สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject อาข่า, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ข้าวพื้นเมือง, กลุ่มชาติพันธุ์
Author เสถียร ฉันทะ และสุรินทร์ ทองคำ
Title ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ข้าวพื้นเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าในจังหวัดเชียงราย
Document Type บทความ Original Language of Text -
Ethnic Identity อ่าข่า, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย
[เอกสารฉบับเต็ม]
Total Pages 12 Year 2563
Source วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น). ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) 2563 หน้า 67-78
Abstract

การวิจัยนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ข้าวพื้นเมืองของชาวอาข่าในจังหวัดเชียงราย โดยมีวิธีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มกับกลุ่มพ่อบ้าน แม่บ้าน และอื่น ๆ จำนวน 70 คน ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ชาวอาข่ามีภูมิปัญญาในการจัดการข้าวพื้นเมืองตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์ การเก็บรักษา การเก็บเกี่ยว เป็นต้น และมีการนำข้าวพื้นเมืองมาใช้ประโยชน์อีกหลายด้าน เช่น ใช้ในการทำขนม ใช้ประกอบพิธีกรรม เป็นต้น และชาวอาข่าในจังหวัดเชียงรายได้อนุรักษ์พันธุ์ข้าวไว้ทั้งหมด 7สายพันธุ์ และยังมีการแลกเปลี่ยนพันธุ์ข้าวกันภายในชุมชนและนอกชุมชนอีกด้วย (น.67)

Focus

ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นของข้าวพื้นเมืองของชาวอาข่า ในจังหวัดเชียงราย ทั้งในด้านการจัดการพันธุ์ข้าว          การอนุรักษ์พันธุ์ข้าว และการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ

Theoretical Issues

การวิจัยเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ข้าวพื้นเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าในจังหวัดเชียงรายนั้น จะใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบพรรณนา โดยมีขั้นตอนคือ กำหนดพื้นที่ศึกษาเป็นชุมชน    อาข่าจำนวน 2แห่ง มีการกำหนดกลุ่มประชากรที่จะต้องสัมภาษณ์และสังเกตการ จำนวน 70 คน ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจะมีหลายวิธี เช่น การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวกับข้าวพื้นเมืองต่าง ๆ เป็นต้น โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ เครื่องบันทึกเสียง กล้องถ่ายรูป แบบโครงสร้างคำถามนำ จากนั้นจะมีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า และนำมาวิเคราะห์เพื่อเขียนรายงานเชิงพรรณนา (น.70-71)

Ethnic Group in the Focus

อาข่ามีถิ่นอาศัยเดิมอยู่ที่ประเทศจีน อพยพเข้าไทยมาอย่างต่อเนื่องจนในปัจจุบันชาวอาข่ากระจายตัวอยู่ใน 7จังหวัดของประเทศไทย เช่น เชียงราย พะเยา ตาก เป็นต้น และอาข่าในประเทศไทยมีอยู่ทั้งหมด 7กลุ่ม เช่น ลอมี้ อ๊ะจ็อ อู่พี เป็นต้น (น.71)

Language and Linguistic Affiliations

ชาวอาข่าไม่มีภาษาเขียนแต่มีภาษาพูด ซึ่งภาษาพูดของชาวอาข่านั้นอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษา    จีน-ธิเบต

Study Period (Data Collection)

เดือนตุลาคม พ.ศ. 2561ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562

History of the Group and Community

เดิมทีชาวอาข่าอาศัยอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑลยูนาน ประเทศจีน และได้เคลื่อนย้าย เข้าสู่พม่า ลาว และไทยในช่วงประมาณต้นศตวรรษที่ 20โดยปีพ.ศ. 2490 ชาวอาข่าได้เข้าสู่ประเทศไทยทางภาคเหนืออย่างต่อเนื่อง (น.71)

Demography

ชุมชนบ้านห้วยขี้เหล็ก หมู่ 9 มีประชากรทั้งหมด 570 คน ส่วนชุมชนบ้านแม่จันใต้ หมู่ 15 มีประชากรทั้งหมด 235คน ชาวอาข่าในประเทศไทยมีอยู่ 7กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ อู่โล้ ลอมี้ อู่เบียะ อ๊ะจ๊อ หน่าคะ อู่พี และอะเค และชาวอาข่ากระจายอยู่ 7 จังหวัดในประเทศไทยแต่จะอาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงรายมากที่สุด (น.71)

Economy

ชุมชนทั้ง 2ชุมชนในจังหวัดเชียงรายที่ผู้วิจัยได้ลงพื้นที่ศึกษานั้น เป็นชุมชนของชาวอาข่าและชาวอาข่ามีพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่หลากหลาย ทำให้ระบบการผลิตที่สำคัญของชาวอาข่าคือการปลูกข้าวพื้นเมือง เป็นการปลูกเพื่อบริโภคเป็นหลัก ด้วยเหตุนี้จึงเกิดการอนุรักษ์และการนำไปประโยชน์โดยมีการจัดการพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ดังนี้
          - การคัดสรรพันธุ์ข้าวพื้นเมือง จะมีการคัดเลือกพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่มีความเหมาะสมและต้องเป็นพันธุ์ที่ดีในการจะนำไปปลูก ลักษณะของพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ดีจะได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งในการคัดเลือกนั้นจะดูที่ลำต้น สีใบ การแตกรวง และอื่น ๆ
          - การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง มี 2วิธีคือ วิธีแรก คัดสรรเมล็ดพันธุ์แล้วนำไปบรรจุไว้ในภาชนะที่กันแมลงได้และนำไปเก็บไว้ในยุ้งฉาง และวิธีที่สองคือ เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้แบบเป็นรวง นำมาผูกเป็นฟ่อนและเก็บไว้ในยุ้งฉางเช่นเดียวกับวิธีแรก เพราะยุ้งฉางเป็นที่ที่ป้องกันพวกหนูหรือแมลงไม่ให้เข้าไปทำลายเมล็ดพันธุ์ข้าวได้
          - การปลูกและการดูแลรักษาพันธุ์ข้าวพื้นเมือง จะมีการเตรียมดินที่เหมาะสมไว้สำหรับการปลูกและจะมีพิธีกรรมต่าง ๆ ที่เชื่อว่าสามารถดูแลพันธุ์ข้าวพื้นเมืองได้ เช่น พิธีเริ่มต้นปลูกข้าว พิธีกำจัดตั๊กแตนศัตรูข้าว เป็นต้น
          - การเก็บเกี่ยวข้าว มี 2วิธี คือ วิธีแรกจะใช้แกละเกี่ยวข้าว เกี่ยวแค่เฉพาะรวงข้าวและนำไปตากแดดให้แห้ง จากนั้นจึงค่อยนำไปไว้ในยุ้งฉาง ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีดั้งเดิมและเป็นวิธีที่นิยม ส่วนวิธีที่สองคือ คือการใช้เคียวเกี่ยวข้าว วิธีนี้เป็นการปรับตัวของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าที่มาจากกลุ่มชาติพันธุ์อื่น (น.72-73)

การอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองของชาวอาข่าในจังหวัดเชียงรายนั้น ประกอบไปด้วย 3 วิธี ได้แก่
          - การปลูกข้าวหลากหลายสายพันธุ์ในแปลงนาและไร่ ชาวอาข่าจะมีการแบ่งพื้นที่ในนาไร่ออกเป็นสัดส่วน เพื่อปลูกข้าวที่หลากหลาย โดยมีทั้งข้าวเหนียวและข้าวเจ้า ซึ่งการปลูกข้าวหลายสายพันธุ์นี้ถือเป็นการอนุรักษ์ พันธุ์ข้าวพื้นเมืองอย่างหนึ่งเพื่อให้พันธุ์ข้าวยังคงดำรงอยู่ในชุมชน
          - การแลกเปลี่ยนพันธุ์ข้าวพื้นเมืองกับเครือญาติ กับเพื่อบ้านทั้งในชุมชนและนอกชุมชน ข้าวมักจะมีการกลายพันธุ์เมื่อปลูกในพื้นที่เดิมเป็นเวลานาน ทำให้ชาวอาข่ามีการแลกเปลี่ยนพันธุ์ข้าวกันเพื่อเป็นการดำรงให้พันธุ์ข้าวคงอยู่
          - การอนุรักษ์พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับระบบนิเวศปลูก แต่ละครัวเรือนจะมีเหตุผลหลายประการในการปลูกข้าวพื้นเมือง ซึ่งการปลูกข้าวจะต้องปลูกให้ตรงกับความต้องการในการใช้ประโยชน์ เช่น ปลูกเพื่อไว้บริโภคเป็นหลัก ปลูกไว้ทำพิธี เป็นต้น ซึ่งการปลูกข้าวตามประโยชน์หรือตามระบบนิเวศนี้ จะทำให้เกิดการอนุรักษ์ข้าวพื้นเมืองเพราะในแต่ละปีจะต้องมีการใช้ประโยชน์จากข้าว (น.73-74)
 
การใช้ประโยชน์ข้าวพื้นเมืองของชาวอาข่าในจังหวัดเชียงราย มี 7ลักษณะ ดังนี้
          - การใช้ประโยชน์เพื่อเป็นอาหาร ชาวอาข่าจะบริโภคข้าวเจ้าเป็นหลัก ข้าวเจ้าในภาษาอาข่า เรียกว่า ฮอแจะ พันธุ์ที่นิยมปลูก เช่น พันธุ์แชล่นะ พันธุ์แชล่ห่อมะ เป็นต้น
          - การใช้ประโยชน์เพื่อทำขนม ชาวอาข่ามักจะใช้ข้าวเป็นส่วนประกอบในการทำขนมเพื่อประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ขนมที่ทำก็เช่น จะแหล่ เป็นขนมที่ทำจากแป้งข้าวเหนียว ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ เล็ก ๆ หรือจุ้ยปุ๊ เป็นขนมที่มีลักษณะคล้ายกับข้าวต้มมัด เป็นต้น
          - การใช้ประโยชน์เพื่อประกอบพิธีกรรม อย่างในอดีตชาวอาข่าจะใช้ข้าวในการเสี่ยงทายทำเลที่ตั้งของชุมชน และในพิธีกรรมของชาวอาข่าส่วนใหญ่มักจะใช้ข้าวเหนียวในการประกอบพิธี และข้าวทุกสายพันธุ์สามารถนำมาประกอบพิธีได้ทั้งหมด
          - การใช้ประโยชน์เพื่อการแลกเปลี่ยน เช่น การนำข้าวไปแลกเปลี่ยนกับสัตว์อย่างหมูหรือไก่ เป็นต้น
          - การใช้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ คือ หากครัวเรือนใดปลูกข้าวได้ผลผลิตมากเกินกว่าความต้องการ ก็จะมีการนำข้าวออกมาขายให้กับชุมชนอื่น
          - การใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์ ชาวอาข่ามักเลี้ยงสัตว์ไว้เพื่อการบริโภค และสัตว์เหล่านั้นก็จะต้องกินข้าวเป็นอาหารหลักเช่นกัน จึงทำให้ชาวอาข่านำข้าวพื้นเมืองมาใช้ในการเลี้ยงสัตว์ได้ด้วย
          - การใช้ประโยชน์ในการทำสุรา การทำสุราของชาวอาข่าจะใช้ประกอบในพิธีกรรม พันธุ์ข้าวที่นิยมนำมาทำ เช่น พันธุ์ข้าวเหนียวขาว เป็นต้น

จากที่กล่าวมาจะเห็นว่าการบริโภคของชาวอาข่าที่สำคัญและเป็นหลักได้แก่ ข้าว ซึ่งชาวอาข่าก็มีการปลูกข้าวพื้นเมืองไว้บริโภคกันเองภายในครัวเรือนและภายในชุมชน โดยข้าวพื้นเมืองที่พบมี 7 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์แชล่นะ พันธุ์แชล่ยาโอนะ พันธุ์แชล่ซะ พันธุ์แชล่ห่อมะ พันธุ์แชล่ห่อเน้ พันธุ์ลาเบือแชล่ และพันธุ์แชล่เหนียวขาว (น.74-76)

Social Organization

ชาวอาข่ามักจะมีการแลกเปลี่ยนพันธุ์ข้าวพื้นเมืองกันภายในเครือญาติและในระหว่างชุมชน เช่น อาจจะนำพันธุ์ข้าวไปแลกกับสัตว์อย่างหมู ไก่ หรือนำไปแลกพันธุ์ข้าวพื้นเมืองอื่น ๆ ที่ตนไม่มี (น.73,75)

Belief System

ชาวอาข่ามีความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับข้าวมากมาย กล่าวคือ ชาวอาข่ามักจะมีการนับถือผีบรรพบุรุษและให้ความสำคัญและความเคารพต่อข้าวมาก ๆ ส่งผลให้เกิดความเชื่อและพิธีกรรมต่าง ๆ ตามมา สรุปได้ดังนี้ชาวอาข่าเชื่อว่าในข้าวจะมีผู้ที่ดูแลข้าวคล้ายกับพระแม่โพสพ แต่ของชาวอาข่าจะเรียกว่า อื้อหล่อง หย่าหมี่ เชื่อว่าเป็นลูกของพญานาค จึงทำให้มีการปลูกดอกหงอนไก่ตามมา เนื่องจากดอกหงอนไก่มีลักษณะคล้ายกับหงอนของพญานาค โดยชาวอาข่าเรียกดอกหงอนไก่ว่า ยาจิหน่าแบ อาข่าเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้จะช่วยปกป้องดูแลข้าวและไร่นาของตน นอกจากนี้ชาวอาข่าที่มีการนับถือผีได้ค่อย ๆ เปลี่ยนมานับถือศาสนาแทน คือ ศาสนาคริสต์ ทำให้การปลูกข้าวเหนียวเพื่อประกอบพิธีกรรมเริ่มลดลงเพราะการเปลี่ยนมานับถือศาสนา (น.69)

ชาวอาข่ามีพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับข้าวหลายพิธี เช่น พิธีเก็บเมล็ดพันธุ์สุดท้าย เรียกว่า ชีจีชีเออ พิธีเรียกขวัญข้าวไร่ เรียกว่า ขึมผีล้อเออ พิธีเกี่ยวข้าวครั้งสุดท้าย เรียกว่า บ่องเยวแปยะเออ เป็นต้น และยังมีพิธีกรรมบูชาข้าวต่อผีบรรพบุรุษที่จะใช้ข้าวเหนียวเป็นองค์ประกอบหลัก ทั้งนี้ในอดีตชาวอาข่ายังเคยใช้ข้าวในการเสี่ยงทายทำเลที่ตั้งของชุมชนอีกด้วย (น.72,75)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ชาวอาข่ามีการนับถือผีบรรพบุรุษ และมีพิธีกรรมต่าง ๆ มากมาย ซึ่งพิธีกรรมต่าง ๆ ของชาวอาข่านี้ มักจะมี “ข้าว” เป็นส่วนประกอบสำคัญในพิธี ชาวอาข่าให้ความเคารพต่อข้าว เชื่อว่าข้าวมีผู้ที่ดูแลคุ้มครอง เช่นเดียวกับที่คนไทยเชื่อว่าข้าวมีพระแม่โพสพ ชาวอาข่าจึงมีการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองของตนเองไว้ ซึ่งถือเป็นอัตลักษณ์อย่างหนึ่งของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าก็ว่าได้

Social Cultural and Identity Change

ข้าวพื้นเมืองในปัจจุบันเริ่มมีน้อยลง เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับการผลิตเพื่อทางการค้ามากขึ้น จึงหันไปปลูกข้าวพันธุ์ที่ส่งเสริมภาครัฐและเป็นที่ต้องการ ทำให้พันธุ์ข้าวพื้นเมืองเริ่มสูญหายไป ซึ่งพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ปลูกกันนี้ เป็นอัตลักษณ์ที่สะท้อนถึงความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ได้อย่างดี นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงทางด้านการนับถือศาสนาก็ยังส่งผลกระทบต่อการทำนาของชาวอาข่า คือ ในอดีตชาวอาข่าจะ นับถือผี จึงต้องมีการปลูกข้าวไว้ใช้ประกอบพิธีกรรมบูชาผีบรรพบุรุษต่าง ๆ แต่เมื่อเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ทำให้ชาวอาข่าเริ่มปลูกข้าวน้อยลง เพราะอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงประเพณีหรือพิธีกรรมไปตามศาสนาที่ตัวเองนับถือ (น.69,71)

Text Analyst Date of Report 07 ต.ค. 2564
TAG อาข่า, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ข้าวพื้นเมือง, กลุ่มชาติพันธุ์, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง