สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ม้ง,ประวัติ,วัฒนธรรม,วิถีชีวิต,ความเชื่อ,เชียงราย
Author Boyes, Jon and S.Pirapan (Compiled)
Title Hmong Voices
Document Type หนังสือ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity ม้ง, Language and Linguistic Affiliations ม้ง-เมี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 87 Year 2533
Source จัดพิมพ์โดย Trasvin Publications Limited Partnership
Abstract

พรรณนาวิถีชีวิต วัฒนธรรม และความเชื่อด้านต่าง ๆ ของม้งในหมู่บ้าน กิ่วกาญจน์ (Kiew Khan) อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จากสายตาและผ่านการบอกเล่าของม้งเอง เพื่อให้บุคคลภายนอกที่ไปเยือนหรือพบปะม้ง เข้าใจและรู้จักม้งดีขึ้นโดยไม่ถูกบดบังด้วยอคติจากความคาดหวังหรือความตื่นตาตื่นใจ

Focus

เรียบเรียงวิถีชีวิต วัฒนธรรม และความเชื่อของม้งในหมู่บ้านกิ่วกาญจน์ (Kiew Khan) อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงรายตามคำบอกเล่าในสายตาของม้งเอง (หน้า 2-3)

Theoretical Issues

ผู้เขียนไม่ได้ระบุชัดเจนว่า ใช้แนวทฤษฎีอะไรเป็นกรอบหรือหลักในการจัดระเบียบข้อมูล ซึ่งรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจสภาพวัฒนธรรม จากสายตาของม้งเอง โดยไม่ถูกบดบังด้วยอคติจากความคาดหวังหรือความตื่นตาตื่นใจของคนนอกที่เข้าไปเยือนหมู่บ้านม้ง (หน้า 1-3, 81-83)

Ethnic Group in the Focus

ผู้เขียนหนังสือเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ที่สัมภาษณ์ว่า "ม้ง" เป็นม้งขาว และ ผู้ให้สัมภาษณ์ก็เรียกตัวเองว่า "ม้ง" (ผู้เขียนกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่าคนไทยและคนจีนรู้จักม้งในชื่อว่า "แม้ว (Meo)" หรือ "เมียว (Miao)" (หน้า 5)

Language and Linguistic Affiliations

ม้งในหมู่บ้านที่ไปสัมภาษณ์พูดภาษาม้งแต่มีม้งจำนวนมากในหมู่บ้านพูดภาษาไทยได้ (หน้า 2) ภาษาม้งอยู่ในตระกูลภาษา "Sino-Tibetan" และยืมคำในภาษายูนนาน (Yunnanese) ของจีนมาใช้เป็นจำนวนมาก (หน้า 7)

Study Period (Data Collection)

ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าศึกษาช่วงเวลาใดบ้าง ระบุแต่เพียงว่าหนังสือเล่มนี้เป็นการบรรณาธิการครั้งที่ 2 (second edition) จากงานเขียน Hmong Voices ของปี ค.ศ.1988 และได้เพิ่มเติมข้อมูลการสัมภาษณ์ที่ได้รวบรวมระหว่างปี ค.ศ.1989 ถึง เดือนมกราคมปี ค.ศ.1990 เข้าไว้ด้วย ผู้เขียนระบุว่าผู้วิจัยอาศัยอยู่ในหมู่บ้านกิ่วกาญจน์ (Kiew Khan) มากกว่าสองปี (หน้า Preface)

History of the Group and Community

ประวัติม้งแถบทางเหนือของไทย : คนไทยและคนจีนเรียก "ม้ง" กันว่า "แม้ว" (Meo) หรือ "เมียว" (Miao) อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของจีนมากว่า 2,000 ปี เมื่อจีนตกอยู่ภายใต้การปกครองของชาวแมนจูในศตวรรษที่ 18 ม้งถูกบีบบังคับอย่างมาก และเมื่อพ่ายแพ้การต่อสู้ในทศวรรษที่ 1870 ม้งจำนวนมากอพยพหนีลงใต้ไปตั้งถิ่นฐานบนภูเขาสลับซับซ้อนในประเทศลาว การก่อตั้งถิ่นฐานในลาวได้ขยายไปเรื่อย ๆ จนถึงต้นศตวรรษที่ 20 ม้งกลุ่มต่าง ๆ เคลื่อนย้ายลงใต้เรื่อย ๆ จนถึงแถบภูเขาทางเหนือของประเทศไทย ระหว่างทศวรรษที่ 1960 จนถึงทศวรรษที่ 1970 เหตุการณ์ทางการเมืองในลาวมีความผันผวน จนมีการต่อสู้กัน ม้งส่วนใหญ่ในลาวเป็นพันธมิตรกับอเมริกาซึ่งหนุนหลังฝ่ายที่นิยมกษัตริย์ ในปี ค.ศ.1975 (พ.ศ.2518) ขบวนการประเทศลาว (ชาตินิยมคอมมิวนิสต์ที่สนับสนุนโดยเวียดนาม) เป็นฝ่ายชนะ ม้งในลาวกลัวถูกจับและถูกยึดทรัพย์สิน จึงเกิดการอพยพครั้งใหญ่เข้าสู่ประเทศไทย บางส่วนเข้าไปอยู่ร่วมกับม้งที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยอยู่ก่อนแล้ว อีกกลุ่มหนึ่งถูกส่งเข้าค่ายผู้อพยพบริเวณชายแดนไทย (หน้า 5-7, 20-24, 27-30) หมู่บ้านกิ่วกาญจน์ (Kiew Khan) ก่อตั้งเมื่อ 20 ปีก่อน โดยเริ่มต้นจาก 7 ครอบครัวที่อพยพมาจากดอยหลวงในลาว (Doi Luang Prae Muang Mountain) ซึ่งอยู่ใกล้กับหมู่บ้านกิ่วกาญจน์ (Kiew Khan) ปัจจุบันมีมากกว่าหนึ่งร้อยครอบครัว

Settlement Pattern

ม้งส่วนใหญ่มักจะตั้งหมู่บ้านอยู่บนเขาสูงด้านที่อับลม หากเป็นไปได้จะมีเนินเขาเล็ก ๆ 2- 3 ลูกที่อยู่ใกล้ ๆ บังไว้ บ้านจะตั้งหันหน้าไปทางลาดเขา อยู่กันเป็นกลุ่มในครอบครัวหรือตระกูลเดียวกัน ในอดีตขนาดของหมู่บ้านจะขึ้นกับที่ทำกิน เมื่อครอบครัวขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ที่ทำกินรอบ ๆ หมู่บ้านลดน้อยและเสื่อมโทรมลง จะมีการเคลื่อนย้ายไปถางและเผาป่าตั้งที่อยู่ใหม่ แต่ปัจจุบันรัฐบาลไทยไม่อนุญาตให้ทำเช่นนั้น ซึ่งหมู่บ้านกิ่วกาญจน์ (Kiew Khan) ก็ประสบปัญหานี้เช่นกัน หมู่บ้านไม่มีไฟฟ้าใช้ แต่มีน้ำสะอาดส่งมาตามท่อจากน้ำตกให้ใช้อย่างพอเพียง บ้านม้งสร้างด้วยไม้ลวกหรือไม้กระดาน ขึ้นกับวัสดุที่มีให้ใช้ หลังคามุงด้วยหญ้าใบใหญ่หรือแผ่นไม้วางซ้อนกัน พื้นบ้านเป็นพื้นดิน บ้านม้งไม่มีหน้าต่าง แสงจะส่องเข้าทางบานประตูที่เปิด และผ่านเข้าไปตามรูและรอยแตกของฝาบ้าน หน้าบ้านจะไม่มีสิ่งปลูกสร้างอื่นบัง ตามความเชื่อที่ว่าวิญญาณดี ๆ จะเข้าบ้านเป็นเส้นตรง ภายในบ้านม้งจะประกอบด้วยห้องโถงใหญ่ 1 ห้อง ซึ่งจะมีเตาไฟและแท่นบูชาวิญญาณตั้งอยู่ ห้องนี้ใช้รับประทานอาหารและต้อนรับแขก ห้องนอนสำหรับพ่อแม่และลูก ๆ จะอยู่ตามแนวผนังสองด้าน ลูกสาวคนโตที่ไม่ได้แต่งงานของครอบครัวม้งขาว มักจะมีห้องส่วนตัวของตนเอง ซึ่งจะอยู่ด้านขวาของประตูหน้า ตำแหน่งนี้ ง่ายต่อการที่ผู้ชายจะเข้าถึงและมาขอแต่งงาน (หน้า 9-11)

Demography

ผู้เขียนไม่ได้ระบุว่าหมู่บ้านกิ่วกาญจน์ (Kiew Khan) มีประชากรกี่คน ระบุเพียงว่าปัจจุบันมีกว่าหนึ่งร้อยครอบครัวที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน แต่ภาพรวมของม้งในประเทศไทยผู้เขียนได้ระบุว่ามีม้งกว่า 80,000 คนในประเทศไทย อาศัยอยู่บริเวณภูเขาในจังหวัดทางเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ จังหวัดตาก และยังมีม้งจำนวนมากอยู่ในค่ายผู้อพยพ ม้งส่วนใหญ่คิดเป็นตัวเลขแล้วจำนวนมากกว่า 4 ล้านคนอาศัยอยู่ในจีน และอีกหลายพันคนยังคงอยู่ในประเทศลาว (หน้า 3,6-7)

Economy

มีระบบการผลิตแบบทำไร่เลื่อยลอยในลักษณะโค่นถางและเผาต้นไม้มาเป็นอาหารพืชที่ปลูก (slash and burn) ข้าวโพดและข้าวไร่เป็นพืชสองชนิดที่สำคัญที่สุด ในหมู่บ้านกิ่วกาญจน์ (Kiew Khan) ปลูกข้าวบริโภคในครอบครัว ข้าวโพดขายให้พ่อค้าที่เชียงของ นอกจากนี้มีพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ ได้แก่ กาแฟ ชา ถั่วลิสง ผลไม้และผัก เป็นต้น ฝิ่นเป็นพืชทำเงินที่นิยมปลูกกันมานานในอดีต แต่ปัจจุบันลดน้อยลงมาก มีการเลี้ยงสัตว์ เช่น แม่วัว ไก่ หมู เป็นต้น และล่าสัตว์ป่า เช่น หมูป่า กวาง ฯลฯ ไว้บริโภคในครอบครัว หากมีจำนวนมากจะนำไปขาย มีการผลิตเครื่องประดับเงิน งานฝีมือและงานช่างอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ไว้ใช้กันเองภายในหมู่บ้าน โลหะเงิน (silver) ถือว่ามีค่าใช้แลกเปลี่ยนเป็นค่าบริการหรือสิ่งของแทนเงินได้ และยังมีม้งจำนวนมากสะสมความมั่งคั่งในรูปของโลหะเงิน ครอบครัวที่ร่ำรวยจะมีเครื่องมือการผลิต เช่น เครื่องฉีดยาฆ่าแมลง เครื่องนวดข้าวขนาดเล็กที่เคลื่อนย้ายได้ เป็นต้น ที่นิยมมากที่สุดคือรถปิคอัพโตโยต้า เพื่อใช้ขนพืชผลไปขายในตลาด และใช้ขนส่งคน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยการผลิตที่สำคัญคือที่ดิน (หน้า17-19, 49-52, 61-66)

Social Organization

ครัวเรือนแบบครอบครัวขยายเป็นหน่วยสังคมพื้นฐานในชีวิตสังคมของม้ง และการเคารพผู้มีอายุเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ผู้ชายที่อาวุโสที่สุดของครอบครัวมีอำนาจอย่างไม่จำกัดเหนือสมาชิกทุกคนในครอบครัว และผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะอยู่ใต้อำนาจผู้ชาย การตั้งถิ่นฐานหลังแต่งงานของม้งเป็นแบบปิตาลัย (Patrilocal) เมื่อแต่งงานแล้วฝ่ายหญิงจะย้ายไปอยู่บ้านฝ่ายชาย ผู้ชายม้งสามารถมีภรรยาได้หลายคน การแต่งงานกันภายในตระกูลเป็นสิ่งต้องห้าม การแต่งงานกับคนนอกเผ่ามีน้อยแต่ไม่มีข้อห้าม ชายหญิงม้งสามารถพบปะหาคู่ในช่วงงานปีใหม่ หลังงานปีใหม่ ผู้ชายเป็นฝ่ายขอผู้หญิง หากยินยอมก็จะไปขอกับพ่อแม่ฝ่ายหญิง หากยังไม่มีเงินแต่งงาน ก็สามารถอยู่ด้วยกันก่อนได้ บางคู่อยู่ด้วยกัน 2-3 ปีจนมีลูกแล้วจึงจัดงานแต่งงาน ในปัจจุบัน หลังจากชายหญิงพบกัน หากชอบกัน ผู้ชายสามารถไปเยี่ยมฝ่ายหญิงที่บ้านตอนเที่ยงคืน หลังจากพ่อแม่ฝ่ายหญิงเข้านอนแล้ว พวกเขาสามารถนอนด้วยกันได้ และทำได้บ่อย ๆ หากภายหลังคนใดคนหนึ่งเกิดเปลี่ยนใจ พวกเขาสามารถตัดความสัมพันธ์กันได้ ซึ่งส่วนใหญ่ฝ่ายชายมักเป็นฝ่ายบอกเลิก หากฝ่ายหญิงเกิดตั้งท้อง พวกเขาต้องแต่งงานกัน หากฝ่ายชายไม่ยอม ก็ต้องให้เงินแก่ฝ่ายหญิงไว้เลี้ยงดูลูก ผู้ชายส่วนใหญ่จะแต่งงานประมาณอายุ 17-18 ปี ผู้หญิงอายุประมาณ 14 ปีขึ้นไป มีผู้หญิงบางคนให้สัมภาษณ์ว่าไม่อยากแต่งงาน เพราะผู้หญิงที่แต่งงานไปมักต้องทำงานหนักมากกันทุกคน ทั้งงานในไร่ในบ้านและเลี้ยงลูกด้วย (หน้า 11-13, 36-39, 67-71)

Political Organization

หมู่บ้านกิ่วกาญจน์ (Kiew Khan) มีหัวหน้าหมู่บ้าน 1 คน และผู้ช่วยอีก 3 คน ทั้ง 4 คนได้รับเลือกโดยเห็นชอบจากคนในหมู่บ้าน มีโรงเรียน 1 โรงสร้างโดยรัฐบาล สอนโดยตำรวจตะเวนชายแดน การเรียนการสอนทั้งหมดเป็นภาษาไทย รัฐจัดให้ฟรี และมีสถานีตำรวจตะเวนชายแดน มีองค์กรพัฒนาเอกชน 3 องค์กร และมีทหารม้งที่เกณฑ์จากท้องถิ่นอยู่ในหน่วยงานนี้ด้วย เป็นหน่วยงานกึ่งทหาร มีหน้าที่ป้องกันภัยรบกวนจากภายนอก ตลอดจนทำหน้าที่เฝ้าระวังบริเวณชายแดนที่ติดกับลาวและช่วยปราบปรามการขนไม้ผิดกฎหมายด้วย (หน้า 3-5)

Belief System

ศาสนา - ม้งในหมู่บ้านกิ่วกาญจน์ (Kiew Khan) ประมาณร้อยละ 80 เป็นชาวพุทธ อีกประมาณร้อยละ 20 เป็นคริสเตียน และชาวพุทธทั้งหมดยังนับถือผีตามประเพณี (Animist) ในกรณีของม้งที่เป็นคริสเตียนจะละทิ้งความเชื่อและการปฏิบัติที่เกี่ยวกับเรื่องผีหรือวิญญาณอย่างสิ้นเชิง ความเชื่อเรื่องผี - จะแบ่งเป็น 3 ประเภท คือผีบรรพบุรุษ ผีบ้านผีเรือน และผีที่สถิตอยู่ในธรรมชาติ ซึ่งจะให้คุณหรือโทษขึ้นกับสถานการณ์ เช่น เจ้าที่เจ้าทาง เทพารักษ์ประจำต้นไม้ ผีป่า ต้นน้ำลำธาร ท้องฟ้า ฯลฯ ในบ้านจะมีแท่นบูชาผีบรรพบุรุษตั้งอยู่หน้าเตาไฟในห้องโถงใหญ่ วิถีเหนือธรรมชาติเกี่ยวข้องกับทุกด้านของชีวิตม้ง พิธีกรรม - ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับวงจรชีวิต เช่น การเกิด การตาย การรักษาพยาบาล การติดต่อกับวิญญาณเพื่อให้โชคดี เป็นต้น ส่วนการแต่งงานนอกจากการให้สินสอดแล้ว ในหนังสือไม่ได้กล่าวถึงพิธีกรรมอื่น แต่พูดถึงมากเรื่องการรักษาพยาบาล ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอาการป่วยยาวนานที่ไม่ทราบสาเหตุและเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของผีหรือวิญญาณร้าย พิธีกรรมเหล่านี้จะให้หมอผี (Shamans) จัดการ โดยเชื่อว่าหมอผีสามารถติดต่อกับโลกของวิญญาณได้ หมู่บ้านกิ่วกาญจน์ (Kiew Khan) มีหมอผี 4 สำนัก เป็นผู้ชาย 3 คน ผู้หญิง 1 คน ความนิยมพึ่งหมอผี อาจดูได้จากการได้ยินเสียงฆ้องที่ใช้ในพิธีกรรม ในหมู่บ้านจะได้ยินเสียงฆ้องดังที่ไหนสักแห่งอย่างน้อย 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ การเกิด - ม้งเชื่อว่าเด็กทุกคนเกิดมาบนโลกนี้เป็นเพราะ "เทพีแห่งทารก" (Baby Goddess) ประทานมาให้ และถือว่าในช่วง 3 วันแรกหลังคลอดยังอยู่ในโลกของวิญญาณ หรือคือยังเป็นลูกผี หากทารกตายใน 3 วันแรกนี้ จะไม่มีพิธีศพ เพราะถือว่าเด็กยังไม่เคยเกิดมาในโลกมนุษย์ (ในหนังสือไม่ได้กล่าวถึงพิธีกรรมเซ่นไหว้เทพีแห่งทารกและพิธีเชิญขวัญเด็กเข้าสู่ตัวเด็ก ตั้งชื่อและรับเป็นสมาชิกของตระกูล) การตาย - ม้งเชื่อว่าการจัดพิธีศพอย่างถูกต้องและครบถ้วน จะทำให้วิญญาณของผู้ตายไปสู่สุคติ การได้นอนตายอยู่ในบ้านของตนเอง แวดล้อมด้วยสมาชิกในครอบครัวและตระกูล เป็นความหวังของม้งทุกคน เมื่อสิ้นใจญาติจะยิงปืนขึ้นฟ้า 3 นัด จากนั้นจะช่วยกันอาบน้ำชำระล้างศพและแต่งกายให้ศพด้วยเสื้อผ้าสำหรับพิธีฝังศพ ศพจะถูกวางบนแคร่หาม สูงจากพื้นราว 1 เมตร ตั้งบนพื้นหน้าแท่นบูชาบรรพบุรุษ เมื่อญาติมาพร้อมแล้ว จะฆ่าไก่สำหรับเซ่นไหว้นำไปวางไว้ข้างศีรษะของศพ ไก่จะช่วยนำทางวิญญาณไปสู่ดินแดนของบรรพชน ระหว่างพิธีจะมีการเป่าแคนไม้ซางและตีกลองที่ใช้ในพิธีศพ ( หน้า 13-16, 25-26, 57-60 ในหนังสือไม่ได้บรรยายพิธีอย่างละเอียด)

Education and Socialization

ไม่ได้ระบุรายละเอียดชัดเจน ในหมู่บ้านมีโรงเรียน 1 โรงสร้างโดยรัฐบาล สอนโดยตำรวจตะเวนชายแดน การเรียนการสอนทั้งหมดเป็นภาษาไทย ซึ่งรัฐจัดให้ฟรี

Health and Medicine

มีหมอไทยและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาเยี่ยมหมู่บ้านปีละ 2 ครั้ง ผู้ป่วยอาการหนักจะถูกส่งไปโรงพยาบาลที่เชียงของ ม้งในหมู่บ้านมีปัญหาเรื่องการคุมกำเนิด เนื่องจาก การเคลื่อนย้ายขยายหมู่บ้านและพื้นที่ทำ กินทำได้ยากขึ้น ประชากรที่มากขึ้นทำให้ความเป็นอยู่ยากลำบากขึ้น ปัจจุบันเริ่มมีความตระหนักและเข้าใจเรื่องการคุมกำเนิดมากขึ้น ที่พึ่งอีกแหล่งหนึ่งเวลาเจ็บป่วย คือ พึ่งหมอผี (Shamans) หมู่บ้านม้งทุกหมู่บ้านต้องมีหมอผีอย่างน้อย 1 สำนัก สำรับหมู่บ้านกิ่วกาญจน์ (Kiew Khan) มี 4 สำนัก หมอผีเป็นที่นิยมเมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุ อาการเจ็บป่วยยาวนาน อาการแปลก ๆ เหมือนถูกผีเข้า ม้งจะไปหาหมอผีเพื่อให้ดูว่าเป็นอะไร หมอผีจะติดต่อกับวิญญาณด้วยวิธีคล้าย ๆ กับการเข้าทรง คำตอบก็มักมีสาเหตุเกิดจากวิญญาณหรือผีกระทำ หลังจากนั้นจะมีพิธีรักษา ซึ่งส่วนใหญ่ต้องเซ่นวิญญาณหรือผีด้วยการฆ่าสัตว์ตามที่หมอผีบอก เช่น ไก่ แม่วัว หมาดำ แพะ หมู เป็นต้น บางครั้งก็นำอวัยวะของสัตว์ที่ฆ่าหรือวัสดุบางอย่างแขวนไว้ที่ประตูหน้าบ้าน เพื่อไม่ให้ผีร้ายกลับเข้ามาในบ้านได้อีก ในรายที่ถูกผีร้ายมากกระทำอาจต้องทำพิธีหลายครั้ง หมอผีจะได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินหรือโลหะเงิน จำนวนตามอาการหนักเบาหรือความสัมพันธ์ที่มีกับหมอผี (หน้า 5, 15-16, 25-26, 57-60)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การแต่งกาย : หญิงม้งขาวสวมกางเกงขายาวสีดำแบบหลวม เสื้อตัวนอกขอบเสื้อด้านหน้าและปลายแขนสีฟ้าปักเป็นลายเส้นสีสันต่าง ๆ มีแถบผ้าสีดำขอบนอกสีฟ้าตรงกลางปักลายยาวเป็นรูปสี่เหลียมผืนผ้าตามแนวผ้า ห้อยจากเอวลงมา มีผ้าคาดเอวผืนกว้างปักลายพันรอบเอวผูกไว้ด้านหลัง ชายผ้าห้อยลงมา ทำมวยผมไว้ด้านหน้าศีรษะ ใส่หมวกผ้าไม่มีปีก หญิงม้งน้ำเงิน ใส่กระโปรงบานลายบาติกยาวระดับเข่า เสื้อนอกสีดำปักลายซิกแซกด้านหน้าเป็นทางยาวลงมา แถบผ้าด้านหน้าไม่ประณีตเท่าม้งขาว ไม่ใส่หมวก ? ผู้ชายสวมเสื้อกางเกงสีดำแบบหลวม ๆ สีสันน้อย คาดเอวด้วยผ้าคาดหรือเข็มขัด ชายม้งน้ำเงินจะสวมหมวกผ้าซาตินแบบจีนมีพู่ปุกปุยอยู่บนยอด (skullcap) (หน้า 7) ศิลปะและงานฝีมืออื่น ๆ ไม่มีข้อมูลชัดเจน

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับชนเผ่าอื่น ๆ แต่ม้งในหมู่บ้านที่ให้สัมภาษณ์มักพูดถึงชุมชนที่ดอยหลวงหรือในลาว ซึ่งเข้าใจว่าเป็นชุมชนม้งเหมือนกัน (ในประเทศไทย สามารถแบ่งม้งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือม้งขาว (White Hmong) และม้งน้ำเงิน (Blue Hmong) ซึ่งมีความแตกต่างทางภาษาบ้าง, หน้า 7)

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูลชัดเจน แต่จากคำให้สัมภาษณ์ ม้งในหมู่บ้านส่วนใหญ่สนใจและเห็นว่าการพูดภาษาไทยได้เป็นเรื่องดีมีประโยชน์ เนื่องจากจะช่วยให้การดำรงชีวิตที่ต้องติดต่อกับโลกภายนอกง่ายขึ้น สะดวกสบายขึ้น เช่น การค้าขาย การติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ หรือเวลาเข้าโรงพยาบาล เป็นต้น (หน้า 33-35, 48) เด็กสาวบางคนสนใจการเข้าโรงเรียนเรียนหนังสืออยากเป็นหมอ เป็นพยาบาล มากกว่าการแต่งงานมีครอบครัว (หน้า 45-48) เมื่อมีถนน มีรถยนต์ ปัจจุบัน มีฝรั่งเข้าไปเที่ยวในหมู่บ้าน และดูเหมือนม้งจะไม่ปฏิเสธชาวต่างชาติหรือความเจริญที่เข้ามาในหมู่บ้าน เด็กสาวบางคนให้สัมภาษณ์ว่าอยากมีวิทยุเพราะอยากร้องเพลงไทย เพื่อน ๆ หลายคนร้องเพลงไทยได้เพราะมีวิทยุ (หน้า 31, 79-80)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

รูปภาพ รูปหมู่บ้าน (หน้า 4), พระอาทิตย์ตกดิน, พิธีกรรมปีใหม่ (หน้า 8), คู่หนุ่มสาว (หน้า 10), หญิงสาวไปทำไร่ (หน้า 16), A giant bong (หน้า 20), Laoleue (หน้า 28), Nadoa (หน้า 32), Namai (หน้า 42), ไร่ฝิ่น (หน้า 50), Laojongser (หน้า 64), Najor (หน้า 70) แผนที่ ประเทศไทย (หน้าก่อนเนื้อเรื่อง), เส้นทางการอพยพของม้ง (หน้าก่อนบทนำ), บริเวณสถานที่ตั้ง (หน้า 85), หมู่บ้านกิ่วกาญจน์(Kiew Khan) (หน้า 86)

Text Analyst บุญสม ชีรวณิชย์กุล Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG ม้ง, ประวัติ, วัฒนธรรม, วิถีชีวิต, ความเชื่อ, เชียงราย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง