สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลาหู่ ,มูเซอ,ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ,การสร้างความจริง,การนิยามความหมาย,การสร้างอัตลักษณ์,การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ,เชียงราย
Author สมบัติ บุญคำเยือง
Title ปัญหานิยามความหมายของป่าและการอ้างสิทธิเหนือพื้นที่ : กรณีศึกษาชาวลาหู่
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลาหู่ ลาหู่ ละหู่ ลาฮู, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
หอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Total Pages 223 Year 2540
Source หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิทยาการพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

ผู้เขียนเน้นประเด็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงอำนาจในการจัดการควบคุมพื้นที่ป่า ระหว่างชนกลุ่มใหญ่และชนกลุ่มน้อยโดยใช้กรณีศึกษาลาหู่ ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่อยู่ท่ามกลางความขัดแย้ง การช่วงชิงอำนาจ การสร้างความจริงและการนิยามความหมายเหนือพื้นที่ป่า ว่ากลุ่มอำนาจเหล่านั้นสร้างความจริงและนิยามความหมายเหนือพื้นที่ป่าอย่างไร เพื่อวิเคราะห์ถึงบริบทและเงื่อนไขการปฏิบัติการ และการปรับเปลี่ยนการสร้างความจริงและการนิยามความหมายพื้นที่ของกลุ่มอำนาจเหล่านั้น ผู้เขียนมองว่าลักษณะความสัมพันธ์เชิงอำนาจนั้นชนกลุ่มที่มีกำลังจะเข้าครอบงำชนกลุ่มเล็กที่ไร้อำนาจต่อสู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การใช้กำลังอาวุธและความได้เปรียบที่เหนือกว่า เข้ากดดันให้ชนกลุ่มเล็กปฏิบัติตามข้อกำหนดของตน โดยชนกลุ่มเล็กก็ไม่ได้นิ่งเฉยในทางตรงกันข้ามกับใช้วิธีการต่าง ๆ เข้าต่อสู้เพื่อปฏิเสธการยอมรับอำนาจนั้น ๆ เช่น การเคลื่อนย้ายถิ่นฐานหรือปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตบางประการ เพื่อให้สอดประสานกับอำนาจที่เหนือกว่าได้ ส่วนในประเด็นเทคนิคการสร้างตัวตนผ่านพิธีกรรมและการสร้างสัญลักษณ์ดังที่ลาหู่ทำเพื่อแสดงความเคารพต่อหงื่อซานั้น เป็นวิธีการธำรงอัตลักษณ์ของลาหู่ไว้

Focus

ศึกษากรณีการดำรงชีวิตของลาหู่ท่ามกลางการช่วงชิงอำนาจการสร้างความจริง และการสร้างความหมายต่อพื้นที่ป่าบริเวณชายแดนไทย-พม่าของกลุ่มอำนาจต่าง ๆ เช่น หน่วยงานของรัฐ ชนกลุ่มน้อย องค์กรเอกชน องค์กรชุมชนท้องถิ่น โดยมุ่งศึกษาถึงเทคนิควิทยาของ อำนาจ (technologies of power ) และการปฏิบัติการจริงของอำนาจ (the exercise of power) ในการสร้างความจริงและความหมายต่อป่า (หน้า 8-30,42-53,77-82,128-162,167-176,188-201)

Theoretical Issues

ผู้เขียนได้ใช้กรอบความคิดสำคัญสองประการในการศึกษา ปรากฏการณ์ คือ 1.กรอบความคิดว่าด้วยอำนาจและความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์การรุกรานและการอ้างสิทธิเหนือพื้นที่ป่าของกองทัพอดีตทหารจีนคณะชาติ (หน้า 24- 30,42-53,77-82) และการขยายอำนาจเหนือพื้นที่ของรัฐไทยซึ่งเข้ามาควบคุมจัดการ สร้างความหมายปรับเปลี่ยนชีวิตของลาหู่ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ (หน้า 128-162,167-176,188-201) 2.กรอบความคิดว่าด้วยเทคนิคการสร้างตัวตน (technologies of self) โดยศึกษาเชื่อมโยงกับปรากฏการณ์การสร้างสัญลักษณ์และการปรับเปลี่ยน โครงสร้างทางสังคมของลาหู่ (หน้า 97-106, 177-182, 201-205) ในกรณีของลาหู่ รูปแบบการต่อสู้ของลาหู่ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่ด้อยพลังอำนาจ ผู้เขียนเห็นว่าสามารถมองได้หลายมุม คือจะมองว่าเป็นการยอมจำนนก็ได้ หรือจะมองว่าเป็นการต่อสู้ที่มีเป้าหมายและยุทธศาสตร์ที่มีความเป็นพลวัตรเปลี่ยนแปลงตามบริบทและศักยภาพภายในตนเองก็ได้ ในกรณีของรัฐไทยที่เข้ามาควบคุมจัดการผ่านวาทกรรมโดยอ้างความชอบธรรมในการมีอำนาจเหนือพื้นที่ ดำเนินการควบคุมวิถีชีวิตและลดทอนความมั่นใจในคุณค่าของตนเองของลาหู่ผ่านระบบการศึกษา ผู้เขียนชี้ให้เห็นว่าลาหู่ไม่ได้ยอมจำนนต่ออำนาจรัฐ แต่กลับพยายามต่อสู้ โดยการปรับเปลี่ยนเป้าหมายและยุทธศาสตร์ เช่นการอ้างถึงประวัติการใช้พื้นที่ทำกินมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เป็นการต่อสู้ในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ จนดูเหมือนว่าลาหู่ถูกผนวกกลืนเข้าสู่อำนาจรัฐไทย การที่ลาหู่เข้าร่วมกิจกรรมการอนุรักษ์ ผู้เขียนมองว่าเป็นการสร้างความจริงและเป็นการนิยามความหมายตนเองของลาหู่ เป็นการปฏิเสธความหมาย "ผู้ทำลาย" ที่รัฐไทยสร้างขึ้นการกระทำดังกล่าวสามารถอ้างความชอบธรรมในฐานะไทยลาหู่ผู้อนุรักษ์ ในการเรียกร้องสิทธิความเป็นพลเมืองไทย เพื่อความมั่นคงในชีวิตภายใต้บริบทและเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและสังคมการเมืองในวัฒนธรรมแบบใหม่ (หน้า 187-205)

Ethnic Group in the Focus

ลาหู่ญีหรือมูเซอแดง บ้านจะกอนะ (หน้า 39-42)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ก่อน พ.ศ.2504 ลาหู่ตั้งถิ่นฐานอยู่บนฝั่งแม่น้ำสะลอง จากนั้นจึงเคลื่อนย้ายมาอยู่ห่างจากดอยแม่สะลองทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว 4-5 กิโลเมตร เนื่องจากการเคลื่อนย้ายเข้ามาของกองทัพอดีตทหารจีนคณะชาติในราวปี พ.ศ.2506-2507 ด้วยแรงกดดันดังกล่าวลาหู่จึงเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่ดอยแม่ยาว บางส่วนไปอยู่ดอยแฮอูนูโก่ตา พ.ศ.2524 ลาหู่แยกย้ายกันออกเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มจะมูนะและจะกอนะ กลุ่มจะมูนะอพยพอยู่ในเขตต้นน้ำแม่จัน มีการอพยพแยกตัวออกมาอยู่อย่างโดดเดี่ยว ในตอนหลังมีญาติพี่น้องเข้ามาสมทบ จนกลายเป็นชุมชน ส่วนกลุ่มจะกอนะตั้งถิ่นฐานทำมาหากินอยู่ในแถบแม่น้ำสะลอง แต่ภายหลังปี พ.ศ. 2504 ก็ต้องเคลื่อนย้ายออกไป เนื่องจากอยู่ใกล้เส้นทางเดินทัพของกองทัพก๊กมินตั๋ง ออกไปตั้งบ้านเรือนห่างจากดอยแม่สะลองไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือราว 4-5 กิโลเมตร (หน้า 42-46)

Settlement Pattern

สร้างบ้านด้วยไม้ไผ่ มุงคา (หน้า 67)

Demography

ลาหู่มีประชากรประมาณ 411,000 คน อาศัยอยู่หนาแน่นบริเวณมณฑลยูนาน ประเทศจีน และอีก 150,000 คน ในรัฐฉาน ประเทศพม่า อีก 10,000 คนในแขวงหลวงน้ำทา ประเทศลาว ในประเทศเวียดนามอีก 5,000 คน ภาคเหนือในประเทศไทยมี82,000 คน อาศัยใน 447 กลุ่มหมู่บ้าน 33 อำเภอ 9 จังหวัด (หน้า 67)

Economy

ลาหู่เป็นชนเผ่าเร่ร่อน อพยพเคลื่อนย้ายไปทั่ว ส่วนใหญ่มีอาชีพล่าสัตว์ เก็บหาของป่า เช่น ชา น้ำผึ้ง มีการปลูกข้าว ปลูกฝิ่น ปลูกพริกเป็นรายได้สำคัญของครอบครัว (หน้า 67) ใช้ระบบการผลิตแบบตัดฟันโค่นเผา ( slash and burn shifting agricalture ) เรียกได้ว่า เป็นระบบเศรษฐกิจแบบสังคมกึ่งเร่ร่อน( semi-nomadic economically ) (หน้า 69)

นอกจากนั้นยังมีการปลูกพืชผักสวนครัว เช่น ผักกาด หัวผักกาด ถั่วลันเตา ต้นหอม ผักชี สำหรับกินในฤดูหนาว โดยจะมีการใช้ที่ดินเพาะปลูกแบบหมุนเวียน (หน้า 72) แต่เดิมลาหู่ใช้ผลผลิต ไปแลกเปลี่ยนผลผลิต แต่หลังจากที่รัฐไทยไปพัฒนาให้มีการปลูกพืชเศรษฐกิจเช่น บ๊วย ลูกท้อ ลูกพลับ (หน้า 158) ระบบการแลกเปลี่ยนจึงเปลี่ยนมาเป็นผลผลิต เงินตรา (หน้า 64)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

หลังจากเหตุการณ์ที่ลาหู่ถูกปล้นสดมภ์จากกองกำลังติดอาวุธไทใหญ่ จึงมีการจัดตั้งกองกำลังอาสาสมัครป้องกันหมู่บ้าน ( kky )ช่วง พ.ศ.2503-2504 (หน้า 100) "เหมาะนะโตบู" ผู้นำทางจารีตประเพณีได้สร้างองค์กรทางสังคมขึ้นมาสองกลุ่มคือ

1) กลุ่มเผยแพร่จารีตประเพณีลาหู่ มีหน้าที่เดินทางไปยังหมู่บ้านของลาหู่เพื่อเผยแพร่จารีตประเพณี มีการแต่งตั้งผู้นำทางศาสนาแก่หมู่บ้านที่ยังไม่มีผู้นำทางศาสนา

2) กลุ่มกองกำลังติดอาวุธเข้าไปตรวจตามหมู่บ้านของลาหู่เพื่อดูว่าผู้ใดบ้างที่ละเลยการประพฤติตามจารีตลาหู่

โครงสร้างทางสังคมลาหู่มี 5 ชั้น
1) ผู้นำสูงสุดได้แก่ "แตต่อญื" เป็นหัวหน้าผู้ปกครองได้รับการแต่งตั้งจากเหมานะโตบู
2) ผู้ปกครองระดับเมืองเรียกว่า "จ่อฝ่า" หรือ "เจ้าฟ้า" รับการแต่งตั้งจากแตต่อญื
3) ผู้ปกครองระดับอำเภอเรียกว่า "พญา"
4) ผู้ปกครองระดับหมู่บ้านขนาดใหญ่เรียกว่า "แสนโหล" หรือ "แสนหลวง" หรือ "แสนหาญ"
5) ผู้ปกครองระดับหมู่บ้านเรียกว่า "อาดอป่า" (หน้า 103-104)

Belief System

ลาหู่นับถือพระเจ้าสูงสุดผู้สร้างสรรพสิ่ง คือ "หงื่อซา" อีกทั้งยังเป็นผู้สอนศีลธรรมหลักปฏิบัติต่าง ๆ ให้แก่ลาหู่อีกด้วย โดยในธรรมชาติทั่วไปจะมี "เน้" คอยดูแลธรรมชาติอยู่เปรียบเหมือนรุกขเทวดา หากลาหู่ละเลยคำสอนของหงื่อซาจะมี "เวบ๊ะ" หรือบาปติดตัวต้องทำพิธีล้างบาปที่เรียกว่า "ป๊ะแก่เว" (หน้า 75,97-98)

ท่ามกลางความไม่มั่นใจในอัตลักษณ์ของตน ลาหู่จึงได้สร้างสัญลักษณ์ขึ้นมาคือการสร้าง "กอมูติ" หรือเจดีย์ทิพย์ ซึ่งลาหู่ต้องเคารพสิ่งนี้เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อหงื่อซา อีกทั้งยังมี "อ่อผื่อ" เป็นสัญลักษณ์ในการแสดงความเคารพต่อผู้อาวุโสและมี "รีเก๊าะ" เป็นสัญลักษณ์แห่งการเคารพต่อธรรมชาติ(หน้า 101) โดยมีการตั้งผู้นำทางศาสนาเป็นลำดับชั้น ตั้งแต่โตบู สล่า อาจาลาส่อ และออดอ จะมีการส่งตัวแทนไปสั่งสอนศีลธรรมตามหมู่บ้านต่าง ๆ (หน้า 103)

Education and Socialization

ผู้อาวุโสของลาหู่เรียกว่า "โตบู" เป็นผู้นำทางศาสนา มีหน้าที่สั่งสอนศีลธรรมแก่ลาหู่ เรื่องที่สั่งสอนมีตั้งแต่การเคารพเชื่อฟังปฏิบัติตามคำสั่งสอนของหงื่อซา ประพฤติตนตามจารีตอันดีงามของลาหู่ เช่น ห้ามดื่มสุรา ห้ามเล่นการพนันในวันศีล ห้ามผิดประเวณี เป็นต้น (หน้า 102-103)

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ตำนานลาหู่กับขวาน เพื่อแสดงความชอบธรรมของลาหู่ในการทำมาหากินในป่า โดยมีการเปรียบเทียบกับไทใหญ่ว่า "หงื่อซา" ได้เรียกมนุษย์บนโลกมาประชุมเพื่อมอบเครื่องมือทำกินให้ หงื่อซารักลาหู่มากที่สุดจึงให้สิทธิลาหู่เลือกเครื่องมือก่อนและลาหู่ก็ได้เลือกขวาน หรือ "เจ๊ะเจ่" ส่วนไทใหญ่เลือกไถ จากนั้นหงื่อซาจึงบอกให้ลาหู่ไปทำกินในป่า ส่วนไทใหญ่ให้ไปทำกินบนที่ราบ(หน้า 75)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

อัตลักษณ์ของลาหู่ถูกสร้างขึ้นโดยกลุ่มชนที่มีอำนาจเหนือกว่า กองทัพอดีตทหารจีนคณะชาติได้สร้างอัตลักษณ์ให้ลาหู่เป็นเพียงผู้มาอาศัยในพื้นที่ที่อยู่ในกรรมสิทธิ์ของตน มีหน้าที่เป็นแรงงานรับจ้างราคาถูก (หน้า 77-84,92-95) ส่วนรัฐไทยได้สร้างภาพให้ลาหู่เป็นผู้ทำลายทรัพยากรป่าไม้ ทำลายป่าต้นน้ำ จากนั้นจึงเข้ามากำหนดพื้นที่ศึกษา อนุรักษ์ เป็นการสร้างอัตลักษณ์ใหม่แก่ลาหู่ในฐานะผู้อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การที่ลาหู่ยอมรับแนวคิดและดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์ด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตมาทำกินอย่างถาวร ปลูกพืชเศรษฐกิจ เลิกตัดไม้เป็นการแสดงให้เห็นถึงว่าลาหู่ยอมรับอัตลักษณ์ผู้อนุรักษ์ที่ถูกสร้างขึ้น(หน้า 121-162,202-205,)

Social Cultural and Identity Change

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมเกิดขึ้นกับลาหู่ตลอดเวลา เนื่องจากลาหู่ต้องอยู่ภายใต้สถานการณ์การสู้รบของกลุ่มอำนาจต่าง ๆ ตลอดมา ลาหู่ต้องประสบกับความไม่มั่นคงในการดำรงชีวิตและความไม่มั่นใจในอัตลักษณ์ของตนเอง ลาหู่ต่อสู้ด้วยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมวัฒนธรรมและการสร้างสัญลักษณ์ขึ้นมาเพื่อยึดโยงลาหู่เข้าด้วยกัน การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมของลาหู่โดยการจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธ (หน้า 105-106) และการจัดโครงสร้างการจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธ(หน้า 105-106) และการจัดโครงสร้างการ "จ่อฝ่า" "แสนหลวง" "พญา" "อาดอป่า" (หน้า 103-104)

ส่วนการสร้างสัญลักษณ์ได้แก่การสร้าง "กอมูติ" "อ่อผื่อ" และ "รีเก๊าะ" เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อหงื่อซา ผู้อาวุโสและธรรมชาติ (หน้า 101) เป็นการผูกพันและยึดโยงลาหู่เข้าด้วยกัน แบบแผนการหากินของลาหู่ก็มีการเปลี่ยนแปลงตลอด จากที่เคยอพยพไปทั่วเขตป่าได้อย่างไม่ถูกจำกัด ลาหู่ก็ต้องถูกจำกัดเขตการโยกย้าย เนื่องจากการอ้างสิทธิเหนือพื้นที่ของชนกลุ่มใหญ่ที่มีกำลังอาวุธ คือกองทัพอดีตทหารจีนคณะชาติ ซึ่งรัฐไทยประกาศให้สิทธิครอบครองพื้นที่ 15,000 ไร่ ตั้งแต่พ.ศ.2515-2527 การปรับเปลี่ยนการใช้พื้นที่โดยการใช้พื้นที่เพาะปลูกนานกว่าเดิม และต้องเปลี่ยนชนิดพืชที่ทำการเพาะปลูกโดยมุ่งเน้นการปลูกฝิ่นเพื่อขาย (หน้า 83-84,92-95) หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นระบบการผลิตแบบสังคมกึ่งเร่ร่อน (semi-nomadic agriculture) เมื่อรัฐไทยมีนโยบายขยายอำนาจเหนือพื้นที่ (หน้า 54-58) โดยกระบวนการให้การศึกษา และการจัดระเบียบให้ลาหู่เป็นคนไทย (หน้า 58-63) ทำให้ลาหู่ต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง ด้วยการเลิกดำรงชีวิตแบบเร่ร่อน หันมาปลูกพืชเศรษฐกิจตามคำแนะนำของรัฐ และดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้ได้สิทธิความเป็นคนไทย (หน้า 58-62) แต่ผลลัพธ์ที่ลาหู่ได้รับกลับไม่ใช่ความมั่นคงในการดำรงชีวิตแต่เป็นความไม่มั่นคงในทางเศรษฐกิจ ปัญหาด้านการผลิต ปัญหายาเสพติด ปัญหาครอบครัว และปัญหาการอพยพของแรงงานวัยหนุ่มสาวเข้าไปทำงานในเมืองอย่างผิดกฎหมาย เนื่องจากลาหู่ไม่ได้รับสัญชาติไทย (หน้า 145-162)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนที่ แสดงสภาพพื้นที่อำเภอแม่จัน,กิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวงและพื้นที่ศึกษา พ.ศ.2539 (หน้า 40) แสดงการเคลื่อนย้ายถิ่นที่อยู่ของลาหู่พ.ศ.2504 (หน้า 71) แสดงการเคลื่อนย้ายที่อยู่ของลาหู่ในช่วง พ.ศ.2504-2513 (หน้า 86) แสดงที่ตั้งบ้านเรือนของพื้นที่ทำกินของจีนฮ่อและลาหู่ (หน้า 87) แสดงการทับซ้อนของพื้นที่ทำกินของจีนฮ่อและลาหู่ (หน้า 91) แสดงการขยายอำนาจรัฐจากการพัฒนาการคมนาคมใน พ.ศ.2516-2528 (หน้า 133) แสดงการขยายอำนาจรัฐจากการพัฒนาการคมนาคมใน พ.ศ.2530-ปัจจุบัน (หน้า 134) แสดงการจัดจำแนกพื้นที่เขตต้นน้ำแม่จัน-แม่สะลองใน พ.ศ.2540 (หน้า 136) แสดงการจัดจำแนกพื้นที่ในเขตป่าอนุรักษ์ของลาหู่ (หน้า 172) แผนภาพ แสดงเหตุการณ์และช่วงเวลาที่ทับซ้อนกัน (หน้า 36) แสดงระบบการใช้พื้นที่ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของลาหู่ก่อน พ.ศ.2504 (หน้า 72) แสดงระบบการใช้พื้นที่ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของลาหู่ก่อน พ.ศ.2515-2527 (หน้า 88) แสดงการขยายตัวของการเกษตรแบบยั่งยืนของลาหู่ใน พ.ศ.2533-2537 (หน้า 151) ตาราง แสดงสภาวะการซื้อขายสิทธิการใช้ที่ดินของลาหู่ใน พ.ศ.2531-2540 (หน้า 152) แสดงรายได้และสถานที่ทำงานรับจ้างของลาหู่ในช่วง พ.ศ.2533-2540 (หน้า 159)

Text Analyst พรทิพย์ ลิ้มตระกูล Date of Report 23 พ.ค. 2561
TAG ลาหู่, มูเซอ, ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ, การสร้างความจริง, การนิยามความหมาย, การสร้างอัตลักษณ์, การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ, เชียงราย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง