สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject อาข่า,การใช้ที่ดิน,เชียงราย
Author ศตวรรษ สถิตย์เพียรศิริ
Title สิทธิในการจัดการที่ดินของชาวเขาการปรับตัวของกฎจารีตอาข่าภายใต้บริบทรัฐ
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity อ่าข่า, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 82 Year 2541
Source สถาบันวิจัยชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
Abstract

เป็นการศึกษาถึงลักษณะการใช้ที่ดินของชุมชนตามจารีตของกลุ่ม อู่โล้อาข่า เพื่อเน้นให้เห็นถึงการจัดการใช้ที่ดินการแบ่งสรรที่ดินเพื่อการเพาะปลูกที่มีการจัดการอย่างเป็นธรรมซึ่งแสดงให้เห็นถึงคติความเชื่อ อุดมการณ์ การจัดการและวิถีชีวิตของชุมชน และการฟื้นฟู ความอุดมสมบูรณ์ของดิน เพื่อการกลับมาใช้ใหม่ในครั้งต่อไป สิทธิในที่ดินจึงเป็นสิทธิในการใช้ที่มีการถือครอง และมีการจัดการใหม่ทุกปีอย่างเป็นธรรม

Focus

เป็นการศึกษาถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสิทธิในการจัดการใช้ที่ดินบนพื้นที่สูงโดยทั่วไป เพื่อเน้นให้เห็นถึงการจัดการใช้ที่ดินและแรงงานตามจารีตประเพณี เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมรวมไปถึงการศึกษาของความสัมพันธ์ทางสังคม และองค์กรของชุมชนต่าง ๆ ของอู่โล้อาข่า

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

อู่โล้อาข่า

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

พ.ศ.2539-2540

History of the Group and Community

ชาวเขาเผ่าอีก้อในบริเวณโครงการแม่แสลปนี้ส่วนใหญ่อพยพมาจากเชียงตุงประเทศพม่าแล้วเข้ามาอยู่ในประเทศไทย และอีกส่วนหนึ่งคือพวกที่เกิดในประเทศไทย ตระกูลแรกที่อพยพเข้ามาอยู่คือตระกูลยูลึ เมื่อประมาณ 60 ปีที่แล้ว ได้อพยพมาอยู่ที่บ้านม่วง ส่วนตระกูลจือเปาะอพยพมาอยู่ที่บ้านแสนใจเก่าเมื่อ 31 ปีที่แล้ว พวกที่เกิดในประเทศไทยก็อพยพเข้ามาอยู่ในพื้นที่ดอยตุงในภายหลัง ซึ่งการอพยพมาอยู่ในประเทศไทยก็ด้วยสาเหตุใหญ่มาจากที่ทำกินไม่เพียงพอ หนีภัยการเมือง หนีภัยจากคอมมิวนิสต์และองค์กรกู้ชาติต่าง ๆ และพวกเขาก็ได้อพยพตัวเองเข้ามาตั้งหมู่บ้านใหม่คือบ้านแสนใจเก่าและบ้านมะม่วง เมื่อประชากรในหมู่บ้านแสนใจเก่ามีมากขึ้น ที่ทำกินไม่เพียงพอพวกเขาจึงย้ายออกมาตั้งหมู่บ้านใหม่คือบ้านแสนใจใหม่ในปัจจุบันส่วนบ้านห้วยส้านใหม่คือกลุ่มที่อพยพมาจากดอยตุงเข้ามาอยู่ในพื้นที่นี้เมื่อประมาณพ.ศ 2520 และนอกจากนี้ก็มีอีก้อที่ได้แยกกันออกมาตั้งหมู่บ้านในบริเวณพื้นที่ที่ใกล้เคียงกันอาศัยอยู่ด้วยกันจนกระทั่งปัจจุบันนี้ (หน้า 3, 42-45)

Settlement Pattern

การตั้งถิ่นฐานของอาข่าอยู่ในบริเวณที่มีภูมิประเทศเป็นเชิงเขา หุบเขามีความอุดมสมบูรณ์เป็นทำเลที่เหมาะแก่การทำไร่ทำนาได้มีลำน้ำไหลผ่านหมู่บ้าน ทำเลที่ตั้งตัวหมู่บ้านต้องอยู่สูงเหนือระดับหมอกในยามเช้า เมื่อพระอาทิตย์ส่องแสงควรอยู่ไหล่เขาทางตะวันออก เพราะแสงแดดในยามเช้าช่วงฤดูหนาวจะให้ความความอบอุ่นในขณะที่เริ่มทำงานวันใหม่ และในการตั้งถิ่นฐานอาข่าจะไม่นิยมตั้งถิ่นฐานอยู่แบบถาวร แต่จะมีการอพยพโยกย้ายบ้านเรือนไปตั้งหมู่บ้านใหม่ ถ้าหากในหมู่บ้านมีประชากรมากเกินไปหรือที่ดินเสื่อมสภาพขาดความอุดมสมบูรณ์ หรือเกิดโรคระบาดพวกเขาก็จะแยกตัวหรืออพยพครอบครัวไปตั้งหมู่บ้านใหม่แต่ไม่ได้โยกย้ายไปหาที่ทำกินใหม่ แม้ว่าที่ทำกินจะอยู่ห่างจากหมู่บ้านมากเพียงไรก็ตามอาข่ากลุ่มนี้ก็ยังคงใช้พื้นที่เดิมผืนนั้นทำการเกษตรเหมือนเดิมต่อไป (หน้า 27,40,44 )

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ระบบเศรษฐกิจโดยทั่วไปของสังคมอาข่าคือ การเพาะปลูกเพื่อยังชีพ ข้าวเป็นอาหารหลัก ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบแลกเปลี่ยนพึ่งพาซึ่งกันและกัน แต่ในปัจจุบันอาข่าได้ปลูกพืชหลายชนิดเพื่อนำไปขายสู่ตลาด แต่การปลูกพืชเศรษฐกิจนี้ทำได้เฉพาะคนที่มีทุนเท่านั้น เพราะเมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการลงทุนการเพาะปลูกแล้ว รายได้จากการขายผลผลิตมีกำไรเล็กน้อยเท่านั้นบางรายถึงกับขาดทุนก็มี แต่ที่ผ่านมาชาวบ้านเห็นว่ารายได้จากการขายผลผลิตจากพืชเศรษฐกิจถ้าหากทำประสบผลสำเร็จจะได้รายได้เป็นกอบเป็นกำ ถ้าปีต่อไปชาวบ้านทุกหลังคาเรือนปลูกพืชชนิดเดียวกันหมดผลผลิตออกมาก็ขาดทุนกันทั่วหน้าเหมือนกัน (หน้า 9, 10, 54 )

Social Organization

โครงสร้างทางสังคมของอาข่าจะมีความสัมพันธ์กันระหว่างตระกูล อาศัยความสัมพันธ์กันแบบเครือญาติ ความสัมพันธ์ภายในตระกูลจึงเป็นพื้นฐานของความเป็นชุมชนหมู่บ้านของอาข่า ในการเลี้ยงดูบุตรพ่อแม่จะเป็นผู้ดูแลลูกด้วยตัวเอง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นพื้นฐานของการบูชาบรรพบุรุษ และเป็นบรรทัดฐานให้กับชุมชนและผู้อาวุโสของหมู่บ้านคือ จื่อมะ พระ ช่างตีเหล็ก และคณะอาวุโสทำหน้าที่ในการประกอบกิจกรรมของหมู่บ้าน โดยเฉพาะพิธีกรรมส่วนรวม การแก้ปัญหาที่ขัดแย้งกันภายในและระหว่างหมู่บ้านจะกระทำกันในลักษณะของการอนุญาโตตุลาการ ซึ่งลักษณะโครงสร้างบางประการนี้ทำให้เห็นว่า ชุมชนของอาข่ามีลักษณะการแบ่งชนชั้น มีสิทธิไม่เท่าเทียมกัน เกียรติยศชื่อเสียงได้มาเฉพาะผู้ที่เกิดในตระกูลผู้นำเท่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในแต่ละสถานภาพอยู่ภายใต้กฏจารีตที่เป็นเงื่อนไขของการปฏิบัติ (หน้า 18-24, 29-30)

Political Organization

ในอดีตคุณสมบัติของกลุ่มผู้นำส่วนใหญ่จะมาจากการที่เป็นผู้ก่อตั้งหมู่บ้าน เป็นกลุ่มที่มีความสัมพันธ์กันทางเครือญาติกัน ต่อมาหลังจากมีตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน และคณะกรรมการหมู่บ้าน กลุ่มผู้นำทางจารีตประเพณีดังกล่าวมองว่าตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านควรเป็นของบุตรหลาน เพราะหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านก็คือช่วยชาวบ้าน ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานทางราชการ คุณสมบัติสำคัญของผู้ใหญ่บ้าน และคณะกรรมการหมู่บ้านในปัจจุบันคือการศึกษา และความคล่องตัวในการประสานงานกับทางราชการ การคานอำนาจของผู้นำในอดีต ใช้วิธีย้ายออกจากหมู่บ้าน หากจื่อมะลำเอียงเข้าข้างพวกเครือญาติกัน ทำให้หมู่บ้านเล็กลง และมีแต่พวกจื่อมะเท่านั้น แต่ในปัจจุบันการย้ายครอบครัวหนีทำได้ยาก เพราะขาดที่ดินทำกิน จึงใช้วิธีอื่น เช่น เรียกร้องให้แก้ไขเพื่อเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านคนใหม่ขึ้นมาแทน ในการตัดสินคดีความ หากเป็นข้อพิพาทในหมู่บ้าน ปู่หมื่น ปู่แสนจะเป็นผู้ไกล่เกลี่ย หากในกรณีนี้ตกลงไม่ได้ถึง 3 ครั้ง จื่อมะจะเป็นผู้ตัดสิน โดยให้มีการจ่ายค่าปรับ ทั้งนี้อัตราการจ่ายจะพิจารณาจากฐานะ ถ้ามีฐานะดีอัตราค่าปรับจะสูง และผู้ที่มีฐานะต่ำกว่าจะจ่ายในอัตราที่ต่ำกว่า บทลงโทษสูงสุดของเผ่าอาข่าในกรณีที่ไม่สามารถหาข้อยุติได้ระหว่างคู่กรณี คือ การใช้พิธีต้มข้าวเสี่ยทาย โดยก่อไฟต้มน้ำให้เดือดกลางแจ้ง โดยมีการกำหนดให้นำข้าวสารที่มาจากที่เดียวกันมาห่อใส่ใบตองแล้วต้ม ของใครสุกดีถือว่าไม่ผิด (หน้า 35 - 38)

Belief System

อาข่านับถือศาสนากันแบบยืดหยุ่น พวกที่นับถือศาสนาคริสต์ยังใส่บาตรด้วย และเวลาโรงเรียนปิดภาคฤดูร้อนพวกที่นับถือศาสนาคริสต์ก็พาลูกหลานมาบวช ส่วนพวกที่นับถือผีก็นิมนต์พระมาช่วยทำพิธีเมื่อในบ้านมีคนตาย โดยทำพิธีก็แยกกันทำระหว่างพุทธกับผี อย่างไรก็ตาม อาข่านับถือผีบรรพบุรุษและมีความเชื่อเรื่องผีมาก ความอุดมสมบูรณ์ของทุกสิ่งทุกอย่างในหมู่บ้านอาข่าเชื่อว่าผีเป็นผู้กำหนด พิธีกรรมจะแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง คนกับผี บ้านเกือบทุกหลังของอาข่า จะมีตระกร้าบรรพบุรุษใช้บรรจุสิ่งของสำคัญที่ใช้ในการทำพิธีบูชาบรรพบุรุษ และในการประกอบพิธีบูชาบรรพบุรุษจะมี จื่อมะ เป็นผู้กำหนดวันและเวลาในการบูชาบรรพบุรุษ ส่วนพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับชุมชนก็เช่น พิธีเข้าพรรษา พิธีโล้ชิงช้า พิธีปีใหม่ เป็นต้น และในการประกอบพิธีกรรมหากทำไม่ถูกต้องจะเกิดอาเพศในหมู่บ้าน การประกอบพิธีกรรมเป็นหน้าที่ของผู้นำชุมชน กลุ่มผู้นำกลุ่มผู้มีอำนาจเท่านั้นจะจัดงานพิธีกรรมใหญ่งานเลี้ยงขนาดใหญ่ หากละเว้นไม่ปฏิบัติย่อมเกิดความเสื่อมถอยในอำนาจและสิทธิของกลุ่มตระกูล (หน้า 23, 24, 29, 37, 66, 67)

Education and Socialization

ไม่ระบุชัดเจน

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

เป็นเรื่องตำนานการสร้างโลกของอาข่า คือเมื่อเทวดาอาเพอหมี่แย คิดจะสร้างมนุษย์และคิดได้ว่ามนุษย์จะอยู่ได้ต้องมีผืนดิน และแผ่นฟ้าเสียก่อน เพื่อที่จะเป็นที่สร้างอาหารให้แก่มนุษย์ กาลครั้งนั้นจึงเกิดจอมปลวกขึ้น บรรดาปลวกทั้งหลาย เมื่อชอนไชไปที่ใดก็เกิดพื้นดินไปเรื่อย ๆ ส่วนกระต่ายเป็นผู้สร้างผืนฟ้า เมื่อกระต่ายตัวนี้กระโดดโลดเต้นไปที่ใดก็เกิดผืนฟ้า แปลงข้าวผืนเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้น จอมปลวกก็ได้รับน้ำจากท้องฟ้าก็มาเป็นอาหารสำหรับคนในครั้งนั้น ผีกับคนอาศัยอยู่ด้วยกัน แต่มาภายหลัง แตกคอกัน เพราะคนไปขโมยข้าวในไร่ของผี แล้วคดีนี้ถูกตัดสินโดย เหย่อทองผอ บรรพบุรุษคนที่ 25 คนใช้กลโกงผีโดยแบ่งเวลากลางวันมาเป็นคน ส่วนผีออกมาทำงานได้เฉพาะเวลากลางคืนเท่านั้น จึงเกิดการแบ่งแยกระหว่างคนกับผีขึ้นว่าบริเวณภายในประตูหมู่บ้านเป็นที่อยู่ของคน นอกเขตประตูหมู่บ้านเป็นที่อยู่ของผี

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน กล่าวแต่เพียงว่าในการทำการเกษตรในเรื่องอิทธิพลของตลาด ม้งและมูเซอจะเป็นผู้ลงทุนทำการเพาะปลูก โดยมีอาข่าเป็นแรงงานแต่ไม่ได้ระบุว่า อาข่ามีความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์กับกลุ่มอื่น ในรูปแบบใด (หน้า 54)

Social Cultural and Identity Change

ในสังคมปัจจุบัน คนรุ่นใหม่มีการศึกษามากขึ้นและไปทำงานนอกชุมชนอาศัยอยู่ในเมือง บางคนก็ได้ทำงานร่วมกับองค์กรเอกชน ความเป็นชาติพันธุ์ และวัฒนธรรมของตนเองเริ่มแตกต่างจากคนรุ่นเก่า เพราะไม่ได้เรียนรู้วัฒนธรรมจากการปฏิบัติในวิถีชีวิตจริงละเลยต่อการปฏิบัติตามจารีตประเพณี เมื่อความเจริญเข้ามาสู่หมู่บ้านมากคนกลุ่มนี้ก็ตกอยู่ในภาวะที่สับสนทางจิตใจ ซึ่งในความคิดและความเป็นจริงไม่สามารถบรรจบกันได้ แต่พวกเขาก็พยายามรื้อฟื้นการแต่งกายในชุดประจำเผ่า แต่ในชีวิตจริงก็ยังคงวนเวียนไปมาระหว่างเมืองกับชุมชนอยู่ (หน้า 81-82)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

การศึกษากล่าวถึงสิทธิการจัดการที่ดินของอาข่า สิทธิตามจารีตนี้ ก็คือ สิทธิในการถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ในอดีตที่ดินทุกผืนที่ได้มานั้นไม่ได้มาโดยที่ใครจะจับจองเป็นเจ้าของก็ได้ ที่ดินถือครองจะได้มาด้วยสาเหตุและเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น โดยการซื้อ เช่า หรือเป็นที่ดินมรดก เป็นที่มาของการจัดการที่ดินของชุมชน หมู่บ้านของอาข่าจะมีอาณาเขตของชุมชนที่ชัดเจน แยกมนุษย์ออกจากเขตป่า และที่ดินที่ทำกินอย่างชัดเจน โดยมีโครงสร้างเป็นตัวกำหนดสิทธิตามจารีตแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ คือ 1. โครงสร้างและสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์เน้นการอยู่รวมกันเป็นสังคม ลักษณะของชุมชนจะโน้มเอียงไปทางอนาธิปไตย มีความเท่าเทียมกันทางด้านสิทธิ การได้มาของที่ดินทำกินของหมู่บ้านจะขอต่อผู้มีอำนาจในหมู่บ้าน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน หรือกำนัน โดยมีสิ่งของเป็นการตอบแทน 2. สถานภาพและสิทธิที่ได้มาไม่เท่าเทียมกัน ผู้ที่เกิดมาในตระกูลผู้นำจะได้รับการถือครองที่ดินมากกว่าผู้ที่เกิดในที่ด้อยกว่า 3. สิทธิความเป็นเจ้าของที่ได้มาจากการซื้อขายแลกเปลี่ยน ถือเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากความสามารถของตัวเอง ผู้มีอำนาจบารมีจะมีภาระการใช้จ่ายมากกว่าคนปรกติธรรมดา เพราะต้องรักษาหน้าตาและเกียรติยศของตัวเอง 4. สิทธิและพิธีกรรมในการเพาะปลูกของแต่ละครอบครัวจะมีการประกอบพิธีกรรม เพื่อให้ได้ผลผลิตดี หากครอบครัวใดไม่ประกอบพิธีกรรมหรือกระทำโดยไม่สมบูรณ์ จะทำให้เกิดโรคภัยขึ้นในครอบครัว และหรือจะทำให้ผลผลิตไม่ได้ผลเท่าที่ควร เช่น การเกิดโรคแมลงระบาด โดยในการประกอบพิธีกรรมบูชาเทวดาเจ้าแห่งดินและเจ้าแห่งน้ำนั้น ผู้นำชุมชนเป็นผู้เดียวที่มีสิทธิ์ในการประกอบพิธีกรรม (หน้า 18-24)

Map/Illustration

แผนที่โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แสลป ศูนย์วิจัยชาวเขา (หน้าแรก)

Text Analyst บุษบา ปรังฤทธิ์ Date of Report 30 ก.ย. 2547
TAG อาข่า, การใช้ที่ดิน, เชียงราย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง