สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลาหู่,ระบบสังคม,การทำไร่หมุนเวียน,เชียงใหม่
Author Wongsprasert, Sanit
Title Lahu Argiculture and Society
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity ลาหู่ ลาหู่ ละหู่ ลาฮู, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) Total Pages 242 Year 2517
Source Department of Anthropology, University of Sydney
Abstract

งานวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะโต้แย้งเกี่ยวกับแนวคิดว่าการทำไร่หมุนเวียนเป็นการทำลายป่าไม้ จากการศึกษาพบว่าวิธีการทำไร่หมุนเวียนของลาหู่เป็นการทำการเกษตรกรรมที่มีความซับซ้อน พัฒนาเพื่อใช้ที่ดินบนพื้นที่สูงให้ได้ผลผลิตในการปลูกข้าวที่ดีและส่งผลให้สังคมสามารถดำรงวิถีชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นอิสระไม่ต้องพึ่งพากลุ่มภายนอก และผลผลิตอื่น ๆ เช่น พริก ฝิ่น ยังสามารถใช้ในการขายหรือแลกเปลี่ยนกับสินค้าอื่น ๆ ที่ต้องการ ด้วยเหตุนี้วิธีการทำการเกษตรของลาหู่ไม่ได้มีผลต่อการทำลายป่าไม้ เนื่องจากมีการหมุนเวียนการใช้พื้นที่ใเป็นวิถีชีวิตที่ประสบความสำเร็จในการจัดการและอยู่ร่วมกับธรรมชาติ (หน้า 242)

Focus

ศึกษารูปแบบการทำเกษตรกรรมของลาหู่แดง หมู่บ้าน Pang Fan ในลักษณะที่เป็นหลักฐานโต้แย้งแนวคิดที่ว่าการทำไร่หมุนเวียนบนพื้นที่สูงเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบการทำไร่หมุนเวียน และความเหมาะสมของการใช้พื้นที่ที่ทำให้กลุ่มสังคมลาหู่สามารถพึ่งพาตนเองได้ และเป็นอิสระจากภายนอก รวมถึงมีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสม (หน้า 1-5)

Theoretical Issues

งานวิจัยชิ้นนี้โต้แย้งแนวคิดการทำไร่หมุนเวียนเป็นการทำลายป่าไม้ ซึ่งแนวคิดนี้เกิดจากความเข้าใจผิด ซึ่งอาจจะเกิดจากไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการทำไร่หมุนเวียนที่ตีพิมพ์มากนัก การวิจัยในครั้งนี้จึงเป็นความพยายามในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบเกษตรกรรมของกลุ่มลาหู่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมเป็นวิถีชีวิตที่เหมาะสมสามารถเลี้ยงดูสมาชิกภายในครัวเรือนและเป็นอิสระ ไม่ต้องพึ่งพาทรัพยากรจากภายนอก และระบบการทำเกษตรกรรมแบบนี้มีความสัมพันธ์กับบริบททางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งคือลาหู่มีวิถีชีวิตที่พึ่งพิงกับธรรมชาติในการล่าสัตว์และหาพืชผัก จากป่า ถ้าหากป่าไม้หมดไปวิถีชีวิตของพวกเขาก็จะไม่สามารถดำรงอยู่ได้ (Cf, Hinton, 1968) ด้วยเหตุนี้ ลาหู่จึงมีระบบการจัดการการใช้ที่ดินที่จะไม่ครอบครองและทำการถางป่าโดยส่วนใหญ่จะทำไร่ในเฉพาะพื้นที่รอบ ๆ หุบเขา และที่สำคัญในการทำไร่หมุนเวียนจะไม่ทำอยู่ในพื้นที่เดียวติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะปล่อยให้ที่ดินได้รับความอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง อย่างไรก็ตามการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรอาจจะส่งผลต่อการทำเกตษรกรรมซึ่งต้องติดตามผลจากรายงานวิจัยอื่น ๆ ที่ศึกษาในพื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศไทยต่อไป ซึ่งข้อมูลที่มากขึ้นจะช่วยให้มีการเปรียบเทียบและการวิเคราะห์เพิ่มมากขึ้นต่อไป (หน้า 240-242)

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มลาหู่แดง บ้าน Pang Fan อ. พร้าว จ. เชียงใหม่ (หน้า 1)

Language and Linguistic Affiliations

ลาหู่พูดภาษาในกลุ่มตระกูลย่อยของ Lo loish ซึ่งเป็นสาขาของ Lolo-Burmese อยู่ในตระกูลภาษา ธิเบต-พม่า (Tibeto-Burman) มีสำเนียงแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มย่อยของลาหู่ ความแตกต่างของสำเนียงเกิดขึ้นในช่วง 50-60 ปีที่ผ่านมา โดยมีการยืมคำเมืองมาใช้เป็นต้น (หน้า 32)

Study Period (Data Collection)

ค.ศ.1966-1969 (หน้า 1) และ ค.ศ.1971 (หน้า ii)

History of the Group and Community

จากหลักฐานที่มีอยู่ลาหู่เข้ามาอยู่อาศัยในอาณาจักรสยามได้เป็นเวลากว่าร้อยปีที่ผ่านมาและมีการอพยพเข้ามาเพิ่มขึ้นในช่วงปี ค.ศ.1920 การอพยพเข้ามายังคงมีอยู่จนถึงปัจจุบัน ในปี ค.ศ. 1958-1960 5% ของลาหู่ที่หมู่บ้าน "Pang Fan" และ หมู่บ้านอื่น ๆ ใน อ. พร้าว อพยพมาจากพม่า อาจกล่าวได้ว่ากลุ่มลาหู่เป็นชนกลุ่มน้อยมีวิถีชีวิตด้วยการทำไร่หมุนเวียนบนพื้นที่สูง อาศัยอยู่ในเขตเทือกเขา บริเวณเขตแดนของ 4 ประเทศ คือ จีน พม่า ไทย และลาว มาหลายร้อยปี (หน้า 34-35)

Settlement Pattern

ลาหู่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณ ลองติจูดที่ 17-24 พบได้ในพื้นที่ทางเหนือของประเทศเวียดนาม มณฑลยูนนานในประเทศจีน ทางตะวันออกของแม่น้ำสาละวินตรงข้ามรัฐฉานในประเทศพม่า และได้มีการอพยพลงใต้ลงมายังภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งในประเทศไทยมีลาหู่กลุ่มต่างๆ อยู่ประมาณ 7 กลุ่ม ใน 5 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง และตาก โดยแต่ละกลุ่มการแต่งกายจะแตกต่างกัน (หน้า 28-31) บ้านเรือนของลาหู่สร้างด้วยไม้ไผ่ ยกพื้น และสร้างอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน (หน้า 32) หมู่บ้าน A และ B มีวัดอยู่บนภูเขาและหมู่บ้านอยู่ถัดลงมา และมีการต่อท่อส่งน้ำจากลำไม่ไผ่มาใช้ในหมู่บ้าน ทุกคนในหมู่บ้านใช้น้ำจากที่นี่ บ้านเรือนสร้างอยู่ติดกัน ระยะห่างประมาณ 2-10 เมตร แต่ละครอบครัวไม่มีพื้นที่หรือลานส่วนตัว แต่มีการสร้างรั้วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงเข้ามาภายในบ้าน ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 1 กิโลเมตรเป็นสถานที่สำหรับใช้เลี้ยงสัตว์เช่น หมู วัว ไก่ และควาย เป็นต้น พื้นที่เหล่านี้จะไม่ใช้ในการทำเกษตรกรรม นอกจากตัวหมู่บ้านมีหมู่บ้านเล็กอาศัยอยู่ถัดไป หากสัตว์เลี้ยงเข้าไปทำความเสียหายให้กับไร่ของหมู่บ้านเล็กเจ้าของจะต้องจ่ายค่าเสียหายเหล่านั้น (หน้า 46-50)

Demography

บ้าน Pang Fan มีจำนวนประชากร 111 คน เป็นชาย 55 คน และ หญิง 56 คน บ้านหลวง มีจำนวนประชากร 262 คน เป็นชาย 136 คน และ หญิง 126 คน (หน้า 37-38)

Economy

ลาหู่ส่วนใหญ่จะทำไร่หมุนเวียนโดยปลูกพืชหลัก 3 ชนิด คือ ข้าว พริก และฝิ่น นอกจากนี้ มีการปลูกพืชผักอื่นๆ ไว้กันในครอบครัว ฤดูการเพาะปลูกจะเริ่มขึ้นในเดือนมกราคม และเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนมีนาคม การใช้พื้นที่ในการเพาะปลูก ข้าวจะปลูกในที่ลุ่ม ใช้พื้นที่ประมาณ 2 ปีและหลังจากนั้นจะใช้ในการปลูกข้าวโพดเพื่อใช้ในการเลี้ยงสัตว์การปลูกฝิ่นพื้นที่สูงในหุบเขาที่มีน้ำอยู่ด้านล่าง พื้นที่ปลูกพริกและฝิ่นจะอยู่ใกล้หมู่บ้าน เนื่องจากสัตว์เลี้ยงจะไม่กินพืชผลเหล่านี้ การเพาะปลูกจะใช้แรงงานภายในครอบครัวเป็นหลักโดยครอบครัวที่มีลูกชายอาจจะขยายพื้นที่เพาะปลูกไปยังบริเวณป่าได้ เนื่องจากมีแรงงานในการถางป่า แต่สำหรับครอบครัวที่มีลูกผู้หญิงพื้นที่เพาะปลูกจะเป็นบริเวณพุ่มไม้ที่ไม่มีต้นไม้ใหญ่มากนัก (หน้า 144) สำหรับการเตรียมการเพาะปลูกจะเป็นงานของผู้หญิงและเด็ก ๆ ในช่วงเวลานี้ผู้ชายจะเตรียมสร้างกระท่อมในไร่ สำหรับการปลูกพริกผู้ชายเป็นคนขุดหลุมและผู้หญิงจะหยอดเมล็ดและใช้ดินกลบด้วยเท้า การเก็บเกี่ยวผู้ชายจะเก็บข้าวโพดครึ่งวันและไปทางานอย่างอื่นต่อ สำหรับการเก็บเกี่ยวพริกจะเริ่มในช่วงกันยายนเป็นต้นไปโดยเด็ก ๆ จะเก็บพริกและนำใส่ตะกร้ามาตากไว้ที่กระท่อม สำหรับการเก็บเกี่ยวข้าวจะเริ่มในช่วงเดือนตุลาคม เมื่อเก็บเกี่ยวจะตากไว้ให้แห้งก่อนเก็บเข้ายุ้งฉาง สำหรับฝิ่นเป็นพืชสุดท้ายของการเก็บเกี่ยวช่วงต้นเดือนธันวาคมเป็นต้นไป สำหรับการเก็บฝิ่นจะใช้มีกรีดเอายางออกมาจากดอกฝิ่นซึ่งเป็นงานสำหรับผู้ใหญ่เท่านั้นเด็ก ๆ ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในไร่ฝิ่น (หน้า 85-94) นอกจากกการทำไร่ลาหู่จะล่าสัตว์โดยจะนำหนังสัตว์ เขากวางไปขายหรือแลกเปลี่ยน และหาของป่าพืชผักเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน (หน้า 120) การแลกเปลี่ยนและการซื้อขายสินค้าเช่น ข้าว และสัตว์เลี้ยง จะมีทั้งซื้อขายและแลกเปลี่ยน แต่สำหรับผักจะเป็นการขายโดยเฉพาะ ผลผลิตที่จะนำมาขายจะเป็นผลผลิตส่วนเกินภายในครอบครัวจะไม่ผลผลิตที่ใช้ในครัวเรือนออกมาขาย (หน้า 206-208)

Social Organization

ครัวเรือนเป็นสถาบันพื้นฐานของสังคมลาหู่แดง ซึ่งสมาชิกในครัวเรือนจะเป็นเครือญาติกัน ประกอบด้วย สามี ภรรยา และลูกๆ ซึ่งอาจจะมีที่แต่งงานแล้ว ลาหู่แดงมีคำศัพท์ที่แยกให้เห็นความแตกต่างระหว่าง ครัวเรือน และ ครอบครัว "te g'o" คือ ครัวเรือน ซึ่งอาจจะมีหลายครอบครัว ซึ่งลาหู่แดงเรียกว่า "te chi" ประกอบด้วย ด้วย สามี ภรรยา "ครัวเรือน" จึงเป็นหน่วยเศรษฐกิจที่สำคัญเพราะเป็นหน่วยผลิต สมาชิกผู้ชายจะเป็นหัวหน้าครอบครัวและเมื่อหัวหน้าครอบครัวตายลูกชายหรือลูกเขยจะเป็นหัวหน้าครอบครัวคนต่อไป การนับญาติของลาหู่แดงจะนับทั้งฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดา โดยใช้คำเรียกที่เหมือนกันกับญาติทั้งสองฝ่าย คำเรียก "aw vi" เป็นคำเรียกญาติที่อายุมากกว่า "aw nyi" เป็นคำเรียกญาติที่อายุน้อยกว่า (หน้า 40-43) การแต่งงานจะมีการแต่งภายในกลุ่มย่อยของลาหู่ และแต่งงานนอกกลุ่ม เช่น แต่งกับคนขมุ คนเมือง และ จีนฮ่อ (Yunnanese ) ซึ่งเป็นกลุ่มที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูงเช่นเดียวกัน (หน้า 32) ไม่แต่งในสายตระกูลเดียวกัน แต่สำหรับลูกพี่ลูกน้องอาจจะสามารถแต่งกันได้แต่จะเป็นลูกพี่ลูกน้องคนที่ 3 และจะไม่แต่งงานกับพี่สาวของภรรยา แต่ถ้าต้องการแต่ง จะต้องหย่าก่อนที่ภรรยาจะตาย ภายหลังการแต่งงานผู้ชายจะต้องไปอยู่บ้านครอบครัวฝ่ายหญิงทำงานให้กับครอบครัวเป็นระยะเวลาประมาณ 2 ปี พวกเขาจะได้รับการสั่งสอนในการดูแลครอบครัว เลี้ยงดูบุตร การทำเครื่องทางการเกษตร และการประกอบพิธีกรรมเซ่นไหว้ผี ภายหลังครบกำหนด 2 ปีจะกลับไปอยู่บ้านฝ่ายชายอีก 1 ปี และภายหลังจากนั้น จะกลับมาอยู่กับครอบครัวฝ่ายหญิงอีกครั้งมากกว่า 9 ปีขึ้นไป การหย่าร้างเกิดขึ้นได้โดยฝ่ายชายมักจะอ้างว่าครอบครัวฝ่ายหญิงใช้งานหนัก เป็นต้น (หน้า 45)

Political Organization

หมู่บ้านจะมีผู้นำทางการปกครองและมีผู้นำทางศาสนาช่วยกันดูแลความสงบสุขของชุมชน แต่สำหรับในหมู่บ้านเล็ก ๆ จะไม่มีผู้นำแต่มีผู้อาวุโสดูแล และจะเข้าร่วมพิธีกรรมกับหมู่บ้านใหญ่ที่อยู่ใกล้เคียง (หน้า 52-53) ปัจจุบัน การปกครองท้องถิ่นจากรัฐบาลไทยได้เข้าไปมีอิทธิพลในหมู่บ้าน โดยมีการแต่งตั้งกำนันประจำตำบล โดย 1 ตำบลจะมีหมู่บ้านประมาณ 10 หมู่บ้านขึ้นไป หมู่บ้านของลาหู่ถูกจัดเป็นหมู่บ้านที่ 10 ของตำบลประทุม อ. พร้าว จ.เชียงใหม่ แต่พื้นที่หมู่บ้านไม่ได้ครอบคลุมพื้นที่ทำการเกษตร ด้วยเหตุนี้มีบางครั้งที่พื้นที่ทางการเกษตรของหมู่บ้านอยู่ในเขตหมู่บ้านอื่น (หน้า 56-57)

Belief System

ลาหู่นับถือผีบรรพบุรุษ เทพเจ้าและอำนาจเหนือธรรมชาติต่าง ๆ ในหมู่บ้านมีที่ประกอบพิธีกรรมอยู่บนภูเขา บริเวณโดยรอบจะมีธงสีเหลือง และสีขาว อยู่บนเสาไม้ไผ่ ซึ่งธงเหล่านี้จะประดับที่บ้านของผู้นำหมู่บ้าน และผู้นำทางศาสนาเช่นเดียวกัน โดยมีความเชื่อว่าธงจะนำวิญญาณที่ดีมาคุ้มครองหมู่บ้าน และขับไล่วิญญาณชั่วร้ายออกไป ในทุกปีผู้นำทางศาสนาจะประกอบพิธีเพื่อเซ่นไหว้เทพเจ้าสูงสุด คือ Gui Sha เพื่อให้หมู่บ้านได้รับความสงบสุขและผลผลิตทางการเกษตรอุดมสมบูรณ์ (หน้า 48-50) พิธีกรรมเกี่ยวกับการเกษตรกรรม ในแต่ละขั้นตอนของการเพาะปลูกจะมีการทำพิธีกรรมจนเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยว เพื่อเซ่นไหว้เทพเจ้า และอำนาจเหนือธรรมชาติต่าง ๆ ให้ผลผลิตอุดมสมบูรณ์ พิธีกรรมเริ่มการเพาะปลูกเรียกว่า Heh mo ca ซึ่งเป็นขั้นตอนของการตัดต้นไม้จะมีการสวดเพื่อบอกกล่าวต่อเทพเจ้าแห่งขุนเขา (Hill Spirit) เมื่อเสร็จพิธีก็จะจัดเตรียมพื้นที่ได้ในวันต่อไป เมื่อเริ่มทำการถางและเอาต้นไม้ใหญ่ออกจะมีการทำพิธีอีกครั้งเรียกว่า Jaw te ve meh jaw ve เพื่อขับไล่วิญญาณที่อยู่ในต้นไม้ออกไป ภายหลังเสร็จพิธีกรรมนี้จะแน่ใจได้ว่าสามารถทำงานในไร่ต่อไปได้อย่างปลอดภัย เมื่อทำการเผาก็จะมีการทำพิธีเพื่อบอกกล่าวเทพเจ้าแห่งขุนเขาให้รับรู้เพื่อให้การเผาเป็นไปด้วยดี ถ้าการเผาไม่ดีเจ้าของที่ดินจะต้องเตรียมพื้นที่อีกครั้ง เพื่อให้พร้อมต่อการเพาะปลูกอาจจะเป็น 2-3 วันหรือเป็นอาทิตย์ เมื่อเผาเสร็จผู้ชายจะเก็บไม้ใหญ่ออกและผู้หญิงจะเตรียมการเพาะปลูก ภายหลังเมื่อมีการเพาะปลูกจะต้องเซ่นไหว้เพื่อให้เทพเจ้าคอยดูแลไม่ให้พืชผลเสียหายทั้งจากภัยธรรมชาติและจากสัตว์ แมลงต่างๆ และเมื่อถึงฤดูการเก็บเกี่ยวจะทำพิธีเพื่อขอบคุณเทพเจ้าที่ให้ผลผลิตอุดมสมบูรณ์ (หน้า 233-237)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ตำนานทำไมลาหู่ถึงทำไร่หมุนเวียน นานมาแล้ว เทพเจ้า Gui Sha เรียกกลุ่มคนชาติพันธุ์ต่าง ๆ มาพบเพื่อให้พร ลาหู่กับคนเมืองมาถึงพร้อมกัน Gui Sha ให้เลือกระหว่าง ขวาน กับคันไถ ลาหู่เลือกขวาน จึงทำไร่หมุนเวียนบนพื้นที่สูง คนเมืองเลือกคันไถจึงทำนาในที่ลุ่ม และเมื่อ Gui Sha ให้พรเสร็จ ลาหู่นำพรที่ได้ใส่ตะกร้า ส่วนคนเมืองใส่ไว้ในตะกร้าที่มีฝาปิด เมื่อเดินทางกลับ ลาหู่ทำตะกร้าตกพรหกออกจากตะกร้าจึงไม่ได้พรเต็มที่ พืชผลที่ปลูกได้ผลผลิตน้อย แต่ตะกร้าของคนเมืองปิดพืชพรรณที่ปลูกจึงได้ผลผลิตดี และอยู่มาวันหนึ่ง Gui Sha ปลอมตัวลงมาเป็นคนจนและได้พบกับลาหู่ คนเมือง และ กะเหรี่ยง และขอให้เดินทางไปด้วยกันแต่ทั้งสามกลุ่มไม่สามารถไปได้ เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว และเมื่อ Gui Sha พบชาวจีน และจีนฮ่อ และขอให้พวกเขาเดินทางไปด้วย ทั้งสองกลุ่มตกลงจึงกลายเป็นพ่อค้าร่ำรวยและไม่ต้องทำงานหนักในไร่ ส่วนลาหู่ต้องทำไร่หมุนเวียนมาจนถึงปัจจุบัน (หน้า 230-232)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ความสัมพันธ์ระหว่างลาหู่และคนเมือง ส่วนใหญ่จะมีกลุ่มคนเมืองเข้ามาซื้อขายสินค้าในหมู่บ้านโดยเดินเท้าเข้ามา โดยจะนำของใช้จากตลาดในเมืองมาขายและซื้อผลผลิตจากหมู่บ้านกลับออกไป มีมากที่เข้ามาซื้อฝิ่น ส่วนใหญ่พ่อค้าจะเข้ามาในช่วงที่มีเทศกาลประจำหมู่บ้าน จะพักอยู่ภายในหมู่บ้าน 1 คืนและกลับออกไป นอกจากนี้ความสัมพันธ์ระหว่าลาหู่และคนเมืองมีคำเรียกเฉพาะว่า "เสี่ยว" ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรต่อกัน ช่วงที่หมู่บ้านคนเมืองมีเทศกาลจะบอกไปยังลาหู่ให้เข้ามาร่วม โดยจะมาอาศัยและพักอยู่ที่บ้านคนเมืองซึ่งจะดูแลและหาอาหารให้กินอย่างดี เมื่อลาหู่กลับก็จะหุงข้าวให้ไปกินระหว่างทาง ลาหู่มีความคิดเกี่ยวกับคนเมืองว่าเป็นกลุ่มคนที่มีความรู้และติดต่อกับโลกภายนอกมากกว่า เมื่อพวกเขาไปเยี่ยมคนเมืองก็จะได้รับรู้ข่าวสารจากโลกภายนอกมากขึ้น (หน้า 216-227)

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

การเกษตรกรรม 1. หลักการเลือกพื้นที่ในการเพาะปลูก ลาหู่มีความรู้ในการเลือกพื้นที่ในการเพาะปลูกให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และชนิดของดิน และอยู่ไม่ห่างจากแหล่งน้ำมากนัก เพื่อให้ได้ผลผลิตที่อุดมสมบูรณ์และมีกการเลือกพื้นที่ในการเพาะปลูกตามลักษณะของพืชแต่ละชนิด เช่น การเพาะปลูกข้าว 78.9% จ ะปลูกในพื้นที่ป่า 11% ปลูกในพื้นที่พุ่มไม้ 10.1% และปลูกในพื้นที่เพาะปลูกปีที่แล้ว การเพาะปลูกพริก 55.6% ปลูกในพื้นที่ป่า 44.4% และปลูกในพื้นที่เป็นพุ่มไม้ การเพาะปลูกฝิ่น 12.9% ปลูกในพื้นทีป่า 19.2% ปลูกในพื้นที่พุ่มไม้ และ 67.9 ปลูกในพื้นที่เพาะปลูกปีที่แล้ว (หน้า 64-70) 2. การเพาะปลูกข้าวไร่ จะมีการเลือกพื้นที่ในช่วงก่อนเดือนมกราคมและก่อนเทศกาลปีใหม่ โดยส่วนใหญ่หัวหน้าครอบครัวจะเป็นคนตัดสินใจว่าพื้นที่ไหนเหมาะสมต่อการเพาะปลูกในแต่ละปี การเลือกพื้นที่ปกติจะไม่เป็นเรื่องของหมู่บ้าน A หมู่บ้านเดียว แต่หมู่บ้าน B จะเข้าร่วมด้วยเช่นกัน เช่นในปี ค.ศ. 1968 6 ครัวเรือนจาก 12 ครัวเรือนของดหมู่บ้าน A เข้าร่วมกับ หมู่บ้าน B ในการเลือกพื้นที่ในการทำการเพาะปลูกข้าวไร่ ซึ่งในที่สุดทั้งสองหมู่บ้านมีพื้นที่เพาะปลูกอยู่ในเขตแดนเดียวกัน การเพาะปลูกข้าวถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุดและจะต้องได้รับการดูและในการเพาะปลูกตลอดทั้งปี (หน้า 71-73) 3. เทคนิคการเพาะปลูก การใช้เครื่องมือหลายชนิดในการเพาะปลูก เช่น ขวาน ในการตัดต้นไม้ใหญ่ มีดสำหรับตัดต้นไม้ และไม้ไผ่ และใบมีดใส่ด้ามไม้ไผ่ทำเป็นเครื่องมือสำหรับหยอดเมล็ด ฯลฯ การถางพื้นที่จะเริ่มทำจากพื้นที่ลาดชันน้อยและถางขึ้นมาในที่ลาดชันมากขึ้น และเมื่อตัดต้นไม้ใหญ่จะล้มลงใส่ต้นไม้หรือพุ่มไม้เล็กช่วยให้การเคลียร์พื้นที่เป็นไปได้ง่ายขึ้น แต่หากต้นไม้ใหญ่ที่ขึ้นสูง และไม่มีกิ่งก้านสาขามากนักก็จะปล่อยไว้ไม่ตัดทิ้ง ภายหลังจากการเคลียร์พื้นที่สำหรับเพาะปลูกข้าว พริก และ ฝิ่น ไร่ข้าวโพดจะเป็นพื้นที่สุดท้ายที่จะถาง และพื้นที่ที่เคยใช้ในการปลูก ข้าวจะ ใช้ในการปลูกพืชชนิดอื่น ๆ การเผาจะเป็นหน้าที่ของผู้ชาย โดยส่วนใหญ่จะปล่อยพื้นที่ให้แห้งประมาณ 1 เดือนก่อนที่จะทำการเผา จะทำการเผาก่อนตอนเที่ยงและใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง การเผาจะต้องให้การระมัดระวังในเรื่องของลม พื้นที่ปลูกข้าวหลากมีหลายพื้นที่จะทำการเผาแต่ละวันต่างกัน การเพาะปลูกจะเริ่มต้นในช่วงต้นเดือนเมษายนหลังจากที่การเผาเสร็จ ผู้หญิงและเด็กๆ จะทำการปลูกข้าวโพด ฟักทอง ผักต่าง ๆ ในช่วงระยะเวลานี้ผู้ชายจะทำการสร้างกะท่อม สำหรับการปลูกข้าวจะเริ่มในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม เมื่อเสร็จการปลูกข้าวก็จะเริ่มการเพาะปลูกพริก ต่อไปและต่อด้วยการเพาะปลูกฝิ่น การเก็บเกี่ยวข้าวโพดจะเริ่มเก็บเกี่ยวในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนตุลาคม หลังจากนั้นจะเป็นการเก็บเกี่ยวข้าวเบา และต่อด้วยการเก็บเกี่ยวพริกในช่วงเดือนพฤศจิกายน สำหรับการเก็บเกี่ยวข้าวจะเริ่มต้นในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน และฝิ่นเป็นพืชสุดท้ายที่ทำการเก็บเกี่ยว (หน้า 75-95) 4. สิทธิการใช้ที่ดินและการเว้นช่วงเวลาเพาะปลูก ในการเพาะปลูกข้าว พริก และข้าวโพดในแต่ละครัวเรือนจะไม่ใช้พื้นที่ถาวรในการเพาะปลูก ส่วนใหญ่จะใช้พื้นที่ประมาณ 1 ปีแล้วเปลี่ยนไปใช้ที่อื่น สำหรับการปลูกฝิ่นอาจใช้พื้นที่เดิมนานเท่าที่เขาต้องการ แต่เมื่อผลผลิตได้น้อยก็จะเปลี่ยนไปใช้ที่อื่นเช่นกัน จึงไม่มีการเป็นเจ้าของที่ดินและไม่มีการซื้อขายที่ดินกันในสังคมลาหู่ ภายหลังฤดูเก็บเกี่ยวเมื่อและไม่ใช้พื้นที่เพาะปลูกเหล่านั้นแล้วจะปล่อยทิ้งไว้ตามธรรมชาติ พื้นที่ไว้ประมาณ 5-10 ปี แลัวกลับมาใช้พื้นที่อีกครั้ง (หน้า 104-107) โดยสรุปแล้วลาหู่แดงที่บ้าน "Pang Fan" ส่วนใหญ่จะทำการเพาะปลูกข้าว แม้ว่าจะเป็นงานหนักมากกว่าการปลูกพืชชนิดอื่น ๆ เนื่องจากข้าวมีความหมายในการเป็นผลิตที่สามารถเลี้ยงดูครัวเรือน และเป็นอิสระไม่ต้องขึ้นกับสังคมภายนอก ข้าวจึงไม่ใช่เพียงผลผลิตทางการเกษตรเท่านั้นแต่มีความเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมความเชื่อในสังคมซึ่งพืชชนิดอื่น ๆ มีความเกี่ยวข้องน้อยกว่า (หน้า 108-109)

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst ชัชฎาวรรณ แก้วทะพยา Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG ลาหู่, ระบบสังคม, การทำไร่หมุนเวียน, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง