สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลีซู,การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้,เชียงใหม่
Author ประคอง ยอดหอม
Title การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาวเขาเผ่าลีซอ บ้านขุนแจ๋ ตำบลแม่แวน อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลีซู, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Total Pages 142 Year 2544
Source ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

จากการศึกษาพบว่า วิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของลีซอ บ้านขุนแจ๋ เริ่มจากการกำหนดให้เป็นป่าอนุรักษ์ของหมู่บ้าน โดยส่วนหนึ่งกำหนดให้เป็นป่าศักดิ์สิทธิ์ด้วยการอาศัยประเพณีและความเชื่อเกี่ยวกับ "อาปาหมู่" หรือผีหลวงประจำหมู่บ้าน ส่วนที่สองมีการกำหนดให้เป็นป่าไม้ที่เป็นป่าต้นน้ำลำธารของหมู่บ้าน โดยอาศัยกฎระเบียบของหมู่บ้านมาบังคับใช้ และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการหมู่บ้านคอยดูแล ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของลีซอบ้านขุนแจ๋มี 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน คือ ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ และบทบาทของผู้นำชุมชน ส่วนปัจจัยภายนอก คือ การได้รับการสนับสนุนจากทั้งหน่วยงานราชการและเอกชน

Focus

ศึกษาวิธีการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และผลจากการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของลีซอ บ้านขุนแจ๋

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ลีซอ ในหมู่บ้านขุนแจ๋ ตำบลแม่แวน อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ลีซอเรียกตัวเองว่า ลีซู เป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่มีถิ่นเดิมอาศัยอยู่บริเวณต้นน้ำสาละวินและแม่น้ำโขง ทางเหนือของธิเบต ลีซอถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มลีซอลายหรือ ลีซอลูกผสมซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศไทย, และอีกกลุ่มคือ ลีซอดำ อาศัยอยู่ในประเทศจีนและพม่า ความแตกต่างของทั้ง 2 กลุ่ม คือ การแต่งกายและภาษาพูด (หน้า 40)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาของลีซอจัดอยู่ในภาษาตระกูลจีน - ธิเบต สาขาธิเบต - พม่า ไม่มีภาษาเขียน (หน้า 40)

Study Period (Data Collection)

ดูจากข้อมูลการสัมภาษณ์ในหน้า 145 - 146 จึงสรุปว่าระยะเวลาในการศึกษาน่าจะอยู่ระหว่าง พ.ศ. 2541 - 2544

History of the Group and Community

ประวัติและความเป็นมาของลีซอ : ลีซอเรียกตัวเองว่า ลีซู เป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่มีถิ่นเดิมอาศัยอยู่บริเวณต้นน้ำสาละวินและแม่น้ำโขง ทางเหนือของธิเบต ต่อมาได้อพยพลงมาทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลยูนาน ประเทศจีน ในช่วงที่อยู่ในมณฑลยูนาน มีการสู้รบกับเผ่าอื่นๆ และต้องถอยร่นลงมาทางใต้ กระจายกันอยู่ในประเทศจีน พม่า อินเดีย และไทย สำหรับในประเทศไทยนั้นลีซอได้อพยพลงมาจากรัฐฉาน ประเทศพม่า และตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณดอยช้าง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ประมาณ 80 ปีมาแล้ว (หน้า 40) ประวัติหมู่บ้าน : บ้านขุนแจ๋ตั้งมาประมาณ 60 ปีแล้ว โดยกลุ่มคนที่ก่อตั้งหมู่บ้านครั้งแรกได้อพยพมาจากหมู่บ้านลีซอหลาย ๆ พื้นที่ด้วยกัน เช่น อพยพมาจากดอยช้าง จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา จังหวัดตาก อำเภอเชียงดาว อำเภอแม่แตง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงที่มีการตั้งบ้านครั้งแรก จะมีลีซอที่อพยพมาจากที่ต่างๆ ประมาณ 30 - 40 หลังคาเรือน และยังไม่มีการขึ้นทะเบียนราษฎรของประชากรในหมู่บ้าน หลังจากตั้งหมู่บ้านได้ 5 ปี ก็มีประชากรอพยพเข้ามาเพิ่มมากขึ้น ทางราชการจึงให้กำนันตำบลแม่แวนขึ้นไปสำรวจจำนวนประชากรและประกาศให้หมู่บ้านขุนแจ๋อยู่ในเขตการปกครองของตำบลแม่แวน อำเภอพร้าว ขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่บ้านและกำนันตำบลแม่แวนโดยตรง ต่อมาเมื่อมีประชากรเพิ่มขึ้นจึงได้รวมบ้านขุนแจ๋ บ้านสามลี และบ้านแวนน้อย เป็นหมู่บ้านเดียวกันและให้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน ต่อมาในปี 2541 ทางอำเภอก็ประกาศให้แยกหมู่บ้านขุนแจ๋ออกจากบ้านสามลีและบ้านแวนน้อย เป็นอีกหมู่บ้านหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ หมู่บ้านขุนแจ๋ หมู่ 8 ประกอบด้วย บ้านขุนแจ๋บน กับ บ้านขุนแจ๋ล่าง (หน้า 45 - 47)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ในปัจจุบันตัวเลขประชากรลีซอที่รวบรวมโดยสถาบันวิจัยชาวเขา พ.ศ. 2542 พบว่า ประเทศไทยมีลีซอจำนวน 30,940 คน 151 หมู่บ้าน และ 5,114 หลังคาเรือน (หน้า 40) สำหรับจำนวนประชากรของลีซอบ้านขุนแจ๋ ตำบลแม่แวน อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ มี 125 ครอบครัว ประชากร 695 คน เป็นชาย 308 คน เป็นหญิง 287 คน (หน้า 47)

Economy

หมู่บ้านขุนแจ๋ในปัจจุบัน อยู่ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ปูนหลวง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ปลูกผักเมืองหนาวส่งโครงการหลวงแหล่งใหญ่แห่งหนึ่ง และเป็นแหล่งปลูกเซเลอรี่ที่ใหญ่ที่สุดของโครงการหลวง ผักและผลไม้เมืองหนาวที่ทำรายได้ให้แก่ลีซอบ้านขุนแจ๋ ได้แก่ เซเลอรี่, ปวยเหล็ง, พลาส์เลย์ เฟนเนล หอมญี่ปุ่น กระเทียมต้น สลัด แรดิส เป็นต้น ส่วนผลไม้เมืองหนาวได้แก่ บ้วย ท้อ พลัม พลับ เป็นต้น ดังนั้น รายได้ส่วนใหญ่ของลีซอ บ้านขุนแจ๋ จึงมาจากการเกษตรกรรมเป็นหลัก ตลาดรับซื้อของชาวบ้านมี 2 แหล่ง คือ ตลาดโครงการหลวง และ พ่อค้าในท้องถิ่นที่มารับซื้อแล้วนำไปขายในตลาดในเมือง จากการศึกษา พบว่า รายได้ต่อปีของลีซอ บ้านขุนแจ๋ ที่ต่ำสุดคือ 1,000 บาทต่อปี รายได้สูงสุด 130,000 บาทต่อปี เฉลี่ยแล้วลีซอบ้านขุนแจ๋มีรายได้ 18,379.4 บาทต่อปีต่อครอบครัว รายได้ส่วนใหญ่มาจากการเกษตรกรรม (หน้า 53)

Social Organization

ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม : โดยทั่วไปลีซอบ้านขุนแจ๋ จะเคารพนับถือและให้ความสำคัญทางสายสัมพันธ์เครือญาติ สายตระกูล (แซ่) และการเคารพนับถือผู้อาวุโสในหมู่บ้าน ที่สำคัญได้แก่ คนเฒ่าคนแก่ หมอเมืองหรือปู่จารย์, หมอผี และผู้นำอื่นที่เป็นทางการได้แก่ ผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้านต่างๆ จึงทำให้การอยู่ร่วมกันในสังคมของลีซอบ้านขุนแจ๋เป็นแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ลีซอบ้านขุนแจ๋อยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ ไม่นิยมแยกครอบครัวเมื่อแต่งงานแล้ว ส่วนใหญ่ฝ่ายชายจะย้ายเข้าไปอยู่บ้านผู้หญิง จึงทำให้มีลักษณะครอบครัวใหญ่ สมาชิกในครอบครัวมากและมีการนับถือผู้อาวุโส หัวหน้าครอบครัวในหมู่บ้านส่วนใหญ่มีอายุประมาณ 31 - 50 ปี เนื่องจากผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัวในช่วงนี้ เริ่มมีการแยกครอบครัวออกมาจากพ่อแม่ชุดแรก ๆ ที่อพยพเข้ามาตั้งหมู่บ้าน (หน้า 47)

Political Organization

ระบบการปกครองในหมู่บ้านขุนแจ๋มี 2 ลักษณะ คือ การปกครองที่ไม่เป็นทางการ และการปกครองที่เป็นทางการ สำหรับการปกครองที่ไม่เป็นทางการ เนื่องจากลีซอเคารพนับถือผู้อาวุโสและให้ความสำคัญกับสายตระกูลหรือแซ่มาก ดังนั้น การปกครองในหมู่บ้านจึงถูกเชื่อมโยงโดยสายตระกูลแซ่ และญาติพี่น้องที่คอยดูแลซึ่งกันและกัน สายตระกูลแซ่ที่สำคัญในหมู่บ้านขุนแจ๋ คือ แสนลี่ แสนยาง แซ่จือ แสนยี่ ตามิ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในระบบการปกครองที่ไม่เป็นทางการนี้ หมอผีและปู่จารย์จะไม่มีความสำคัญในการปกครองแต่จะมีหน้าที่ในการเป็นผู้นำในการทำพิธีกรรมต่าง ๆ เท่านั้น ส่วนการปกครองที่เป็นทางการนั้น ในปัจจุบัน บ้านขุนแจ๋ใช้ระบบการปกครองแบบทางการแล้ว คือ มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน มีสมาชิก อ.บ.ต. ในหมู่บ้าน 2 คน นอกจากนี้ยังมีการตั้งคณะกรรมการหมู่บ้านฝ่ายต่าง ๆ ขึ้นเพื่อบริหารงานปกครองและพัฒนาหมู่บ้านด้วย (หน้า 52 - 53)

Belief System

ศาสนาและความเชื่อ : ลีซอในหมู่บ้านขุนแจ๋นับถือศาสนาพุทธ 53.6 % นับถือศาสนาคริสต์ นิกายคาทอลิก 64.4 % ปัจจุบันไม่มีสำนักสงฆ์ในหมู่บ้านแต่จะมีในหมู่บ้านใกล้เคียง และมีโบสถ์สำหรับเป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนาคริสต์ 1 แห่งที่บ้านขุนแจ๋ล่าง ในจำนวนผู้ที่นับถือศาสนาพุทธยังมีความเชื่อและนับถือผี มีการประกอบพิธีกรรมทุกปี แต่ในหมู่ลีซอที่ถือคริสต์จะไม่มีการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อแบบเดิมของลีซอ แต่เมื่อมีการจัดกิจกรรมในหมู่บ้านลีซอที่ถือคริสต์บางส่วนก็จะเข้าร่วมกิจกรรมด้วย ขณะที่บางส่วนที่เคร่งครัดก็จะไม่เข้าร่วมด้วยเลย ประเพณีและความเชื่อของลีซอ : ลีซอมีความเชื่อว่าในหมู่บ้านมีผีที่คอยคุ้มครองรักษาผู้คนในหมู่บ้านอยู่ตนหนึ่ง คือ อาปาหมู่ ซึ่งลีซอจะจัดพิธีเซ่นไหว้ทุกปี มีการปลูกสร้างเป็นศาลผีประจำหมู่บ้านในบริเวณป่าไม้เหนือหมู่บ้านขึ้นไป พื้นที่ป่าไม้รอบๆ ที่ตั้งศาลอาปาหมู่จะไม่มีใครกล้าไปตัดไม้เพราะเพราะเชื่อว่าจะทำใเกิดความเจ็บป่วยหรือตายได้ ในหมู่บ้านลีซอแต่ละแห่งจะมีอาปาหมู่เพียงที่เดียวเท่านั้น และจะก่อตั้งขึ้นพร้อมกับการตั้งหมู่บ้าน การเซ่นไหว้อาปาหมู่จะทำตรงกับวันตรุษจีนของทุกปี เพราะลีซออพยพมาจากจีน นอกจากนับถืออาปาหมู่แล้ว ลีซอยังนับถือเซ่นไหว้ผีอื่นๆ เช่น ผีป่า, ผีไร่, ผีบ้าน, และผีบรรพบุรุษด้วย อย่างไรก็ตาม พิธีเซ่นไหว้ผีอาปาหมู่หรือผีประจำหมู่บ้าน ถือว่าเป็นประเพณีที่สำคัญที่สุด (หน้า 47 - 48) นอกจากประเพณีประจำเผ่าลีซอที่สำคัญอย่าง "ข่อสซิอาสซึ" หรือ "วันกินวอ" ที่จะต้องมีประเพณีการเซ่นไหว้อาปาหมู่หรือผีหลวงประจำหมู่บ้านด้วยแล้ว ลีซอบ้านขุนแจ๋ ยังมีประเพณีที่สำคัญอื่นๆ ซึ่งได้แก่ พิธีปีใหม่น้อย, พิธีกินข้าวใหม่, การเลี้ยงผี และ พิธีเรียกขวัญ ด้วย (หน้า 49 - 50)

Education and Socialization

ในหมู่บ้านขุนแจ๋ มีโรงเรียนของรัฐ 2 แห่ง คือ โรงเรียนบ้านขุนแจ๋ และ โรงเรียนสอนภาษาจีนสำหรับเด็กที่เปิดสอนเฉพาะวันเสาร์และอาทิตย์โดยครูจีนฮ่อ 2 คน สำหรับโรงเรียนบ้านขุนแจ๋ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีอาคารเรียน 2 หลัง นักเรียนที่เรียนจบชั้น ป.6 แล้วส่วนใหญ่ก็ออกมาช่วยพ่อแม่ทำงานและไม่เรียนต่อ ส่วนรายที่ครอบครัวมีฐานะดี ก็จะได้ไปเรียนต่อที่โรงเรียนประจำอำเภอพร้าว หรือ โรงเรียนในตัวเมืองเชียงใหม่ และขณะที่บางส่วนจะได้รับทุนการศึกษาต่อจากองค์กรของศาสนาคริสต์ในหมู่บ้าน ผู้ที่มีโอกาสได้รับการศึกษาส่วนใหญ่เป็นเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 20 ปี ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัวมีโอกาสได้เรียนเพียง 23.7 % ขณะที่ 15.5 % มีโอกาสได้เรียนเพียง ป.4 อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ครอบครัวลีซอมีการส่งลูกหลานไปเรียนต่อมากขึ้น และบางครอบครัวสามารถส่งลูกไปเรียนที่อำเภอพร้าวและตัวเมืองเชียงใหม่ (หน้า 51)

Health and Medicine

ในปัจจุบัน สถานีบริการสาธารณสุขในหมู่บ้าน หรือ สถานีอนามัยประจำหมู่บ้านของบ้านขุนแจ๋ไม่มีหมอประจำอยู่เลย เพราะคนเดิมลาออกไปแล้ว ที่เป็นเช่นนี้เพราะในปัจจุบันหมู่บ้านขุนแจ๋ได้มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านประจำอยู่แล้ว นอกจากนี้ ยังสามารถเดินทางไปเข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลประจำอำเภอพร้าวและเวียงป่าเป้า ได้โดยใช้เวลาเพียง 30 นาที ด้วย (หน้า 51)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

เนื่องจากชนชาติลีซอถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ ลีซอลาย กับ ลีซอดำ ดังนั้น การแต่งกายของลีซอจึงมี 2 แบบตามลักษณะของกลุ่มด้วย สำหรับลีซอลาย ผู้ชายจะสวมกางเกงสามส่วน เป้ายาน ใช้สีฟ้า สีตองอ่อน ส่วนคนชราจะนิยมใช้สีดำ ผู้หญิงสวมกางเกงสีดำ มีเสื้อคลุมสีฟ้า สีน้ำเงิน สีตองอ่อน เสื้อที่สวมมีสีสันเป็นแถบเล็กติดที่หน้าอก ที่แขนเสื้อทั้งสองข้าง และใช้หางพู่ห้อยเป็นเครื่องประดับ ส่วนลีซอดำ ผู้ชายนิยมสวมกางเกงขายาวจรดข้อเท้า คล้ายคนจีน นิยมสีฟ้า สีตองอ่อนและสีดำ สวมเสื้อสีดำทำด้วยผ้ากำมะหยี่ ส่วนผู้หญิงนิยมสวมกระโปรงยาวเลยหัวเขา เป็นสีขาวกับสีดำสลับกันเป็นทางยาว เสื้อเป็นเสื้อแขนยาวสีม่วงหรือสีดำ ไม่นิยมสวมหมวกและไม่ใช้หางพู่ห้อยเป็นเครื่องประดับ (หน้า 40)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

สิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของลีซอ ได้แก่ (1) ภาษาของลีซอจัดอยู่ในภาษาตระกูลจีน - ธิเบต สาขาธิเบต - พม่า (2) การเคารพนับถือและให้ความสำคัญทางสายสัมพันธ์เครือญาติ สายตระกูล (แซ่) การเคารพนับถือผู้อาวุโสในหมู่บ้าน และการอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ (3) มีการนับถือทั้งศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์ นิกายคาทอลิก เคารพนับถืออาปาหมู่หรือผีหลวงประจำหมู่บ้านและผีต่าง ๆ ได้แก่ ผีป่า, ผีไร่, ผีบ้าน, และผีบรรพบุรุษ (4) มีประเพณีที่สำคัญคือ ประเพณีการเซ่นไหว้อาปาหมู่หรือผีหลวงประจำหมู่บ้านและประเพณีอื่นๆ ได้แก่ พิธีปีใหม่น้อย, พิธีกินข้าวใหม่, การเลี้ยงผี, และพิธีเรียกขวัญ (5) มีการแต่งกาย 2 แบบ คือ แต่งกายแบบ ลีซอลาย กับ การแต่งกายแบบ ลีซอดำ

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

รูปภาพ : กรอบแนวคิดในการวิจัย (หน้า 30), แสดงลักษณะอุณหภูมิเฉลี่ยประจำปี 2542(หน้า 41), แสดงลักษณะปริมาณน้ำฝนประจำปี 2542(หน้า 42), ศาลอาปาหมู่หรือผีหลวงประจำหมู่บ้านและหมอผี (หน้า 121), สภาพป่าไม้บริเวณที่ตั้งศาลอาปาหมู่ (หน้า 121), บริเวณป่าอนุรักษ์ของหมู่บ้าน พื้นที่ประมาณ 1,500 ไร่(หน้า 122), แสดงความสัมพันธ์ของการอนุรักษ์ป่าไม้ที่เกิดขึ้นในชุมชนบ้านขุนแจ๋ (หน้า 129) แผนที่ : แผนที่แสดงเขตอำเภอพร้าว (หน้า 43), แผนที่แสดงหมู่บ้านขุนแจ๋ (หน้า 44)

Text Analyst ธิกานต์ ศรีนารา Date of Report 01 พ.ย. 2555
TAG ลีซู, การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง