่างๆ แยกตามหน่วย (หน้า14) พื้นที่ปลูกไม้ผลที่มีในแต่ละศูนย์/หน่วย (หน้า16) จำนวนสัตว์เลี้ยงและค่าเฉลี่ยต่อครัวเรือนแยกตามหน่วยฯ (หน้า19) ครัวเรือนรับจ้างและอัตราค่าจ้างจำแนกตามเพศ (หน้า21) ธุรกิจประเภทต่างๆ จำแนกตามหน่วยฯ (หน้า24) ยานพาหนะวิทยุและโทรทัศน์( หน้า27) การศึกษา-โรงเรียน ครูและนักเรียนจำแนกตามหน่วยฯ (หน้า29) ศาสนา-วัดและโบสถ์คริสต์(หน้า31) สาธารณสุข-โรคที่เป็นจำแนกตามศูนย์และหน่วยฯ ต่างๆ (หน้า35,37)กลุ่มทางสังคม-การทราบว่ามีกลุ่ม (x) และจำนวนครัวเรือนที่เป็นสมาชิก(หน้า40) ปัญหาของชุมชนประเภทต่างๆ แยกเป็นรายหน่วยฯ (หน้า42) อันดับความสำคัญของปัญหาแต่ละประเภท (หน้า43) ปัญหาอันดับความสำคัญและการกระจายตัว (หน้า47)

Text Analyst ภูมิชาย คชมิตร Date of Report 22 ก.ย. 2555
TAG ม้ง, อ่าข่า, ลีซู, ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง), จีนยูนนาน, ชาวเขา, ลุ่มน้ำปิง เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง