สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject บรู,การเรียนรู้,การขัดเกลา,สังคม,วัฒนธรรม,อุบลราชธานี
Author ชนาธิป บุณยเกตุ
Title การเรียนรู้และการขัดเกลาทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์บรู : มุมมองทางสังคม-วัฒนธรรมและบทบาทหญิงชาย
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity บรู, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 84 Year 2541
Source สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.)
Abstract

งานวิจัยกล่าวถึง ที่มาของกลุ่มชาติพันธุ์ วิถีการดำเนินชีวิตซึ่งส่งผลต่อด้านสังคมวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตของบรูกับความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณีและพิธีกรรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลต่อการเรียนรู้และการขัดเกลาทางสังคมของหญิงชายชาติพันธุ์บรู รวมทั้งการเปิดโอกาสทางการศึกษาทำให้เปิดโลกทัศน์ของบรูมากขึ้น

Focus

อิทธิพลของวิถีการดำเนินชีวิตที่มีผลต่อการเรียนรู้และการขัดเกลาบทบาททางสังคมวัฒนธรรมของชาติพันธุ์บรู

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ผู้เขียนศึกษาว่า ชาติพันธุ์บรูหรือบรูข่า เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่เป็นข่า จัดอยู่ในตระกูล มอญ-เขมร เรียกตนเองว่า บลูหรือบรู ซึ่งภาษากวยแปลว่า ภูเขา เพราะอาศัยอยู่ใกล้กับภูเขา มีถิ่นเดิมอยู่ในแขวงจำปาสักของประเทศลาว ต่อมาได้อพยพเข้ามาอยู่ที่บ้านเวินบึก ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี (หน้า1-4)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาบรูจัดอยู่ในกลุ่มภาษามอญ-เขมร (หน้า1) บรูมีภาษาใช้เป็นของตนเองคือ ภาษาบรูใช้สื่อสารกันเองในกลุ่ม ภาษาบรูไม่มีภาษาเขียนมีแต่ภาษาพูด นอกจากจะพูดภาษาบรูกันในกลุ่มแล้วยังใช้ภาษาไทยลาวและภาษาไทยกลางสนทนากับบุคคลภายนอก หรือติดต่อราชการ (หน้า 53)

Study Period (Data Collection)

ไม่ได้ระบุรายละเอียด แต่ระบุว่าเป็นการศึกษาเฉพาะเจาะจงพื้นที่เพราะเป็นพื้นที่เดียวที่ยังมีกลุ่มชาติพันธ์บรูอาศัยอยู่ คือ บ้านเวินบึก ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี การเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนเป็นระยะ ๆ การสังเกตจากการจัดสนทนา (หน้า 3) การทำChronology เป็นต้น (หน้า4)

History of the Group and Community

ก่อนที่จะอพยพเข้ามาในดินแดนประเทศไทย บรูเป็นกลุ่มชนที่เร่ร่อน ทำไร่เลื่อนลอย ปลูกข้าวปลูกพืชผักสวนครัวไว้บริโภค ในครัวเรือนและยังคงพึ่งพาธรรมชาติ เช่น ล่าสัตว์ หาของป่า (หน้า54) บรูมีชื่อเรียกตามสภาพภูมิประเทศที่พวกเขาตั้งถิ่นฐานอยู่ คือ อาศัยอยู่ใกล้ภูเขาจึงเรียกตนเองว่า บลู หรือ บรู ซึ่งภาษากวย แปลว่า ภูเขา (หน้า 1) ชนชาติบรูอพยพมาจากแขวง จำปาสักของประเทศลาว และเคลื่อนย้ายลงมาทางใต้ข้ามทะเลป่อง ทะเลนวล และแม่น้ำเซเมืองเหียง จนมาถึงแม่น้ำละวัฮสะวิง บรูนับถือผีเจียวเป็นผีประจำเผ่า แต่เนื่องจากเป็นเขตของคนลาว ทำให้บรูต้องเลิกนับถือ ในช่วงแรก บรูอาศัยอยู่ตามเขาลำเพาะและเขากะไดแก้ว ต่อมาอพยพไปบ้านหนองเม็กซึ่งอยู่บนภูกลางเฮือน บรูเรียกว่า เขาใหญ่ และได้เคลื่อนย้ายมาที่บ้านเวินขัน บ้านเวินไชย และบ้านลาดเสือ ต่อมาเป็นลำดับ แต่ในช่วงนั้นฝรั่งเศสได้อำนาจเข้ามาปกครองประเทศลาวระหว่างปี พ.ศ.2436 ถึงปี พ.ศ.2457 อีกทั้งยังบังคับผู้คนที่อยู่ในลาวขณะนั้นต้องเสียภาษีให้กับฝรั่งเศสทำให้บรูไม่มีอิสระเสรีเหมือนตอนที่อยู่บนเขา จึงพากันทะยอยอพยพเข้ามาในประเทศไทยทีละน้อยเพราะต้องระวังพวกทหารฝรั่งเศสที่อยู่ตามชายฝั่งแม่น้ำโขง ในปี พ.ศ.2457 มีบรูอพยพเข้ามาในบ้านเวินบึก อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เพียง 7 ครัวเรือน และต่อมาก็ได้พากันอพยพเข้ามามากขึ้น

Settlement Pattern

ไม่ได้ระบุแน่ชัด แต่ระบุในส่วนของการตั้งถิ่นฐาน บรูจะอาศัยอยู่ใกล้ภูเขาในสมัยก่อนที่จะอพยพเข้ามาอาศัยในประเทศไทย (หน้า1-2) ต่อมาอพยพลงมาที่ราบเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ชายฝั่งแม่น้ำโขงตรงบริเวณที่เรียกว่า "เวินบึก" หมายถึง คุ้งน้ำที่มีปลาบึกชุกชุม (หน้า26) (ดูรูปภาพที่ 5 ภาคผนวก) ปัจจุบันการสร้างบ้านเรือนมีลักษณะคล้ายคลึงกับบ้านเรือนของคนอีสาน (ดูรูปภาพที่ 3 ภาคผนวก)

Demography

จากข้อมูลหมู่บ้าน ปี พ.ศ. 2541 พบว่า มีจำนวนประชากรชาติพันธุ์บรูอาศัยอยู่ในชุมชนบ้านเวินบึก ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานีมีจำนวนครัวเรือนรวมทั้งสิ้น 88 หลังคาเรือน มีประชากรทั้งสิ้น 435 คน ซึ่งแบ่งเป็นชาย 26 คน หญิง 209 คน (หน้า 29) (ดูตารางหน้า30)

Economy

จากการศึกษาของผู้วิจัยพบว่า อาชีพจักสานเป็นอาชีพหลักของบรู เนื่องจากสามารถหาวัสดุได้ง่ายเพราะมีอยู่ในท้องถิ่น คือ ไม้ไผ่ หรือที่บรูเรียกว่า "ไม้เฮียะ" ซึ่งถือเป็นไม้ไผ่ชนิดหนึ่งมีคุณสมบัติที่เหมาะแก่การจักสาน เครื่องจักสานของบรูมีหลายอย่างได้แก่ หวด กระติ๊บข้าว หมวก ฯลฯ ซึ่งสร้างรายได้ให้กับบรูเฉลี่ยครัวเรือนละ 4,500 บาทต่อปี จนทำให้ชาวบ้านอื่น ๆ หันมาผลิตเครื่องจักสานกันมากขึ้น และผลกระทบที่ตามมาคือ ขาดวัตถุดิบ ไม้เฮียะในพื้นที่แถบนี้หมดไม่มีให้ตัด ปัจจุบันบรูได้ผลิตเครื่องจักสานไว้ใช้ในครัวเรือนเท่านั้น รวมทั้งอาชีพประมงที่ถือว่าเป็นอาชีพหลักอีกอย่างหนึ่งของชาวบ้านเวินบึกก็ลดลงด้วย ในอดีตนั้นปลาในแม่น้ำโขงบริเวณเวินบึกชุกชุมมาก บรูจึงมีอาชีพจับปลาขายเป็นส่วนใหญ่โดยมีแม่น้ำโขงเป็นแหล่งอาหารแหล่งใหญ่แต่เนื่องจากมีบรู ชาวบ้านอื่นและนักจับปลาจากที่อื่นมาจับปลาในบริเวณนี้เป็นประจำจนทำให้จำนวนประชากรปลาลดลงทั้งยังมีการสร้างเขื่อนปากมูลขึ้นทำให้น้ำไหลบ่าและเชี่ยวในเวลาที่เขื่อนเปิดจึงเกิดการเสียหายของเครื่องมือจับปลาและยากต่อการคาดคะเนจำนวนของปลาว่ามากหรือน้อย (ดูรูปภาพที่ 5,17,18 ภาคผนวก) บรูบ้านเวินบึกมีอาชีพดั้งเดิมคือ เกษตรกรรม มีการเพาะปลูกได้แก่ ข้าวโพด มันสำปะหลัง แต่เนื่องจากทางราชการได้ประกาศให้พื้นที่ทำการเพาะปลูกเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ.2524 ทำให้การดำรงชีวิตของบรูเปลี่ยนแปลงไป ปัจจุบันไม่มีการ ทำไร่ประเภทอื่นนอกจากการปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน เพราะพื้นที่ในหมู่บ้านมีจำกัด ได้แก่ หอม กระเทียมพริก มะเขือ ผักชี ฯลฯ และนำไปขายที่ตลาดนัดของหมู่บ้านหรือหาบเร่ขายไปตามบ้านเรือนต่างๆ ในกรณีที่ได้ผลผลิตมากพอที่จะบริโภค ส่วนการเลี้ยงสัตว์บรูเลี้ยงไว้เพื่อบริโภคและขาย ได้แก่ วัว ควาย หมู เป็ด และไก่ ซึ่งได้รับแจกจ่ายจากทางราชการ และในปี พ.ศ.2530 บรูได้รับลูกแกะจากทางราชการเพื่อเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม แต่เนื่องจากบรูไม่คุ้นเคยกับการเลี้ยงประกอบกับบรูไม่กินแกะทำให้ไม่ได้ผลเท่าที่ควร นายสีทัน พรานแม่น ผู้ใหญ่บ้านเวินบึก กล่าวว่า การที่โครงการดังกล่าวของรัฐไม่ประสบผลสำเร็จนั้นมีสาเหตุมาจากการที่รัฐไม่ได้ศึกษาวัฒนธรรมของบรูอย่างแท้จริง นอกจากนี้ บรูยังมีอาชีพอื่นๆ เช่น การค้าขาย ซึ่งจะมีร้านขายของชำจำนวน 5 ร้าน การหาของป่า หมอพื้นบ้าน อาชีพรับจ้างทั่วๆ ไปซึ่งจะเป็นการออกไปขายแรงงานนอกหมู่บ้าน เช่น กรุงเทพฯ (ดูตารางหน้า 33) (ดูรูปภาพที่ 8,20,22 ภาคผนวก)

Social Organization

ในสังคมบรูระบบครอบครัวและเครือญาติจะให้ความสำคัญกับญาติฝ่ายหญิงมากกว่าฝ่ายชาย ในการแบ่งมรดกให้แก่ลูกๆ ลูกชายจะได้เป็นที่นาหรือเงิน ส่วนบ้านและที่นาของพ่อแม่ที่ทำกินอยู่จะยกให้แก่ลูกสาวเพราะลูกสาวต้องเลี้ยงพ่อแม่ในตอนแก่ บรูจะนิยมการมีลูกเยอะ ๆ เพราะจะได้มีคนเลี้ยงเมื่อยามแก่ซึ่งถือเป็นเรื่องเชิดหน้าชูตาของพ่อแม่ บรูจะอบรมสั่งสอนลูกเรื่องความกตัญญูกตเวทีเป็นหลัก และผีมีบทบาทสำคัญในการสร้างความผูกพันในครอบครัว คือเมื่อลูกออกจากบ้านพ่อแม่เกิน 3 เดือนต้องมีการเสียผี (หน้า 74-75) บรูห้ามแต่งงานใน " ฮีต" เดียวกัน คู่สมรสบรูเรียกว่า "เขยสู่หรือสะใส้สู่" เมื่อแต่งแล้วฝ่ายชายจะไปอยู่บ้านฝ่ายหญิงโดยลักษณะที่ฝ่ายหญิงเป็นใหญ่ แต่ห้ามฝ่ายหญิงมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่ง มิฉะนั้นจะไม่สามารถขึ้นบ้านฝ่ายชายได้ (หน้า 56) แต่ต้องมีการเสียผีก่อนตามฐานะ เขยสู่และสะใภ้สู่ต้องระวังกิริยาและห้ามพูดจาล่วงเกินบรรพบุรษหรือฮีตของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งถือเป็นความผิดร้ายแรงหากเกิดการละเมิดขึ้นต้องเสียผีด้วยค่าปรับที่สูง เริ่มตั้งแต่หมูจนถึงควาย (หน้า 75) การแบ่งบทบาทความรับผิดชอบของชาย-หญิงบรูนั้น ส่วนใหญ่ผู้หญิงจะมีบทบาทความรับผิดชอบในงานทุกประเภท เช่น งานการผลิต งานผลิตในครัวเรือน งานเพื่อชุมชน แต่ผู้ชายบรูกลับมีบทบาทเฉพาะในด้านการผลิตเท่านั้น นั่นหมายถึง ผู้หญิงต้องทำงานหนักแต่โอกาสที่จะเข้าถึงและควบคุมทรัพยากรต่างๆ กลับมีบทบาทน้อยกว่าผู้ชายโดยเฉพาะการควบคุมและการตัดสินใจ ส่วนในเรื่องการใช้เวลา ผู้ชายจะใช้เวลาในการผลิตนานกว่าผู้หญิงคือ 5.1-9 ชั่วโมง ขณะที่ผู้หญิงจะใช้เวลา 1-5 ชั่วโมง แต่ในงานครัวเรือนผู้หญิงกลับใช้เวลาในงานมากกว่าผู้ชายทุกช่วงเวลา ดังนั้น ผู้ชายจึงมีเวลาว่างมากกว่าผู้หญิง (หน้า 57-68) (ดูตารางหน้า 57,59,61,63-64,67)

Political Organization

ระบบการปกครองบรูยังใช้ระบบนับถือผู้อาวุโส ต่อมาจึงมีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งปัจจุบันบ้านเวินบึกปกครองตามเกณฑ์ของกระทรวงมหาดไทย โดยให้มีคณะกรรมการของหมู่บ้าน โดยกรรมการแต่ละฝ่ายจะได้รับเสนอชื่อจากชาวบ้าน และให้ผู้ใหญ่บ้านตัดสินตามความเหมาะสม (หน้า 41-42) (ดูรูปภาพที่ 7 ภาคผนวก)

Belief System

จากการสังเกตของผู้วิจัยเห็นว่า บรูมีความเชื่อและยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณี "ฮีตข่าคองขอม" ซึ่งเป็นประเพณีที่ยึดถืออย่างเคร่งครัดมาตั้งแต่อยู่ที่ประเทศลาวหรืออาจนานกว่านั้น ซึ่งฮีตข่าคองขอมจะยึดถือปฏิบัติควบคู่ไปกับความเชื่อเรื่องผี อาทิ ผีจำนัก, ผีประจำฮีต, ผีไถ้ และผีบุญคุณพ่อแม่ ซึ่งแบ่งพิธีกรรมนั้นเป็น 2 ลักษณะ คือ 1).พิธีกรรมเป็นมงคล 2).พิธีกรรมที่เกิดจากการทำผิดฮีต ซึ่งทั้ง 2 ลักษณะนี้ก็ล้วนเกี่ยวข้องกับผีทั้งสิ้น พิธีกรรมดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าไม่มีตัวบทกฎหมายลงโทษแต่จะเป็นการเซ่นไหว้ขอขมาและพิธีกรรมนี้ถือเป็นจารีตประเพณีของคนในชุมชนที่พึงปฏิบัติ ส่วนประเพณีของบรูนั้นก็มีส่วนคล้ายกับของชาวอีสานบ้างคือ พิธีกรรมจะมีขึ้นตามเดือนต่างๆ ของชาวอีสานเรียกว่า "ฮีตสิบสองคองสิบสี่" แต่พิธีกรรมของบรูจะเน้นเรื่องการเลี้ยงผีเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ เลี้ยงผีบ้าน เลี้ยงผีฮีต เลี้ยงผีไถ้ ระเบิ๊บ เป็นต้น (ดูตารางหน้า 49-50) ซึ่งจะมีผู้นำทางพิธีกรรมบรูเรียกว่า "จาระโบ" มีลักษระคล้ายขะจ้ำของอีสาน ซึ่งมีความแตกต่างในเรื่องวิธีการเลือกผู้นำทางพิธีกรรมคือ การเลือกจาระโบคนต่อไปต้องเลือกคนที่มีสายตระกูลเดียวกันแต่การเลือกขะจ้ำจะใช้วิธีการเสี่ยงทาย ปัจจุบันบรูนับถือพุทธศาสนาซึ่งเปลี่ยนตามความต้องการของทางราชการเพื่อเหตุผลทางการเมืองการปกครอง และมีวัดประจำหมู่บ้านอยู่ 1 แห่ง คือวัดบ้านเวินบึก หรือสำนักสงฆ์ศิลาตะ ซึ่งตั้งอยู่ทางใต้ของหมู่บ้าน (หน้า 44-45,50-53)

Education and Socialization

ปัจจุบัน มีโรงเรียนบ้านเวินบึกอยู่ 1 แห่ง เป็นโรงเรียนประถมศึกษาประเภทสหศึกษา (หน้า 72) และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดกรมพัฒนาชุมชนตั้งอยู่ภายในบริเวณโรงเรียน เปิดสอนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กจนถึงประถมศึกษาปีที่ 6 มีครู 6 คน มีนักเรียนทั้งสิ้น 79 คน (ดูตารางหน้า 34) (ดูตารางหน้า 70) และนักการภารโรง 1 คน (หน้า 33-34) เนื่องจากเป็นโรงเรียนสหศึกษา พบว่า เกิดการไม่เท่าเทียมกันเชิงพฤติกรรมของเด็ก เช่น ขาดการมีส่วนร่วมของเด็กในการเรียนการสอน เด็กผู้หญิงมักจะขาดความมั่นใจไม่กล้าซักถาม ไม่กล้าแสดงออก หรือน้อยกว่าเด็กผู้ชาย ทำให้ขาดโอกาสการเรียนรู้ในการระบบโรงเรียน (หน้า 72-73) (ดูรูปภาพที่ 9,10,11,12 ภาคผนวก) ส่วนเด็กเล็กได้รับการเตรียมความพร้อมที่จะเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยได้รับการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา คุณธรรม และจริยธรรม (หน้า70) ในด้านคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนบ้านเวินบึกค่อนข้างดี (ดูตารางหน้า 71) ในด้านการศึกษาต่อนักเรียนเข้าไปเรียนต่อในระดับสูงขึ้นที่โรงเรียนมัธยมประจำอำเภอ (ดูตารางหน้า 72) และให้ความสำคัญเรื่องการเรียนกับลูกชายมากกว่าลูกผู้หญิง (หน้า71) การศึกษานอกโรงเรียนเป็นระบบการศึกษาที่เสริมต่อหรือขยายโอกาสในการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐานจากระบบของโรงเรียนของผู้ที่ขาดโอกาสเนื่องด้วยสาเหตุต่างๆ และยังมีการสอนวิชาชีพ แต่มีคนให้ความสนใจที่จะศึกษาต่อไม่มากนักเนื่องจากเปลี่ยนครูสอนบ่อยทำให้การเรียนไม่ต่อเนื่อง และวัยแรงงานส่วนใหญ่ก็ออกหางานทำที่อื่น (ดูรูปภาพที่16 ภาคผนวก) นอกจากนี้ยังมีศูนย์ศิลปาชีพมีการฝึกทอผ้าให้ชาวบ้านเวินบึก ห้วยหมวกใต้ และบ้านท่าแพ มีสมาชิก 50 คน เข้ามาฝึกกรรมวิธีการทอผ้า แต่บรูเรียนได้ช้าและฝีมือยังไม่ดีเท่าที่ควรเพราะบรูไม่มีวัฒนธรรมการทอผ้า (หน้า 56,73,80) (ดูรูปภาพที่ 13,14,15 ภาคผนวก)

Health and Medicine

ด้านสาธารณสุข บรูมีสาธารณูปโภคใช้บ้างแล้ว อาทิ ส้วม, ถังเก็บน้ำฝน, บ่อน้ำบาดาลสาธารณะ เป็นต้น ปัจจุบันมีสถานีอนามัยบ้านเวินบึกอยู่ 1 แห่ง ถ้าเจ็บป่วยเล็กน้อยก็สามารถหาซื้อยารับประทานได้บ้าง (ดูรูปภาพที่ 6 ภาคผนวก) ด้านการรักษาพยาบาล บรูมีวิธีการรักษา 2 แบบ คือ การรักษาพยาบาลแบบพื้นบ้านดั้งเดิมกับการรักษาพยาบาลแบบสมัยใหม่ เรียกว่า รักษาแบบพาหุลักษณ์ สามารถเลือกบำบัดโดยวิธีใดวิธีหนึ่งก็ได้ ดังนี้ 1).การรักษาพยาบาลแบบพื้นบ้านดั้งเดิม ซึ่งจะมีหมอยาเป็นผู้รักษา ส่วนใหญ่เป็นผู้เฒ่าผู้แก่ที่บรูให้ความนับถือ หมอยาเหล่านี้ได้รับการถ่ายทอดวิชามาจากพ่อแม่และบรรพบุรุษ ซึ่งในบ้านเวินบึกมีหมอยาหลายคน อาทิ หมอยาสมุนไพร หมอเป่า หมอกวาด, หมอน้ำมนต์ หมอน้ำมัน หมอเอ็น หมอพระ หมอขวัญ หมอผี และหมอตำแย 2).การรักษาพยาบาลแบบสมัยใหม่คือ การไปรับการรักษาพยาบาลจากหน่วยงานของทางราชการของหมู่บ้านเวินบึก หรือเข้าไปรักษาในอำเภอ

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่ได้ระบุแน่ชัด แต่ระบุในเรื่องของอาชีพคือ จักสาน ซึ่งจัดเป็นงานหัตถกรรมอย่างหนึ่ง สมัยก่อนจักสานถือเป็นอาชีพหลักของ บรู โดยใช้ "ไม้เฮี้ยะ" ซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นมาใช้ทำการสานกระติ๊บข้าว หมวก ไซ ฯลฯ ซึ่งทำกันมากจนปัจจุบันไม้เฮี้ยะแทบจะไม่มีหลงเหลืออยู่ในท้องถิ่นอีกแล้ว อาชีพจักสานจึงค่อยๆ หมดไป (หน้า 30,55-56)

Folklore

ไม่ได้ระบุแน่ชัด แต่ปรากฏในส่วนของภาษาซึ่งมีตำนานทางประวัติศาสตร์ ภาษาบรูมีคำที่ออกเสียงและความหมายคล้ายกับภาษาเขมร (หน้า 79) บรูเชื่อว่าข่าเป็นบรรพบุรุษของตนและมีตัวหนังสือใช้ตั้งแต่โบราณ ตัวหนังสือข่านั้นศักดิสิทธิ์มากซึ่งไม่สามารถเขียนลงในวัตถุชนิดใดติดเลย จึงได้ลองเขียนลงบนรองเท้าหนังควายและสามารถเขียนติด แต่มีสุนัขคาบไปกิน คนเขมรมาพบเข้าและแย่งคืนมาได้ ตั้งแต่นั้นมาตัวหนังสือข่าจึงกลายเป็นของคนเขมรและใช้จนถึงปัจจุบันนี้ นอกจากนั้น ยังมีความเชื่อว่าตัวหนังสือลาวต้องเขียนลงบนใบลาน, ตัวหนังสือขอมต้องเขียนลงในศิลาจารึก และตัวหนังสือข่าต้องเขียนลงบนหนังควาย (หน้า 53)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ผู้วิจัยศึกษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติพันธุ์บรูบ้านเวินบึก พบว่า วัฒนธรรมของบรูที่ยังคงยึดถือปฏิบัติอยู่ ได้แก่ 1).ภาษาบรู 2).ความเชื่อ,ขนบธรรมเนียมและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับผีเสมอ 3).ห้ามแต่งงานกับคนที่อยู่ในฮีตเดียวกัน 4).การเคารพต่อบรรพบุรุษและพ่อแม่ของตนที่เรียกว่า "ฮีตข่า" ในส่วนของความสัมพันธ์กับชาติอื่นไม่ได้ระบุรายละเอียด แต่มีการสันนิษฐานจากผู้วิจัยในเรื่องความสัมพันธ์ของบรูและขอมตามตำนานที่มาทางประวัติศาสตร์ของตัวหนังสือข่าซึ่งต่อมาตกเป็นตัวหนังสือของเขมร (ขอม) ถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ของตัวอักษรและหนังควายที่นำมาเขียนตัวอักษร ทำให้เกิดความสอดคล้องของตำนาน (หน้า 53)

Social Cultural and Identity Change

บรูเป็นกลุ่มชนที่เร่ร่อนทำไร่เลื่อนลอย โดยปลูกข้าวไร่,พืชผัก,หาของป่าและล่าสัตว์ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองในประเทศลาว บรูจึงได้อพยพจากประเทศลาวเข้ามาอาศัยในประเทศไทย ย่อมมีการปรับตัวทางวัฒนธรรมให้เข้ากับกลุ่มชนชาติลาวในไทย บรูสามารถทำมาหากินได้อย่างอิสระเสรีแต่ต้องอยู่ใน "ฮีต" ที่ต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ต่อมาที่ดินทำกินของชาวบ้านถูกทางราชการเวนคืน ชาวบ้านจึงหันไปทำประมงแทนและประกอบอาชีพเสริมคือ จักสานเพราะมีวัตถุดิบในท้องถิ่นคือ ไม้ไผ่ บรู เรียกว่า "ไม้เฮี้ย" อาชีพได้ทำกันอย่างแพร่หลายและสามารถสร้างรายได้ดีให้กับชาวบ้าน จึงทำให้วัตถุดิบหมดหายไปอาชีพจึงหมดสิ้นไปด้วย ในปี พ.ศ.2530 มีการขายแรงงานตามท้องถิ่นอื่นๆ โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครซึ่งถือเป็นแหล่งขายแรงงานที่สำคัญปี พ.ศ.2539 ได้มีโครงการศิลปาชีพพิเศษในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เข้ามาฝึกกรรมวิธีการทอผ้าให้แก่ชาวบ้าน (หน้า 54-56)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

นอกจากประเด็นของการศึกษาบทบาทหญิง-ชายบรูในด้านต่างๆ แล้ว ประเด็นที่น่าสนใจที่สอดแทรกมาในเรื่องนี้คือ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจที่มีผลต่อความเชื่อของบรู ซึ่งในปัจจุบันรัฐได้เข้ามาให้ความสำคัญในชนบทมากขึ้น มีโครงการต่างๆ เข้ามาให้ชาวบ้านมีอาชีพเสริม และความเจริญของเทคโนโลยีต่างๆ ที่ทำให้ชาวบ้านผันตัวเองหารายได้อย่างอื่นนอกจากเป็นเกษตรกร มีการขายแรงงานตามถิ่นอื่นเมื่อสิ่งเหล่านี้เปลี่ยนไปเศรษฐกิจย่อมเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ผู้หญิงจากที่เคยอยู่ที่บ้านต้องคอยเฝ้าบ้านทำงานบ้านจำเป็นที่จะออกไปขายแรงงาน เช่น หญิงที่มีสามีแล้วก็ไปกับสามี หรือหญิงที่เด็กอยู่ก็ไปกับครอบครัว เราจะเห็นได้จากพวกกรรมกรรับเหมาก่อสร้างที่ไม่มีที่อยู่อาศัยแน่นอนมักมากันเป็นครอบครัวอาจเป็นเป็นปัญหาแก่เด็ก ๆ คือไม่ได้รับการศึกษา หรือต้องเปลี่ยนที่เรียนบ่อย ๆ กรรมกรเหล่านี้ถือว่ามีบทบาทต่อสังคมไทยอย่างมาก

Map/Illustration

แผนที่ - บ้านเวินบึก หมู่ที่ 8 ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี (หน้า 27) ตาราง - บทบาทหญิงชาย (หน้า 21), การวิเคราะห์กิจกรรม: กระบวนการทำนา (หน้า 23), วิเคราะห์การเข้าถึง (การใช้) และควบคุม(หน้า 24), จำนวนประชากรจำแนกตามอายุ(หน้า 30), การขายแรงงานนอกหมู่บ้านของบรู (หน้า 33), จำนวนนักเรียนแยกตามชั้นเรียน(หน้า 34), การรักษาพยาบาลของบรู(หน้า 40), รายชื่อของคณะกรรมการหมู่บ้านแต่ละฝ่าย(หน้า 42), ชื่อคุ้มและชื่อหัวหน้าคุ้ม(หน้า 43), รายชื่อคณะกรรมการบริหารศาลาประชาธิปไตย(หน้า 44), ประเพณีพิธีกรรมที่สำคัญของบรู(หน้า 49-50), การเปลี่ยนแปลงของชุมชนบ้านเวินบึก(หน้า54-56), แสดงร้อยละหญิงชายบรูที่มีบทบาทในงานการผลิต(หน้า 57), การแบ่งงานกันทำของหญิงชายบรูในการทำนา(หน้า 59) / ในการทอผ้าไหม(หน้า 61) / ในครัวเรือน(หน้า 62) / งานเพื่อชุมชน(หน้า 63), หญิงชายที่บทบาทในการเข้าถึงและควบคุมเรื่องต่างๆ(หน้า 64), การใช้เวลาและเวลาว่างของหญิงชายในการทำงานต่างๆ(หน้า 67), จำนวนนักเรียนโรงเรียนบ้านเวินบึก ปีการศึกษา 2542(หน้า 70), เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น ป.1-6 ปีการศึกษา2541(หน้า 71), โอกาสของนักเรียนในการเรียนและทำงาน(หน้า 72), รูปภาพ - ภาพที่ 1-22 สถาพทั่วไปของหมู่บ้าน, สถานที่สำคัญต่างๆ, การดำเนินชีวิตของบรู(ภาคผนวก)

Text Analyst ปิยนันท์ สรกิจ Date of Report 27 ก.ย. 2555
TAG บรู, การเรียนรู้, การขัดเกลา, สังคม, วัฒนธรรม, อุบลราชธานี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง