สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject กิจกรรมพึ่งตนเอง, การพัฒนาคุณภาพชีวิต, กลุ่มชาติพันธุ์ไตหย่าบ้านบ่อน้ำขาว
Author เลหล้า ตรีเอกานุกูล
Title กิจกรรมพึ่งตนเองกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ไตหย่า หมู่บ้านน้ำบ่อขาว ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไตหย่า ไทหย่า ไต, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
Total Pages 79 Year 2554
Source เลหล้า ตรีเอกานุกูล. (2554). กิจกรรมพึ่งตนเองกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ไตหย่า หมู่บ้านน้ำบ่อขาว ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. คณะสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
Abstract

การศึกษาวิถีชีวิตการพึ่งตนเองของชุมชนชาวไตหย่า บ้านน้ำบ่อขาว ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ผู้วิจัยได้ลงพื้นที่เข้าไปเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการภาคสนามทางมานุษยวิทยา โดยใช้เวลาเป็นเวลา 1 ปี (น.30) จากการศึกษาความเป็นมาพบว่าเป็นชุมชนที่ชาวไตหย่าอาศัยอยู่มากกว่าที่อื่นๆ มีจำนวนทั้งสิ้น 210 คน (น.32)  หลังจากเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย วิถีชีวิตแบบดั้งเดิมค่อยๆปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบตลาด วิถีชีวิตการพึ่งการเกษตรอย่างเดียวไม่เพียงพอเลยต้องมีการทำอาชีพเสริมเข้าสู่ระบบตลาด โดยมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยผันแปรไปกับสภาวะโลก  ผลกระทบจากที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในพ.ศ.2535 ส่งผลสู่ชุมชนบ้านน้ำบ่อขาวของชาวไตหย่า พร้อมทั้งเกิดปัญหาโรคติดต่อเข้ามาในหมู่บ้าน ทำให้ชุมชนอ่อนแอ (น.37) ผู้นำของคริสตจักรที่เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านได้ประชุมกับชาวบ้านถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จนทำให้เกิดการรวมกลุ่ม จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ในชุมชนขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ การจัดตั้งกลุ่มนี้เองส่งผลให้มีการจัดตั้งกลุ่มอื่นๆขึ้น  โดยใช้พื้นที่คริสตจักรเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมที่ทำให้ผู้คนมารวมตัวกัน ทั้งนี้เกิดจากตัวของชาวไตหย่าได้ตระหนักและเข้าใจถึงศักยภาพของชุมชนและวัฒนธรรมอันดีงามที่มีอยู่ของตนเอง (น.39-40) ผลการศึกษาพบว่า การจัดตั้งกลุ่มพึ่งตนเอง ส่งผลทำให้ สภาพชีวิตความเป็นอยู่เริ่มดีขึ้นตามลำดับ มีการแสดงวัฒนธรรมของตัวเองออกสู่พื้นที่ทางสังคมสร้างจุดเด่นให้ชุมชนในหลายเรื่อง โดยผู้วิจัยพิจารณาจากคุณภาพชีวิต ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่  ด้านสังคม พบว่าผู้คนได้ใกล้ชิดและมีความสามัคคีกันมากขึ้น เกิดโครงสร้างและเครือข่ายทางสังคมในชุมชน ด้านเศรษฐกิจ พบว่าสามารถแก้ปัญหาหนี้นอกระบบได้ รวมไปถึงสร้างรายได้แก่ครัวเรือน และด้านจิตใจ ถือว่ากลายเป็นส่วนเยียวยาและสร้างขวัญกำลังใจแก่ชุมชน สามารถยืนหยัดและดำรงชีวิตต่อไปได้  

Focus

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้มุ่งเน้นศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชุมชนชาติพันธุ์ไตหย่า บ้านน้ำบ่อขาว ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย รวมไปถึงรูปแบบและวิธีการทำกิจกรรมพึ่งตนเองของชุมชน ที่นำไปสู่การพัฒนาชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ไตหย่าให้มีความเข้มแข็ง ผ่านการสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมการพึ่งตนเองกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ไตหย่าให้ดียิ่งขึ้นในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านจิตใจ 

Theoretical Issues

ความเป็นมาของชุมชนบ้านน้ำบ่อขาว ในเดิมทีแล้ววิถีชีวิตของชาวไตหย่ามีความเรียบง่าย พึ่งพาอาศัยธรรมชาติ เป็นสิ่งที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษที่พึ่งพาการเกษตร ด้วยปัจจัยต่างๆที่ผลักดันให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงไป ความทันสมัยเข้ามาสู่ชุมชน กระแสของทุนหลั่งไหลเข้ามา เงินมีความสำคัญส่งผลให้ผู้คนเริ่มปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจากภาคการเกษตรสู่การรับจ้าง การพึ่งพาธรรมชาติลดลง  (น.60) ประกอบกับสถานการณ์ของวิกฤตเศรษฐกิจที่เข้ามาผลกระทบจึงเกิดโดยตรง  โดยการพึ่งพางานรับจ้างที่ความมั่นคงของงานผันแปรไปกับปัจจัยทางเศรษฐกิจ ต่างกันกับการพึ่งพาธรรมชาติใช้ชีวิตแบบเกษตรที่รักษาเสถียรภาพในการดำรงชีวิตได้โดยไม่กระทบ ในยุคสมัยใหม่ที่ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติถูกจำกัด การทำการเกษตรอย่างเดียวก็ไม่อาจทำให้เลื่อนสถานะทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้น ในการก้าวทันยุคที่โลกที่ผู้คนพัฒนาคุณภาพชีวิตตลอดเวลา ทำให้เกิดมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ดีในโลกยุคใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยทุน รวมไปถึงทรัพยากรธรรมชาติอย่างในพื้นที่สูงถูกจำกัดเป็นเขตป่า นอกจากนี้วิกฤตโรคติดต่อที่มาพร้อมวิกฤตเศรษฐกิจ โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่คือกำลังหลักของครอบครัว ที่ออกไปทำงานก็ได้รับความเสี่ยงก็มีผลตามมาสู่ชุมชน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ชุมชนบ้านน้ำบ่อขาวตระหนักถึงวิกฤตนี้ การหาทางออกจึงเกิดขึ้น โดยการรวมผู้คนด้วยศรัทธาทางศาสนาที่ตนเองนับถือผ่านผู้นำที่ชุมชนไว้ใจ (น.11) นั่นคืออย่างแรกที่เป็นการดึงเอาหลักธรรมในศาสนาเพื่อเชื่อมคนเข้าหากันเพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม จัดตั้งกลุ่มต่างๆ ขึ้นมาเพื่อพึ่งพากันเองในชุมชน (น.20-21) เกิดทุนของชุมชนจากกลุ่มออมทรัพย์ ถือเป็นเครือข่ายที่พึ่งพารู้ใจกัน ความเสี่ยงก็ได้ลดลงมา ผลประโยชน์จึงตกอยู่กับชุมชน จึงเป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ในชุมชน (น.12)  และในขณะเดียวกันก็ได้ดึงทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชนเรียนรู้ร่วมกัน รวมถึงได้อนุรักษ์ วัฒนธรรมที่ดีงามมีอยู่ชุมชนให้แสดงออกมาจากพื้นที่ทางสังคมมากขึ้นเพื่อดึงดูดสร้างรายได้เข้าครัวเรือนและแสดงวัฒนธรรมชุมชนออกมาเป็นรูปแบบสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน (น.49) 

Ethnic Group in the Focus

ชาติพันธุ์ไตหย่า คือชาวไตกลุ่มหนึ่ง ที่รู้จักกันในชื่อกลุ่มของชาติพันธุ์ไต ในประเทศจีน ถิ่นที่อยู่ดั้งเดิม คือตำบลโมซาเจียง อำเภอซินผิง จังหวัดยี่วซี มณฑลยูนนาน ซึ่งอยู่ทางตอนบนของแม่น้ำแดง ชาวจีนเรียกขานว่า ฮวาเย่าไต (Huayaodai)  แปลว่า ไตเอวลาย (Flowery Belted) เหตุที่ได้ชื่อเช่นนี้เนื่องจากการแต่งกายของสตรีที่มีลักษณะโดดเด่นของ ผ้าคาดเอวที่ปักลวดลาย และตกแต่งด้วยแถบผ้าหลากสีสันสวยงามบริเวณรอบเอว (น.5)

Language and Linguistic Affiliations

คนไตหย่าในช่วงที่อยู่ที่โมซาเจียงได้เรียนภาษาจากมิชชันนารีที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนา หนึ่งในนั้นมีชาวไทยจากเชียงรายช่วยสอนศาสนา ทำให้ชาวไตหย่าได้เรียนรู้ภาษาและอักษรล้านนา (น.7)  จากการสัมภาษณ์ผู้ที่เข้ามาเรียนรู้วัฒนธรรมของชาวไตหย่าในยุคปัจจุบัน พบว่า “ถ้าไม่บอกก็ไม่รู้หรอกว่าเป็นไตหย่า เพราะหน้าตาและภาษาที่ใช้ไม่แตกต่างจากคนพื้นเมืองเหนือ”  แสดงให้เห็นถึงภาษาพูดของชาวไตหย่าในบริบทปัจจุบัน
 

Study Period (Data Collection)

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยภาคสนามใช้เวลาระหว่าง เดือน พฤษภาคม 2553 – เมษายน 2554 รวมเวลา 1 ปี 

History of the Group and Community

ตามประวัติศาสตร์แต่เดิมแล้วนั้น ชาติพันธุ์ไตหย่า  ถิ่นที่อยู่ดั้งเดิม คือตำบลโมซาเจียง อำเภอซินผิง จังหวัดยี่วซี มณฑลยูนนาน ซึ่งอยู่ทางตอนบนของแม่น้ำแดง  โดยมี 2 ปัจจัยหลักที่ทำให้ชาวไตหย่าบางส่วนตัดสินใจอพยพย้ายถิ่นออกจากโมซาเจียง

สภาพความเป็นอยู่และสภาวะการเมืองในบ้านเกิด
เนื่องจากในโมซาเจียงมีปัญหาในหลายเรื่องเช่น ผู้ร้ายชุกชุมมักปล้นและทำร้ายชาวบ้าน   ประเด็นของการเมืองการปกครอง ได้แก่ การกีดกันในการมีถือครองที่ดิน การถูกกีดกันด้านการศึกษา เนื่องจากมีมิชชันนารีเข้าไปสอนศาสนาและภาษาต่างๆรวมถึงภาษาไทยให้แก่ชาวไตหย่า แต่ขณะเดียวกันนั้นก็ได้มีภาครัฐเข้ามาแทรกแซงไม่ต้องการให้ชาวไตหย่าได้รับความรู้ เนื่องด้วยในสมัยนั้นจีนยูนนานมีเหตุการณ์เกี่ยวกับการปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาล โดยชุมชนชาวไตหย่ามีการส่งชายฉกรรจ์เข้าไปร่วมรบเป็นทหารเกณฑ์ในกองทัพ ขัดแย้งกับวิถีชีวิตแบบเรียบง่ายและรักความสงบสุข ชาวไตหย่าหลายคนจึงไม่ต้องการการเกณฑ์ทหาร จึงได้ตัดสินอพยพไปกับมิชชันนารี (น.7)

การได้รับข่าวสารและได้เรียนรู้ศาสนากับมิชชันนารี
มีคณะมิชชันนารีเผยแพร่ศาสนาคริสต์ที่เดินทางผ่านมาจากประเทศไทยเข้ามาเผยแพร่ศาสนาเป็นเวลาหลายปี มิชชันนารีเหล่านั้นระหว่างเผยแพร่ศาสนาก็ได้ทำการคลุกคลีอยู่กับชาวเมืองไตหย่าเป็นเวลานาน และได้มีโอกาสนำเด็กชาวไตหย่ากลับไปเรียนหนังสือในประเทศไทย หลังจากนั้นเด็กชาวไตหย่าเดินทางกลับมาที่บ้านเมืองของตน ก็กลับมาบอกเล่าชุมชน จนทำให้ชาวไตหย่าได้รู้จักว่ามีประเทศไทย และมีคนไทยเชื้อสายอันเดียวกันอยู่ทางใต้ โดยได้รับข่าวสารว่าเป็นประเทศที่มีอิสระ อุดมสมบูรณ์ มีเสรีภาพในการนับถือศาสนา (น.5 – น.7)
เมื่อเดินทางติดตามมิชชันนารีมาด้วยกัน เริ่มจากอพยพด้วยการเดินเท้าจากเมืองหย่า ผ่านเมืองซือเหมา สิบสองปันนา เข้ามาทางรัฐฉานประเทศพม่า มีบางส่วนได้ตั้งรกรากอยู่ที่เมืองยองในพม่าเนื่องจากมีปัญหากับทางราชการ  ที่เหลือเข้ามาสู่ประเทศไทย ได้หยุดพักรวมกันที่หมู่บ้านหนองกลม (บ้านสันธาตุ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ในปัจจุบัน) ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 เดือน แล้วไปตั้งหลักถาวร แผ้วถางที่ดินทำมาหากินที่หมู่บ้านป่าสักขวาง ตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เมื่อจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นชาวไตหย่ากลุ่มหนึ่งได้แยกตัวออกมาหาที่อยู่ใหม่ คือในหมู่บ้านน้ำบ่อขาว ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย (น.5 – น.7)

Settlement Pattern

ชาวไตหย่าในหมู่บ้านน้ำบ่อขาว อาศัยแม่น้ำที่ไหลผ่านหมู่บ้าน ตั้งถิ่นฐานริมน้ำเพื่อพึ่งพาอาศัยน้ำในการทำการเกษตร ปลูกกก การปลูกบ้านอยู่แบบรั้วชิดติดกัน ตามนิสัยของชาวไตหย่าที่ชอบอยู่รวมช่วยเหลือกัน  (น.34-น.35)

Demography

จากการอพยพย้ายถิ่นฐานมาอยู่ประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ.2548 มีชาวไตหย่าจำนวน 19 ครอบครัวอพยพมาบ้านป่าสักขวาง และได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านน้ำบ่อขาว ซึ่งถือเป็นชุมชนที่มีชาวไตหย่าอาศัยอยู่รวมกันมากที่กว่าที่อื่นๆถึง 210 คน (น.32)
ในปัจจุบันชาวไตหย่าอาศัยอยู่รวมกันผสมกลมกลืนกับชาติพันธ์ุอื่นในประเทศไทย ได้แต่งงานมีลูกหลาน ทั้งย้ายถิ่นเข้าออกไปต่างถิ่นกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย หรือย้ายออกไปต่างประเทศบ้าง ส่งผลให้จำนวนประชากรของชาวไตหย่าที่อยู่ในประเทศไทยเหลืออยู่ประมาณ 1,000 คน (น.6) 
 

Economy

เศรษฐกิจของชาวไตหย่าจัดว่ามีความมั่นคง หากไม่มีวิกฤตที่เข้ามากระทบจริงๆ เพราะมีวิถีชีวิตพึ่งพาการเกษตร เลี้ยงสัตว์เอง จึงสามารถพึ่งพาตัวเองได้  ทุนความรู้ของชาวไตหย่าสามารถปลูกพืชที่คนท้องถิ่นไม่รู้จักกันได้หลายชนิด  ในทุกบ้านจะชอบปลูกผัก และลูกค้าส่วนใหญ่ก็คือคนจีนฮ่อที่ชอบกิน เพราะมีการปลูกผักที่คนพื้นเมืองไม่รู้จัก เช่น ผักโบซุน อีกทั้งมีความสามารถในการตอนไก่ เพราะไก่ตอนเป็นที่ต้องการของชาวจีนฮ่อจะมีการมัดจำและนำส่งไก่เมื่อโตเต็มวัยได้ที่ เกิดปฏิสัมพันธ์ติดต่อค้าขายกันตลอดเวลาระหว่างชาติพันธุ์ 

พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของชาวไตหย่าที่ติดตัวมาจากโมซาเจียง คือ ต้นกก ที่ชาวไตหย่าจะแบ่งที่นาที่ไว้ใช้ปลูกข้าวแบ่งมาไว้สำหรับปลูกต้นกกเสมอ  เพื่อนำไปสำหรับทอเสื่อ เป็นรายได้สำคัญ เนื่องจากจุดขายคือ ความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัวของเสื่อ ทำให้เกิดเป็นกลุ่มเสื่อกกขึ้นมา ถึงแม้ปัญหาในยุคคนรุ่นหลังคือจะไม่สามารถทอเสื่อได้แล้วก็ตาม แต่กลุ่มเสื่อกก ก็ได้สานต่อความภูมิใจในความเป็นบรรพบุรุษ ต้นกกนี้ได้ขยายออกไปจนกลายเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย (น.47-น.48)
 

Social Organization

ในหมู่บ้านใกล้เคียงของบ้านน้ำบ่อขาวของชาวไตหย่ามีกลุ่มชาติพันธ์ุอื่นๆได้แก่ ชาวไทยใหญ่ ไทลื้อ จีนฮ่อ  คนพื้นเมืองภาคเหนือ ชาติพันธ์ที่อยู่ตามภูเขา แต่ที่มีปฏิสัมพันธ์เป็นพิเศษ กับชาวจีนฮ่อที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านน้ำบ่อขาว ชาวจีนฮ่อนั้นมีบทบาททางสังคมค่อนข้างสูง และมีสถานะทางเศรษฐกิจที่ดีกว่าชนกลุ่มอื่น มักจะติดต่อค้าขายกับชาวจีนฮ่อ หรือมีการแต่งงานระหว่างหญิงไตหญ่ากับชาวจีนฮ่อที่มีสถานะทางเศรษฐกิจที่สูงกว่า (น.32-น.33)
ชาวไตหย่ามีความใกล้ชิดสนิทสนมกันมาก เพราะบางคนเป็นญาติ เป็นเพื่อนกันตั้งแต่อยู่เมืองหย่าประเทศจีน จึงช่วยเหลือเกื้อกูลกันแบบญาติสนิท  (น.34)  มีหลายคนเป็นสมาชิกของคริสตจักร  ในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ ไม่มีรายได้ ได้มีแนวความคิดการออมทรัพย์ที่มาจาก ศิษยภิบาลของคริสตจักร (อาจารย์ประจำโบสถ์) ได้นำความคิดนี้มาเสนอต่อชาวไตหย่าที่เป็นบุรุษ แต่ไม่สำเร็จ แต่สำหรับสตรีไม่เป็นเช่นนั้น เกิดการจัดตั้ง กลุ่มออมทรัพย์คณะสตรีคริสตจักรนทีธรรมขึ้น ในปี พ.ศ.2535  หลังจากเป็นประโยชน์จึงเปลี่ยนมาเป็น กลุ่มออมทรัพย์คริสตจักรนทีธรรม จนมาถึงปัจจุบัน  (น.38)

จากการรวมกลุ่มกันในกิจกรรม กลุ่มออมทรัพย์ ทำให้เกิดกลุ่มอื่นๆ ตามมา เช่น กลุ่มร้านค้า กลุ่มเกลือไอโอดีน กลุ่มเสื่อกก และกลุ่มทำของที่ระลึกตุ๊กตาไตหย่า   ในช่วงเวลาการเกิดวิกฤต ทั้งปัญหาโรคเอดส์ เศรษฐกิจถดถอย หนี้สิน ที่ทำให้คนในหมู่บ้านอ่อนแอ กลับส่งผลให้ผู้คนนั้นรวมกลุ่มกัน จนทำให้ชุมชนกลับมาเข้มแข็งขึ้นกว่าเดิม (น.38)
 

Political Organization

ชาวไตหย่าศรัทธาและนับถือศาสนาคริสต์ จึงยกให้คณะธรรมกิจของคริสตจักรเป็นผู้นำที่ไม่เป็นทางการของชุมชนในประเทศไทย  (น.39) เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ เพราะใช้หลักศาสนาในการนำทางชุมชน  จึงตัดสินใจเลือกผู้นำศาสนาที่สามารถสร้างศรัทธาให้แก่ชาวบ้านเข้ามาเป็นผู้นำ เนื่องจากในวันอาทิตย์จะมารวมกันเข้าโบสถ์เป็นประจำ ทำให้ตระหนักดีว่าผู้นำทางศาสนานั้นมีความเข้าใจสมาชิกและคนในชุมชนเป็นอย่างดี โดยพิจารณาจากบุคลิกของผู้นำที่มีความเข้มแข็ง กล้าคิด กล้าทำ รวมคนให้สามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกันได้  แต่อย่างไรก็ตามคนในชุมชนนั้นจะร่วมมือกันในทุกเรื่อง โดยไม่ได้รอผู้นำเพียงอย่างเดียว เพราะช่วยกันคิดช่วยกันทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน (น.54-น.55) หลังจากการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวและรวมผู้คนในชุมชนเข้าหากันโดยใช้พื้นที่ของคริสตจักรแล้ว ทำให้มีกลุ่มต่างๆเกิดขึ้นมากมาย เช่น กลุ่มออมทรัพย์ส่งผลต่อการก่อตั้งกลุ่มอื่นๆตามมาในการแก้ปัญหาชุมชน รวมไปถึงสร้างรายได้แก่ครอบครัว (น.38) จึงทำให้เกิดเครือข่ายทางสังคมที่สามารถปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภายนอกได้ ทำให้ได้รับการสนับสนุน จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และองค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้เข้ามาดูงานและศึกษาชุมชน (น.60)

Belief System

ชุมชนในประเทศไทยนับถือศาสนาคริสต์ นับว่าเป็นศาสนาที่มีอิทธิพลต่อชาวไตหย่า และเป็นที่พึ่งทางจิตใจที่ผูกพันกันมาตามประวัติศาสตร์ของชาติพันธ์ุ ตั้งแต่การตัดสินใจอพยพ และวิถีชีวิตของชาติพันธุ์ หลักศาสนาถือว่าความสำคัญต่อชาวไตหย่ามาตลอด  รวมทั้งคริสตจักรถือว่าเป็นศูนย์รวมทางด้านจิตใจ การรวมกลุ่มกิจกรรม จัดตั้งอยู่บนพื้นฐานตาม พระวจนะของพระเจ้า ตามใน พระธรรม มัทธิว บทที่ 22 (37-39) ที่กล่าวว่า  “จงรักองค์พระผู้เป็นเจ้าของเจ้าด้วยสิ้นสุดใจสุดจิตของเจ้า และด้วยสิ้นสุดความคิดของเจ้า นั่นแหละเป็นพระบัญญัติข้อใหญ่และข้อต้น ข้อที่สองก็เหมือนกันคือจงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง” (น.40) ศาสนาคริสต์ของชาวไตหย่านั้นรวมผู้คนเข้าหากัน เนื่องจากมีกิจกรรม รวมกลุ่มต่างๆ ที่รวมตัวกันใช้พื้นที่ของคริสตจักร(อาคารพระวิหารคริสตจักรนทีธรรม) เสมอมา  รวมทั้งการทำกิจกรรมทางศาสนา อย่างสม่ำเสมอในวันอาทิตย์  โดยใช้เวลาในการนมัสการพระเจ้า โดยที่ไม่ได้รีบเร่งไปทำอย่างอื่น   

ชาวไตหย่าในประเทศไทยนั้นไม่ปรากฏ การนับถือความเชื่ออื่นๆ เพราะคริสตจักรสอนให้รักและวางใจในพระเจ้าและรักเพื่อนบ้าน(หรือเพื่อนมนุษย์ทุกคน)  (น.40)  

Education and Socialization

ในสมัยที่อยู่ที่โมซาเจียงประเทศจีน ชาวไตหย่าได้เรียนรู้ภาษารวมไปถึงอักษรล้านนาและศาสนาจากมิชชันนารีอเมริกันที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนา  ในขณะนั้นเองมิชชันนารีมีการนำเด็กชายชาวไตหย่า 2 คน  ไปเรียนหนังสือที่ประเทศไทย เมื่อกลับมาก็ได้บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศไทย (อ้างจาก บุญช่วย ศรีสวัสดิ์. 2547 : 72)  จนทำให้ชาวไตหย่ารู้จักว่ามีประเทศไทย เป็นจุดเริ่มต้นทำให้หลายครอบครัวคิดจะการอพยพย้ายถิ่น (น.6-น.7)
ชาวไตหย่ามีการส่งต่อสืบทอดทักษะการทำไร่ ทำนา ปลูกพืชปลูกผัก เป็นทักษะที่ติดตัวมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ การอนุรักษ์การปลูกต้นกก  ยังมีการส่งต่อความรู้การทอเสื่อไตหย่า โดยมีการรวมกลุ่มเสื่อกกในหมู่บ้าน  โดยผู้ที่เข้าร่วมจะมีเงินทุนให้ทำก่อน  เสื่อไตหย่าเป็นเสื่อที่อาศัยความปราณีตและมีเอกลักษณ์เฉพาะทางไม่เหมือนเสื่อทั่วไป (น.33)

ส่วนการศึกษาในระบบนั้น ชาวไตหย่าได้เรียนหนังสืออยู่ในระดับขั้นพื้นฐานภาคบังคับ เพราะฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างยากจน แต่ในยุคหลังๆมีการพัฒนาส่งลูกหลานเรียน คนรุ่นใหม่ให้ได้รับการศึกษาให้ดีขึ้นตามลำดับ 
ในช่วงวิกฤตการณ์โรคเอดส์  คณะกรรมการโครงการธารน้ำใจต้านภัยเอดส์ ได้นำเสนอโครงการไปที่กรมควบคุมโรคระบาด เชียงราย จนสามารถแก้ปัญหาให้ชุมชน ในด้านสุขอนามัย มีการช่วยเหลือให้ทุนการศึกษาแก่เด็กที่ครอบครัวได้รับผลกระทบ 
 

Health and Medicine

ในช่วงที่เกิดวิกฤตการโรคเอดส์ระบาดนั้น ได้มีการจัดตั้งโครงการคณะกรรมการธารน้ำใจต้านภัยโรคเอดส์ ได้มีผู้มีประสบการณ์จากกรมควบคุมโรค ที่ 10จากเชียงราย เข้ามาอบรมให้ความรู้แก่สมาชิกเพื่อส่งต่อคนในชุมชน เพื่อหยุดวิกฤตโรคเอดส์ พร้อมทั้งมีการดูแลให้กำลังใจญาติผู้ที่เสียชีวิตจากโรคเอดส์ โดยมีทุนช่วยเหลือ รวมทั้งสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเอดส์ ชุมชนได้มีการจัดที่พึ่งพิงสำหรับผู้ป่วย ได้รับการดูแลจนถึงวาระสุดท้าย จัดให้อยู่ท่ามกลางครอบครัว ญาติที่รู้จัก ถึงแม้จะรักษาไม่ได้แต่ก็ทำให้ผู้ป่วยสบายใจ และจากไปอย่างสงบและอบอุ่น มากกว่าการที่ต้องเสียชีวิตไปแบบลำพัง ที่สำคัญแล้วนั้นการที่สมาชิกได้มารวมตัวและช่วยเหลือกันในยามที่เกิดปัญหาทำให้เกิดความผูกพันธ์กันในชุมชน (น.59)

นอกจากในชุมชนยังมีการรวมกลุ่มกันทำห้องอบสมุนไพร ซึ่งถือว่าเป็นการดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน เป็นการดึงของดีที่มีอยู่แล้วในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ชาวไตหย่านั้นมีวิถีชีวิตชอบปลูกพืชรวมทั้งมีการปลูกสมุนไพร การทำห้องอบสมุนไพรนั้นเป็นการทำให้ชาวไตหย่าได้นำสมุนไพรที่มีการปลูกอยู่แล้ว นำมาจำหน่ายสร้างรายได้ในกลุ่ม  ถึงแม้ว่าห้องอบสมุนไพรจะไม่ได้ประสบความสำเร็จมากนัก แต่ก็ทำให้คนได้รวมกลุ่มสามัคคี เข้าหากัน ได้มาเรียนรู้การปรุงสมุนไพรร่วมกัน ทำให้นอกจากนี้ยังมีการต่อยอดโดยการนำไปเป็นยาประคบ ยาต้ม ยาอบ ชนิดต่างๆเพิ่มขึ้น และอยู่ในขั้นพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆของกลุ่ม (น.51)
 
 

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ในด้านศิลปะหัตถกรรม ที่ปรากฏที่เด่นชัดที่สุด คือการทำเสื่อกก ที่ถือว่าเป็นสิ่งที่ชาวไตหย่าอนุรักษ์เป็นอย่างมาก เพราะสามารถนำมาสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนของตัวเอง ชาวไตหย่ามีมาตรฐานในการทอเสื่อที่มีเอกลักษณ์ มีความสวยงาม ปราณีต ขนาดใหญ่และทนทานกว่าเสื่อธรรมดาในตลาดทั่วไป เพราะใช้เส้นกกจำนวนมากกว่า (น.33) 
การรวมกลุ่มทำตุ๊กตาไตหย่า โดยลักษณะของตุ๊กตาจะมีลักษณะคล้ายกับการแต่งกายของชาวไตหย่า เป็นงานมือที่ใช้ความถนัดในการเย็บ ปัก ถัก ร้อย ตกแต่ง ตามความสามารถของแต่ละคน ขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ สามารถนำกลับไปทำที่บ้านเป็นงานอดิเรก ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เมื่อเสร็จแล้วค่อยนำกลับมาที่กลุ่ม และแล้วจึงเข้าสู่ขั้นตอนของการนำไปจำหน่ายเป็นรายได้ต่อไป เปรียบเสมือนของที่ระลึกในงานต่างๆของชาวไตหย่า เวลามีงานเกี่ยวกับวัฒนธรรมหรือการมาเยี่ยมชมศึกษาดูงานก็ตามก็จะมีจำหน่ายไว้เสมอ (น.49-50) 

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ลักษณะของชาวไตหย่า จากทัศนะของผู้ที่เข้ามาศึกษาวัฒนธรรม บุคลิกมีความจริงใจ เปิดเผย มีจิตสำนึกรักแผ่นดิน มีการรักษาอัตลักษณ์รากเหง้าวัฒนธรรมของตัวเองไว้เสมอ มีความพิถีพิถัน สังเกตได้จากทอเสื่อ มีวิธีการเฉพาะ สะท้อนถึงภูมิปัญญาที่ยังรักษาไว้อย่างดี  ในช่วงแรกๆ ชาวไตหย่าจะไม่ค่อยแสดงวัฒนธรรมของตัวเองออกมาให้เห็น โดยจะแสดงแต่งกายจะเฉพาะในกลุ่มของตัวเอง แต่เมื่อชาวไตหย่ามีพื้นที่ทางสังคมมากขึ้น ชาวไตหย่าได้มีการแสดงอัตลักษณ์นำชุด และวัฒนธรรมของตัวเองออกสู่สายตาคนภายนอกมากขึ้น รวมทั้งมีสินค้าจากวัฒนธรรมนำมาสร้างรายได้ กลายเป็นชุมชนดีเด่นประจำอำเภอ ที่เทศบาลตำบลห้วยไคร้ภูมิใจ  กลายเป็นจุดสนใจของคนภายนอกที่จะต้องแวะมาเที่ยวและศึกษา (น.52-น.53)

ชาวไตหย่าส่วนใหญ่มีอาชีพ ทำนา ทำไร่ ปลูกผัก เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ ไว้บริโภคในครัวเรือน และจะมีการจำหน่ายเป็นรายได้  ความรู้ทักษะเหล่านี้ได้สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ตั้งแต่อยู่ที่สมัยที่อาศัยอยู่เมืองโมซาเจียง โดยเฉพาะความสามารถที่ปลูกผักที่คนพื้นเมืองเหนือไม่รู้จักและเป็นที่ต้องการของชาติพันธ์ุอื่นๆ  

พืชเศรษฐกิจสำคัญของชาวไตหย่าก็คือ ต้นกกกลม  โดยมีเหง้ากกไว้เพาะปลูก โดยนำไปแช่น้ำ เพาะชำ ที่ใช้เวลาประมาณ 3 ปีถึงจะสามารถนำมาทอเป็นเสื่อผืนแรก กลายเป็นอัตลักษณ์สำคัญจนทำกันเป็นอาชีพเสริม ทอเสื่อแทบทุกบ้าน จนเสื่อนี้ได้รับการขนามนามว่าเป็น “เสื่อไตหย่า”  เอกลักษณ์ที่สำคัญคือ การทอลายสอง ไม่เหมือนกับเสื่อที่อื่นที่เรียกว่าลายตาล มีความคงทนกว่าเสื่อทั่วไปเพราะใช้เส้นกกมากกว่า ชาวไตหย่าที่ยากจนจะต้องตื่นเช้ามาทอเสื่อขายในตลาดทั่วไปตอนเย็นเพื่อเป็นรายได้จุนเจือวันต่อวัน โดยปกติจะทำขายต่อกับพ่อค้าคนกลางที่มารับซื้อไปขายที่อื่นต่อ

Social Cultural and Identity Change

ชุมชนชาวไตหย่าในบ้านน้ำบ่อขาวก่อนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมหลายอย่าง ก่อนหน้านั้นชุมชนชาวไตหย่ามีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ใช้ชีวิตปลูกพืช ปลูกต้นกก เลี้ยงสัตว์ ทำไร่ ทำนา โดยพี่งพาอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ ผืนที่ดินในตอนแรกของชาวไตหย่า  ก็เริ่มต้นจากการบุกเบิกที่ดินกันเอง มากน้อยตามความขยัน เพราะช่วงเวลาในอดีตมีที่ว่างเปล่าอยู่มาก โฉนดยืนยันไม่มี การจับจอง ปักหลักเขตกันตามสะดวก ไม่มีการทะเลาะแย่งที่กัน  

ชุมชนชาวไตหย่าในบ้านน้ำบ่อขาวมีวิถีชีวิตอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ เช่น พื้นที่สูง(ดอย) มีอีกหลายที่ ปัจจุบันเรียกรวมว่า ดอยตุง การตัดไม้มาใช้ หรือการเผาถ่าน หาบลงมาข้างล่างเพื่อขาย กับชุมชนต่างๆ ในหมู่บ้านละแวกใกล้เคียง อย่างชาติพันธ์ุอื่นๆ เป็นความสัมพันธ์ในการค้าขาย แต่ไม่ได้มีความสัมพันธ์กันทางสังคมกัน เพราะต่างคนต่างอยู่ ปัจจุบันนั้นการขึ้นไปอาศัยพื้นที่ธรรมชาติในการปลูกพืช ทำไร่ ในดอยตุงนั้น ไม่สามารถขึ้นไปทำไร่หมุนเวียนได้อีกต่อไปแล้วเพราะเป็นเขตป่าพื้นที่สูง(ดอยตุง) ถูกอนุรักษ์ (น.34-น.35 )  ในแต่เดิมไม่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น มาตรฐานการของครองชีพที่ขึ้นอยู่กับฐานะทางเศรษฐกิจ ก็เริ่มมีการแต่งงานข้ามชาติพันธ์ุมากขึ้น โดยเฉพาะกับชาติพันธ์ุจีนฮ่อ ที่มีสถานะทางเศรษฐกิจสูงกว่า ผสมกลมกลืนกับกลุ่มอื่นต่อไป 

ช่วงของการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่เห็นได้ชัดเจน ในช่วง พ.ศ.2535 เป็นต้นมา วิถีชีวิตของชุมชนแต่เดิมคือเป็นวิถีชีวิตเป็นการเกษตร เปลี่ยนมาเป็นการรับจ้างเพิ่มเติม ผู้คนเริ่มขายที่ดินเพราะช่วงนั้น นายทุนให้ราคาที่ดินสูง จนเกิดการละทิ้งการเกษตร เริ่มไม่นิยมปลูกข้าว ทำนา ทำสวน มีการส่งลูกหลานเข้าไปเรียนหนังสือในระบบ จบมาก็ไม่สานต่อการเกษตรแบบเดิม  เข้าสู่ยุควิกฤตฟองสบู่แตกที่เศรษฐกิจส่งผลกระทบมาถึงชุมชนโดยตรง รวมไปถึงมีโรคระบาด ทำให้คนในชุมชนเสียชีวิต โดยเฉพาะหัวหน้าครอบครัวที่เป็นกำลังหลัก  เกิดปัญหาการว่างงาน การขาดรายได้ เกิดการกู้หนี้ยืมสิน ส่งผลทำให้สถาบันครอบครัวอ่อนแอ ลามมาถึงชุมชนอ่อนแอไปด้วย  ช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้เอง ที่ทำให้คนในชุมชนหันมารวมกลุ่มกันมากขึ้น โดยมีแนวความคิดแรกจาก ศิษยาภาพิบาลของคริสตจักร ให้ชุมชนเริ่มรู้จักการออมเงิน การทำออมทรัพย์ จนเกิดกลุ่มออมทรัพย์คริสตจักรทีธรรม ที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาให้ชุมชน ส่งผลให้เกิดกลุ่มต่างๆต่อมา  (น.38)

การเปลี่ยนแปลงจากรวมกลุ่ม ชาวไตหย่าแต่เดิมแล้วจะไม่แสดงวัฒนธรรม อัตลักษณ์ของตัวเองออกมาให้คนภายนอกเห็นกันได้ง่ายๆ นอกจากจะมีผู้สนใจศึกษาเข้ามาคลุกคลีจริงๆ (น.52)  
มีการรวมตัวกันเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้ชุมชนได้เริ่มนำวัฒนธรรมของตัวเองออกมาผ่านการนำเสนอชุมชนของตัวเองให้ผู้คนภายนอกได้เห็น  เช่น การปลูกต้นกกที่ดั้งเดิมปกติแล้วจะทอไว้ซื้อขายกันตามตลาด จุนเจือครอบครัวเป็นรายได้รายวัน (น.33)

ในยุคหลังๆที่คนรุ่นใหม่ไม่ได้มีความรู้ ด้านการทอเสื่อน้อยลงขึ้นทุกวันแล้ว การรวมกลุ่มเพื่ออนุรักษ์เสื่อกกจึงเกิดขึ้นมาแก้ไขในส่วนนี้ อย่างน้อยเพื่อเกิดเป็นรายได้แก่ ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกลุ่ม  (น.47)
วิกฤติการณ์เศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงชุมชน ทำให้ชาวไตหย่าได้รวมกลุ่มกัน ส่งผลทำให้ชุมชนค่อยๆเข้มแข็งขึ้น การรวมกลุ่มช่วยเยียวยาจิตใจ คลายความเครียด รวมทั้งสร้างความสามัคคี กลับมาศรัทธาต่อศาสนา ปัญหาต่างๆก็ค่อยๆมีการแก้ไข ใครมีหนี้สินก็มารวมกลุ่มออมทรัพย์เพื่อกู้เงินไปหมุนเวียนได้ และสามารถจัดสรรเงินให้เป็นระบบมากขึ้น ไว้ใช้ในส่วนอื่นๆ แก้ปัญหาชุมชนตามลำดับ  บรรลุเป้าหมาย ร่วมกัน รักษาความมั่นคงทางการจัดการเงิน (น.60) มีปัญหาว่างงาน ก็ให้มารวมกลุ่มทำเสื่อกก หรือ ทำตุ๊กตาเพื่อหารายได้เสริมระหว่างขาดรายได้ไปก่อน ทั้งหมดนี้จึงเปลี่ยนชุมชนให้แสดงอัตลักษณ์ออกมาสู่พื้นที่ทางสังคม สู่สายตาคนภายนอกมากขึ้น จนได้รับความสนใจจาก หน่วยงานรัฐและเอกชน กลุ่มนักท่องเที่ยว ผู้ที่สนใจศึกษาวัฒนธรรม  การปฏิสัมพันธ์เครือข่ายกับภายนอกชุมชน ช่วยแก้ปัญหาต่างๆให้ชุมชน จนกลายเป็นชุมชนที่เป็นความภูมิใจของเทศบาลตำบลห้วยไคร้  (น.52)
 

Map/Illustration

- ภาพที่ 1 แผนผังชุมชนที่ตั้งครัวเรือนของสมาชิกชาวไตหย่าบ้านน้ำบ่อขาว (น.36)
- ภาพที่ 2  ห้องทำงานและห้องเก็บเอกสารของกิจกรรมพึ่งตนเอง (น.39)
- ภาพที่ 3 อาคารพระวิหารคริสตจักรนทีธรรม ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของการทำกิจกรรมพึ่งตนเอง (น.40)
- ภาพที่ 4 คณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์ กำลังลงบัญชีการออมเงินของสมาชิก (น.43)
- ภาพที่ 5 ร้านค้าชุมชน (น.45)
- ภาพที่ 6 การบรรจุเกลือเสริมไอโอดีน บริเวณอาคารอเนกประสงค์ของคริสตจักร (น.46)
- ภาพที่ 7 การทอเสื่อกกของกลุ่มชาติพันธุ์ไตหย่า (น.48)
- ภาพที่ 8 สมาชิกกลุ่มช่วยกันทำตุ๊กตาไตหย่าไว้จำหน่ายเป็นของที่ระลึก (น.49)
- ภาพที่ 9 ห้องอบสมุนไพรที่ตั้งอยู่ในบริเวณคริสตจักรนทีธรรม (น.51)
- ภาพที่ 10 บรรยากาศในวันต้อนรับผู้ว่าฯสุเมธ แสงนิ่มนวลและคณะตามโครงการผู้ว่าพาเที่ยววันเดียวเที่ยวเชียงราย ที่เข้ามาในชุมชนบ้านน้ำขาว เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2553 (น.54)
 

Text Analyst สิทธิศักดิ์ โลเกตุ Date of Report 04 ก.ค. 2565
TAG กิจกรรมพึ่งตนเอง, การพัฒนาคุณภาพชีวิต, กลุ่มชาติพันธุ์ไตหย่าบ้านบ่อน้ำขาว, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง