สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลาหู่, ลีซู, กลุ่มชาติพันธุ์, พหุวัฒนธรรม, เชียงใหม่
Author เอกภักดิ์ จำแน่, กรกฎ จะนู, จักรวาล กิริยาภรณ์, ศิริพร จุฬาลักษณ์นาถ, กรรณิการ์ สิงตะจักร์, ปฐวีพร จิ๋วสายแจ่ม
Title การเก็บรวบรวมข้อมูลและจัดทำหนังสือภาพถ่ายประกอบคำบรรยาย ชุมชนพหุวัฒนธรรม (ลาหู่ ลีซู และม้ง) ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text -
Ethnic Identity ลีซู, ลาหู่ ลาหู่ ละหู่ ลาฮู, ไทใหญ่ ไต คนไต, จีน จีนแต้จิ๋ว จีนฮกเกี้ยน จีนไหหลำ ไหหนำ จีนกวางตุ้ง จีนแคะ, Language and Linguistic Affiliations -
Location of
Documents
- ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
- ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส.: [เอกสารฉบับเต็ม]
Total Pages 117 Year 2562
Source เอกภักดิ์ จำแน่ และคณะ. (2562). การเก็บรวบรวมข้อมูลและจัดทำหนังสือภาพถ่ายประกอบคำบรรยาย ชุมชนพหุวัฒนธรรม (ลาหู่ ลีซู และม้ง) ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
Abstract

โครงการเก็บรวบรวมข้อมูลและจัดทำหนังสือภาพถ่ายประกอบคำบรรยายชุมชนพหุวัฒนธรรม (ลาหู่ ลีซู และม้ง) ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับการสนับสนุนโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ดำเนินการโดยนักศึกษาสาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เพื่อเก็บรวบรวมองค์ความรู้ทางด้านวัฒนธรรมของพื้นที่พหุวัฒนธรรม จัดทำหนังสือภาพถ่ายพร้อมคำบรรยายทางวัฒนธรรมของพื้นที่พหุวัฒนธรรม และจัดเวทีคืนความรู้สู่ชุมชนนำเสนอข้อมูลพื้นที่พหุวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ อย่างไรก็ดี ในภายหลังพื้นที่ที่ได้กำหนดไว้นั้นไม่สามารถเข้าไปดำเนินกิจกรรมได้ เนื่องจากข้อจำกัดของระยะห่างของแต่ละหมู่บ้านกลุ่มชาติพันธุ์ ผู้ดำเนินโครงการจึงได้มีการระบุพื้นที่ใหม่ โดยอยู่ในอำเภอและจังหวัดเดียวกัน ซึ่งก็คือ ชุมชนพหุวัฒนธรรม (ลีซู ลาหู่ ไทใหญ่ และจีน) บ้านหนองแขม ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่พหุวัฒนธรรมที่มีการอยู่ร่วมกันของ 4 กลุ่มชาติพันธุ์อันได้แก่ ลีซู ลาหู่ ไทใหญ่ และจีน ซึ่งมีความหลากหลายทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ศาสนา และวัฒนธรรม ปัจจุบันกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 4 กลุ่มอยู่ร่วมกัน โดยยังคงรักษาวัฒนธรรมเดิมของแต่ละกลุ่ม อาทิ ความเชื่อที่เกี่ยวกับบรรพบุรุษ การประกอบประเพณีพิธีกรรมตามวาระสำคัญ อย่างไรก็ดี พบความเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจเกี่ยวกับการนับถือศาสนา การแลกรับปรับเปลี่ยนระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ และการได้รับอิทธิพลจากภายนอกชุมชน

Focus

เก็บรวบรวมองค์ความรู้ทางด้านวัฒนธรรมของพื้นที่พหุวัฒนธรรมอย่างรอบด้าน เพื่อจัดทำหนังสือภาพถ่ายและจัดเวทีคืนความรู้สู่ชุมชน ภายในหมู่บ้านหนองแขม อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ศาสนา และวัฒนธรรม ที่อาศัยอยู่รวมกันของกลุ่มชาติพันธุ์ 4 กลุ่ม ได้แก่ ลีซู ลาหู่ ไทใหญ่ และจีน ภายใต้การดำเนินงานของกลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขวิชาวัฒนธรรมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ด้วยเครื่องมือการเก็บข้อมูลภาคสนามข้อมูลชุมชนในลักษณะต่างๆ ได้แก่ แผนที่ชุมชน ผังเครือญาติ ปฏิทินชุมชน ความเชื่อและศาสนา ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น

Theoretical Issues

ใช้วิธีการเก็บรวมรวมข้อมูลภาคสนามโดยการลงพื้นที่สัมภาษณ์ เก็บข้อมูลอย่างรอบด้าน ด้วยเครื่องมือเก็บสึกษาชุมชน เช่น แผนที่ชุมชน ผังเครือญาติ ปฏิทินชุมชน ภายหลังได้มีการสังเคราะห์ข้อมูลเรียบร้อยแล้ว จึงมีการจัดเวทีคืนความรู้สู่ชุมชน เพื่อให้เป็นประโยชน์และเกิดความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันของกลุ่มชาติพันธุ์ และให้เกิดสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่อไป

Study Period (Data Collection)

มกราคม 2562 – พฤษภาคม 2562

History of the Group and Community

จากการพบโบราณสถานบริเวณวัดและโบราณวัตถุ สันนิษฐานว่าในอดีตเดิมเคยเป็นหมู่บ้านที่เจริญในช่วงหนึ่งของการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งนี้มาตั้งแต่แรก ภายหลังได้อพยพย้ายถิ่นฐานไปอยู่แหล่งอื่น ชาวลัวะคิดว่าพื้นที่ไม่เหมาะแก่การอยู่อาศัยเพราะมีการล้มตาย จึงเป็นเหตุให้มีการย้ายที่อยู่หลังจากนี้เลาหลู่ได้อพยพมาจากบ้านถ้ำงอบ อำเภอไชปราการเพราะเกิดความขัดแย้งกับชุมชนเดิมจึงเดินทางมาตามเส้นทางคาราวานและในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เส้นทางนี้เคยเป็นเส้นทางลำเลียงอาวุธของทหารญี่ปุ่นในปี พ.ศ.2482-2488 สันนิษฐานจากการพบอาวุธต่างๆ เช่น ดาบซามูไร ถนนที่ทำจากหิน กระสูนปืน และเศษเหล็ก และอีกหนึ่งสาเหตุที่ได้ย้ายมาในพื้นที่นี้เพื่อดูงานสัมปทานป่าไม้ของตระกูลชินวัตรจึงเลือกพื้นที่แห่งนี้อาศัยอยู่ จากนั้นในปี พ.ศ.2505-2506 ได้ตั้งหมู่บ้านขึ้นเป็นอย่างทางการมีเพียงแค่ 7 หลังคาเรือน ภายหลังได้มีการอพยพย้ายเครือญาติโดยที่เลาหลู่นำรถ 6 ล้อไปรับมาจากอำเภอพาน อำเภอแม่สรวย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงรายและอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ทำให้มีประชากรเพิ่มขึ้น (น.26)

Settlement Pattern

จากการสอบถามพระและคนในชุมชนบ้านหนองแขมอดีตเดิมเคยมีหมู่บ้านที่เจริญอยู่ช่วงหนึ่งของการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะอาศัยอยู่ตั้งแต่แรกสันนิษฐานจากการพบโบราณสถานบริเวณวัดและโบราณวัตถุแต่ได้มีการอพยพย้ายถิ่นฐานไปที่อาศัยอยู่ที่อื่นจากสาเหตุพื้นที่นี้ในอดีตชาวลัวะคิดว่าเป็นพื้นไม่เหมาะแก่การอยู่อาศัยเพราะมีการล้มตายจึงเป็นเหตุให้มีการย้ายที่อยู่หลังจากนี้เลาหลู่ได้อพยพมาจากบ้านถ้ำงอบ อำเภอไชปราการเพราะเกิดความขัดแย้งกับชุมชนเดิมจึงเดินทางมาตามเส้นทางคาราวาน และอีกหนึ่งสาเหตุที่ได้ย้ายมาในพื้นที่นี้เพื่อดูงานสัมปทานป่าไม้ของตระกูลชินวัตรจึงเลือกพื้นที่แห่งนี้อาศัยอยู่พอในปี พ.ศ.2505-2506 ได้ตั้งหมู่บ้านขึ้นเป็นอย่างทางการมีเพียงแค่ 7 หลังคาเรือนหลังจากนั้นก็มีการอพยพย้ายเครือญาติทำให้มีประชากรเพิ่มขึ้น (น.26)

Economy

ปัจจุบันนี้รายได้หลัก ๆ ของคนในพื้นที่ได้มาจากการทำเกษตรกรรมเป็นหลัก มีการทำเกษตรกรรมปลูกข้าวโพด ได้รายจากการปลูกข้าวโพด 40,000 – 100,000 บาท ต่อปี ส่วนรายได้จากการปลูกราคาถั่วจะขึ้นลงไม่คงที่และช่วงหลังมีพันธุ์พืชชนิดใหม่เพิ่มขึ้น มีการปลูกกาแฟ (พันธุ์เชอรี่) ชาวบ้านที่ปลูกกาแฟอยู่ในพื้นที่มีแค่ 6 หลังคาเรือน มีคนเข้ามารับซื้อตลอดเกิดเป็นอาชีพที่มีรายได้ดี การเก็บกาแฟจะเก็บในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 
การทำสมุนไพรเป็นอาชีพหนึ่งของหมู่บ้านหนองแขมเพื่อเป็นการหารายได้พิเศษของชาวบ้าน สมุนไพรจะหาได้จากในป่าและชาวบ้านเอามาใช้เป็นยารักษาโรคต่างๆ เช่น โรคกระเพาะ โรคปวด นอกจากจะใช้เป็นยารักษาประจำบ้านแล้วยังมีการส่งขายออกนอกพื้นที่

ถึงแม้ว่าการทำเกษตรกรรมจะทำรายได้หลักให้กับชาวบ้านแต่พอหมดช่วงฤดูกาลทำการเกษตรชาวบ้านบางคนเลือกที่จะออกไปหางานทำข้างนอกทำเช่น ทำงานรับจ้าง, แม่บ้าน, ก่อสร้าง และงานอื่นๆ เพื่อที่จะเป็นรายได้เสริม (น.31) 

Political Organization

การปกครองนั้นอดีตมีการปกครองตามอายุตามความอาวุโส หรือผู้นำชุมชนเป็นคนมีบทบาทมากที่สุดในหมู่บ้าน  ผิดว่ากันไปตามผิดตามความตัดสินใจของผู้นำหมู่บ้าน แต่ปัจจุบันนี้หน่วยงานภาครัฐเข้ามามีบทบาทในชุมชนในการเลือกตั้ง ผู้ใหม่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แต่ในแท้ที่สุดการจะทำอะไรก็ต้องมีการไปปรึกษากับผู้นำชุมชนอีกที ถึงจะมีการเลือกตั้งตามตำแหน่งงานแต่ก็ต้องผ่านการปรึกษาผู้นำชุมชนเช่นเดิมก่อนจะจัดทำงานหรือกิจกรรมในชุมชน (น.27)

Belief System

ในหมู่บ้านหนองแขมมีการนับถือศาสนาอยู่ 2 ศาสนา คือ ศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์ 
1.ลีซู มีความเชื่อการนับถือผีควบคู่กับศาสนาพุทธ ผีที่สำคัญคือ ผีปู่ผีย่า ส่วนผีที่นับถือและเกรงกลัว คือ ผีที่อยู่ตามธรรมชาติ 
          การเกิด ขั้นตอนในการทำพิธี เตรียมเครื่องเซ่นไหว้ โดยใช้หมูหรือไก่นำไปเซ่นไหว้เพื่อแจ้งให้อาปาโหม่ฮีทราบในขณะนี่มีสมาชิกตัวน้อย เพิ่มขึ้นมาอีก 1 คน และมีการเสี่ยงทายโดยการโยนเหรียญเลือกชื่อ
          การตาย กลุ่มชาติพันธุ์ลีซู ไม่มีป่าช้าสำหรับการฝังศพ แต่จะเลือกสถานที่ที่คิดว่าเหมาะสมโดยการเลือกสถานที่จะใช้การโยนไข่ดิบ ถ้าไข่ตกลงมาแตกแสดงว่าผู้ตายพอใจสถานที่นี้ในการฝังศพ แต่ถ้าไข่ไม่แตกแสดงว่าบริเวณนี้ผู้ตายไม่พอใจ
          ปัจจุบันกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู ยังมีกิจกรรมวัฒนธรรม และพิธีกรรมความเชื่อแบบดั้งเดิมที่ยังคงปฏิบัติกันอยู่ เช่น เทศกาลปีใหม่ พิธีทำบุญเรียกขวัญ
          ภายในหมู่บ้านหนองแขมมีกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูบางส่วน ที่นับถือศาสนาคริสต์ โดยจะมีโบสถ์ 2 ที่ คือ โบสถ์ในบ้านและโบสถ์ใหญ่ โดยจะทำกิจกรรมทุกวันอาทิตย์ ด้วยการสรรเสริญ และสอนคัมภีร์
 
2.ลาหู่  มีความเชื่อเรื่องการเลี้ยงผีในสวน เชื่อว่าทำมาค้าขายดี การแต่งงานของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ ห้ามให้หนุ่มสาวอยู่กินด้วยกันก่อนแต่งงาน หรือห้ามให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านของตนเอง (น.28) นอกจากนี้ยังมีความเชื่อการกินข้าวใหม่ การเก็บเกี่ยวการเกษตรในรอบปีและมีการฉลองหลังเก็บเกี่ยว เพื่อเป็นการสรรเสริญพระเจ้า โดยจะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี 

3.ไทใหญ่ ในหมู่บ้านหนองแขมมีประชากรเพียง 3-4 คนไม่ได้อยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ ทำให้วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม ล้วนทำตามแบบกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู ยกเว้นประเพณีปอยส่างลองที่ยังคงรักษารไว้ โดยจะจัดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม และเมษายน (น.38-39)

4.จีน มีความเชื่อ และศาสนา คือ ความเชื่อเรื่องการไหว้ศาล บรรพบุรุษ และเชื่อเรื่องการทำปีใหม่กินข้าวปุ กินเลี้ยงเฉลิมฉลองปลูกผลผลิตทางการเกษตร การไหว้ผีบรรพบุรุษ ผีปู่ผีย่า และไหว้พระจันทร์ (น.28)
 

Education and Socialization

ระดับการศึกษาของชาวบ้านในชุมชน จากสถิติส่วนใหญ่ถ้าอายุมากกว่า 70 ปี ไม่สามารถพูดภาษาไทยได้ อายุน้อยกว่า 50 ปี สามารถพูดเขียนภาษาไทยได้บ้าง และช่วงอายุ 30 ปี เรื่อยลงมาเริ่มมีการศึกษา ซึ่งจากการสัมภาษณ์ของผู้เก็บข้อมูลระบุว่า ในปี พ.ศ. 2529 ผู้นำชุมชนสมัยนั้น ลุงเร ประจวบ จารุจันญาวงศ์ ได้เชิญนักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง มาสอนเด็กในหมู่บ้าน มาด้วยต่อมาในปี พ.ศ.2539 ผู้นำชุมชน และคณะกรรมการชุมชนทำหนังสือขอให้กองร้อย ตชดที่ 335 ให้เข้ามาทำการสอนหนังสือเด็กและกองร้อย ตชด ที่ 3 สามารถสำรวจและรวบรวมข้อมูลพิจารณาเพื่อส่งครูไปสอนต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ตชด จัดส่งครูเข้ามาสอน 3 นายชื่อว่าโรงเรียน ตชด บำรุงที่ 107 มีการสอนตั้งแต่อนุบาลถึง ป.3 มีนักเรียนทั้งหมด 52 คน ผู้ชาย 27 ผู้หญิง 25 คนและในปี พ.ศ. 2541 ได้โอนโรงเรียนให้สำนักงานปฐมศึกษาเชียงใหม่และตั้งชื่อโรงเรียนว่าโรงเรียนบ้านหนองแขมเปิดสอนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2541 นอกจากการเรียนในห้องเรียนแล้ว มีการเรียนนอกห้องเรียนโดยการเชิญ ปราชญ์ชาวบ้านมาสอน เช่น การดีดซึง การเป่าแคน การเต้นรำ (น.30-31)

Folklore

มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับถ้ำในหมู่บ้าน คือ ถ้ำงู ซึ่งตั้งอยู่ทางหลังหมู่บ้าน มีตำนานเล่าว่า ถ้ำนี้มีงูขนาดใหญ่อาศัยอยู่ภายในถ้ำ เมื่อมีคนเดินทางมาเส้นทางนี้ส่งเสียงดังงูจะออกมากิน ชาวบ้านเลยเชิญคนจีนมาปราบงูตัวนั้นโดยที่ คนจีนนั้นนำหญ้ามาวางบนหัวล่องูออกจากถ้ำแล้วก็ฟันคองูตัวนั้นตาย สาเหตุที่เรียกว่าถ้ำงูนั้น สันนิษฐานว่าบนเพดานถ้ำมีลอยงูขนาดใหญ่เลื้อยผ่านไป (น.27)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

1.ลีซู มีความเชื่อการนับถือผีควบคู่กับศาสนาพุทธ ผีที่สำคัญคือ ผีปู่ผีย่า ส่วนผีที่นับถือและเกรงกลัว คือ ผีที่อยู่ตามธรรมชาติ ปัจจุบันกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู ยังมีกิจกรรมวัฒนธรรม และพิธีกรรมความเชื่อแบบดั้งเดิมที่ยังคงปฏิบัติกันอยู่ เช่น เทศกาลปีใหม่ พิธีทำบุญเรียกขวัญ ชาวลีซูบางส่วนหันไปนับถือศาสนาคริสต์ซึ่งมีศาสนสถานประกอบพิธีกรรม 2 ที่ คือ โบสถ์ในบ้านและโบสถ์ใหญ่ โดยจะทำกิจกรรมทุกวันอาทิตย์ ด้วยการสรรเสริญ และสอนคัมภีร์
 
2.ลาหู่  มีความเชื่อเรื่องการเลี้ยงผีในสวน เชื่อว่าทำมาค้าขายดี การแต่งงานของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ ห้ามให้หนุ่มสาวอยู่กินด้วยกันก่อนแต่งงาน หรือห้ามให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านของตนเอง (น.28) นอกจากนี้ยังมีความเชื่อการกินข้าวใหม่ เพื่อเป็นการสรรเสริญพระเจ้า โดยจะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี 
 
3.ไทใหญ่ ในหมู่บ้านหนองแขมมีประชากรเพียง 3-4 คนไม่ได้อยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ ทำให้วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม ล้วนทำตามแบบกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู ยกเว้นประเพณีปอยส่างลองที่ยังคงรักษารไว้ โดยจะจัดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม และเมษายน (น.38-39)
 
4.จีน มีความเชื่อ และศาสนา คือ ความเชื่อเรื่องการไหว้ศาล บรรพบุรุษ และเชื่อเรื่องการทำปีใหม่กินข้าวปุ กินเลี้ยงเฉลิมฉลองปลูกผลผลิตทางการเกษตร การไหว้ผีบรรพบุรุษ ผีปู่ผีย่า และไหว้พระจันทร์ (น.28)

Social Cultural and Identity Change

การเปลี่ยนศาสนา นอกจากการนับถือผีบรรพบุรุษแล้วยังนับถิศาสนาพุทธและคริสต์ ภายหลังมีพากันเปลี่ยนศาสนาเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุผลว่า “ศาสนาพุทธมีค่าใช้จ่ายเยอะ เพราะเวลาคนในบ้านเจ็บไข้ได้ป่วย ก็ต้องไปจ้างปราชญ์ในหมู่บ้านมาทำพิธีและค่าใช้จ่ายในการเซ่นไหว้ต่างๆ “ เป็นเหตุให้ชาวบ้านบางส่วนเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์

Map/Illustration

- ภาพคริสตจักรไมตรีจิตหนองแขมและศาสนสถานในศาสนาพุทธ (น.29)
- ภาพพระภิกษุสงฆ์ (น.30)
- ภาพเสาปูนแสดงอาณาเขตแนวสายไฟใต้ดิน (น.33)
- ภาพป้ายแสดงโครงการการก่อสร้างของ อบต.เมืองนะ (น.34)
- ภาพผลผลิตทางการเกษตร (น.37)
- ภาพการสัมภาษณ์ขณะลงพื้นที่สำรวจ (น.39)
- ภาพปฏิทิน และผู้ให้สัมภาษณ์ นาย หยังจ่วง แซ่ลู (น.42)
- ภาพบริเวณการประกอบพิธีของลีซูพุทธ (น.44)
- ภาพการเต้นรำของลีซู (น.45)
- ภาพโรงเรียนตำรวจตระเวณชายแดนบ้านหนองแขม (น.47)
- ภาพกิจกรรมของเด็กเล่นของเล่น (น.48)
- ภาพดอยนางนอน (น.48)
- ภาพลักษณะบ้านเรือนในปัจจุบัน (น.49)
- ภาพชาวบ้านหนองแขมสวมใส่ชุดประจำกลุ่มชาตพันธุ์ (น.50)
- ภาพซีรี่ย์สภาพแวดล้อม (น.48-50)
- ภาพซีรี่ย์สัตว์ (น.51-55)
- ภาพซีรี่ย์ชุดประจำชาติพันธุ์ลีซู (น.56-60)
- ภาพซีรี่ย์กิจกรรมยามว่างของเด็ก ๆ บ้านหนองแขม ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ (น.61-65)
- ภาพซีรี่ย์พืชสวนครัวตามเศรษฐกิจพอเพียง (น.66-75)
- ภาพผลการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามภาพเดี่ยวของนักศึกษา (น.75-160)

Text Analyst สุธาสินี บุญเกิด Date of Report 05 ม.ค. 2566
TAG ลาหู่, ลีซู, กลุ่มชาติพันธุ์, พหุวัฒนธรรม, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง