สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ไท,สังคม,วัฒนธรรม,ความเชื่อ,บ้านใหม่หมอกจ๋าม,เชียงใหม่
Author นงนุช จันทราภัย, เรณู วิชาศิลป์
Title สังคมและวัฒนธรรมไทบ้านใหม่หมอกจ๋าม
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทลื้อ ลื้อ ไตลื้อ, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) Total Pages 47 Year 2541
Source หนังสือ "ไท" ฉลาดชาย ระมิตานนท์ วิระดา สมสวัสดิ์ และเรณู วิชาศิลป์ บรรณาธิการ, เชียงใหม่ :ศูนย์สตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

มีเนื้อหาครอบคลุมหลายประเด็นทั้งเรื่อง สภาพทั่วไป ประวัติความเป็นมา สภาพสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย การปรับตัวและลักษณะโครงสร้างของสังคมไท ตลอดจนความเชื่อประเพณี พิธีกรรม ในวงชีวิตของคนไทบ้านใหม่หมอกจ๋าม

Focus

ในงานศึกษากล่าวถึงประวัติความเป็นมาของชุมชนไทบ้านใหม่หมอกจ๋ามและสภาพสังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม ที่เกิดขึ้นในวงจรชีวิต

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาติพันธุ์ "ไท"

Language and Linguistic Affiliations

ในบ้านใหม่หมอกจ๋าม ภาษาของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์มีระบบเสียงและคำศัพท์บางส่วนแตกต่างกัน ชนกลุ่มใหญ่คือคนไท ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บุกเบิกตั้งหลักแหล่งอยู่ก่อน ดังนั้น ภาษาไทจึงเป็นภาษาหลักของตนไปโดยปริยาย ยกเว้นภาษาเขียนซึ่งค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อนเกินกว่าที่จะเริ่มต้นศึกษาใหม่ บริเวณที่อยู่อาศัยแยกตามชาติพันธุ์ เมื่อมีการติดต่อสื่อสารกันในกลุ่มจึงใช้ภาษาเดิมของเผ่าพันธุ์ แต่เมื่อต้องติดต่อกับกลุ่มอื่นในหมู่บ้านเดียวกันตามสาธารณะ ก็ใช้ภาษาไทและพยายามใช้คำเมืองหรือภาษาไทยมาตราฐานเมื่อพูดกับคนต่างถิ่น (หน้า 311)

Study Period (Data Collection)

ริเริ่มปี 2530

History of the Group and Community

ชาวบ้านใหม่หมอกจ๋าม เรียกชื่อหมู่บ้านตัวเองว่า บ้านใหม่ เดิมมีชื่อเรียกว่าบ้านโป่งป้อม แต่ไม่พบหลักฐานบันทึกเป็นตำนานเกี่ยวกับหมู่บ้าน ราษฎรคู่แรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในหมู่บ้านมาจาก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่เพราะเห็นความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ ปี พ.ศ. 2503 มีคนไทที่มาจากเชียงราย 8 ครอบครัว และชาวบ้านท่าตอน อ.ท่าตอน 9 ครอบครัว อพยพมาเพิ่ม ปี พ.ศ.2505 กองกำลังกู้ชาติไท หรือตะโข้ 200 คนได้หลบหนีการปราบปรามของรัฐบาลพม่าเข้ามาพักอยู่เป็นเวลา 9 เดือน จึงยกทัพกลับไปรัฐฉานและมีผู้สมัครใจอยู่ตั้งถิ่นฐานกับชาวเขาเผ่ามูเซอ และลาหู่ จึงตั้งชุมชนอยู่บนเนินสูง เขตหมู่บ้านเมืองงาม ปัจจุบันเมื่อตั้งเป็นชุมชนไทเรียกถิ่นที่อยู่ของตัวเองว่า บ้านใหม่หมอกจ๋าม หลังจากนั้นทั้งครอบครัวไทในบริเวณใกล้เคียงและกลุ่มชาติพันธุ์อื่นก็อพยพตามมารวมกลุ่มด้วยเป็นระยะ ต่อเมื่อชุมชนนี้เติบโตและคึกคักขึ้นรัฐไทยจึงต้องประกาศให้เป็นหมู่บ้านอย่างเป็นทางการปี พ.ศ. 2516 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหมู่บ้าน หมู่ที่ 13 ขึ้นกับ อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ มีการจัดรูปแบบการปกครองตามรูปแบบของรัฐเมื่อประชากรมีความหนาแน่นมากขึ้นจึงแยกเป็นหมู่ที่ 8 ของเขตการปกครอง อ.ท่าตอน ปี พ.ศ. 2528 ได้รับคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้าน ปชด. (อาสาป้องกันตนเองชายแดน) ปี พ.ศ.2529 เป็นหมู่บ้าน อพป.(อาสาป้องกันตนเอง) และได้รับคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง (หน้า 291-293)

Settlement Pattern

การตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนจะตั้งแยกกันเป็นกลุ่มตามชาติพันธุ์ของตนเอง ตามลำดับเวลาที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย คนไท -ทำเลที่ตั้งขนานไปกับลำน้ำแม่กก กลุ่มไทกลุ่มใหม่ตั้งบ้านเรือนอยู่หัวนา เส้นทางไปบ้านท่ามะแกง ไทยยวน ครอบครัวแรกมาตั้งหลักแหล่งอยู่บริเวณถ้ำบ้วน ปัจจุบันมี 4 หลังคาเรือน ไทแงน ถูกจัดให้อยู่บริเวณบนดอยริมวัดทางทิศใต้ ไทลื้อ ตั้งเรือนอยู่บริเวณเดียวกับไทแงนเพราะมาเวลาไล่เลี่ยกันและเลยไปทางถ้ำบ้วน ที่อพยพมาระลอกหลัง 18 หลังคาเรือนถูกจัดให้อยู่วังไผ่ห่างจากบ้านใหม่หมอจ๋าม 3 กิโลเมตร ไทแช่ม อยู่ต่อหัวนาออกไป 1 กิโลเมตร (หน้า 291)

Demography

บ้านใหม่หมอกจ๋ามประกอบด้วย 5 กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มที่มีประชากรสูงที่สุด คือกลุ่มไทใหญ่ ไทลื้อ ไทยอง ไทแช่ม ไทยยวน จากรายงานของทางราชการเป็นประชากรไตหลายเผ่าหลายภาษา รายงานประชากรจากการสำรวจมีจำนวน 1,194 คน 204 ครัวเรือนมีประชากรอยู่จริง 1,858 คน 481 ครัวเรือน ชาย 879 คน หญิง 979 คนเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรมีสถานภาพเป็นผู้พลัดถิ่น สัญชาติพม่า จำนวนประชากรของแต่ละกลุ่มไม่แน่นอนเนื่องจากมีผู้อพยพเข้าเมืองทางแนวชายแดนด้านเหนือโดยไม่แจ้งให้เจ้าหน้าที่รัฐทราบ (291)

Economy

ในสังคมไทเป็นสังคมเกษตรกรรมและเป็นสังคมพึ่งตนเองเป็นหลัก ต้องการแรงงานเพื่อการผลิต ระดับเทคโนโลยีต่ำ ต้องการความร่วมมือในระหว่างสมาชิกของสังคม เพื่อการสร้างผลผลิต สมาชิกของสังคมจะถูกจำแนกกลุ่มตามแรงงานและสติปัญญา ทุกครัวเรือนประกอบอาชีพเพาะปลูก เครือญาติเป็นแรงงานในการผลิต มีการค้าขายหรือมีอาชีพอื่นเป็นอาชีพเสริม (หน้า303,306,308-309)

Social Organization

ลักษณะครอบครัวเป็นครอบครัวเดี่ยว สมาชิกสายตรงในครอบครัวมีรุ่นเดียวคือ รุ่นลูก การแต่งงานถือเป็นการผูกพันถาวร เป็นระบบผัวเดียวเมียเดียว หลังแต่งงานจะอาศัยอยู่บ้านพ่อแม่ระยะหนึ่ง ก่อนไปสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ ฝ่ายหญิงมาอยู่กับครอบครัวสามี บุตรที่ยังไม่แต่งงานจะอยู่ช่วยงานพ่อแม่ การเลือกคู่ครอง ชายหญิงมีโอกาสเลือกคู่ครองด้วยตนเอง และสังคมไทไม่เปิดโอกาสให้เลือกคู่ครองที่ใกล้ชิดทางสายโลหิต หญิงชายจะไม่ประพฤติผิดประเวณีจนกว่าจะแต่งงานกัน ระบบเครือญาติของไทไม่ซับซ้อน โดยให้ความหมายญาติแต่ละสายไว้อย่างชัดเจน อาศัยเกณฑ์การนับจากการแต่งงานและความสัมพันธ์ของสมาชิกในสังคม ให้ความสำคัญกับเครือญาติฝ่ายบิดาเป็นหลัก และจะถูกกำหนดให้มีบทบาทในการแต่งงาน การสืบมรดก เป็นการรับสืบทอดทางสายบิดาโดยธรรมชาติ บุตรที่อาศัยอยู่กับพ่อแม่เป็นผู้เลี้ยงดูและผู้รับมรดกที่ดินและเรือนที่อยู่อาศัยของพ่อแม่ (หน้า 300,303,310)

Political Organization

กลุ่มชาติพันธุ์ไทเป็นกลุ่มที่มีสมาชิกมาก และเข้ามาตั้งถิ่นฐานก่อนกลุ่มชาติพันธุ์อื่น การได้รับมอบอำนาจในการดูแลจากราชการไทย และการเป็นกลุ่มสัมพันธ์กับอำนาจนอกประเทศ โดยเฉพาะช่วงแรกของการตั้งชุมชน จึงมีบทบาทเป็นผู้จัดวิถีชีวิต มีอำนาจทางวัฒนธรรมรวมถึงอำนาจทางการเมืองการปกครองของชุมชนด้วย โดยการได้รับมอบอำนาจการปกครอง ดูแลจากรัฐบาลไทย กลุ่มผู้นำดั้งเดิมถูกละลายจากการมอบอำนาจของรัฐ(อพยพมาเพิ่มเรื่อย ๆ ) และการให้ความสำคัญกับเพศชายมากกว่าเพศหญิงเพศชายจึงได้รับอภิสิทธิ์ในการปกครองมากกว่า "โครงสร้างช่วงวัย" Age-grade Structure เป็นเครื่องมือในการวางจังหวะ การเรียนรู้ ค่านิยม วิถีชีวิตแต่ละช่วงชีวิตของคนไท และเป็นกลไกทางสังคมในการสร้างเครือข่ายสังคม และยังเป็นการวางตำแหน่ง หรือคัดเลือกตำแหน่งผู้นำทางสังคมการเมืองการปกครองในอนาคตอีกประการหนึ่งด้วย (หน้า 298,300,306,309)

Belief System

ในช่วงแรกของการดำเนินชีวิต ยังยึดรูปแบบและวิถีชีวิตดั้งเดิมเป็นหลักโดยเฉพาะด้านศาสนาและความเชื่อ โดยมีจุดมุ่งหมายเป็นจุ่มไทแห่งหนึ่งเพื่อเตรียมก่อตั้งรัฐฉานให้เป็นอิสระ คนไทบ้านใหม่หมอกจ๋ามนับถือศาสนาพุทธโดยมีวัดเป็นศูนย์กลางการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ มีประเพณีที่สืบทอดกันมาคือ - ประเพณีเกี่ยวกับการเกิด วิถีปฏิบัติที่สำคัญ ถ้าเด็กเกิดเป็นผู้ชายจะนำรกไปแขวนไว้ต้นไม้ ที่เป็นมงคลนามกับเด็กเพื่อให้เด็กฉลาดและเป็นคนดี ถ้าเด็กเกิดเป็นผู้หญิงจะนำรกไปทิ้งน้ำ โดยเชื่อว่าชีวิตจะร่มเย็นเป็นสุข - การทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ซึ่งนิยมทำพิธี 2 ช่วง คือตอนค่ำของวันแรกจะมีการ "ฮอลิ่ก" (การอ่านหนังสือธรรมมะ) และขอพรผู้เฒ่าผู้แก่ วันที่ 2 ทำพิธีทางศาสนา - การแต่งงาน ผู้สูงอายุเรียกว่า "เฮ็ดส่องกะหล่า" หรือ "เฮ็ดส่องมังกะหล่า" คนรุ่นใหม่เรียน แต่งงานส่วนการเลือกคู่ครองส่วนมากจะเป็นคนไทด้วยกัน หรือต่างเชื้อชาติหรือชาติพันธุ์ก็ได้ - การทำศพ เดิมคนไทไม่มีการเผาศพ ยกเว้นพระสงฆ์ เมื่ออพยพมาตอนหลังจึงทำพิธีเผาตามแบบคนไทยและจะไม่มีการไว้ทุกข์ - กั๋นตอ คือการแสดงความเคารพยำเกรงและขอโทษผู้ใหญ่ นอกจากนั้นคนไทยังนับถือผี เพื่อให้คอยคุ้มครอง ปกป้องให้อยู่ดีมีสุขอีกด้วย เช่น การไหว้ผีเจ้าเมือง การบูชาผีเจ้าบ้าน เป็นต้น (หน้า 298,321-330)

Education and Socialization

ลักษณะการอบรมเลี้ยงดูและการให้ความรู้ในวิทยาการต่าง ๆ คือ มีการขัดเกลาทางสังคม และรับการศึกษาตามรูปแบบของรัฐ เด็กที่อยู่ในระหว่างวัย 7-14 ปีต้องเข้ารับการศึกษาจนจบระดับปฐมศึกษา (หน้า 310)

Health and Medicine

คนไทเชื่อว่าความเจ็บไข้ได้ป่วยเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ผิดผี มีเคราะห์ ขวัญหนี และพยาธิ (โรค) การรักษาไข้เนื่องจากผิดผีก็ต้องทำพิธีเลี้ยงผี หรือเซ่นผี ถ้าอาการไข้ของเด็กเกิดจากอาการขวัญหนีออกจากร่างกายก็ต้องทำพิธีเรียกขวัญ ส่วนธาตุในกายแปรปรวนนั้นก็จะรักษาด้วยยา ซึ่งมีทั้งสมุนไพรและยาแผนปัจจุบัน ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลในหมู่บ้านมีด้วยกัน 4 คน คือ แม่เก็บ (หมอตำแย) หมอแผนโบราณ ซึ่งรักษาด้วยวิธีไสยศาสตร์หรือยาสมุนไพร หมอแผนปัจจุบัน หมอขวากซุย เป็นหมอรักษากระดูก คนในชุมชนที่ป่วยไข้ด้วยโรคพื้น ๆ มักไปหาหมอแผนโบราณก่อน ถ้าไม่หายก็ไปหาหมอแผนปัจจุบัน ถ้ามีอาการมากขึ้นก็จะไปโรงพยาบาลประจำอำเภอ (หน้า 328-329)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การแต่งกายของคนไทนั้น เปลี่ยนแปลงเป็นแบบเดียวกับคนเมืองหรือชาวล้านนาในปัจจุบันส่วนใหญ่ นอกจากผู้สูงอายุที่ยังแต่งกายแบบดั้งเดิมอยู่บ้าง คนรุ่นใหม่จะแต่งกายสมัยใหม่ ยามมีงานประเพณี หรือวันสำคัญทางพุทธศาสนา จะแต่งกายแบบดั้งเดิมของตน ถ้าต้องเป็นผู้แสดง เช่น ฟ้อนนางนก หรือฟ้อนดาบ ฟ้อนไท จึงแต่งกายครบถ้วนตามลักษณะดั้งเดิม ชายวัยกลางคนและชายสูงอายุทุกคนในหมู่บ้านมีรอยสักทั้งตัวเพราะเชื่อเรื่องการอยู่ยงคงกระพัน หญิงชายยุคใหม่ไม่นิยมสัก ผู้เขียนกล่าวถึงสภาพที่ตั้งของหมู่บ้านและบริเวณใกล้เคียงนั้นมีซากคันดินลักษณะดินแดงอัดแน่นและพบเศษอิฐตกหล่นอยู่บ้าง แนวคันดินแบ่งเป็น 2 แนว ๆ หนึ่งโอบล้อมดอยหมอกจ๋ามและพื้นที่โรงเรียนไปจรดฝั่งแม่น้ำด้านตะวันออก และตะวันตก อีกแนวหนึ่งโอบล้อมดอยหมอกเปาด้านริมฝั่งแม่น้ำทั้งสองมุมมีพื้นที่ยื่นล้ำออกไปเป็นผืนกว้างลักษณะคล้ายป้อม เชิงเทิน พบซากเจดีย์ บนดอยหมอกเปาและพบวัดร้างในพื้นที่ถัดจากเขตถ้ำบ้วนลงไป (หน้า 291,298-299)

Folklore

ในสมัยก่อนศพของผู้ที่ตายในวันที่ 14 เมษายนจะถูกห่อแล้วมัดโยงไว้ปากเหวหรือกิ่งไม้ไม่ให้แตะต้องพื้นดิน ตามคติความเชื่อในนิทานว่าถ้าเศียรของท้าวมหาพรหมตกถึงพื้นไฟจะไหม้โลกต้องให้นางสงกรานต์เอาพานมารับ (หน้า 325)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

การวางเครือญาติของชุมชนไทบ้านใหม่ช่วยให้เกิดความเข้าใจกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ในระยะแรกของการตั้งหมู่บ้านสมาชิกของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ มักเลือกคู่ครอง เฉพาะในกลุ่มชาติพันธุ์ของตนเอง แต่ปัจจุบันมีการสร้างถนนเชื่อมกับ ต.ท่าตอน และหมู่บ้านอื่น ๆ มากขึ้น ชายหญิงมีโอกาสเลือกคู่นอกกลุ่มสังคมและข้ามกลุ่มเผ่าพันธุ์ จึงพบว่ามีการแต่งงานระหว่างหญิงไทกับชายไทยและชาวเผ่าลีซอ และย้ายออกไปอยู่บ้านสามีมากขึ้น สังคมไท สมาชิกแต่ละช่วงวัย จะได้รับการถ่ายทอด กระตุ้นซ้ำ ค่านิยม ความเชื่อ และพฤติกรรมพึงปฏิบัติ อันเป็นคุณสมบัติของสังคมและชาติพันธุ์ ไทเป็นกลุ่มที่มีสถานภาพทางสังคมสูงกว่ากลุ่มอื่น กลุ่มอื่นจึงสนับสนุนให้ลูกหลานให้เรียนรู้หนังสือ และการสอนลิ่กไท มีส่วนทำให้คนรุ่นใหม่ในชุมชนถูกหล่อหลอมกันเป็นไท ไม่ว่ากลุ่มบรรพบุรุษจะเป็นกลุ่มใดก็ตาม เป็นวิธีการที่ปลูกฝังวัฒนธรรมทางภาษาให้ดำรงคงไว้ เพราะวัฒนธรรมทางภาษาเป็นส่วนสำคัญที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของเผ่าพันธุ์ (หน้า 301,303,308)

Social Cultural and Identity Change

ผู้เขียนกล่าวไว้ชัดเจน พอสรุปได้ว่า ในช่วงแรกของการอพยพวัฒนธรรมความเชื่อของคนไทเป็นศูนย์กลางการยึดถือปฏิบัติ พอสภาพสังคม เศรษฐกิจเปลี่ยนไป โดยมีการเชื่อมโยงกับชนเผ่าอื่น และไทพื้นราบเช่น มีถนนตัดผ่าน มีโรงเรียนที่สอนภาษาไทยมาตราฐาน ทำให้ทัศนะของคนเปลี่ยนไป วิถีปฏิบัติ ความเชื่อเก่า ภาษา การแต่งงานก็ปรับเปลี่ยนกลมกลืนตามยุคสมัย (หน้า 315-316,298-301)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

-แผนที่บ้านใหม่หมอกจ๋าม หน้า 303 -แผนภูมิตัวอย่างการเปรียบเทียบความหมาย คำเครือญาติ หน้า 305 -โครงสร้างช่วงวัยชายไท หน้า 307

Text Analyst กฤษณา จิจุบาล Date of Report 21 ก.ย. 2547
TAG ไท, สังคม, วัฒนธรรม, ความเชื่อ, บ้านใหม่หมอกจ๋าม, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง