สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject พิธีกรรม, ปกาเกอะญอ, คนสันโป่ง
Author สุริยัน ปาละอ้าย
Title โครงการ “ปาสะโฮโพ” รักวิถีปกาเกอะญอ ร่วมสานต่อพิธีกรรมของคนสันโป่ง
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ปกาเกอะญอ, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
- ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส.: [เอกสารฉบับเต็ม]
- ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
Total Pages 20 Year 2562
Source
Abstract

คณะผู้จัดทำได้ดำเนินโครงการโดยผ่านกระบวนการในการมีส่วนร่วมผ่านการอิงหลักการของ KUSA คือ ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ ทัศนคติ ส่งผลให้การจัดโครงการเกิดผลลัพธ์ตามที่ตั้งไว้และโครงการได้มีการจัดประเด็นพิธีกรรมของคนบ้านสันโป่งออกมาสามประเด็น คือ พิธีกรรมทางชุมชน พิธีกรรมทางครอบครัวและพิธีกรรมทางเกษตร ตรงส่วนนี้การจัดกิจกรรมได้รับความร่วมมือจากเด็กและเยาวชนจนทำให้เกิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและได้สร้างความรู้ความเข้าใจพร้อมเกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติได้จริงตามวัตถุประสงค์ เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิธีกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอที่มีทั้งหมดสามด้าน คือ ด้านชุมชน ด้านเกษตรและด้านครอบครัว อีกทั้งยังทำให้เกิดผลลัพธ์ คือ ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 80 ได้มีการออกแบบผลงานเช่น หนังสือเล็กและได้มีการนำความรู้ไปต่อยอดในการศึกษา รวมไปถึงการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันจนเกิดความสามัคคีตามที่ตัวโครงการได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ (น.4,18)

Focus

โครงการ“ปาสะโฮโพ” รักวิถีปกาเกอะญอ ร่วมสานต่อพิธีกรรมของคนสันโป่ง เป็นโครงการที่ทางคณะผู้จัดทำได้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้เด็กและเยาวชนในชุมชนเกิดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม และเกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติพร้อมเกิดการรักหวงแหนพิธีกรรมภายในชุมชนของตนเองมากยิ่งขึ้น เนื่องจากพิธีกรรมที่ชาวบ้านสันโป่งได้มีการสืบทอดกันมาและปฏิบัติร่วมกันมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เริ่มถูกหลงลืมและขาดผู้ที่สนใจที่จะสืบทอด อันมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและสังคม (น.4)

Theoretical Issues

ปัญหาที่พบจากคณะผู้จัดทำโครงการ คือ พบปัญหาในเรื่องของระยะเวลาที่ทางคณะผู้จัดทำโครงการมีระยะเวลาในการนัดหมายไม่ตรงกันจึงทำให้โครงการดำเนินการได้อย่างล่าช้าทำให้เกี่ยวโยงกับปัญหาที่พบจากกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ร่วมโครงการ คือ ปัญหาเกี่ยวกับระยะเวลาในการลงพื้นที่ของผู้เข้าร่วมโครงการและผู้จัดทำโครงการไม่ตรงกัน (น.19)
 
อุปสรรคที่พบในการดำเนินกิจกรรม คือ เรื่องของสภาพอากาศที่ร้อนทำให้เป็นอุปสรรคในการทำกิจกรรม อีกทั้งการศึกษาพิธีกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่ของชุมชนก็ยังไม่สามารถเห็นภาพได้อย่างชัดเจนเนื่องจากเป็นช่วงเวลาจองการพักผ่อนของชุมชน (น.20)

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาติพันธุ์ในโครงการนี้คือชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ซึ่งแปลว่า “คน” หรือที่ประชาชนทั่วไปมักจะเรียกว่า “กะเหรี่ยง”

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาที่คนปกาเกอะญอใช้ในการสื่อสารคือภาษากะเหรี่ยงสะกอ

Study Period (Data Collection)

ในการดำเนินกิจกรรมทางคณะผู้จัดทำได้มีการดำเนินการโดยอาศัยหลักการ KUSA ที่ประกอบไปด้วย ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และทัศนคติ เป็นการทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและเกิดการเรียนรู้จากกิจกรรมในแต่ละขั้นตอนที่มีการจัดขึ้น มีระยะเวลาการจัดกิจกรรมตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการ มกราคม 2562 จนสิ้นสุดโครงการ สิงหาคม 2562 (น.4,7)

Economy

ผู้คนภายในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตรเป็นหลัก มีการทำไร่หมุนเวียนปลูกพืชผักสวนครัวตามฤดูกาลและเลี้ยงสัตว์ไว้เพื่อบริโภคภายในครัวเรือน แต่จะไม่เน้นเลี้ยงเพื่อการค้าขาย (น.5)

Belief System

ชุมชนมีการทำพิธีกรรมร่วมกัน คือ “พิธีกรรมเข้ากรรม” เป็นพิธีกรรมที่จัดทำขึ้นเมื่อมีชาวบ้านเจ็บป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุซึ่งจะเชื่อว่าเกิดจากสิ่งอัปมงคลในชุมชน นอกจากนี้ยังมีพิธีกรรมภายในครอบครัวคือ พิธีกรรมการเลี้ยงผีเพื่อเรียกขวัญ โดยเป็นพิธีเรียกขวัญของเด็กที่หายไปให้กลับมาอยู่กับตัวและเชื่อกันว่าหากไม่มีการเรียกขวัญจะทำให้เด็กเจ็บป่วยและอยู่ไม่เป็นสุขและชุมชนยังมีพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรโดยมีการเซ่นสังเวยเจ้าที่ในการทำการเกษตรเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี (น.6)

Social Cultural and Identity Change

การเปิดรับวัฒนธรรมจากภายนอกชุมชนและความเจริญต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี สื่อโซเชียลมีเดีย ความหลากหลายทางวัฒนธรรมจากสังคมภายนอกเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นภัยคุกคามที่ทำให้พิธีกรรมดั้งเดิมที่เป็นความเชื่อของผู้คนในชุมชนได้ลดบทบาทลง จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและเกิดการหลงลืมพิธีกรรมของชุมชน (น.7)

Text Analyst คณินเดช สายทอง Date of Report 05 ม.ค. 2566
TAG พิธีกรรม, ปกาเกอะญอ, คนสันโป่ง, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง