สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ชาติพันธุ์, สิทธิมนุษยชน, ชนเผ่าพื้นเมือง, นโยบาย, กฎหมาย
Author ชูพินิจ เกษมณี, กิตติศักดิ์ รัตนกระจ่างศรี, แกม อะวุงชิ ชิมเร, พิราวรรณ วงศ์นิธิสถาพร
Title การวิจัยสำรวจสถานการณ์และนโยบายชนเผ่าพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity - Language and Linguistic Affiliations -
Location of
Documents
- ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
- ฐานข้อมูลงานศึกษาวิจัยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร : [เอกสารฉบับเต็ม]
Total Pages 44 Year 2563
Source ชูพินิจ เกษมณี และคณะ. (2563). การวิจัยสำรวจสถานการณ์และนโยบายชนเผ่าพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. ค้นคว้าเมื่อ 16 ธันวาคม 2564 , จาก ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส.
Abstract

จากการสำรวจถึงชนเผ่าพื้นเมืองทั่วโลกพบว่า ชนเผ่าพื้นเมืองอาศัยอยู่ในมากกว่า 90 ประเทศทั่วโลก มีอัตราส่วนร้อยละมากกว่า 6 ของประชากรโลก ภายในประชากรร้อยละ 15 ตกอยู่ในสภาวะคนชายขอบและมีสถานะภาพยากจนที่สุด จึงมีการหารือจากสหประชาชาติ ได้จัดตั้ง คณะทำงานว่าด้วยประชากรชนเผ่าพื้นเมือง (Working Group on indigenous Population) ในปี 1982  เรียกย่อๆว่า WGIP ได้เริ่มยกร่างปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองตั้งแต่ปี 1985 แล้วเสร็จในปี 1993 ณ คณะอนุกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ นับจากปี 1995-2006 คณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อพิจารณาร่างเนื้อหาปฏิญญาฯ ที่นำเสนอต่อ คณะมนตรีสิทธิมนุษยชน ผ่านความเห็นชอบแล้วค่อยสู่การนำเสนอสู่ สมัชชาใหญ่ โดยเข้าร่วมจากหลายประเทศในการประชุมสหประชาชาติ และเห็นชอบเป็นส่วนใหญ่ถึง ๑๔๔ ประเทศ จนได้มีวันจัดตั้ง ประกาศวันสากลแห่งชนเผ่าพื้นเมืองโลก ทุกวันที่ 9 สิงหาคม ทุกปี ตั้งแต่ปี 1993 พร้อมทั้งนิยามมโนภาพให้ความหมายต่อคำว่า “ชนเผ่าพื้นเมือง (indigenous Peoples)” เป็นคำสากล แต่ก็มีหลายประเทศมีการใช้คำชื่อเรียกที่แตกต่างกันอยู่บ้างเช่น ชนพื้นถิ่น ชนพื้นเมือง กลุ่มปฐมชาติ ส่วนในประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ปรากฏในมาตรา ใช้คำว่า กลุ่มชาติพันธุ์ จากแผนการปฏิรูปประเทศ กำหนดให้มีการจัดทำ พระราชบัญญัติส่งเสริมและอนุรักษ์วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ โดยรัฐบาลมอบหมายให้ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร รับผิดชอบในส่วนพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับสังคมพหุวัฒนธรรม ที่มีประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละสภาพภูมิศาสตร์ เหนือ ใต้ กลาง อีสาน เนื่องจาก ยังมีกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทยที่ใช้ชีวิตพึ่งพาธรรมชาติ แต่ขาดการรับรองสิทธิทางกฎหมายในด้านต่างๆ และด้วยเหตุนี้ ชนเผ่าพื้นเมืองอาจมีสภาพเป็นกลุ่มเปราะบางถูกละเมิดสิทธิได้จากภาครัฐและภาคเอกชนในช่วงของการพัฒนาประเทศในสังคมอุตสาหกรรม ดังนั้นแล้วในการที่ร่างพระราชบัญญัติจึงต้องมีการศึกษากฎหมายและนโยบายส่งเสริมกลุ่มชาติพันธุ์ จึงมีการศึกษาระบบของหลายประเทศ ได้แก่ประวัติความเป็นมา ประสิทธิภาพของกฎหมายที่นำมาใช้ เพื่อดูเป็นแนวพิจารณาว่าควรยกร่างกฎหมาย พระราชบัญญัติส่งเสริมและอนุรักษ์กลุ่มชาติพันธุ์ ให้ไปในทิศทางใดให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย (น.3-น.7)

Focus

เพื่อรวบรวมข้อสนเทศหรือกรณีศึกษาจากประเทศต่างๆเพื่อนำมาสนับสนุนร่างทางกฎหมายและส่งเสริมดำเนินการคุ้มครองและอนุรักษ์กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทยให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชนชาติพันธุ์ เพื่อคงรักษาไว้ ซึ่งความหลากหลายของชาติพันธุ์ ท่ามกลางสังคมพหุวัฒนธรรม รวมถึงจัดระบบโครงสร้างเชิงสถาบันของรัฐที่จะต้องให้ความคุ้มครอง บริหารจัดการ และให้สิทธิในการใช้ชีวิต คงไว้ดั้งเดิม โดยไม่ถูกคุกคามดำเนินการไปพร้อมกับบริบทของประเทศไทย ตามหลักการสิทธิมนุษยชนที่เป็นมาตรฐานสากลที่นานาชาติเห็นพ้องร่วมกัน (น.5)

Theoretical Issues

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ มีชาติพันธุ์ที่อยู่ในประเทศไทยกันมากกว่า 60 กลุ่ม แต่ละกลุ่มเองก็มีวิถีชีวิตที่แตกต่างหลายและไม่เหมือนกันและบางทีอาจจะมีการขัดแย้งเหลื่อมล้ำซ้อนทับอาณาเขตกันโดยแต่ละฝ่ายอาจไม่ได้เข้าใจกัน รวมถึงในบริบทรัฐสมัยใหม่ที่ต้องการสร้างความเป็นเอกภาพและเดินหน้าพัฒนาประเทศ ส่งผลเข้าไปละเมิดสิทธิในการดำรงชีวิตของชาติพันธุ์กลุ่มอื่นๆ ดังนั้นจึงต้องมีการหาแนวทางนโยบายการส่งเสริมคุ้มครองวิถีชีวิต ชนกลุ่มน้อยของรัฐไทย ภายใต้การผลักดันพระราชบัญญัติส่งเสริมและอนุรักษ์วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ดังนั้นแล้วการศึกษากรณีการร่างกฎหมายเกี่ยวกับนโยบายชาติพันธุ์ จึงมีความสำคัญในการทบทวนบริบทพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของประเทศต่างๆ เพื่อเป็นกรณีศึกษา ได้แก่ สถานการณ์และปัญหาของชาติพันธุ์ในแต่ละประเทศ การสร้างนโยบายการพัฒนาของรัฐ และผลักดันการร่างกฎหมายเพื่อสนับสนุนและเสริมโครงสร้างการบริหารจัดการของกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อลดผลกระทบและความขัดแย้งต่อวิถีชีวิตจุดเด่นจุดด้อยที่เกิดขึ้นคืออะไร  ตัวอย่างประเทศที่ได้ใช้เป็นกรณีศึกษานั้นกฎหมายที่เข้ามาคุ้มครองชาติพันธุ์ในประเทศพวกเขาเกิดขึ้นมาได้จากบริบทอย่างไร (น.3-น.7)

Ethnic Group in the Focus

ชาวเซมิ (Sámi people) เป็นชนพื้นเมืองกลุ่ม Finno-Ugric5 อาศัยอยู่ในบริเวณที่เรียกว่าแซปมิ หรือที่เรียกว่าบริเวณที่ผู้คนอาศัยอยู่ในทางเหนือของยุโรป ทางเหนือของเอเชีย ซึ่งประกอบไปด้วยดินแดนตอนเหนือของประเทศนอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ และคาบสมุทรโกลา ของประเทศรัสเซีย ภาษาที่พูดคือภาษาเซมิอยู่กลุ่มตระกูลภาษา ยูราลิค คนเหล่านี้ถูกเหล่าจักในนามของชาวแลบ (lab landers) ที่อยู่ในแลบแลนด์ แต่ชาวเซมิต้องการให้เรียกดินแดนของพวกเขาว่า แซปมิมากกว่า เพราะถือว่าเป็นพื้นที่ที่เขาอาศัยมาแต่เดิม (น.8)
 
ชนเผ่าพื้นเมืองในแคนาดา (indigenous Canadians) เป็นชนพื้นเมืองที่ตั้งถิ่นฐานในอเมริกาเหนือมาเป็นเวลานานมากแล้ว 40,000 ปีมาแล้ว ประกอบไปด้วยชนเผ่าพื้นเมืองต่างๆมากถึง 640 เผ่าเฉพาะในแคนาดา และกลุ่มคนเหล่านี้มีชื่อเรียกว่า คนพื้นเมืองแคนาดา (Aboriginal Canadians) ชนเผ่าดั้งเดิมแคนาดา (Native Canadians) ประชาชนกลุ่มแรก (First Peoples) และ อินเดียน (Indian) ที่แปลว่าคนพื้นเมือง  ปัจจุบันชนเผ่าพื้นเมืองแคนาดา (indigenous Canadians) ประกอบไปด้วย 3 กลุ่ม ได้แก่ 
 
กลุ่มปฐมชาติ (First Nations) คือกลุ่มที่อยู่มาแต่เดิมก่อนที่ชาวยุโรปจะค้นพบแผ่นดินนี้ในช่วงศตวรรษที่ 18 กลุ่มปฐมชาติมีเส้นทางการค้าทั่วแคนาดา ตั้งแต่เมื่อ 500 ปีถึง 1000 ปีก่อนคริสตกาล แล้วชุมชนต่างๆ ประกอบไปด้วยหลายชนเผ่า บางเผ่าก็มีจำนวนไม่มาก โดยการตั้งถิ่นฐานมีอยู่ทั่วประเทศ (น.26)
 
กลุ่มอินูอิทหรือเอสกิโม (inuit/eskimo) คือกลุ่มที่สืบเชื้อสายมาจากวัฒนธรรมทูเล (Thule culture) จากภาคตะวันตกของรัฐอะลาสก้า (western Alaska) เมื่อประมาณ ค.ศ.1,000 แล้วกระจายตัวข้ามมหาสมุทรอาร์กติก (Arctic Osean) มุ่งหน้ามาทางด้านตะวันออกมาแทนที่วัฒนธรรมดอร์เซ็ท ที่กลุ่มอินูอิทได้รุกรานเข้ามาและได้เริ่มตั้งถิ่นฐานอยู่แถบขั้วโลกเหนือบริเวณกรีนแลนด์ (น.26)
 
กลุ่มเมทิส (Metis) คือกลุ่มที่สืบเชื้อสายมาจากการแต่งงานกับชาวยุโรปส่วนใหญ่แล้วคือฝรั่งเศสกับกลุ่มปฐมชาติอีกหลายกลุ่ม หรือก็คือกลุ่มเลือดผสม ส่วนใหญ่ผสมระหว่างพ่อค้าชาวยุโรปและผู้หญิงชนเผ่าพื้นเมือง แต่ก็มีบางส่วนคือผู้หญิงคือชาวยุโรปและชนเผ่าคือผู้ชาย และอยู่ในช่วงรวบรวมที่แน่นอนอยู่ กลุ่มเมทิสส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส พร้อมกับภาษาชนพื้นเมืองได้อย่างหลากหลาย (น.26)
 
ชนพื้นเมืองของมาเลเซีย ได้แก่ ชาวโอรัง อัสลี ถ้าถูกเรียกในซาบาห์และซาราวัคจะถูกเรียกว่า โอรัง อะซัล คือกลุ่มชนแรกเดิม หรือชนแรกเริ่ม แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ นีกริโต เซนอย และจากุน (หรือโปรโต-มาเลย์) และแบ่งออกได้อีกเป็น 6 กลุ่มย่อย  เทียบได้กับชนพื้นเมืองมาเลย์ เมื่อ 10,000 ปีก่อน จากข้อมูลพวกเขาได้อพยพมาจากตะวันตกเฉียงใต้จากประเทศจีนมายังคาบสมุทรที่ปัจจุบันที่เราเรียกว่า มาเลเซียตะวันตก ก่อนที่อิทธิพลจากประเทศมหาอำนาจอื่นๆ จะตามมาทีหลัง ชนพื้นเมืองเหล่านี้ประกอบไปด้วย 18 ชุมชนเป็นชนกลุ่มน้อยที่สุดของคาบสมุทรมาเลเซีย  (น.35)  นอกจานี้ยังมีชาวโอรัง อูลู และอนัก เนเกรี เป็นชนแรกเริ่มเหมือนโอรัง อัสลี แตกต่างกันตรงที่อาศัยเป็นชนแรกเริ่มในซาบาห์ และ ซาราวัค 

Language and Linguistic Affiliations

ชาวซามิ ภาษาที่พูดคือภาษาเซมิอยู่กลุ่มตระกูลภาษา ยูราลิค ภาษาเซมิ ฟินแลนด์ ได้รับการยอมรับว่าเป็นภาษาพื้นบ้านของสวีเดน 
 
ชนเผ่าพื้นเมืองในแคนาดา (indigenous Canadians)  ประกอบไปด้วยกลุ่มปฐมชาติ (First Nations) มีภาษาพูดมากกว่า 50 ภาษา (น.25) กลุ่มอินูอิทหรือเอสกิโม (inuit or Eskimos) มาแทนที่วัฒนธรรมดอร์เซ็ทใช้ภาษาinuktiitut ใช้คำว่า tuniit) และกลุ่มสุดท้ายกลุ่มเมนทิส มีเลือดผสมระหว่างคนพื้นเมืองและผิวขาวทำให้ภาษาที่พูดของคนส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส (น.26-27)
 
ชนเผ่าพื้นเมืองมาเลเซีย ไม่ปรากฏข้อมูลทางภาษา

Study Period (Data Collection)

ปีงบประมาณ  กันยายน  พ.ศ.2563

History of the Group and Community

ชาวซามิ อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่พวกเขาเรียกว่า แซปมิ ในอดีตน้อยถูกเรียกว่า “ชาวแลบ (Lablanders)” เรียกสั้นๆว่า “แลบ” ชาวเซมินับว่าการเรียกแบบนั้นไม่สุภาพ (น.8) ชาวเซมิมีประชากรกระจายตามภูมิภาคต่างๆ หลายประเทศ นอว์เวยย์ สวีเดน ฟินแลนด์ รัสเซีย มีนักวิชาการบางกลุ่มได้อธิบายว่า ชาวซามิ จัดอยู่ในกลุ่ม ปาเลโอ-ไซบีเรียน (Paleo-Siberian Peolples) และบ้างก็ว่ามาจากยุโรปตอนกลาง (น.9)
 
ชนเผ่าพื้นเมืองในแคนาดา อาศัยและตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ทวีปอเมริกาเหนือมาประมาณ 40,000 ปีมาแล้ว นักโบราณคดีและมานุษยวิทยาค้นพบว่ามีมากกว่า 640 เผ่าที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแคนาดา หรือในทวีปนี้มานาน ปัจจุบันคำจำกัดความ ชนเผ่าพื้นเมืองในแคนาดา ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มปฐมชาติ (First Nations) กลุ่มอินูอิท หรือเอสกิโม (inuit or Eskimos) และกลุ่มสุดท้ายกลุ่มเมนทิส คนภายนอกทวีปจะรู้จักพวกเขาว่าเป็นหรือเหมารวมและเรียกว่าพวกเขารวมกันว่า ชนเผ่าอินเดียนแดง ตามที่นักสำรวจที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งที่ชื่อว่า คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ได้เข้ามาสำรวจจากการเข้าใจผิดคิดว่าประเทศคนนี้คือประเทศอินเดีย จึงเรียกเหล่าชนเผ่าเหล่านี้ว่า อินเดียแดง จนติดปากกัน แต่ความเป็นจริงนั้นมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ (น.24)
 
ชาวโอรัง อัสลี ก่อนยุคที่อังกฤษจะเข้ามาควบคุมเหนือรัฐมาเลย์ บรรดารัฐต่างๆ เต็มไปด้วยชาวโอรังอัสลี จำนวนมากได้อยู่อาศัยเป็นอิสระจากการปกครองของสุลต่านมาเลย์ (อ้างCarey,1976)  ถึงแม้จะมีปฏิสัมพันธ์กันบ้างระหว่างชุมชนกับสุลต่านมาเลย์ (อ้างDental et al ,1998) แต่การเข้ามาของอังกฤษทำให้เกิดการตอกย้ำระบบรัฐชาติสมัยใหม่มาสู่มาเลย์ ทำให้บังคับให้ชาวโอรังอัสลีต้องขึ้นตรงต่อสุลต่าน และถูกมองจากรัฐว่าเป็นพวกไร้รัฐ และมีระดับต่ำเกินกว่าจะมีอธิปไตยหรือสิทธิใดๆ (อ้างSullivan,1998) จากงานชาติพันธุ์วรรณาของยุโรปยุคแรก ได้จัดวางชาวโอรัง อัสลีอยู่ในขั้นแรกของการพัฒนา จัดว่ามีความเชื่องช้าสู่การตั้งถิ่นฐาน มีอารยธรรมที่เคลื่อนที่เข้าสู่ผ่านการตามรอยประชาคมมาเลย์ที่ใหญ่กว่า (อ้างHarper,1998) 

Settlement Pattern

อ้างอิง Henriken J (1999) รัฐบาลต่างๆ ได้อธิบายไว้ว่า ชาวซามิ แบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆมีลักษณะการใช้ชีวิตที่ไม่เหมือนกัน เช่น กลุ่มเลี้ยงกวางเรนเดียร์,กลุ่มที่อาศัยอยู่ชายฝั่ง,กลุ่มที่อาศัยอยู่ที่ริมแม่น้ำ,กลุ่มที่อาศัยอยู่ในป่า,ชาวซามิในฟินแลนด์หรือชาวซามิในรัสเซีย ฯลฯ (น.9) ดังนั้นลักษณะการตั้งถิ่นฐานจะขึ้นอยู่กับกลุ่มของชาวซามิ
 
อ้างอิง Robert j.makle (2007) ชนพื้นเมืองแคนาดา กลุ่มปฐมชาติมีเส้นทางการค้าทั่วแคนาดา ทำให้ชุมชนต่างๆได้พัฒนาวัฒนธรรมและชุมชนการตั้งถิ่นฐานไปคนละรูปแบบ จารีตประเพณี และคุณลักษณะเฉพาะของแต่ละกลุ่ม เช่น กลุ่มปฐมชาติที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มที่อยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิก กลุ่มที่อยู่ตามพื้นราบ กลุ่มที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ป่าภาคเหนือ กลุ่มที่ตั้งถิ่นฐานรอบๆทะเลสาบเกรต (Great lake) กลุ่มที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่แถบแอตแลนติก นอกจากนี้ก็มีเผ่าเล็กๆ ที่มีประชากรน้อยตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจายกันทั่วประเทศด้วยเช่นเดียวกัน (น.25) นอกจากนี้มีลำดับชั้นทางสังคมที่ซับซ้อน บ้างก็ตั้งถิ่นฐานถาวรในเมือง การเกษตรกรรม วัฒนธรรมเหล่านี้พัฒนาไปพร้อมกับคนผิวขาวที่เข้ามาจากยุโรป
 
กลุ่มเมทิส การแต่งถิ่นฐานคล้ายกับกลุ่มปฐมชาติ เพราะกลุ่มเมทิสเป็นการแต่งงานเข้ามาของคนขาวยุโรปซึ่งส่วนใหญ่เป็นฝรั่งเศสที่เข้ามาแต่งงานกับชนเผ่าพื้นเมือง (น.26)
 
กลุ่มอินูอิทในแคนาดา มีการถิ่นฐานอยู่ในแถบแลบราดอร์ ไม่มีหลักฐานการเข้ามาตั้งถิ่นฐานในแคนาดาเมื่อไหร่มาแน่ชัด แต่คาดว่าเป็นอิทธิพลของวัฒนธรรมทูเล ที่กระจายตัวข้ามสมุทรอาร์กติกเข้ามาแทนที่วัฒนธรรมดอร์เซ็ท ที่เข้ามาในกรีนแลนด์  ที่ปัจจุบันคือส่วนหนึ่งของแคนาดา (น.26)
 
ชนเผ่าพื้นเมืองในมาเลเซีย หรือชนแรกเริ่ม ได้แก่ โอรัง อัสลี  อาศัยอยู่ในคาบสมุทรมาเลเซีย  ถ้าเป็นชนแรกเริ่มที่อยู่ในรัฐซาบาห์และรัฐซาราวัค จะถูกเรียกว่า โอรัง อะซัล มีความหมายคล้ายๆกันแค่เป็นชนแรกเริ่มเหมือนกันอยู่แต่อยู่กันคนละพื้นที่ และ ชนเผ่าพื้นเมืองอื่นๆ ได้แก่ โอรัง อูลู และอนักเนเกรี (น.36)

Demography

ชาวซามิ ปัจจุบันชาวเซมิมีประมาณ 70,000 – 10,000 คน (น.9)
 
ชนเผ่าพื้นเมืองแคนาดา มีจำนวน 1,673,780 คน แยกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มปฐมชาติ (First nations) มีจำนวน 977,230 คน กลุ่มอินูอิท (inuit or Eskimo) มี จำนวน65,025 และกลุ่มเมทิส (Metis) จำนวน 587,545 คน (น.24-25)
 
ชนเผ่าพื้นเมืองของมาเลเซีย โอรัง อัสลี มีประมาณ 210,000 คน หรือ 0.7% ของประชากรถ้านับเฉพาะ เป็นชนพื้นเมืองในคาบสมุทรมาเลเซีย แต่หากนับรวมกับ โอรัง อัสลี ที่ถูกเรียกว่าโอรัง อะซัล ในบาซาห์และซาราวัค และรวมกับชนเผ่าพื้นเมืองอื่นๆ อย่างโอรัง อูลู (ซาราวัคเป็นส่วนใหญ่และกระจายไปตามรัฐอื่นๆ) และอนัก เนเกรี (ซาบาห์)  โดยรวมแล้วจะมีประมาณ 13.8 % ของประชากร จากการรับรองโดยรัฐบาลในปี 2015 (น.36-น.37)

Social Organization

ชาวซามิกับ การจัดตั้ง สภาซามิ ที่รับรองโดยชาวซามิ ซึ่งเป็นองค์กรสูงสุดของซามิ ที่เกิดจากการรวมกลุ่มทางสังคมของชาวเซมิเกิดขึ้นเพราะมีปัญหาที่เกิดขึ้นต่อพวกเขาหลายด้าน  สมาคมแห่งแรกเริ่มต้นที่ประเทศนอร์เวย์ ได้เริ่มจัดทำวารสารฉบับแรกของชาวซามิชื่อ “ ซาไก ลุตตาเลตเจ” ที่มีประเด็นเกี่ยวกับสังคมของชาวซามิ หลังจากนั้นก็ทำให้สวีเดนได้จัดตั้งองค์กรทางสังคมเกี่ยวกับชาวซามิตามกันมา โดยมีการพูดคุยหารือกันระหว่างชาวซามิในระหว่างเขตแดน จนมีการจัดตั้งองค์กรครบกันทั้ง 3 ประเทศนอร์ดิก ประกอบไปด้วย ฟินแลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน ทำให้มีพื้นที่สำหรับชาวซามิเข้าไปมีส่วนร่วมการเมืองตั้งแต่ในระดับชาติของตัวเองลามไปถึงระดับภูมิภาค แต่ยังขาดประเทศรัสเซียที่ยังไม่มีความคืบหน้า และก็พบว่าชาวซามิเริ่มมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองตามมาในระยะหลัง (Henriken J ,1999) (น.8-น.21)
 
การจัดตั้ง JOAS อันเป็นเครือข่ายขององค์กรประชาคมชนเผ่าพื้นเมืองในมาเลเซีย ซึ่งมีการออกมาเรียกร้องเคลื่อนไหวทางเมือง นักเคลื่อนไหวต่างๆในมาเลเซีย ที่ดำเนินการในหลากหลายด้าน ที่สำคัญคือเรื่องสิทธิในที่ดินของชนพื้นเมือง ที่มีเครือข่ายร่วมกับ UNHCR ในการช่วยเหลือชนพื้นเมือง เช่น ชนกลุ่มน้อยในพม่า การลี้ภัยของชาวโรฮิงยา (น.34)

Political Organization

ชาวซามิกับ นโยบายการกลืนกลายของรัฐ  รัฐบาลในกลุ่มประเทศนอร์ดิก มีความพยายามทำให้ชาวซามิกลายเป็นคนกระแสหลัก (assimilation policy) เช่น การห้ามพูดภาษาซามิในโรงเรียน จึงเป็นผลทำให้ชาวซามิรวมตัวออกมาเรียกร้องอัตลักษณ์ของตัวเอง โดยต้องการให้รัฐ จัดตั้งโรงเรียนในการเรียนการสอนภาษาซามิเพื่อคงไว้ซึ่งภาษาของกลุ่มตน นำมาสู่บัญญัติสู่การคุ้มครองและพัฒนาภาษา The Sami Act (1987) (น.10) ปัญหาสิทธิที่ดิน ที่ชาวซามิได้รับผลกระทบการต่อสู้แย่งชิงสิทธิที่ดินระหว่างบริษัทเหมืองแร่และชาวซามิ  การเรียกร้องให้คุ้มครองพื้นที่การเลี้ยงกวางที่ก้ำกึ่งพรมแดน 
 
จากแต่เดิมรัฐบาลแคนาดาแต่เดิมนั้นอยู่ภายใต้อิทธิพลของอังกฤษ จนมาประกาศเอกราชในภายหลังในการปกครองตนเอง โดยปกครองแบบรัฐเป็นต้นมา การได้รับอิทธิพลการปกครองสมัยใหม่แบบอังกฤษเป็นรากฐานสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญที่ร่างจากสหพันธรัฐทั้ง 10 รัฐ จึงได้มีกฎหมายเกี่ยวข้องกับชนพื้นเมืองในแคนาดาควบคู่ในรัฐธรรมนูญที่เกิดจากการเรียกร้องสิทธิต่างๆ ที่ชนพื้นเมืองได้เรียกร้องจากรัฐบาลมานาน เป็นสนธิสัญญา และข้อตกลง เพราะเถอะว่าชนพื้นเมืองเป็นเจ้าของแผ่นดินมาก่อนคนผิวขาว ซึ่งนำมาสู่สิทธิพิเศษหลายประการ โดยเฉพาะชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สงวน ได้รับการยกเว้นภาษี ไม่ต้องเสียภาษีการค้า ไม่ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย ไม่เสียค่าเล่าเรียนจนถึงปริญญาตรี และอีกมากมายและได้รับการรับรองสหประชาชาติ ที่ดูเหมือนว่าจะมีอภิสิทธิ์เหนือกว่าพลเมืองกลุ่มอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากชนเผ่าพื้นเมืองประสบกับปัญหาหลายอย่างที่เกิดขึ้นกับชนเผ่าพื้นเมือง เช่น ความยากจน การโดนดูถูกเหยียดหยาม ปัญหาที่เกิดจากโรงเรียนกินนอนแบบประจำที่นำเอาชนพื้นเมืองเข้าไประบบ และที่สำคัญภาษาอยู่ในภาวะวิกฤติ เนื่องจากการเข้ามาของเทคโนโลยี ระบบทุนนิยม การศึกษาสมัยใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (น.27-น.30)
 
ชาวโอรัง อัสลี แต่ก่อนไม่ได้อยู่ภายใต้สุลต่านที่ปกครองสหพันธ์รัฐมาเลย์ หลังจากที่อังกฤษเข้ามาปกครองคาบสมุทรมาเลย์เหนือสุลต่าน  คือจุดเริ่มต้นทำให้เกิดกฎหมายที่เข้ามาคุ้มครองชาติพันธุ์ ที่ต้องการควบคุมไม่ให้เกิดปัญหาอยู่เหนือกฎหมาย เนื่องจากในสมัยของการปกครองภายใต้รัฐอังกฤษมองชาวโอรัง อัสลีว่าเป็นกลุ่มที่ล้าหลังอ่อนด้อยทางเมือง การออกนโยบายทางกฎหมายมาก็เพื่อปกป้องและจัดสรรสวัสดิการแก่ชาวโอรัง อัสลีเอง เพื่อตอบสนองต่อความเป็นอยู่ (อ้างDental er al,1998) ไม่ว่าจะเป็นวิกฤติการณ์ที่มีการสู้กันระหว่างสหพันธ์มาลายากับอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ ทำให้เกิดกฎหมายคุ้มครองดูแล พระราชฎีกาดูแลคนพื้นเมือง (Aboriginal Peoples Ordinance) ในปี 1954 ที่คือกฎหมายแรกที่เข้ากำกับควบคุมการบริหารระหว่างรัฐและชาวโอรัง อัสลี ปัจจุบันคือกฎหมายชนพื้นเมือง โดยภายใต้กฎหมายนี้คือรองรับโดยรัฐธรรมนูญ รวมถึงรับรองสิทธิที่ดิน ตามประเพณีและกฎระเบียบ จารีต ประเพณี ที่ชนพื้นเมืองจะได้ ติดตรงปัญหาตรงที่ไม่ได้นำมาใช้อย่างเหมาะสม เมื่อมีการรวมประเทศกันระหว่างสหพันธ์มาเลยัน กับ ซาบาห์ และ ซาราวัค กฎหมายนี้ก็ถูกนำไปใช้กับชาวโอรัง อะซัล ในรัฐที่รวมด้วย รวมกันเป็นประเทศมาเลเซีย มีความขัดแย้งเรื่องการเมือง การชิงอำนาจพรรคหลายๆพรรค พอผ่านไปหลายยุคหลายสมัย ผ่านการเรียกร้องจากนักสิทธิมนุษยชนและตัวของชนพื้นเมืองที่ออกมาเคลื่อนไหว ในเวลาถัดมาเลเซียได้รับรองและปฏิญาณกับสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง (UNDRIP) (น.31) และมีกฎหมายที่มีต่อชนพื้นถิ่นอื่นๆ ตามมาไม่ว่าจะเป็น พระราชกฤษฎีกา เพื่อ ชนพื้นถิ่นแห่งบาซาห์ ชนพื้นถิ่นซาราวัค ให้ทั่วถึงมาเลเซียถูกปรับไปตามกรอบของสิทธิมนุษยชนและยอมรับในสากลขึ้น

Education and Socialization

ชนพื้นเมืองในแคนาดา ถูกส่งเสริมทางด้านภาษา โดยที่ภาครัฐได้เปิดหลักสูตร คณะชนเผ่าพื้นเมืองศึกษา (Department of indigenous Studies)  ในมหาวิทยาลัย 25 แห่งในแคนาดา ทั้งตรีและโท เอก เนื่องจากหนึ่งในปัญหาของชนพื้นเมืองแคนาดาคือ ภาษาของชนพื้นเมืองกำลังอยู่ในสภาวะวิกฤติ (น.28) นอกจากนี้รัฐบาลแคนาดานั้น รัฐบาลยังแก้ปัญหาที่รัฐบาลในอดีต ที่มีนโยบายกลืนความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ โดยเคยนำชนเผ่าพื้นเมือง เข้าไปในโรงเรียนกินนอนแบบประจำ (Residential schools / boarding schools) : ที่สร้างบาดแผลทางประวัติศาสตร์ต่อชนเผ่าพื้นเมือง ไม่ว่าจะเป็น การลืมภาษาและวัฒนธรรม ความรุนแรงในสถานศึกษา จนนำสู่การจัดตั้ง คณะกรรมการตามหาความจริงและไกล่เกลี่ย (Truth and Reconcilation Comission) เพื่อชดใช้ค่าเสียหายแก่ชนเผ่าพื้นเมืองที่เคยถูกกระทำจากความพยายามผลักไสอัตลักษณ์เดิมของพวกเขา

Health and Medicine

สวัสดิการด้านการดูแลสุขภาพ สาธารณสุขที่ปรากฏในงานพบเพียงของชนเผ่าพื้นเมืองในแคนาดา เนื่องจากนับว่าเป็นเจ้าของแผ่นดินมาก่อนคนผิวขาว จึงได้รับสิทธิพิเศษอื่นๆ จากรัฐบาลอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็น สิทธิที่จะไม่ต้องเสียภาษีรายได้บุคคล ไม่ต้องเสียภาษีการค้า สิทธิในการศึกษาจนถึงระดับปริญญาตรี และได้รับเงินสนับสนุนที่อยู่อาศัยและพื้นที่สงวน สิทธิที่จะไม่ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ชาวเซมิ (Sámi people) วิถีชีวิตแต่เดิมดำรงชีวิตด้วยการจับปลา ล่าสัตว์ มีการเลี้ยงกวางเรนเดียร์ มีการเลี้ยงใช้เป็นพาหนะ ซึ่งสงวนการล่ากวางไว้ให้สำหรับเฉพาะชาวเซมิในแถบนอร์ดิก ถึงแม้ว่าปัจจุบันการเลี้ยงแบบเร่ร่อนไม่มีแล้ว เปลี่ยนมาเป็นการเลี้ยงในฟาร์มตามชุมชน และหันมาทำงานในหน่วยงานรัฐ งานรับจ้าง ทำเหมืองแร่ การประมง อุตสาหกรรมมากขึ้น เริ่มกลายเป็นกลุ่มคนในกระแสหลัก (Assimilation policy) โดยกระแสของโลกาภิวัตน์และทุนนิยมสมัยใหม่ แต่อย่างไรก็ตามความพยายามในการธำรงทางอัตลักษณ์ของชาวเซมิเคลื่อนไหวจนได้มีการจัดตั้งรัฐสภาเซมิในการมีส่วนร่วมกับการร่างกฎหมายต่อไปโดยเข้ามามีบทบาททางการเมืองผลักดันสู่ข้อกฎหมาย (น.19)
 
ชนเผ่าพื้นเมืองในแคนาดา (indigenous Canadians) เป็นชนที่มีวิถีชีวิตอยู่มาก่อนที่ชาวยุโรปจะเข้ามา ประกอบไปด้วยชนเผ่าเล็กๆ จำนวนมาก ทำอาชีพเกษตรกรรม มีสถาปัตยกรรม มีเส้นทางการค้าทั่วแคนาดา มีจารีตประเพณีของแต่ละกลุ่ม และมีภาษาของตนมากกว่า 50 ภาษา ถึงแม้ว่าในทางนโยบายทางกฎหมายชนเผ่าพื้นเมืองจะนับว่าอยู่มาก่อนคนผิวขาวยุโรป ได้รับสิทธิพิเศษมากมายจากการรับรองโดยสหประชาชาติ  แต่ชนเผ่าพื้นเมืองเหล่านี้ก็ยังประสบกับปัญหาความยากจน ปัญหาสังคมที่มากกว่ากลุ่มพลเมืองอื่นๆ รวมถึงปัญหาจากในอดีตอย่างการนำเด็กชนพื้นเมืองเข้ามาสู่ระบบการศึกษาและการเปลี่ยนวิถีชีวิต ส่งผลทำให้ภาษาชนพื้นเมืองอยู่ในภาวะวิกฤติ มีประชากรที่มีการพูดภาษาดั้งเดิมของตนไม่ได้มากถึง ร้อยละ 80  (น.27)
 
ชาวโอรัง อัสลี คือชนแรกเริ่มเดิมของคาบสมุทรมาเลย์ งานชาติพันธุ์ของชาวยุโรปมองว่า อัสลีอยู่ในขั้นแรกของการพัฒนาและเชื่องช้า มีระดับต่ำมากเกินกว่าจะมีอธิปไตยหรือสิทธิในทรัพย์สินใดๆ และมีจำนวนที่น้อย ทำให้เจ้าอาณานิคมในสมัยนั้นมองว่ามีความอ่อนด้อยทางการเมืองและมีวัฒนธรรมที่ต่ำกว่าพวกตน  เพราะเปรียบเสมือนกลุ่มคนไร้รัฐ (น.31) จึงได้มีกฎหมายชนพื้นเมืองเข้ามาคุ้มครองดูแลเพราะชนกลุ่มนี้จัดว่าอยู่ว่าเป็นกลุ่มคนชายขอบเปราะบางในสถานการณ์รัฐสมัยใหม่

Social Cultural and Identity Change

ความเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายที่เข้ามาคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์นั้นที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศนอร์ดิก แคนาดา และรัสเซีย จุดร่วมที่สำคัญของกระบวนการนี้คือ ต้นเหตุนั้นเกิดจากกระบวนการสร้างรัฐชาติสมัยใหม่ ที่มีพรมแดนและอำนาจควบคุมชัดเจน เนื่องจากชาติพันธุ์ที่อยู่ในพื้นที่ไม่ได้มีสำนึกร่วมของความเป็นรัฐชาติ แต่หากใช้ชีวิตตามอัตลักษณ์และวิถีชีวิตดั้งเดิมของตัวเอง ที่ไม่ได้ไปตามกระแสหลักของโลกาภิวัตน์ ดังนั้นเมื่อพรมแดนรัฐชาติเกิดขึ้นจึงต้องมีการรวมศูนย์กลุ่มชนใดก็ตามที่อยู่ในขอบเขตแดนของชาตินั้น ประเด็นหลักที่ตามมาคือ กฎหมายและมาตรฐานเดียวสร้างปัญหาแก่คนที่มีอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ดั้งเดิม ที่ใช้ชีวิตพึ่งพาธรรมชาติ

Other Issues

ประเด็นของกระบวนการจัดทำกฎหมาย
การจัดทำกฎหมายที่เข้ามาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแต่ละประเทศมีการเผชิญกับบริบทที่ต่างกันออกไป   เช่น ชาวซามิในกลุ่มประเทศนอร์ดิก คือชนพื้นเดิมที่ใช้ชีวิตอาศัยและเคลื่อนย้ายไปมาอิสระระหว่าง 4 ประเทศนี้แล้ว ปัญหาหลักคือเรื่องพรมแดนรัฐ สิ่งที่กลุ่มนักวิชาการทำอันดับแรกคือ ศึกษาว่าพวกเขาเป็นใคร มีวิถีชีวิตเป็นอย่างไร  ภาษาที่ใช้ ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณไหน มีการสำรวจประชากรในเชิงปริมาณในงานของต่างประเทศมาคร่าวๆ เพื่อให้ทราบการกระจายตัวที่แน่นอนของเหล่าชาติพันธุ์นี้ ประกอบกับสิ่งที่เกิดขึ้นคือชาวซามิมีการรวมกลุ่มรวมตัวกัน เป็น สภาซามินอร์ดิก เนื่องจากมองว่ามีความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันเพื่อตัวของพวกเขาเอง โดยรวมตัวและจัดตั้งองค์กร ประชุมกันระหว่างหลายประเทศ เพราะความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นของชาวซามิในแต่ละที่ต่างก็เห็นพ้องตรงกันสำหรับ การสร้างกลไกนี้เพื่อผลักดันเข้าสภา  ดังนั้นการขับเคลื่อนใน นอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ นั้นมีความก้าวหน้าเนื่องจากมีความเป็นประชาธิปไตยและรับฟังเสียงผ่านกระบวนการเลือกตั้ง แต่จุดอ่อนที่เกิดขึ้นคือเนื่องจากรัฐสภาเซมิ จะมีปัญหาตรงที่พรมแดนที่ยังแก้ไม่ขาดแต่ก็อยู่ในระยะของการผลักดันและรัฐธรรมนูญระหว่างประเทศที่ยากในการจะไปในทิศทางเดียวกัน และทรัพยากรและทุนสนับสนุนอาจไม่เพียงพอ เรื่องสิทธิที่ดินยังไม่สามารถแก้ไขได้ และอำนาจทางภาษาที่จำกัดการสื่อสาร ที่ไม่สามารถมีอำนาจในการออกกฎหมาย (น.8-น.21)
 
ในส่วนต่อมาคือ ชนพื้นเมืองในแคนาดา จะความคล้ายคลึงกัน เช่น กลุ่มนักวิชาการมีการศึกษาค้นคว้า ที่มาของชนพื้นเมือง วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และสำรวจเชิงปริมาณเพื่อทราบจำนวนประชากร โดยจะพบว่าตัวเลขการสำรวจเชิงประชากรของแคนาดามีความใกล้เคียงตัวเลขจริงและครอบคลุมสูง ทำให้ตัวของรัฐเองสามารถผลักดันรัฐสวัสดิการต่างๆ และจัดสรรสิทธิพิเศษต่างๆ ให้กับกลุ่มชนพื้นเมืองของแคนาดาได้ แถมมีบัตรประจำตัวชนพื้นเมือง อาจจะเกิดจากที่รัฐบาลแคนาดาในอดีต มีความพยายามรวมศูนย์ความเป็นชาติ โดยพยายามรวมกลุ่มชาติพันธุ์เข้ามาสู่สังคมกระแสหลักมาก่อนระยะหนึ่ง โดยความพยายามให้กลุ่มชาติพันธุ์มาเป็นคนกระแสหลักตามพลเมืองทั่วไปให้ได้ จึงทำให้เกิดวิกฤติการณ์ภาษาที่เริ่มหายไปของชนเผ่าพื้นเมือง จุดเด่นขอแคนาดามีกฎหมายและสวัสดิการที่รอบด้านให้กับชนพื้นเมือง อีกทั้งยังมีการสร้างระบบการศึกษาที่จะคงไว้ซึ่งภาษาดั้งเดิมของชาติพันธุ์ ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัย แต่สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากการเรียกร้องที่มีนาเนิ่นนานเพราะชนพื้นเมืองเหล่านี้มีการเลี้ยงร้องสิทธิ โดยมีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญของแคนาดา โดยรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ชัดเจนว่า ชนเผ่าพื้นเมืองนั้นเป็นเจ้าของแผ่นดินมาก่อนคนผิวขาวที่อพยพเข้ามาภายหลัง (น.23-น.30)  
 
ในลำดับสุดท้ายของ ชนพื้นเมืองในมาเลเซีย เริ่มต้นที่นักวิชาการมีการสำรวจประชากรที่แน่นอนของ  ชนกลุ่มนี้ พบว่า ชนพื้นเมืองอย่างเช่น โอรัง อัสลี นั้นมีจำนวนประชากรที่น้อยและไม่มีอำนาจที่จะเข้ามาผลักดันในการเมือง  ในปี 2015 ประชากรชนเผ่าพื้นเมืองที่รับรองโดยรัฐบาลในปี 2015 มีประมาณ 13.8 % (น.36-37) ต่างกันกับกรณีของชนพื้นเมืองในแคนาดาและชาวซามิ มีจำนวนมาก และสามารถร่วมกลุ่มกันสร้างการต่อรองทางการเมืองได้ และอุปสรรคในการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิของชนพื้นเมืองในทางการเมืองของมาเลเซีย อันดับแรกคือความเป็นพลเมืองชาติพันธุ์มาเลย์ของมาเลเซียคือมีจำนวนประชากรที่เป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับการมีอยู่ชาวอินเดีย และชาวจีน ถ้าหากไม่นับรวมกับสิงคโปร์ก็ถือว่ามีจำนวนมหาศาล ทำให้เกิดประเด็นการรวมเสียงทางการเมือง เพื่อสนับสนุนอภิสิทธิ์เพื่อชาติพันธุ์มาเลย์ไว้เป็นส่วนใหญ่ โดยป้องกันการครอบงำจากชาวจีนและอินเดีย  เรียกว่าเป็นการเมืองแบ่งแยกที่เข้มข้นนี่ยังส่งผลในระดับรากหญ้า โดยกฎหมายเลือกที่จะพิทักษ์รักษาตำแหน่งสำคัญของคนส่วนใหญ่ไว้ก่อน ที่ส่งผลกระทบต่อชนเผ่าพื้นเมือง ในด้านสิทธิในที่ดิน เขตแดน ทรัพยากรคือเรื่องหลักๆ ที่กลุ่มชาติพันธุ์ ที่ไม่มีอำนาจทางการเมืองเข้าไปต่อรอง ในการใช้ที่ดินตามจารีตประเพณีของกลุ่มตัวเอง แต่อย่างไรก็ตามก็มีการเคลื่อนไหวขึ้นมาจากระดับเล็กๆมาสู่ระดับใหญ่ขึ้น ให้เกิดการยอมรับ ความเป็นชาติพันธุ์ จนเกิดเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ ในที่ทำกินก่อน เช่นเรื่องที่ดิน ป่าไม้ การประมง อุทยาน สัตว์ป่า  แต่ติดตรงที่ประเพณีของชนพื้นเมืองมีลักษณะเลื่อนลอย จึงไม่สามารถระบุขอบเขตการใช้ที่ดินที่แน่นอนได้ ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิของชนพื้นเมืองหลายครั้ง  รวมถึงการพัฒนาสร้างเขื่อนที่รุกล้ำอาณาเขตทำกินตามประเพณีของชนพื้นเมือง ในระดับต่อมาคือเรื่องการศึกษาและการเข้าถึงข้อมูลที่ชนพื้นเมืองยังเข้าไม่ถึง และสิทธิสตรีที่ถูกเลือกปฏิบัติภายใต้การกดทับทับซ้อน (น.43-44) ยังคงเดินหน้าเคลื่อนไหวให้ความเป็นธรรมตามหลักสิทธิมนุษยชนต่อไป  
ดังนั้นหากประเทศไทยจะนำกรณีศึกษาจากชาวซามิไปใช้คือต้อง ให้ชาติพันธุ์ได้เห็นคุณค่าและมีการร่วมมือกันและเห็นพ้องต้องกันในการรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างอำนาจทางการเมืองเพื่อนำเข้าสู่สภา เกิดการรวมกลุ่มเหมือนกับ รัฐสภาเซมิ 
 
ส่วนกรณีของแคนาดามาใช้ หลังจากมีการเรียกร้องและเคลื่อนไหวจากชาติพันธุ์ ต้องมีการสำรวจกลุ่มชาติพันธุ์ที่แน่นอน มีการระบุในบัตรประชาชนว่าคนกลุ่มนี้คือชาติพันธุ์ เช่นเดียวกับของแคนาดาที่มีบัตรประจำตัวชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อรัฐจะจัดสรรสวัสดิการ และคุ้มครองสิทธิทำมาหากินตามจารีตของชนเผ่าพื้นเมือง แต่อย่างไรก็ตามจะไม่ควบคุมและชี้นำเสรีภาพในการใช้ชีวิตของพวก เพียงแค่คุ้มครองสิทธิเพื่อมาผลักดันจนได้รับการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญที่ชัดเชน เพราะรากฐานของแคนาดาคือ ชนเผ่าพื้นเมืองมีส่วนร่วมกับรัฐธรรมนูญมาก่อน ทำให้กฎหมายนำมาใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม และมีการอนุรักษ์สอนภาษาของชนเผ่าพื้นเมืองมาไว้ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยบ้างเช่นเดียวกัน 
 
และกรณีสุดท้ายของสิทธิชนพื้นเมืองของมาเลเซีย มีการนำ “จารีตประเพณีและการใช้ประโยชน์”ของชนพื้นเมืองเข้าไปในนิยามของกฎหมายรัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐมาเลเซีย เพื่อให้สอดคล้องกับความหลากหลายของบริบท เช่น บริบทในคาบสมุทรมาเลเซีย ซาราวัค และบาซาห์

Map/Illustration

ภาพที่ 1 โครงสร้างสภาซามิ หน้า 14
ภาพที่ 2 ซามิและรัฐสภาระดับชาติในฟินแลนด์ หน้า 16
ภาพที่ 3 ซามิและรัฐสภาระดับชาติในสวีเดน หน้า 17 
ภาพที่ 4 ชาวซามิและรัฐสภาในประเทศนอร์เวย์ หน้า 18
ภาพที่ 5 ช่วงเวลาของกระบวนการเคลื่อนไหวของชาวซามิ หน้า 20

Text Analyst Date of Report 05 ม.ค. 2566
TAG ชาติพันธุ์, สิทธิมนุษยชน, ชนเผ่าพื้นเมือง, นโยบาย, กฎหมาย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง