สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ม้ง, เมี่ยน, ลาหู่, ลีซู, อ่าข่า,ยวน,จีนยูนนาน,ชาวเขา,ระบบเศรษฐกิจ,ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์,ภาคเหนือ
Author Dessaint, William Y. and Dessaint, Alain Y.
Title Economic Systems and Ethnic Relations in Northern Thailand.
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity อ่าข่า, ลีซู, ลาหู่ ลาหู่ ละหู่ ลาฮู, ไทยวน ยวน ยวนสีคิ้ว คนเมือง, อิ้วเมี่ยน เมี่ยน, ม้ง, จีนยูนนาน จีนฮ่อ มุสลิมยูนนาน, Language and Linguistic Affiliations ไม่ระบุ
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 13 Year 2525
Source Anthony R. Walker (ed.) Studies of Ethnic Minority Peoples. Singapore: Contributions to Southeast Asian Ethnography.
Abstract

บทความกล่าวถึงระบบเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทางภาคเหนือของประเทศไทย การที่แต่ละกลุ่มมีพื้นที่นิเวศเฉพาะ มีผลผลิตเฉพาะอย่าง จึงต้องพึ่งพิงผลผลิตจากกลุ่มอื่น ๆ ที่มีระบบนิเวศแตกต่างกันออกไป ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการพึ่งพิงทางการค้าระหว่างคนที่อยู่บนพื้นที่สูงและคนพื้นราบ แต่มีความสัมพันธ์ทางสังคมน้อย กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ยังคงรักษาวิถีชีวิตที่แตกต่างของตนเอาไว้ มีความเป็นอิสระทางวัฒนธรรม แต่พึ่งพิงทางเศรษฐกิจ โดยอาศัยการแลกเปลี่ยนผ่านคนกลาง ได้แก่ พ่อค้าเร่ คาราวาน และร้านค้า มากกว่าจะติดต่อค้าขายกับศูนย์กลางตลาดโดยตรง เมื่อฝิ่นซึ่งเป็นพืชเงินสดสำคัญของชนบนพื้นที่สูงถูกประกาศให้กลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ทรัพยากรที่ดินมีจำกัด นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างคนพื้นราบและคนบนพื้นที่สูง รัฐไทยพยายามกลืนกลายทางวัฒนธรรมด้วยวิธีต่าง ๆ

Focus

ระบบเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ทางตอนเหนือของประเทศไทย

Theoretical Issues

ผู้เขียนเสนอว่า กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ทางภาคเหนือของไทยนั้นมีการรวมตัวกันตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่ที่มีระบบนิเวศแตกต่างกันบนพื้นที่สูง ซึ่งมีสภาพภูมิศาสตร์ ดิน และอากาศที่แตกต่างกัน ทำให้แต่ละกลุ่มที่อาศัยอยู่ในสภาพนิเวศเฉพาะนั้น ๆ มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ตายตัวและแยกออกจากกลุ่มอื่น ๆ ในทางสังคมวัฒนธรรม (น. 72) การที่แต่ละกลุ่มมีพื้นที่นิเวศเฉพาะ มีผลผลิตเฉพาะอย่าง จึงต้องพึ่งพิงผลผลิตจากกลุ่มอื่น ๆ ที่มีระบบนิเวศแตกต่างกันออกไป ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการพึ่งพิงทางการค้าระหว่างคนที่อยู่บนพื้นที่สูงและคนพื้นราบ แต่ยังคงรักษาความเป็นอิสระทางวัฒนธรรมเอาไว้ โดยอาศัยการแลกเปลี่ยนผ่านพ่อค้าเร่ คาราวาน และร้านค้าที่เป็นของคนจีน มากกว่าจะติดต่อค้าขายกับศูนย์กลางตลาดโดยตรง ลักษณะการทำธุรกรรมระหว่างคนพื้นที่สูงกับผู้ค้าเร่ กองคาราวาน และเจ้าของร้านก็คือ การรู้ถึงความแตกต่างทางชาติพันธุ์ ที่ต่างฝ่ายต่างพยายามที่จะหาประโยชน์จากอีกฝ่าย ติดต่อกันในเชิงพาณิชย์เท่านั้น คนพื้นราบ คือ ยวน ฉาน และลื้อ รวมถึงคนจีน มีความสำคัญในการจัดส่ง (supply) อาหาร เสื้อผ้า และสินค้าอื่น ๆ ตลอดจนเป็นตลาดรับซื้อพืชเศรษฐกิจของชาวเขาด้วย การที่เจ้าของร้านและคนพื้นราบให้เครดิต เป็นการกระตุ้นให้ชาวเขาผลิตฝิ่น ซึ่งสะท้อนถึงตำแหน่งชายขอบของพื้นที่สูงในการสัมพันธ์กับพื้นราบ เป็นชายขอบทางภูมิศาสตร์เพราะฝิ่นไม่สามารถปลูกในพื้นที่ต่ำกว่า 1400 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล และเป็นชายขอบทางเศรษฐกิจ เพราะการค้าฝิ่นถูกประกาศให้เป็นสิ่งผิดกฎหมายและมีอุปสรรคมากมายในการเดินทาง ชนบนพื้นที่สูงได้ใช้พื้นที่นิเวศที่เป็นชายขอบและตำแหน่งชายขอบในระบบตลาด เพื่อรักษาสิทธิในการปกครองตนเองทางการเมืองและวัฒนธรรมของกลุ่มตนเอาไว้ (น. 81)

Ethnic Group in the Focus

ชนบนพื้นที่สูง ได้แก่ ม้ง เย้า ลาหู่ ลีซอ อาข่า กับคนจีน และคนพื้นราบทางภาคเหนือที่เรียกว่า ยวน (โยนก)

Language and Linguistic Affiliations

ชนบนพื้นที่สูง ซึ่งส่วนใหญ่อพยพมาจากยูนนานมีภาษาที่แตกต่างจากภาษาคนพื้นราบทางตอนเหนือของไทยมาก ทำให้นิยมติดต่อกับพ่อค้าจีน ซึ่งสื่อสารกันเข้าใจดีกว่าคนยวน (น.79) แม้ว่าในความเป็นจริงแล้ว คนบนพื้นที่สูงและคนพื้นราบบางส่วนสามารถพูดได้มากกว่า 1 ภาษา นอกเหนือจากภาษาของตนเองก็ตาม (น.75)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุช่วงเวลาชัดเจน แต่เป็นการเก็บข้อมูลภาคสนามที่เชียงใหม่และน่าน โดยได้ทุนจากหลายสถาบัน (เชิงอรรถที่ 1 น.73)

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ระบบเศรษฐกิจทางภาคเหนือของไทย ทั้งบนพื้นที่สูงและพื้นราบมีลักษณะเพื่อยังชีพ การรวมตัวกันทางเศรษฐกิจระหว่างคนบนพื้นที่สูงและพื้นราบมีน้อย เรียกว่ามณฑลทางเศรษฐกิจมีลักษณะแบ่งแยกกัน และความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างกลุ่มต่าง ๆ นั้นมีเล็กน้อย กลไกที่บูรณาการทางเศรษฐกิจที่มีอยู่ไม่ใช่ตลาดภูมิภาค แต่เป็นเครือข่ายการค้านอกตลาดท้องถิ่น (น.75) เพราะว่าสินค้าที่ชาวเขาผลิตและเอาไปขายนั้นไม่ได้เป็นที่ต้องการในตลาดท้องถิ่น และสินค้าที่ชาวเขาต้องการก็ไม่ได้อยู่ในตลาดสด (น.79) ผู้เขียนระบุว่า เศรษฐกิจของชนบนพื้นที่สูงนั้นเป็นเศรษฐกิจยังชีพพิเศษที่ต้องพึ่งพิงการค้า (commercialized colonial economy) กล่าวคือ ต้องพึ่งพิงการผลิตสินค้าชนิดเดียวที่ขนส่งได้ง่ายและไม่เน่าเสีย มีมูลค่าสูงและเป็นที่ต้องการของโลกภายนอก ได้แก่ ฝิ่น ซึ่งต้องปลูกในที่ห่างไกล รอดจากการควบคุมของตำรวจ อีกทั้งปลอดภัยที่จะขนส่งจากแหล่งผลิตที่ห่างไกลมายังพื้นที่บริโภค ประมาณการว่า ร้อยละ 80 ของฝิ่นที่เสพย์ในโลกมาจากพื้นที่สูงของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และขนย้ายผ่าน กรุงเทพ หรือ แม่ฮ่องสอน ไปยังสหรัฐ แคนาดา หรือยุโรป (น.76) กลุ่มม้ง และลีซอที่ผลิตฝิ่นมักจ้างแรงงานจากกลุ่มอื่น ๆ มาทำงานในไร่และรับใช้ต่าง ๆ โดยได้ค่าตอบแทนเป็นฝิ่นและอาหารที่พัก แต่บ่อยครั้งที่แรงงานที่ติดฝิ่นเหล่านี้ ป่วยจนทำงานไม่ไหว ต้องจ่ายค่าแรงล่วงหน้าและโต้เถียงกันเมื่อถึงเวลาที่ต้องมาทำงาน ลีซอและม้งจะถือว่าแรงงานเหล่านี้เป็นแรงงานไร้ฝีมือ ไม่ซื่อสัตย์ และอาจไว้วางใจให้ทำหน้าที่สำคัญที่ละเอียดอ่อนเช่นการปลูกฝิ่นได้ การค้าขายระหว่างคนที่อยู่ในพื้นที่นิเวศต่างกันหรือการค้าต่างถิ่นนั้น (ต่างจากการค้าภายในหมู่บ้านที่มีพื้นฐานบนการแลกเปลี่ยนอย่างเท่าเทียม) ราคาสินค้าจะผันผวนขึ้นลง ผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ได้แก่ 1) ผู้ค้าเร่ในพื้นที่ขนาดเล็ก 2) พ่อค้า กองคาราวานและคนกลาง ครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ 3) ร้านค้าพาณิชย์ต่าง ๆ 1. หาบเร่จะค้าขายกับชุมชนที่ห่างจากตลาดหรือศูนย์กลางการค้าที่มีระยะห่างด้วยการเดิน 1 วัน ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง "ยวน" ที่หารายได้เพิ่มจากการทำเกษตร สินค้าได้มาจาก 3 แหล่ง คือ ผลิตเองจากไร่นา รวบรวมจากเพื่อนบ้านและมิตรสหาย และของที่ซื้อมาจากตลาดหรือร้านค้า ซึ่งราคาไม่แพงนักและไม่หนักมาก สามารถขายได้อย่างรวดเร็ว เช่น ไม้ขีดไฟ ถ่านไฟฉาย มูลค่าของที่นำไปขาย 1 เที่ยวประมาณ 100 บาท แม่ค้าหาบเร่เหล่านี้จะไปยังชุมชนซ้ำ ๆ เมื่อลูกค้าต้องการสิ่งใด ครั้งต่อไปก็จะนำไปให้ ขากลับก็จะรับซื้อ ของพื้นบ้าน ของป่ากลับไปขายให้ตลาดหรือร้านค้าด้วย ทำกำไรได้ทั้งขาไปและกลับ (น.77-78) 2. พ่อค้า กองคาราวาน จะมีทุนมาก มีเครดิต และรายได้จากการค้าเป็นรายได้บางส่วนเท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นคนจีน บ้างเป็นสมาชิกขององค์กร เช่น หุ้นส่วนไทย-จีน ก๊กมินตั๋ง ซึ่งควบคุมการค้าฝิ่นในภาคเหนือของไทยมาตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1960 อีกส่วนก็มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับร้านค้าในเมืองใหญ่ และยังมีพ่อค้าคนกลางที่รับซื้อฝิ่นจำนวนมากหรือสินค้าอื่น ๆ เพื่อนำไปขายต่อให้แก่บริษัท คนกลุ่มนี้มีการเงินและการขนส่งที่ดีกว่า มีบทบาทสำคัญในการป้อนสินค้าจากตลาดไปยังพื้นที่ห่างไกล และรับซื้อพืชผลจากชนบทมาขายนอกพื้นที่ การค้าแบบนี้มีการให้สินเชื่อสูง กองคาราวานให้ผู้ผลิตยืมเงินเสมอ ๆ บางครั้งลีซอ ม้ง เย้า ที่ปลูกฝิ่นก็ให้เครดิตแก่พ่อค้าเพื่อแลกกับคำสัญญาว่าจะให้ราคาสูง พ่อค้าจีนส่วนใหญ่เป็นยูนนาน มีที่พักถาวรอยู่ในหมู่บ้านบนภูเขา มักมีบ้านและครอบครัวอยู่ทั้งในหมู่บ้านและในเมือง พ่อค้าก๊กมินตั๋งมีบ้านและภรรยาชาวเขาเพื่อใช้เป็นโรงเก็บสินค้า แล้วจึงบรรทุกใส่หลังม้ามายังรถบรรทุก 3. ชาวเขาส่วนใหญ่ชอบซื้อสินค้าจากร้านค้ามากกว่าตลาดสดของคนยวน (คนเมือง) เพราะสะดวกกว่า ชาวเขารู้ภาษาจีน อีกทั้งพ่อค้าจีนให้ความช่วยเหลืออื่นๆ แก่ชาวเขา ให้ที่พัก ให้คำแนะนำว่าจะไปรับบริการอื่นได้ที่ไหน จะติดต่อกับเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจอย่างไร เพราะเจ้าของร้านส่วนใหญ่เคยเป็นพ่อค้าคาราวานมาก่อน เคยติดต่อกับชาวเขามาก่อน และเหตุผลสุดท้ายคือ ผู้ค้าในตลาดยวนส่วนมากเป็นเพศตรงข้าม ขณะที่เจ้าของร้านค้าเป็นชายเหมือนกัน จึงชอบติดต่อกับร้านค้ามากกว่า (น.79) ธรรมเนียมสากลทางเหนือ คือ การตั้งราคาปากเปล่าและต่อรองกัน ผู้ซื้อจะถามราคาสินค้าต่างๆ และจำไว้เป็นข้อมูลเทียบกับที่เคยซื้อ และเทียบกับราคาในบริเวณใกล้เคียงด้วย การเปลี่ยนและผันแปรราคาตามสถานที่และเวลาจะแพร่ออกไปปากต่อปากอย่างรวดเร็ว กลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่มีการเก็บออมในรูปเครื่องประดับเงิน นักเดินทาง (travellers) เป็นตัวหลักในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าแบรนด์เนม เช่น นาฬิกาไซโก ปืนไรเฟิลเอ็ม 14 ของสหรัฐ ซึ่งมีราคาสูงกว่าของที่หาได้ในท้องถิ่น

Social Organization

ไม่ระบุในรายละเอียด แต่กล่าวว่า มีการแต่งงานข้ามกลุ่มชาติพันธุ์ (limited occurrence of miscegenation) ที่จำกัด และมีบ้างที่หมู่บ้านหนึ่ง ๆ มีหลายกลุ่มชาติพันธุ์อยู่ร่วมกัน (น.75)

Political Organization

พ่อค้า กองคาราวาน มักเป็นสมาชิกขององค์กร เช่น ก๊กมินตั๋ง หรือมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับร้านค้าในเมืองใหญ่ มักมีบ้านและครอบครัวอยู่ทั้งในหมู่บ้านและในเมือง นับเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญ ที่ใดที่พ่อค้าจีนมีทรัพยากรและอิทธิพลมากพอ ก็อาจชวนชาวเขาให้เพิ่มปริมาณการผลิตพืชผลบางชนิด และให้อาหาร ของจำเป็นต่าง ๆ แก่ชาวเขา ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย หมู่บ้านบางแห่งหันมาปลูกพืชเงินสดเพียง 1-2 ชนิดเท่านั้น เช่น ฝิ่น พริก ฯลฯ ตามคำชักชวนของพ่อค้าจีน มีการพัฒนาความสัมพันธ์ระบบอุปถัมภ์ขึ้นในบางกรณี อย่างไรก็ตาม เมื่อฝิ่นกลายเป็นสินค้าผิดกฎหมายในไทยตั้งแต่ปี 1958 ตลาดลับๆ ของฝิ่น มีความไม่แน่นอนมักนำไปสู่ความขัดแย้งและกลายเป็นศัตรูกันได้ เพราะชาวเขาที่ปลูกฝิ่น คือ ลีซอ ละหู่ อาข่า ม้ง และเย้านั้น ถูกจำกัดหลายด้านทำให้ไม่สามารถขายฝิ่นได้ในราคาตลาดที่สูงกว่า พวกเขารู้ดีว่า ได้รับส่วนแบ่งจากมูลค่าตลาดเพียงน้อยนิดที่พ่อค้าจีนและไทยได้ และเขาก็รู้ว่าพ่อค้าคนกลางพวกนี้มีอำนาจคุ้มครองอยู่ จึงทำกำไรได้มหาศาลจากการขายฝิ่นที่รับซื้อไปจากชาวเขา (น.78-79) ในด้านความสัมพันธ์กับรัฐบาลไทย เนื่องจากแนวเขตแดนทางเหนือของไทยนั้นเป็นแนวเขา รัฐบาลมีความวิตกเกี่ยวกับความมั่นคงชายแดน อีกทั้งถูกกดดันจากสหรัฐให้กฎหมายห้ามการผลิตฝิ่น จึงเริ่มมีการสร้างถนนขึ้นเขา เจ้าหน้าที่รัฐพยายามใช้กฎหมายควบคุมการผลิตและค้าฝิ่น ส่งผลให้เกิดความตึงเครียดในหลายจังหวัดโดยเฉพาะม้งที่น่านและเพชรบูรณ์ ทหารและตำรวจได้ใช้อาวุธหนักโจมตีชาวเขา เกิดการสูญเสียชีวิตทั้ง 2 ฝ่าย สื่อมวลชนโหมแพร่ข่าวยุทธการทหารในครั้งนั้น ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยพื้นราบกับชนบนพื้นที่สูงเลวร้ายขึ้น เช่น มีการประโคมข่าวว่าชาวเขาเป็นคอมมิวนิสต์ที่ถูกครอบงำโดยรัสเซีย ระบุว่าพบหนังสือที่พิมพ์เป็นภาษารัสเซีย ทั้งๆที่ความจริงแล้วเป็นคัมภีร์ไบเบิลที่มิชชันนารีชาวอังกฤษเขียนเป็นภาษาลีซอ (เชิงอรรถที่ 5 น.82) ข้อเขียนระบุว่าไทยได้เมตตาให้ชาวเขาอาศัยอยู่ในประเทศอย่างสงบมานานแต่ม้งกลับไปร่วมมือกับศัตรูภายนอกมาต่อสู้กับชาติไทย ทำให้ความรู้สึกของคนไทยเปลี่ยนไป เห็นว่าควรขับไล่ม้งออกไปจากผืนแผ่นดินไทย จากความขัดแย้งนี้ ม้ง เย้า ถิ่น ขมุ นับพันคนในจังหวัดน่าน เชียงราย เพชรบูรณ์ ได้ถูกขับไล่ออกจากพื้นที่ภูเขา ให้ไปอยู่ในค่ายอพยพที่พื้นราบเพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมของรัฐบาล และมีกระบวนการต่าง ๆ ในการกลืนกลายทางวัฒนธรรม ได้แก่ พัฒนาด้านคมนาคมขนส่ง โยกย้ายถิ่นฐาน ช่วยสงเคราะห์ด้านการศึกษาและการรักษาพยาบาล โครงการธรรมจาริก สอนเทคนิคทางการเกษตรและเพิ่มจำนวนตำรวจและเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ (น.82)

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

แม้จะมีการติดต่อค้าขายระหว่างคนพื้นที่สูงกับผู้ค้าเร่ กองคาราวาน และเจ้าของร้าน ต่างก็ตระหนักรู้ถึงความแตกต่างทางชาติพันธุ์ ต่างฝ่ายต่างพยายามที่จะหาประโยชน์จากอีกฝ่าย แม้จะมีการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ แต่ชาวเขายังคงรักษาความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เอาไว้ เช่น ในการจ้างแรงงาน ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างทำให้เกิดการไม่เคารพซึ่งกันและกัน บางครั้งลีซอก็ถือว่ายวนและกะเหรี่ยงที่ติดยานั้นเป็นตัวอย่างของคนที่มีคุณภาพต่ำ พวกเขาเห็นว่าตนเองฉลาดกว่าเพราะสามารถจ้างคนที่ไม่ใช่ลีซอ ในทางตรงข้าม แรงงานก็เห็นว่าลีซอซึ่งเป็นพวก "ป่าเถื่อน" "ไม่เจริญ" นั้น มั่งคั่งกว่าพวกตน และเห็นว่าความมั่งคั่งนั้นเกิดจากการปลูกสิ่งซึ่งผิดกฎหมาย และใช้วิธีเพาะปลูกที่ทำลายป่า (น.77) ในการหาข้อมูลเรื่องคุณภาพและราคาของสินค้า ความน่าเชื่อถือจะถูกประเมินจากการแบ่งประเภทชาติพันธุ์และสัญลักษณ์พื้นฐาน เช่น วิธีแต่งกาย การพูดและกริยาท่าทาง ตัวอย่างเช่น ม้งจะเชื่อถือข้อมูลที่ได้จากม้งมากกว่าผู้ที่ไม่ใช่ม้ง ถึงแม้ว่าเขาจะอยู่ในสถานะที่น่าจะรู้ข้อเท็จจริงก็ตาม (น.80)

Social Cultural and Identity Change

ในช่วงที่ทำการศึกษา การเปลี่ยนทิศทางเศรษฐกิจ การเพิ่มจำนวนประชากร และสถานการณ์การเมืองได้เปลี่ยนธรรมชาติของความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มในพื้นที่ การที่ประชากรพื้นราบเพิ่มมากขึ้นทำให้ต้องหันมาถางป่าที่เชิงเขา และปลูกชาตามเนินเขา อัตราการตายที่ลดลงของชาวเขา และการที่มีผู้อพยพมาจากพม่าและลาวอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดความกดดันอย่างมากเรื่องทรัพยากรที่ดินบนพื้นที่สูง ทำให้ต้องพึ่งพิงพืชเงินสดโดยเฉพาะฝิ่นซึ่งใช้พื้นที่น้อยแต่ให้ผลตอบแทนสูง ต้องพึ่งพิงคนพื้นราบมากขึ้น ในบางครั้งการขาดแคลนที่ดินส่งผลให้เกิดความขัดแย้งและพิพาทกันระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งมีแนวคิดเรื่องการถือครองที่ดินต่างกัน หลังจากประกาศห้ามการผลิตและขายฝิ่น รัฐบาลไทยมีความพยายามที่จะกลืนกลายทางวัฒนธรรมชนบนพื้นที่สูง ด้วยการพัฒนาด้านคมนาคมขนส่งให้เข้าถึงพื้นที่สูงที่ห่างไกล โยกย้ายชุมชนออกจากป่าเขา ช่วยสงเคราะห์ด้านการศึกษาและการรักษาพยาบาล โครงการธรรมจาริก สอนเทคนิคทางการเกษตรและเพิ่มจำนวนตำรวจและเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ เป็นต้น (น.82) การเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ การเมืองในปัจจุบันนำไปสู่สถานการณ์ที่คนพื้นราบเรียกร้องให้อนุรักษ์ทรัพยากรพื้นที่สูงไว้เพื่อประโยชน์ของพวกตน ผลก็คือ เป็นพหุนิยมทางสังคมวัฒนธรรม (โดยกลุ่มชาติพันธุ์ยังธำรงวิถีชีวิตที่แตกต่างเอาไว้) กำลังถูกท้าทายโดยรัฐชาติซึ่งพยายามที่จะกลืนกลายกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ตึงเครียดและนำไปสู่ความขัดแย้ง (น.83)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst สมรักษ์ ชัยสิงห์กานานนท์ Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG ม้ง, เมี่ยน, ลาหู่, ลีซู, อ่าข่า, ยวน, จีนยูนนาน, ชาวเขา, ระบบเศรษฐกิจ, ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์, ภาคเหนือ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง