สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลัวะ,ความหลากหลายของพืชอาหาร,การใช้ประโยชน์,น่าน
Author อังคณา มหายศนันท์
Title ความหลากหลายทางพืชอาหารและการใช้ประโยชน์ของชาวลัวะในจังหวัดน่าน
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลัวะ (มัล ปรัย) ลัวะมัล ไปร ลัวะปรัย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 96 Year 2542
Source หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

ความหลากหลายทางพืชอาหารของลัวะ หมู่บ้านเต๋ยกลาง บนอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน เป็นความหลากหลายของพืชอาหารที่ได้มาจากป่า พืชที่ได้จากการเพาะปลูกทั้งในไร่หมุนเวียน และในสวนครัว โดยเป็นผลเนื่องมาจากปัจจัยดังต่อไปนี้ ปัจจัยทางด้านกายภาพ ชีวภาพ สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ซึ่งมีผลต่อความเป็นอยู่ รวมถึงการนำมาบริโภค การอนุรักษ์ป่า เพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของพืชอาหาร ดังนั้น ลัวะ บ้านเต๋ยกลาง บนอุทยานแห่งชาติดอยภูคานั้นนิยมหาพืชอาหารเพื่อการบริโภคทั้งจากในป่า ในไร่หมุนเวียน และในสวนครัว ซึ่งไร่หมุนเวียนเปรียบเสมือนคลังอาหารของลัวะ แต่พืชอาหารที่นำมาบริโภคนั้นจะได้มาจากป่าเป็นส่วนใหญ่ ลัวะ ในปัจจุบันมีการทำการเกษตรแบบทำไร่หมุนเวียน มีรอบของการหมุนเวียน ประมาณ 8-10 ปี ในอนาคตอาจจะเหลือเพียง 2-3 ปี เพราะที่ดินหายาก และประชากรเพิ่มขึ้น โดยจะเริ่มต้นถางและเผา จากนั้นจึงปล่อยให้ที่ดินว่างเปล่าเพื่อให้มีการฟื้นตัวตามธรรมชาติ แล้วจึงกลับมาปลูกพืชอีกครั้งหนึ่ง การผลิตแบบไร่หมุนเวียนของลัวะ หมู่บ้านเต๋ยกลางนั้นเป็นการฟื้นฟูทางธรรมชาติ และเป็นการผลิตเพื่อเลี้ยงชีวิต พออยู่พอกิน เคารพธรรมชาติ เป็นการดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย ไม่สะสม ไม่โลภ และไม่ก่อให้เกิดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ (หน้า 53-54)

Focus

ศึกษาความหลากหลายทางพืชอาหาร และเงื่อนไขที่ทำให้เกิดความหลากหลายทางพืชอาหารของลัวะ หมู่บ้านเต๋ยกลาง อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน (หน้า3)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ลัวะ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย บริเวณชายแดนไทยลาวในจังหวัดน่าน ขณะเดียวกันก็ พบคนกลุ่มนี้ในประเทศลาว บริเวณชายแดนทางตะวันตกของสายะบุรี โดยคนกลุ่มนี้จะเรียกกลุ่มตนเองว่า พ่าย หรือลัวะ คำเรียกชื่อของชนกลุ่มนี้ในประเทศลาว บางชื่อตรงกับที่ลัวะบางกลุ่มในจังหวัดน่าน เรียกตัวเองว่า "ปรัย" หรือ "ลัวะปรัย" และ ยังพบกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า "มัล" หรือ "ลัวะมัล" ด้วย ลัวะเป็น "ถิ่น" ในจังหวัดน่าน แบ่งตามความแตกต่างของภาษาได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ ถิ่นไปร ถิ่นมาลล์ และถิ่น ลัวะจะอาศัยอยู่เกือบทุกอำเภอในจังหวัดน่าน โดยจะตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้กับลำน้ำสายสำคัญ ๆ ในจังหวัดน่าน เช่น น้ำและ น้ำปัว น้ำว้า น้ำขุน เป็นต้น (หน้า 5)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล

Settlement Pattern

ลัวะมักจะตั้งหมู่บ้านบนภูดอย บริเวณเทือกเขาสูงที่ขนานตัวยาวเรียงสลับซับซ้อนกันในจังหวัดน่าน ถ้าเทียบกับหมู่บ้านชาวเขากลุ่มอื่นแล้วหมู่บ้านลัวะจะอยู่ในระดับต่ำกว่าหมู่บ้านม้ง ลีซอ หรือมูเซอ ลัวะจะตั้งบ้านเรือนอยู่ในระดับความสูงระหว่าง 2,500-3,000 ฟุต แต่ละหมู่บ้านจะมีคนอาศัยอยู่เฉลี่ยประมาณ 8-10 คน ลักษณะบ้านเรือนของลัวะคล้ายคลึงกับบ้านเรือนของชาวชนบทในภาคเหนือโดยทั่วไป โดยตัวเรือนจะเป็นไม้ยกพื้นสูง พื้นที่ใต้ถุนบ้านสำหรับทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเป็นที่เก็บฟืน และเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการเกษตรกรรม เรือนของลัวะแต่ละหลังจะอยู่ใกล้กันลดหลั่นกันลงไปตามแนวสันเขา เรือนแต่ละหลังที่อยู่บริเวณเดียวกัน ผู้อาศัยมักจะมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกัน และบริเวณใกล้ ๆ กันกับตัวเรือน จะมีครัวเรือน และเล้าข้าว ซึ่งมักจะมีชานบ้านเชื่อมต่อกันถึงกัน ตัวเรือนจะยกพื้นสูงกว่าบริเวณชานบ้าน ซึ่งอยู่ระดับเดียวกับพื้นเรือนครัว ภายในตัวบ้านบางบ้านอาจจะเป็นห้องเดี่ยวโล่ง ๆ บางบ้านอาจจะกั้นเป็น 1 ห้อง หรือ 2 ห้อง และมีนอกชานบ้านกว้าง ซึ่งใช้เป็นที่นั่งเล่น และพักผ่อนของสมาชิกในครอบครัว หรือใช้รับแขก หรือรับประทานอาหารในบางครั้ง รวมทั้งเป็นที่นอนของสมาชิกในครอบครัวด้วย (หน้า 6)

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ลัวะส่วนใหญ่มีชีวิตที่ขึ้นอยู่กับธรรมชาติ ดังนั้นลัวะจึงยังชีพด้วยการเกษตรเป็นหลักสำคัญ ลัวะทำไร่ระบบไร่หมุนเวียน โดย เริ่มจากการบุกเบิกผืนดินทำไร่ ปีหนึ่งแล้วก็ย้ายไปบุกเบิกที่ใหม่ปีละแปลง รวมประมาณ 4-5 แปลง แล้วเริ่มทำในแปลง ที่ 1 ใหม่ หมุนเวียนในแปลงเดิมสลับไปมา ในรอบปีลัวะจะใช้เวลาในเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์เป็นระยะเลือกพื้นที่ และถางฟันไร่ ในเดือนมีนาคมจะทำการเผาไร่เพื่อเพิ่มปุ๋ยในดิน ในเดือนเมษายนจะเก็บเศษพืชและเผาไร่ครั้งที่สอง ในช่วงเดือนพฤษภาคมจะเป็นช่วงปลูกข้าวไร่หยอดเมล็ดข้าว ในเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม เป็นช่วงดูแลรักษาต้นข้าว ในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม เป็นช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตและเก็บข้าวเข้ายุ้งฉาง การทำไร่แบบหมุนเวียนของลัวะจะนำพืชมาปลูกรวมกันหลาย ๆ ชนิดในไร่ โดยหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว และเมล็ดพันธ์พืชอื่น ๆ ผสมกัน ได้แก่ ถั่ว งา บวบ แตงกวา ส่วนมันแกวจะปลูกผสมกับข้าวโพด ส่วนผักกาดจะหว่านในไร่หมุนเวียน บริเวณตอไม้หรือริมไร่จะมีการปักไม้เพื่อการเพาะปลูกฟักทอง ฟักเขียว น้ำเต้า ฯลฯ เมื่อไร่ต่าง ๆ ให้ผลผลิตแล้วบริเวณพื้นที่เพาะปลูกจะกลายเป็นไร่เก่าแต่ก็ยังมีพืชอื่น ๆ เช่น มะแขว่น และปอสา หรือเยื่อกระดาษสาซึ่งให้ผลผลิตต่อเนื่องอีกฤดูกาลหนึ่ง จึงเป็นระบบนิเวศน์ที่ค่อนข้างเหมาะสมอย่างยิ่ง ส่วนอาชีพรองลงมาของลัวะ คือ การหาของป่า ล่าสัตว์ การทำไร่นั้น ยังทำไร่ข้าวโพด หรือพืชผักบางชนิดด้วย เช่น ถั่วแขก พริกแดง แตงกวา หรือฝ้าย เป็นต้น ผลผลิตที่ได้ส่วนใหญ่จะเก็บไว้บริโภคในครัวเรือน รวมทั้งนำมาใช้ในการเลี้ยงสัตว์ด้วย ถ้าผลผลิตมีจำนวนมากก็อาจจะขายที่ตลาดในตัวเมืองต่อไป ในบางหมู่บ้านมีการปลูกพืชผักไว้บริโภคเอง โดยการหยอดเมล็ดพันธุ์รวมไปกับเมล็ดข้าวในตอนปลูกข้าวด้วย ซึ่งผลผลิตที่ได้นี้ก็เก็บไว้บริโภคเท่านั้น การหาของป่า และการล่าสัตว์ ปัจจุบัน การล่าสัตว์ลดบทบาทแทบจะหมดไปแล้ว เท่าที่พบมีเพียงการจับนก จับปู ในห้วยน้ำต่าง ๆ ของชาวบ้านที่ยังคงปฏิบัติกันมาจนทุกวันนี้ ส่วนการเก็บของป่าก็ยังมีอยู่ ได้แก่ การตัดไม้ การเก็บครั่ง ขี้สูด น้ำผึ้ง ต้นอ่อนของพืชพันธุ์ หรือสมุนไพรบางชนิด นอกจากนี้แล้วลัวะยังเลี้ยงสัตว์ด้วย โดยเฉพาะหมูและไก่ เพราะต้องใช้ในการประกอบพิธีกรรม หมูและไก่ไม่ได้เลี้ยงเพื่อขายในตัวเมือง แต่จะเลี้ยงไว้บริโภค หรือขายกันในหมู่บ้าน และระหว่างหมู่บ้านเท่านั้น (หน้า 8,32-41)

Social Organization

ครอบครัวของลัวะจะมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยว ประกอบไปด้วย พ่อ แม่ ลูก แต่ในบางครอบครัวก็มีลักษณะเป็นครอบครัวขยาย คือ พ่อ แม่ ของฝ่ายหญิงอยู่ด้วย เนื่องจากสังคมลัวะนั้นเมื่อแต่งงานแล้วผู้ชายจะมาอยู่บ้านผู้หญิง นับถือญาติพี่น้องทางฝ่ายหญิง ในแต่ละหลังคาเรือนจึงมีครอบครัวของลูกสาว และลูกเขยอยู่ด้วย จนกว่าจะพร้อมที่จะแยกออกไป ซึ่งก็มักจะปลูกเรือนในบริเวณใกล้กับบ้านเรือนของพ่อแม่นั่นเอง สำหรับลูกสาวคนสุดท้องนั้นมักจะอยู่กับพ่อแม่แม้จะแต่งงานแล้ว และจะเป็นผู้ได้รับเรือนที่อยู่มรดก รวมทั้งส่วนแบ่งในไร่นาด้วย เรื่องการแบ่งตระกูลของลัวะในจังหวัดน่านพบว่าทั้งลัวะ ปรัย และลัวะมัล มีทั้งหมด 18 ตระกูล คือ อะบง อะแกล อพคัด อะเบ๊าะ อะเปิร อะบุง อะซัง อะคอก อะซาล อะซาพาก หรืออะซะปาล อพปลี อะถิ้น อะเซ็ก อะนอง อั่งค่า อะกอ อะปั๊ด และอะซะค่าน ซึ่งตระกูลทั้งหมดนี้บิดามารดาจะบอกให้บุตรหลานของตนทราบ และบอกต่อ ๆ กันไปในแต่ละชุมชน แต่ละตระกูลก็จะมีผีประจำตระกูลที่คนในตระกูลยึดถือ และเซ่นไหว้ตามประเพณี (หน้า 6)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ลัวะมีระบบความเชื่อที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกลุ่มตน ลัวะจะนับถือผีที่เรียกว่า "ปย็อง" ในกลุ่มลัวะปรัย หรือ "ซอย"หรือ "ปย็อง" ในกลุ่มลัวะมัล ผีที่ลัวะนับถือนี้มีทั้งผีตระกูล ผีบรรพบุรุษ ผีเรือนประจำหมู่บ้าน ผีเจ้าที่ ผีไร่ เป็นต้น แต่ละผีจะมี ข้อห้าม ข้อปฏิบัติ ตลอดจนการเซ่นไหว้แตกต่างกันออกไป แล้วแต่กำหนดเวลาว่ายามใดจะต้องบูชาผีประเภทไหน เช่น ในแต่ละปีลัวะจะมีพิธีเซ่นไว้ "ผีไร่" หลายครั้ง ตั้งแต่เริ่มทำการเพาะปลูกไปจนถึงการเก็บเกี่ยว, ส่วน "ผีเจ้าที่" ลัวะถือว่าเป็น ผีที่สำคัญที่สุด เมื่อมีพิธีกรรมเกิดขึ้น ไม่ว่าเป็นพิธีกรรมใด ลัวะต้องมาบอกกล่าวผีเจ้าที่ก่อนทุกครั้ง หรือเมื่อถึงวันสงกรานต์ ปีใหม่ ชาวบ้านทุกคนจะร่วมมือกันออกเงินเพื่อใช้ในการเตรียมเครื่องเซ่นที่จะให้เฒ่าจ้ำนำไปเลี้ยง "ผีเรือน" เป็นต้น ปัจจุบันลัวะมีการติดต่อกับคนเมืองหรือชาวพื้นราบมากขึ้น ประกอบกับมีชาวเมืองบางคนที่ไปแต่งงานกับหญิงลัวะ และตั้ง ครอบครัวอยู่ในหมู่บ้านกับลัวะ คนเมืองเหล่านี้จะนับถือศาสนาพุทธ และนับถือผีด้วยตามความเชื่อที่สืบทอดกันมา ใน หมู่บ้านลัวะบางแห่งที่อยู่ใกล้กับตัวเมือง จะมีคนเมืองเข้ามาตั้งถิ่นฐาน และประกอบอาชีพต่าง ๆ รวมกับลัวะด้วย ทำให้ ศาสนาพุทธเริ่มแผ่ขยายมากขึ้น จนในบางหมู่บ้านมีการสร้างวัดทางพุทธศาสนาขึ้นด้วย นอกจากนี้ ตามนโยบายเผย แพร่ศาสนาพุทธของราชการ ก็มีการสร้างวัด หรืออาศรมพระธรรมจาริกในหลาย ๆ หมู่บ้านด้วย ทำให้มีการผสมผสาน ทางด้านศาสนาความเชื่อของลัวะ คือมีทั้งการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาพุทธ (หน้า 9)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ผู้หญิงลัวะไม่ว่าจะออกไปไร่ หรืออยู่บ้านจะนุ่งผ้าซิ่นแบบชาวเมืองน่านทั่วไป โดยสวมเสื้อ 2 ตัว ตัวในเป็นเสื้อคอกลมมีแขนหรือไม่มีแขน บางทีจะเป็นเสื้อผ้าลายต่าง ๆ ซึ่งเรียกว่า "เสื้อดอก" และสวมเสื้อแขนยาวทับเป็นเสื้อฝ้าย หรือเสื้อสีน้ำเงินเข้า (สีม้อฮ่อม) ที่เรียกว่า "เสื้อดำ" และจะใช้ผ้าขาวม้าพันศรีษะ ผ้านี้ชาวบ้านเรียกว่า "ผ้าหัว" ซึ่งจะช่วยกันความร้อน และให้ความอบอุ่นในฤดูหนาวด้วย รวมทั้งเป็นผ้ารองสายกระบุงตระกร้ายามต้องขนของโดยจะแบกถุงย่ามขนาดใหญ่ หรือกระบุงตระกร้าไว้บนหลัง และมีสายรัดมาพาดหน้าผาก ผ้าโพกหัวก็จะช่วยรองสายรัดนี้ไม่ให้กดลงบนเนื้อหน้าผาก ผู้ชายลัวะจะแต่งกายเหมือนคนไทยโดยทั่วไป คือ สวมกางเกงขายาว หรือขาสั้นตามแบบสมัยนิยม และสวมเสื้อแขนสั้นหรือยาว เสื้อยืด หรือเสื้อม้อฮ่อม โดยทั่วไปทั้งหญิงและชายลัวะนิยมสวมรองเท้าฟองน้ำ ซึ่งจะซื้อหาได้ในตลาด หรือในฤดูฝนมักจะนิยมสวมรองเท้ายางหรือพลาสติก เพราะสะดวกในการเดินทางไปในไร่ ทั้งผู้หญิงและผู้ชายลัวะในสมัยก่อนมักจะเจาะหูและใช้ดอกไท้เสียบในรูหู ซึ่งยังคงพบได้ในผู้สูงอายุ และบางคนยังใช้ดอกไม้เสียบบนมวยผมด้วย ในงานพิธีใหญ่ประจำปีของลัวะมัล และลัวะปรัย จะพบหญิงลัวะที่แต่งกายแบบพื้นเมืองโดยเลียนแบบจากคนเมืองหรือไทลื้อ ส่วนผู้ชายมักจะแต่งกายแบบคนเมืองทั่วไป รวมทั้งจะพบวัยรุ่นลัวะที่แต่งกายด้วยเสื้อยืด กางเกงยีนส์ และรองเท้าผ้าใบเช่นวัยรุ่นทั่ว ๆ ไปด้วย (หน้า 7)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Text Analyst วศิน เชี่ยวจินดากานต์ Date of Report 06 ม.ค. 2566
TAG ลัวะ, ความหลากหลายของพืชอาหาร, การใช้ประโยชน์, น่าน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง