สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ไทใหญ่,ความเชื่อ,พิธีกรรม,ประเพณี,บ้านใหม่หมอกจ๋าม,เชียงใหม่
Author เรณู วิชาศิลป์
Title ประเพณีพิธีกรรมชาวไทยใหญ่บ้านใหม่หมอกจ๋าม
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทใหญ่ ไต คนไต, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มนุษย์วิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) Total Pages 100 Year 2541
Source หนังสือ "ไท" ฉลาดชาย ระมิตานนท์ วิระดา สมสวัสดิ์ และเรณู วิชาศิลป์ บรรณาธิการ, เชียงใหม่ :ศูนย์สตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.(หน้า 333-434)
Abstract

เนื้อหาโดยรวมพูดถึงสภาพทั่วไป ประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของชุมชน ตลอดจน ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม ที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับธรรมชาติ และมนุษย์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ ของชุมชนไตบ้านใหม่หมอกจ๋าม

Focus

ศึกษาความเชื่อ พิธีกรรม และประเพณีต่าง ๆ ของไทใหญ่บ้านใหม่หมอกจ๋าม

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ไทใหญ่

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ริเริ่มปี 2530

History of the Group and Community

ห้วยน้ำยอน ห้วยน้ำเย็น เป็นหลักแหล่งดั้งเดิมของชาวบ้านใหม่หมอกจ๋าม และได้ย้ายไปอยู่เวียงเก่า ชื่อ เวียงดอกจำปา หรือบ้านใหม่หมอกจ๋ามในปัจจุบัน ตามที่สมเด็จพระราชชนนี ทรงตรัสแนะนำ มีคนไต 4 ตระกูลอพยพไปก่อนเป็นผู้บุกเบิก ได้วางแผนผังหมู่บ้านและมีคนอื่น อพยพตามมาทีหลัง ทั้งจากแถบห้วยน้ำยอน ห้วยน้ำเย็น ฝาง เชียงดาว และที่อื่น ๆ ซึ่งผู้คนในหมู่บ้านต่างก็มีประวัติศาสตร์ การอพยพมาจากเมืองคนไตต่าง ๆ กันในพม่า (หน้า 335)

Settlement Pattern

ลักษณะหมู่บ้านตั้งอยู่ที่ราบเชิงเขา อยู่ท่ามกลางชนกลุ่มน้อยหลายเชื้อชาติ ซึ่งมีทั้งกลุ่มวัฒนธรรมอื่น คนไตจะปลูกเรือนเรียงรายอยู่ที่ราบเชิงเขา มีลักษณะคล้ายการตั้งบ้านเรือนของคนไตในรัฐฉาน ชื่อบ้านใหม่หมอกจ๋ามตั้งตามนามเดิมของเมืองโบราณที่มีร่องรอยอยู่ที่นี่ คือเวียงดอกจำปา อยู่ใกล้สะพานท่าตอนเป็นอีกชุมชนหนึ่งที่มีไตอาศัยอยู่หนาแน่น มีวัดและมีพิธีกรรมตามรูปแบบของไต ซึ่งเป็นหลักแหล่งดั้งเดิมของชาวบ้านใหม่หมอกจ๋าม (หน้า 334-335)

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

การประกอบอาชีพยังเป็นการทำไร่ทำนาเป็นหลัก แต่ในหมู่บ้านยังมีพื้นที่ทำมาหากินน้อย ผลผลิตยังไม่พอต่อการยังชีพ ผลผลิตที่ดูหนาตา ได้แก่ พริกแห้ง ข้าวโพด มะม่วง ที่มีพ่อค้าจากนอกหมู่บ้านเข้ามารับซื้อ รวมทั้งไพคา ที่ชาวบ้านทำขึ้นเพื่อนำมาซ่อมแซมหลังคาบ้านและจำหน่ายอีกด้วย ไตไม่นิยมเลี้ยงสัตว์เอาไว้ขายหรือประกอบอาหารเพราะเชื่อว่าเป็นบาป แต่จะซื้อจากผู้อื่นได้ คนในหมู่บ้านบางส่วนก็ออกไปรับจ้างในเมือง เนื่องจากคนไตเป็นกลุ่มแรกที่เข้ามาอยู่จึงมีอิทธิพลและมีโอกาสจับจองเป็นเจ้าของที่ดิน กลุ่มไตบางส่วนจึงไม่ต้องประกอบการผลิตด้วยตนเองแล้ว เพียงคอยรับค่าหัวนา กับผลผลิตแบบแบ่งกึ่งจากผู้เช่า บางคนก็ทำการค้าขาย เป็นหมอกลางหมู่บ้าน (หน้า 337-338,403)

Social Organization

ครอบครัวคนไตมีพ่อเป็นใหญ่ สถานภาพของผู้หญิงจะไม่ทัดเทียมกับผู้ชาย ด้วยอิทธิพลความเชื่อลัทธิ ผี วิญญาณ ฮินดู พราหมณ์ พุทธ ครูของคนไตจะได้รับการยกย่องสูงเท่าเทียมกับสถาบันทางศาสนา และครอบครัว ในพิธีกรรมบางอย่างจะเห็นกลุ่มพลังในชุมชนแบ่งบทบาทของกลุ่มหนุ่มสาวเป็นผู้คิดและมองปัญหา ผู้เฒ่า ผู้แกเป็นหลักในเรื่องเงินทอง พิธีกั๋นตอ เป็นพิธีการสืบสายเครือญาติที่เหนียวแน่นมั่นคง (หน้า 370,384)

Political Organization

ผู้นำมี 2 ลักษณะ คือผู้นำจัดตั้ง คือกำนันที่ได้รับการแต่งตั้งจากราชการ โดยไม่มีวาระ และผู้นำตามธรรมชาติ คือได้รับการเคารพนับถือจากชาวบ้าน ไม่ว่าการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา หรือกิจกรรมอื่น ๆ ในหมู่บ้านและยังแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ พระภิกษุ และกลุ่มผู้นำชุมชน หรือบรรดาคนแก่ที่มาบุกเบิก ในการก่อตั้งหมู่บ้าน (หน้า 339)

Belief System

จะเน้นถึงพิธีกรรมทางศาสนาเป็นหลัก และพยายามปฏิเสธพิธีกรรมเกี่ยวกับผี โดยอาศัยความเชื่อเกี่ยวกับศาสนาเป็นแกน ดังคำสอนที่บอกว่า "ถ้าพุทธศาสนาสูญสิ้นไปจากชนชาติไต ไตก็สูญสิ้นไปจากโลก" ขณะเดียวกันในรูปพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณี และพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฏจักรของชีวิต และประเพณีการผลิตก็ได้มีรูปแบบของพฤติกรรมความเชื่อต่อลัทธิวิญญาณ ลัทธิถือผีบรรพบุรุษ ตลอดจนความเชื่อตามคติพราหมณ์ และฮินดูผสมอยู่มาก ตำนานที่กล่าวถึงการกำเนิดของจักรวาล มนุษย์และสรรพสิ่ง แสดงออกถึงความเชื่อในพระเจ้าหลายองค์ตามลัทธิพราหมณ์ และยังมีการพยายามผสมผสานอย่างกลมกลืนแนบแน่นกับความคิดอเทวนิยม ซึ่งเป็นความเชื่อในพุทธศาสนาในระดับปรัชญา แต่ในทางปฏิบัติความเชื่อของคนส่วนใหญ่ คงพัฒนาไปเพียงผสมผสานความคิด ในระดับพุทธศาสนาแบบชาวบ้านคือ ยึดถือในพิธีกรรมและอำนาจของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น 1.ความเชื่อและพิธีกรรมเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ความเชื่อเรื่องเทพ มีพิธีกรรมดังนี้ - "ขึ้นเจ้าเมือง" เพื่อตอบแทนบุญคุณที่เจ้าเมืองให้ความคุ้มครองคนในหมู่บ้านให้มีความเป็นอยู่สุขสบาย และมีพิธีกรรม "สวดมังคละใจบ้าน" เพื่อเป็นการขอบคุณที่ทำให้เข้ามาอยู่สถานที่นี้อย่างเป็นสุข ซึ่งใจบ้านเป็นสถานที่มงคลถือเป็นหลักของบ้าน และคนไตเชื่อว่าธรรมชาติมีเจ้าของผืนแผ่นดินก็มี "ผีหลิน" ดูแลรักษา แม่น้ำก็มี "ผีน้ำ" ดูแลรักษา - มีพิธีกรรม "ลางเมือง" เพื่อเลี้ยงผีฝาย เป็นการขุดลอกลำเหมืองที่ส่งน้ำเข้านา ขั้นตอนการปลูกข้าวจึงมีการประกอบพิธีกรรมก่อนหรือควบคู่กับการปลูกข้าวทุกขั้นตอน เช่น หลังจากแฮกนาเขาจะเริ่มปลูกข้าว 7 กอแรก เรียกว่า ข้าวผันนา หรือข้าวขวัญนา นั่นเอง ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องขวัญข้าว ว่าจะอยู่ตามต้นไม้ต่าง ๆ แต่ละปีไม่ซ้ำกันและตอนปลูกนาต้องตัดต้นไม้ชนิดนั้นมาทำต๊างแฮก หรือต๊างขวัญนา นอกจากนั้นยังมีพิธีฮ้องขวัญควาย ถือเป็นความห่วงใยในสัตว์เลี้ยงจึงใช้เป็นประเพณีมารองรับความรู้สึกของชุมชน 2. คนไต มีวันปอยยกย่องครูหมอไต ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญทั้งทางวิชาการและด้านการปกครอง ศิลปวัฒนธรรม การแสดงต่าง ๆ เป็นต้น จุดประสงค์ดั้งเดิมคือ มุ่งเน้นคุณธรรม และความกตัญญู และเปลี่ยนมาเป็น การรวมกลุ่มทางการเมือง 3. พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนาก็มีครบทั้ง 12 เดือน มีตำนานที่กล่าวถึงพระพุทธเจ้าแตกต่างกันออกไป เช่น ประเพณีเข่งส่าง ปุ๊ด ตำนานอุปคุตผู้คอยปกป้องคุ้มครองศาสนาและการประกอบพิธีกรรม จากการรังควานรบกวนของสง ผียักษ์เป็นผีแก่นแก้ว ประเพณีปวยเตียนออกหว่า ประเพณีถวายมหาตุ๊ก ก็จะมีตำนานแตกต่างกันออกไป (หน้า 336,339,340,343-344,348-349,353,366-372,399)

Education and Socialization

คนไตให้คุณค่าแก่การศึกษา แสวงหาความรู้เพราะวิชาความรู้ก่อให้เกิดสติปัญญา ครูหมอไตจึงได้รับการยกย่องโดยมีวันปอยยกย่องครูหมอไต ซึ่งครูหมอเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญทั้งทางวิชาการที่เรียกว่าวิชาหนังสือ และวิชาชีพต่าง ๆ เช่น การสร้างบ้าน การทำถ้วยชาม เป็นต้น ตลอดจนงานด้านการปกครอง แพทย์ เภสัชกรรม และวัฒนธรรม ศิลปะการแสดงต่าง ๆ และมีผู้ที่ได้รับยกย่องเป็นหมอ คือ ผู้ที่มีความรู้สาขาใด สาขาหนึ่ง ๆ จนสอนคนอื่นได้ คนไต ไม่ค่อยมีโอกาสศึกษาเล่าเรียน เพราะถูกกีดกันจากพม่า มูลเหตุหนึ่งก็คือ เมื่อเรียนจบก็ไม่ได้รับตำแหน่งหน้าที่การงานเท่าเทียมคนพม่า และภาษาที่เรียนก็เป็นภาษาพม่า ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาเล่าเรียนของคนไต (หน้า 366-372)

Health and Medicine

ภายในหมู่บ้านมีหมอตำแย 2 คน และเป็นหมอประจำหมู่บ้าน เวลาชาวบ้านเจ็บไข้ได้ป่วยก็มักจะรับการรักษาในหมู่บ้านเพราะระยะทางและเศรษฐกิจไม่อำนวย หมอกลางบ้านจะรักษาทางเสกเป่า และปรุงยาสมุนไพร กรณีการรักษาพยาบาลกับหมอกลางบ้านเมื่อรักษาหายชาวบ้านจะเตรียม "เครื่องกั๋นตอ" ประกอบด้วยเงิน ขนม ผลไม้ ข้าวตอก ดอกไม้ (หน้า 365,371,409)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

มีนิทานของไตเรื่อง เงี้ยวขายผี ซึ่งแพร่หลายในเขตล้านนาไทยโดยสรุปก็คือ ชุมชนต่าง ๆ ในเขตล้านนา ล้วนมาซื้อผีประเภทต่าง ๆ กับไทใหญ่ทั้งสิ้น เพื่อความเป็นศิริมงคลกับครอบครัวและชุมชนของตน เมื่อไทใหญ่ขายผีดี ๆ ไปหมด จึงเหลือแต่ผีร้าย ไตจึงไม่เหลือผีให้นับถืออีกแล้ว ตำนานที่กล่าวถึงการเข้าทรงปัจจุบันที่กล่าวกันว่ามีเจ้าเพิ่มมากขึ้น โดยกล่าวถึงว่ามนุษย์ในโลกนี้จะมีครึ่งคนครึ่งผีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ต่อไปพ่อแม่ลูกก็จะไม่รู้จักกัน นอกจากนั้นทุกสิ่งทุกอย่างจะเกิดอาเพศผิดจากเคย ทางหลวงจะเป็นงูเห่า (มีข้าศึกมาก) เพื่อนเก่าจะเป็นเสือเย็น (แก่งแย่งผลประโยชน์กัน) ในเถือนจะมีแต่บ้านคน (คนหนีไปอยู่ในป่า) ในบ้านจะเป็นศึก (บ้านเรือนไม่น่าอยู่ ทะเลาะกัน) บนฟ้าจะเป็นฝุ่น บนดินจะเป็นไฟ คนจึงเอาผีเป็นที่พึ่งมากขึ้น (หน้า 442, 435) มีนิทานประเภทเทพปกรณ์หรืออาจเรียกว่าปรัมปรานิยายบ้าง ตำนานของไตบ้างเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการกำเนิดโลก จักรวาลและมนุษย์ ดังนี้ 1.หมอหลวงกำผา น่าจะแปลว่า จักรวาลบัวหลวง กล่าวถึงการสิ้นสมัยของปักเจกพุทธ 5 พระองค์ มนุษย์และสัตว์โลกต่างก็เห็นภัยในวัฏสังขาร จึงละกิเลสทำจิตให้พ้นจากสภาวะที่ยึดติดในกามสุข สรรพสัตว์ทุกชนิดจึงหนีไปอยู่ในชั้นพรหม ซึ่งถือว่าบรรลุฌาน 3 ต่อมาร่างเหล่านี้จึงลงมากินง้วนดินสภาพของเทพก็หมดไป จึงกลายเป็นมนุษย์พวกแรกผู้เป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ทั้งหลาย 2.ซาเหล็กซาจาง ต่อจากเรื่องหมอหลวงกำผา เริ่มเรื่องที่เมืองมนุษย์ การสร้างข้อความได้เกิดข้อขัดแย้ง ระหว่างขุนอินทร์ และขุนสาง เรื่องการกำหนดแม่ปีว่าควรจะมีกี่ปี ต่อมาให้มนุษย์ผู้หนึ่งเป็นผู้ตัดสินและได้ตัดสินให้พระอินทร์ชนะ ต่อจากนั้นปีศักราชของไตก็นับตามพระอินทร์ ขุนสางถูกตัดหัวต่อจากนั้นก็ปรากฎเรื่องราวตามตำนานของประเพณีสงกรานต์ของไท (หน้า 398-399,407)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ชาวบ้านไต มีความภาคภูมิใจในศักดิ์ศรีของคนไตว่าเจริญกว่าชนเผ่าอื่น ๆ โดยเฉพาะในแง่ของศาสนา และความเชื่อซึ่งถือเป็นจุดเด่นที่แสดงความเจริญกว่าของเชื้อชาติไต ตัวอย่างเช่น กลุ่มไตในบ้านใหม่หมอกจ๋าม เน้นพิธีกรรมทางพุทธศาสนามากกว่า และหลีกเลี่ยงพิธีกรรมเกี่ยวกับผี มีข้อขัดแย้งทางใจกับกลุ่มไทแงนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้เคียงอันอาจถือเป็นบ้านบริวารทางวัฒนธรรม (หน้า 335-336,406)

Social Cultural and Identity Change

ไตบ้านใหม่หมอกจ๋ามรากฐานทางสังคม วัฒนธรรม ประเพณียังไม่แน่น ปรับเปลี่ยนตามนโยบายของรัฐ และผสมผสานกับชนกลุ่มโดยรอบ ๆ ทั้งใช้รากฐานเดิมดัดแปลงใหม่ทั้งแบบหลวงและแบบคนเมืองเข้ามาผสมผสาน ถ้าเปรียบกับไตที่แม่ฮ่องสอน ไตที่นี่จะพยายามปรับตัวเป็นคนเมืองมากกว่า เพราะยังขาดความมั่นคงทางการเมือง เศรษฐกิจ ความมั่นคงทางวัฒนธรรมจึงไม่แน่นพอ พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนและยอมรับเงื่อนไขจากภายนอกทุกประการ เช่น การแต่งกายและวิถีชีวิตด้านต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไปพึ่งพาสินค้าอุปโภค บริโภคจากเมืองมากขึ้น พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตก็ลดการยึดถือปฏิบัติลง และหันไปใช้ยาฆ่าแมลงและปุ๋ยมากขึ้น แนวคิดพุทธศาสนาแพร่กระจายเข้ามาครอบงำความเชื่อดั้งเดิมในลักษณะที่มีบทบาทเหนือกว่า ความเชื่อเรื่องราวเกี่ยวกับลัทธิภูตผีวิญญาณถูกบดบังเลือนหายไปจากความทรงจำ จากเดิมที่วัดเคยเป็นศูนย์กลางทุกวันนี้ต่างคาดหวังเอากับความช่วยเหลือจากในเมืองและทางการมากกว่า วัยเด็กได้รับการศึกษาภาคบังคับ หนุ่มสาวออกไปทำงานนอกหมู่บ้านส่งผลต่อการปะทะสังสรรค์ และถ่ายทอดวัฒนธรรมในครอบครัวและในสังคมมากที่เดียว ประกอบกับเป็นหมู่บ้านใหม่ พระและผู้นำได้จัด และเลือกสรรประเพณีตามที่คิดว่าเหมาะสม หรือทันสมัย (หน้า 335-337,339,341,345,356,407)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

- แผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ขององค์กรพิธีกรรมจากคำเรียกขานในพิธีกรรม หน้า 459, 460 - แผนผังแสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของรูปแบบพิธีกรรม หน้า 462

Text Analyst กฤษณา จิจุบาล Date of Report 21 ก.ย. 2547
TAG ไทใหญ่, ความเชื่อ, พิธีกรรม, ประเพณี, บ้านใหม่หมอกจ๋าม, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง