สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject มันนิ, กลุ่มชาติพันธุ์, วิถีชีวิต, นิทรรศการ
Author สุนทร ทัศนาสาร
Title มันนิภูบรรทัดในกระแสความเปลี่ยนแปลง
Document Type อื่นๆ Original Language of Text -
Ethnic Identity มานิ มานิค โอรังอัสลี อัสลี จาไฮ, Language and Linguistic Affiliations -
Location of
Documents
- ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
- ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส.: [เอกสารฉบับเต็ม]
Total Pages 214 Year 2562
Source สุนทร ทัศนาสาร . (2562). มันนิภูบรรทัดในกระแสความเปลี่ยนแปลง. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
Abstract

“มันนิ” กลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ซึ่งเป็นอำเภอเล็กๆ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดสตูล ชาวมันนิส่วนมากยังคงดำรงชีวิตแบบดั้งเดิมที่สืบเนื่องมาจากบรรพบุรุษ การทำมาหากินของมันนิยังคงอาศัยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ปัจจุบันกระแสการท่องเที่ยวได้หลั่งไหลเข้ามาในพื้นที่มากขึ้น อีกทั้งพวกเขาต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตเข้าร่วมกับชาวบ้านเพราะแหล่งอาหารและปัจจัยพื้นฐานเกี่ยวกับการดำรงชีพในป่าเริ่มลดลงจากกระแสการพัฒนาแนวใหม่ โครงการมันนิภูบรรทัดในกระแสความเปลี่ยนแปลง จึงดำเนินกิจกรรมขึ้นเพื่อเรียนรู้เข้าใจเรื่องราวของชาวมันนิ กิจกรรมถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรก เป็นการศึกษาถึงวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์มันนิในพื้นที่ศึกษา ส่วนที่สอง เป็นการจัดสัมมนาวิชาการในลักษณะของนิทรรศการเคลื่อนที่นำเสนอชีวิตเรื่องราวของชาวมันนิให้รับรู้เป็นวงกว้าง เพื่อการนำไปสู่แนวทางการแก้ปัญหาในอนาคต

Focus

ศึกษาวิถีชีวิตของชาวมันนิ ในพื้นที่อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ที่กำลังเผชิญสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลง เพื่อนำไปสู่แนวทางแก้ปัญหาในการคงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์

Theoretical Issues

ใช้วิธีการเก็บรวมรวมข้อมูลภาคสนามโดยการลงพื้นที่สัมภาษณ์กลุ่มชาติพันธุ์มันนิ และร่วมถอดบทเรียนจากการเข้าร่วมฟังเสวนา “มันนิในกระแสความเปลี่ยนแปลง” โดยนักศึกษา คณาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เพื่อรู้จัก เข้าใจวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์มันนิ ให้สามารถอยู่ร่วมกันในสังคม อีกทั้งเพื่อหาแนวทางในการส่งเสริมให้ชาวมันนิสามารถคงอัตลักษณ์ของตนเองไว้ได้

Study Period (Data Collection)

มกราคม 2562 – พฤษภาคม 2562

History of the Group and Community

ชาวมันนิ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ขนาดเล็ก จัดอยู่ในเชื้อสายนิกริโตเป็นกลุ่มย่อยหนึ่งของนิกรอยด์ กระจายตัวในพื้นที่ทวีปเอเชียโดยเฉพาะคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สำหรับชาวมันนิที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศไทยบริเวณเทือกเขาบรรทัดหรือเทือกเขานครศรีธรรมราชตอนล่าง เป็นกลุ่มที่มีประชากรค่อนข้างน้อยและมีวัฒนธรรมดั้งเดิม ชาวมันนิบางกลุ่มมีการติดต่อสัมพันธ์กับคนภายนอก มีวิถีชีวิตแบบเร่ร่อนตามฤดูกาลและบางกลุ่มมีการตั้งถิ่นฐานถาวร มีบัตรประชาชนและชีวิตตามแบบชาวชนบททั่วไปของไทย

ชื่อเรียกชาวมันนิมีหลายคำ บ้างเป็นคำที่แสดงถึงการไม่ให้เกียรติ เช่น “ซาไก” หมายถึง “ทาส” งานศึกษาหลายชิ้นสะท้อนความต้องการเกี่ยวกับชื่อเรียกของชาวมันนิ โดยชาวมันนิเรียกตัวเองว่า “มันนิ หรือ มานิ” แปลว่า คนหรือมนุษย์ และเรียกคนนอกกลุ่มว่า “ฮามิ” 

มันนิเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีลักษณะทางวัฒนธรรมเฉพาะแบบหาของป่า-ล่าสัตว์ โดยเป็นกลุ่มสุดท้ายในประเทศไทยที่ยังคงลักษณะเฉพาะนี้ คือ การเก็บหาพืชพรรณธรรมชาติในการอุปโภคบริโภค ล่าสัตว์ด้วยกระบอกบอเลาและลูกดอกอาบยาพิษ เรียนรู้การเอาตัวรอดจากธรรมชาติ เคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยตามความสมบูรณ์ของแหล่งอาหาร บริเวณเทือกเขาบรรทัดชาวมันนิอาศัยอยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 30-40 คน จำนวน 12 กลุ่ม กระจายอยู่โดยรอบเทือกเขา ทุกกลุ่มมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติและเดินทางไปมาหาสู่กันบ้างเป็นครั้งคราว

นักโบราณคดีเชื่อว่าความสมบูรณ์ของเทือกเขาบรรทัดทำให้มนุษย์เดินทางเข้ามาในบริเวณแถบนี้ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เขตป่าในเทือกเขาบรรทัด พื้นที่จังหวัดตรัง สตูล สงขลาและพัทลุง พบว่า มานิมีการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันหลายลักษณะ แต่ละกลุ่ม/พื้นที่ จะมีปัจจัยต่อการดำรงชีวิตและการเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงไปจากวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมในลักษณะต่างกัน ดังนั้นจึงสามารถแบ่งลักษณะทางสังคมของมานิเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

1.กลุ่มเร่ร่อนอพยพหาของป่า-ล่าสัตว์แบบดั้งเดิม กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่วัฒนธรรมจากภายนอกมีผลต่อวิถีชีวิตน้อยมาก ยังคงมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้หรือไม้ไผ่เป็นหลัก สามารถสื่อสารหรือพูดภาษาถิ่นใต้ได้บ้าง ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มานิกลุ่มนี้ยังสามารถดำรงชีวิตแบบเดิมไว้ได้ คือสภาพความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า

2.กลุ่มกึ่งเร่ร่อน-เริ่มตั้งถิ่นฐาน กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีวิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงไปและพบมากที่สุดในการจำแนกทั้ง 3 กลุ่ม เนื่องจากสภาพพื้นที่ป่าบางพื้นที่ในเทือกเขาบรรทัดนั้นไม่ได้อุดมสมบูรณ์เพียงพอที่จะดำรงชีวิตอยู่ในป่าได้ จำต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเพื่อการอยู่รอดของกลุ่ม โดยดำรงชีวิตด้วยการหาของป่ามาขาย เพื่อนำเงินไปซื้อเครื่องอุปโภคบริโภค มีการล่าสัตว์และขุดหาหัวมันป่ามากินบ้าง แต่ไม่พอแบ่งปันกันกินในกลุ่ม บางคนจึงออกมารับจ้างถางป่า แต่เป็นการรับจ้างระยะสั้น มักอาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ชายป่า ใกล้บ้านคนเพื่อความสะดวกในการไปมาหาสู่ ติดต่อ และซื้ออาหาร มานิที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้แม้จะมีการอพยพเร่ร่อนย้ายถิ่นอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ใช่

3.กลุ่มที่ตั้งถิ่นฐานถาวรแล้ว เป็นกลุ่มที่มีการสร้างบ้านเรือนถาวร ไม่มีการอพยพโยกย้าย มีรายได้ค่อนข้างมั่นคงกว่ากลุ่มอื่น ๆ สามารถสื่อสารด้วยภาษาถิ่นใต้ได้ชัดเจน บางคนสามารถพูดภาษาไทยกลางได้ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อวิวัฒนาการของสภาพสังคมและวิถีชีวิตของมานิกลุ่มนี้คือ ความสัมพันธ์กับกลุ่มบุคคลภายนอก ชาวบ้าน ที่เข้าไปมีปฏิสัมพันธ์ ให้ความช่วยเหลือถ่ายทอดความรู้ต่างๆ

โดยรูปแบบวิถีชีวิตทั้ง 3 ลักษณะ แม้จะมีรูปแบบการดำรงชีวิตที่แตกต่างกัน แต่ทั้ง 3 รูปแบบนั้น ไม่ได้เป็นรูปแบบที่ตายตัวสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ 
 

Settlement Pattern

ลักษณะการตั้งถิ่นฐานตั้งอยู่บนพื้นที่บริเวณแนวชายป่าติดกับพื้นที่ทำการเกษตรของชาวบ้านและพื้นที่ป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด แหล่งอาหารอาศัยการพึ่งพาระบบธรรมชาติ ชนิดอาหารสัมพันธ์กับการเลือกถิ่นที่อยู่อาศัย เมื่อแหล่งอาหารที่อยู่อยู่ในพื้นที่นั้นเริ่มหมดจึงเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยสู่แหล่งใหม่ที่มีความสมบูรณ์ของอาหารมากกว่า ซึ่งจะมีการย้ายไปเรื่อย ๆ และกลับมาสู่จุดเดิมเมื่อแหล่งอาหาร ธรรมชาติมีการฟื้นฟูกลับคืนสู่สภาพเดิม จึงเรียกได้ว่าเป็นระบบการพึ่งพาธรรมชาติแบบไม่ทำลาย นอกจากนี้การเลือกตั้งถิ่นฐานจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบอื่นด้วย เช่น ภัยพิบัติจากธรรมชาติ ภยันตรายอันเกิดจากสัตว์ โรคระบาดหรือสมาชิกครอบครัวเสียชีวิต ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยในการเลือกที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์มันนิ (น.61) ที่อยู่อาศัยของชาวมันนิถูกเรียกว่า “ทับ” ทับหรือบ้านของมันนิสร้างขึ้นอย่างง่าย ๆ ด้วยวัสดุธรรมชาติ เช่น ใบพน ใบเหรง ไม้ไผ่ เป็นต้น โดยเลือกทำเลที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเนินหรือควนเพื่อตั้งทับ ป้องกันน้ำป่า มีอากาศเย็นสบาย ไม่อับชื้น ที่สำคัญต้องอยู่ใกล้แหล่งอาหาร เพื่อสะดวกต่อการขุดมันป่าและหาของป่า (น.32) ภายในทับประกอบด้วยสมาชิก สามี ภรรยา และลูกที่ยังไม่แต่งงาน ส่วนคนที่โตแล้วสามารถดูแลตัวเองได้จะแยกออกไปสร้างทับเป็นของตนเองต่างหากภายในอาณาเขตเดียวกัน มีลักษณะเรียงต่อกันเป็นวงกลม (น.62)

รูปแบบของทับ มีทั้งทับเล็กและใหญ่ต่างกันที่ขนาด โดยมีวัสดุที่ใช้และลักษณะการสร้างทับที่เหมือนกัน กล่าวคือ ลักษณะทับยกสูง ผนังบ้านทำจากไม้ไผ่ หลังคาทำจากใบจาก ใบปุด ใบพน ส่วนของพื้นบ้านทำจากไม้ที่สามารถหาได้ในบริเวณที่ตั้งทับ มีปะนง (ที่นอน) และกองไฟสำหรับใช้ประโยชน์ (น.32)
 

Demography

มันนิกลุ่มถ้ำภูผาเพชร มีสมาชิกทั้งหมด 36 คน แบ่งเป็นผู้ชาย 22 คน ผู้หญิง 14 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 25 เมษายน 2562) (น.49)

Economy

ด้วยพื้นฐานของชาวมันนิที่พึ่งพิงธรรมชาติเป็นหลัก จึงไม่ได้พึ่งพาเศรษฐกิจภายนอกมากนัก มีบ้างที่ออกมารับจ้างทำงานเป็นครั้งคราวหรืออาศัยการหาของป่าเพื่อนำมาแลกเปลี่ยนสินค้ากับชาวบ้าน

Social Organization

ชาวมันนิกลุ่มหนึ่งประกอบด้วยครอบครัวหลายครอบครัวที่อาศัยอยู่ร่วมกัน จากผังเครือญาติ (น.60) แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ในครอบครัว และระหว่างกลุ่มนั้นมีการสลับคู่สามี-ภรรยา ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงได้อยู่ตลอดเวลาด้วยลักษณะทางวัฒนธรรมของกลุ่มมันนิในการทำหน้าที่สืบทอดและการดำรงอยู่ของกลุ่ม (น.59)

ระบบโครงสร้างทางสังคมและบทบาทภายในกลุ่มชาติพันธุ์มันนิ มีความซับซ้อนไม่มากนัก เพราะมีวิถีชีวิตที่ถือว่าเป็นชนเผ่าดั้งเดิม แม้ว่าจะมีการติดต่อกับภายนอกบ้าง (น.90-91)
1.ผู้ชายสูงวัย มีบทบาทในฐานะเป็นผู้ถ่ายทอดประสบการณ์แก่ลูกหลาน
2.ผู้หญิงสูงวัย มีบทบาทค่อนข้างคล้ายคลึงกับผู้ชาย (สูงวัย) หน้าที่ส่วนใหญ่เป็นการซ่อมแซมทับ
3.ผู้ชายวัยกลางคน มีบทบาทการเป็นพ่อซึ่งมีหน้าที่หาเลี้ยงครอบครัวรวมถึงพ่อแม่ที่สูงอายุด้วย และมีหน้าที่ถ่ายทอดประสบการณ์ให้แก่บุตรด้วยเช่นกัน
4.ผู้หญิงวัยกลางคน  มีบทบาทในฐานะแม่ผู้ให้กำเนิด และถ่ายทอดประสบการณ์ให้แก่บุตร ตามสถานะทางเพศและหน้าที่ที่ต้องได้รับ เช่น ผู้ชายสอนให้สร้างทับ ทำเครื่องมือล่าสัตว์ ส่วนผู้หญิงสอนงานบ้านเป็นหลัก
5.ผู้ชายวัยรุ่น วัยนี้สามารถหาเลี้ยงตัวเองได้ มีการสร้างทับเป็นของตัวเอง และเข้าสู่วัยที่สามารถหาคู่ครองได้แล้ว
6.ผู้หญิงวัยรุ่น เช่นเดียวกับวัยรุ่นผู้ชายที่สามารถหาเลี้ยงตัวเองได้ สร้างทับเป็นของตัวเอง เข้าสู่วัยหาคู่ครอง
7.วัยเด็ก เป็นวัยที่ต้องเรียนรู้ประสบการณ์ต่างสังคมทั้งภายในกลุ่มและสังคมภายนอก 

Belief System

ความเชื่อของชาวมันนิตั้งอยู่บนพื้นฐาน การเคารพธรรมชาติ อย่างการให้กำเนิดบุตร เมื่อมีการคลอดบุตร พ่อมีหน้าที่เป็นผู้ทำคลอดให้หรืออาจเป็นคนที่เชี่ยวชาญในการทำคลอด เมื่อมีการตั้งท้องชาวมันนิไม่ได้มีกระบวนการดูแลตัวเองเป็นพิเศษ ใช้ชีวิตอย่างปกติทั่วไป และภายหลังคลอดเสร็จก็ไม่มีการอยู่ไฟ บุตรเมื่อเกิดมามักให้ผู้อาวุโสตั้งชื่อให้ เชื่อว่าจะเป็นสิ่งที่ดี (น.88)

Education and Socialization

วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์มันนิไม่มีการจดบันทึก อาศัยการสืบทอดชุดความรู้ด้วยการบอกเล่าสืบต่อเป็นทอด ๆ ด้วยการเรียนรู้ปฏิบัติจากวิถีชีวิตที่เป็นอยู่ (น.88) ภายหลังได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ผู้นำชุมชน และชาวบ้านในพื้นที่ โดยร่วมกันสร้างอาคารหลังปัจจุบันขึ้นเมื่อ ตุลาคม 2561 โดยมีครูอาสาที่เป็นชาวบ้านทำหน้าที่เป็นครูสอนเด็ก ๆ เป็นประจำ (น.36-37) 

Health and Medicine

ในอดีต เมื่อมีการเจ็บป่วยหรือมีไข้จะใช้สมุนไพรในการรักษา เช่น ขิงดอกเดียว ใช้แก้อาการปวดหัว หัวไอ้เหล็ก ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงเลือด ซึ่งสมุนไพรเหล่านี้หาได้จากป่าทึบที่อยู่ห่างออกไปจากทับ ปัจจุบันการรักษาโรคของชาวมันนิได้เปลี่ยนแปลงไป เริ่มเข้ารับการรักษาโรคในโรงพยาบาลประจำอำเภอ หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ได้รับการรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐาน จากโรงพยาบาลมะนัง จังหวัดสตูล โดยต้องอาศัยชาวบ้านหรือเจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้รับ-ส่งไปยังโรงพยาบาล แต่ยังอาศัยภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น (น.36)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ในอดีต ใช้ใบเตยหนามที่ขึ้นอยู่ใกล้ ๆ ทับ นำมาสานเป็นเสื้อผ้า โดยเอาหนามออกด้วยการใช้ไม้ไผ่บางๆ มาตัดหนามออก หลังจากนั้นก็นำไปตากแดดจนสามารถใช้สานเสื้อผ้าได้ เมื่อเวลาผ่านไป ได้มีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากชาวบ้านได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือ บริจาคสิ่งของเครื่องใช้รวมถึงเสื้อผ้า ซึ่งมันนิจะแต่งกายแตกต่างกันระหว่างอยู่ในทับกับเข้าเมือง เมื่อเข้าเมืองจะเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ (น.34)

เพลงพื้นบ้านส่วนมากจะเป็นเพลงเกี่ยวกับการล่าสัตว์หรือโรคภัยไข้เจ็บ เครื่องดนตรีที่สำคัญของมันได้แก่ บาแตช มีลักษณะคล้ายกีตาร์ทำจากไม้ไผ่มี 2 สายและมีเสียงแค่ 2 เสียง (น.24)
 

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

กลุ่มชาติพันธุ์มันนิเป็นเผ่าพันธุ์ดั้งเดิมที่ดำรงชีวิตไปตามวิถีแห่งบรรพบุรุษ อาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มย่อยประมาณ 30-40 คน ตามพื้นที่ป่าเขาในภาคใต้ของประเทศไทย โดยลักษณะกายภาพภายนอกชาวมันนิมีลักษณะ ผมหยิกติดหนังศีรษะ ผิวดำคล้ำ รูปร่างสันทัด จมูกแบนกว้างริมฝีปากหนา ฟันซี่โต ใบหูเล็ก นิ้วมือนิ้วเท้าใหญ่ สูงประมาณ 140-150 เซนติเมตร มีลักษณะทางวัฒนธรรมแบบเฉพาะที่เรียกว่า วัฒนธรรมหาของป่าล่าสัตว์ ในการดำรงชีวิต ใช้ชีวิตเร่ร่อน ด้วยเป็นกลุ่มชาติพันธุ์สุดท้ายในประเทศไทยที่ยังคงลักษณะเฉพาะคือการเก็บหาพืชพันธุ์ธรรมชาติในการอุปโภค บริโภค ไม่มีการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์หรือกักเก็บตุนอาหาร (น.23) อาหารประเภทแป้งจึงมาจากมันป่าชนิดต่าง ๆ มันทราย มันตามราก มันย่านเขียว ปัจจุบันมันเหล่านี้มีทั้งที่อยู่ในป่าลึกและในพื้นที่สวนยางและสวนปาล์มของชาวบ้าน อาหารประเภทโปรตีน ได้แก่ หมูหริ่ง (หมูดิน) หมูป่า และสัตว์ป่าอื่น ๆ ส่วนน้ำผึ้งป่าที่หามาได้จะนำมาแลกเปลี่ยนเป็นเงินหรืออาหาร และสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิตกับชาวบ้านที่ติดต่อสัมพันธ์กัน (น.33) ล่าสัตว์ด้วยกระบอกไม้ไผ่ “บอเลา” หรือที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า “กระบอกตรุด” เป็นเครื่องมือที่ทำจากไม้ไผ่หลอดหรือไม้ไผ่ซางบอเลา บอเลาจะใช้คู่กับลูกดอกหรือบิลา ส่วนปลายลูกดอกถูกชุบด้วยยาพิษชนิดหนึ่ง เรียกว่า “อิโป๊ะ” ทำจากยางไม้ 2 ชนิด มาเคี่ยวรวมกันจนมีสีดำลักษณะข้นเหนียว (น.76) 
 
ในการสร้างที่อยู่อาศัยของชาวมันนิจะเรียกว่า ทับ มักจะเลือกทำเลที่ตั้งบนเนินสูงเพื่อตั้งทับเพื่อป้องกันน้ำป่าหลาก มีอากาศเย็นสบาย อยู่ไม่ไกลจากแหล่งอาหาร ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกระท่อมที่สร้างจากวัสดุธรรมชาติ ในการย้ายทับแต่ละครั้งมันนิจะมีการประชุมกันเพื่อให้ทุกคนรับทราบถึงการจะย้ายทับในกรณีที่บริเวณพื้นที่นั้นไม่สามารถหาอาหารได้แล้วแต่หากมีลางไม่ดี เช่น คนในกลุ่มไม่สบายหลายคนหรือมีคนตายเกิดขึ้นจะย้ายทับทันที

ชาวมันนิเป็นมนุษย์ที่เก็บตัวเงียบมีปฏิสัมพันธ์กับคนภายนอกน้อยมากเนื่องจากด้วยลักษณะนิสัยเป็นคนขี้อาย เกรงใจคนและมักไม่ยอมพูดจากับใครง่าย ๆ ในเขตป่าเทือกเขาบรรทัดพื้นที่จังหวัดตรัง สตูล สงขลาและพัทลุง พบว่าวันนี้มีการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันไปหลายลักษณะขึ้นอยู่กับปัจจัยและความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมอาจแบ่งกลุ่มชาวมันนิเป็น 3 กลุ่มดังนี้ 1. กลุ่มเร่ร่อนอพยพหาของป่า - ล่าสัตว์แบบดั้งเดิม 2. กลุ่มกึ่งเร่ร่อน - เริ่มตั้งถิ่นฐาน 3. กลุ่มที่ตั้งถิ่นฐานถาวรแล้ว (น.23-24)
 

Social Cultural and Identity Change

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับกลุ่มชาติพันธุ์มันนิในปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีและความเจริญก้าวหน้าทางสังคมเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น ชาวมันนิหลังได้รับรู้และทำความเข้าใจกับวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของคนเมืองเริ่มนำเอาวิถีชีวิตของคนเมืองไปใช้ จากกลุ่มสังคมหาของป่าล่าสัตว์แบบดั้งเดิมไปสู่กลุ่มกึ่งเร่ร่อน เริ่มตั้งถิ่นฐาน เกิดจากแรงผลักดันในการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อปากท้องทำให้บางกลุ่มของชนเผ่ามันนิต้องออกมาทำงานในสังคมคนเมืองเพื่อนำเงินมาซื้ออาหาร เครื่องนุ่งห่มและของจำเป็นต่าง ๆ แต่ก็ต้องโดนเอารัดเอาเปรียบเรื่องค่าแรงหรือการแลกเปลี่ยนของป่าที่ไม่ยุติธรรม 

Map/Illustration

- ภาพศูนย์เรียนรู้ชาวมันนิ (โรงเรียนมันนิวิทยา) บริเวณหน้าถ้ำภูผาเพชร อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล (น.2)
- ภาพการดำเนินกิจกรรมลงพื้นที่ครั้งที่ 1 วันที่ 2-3 กุมภาพันธ์ 2562 (น.7-14)
- ภาพการดำเนินกิจกรรมลงพื้นที่ครั้งที่ 2 วันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ 2562 (น.15-21)
- ภาพเสวนาหัวข้อ“แนวทางการคงอัตลักษณ์ของชาวมันนิในกระแสความเปลี่ยนแปลง” (น.27)
- ภาพบอร์ดจัดนิทรรศการ (น.30-37)
- ภาพการจัดเตรียม ส่งมอบติดตั้งนิทรรศการ  (น.38-46) 
- ภาพประชุมสรุปโครงการ (น.46)
- ภาพบุคคลมันนิกลุ่มถ้ำภูผาเพชร (น.49-59) 
- ภาพผังเครือญาติมันนิกลุ่มถ้ำภูผาเพชร (น.60)
- ภาพผังโครงสร้างของทับมันนิกลุ่มภูผาเพชร อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล (น.63)
- ภาพทับที่อาศัย (น.64-65)
- ภาพโครงสร้างภายในของทับที่มีครอบครัว (น.66)
- ภาพทับของชาวมันนิ (น.67-68)
- ภาพวิธีการหลามหมู (น.70-71)
- ภาพกระบอกน้ำทำจากไม้ไผ่ (น.73)
- ภาพวิธีการก่อไฟ (น.74)
- ภาพวิธีการขุดหัวมัน (น.75)
- ภาพลูกดอก (น.78)
- ภาพการตักน้ำดื่มตามแหล่งน้ำธรรมชาติ (น.81)
- ภาพการก่อกองไฟเพื่อประกอบอาหาร (น.82)
- ภาพการสานพึงหรือจ้ง (น.83)
- ภาพการซ่อมแซมทับ (น.84)
- ภาพการทำปะนงโดยใช้ไม้กลม (น.85)
- ภาพเครื่องการยิงนกที่ได้มาจากชาวบ้าน (น.86)
- ภาพการจัดการเรียนการสอนของเด็กมันนิที่ศูนย์การเรียนรู้มันนิหน้าถ้ำภูผาเพชร (น.87)
- ภาพต้นไม้ที่อยู่ใกล้บริเวณที่พักอาศัยเริ่มมีการแตกยอดขึ้นใหม่ (น.89)

Text Analyst สุธาสินี บุญเกิด Date of Report 05 ม.ค. 2566
TAG มันนิ, กลุ่มชาติพันธุ์, วิถีชีวิต, นิทรรศการ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง