สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ม้ง,ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง),ลีซู, ล่าหู่,ชนกลุ่มน้อย,การประเมิน,นโยบาย,การวางแผนครอบครัว,แม่ฮ่องสอน
Author อรรถสิทธิ์ แสงจันทร์
Title การประเมินผลนโยบายวางแผนครอบครัว : กรณีศึกษาชนกลุ่มน้อย จังหวัด แม่ฮ่องสอน
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลีซู, ลาหู่ ลาหู่ ละหู่ ลาฮู, ม้ง, ปกาเกอะญอ, Language and Linguistic Affiliations ไม่ระบุ
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) Total Pages 120 Year 2544
Source หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

โดยสรุปผู้วิจัยมุ่งเน้นที่จะนำเสนอสภาพปัญหาการวางแผนครอบครัวโดยการสุ่มตัวอย่างเก็บข้อมูล จากชนกลุ่มน้อยและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตลอดจนวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ และวัดระดับประสิทธิผลในการนำนโยบายการวางแผนครอบครัวไปปฏิบัติจริง (93)

Focus

ผู้ศึกษามุ่งเน้นหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิผลนโยบายการวางแผนครอบครัวของชนกลุ่มน้อย ตลอดจนศึกษาปัญหาที่ส่งผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติจริง เพื่อทราบแนวทางการแก้ปัญหาต่อไป

Theoretical Issues

ผู้วิจัยได้ใช้หลักการวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของ Dr.Lawrence W Green และคณะ มาเป็นกรอบในการประเมินผลนโยบายวางแผนครอบครัว พบว่าพฤติกรรมสุขภาพมีสาเหตุมาจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริมสร้าง แนวคิดในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์มี 3 กลุ่มดังนี้ กลุ่มที่ 1 มีแนวคิดว่า ปัจจัยหรือสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกิดจากองค์ประกอบภายในตัวบุคคลได้แก่ ความรู้ ความเชื่อ ค่านิยม เจตคติ แรงจูงใจ เป็นต้น กลุ่มที่ 2 มีแนวคิดว่า ปัจจัยหรือสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมนุษย์ที่เกิดจากองค์ประกอบภายนอกตัวบุคคล ได้แก่ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ระบบโครงสร้างของสังคม เช่น ระบบเศรษฐกิจ การศึกษา ศาสนา การเมือง และองค์ประกอบด้านประชากร และภูมิศาสตร์ เป็นต้น กลุ่มที่ 3 มีแนวคิดว่า ปัจจัย หรือสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกิดจากปัจจัยหลายอย่างได้แก่ ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกตัวบุคคล จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคล โดยนำทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาสังคม ประชากรศาสตร์และสังคมศาสตร์ และกลุ่มสาขาอื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ หาสาเหตุของพฤติกรรมและพยายามหาทางแก้ไขปัญหาโดยการผสมผสานสาขาวิชาต่าง ๆ เข้ารวมกัน เพื่อหาสาเหตุของพฤติกรรม (หน้า 9)

Ethnic Group in the Focus

ชนกลุ่มน้อยแม่ฮ่องสอน 4 กลุ่ม คือ เผ่ากะเหรี่ยง เผ่าม้ง เผ่าลีซอ เผ่ามูเซอ (หน้า 5)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาที่ใช้ติดต่อสื่อสารเป็นภาษาที่แตกต่างจากคนไทยทั่วไป และเป็นภาษาท้องถิ่นของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ (หน้า 63,93)

Study Period (Data Collection)

เดือนธันวาคม 2543-เดือนมกราคม 2544

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ปี พ.ศ.2538 ชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยใน 20 จังหวัด มีประชากร 853,274 คน จากการสำรวจประชากรของชนกลุ่มน้อยมีอัตราการเกิดสูงและมีอัตราการวางแผนครอบครัวต่ำ พบว่า มีอัตราการเกิดและอัตราเพิ่มของประชากรถึงร้อยละ 2.23 จากหมู่บ้านที่ผู้ศึกษาสุ่มตัวอย่างสำรวจรวม 124 หมู่บ้านและ 3,835 หลังคาเรือนโดยประกอยด้วยเผ่ากะเหรี่ยง 2,670 หลังคาเรือน เผ่าม้ง 351 หลังคาเรือน เผ่าลีซอ 361 หลังคาเรือน เผ่ามูเซอ 453 หลังคาเรือน คู่สมรสชนกลุ่มน้อยซึ่งอยู่ร่วมกันฉันท์สามี ภรรยา ที่ภรรยามีอายุระหว่าง 15-44 ปี จำนวนทั้ง 4 กลุ่มรวมทั้งสิ้น 362 คน อัตราการเพิ่มของประชากรระหว่างเดือนตุลาคม 2540 - เดือนมกราคม 2544 ไม่เกินร้อยละ 12 (หน้า 3,34,42,45,68)

Economy

ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 87.3 รองลงมาคือ ค้าขาย ร้อยละ 4.7 แม่บ้านหรือพ่อบ้านร้อยละ 4.4 (หน้า 45)

Social Organization

ส่วนใหญ่ครอบครัวมีขนาดปานกลาง (สมาชิก 6-8 คน) รองลงมาครอบครัวมีขนาดเล็ก (1-5 คน) และที่มีน้อยที่สุดคือ ครอบครัวใหญ่คือ (สมาชิกมากกว่า 8 คน) ส่วนใหญ่จะเห็นด้วยกับการมีครอบครัวขนาดเล็ก และมีบุตรเพียง 2-3 คน เพราะสภาพสังคม เศรษฐกิจปัจจุบันการเลี้ยงดูบุตรมากจะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่าย อายุแรกสมรสส่วนใหญ่ชนกลุ่มน้อยจะนิยมแต่งงานกับหญิงที่อายุยังน้อยและต่ำกว่า 20 ปี เพราะเชื่อว่าสามารถเริ่มต้นชีวิตของวัยผู้ใหญ่มีผลต่อการมีบุตรจำนวนมากยิ่งขึ้นและไม่นิยมแต่งงานกับหญิงสาวที่มีอายุมากกว่า 20 ปี เพราะมองว่าเป็นคนอายุมาก เพศหญิงจะให้ความเคารพ เชื่อฟังหัวหน้าครอบครัวของตนเป็นอย่างยิ่ง ทุกครอบครัวต้องมีบุตรเพศชายไว้สืบสกุล (หน้า 45-46,55,89)

Political Organization

ผู้นำทางสังคมหรือผู้นำตามธรรมชาติของชนกลุ่มน้อย เช่น ผู้นำหมู่บ้าน หมอผี กลุ่มคนเหล่านี้มีลักษณะเป็นผู้นำที่ชนกลุ่มน้อยให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก ซึ่งหากกลุ่มคนเหล่านี้มีความรู้ และมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เหมาะสมรวมทั้งเป็นสื่อกลางในการให้ความรู้แก่คนในหมู่บ้านของตนเองจะส่งผลให้ชนกลุ่มน้อยที่ให้ความเคารพนับถือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทิศทางเดียวกัน (หน้า 103)

Belief System

ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ (ร้อยละ 76.0) และมีนับถือศาสนาคริสต์ร้อยละ 34.0 แต่ละชาติพันธุ์มีวิถีการดำรงชีวิตลักษณะวัฒนธรรม ประเพณีที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละเผ่าพันธุ์ และแตกต่างจากคนไทยทั่วไป (หน้า 45,63,80)

Education and Socialization

ส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนหนังสือ (ร้อยละ 63.8) รองลงมามีการศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 29.8) และที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป (ร้อยละ 0.6) แต่ปัจจุบันนิยมส่งบุตรตัวเองเรียนหนังสือในระดับภาคบังคับและส่งเรียนหนังสือในระดับสูงกว่าภาคบังคับ (หน้า 45,55)

Health and Medicine

ผู้ศึกษากล่าวถึงเรื่องการรักษาพยาบาล และความเชื่อเรื่องสุขภาพไว้ในงานศึกษาว่า สาเหตุหนึ่งที่ตนมีสุขภาพไม่ดีเนื่องมาจากยาคุมกำเนิด ซึ่งมีผลข้างเคียงทำให้ความรู้สึกทางเพศลดลงรวมถึงการทำหมันหญิงทำให้ความรู้สึกทางเพศสูงมากขึ้น ทำให้ทำงานหนักไม่ค่อยได้การทำหมันชายทำให้เพศชายไม่แข็งแรง ทำงานหนักๆ ไม่ได้และอารมณ์ทางเพศลดลง การฝังยาคุมกำเนิดทำให้สุขภาพไม่แข็งแรง และชนกลุ่มน้อยมีการใช้บริการวางแผนครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ร้อยละ 66.6 ไม่ใช้บริการวางแผนครอบครัวร้อยละ 33.4 (หน้า 46,90)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ผู้ศึกษามิได้กล่าวเน้นในเรื่องการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อไว้ในงานศึกษาอย่างชัดเจน ยกเว้นความเชื่อเรื่องการมีบุตรมากของชนกลุ่มน้อยเริ่มหมดไป เพราะสภาพสังคม เศรษฐกิจ เปลี่ยนแปลงไปซึ่งการมีบุตรมากจะเป็นการเพิ่มภาระให้กับครอบครัว (หน้า 65)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

1.ตาราง (42,45,47,49,52,56,63,66,68,74,76-84) 2.แผนภูมิ -เปรียบเทียบคู่สมรสชนกลุ่มน้อยที่ใช้บริการวางแผนครอบครัวกับเป้าหมาย (69) -เปรียบเทียบอัตราการเพิ่มของประชากรชนกลุ่มน้อยกับเป้าหมาย (71) 3.ภาคผนวก ก หนังสือขออนุญาตในการเก็บข้อมูล (109) ภาคผนวก ข แบบสอบถามคู่สมรสชนกลุ่มน้อย (111) ภาคผนวก ค แบบสอบถามเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (116)

Text Analyst กฤษณา จิจุบาล Date of Report 24 ก.ย. 2555
TAG ม้ง, ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง), ลีซู, ล่าหู่, ชนกลุ่มน้อย, การประเมิน, นโยบาย, การวางแผนครอบครัว, แม่ฮ่องสอน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง