สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject เรือนพื้นถิ่น, ไทยอีสาน, ไทยโคราช, แบบผสม, ความสัมพันธ์
Author ศุภชัย ถนอมพันธ์, ชินศักดิ์ ตัณฑิกุล
Title แบบแผนและความสัมพันธ์ของเรือนพื้นถิ่นระหว่างกลุ่มคนไทย-อีสานและไทย-โคราช พื้นที่กรณีศึกษาตำบลบ้านค่าย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
Document Type - Original Language of Text -
Ethnic Identity ไทยโคราช คนโคราช คนบ้านเอ๋ง หลานย่าโม, ไทเบิ้ง ไทเดิ้ง, Language and Linguistic Affiliations -
Location of
Documents
มหาวิทยาลัยศิลปากร, ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย
[เอกสารฉบับเต็ม]
Total Pages 28 Year 2557
Source วารสารหน้าจั่ว: ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม ปีที่ 28 (2557) หน้า 237-264
Abstract

กลุ่มคนไทย-อีสานและไทย-โคราช ณ บ้านค่ายหมื่นแผ้ว มีการสร้างบ้านเรือนที่ยังคงยึดถือแบบแผนของผังพื้นเรือนดั้งเดิมเอาไว้อย่างเหนียวแน่น แต่มีการปรับรูปลักษณ์ภายนอกตามการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิต ทั้งนี้พบว่า รูปแบบของเรือนไทย-โคราช มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เช่น มีการปรับจากหลังคาทรงจั่วสูงมาเป็นทรงจั่วเตี้ย ส่วนเรือนไทย – อีสานยังคงทำตามแบบเรือนดั้งเดิมไว้  อย่างไรก็ตาม การอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างยาวนานร่วม 2 ศตวรรษของคน 2 กลุ่ม ย่อมเกิดการหยิบยืมองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมระหว่างกัน ดังเช่น ชาวไทย-อีสาน นำรูปแบบของผังเรือนชาวไทยโคราชมาใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยผ่านการแต่งงานระหว่างกันรวมถึงการนำเข้าโดยกลุ่มช่างในพื้นที่   

Focus

บ้านค่ายหมื่นแผ้ว เป็นชุมชนที่มีกลุ่มชาติพันธุ์ไทย–อีสานและไทย–โคราช อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานยาวนานกว่า 200 ปี การอาศัยอยู่ร่วมกันก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนผสมกลืนกลายทางวัฒนธรรม ซึ่งรวมไปถึงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามวิถีชีวิต ดังนั้น จึงสมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้แบบแผนทางความเชื่อ ประเพณี การตั้งถิ่นฐานและที่อยู่อาศัยมาศึกษาเรือนพื้นถิ่นเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนสองกลุ่ม 

Theoretical Issues

รูปแบบของเรือนพื้นถิ่นเป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของคนแต่ละกลุ่ม เช่นเดียวกับพื้นที่บ้านค่ายหมื่นแผ้ว อันเป็นที่อยู่อาศัยร่วมกันของคน 2 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มคนไทย-อีสานและไทย-โคราช ซึ่งต่างสร้างบ้านเรือนตามแบบบรรพบุรุษของตน แต่เมื่อวันเวลาผ่านไปการอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างยาวนานทำให้เกิดการหลอมรวมรูปแบบของวัฒนธรรมของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นผ่านการแต่งงานข้ามกลุ่ม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการแต่งเขยเข้าบ้าน โดยฝ่ายชายมักนำแบบแผนของเรือนที่เคยอยู่อาศัยเข้ามาในพื้นที่จึงเกิดการหยิบยืมองค์ประกอบระหว่างกัน พบว่า มีการหยิบยืมผังพื้นเรือนโคราชมาใช้ในทางตรง เช่น ความกว้างของเรือนนอน มีส่วน “พะ” ที่ต่อจากเรือนนอนออกไป 1 ช่วงเสา ถัดมาจึงเป็นระเบียงและนอกชาน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการนำมาใช้โดยปรับเปลี่ยนและดัดแปลง โดยการตัดส่วน “พะ” ออกไป หรือการนำมาปรับใช้ให้เข้ากัน โดยนำรูปแบบเรือนนอนของกลุ่มคนไทย-อีสานที่มีส่วน “พะ” ต่อจากเรือนนอนออกมาอีก 1 ช่วงเสากับระเบียงและม้ารองตีน สำหรับก้าวขึ้นเรือนนอนซึ่งเป็นรูปแบบเรือนของกลุ่มคนไทย-โคราช เป็นต้น 

Ethnic Group in the Focus

ลาว” เป็นชื่อสมมติที่สันนิษฐานว่า เรียกตามตระกูลภาษาอย่างกว้าง ๆ ซึ่งมีความหมายว่า คนหรือผู้เป็นใหญ่ ต่างจากคำว่า  ไท - ไต ที่หมายถึง คนทั่วไป ทั้งนี้เชื่อว่า ลาว มาจากกลุ่มคนเมืองแถนลุ่มแม่น้ำแดง - ดำ ในสมัยต่อมาจึงเข้ามาตั้งหลักแหล่งใหม่บริเวณริมฝั่งโขงเรียกว่า เชียงดง เชียงทอง จนเติบโตเป็นอาณาจักรล้านช้าง (น. 239)

“คนอีสาน” ไม่ใช่ชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ แต่เป็นชื่อทางวัฒนธรรมตามภูมิศาสตร์ ที่ใช้เรียกชื่อทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ทั้งนี้ในพื้นที่ภาคอีสานประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ แม้กระทั่งคนลาวที่ถูกเหมารวมว่าเป็นคนอีสาน ก็ยังมีความแตกต่างกันในหลายแง่มุม เช่น สำเนียงภาษา (น. 239) 

Language and Linguistic Affiliations

“ไทย - โคราช” มีภาษาพูด ประเพณี พิธีกรรรม อักษรศาสตร์ เป็นแบบไทยภาคกลาง โดยมีสำเนียงการพูดที่ออกเสียงเหน่อ เรียกกันว่า สำเนียงโคราช จึงเรียกตนเองว่า ไทย – โคราช, ไทย - เกิ้ง, ไทย – เบิ้ง (น. 240) 

History of the Group and Community

ชุมชนบ้านค่ายหมื่นแผ้ว มีชื่อเดิมว่า “บ้านค่าย” เกิดจากท้าวแลซึ่งอพยพมาจากเวียงจันมีดำริให้ใช้พื้นที่แห่งนี้ตั้งค่ายทหาร เพื่อฝึกช้างสำหรับการสู้รบ โดยมีหัวหน้าผู้ดูแลคือนายหมื่นแผ้ว ต่อมาได้ขยายตัวกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่และเปลี่ยนชื่อเป็น “บ้านค่ายหมื่นแผ้ว” มีกลุ่มคน 2 กลุ่มใหญ่ ๆ อาศัยอยู่ร่วมกัน คือ กลุ่มไทย-อีสานและไทย-โคราช โดยกลุ่มไทย-อีสานมีจำนวนมากที่สุด ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า ชาวไทย-อีสาน  อพยพเข้ามาในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ส่วนกลุ่มคนไทย-โคราช อาศัยอยู่มาตั้งแต่สมัยอยุธยา  

Settlement Pattern

กลุ่มคนไทย-อีสานและไทย-โคราช บ้านค่ายหมื่นแผ้ว นิยมตั้งบ้านเรือนอยู่บนที่ดอนซึ่งมีทุ่งนาล้อมรอบ รูปแบบของชุมชนขยายตัวเป็นแนวยาว (linear village) คือไล่ตามแนวถนนและแม่น้ำชี โดยมีลักษณะของเรือนปลูกสร้างอยู่กันเป็นกลุ่มก้อนและหนาแน่นบริเวณใจกลางชุมชน ส่วนบริเวณรอบนอกเป็นลักษณะของการแยกออกมาหาทำเลใหม่จึงมีการตั้งบ้านเรือนที่เบาบางกว่าแต่อยู่ในระยะทางที่สามารถเดินทางไปหาเครือญาติได้สะดวก โดยกลุ่มคนไทย-อีสาน จะตั้งบ้านเรือนอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของหมู่บ้านติดริมแม่น้ำชี สำหรับกลุ่มคนไทย-โคราชนั้นจะตั้งบ้านเรือนอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่บ้านติดริมแม่น้ำชีและเกาะตามแนวถนนของหมู่บ้าน มีการแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนระหว่างแต่ละครอบครัว  

Demography

บ้านค่ายหมื่นแผ้ว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 5,355 คน แยกเป็นชาย 2,613 คน หญิง 2,742 คน มีจำนวนครัวเรือน 1,537 หลังคาเรือน ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 1,003 คน/ตารางกิโลเมตร (น. 240) 

Economy

บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำชีถือเป็นแหล่งทรัพยากรหลักของชุมชนเพราะมีความสำคัญต่อการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำนาที่เริ่มเพาะปลูกตั้งแต่เดือนมิถุนายนและเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม หลังจากทำนาชาวบ้านจึงจะเริ่มเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น เช่น ข้าวโพดหรือพืชที่ใช้น้ำน้อย ในขณะที่บางคนออกไปรับจ้างทำงานทั่วไปทั้งในและนอกพื้นที่ หรือออกจับปลายังแหล่งน้ำต่าง ๆ เช่น แม่น้ำชี คลอง หนองน้ำ เป็นต้น สำหรับคนไทย-อีสาน จะมีอีกอาชีพหนึ่ง นั่นคือ อาชีพเลี้ยงช้าง ซึ่งปัจจุบันนิยมเลี้ยงสำหรับแสดงโชว์ทั้งในและนอกประเทศ มีการจัดตั้งเป็นคณะแสดงจำนวน 14 คณะ แต่ละคณะจะมีช้าง 2-3 เชือก รอนแรมแสดงไปตามที่ต่าง ๆ เมื่อถึงฤดูกาลทำนาจึงจะสลับกันกลับมาทำนาที่บ้าน (น.243-244)

Social Organization

บ้านค่ายหมื่นแผ้ว ตั้งอยู่ใกล้กับที่ราบลุ่มแม่น้ำชี มีกลุ่มคน 2 กลุ่มใหญ่อาศัยอยู่ร่วมกัน คือ กลุ่มคนไทย-อีสานและไทย-โคราช โดยกลุ่มคนไทย-อีสานจะแบ่งการปกครองออกเป็นหมู่ ควบคู่ไปกับการแบ่งออกเป็นคุ้มบ้าน โดยคุ้มบ้านดั้งเดิมนั้นจะมีชื่อเรียกว่า “คุ้มบ้านใหญ่” คุ้มบ้านรอบนอกมีชื่อเรียกว่า คุ้มบ้านน้อย, คุ้มบ้านโซ่ง, คุ้มบ้านโซ้งมะเกลือและคุ้มตลาด แต่ละคุ้มนั้นจะเชื่อมกันด้วยถนน มีศาลากลางบ้านและสิ่งก่อสร้างเกี่ยวกับความเชื่อได้แก่ ศาลปู่ตา, ศาลโฮงปะกำหรือศาลปะกำที่ใช้ร่วมกันตามข้อตกลงของแต่ละคุ้มบ้าน มีวัด 2 แห่ง ได้แก่ “วัดใหญ่” หรือวัดกลางหมื่นแผ้ว เป็นวัดเก่าแก่ของชุมชน ต่อมาเมื่อชุมชนขยายตัวและการตัดถนนชัยภูมิ-สีคิ้วผ่ากลางชุมชน ทำให้ผู้เฒ่าผู้แก่ไม่สะดวกเดินทางไปทำบุญที่วัด จึงก่อตั้งวัดใหม่ขึ้นมาอีกแห่ง ได้แก่ “วัดน้อย” หรือวัดนาคาวาสวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนชัยภูมิ-สีคิ้วติดทุ่งนาของหมู่บ้าน ส่วนกลุ่มคนไทย-โคราช อยู่รวมกันเป็นระบบเครือญาติเช่นเดียวกันแต่ไม่ใหญ่มากนักและแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนระหว่างแต่ละครอบครัว และไม่แบ่งออกเป็นคุ้มแต่จะใช้สถานที่สำคัญเป็นที่ตั้งเช่น วัด, โรงเรียน, โรงพยาบาลประจำตำบล (สถานีอนามัย) แล้วเรียกว่า บ้านหน้าวัด. บ้านท้ายวัด, บ้านหน้าโรงเรียน และบ้านท้ายโรงเรียน เป็นต้น เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำและเข้าใจ มีศาลากลางบ้านประจำชุมชนและศาลปู่ตา มีวัด 1 แห่ง คือ “วัดบ้านท่าหว้า” หรือวัดชุมพลสวรรค์

Political Organization

บ้านค่ายหมื่นแผ้ว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ในอดีตเคยอยู่ภายใต้การปกครองของนครราชสีมา ปัจจุบันอยู่ในเขตการปกครองของเทศบาลตำบลบ้านค่ายหมื่นแผ้ว มีหมู่บ้านภายใต้การปกครองจำนวน 6 หมู่บ้าน (น. 240) 

Belief System

ความเชื่อและประเพณีของกลุ่มคนไทย-อีสานและไทย-โคราช บ้านค่ายหมื่นแผ้ว มีฐานมาจากวัฒนธรรมอีสาน ซึ่งมีความเชื่อเรื่องผีปู่ตาและการนับถือศาสนาพุทธ รวมถึงประเพณีสำคัญคือ “ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่” ซึ่งเป็นความเชื่อร่วมของคนทั้งสองกลุ่มที่ต่างยึดถือปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีความเชื่อและประเพณีที่เหมือนกัน ดังเช่น พิธีกรรมเลี้ยงผีปู่ตา ที่ทั้ง 2 กลุ่มจะจัดขึ้นในเดือน 6 ของทุกปีและต้องเป็นวันพุธเท่านั้น ซึ่งถือปฏิบัติเหมือนกัน แต่ในรายละเอียดแล้วกลุ่มคนไทย-อีสานจะทำบุญเลี้ยงผีปู่ตาก่อน จากนั้น 3-4 วันจึงจะทำบุญบ้าน ส่วนกลุ่มคนไทย-โคราช จะเลี้ยงผีปู่ตา พร้อมกับทำบุญบ้านในวันเดียวกัน สาเหตุดังกล่าว เป็นเพราะชาวไทย-โคราชมีขั้นตอนและวิธีปฏิบัติเรียบง่ายกว่าคนไทย-อีสานที่ยึดถือแบบแผนปฏิบัติอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อที่ต่างกันออกไป คือ ผีโฮงปะกำ อันเป็นความเชื่อเฉพาะคนเลี้ยงช้างที่อยู่ในกลุ่มคนไทย-อีสาน ทั้งนี้ในรอบ 1 ปี กลุ่มควาญช้างของคนไทย-อีสานทั้งหมดจะรวมตัวกันกลับบ้านในงานพาแลงของหมู่บ้าน เพื่อพบปะพูดคุยกับญาติพี่น้องและผู้คนในชุมชน รวมถึงเข้าร่วมงานสมโภชน์พระยาแลซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนมกราคมของทุกปี (น.244-245) 

Art and Crafts (including Clothing Costume)

รูปแบบของเรือนพื้นถิ่น ส่วนมากจะเป็นเรือนยกใต้ถุนสูง โดยตัวเรือนจะวางตัวตามตะวัน ยกเว้นเรือนสมัยใหม่ที่หันหน้าเรือนเข้าถนน รูปแบบของเรือนที่พบในบ้านค่ายหมื่นแผ้วของกลุ่มคนไทย-อีสานมีเรือนเกย เรือนโข่ง และเรือนสมัยใหม่ ทั้งนี้องค์ประกอบของเรือนพื้นถิ่น ประกอบด้วย เรือนนอน (เรือนใหญ่) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ห้องเปิง ซึ่งเป็นห้องนอนลูกชาย มักไม่มีการกั้นห้อง ห้องพ่อ-แม่ อาจกั้นห้องหรือปล่อยโล่ง และส่วนที่สามห้องนอนลูกสาว หรือเรียกว่าห้องส่วม มีประตูและฝากั้นมิดชิด ส่วนถัดมาคือ เกย คือบริเวณลานโล่งที่มีหลังคาคลุม เรือนโข่ง เรือนครัว (เรือนไฟ) และชานแดด สำหรับกลุ่มคนไทย-โคราช พบรูปแบบเรือน 2 ห้อง เรือน 2 ห้องแบบจั่วแฝด และเรือนสมัยใหม่ ทั้งนี้ องค์ประกอบของเรือนพื้นถิ่น ประกอบด้วย เรือนนอน เป็นที่นอนของพ่อ แม่ และลูกเล็ก เรือน 2 ห้อง เทียบได้กับเรือนเกยของกลุ่มคนไทย-อีสาน เรือน 2 ห้องแบบจั่วแฝด เทียบได้กับเรือนโข่งกลุ่มคนไทย-อีสาน ส่วนต่อมาคือ ระเบียงหรือพะระเบียง พะ ซึ่งเป็นที่นอนของลูกสาวและลูกเขย นอกชาน ชาน พักบน และพักต่ำ (น.247-249) 

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

แรกเริ่มเดิมทีคนสองฝั่งโขงทั้งอีสานและลาวสมัยโบราณมีการเดินทางไปมาหาสู่กันอยู่เป็นปกติ โดยมีกลุ่มคนลาวที่เคลื่อนย้ายมายุคแรก ๆ เป็นกลุ่มลาวล้านช้างกับลาวเวียงจัน (อ้างอิงใช้ “เวียงจัน” ตามที่เขียนในบทความ) แต่เมื่อมีการแก่งแย่งอำนาจเกิดขึ้นจนลาวต้องแยกออกเป็น 3 อาณาจักรได้แก่ หลวงพระบาง เวียงจัน และจำปาสัก จึงทำให้เกิดการอพยพโยกย้ายครั้งยิ่งใหญ่ โดยมีกลุ่มพระตาและพระวอ, กลุ่มเจ้าผ้าขาวและท้าวโสมพะมิตร เป็นต้น รวมถึงการทำสงครามระหว่างธนบุรีกับลาว เป็นเหตุให้ชาวลาวถูกกวาดต้อนมาเป็นจำนวนมาก ต่อมาภายหลังปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5ได้มีการประกาศให้ชาวลาวอีสานทั้งหมดเป็นคนไทยซึ่งอยู่ในบังคับของสยาม ส่งผลให้ “คนลาวอีสาน” ถูกทำให้เป็นคนไทยมาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ทั้งกลุ่มคนไทย-อีสานและไทย-โคราช ได้นำความเชื่อที่ยึดถือกันตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษติดตัวมาด้วยและก่อสร้างเป็นศาลปู่ตา เฉพาะคนไทย-อีสานจะมีศาลโฮงปะกำหรือศาลปะกำที่ใช้ร่วมกันตามข้อตกลงของแต่ละคุ้มบ้าน 

Map/Illustration

- ภาพที่ 1 แสดงเส้นทางการอพยพของ 3 กลุ่ม สำคัญที่หนีภัยสงครามจากเวียงจันทร์เข้าสู่ภาคอีสาน ได้แก่ กลุ่มท้าวแล (ชัยภูมิ) กลุ่มเจ้าผ้าขาว, ท้าวโสมพะมิตร (กาฬสินธุ์) และกลุ่มพระวอ, พระตา (อุบลราชธานีและยโสธร)  (น.241)
- ภาพที่ 2 แสดงเส้นทางการอพยพของกลุ่มขุนนางเข้าสู่เมืองโคราชเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาแตกและเส้นทางการเดินทางของกรมหมื่นเทพพิพิธเพื่อที่จะแก้ไขกรุงศรีอยุธยา แต่ถูกตีแตกจึงไปตั้งหลักที่เมืองโคราช (น.241)
- ภาพที่ 3 (ซ้ายมือ) แสดงตำแหน่งที่ตั้งของพื้นที่กรณีศึกษาในจังหวัดชัยภูมิ (กลาง) แสดงอาณาเขตของบ้านค่ายหมื่นแผ้วและตำแหน่งของพื้นที่วิจัย (ขวามือ) แสดงขอบเขตของพื้นที่วิจัยและตำแหน่งที่อยู่อาศัยของกลุ่มคนไทย-อีสานและกลุ่มคนไทย-โคราช (น.242)
- ภาพที่ 4แสดงผังและรูปตัดการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มคนไทย-อีสานและกลุ่มคนไทย-โคราช (น.244)
- ภาพที่ 5แผนที่ตำแหน่งเรือนพื้นถิ่นจำนวน 32หลัง ที่สำรวจพบในชุมชนบ้านค่ายหมื่นแผ้ว (น.246)
- ภาพที่ 6แสดงตัวอย่างรูปแบบเรือนพื้นถิ่นของกลุ่มคนไทย-อีสานและกลุ่มคนไทย-โคราช ในชุมชนบ้านค่ายหมื่นแผ้ว (น.249)
- ภาพที่ 7ภาพถ่ายส่วนต่าง ๆ ของเรือนพื้นถิ่นกลุ่มคนไทย-อีสานและกลุ่มคนไทย-โคราช (น.252)
- ภาพที่ 8แสดงการเปรียบเทียบองค์ประกอบของผังพื้นเรือนอีสานแบบดั้งเดิมกับเรือนพื้นถิ่นของกลุ่มคนไทย-อีสาน และผังพื้นเรือนโคราชแบบดั้งเดิมกับเรือนพื้นถิ่นของกลุ่มคนไทย-โคราช ในชุมชนบ้านค่าย (น.255)
- ภาพที่ 9แสดงการเปรียบเทียบรูปลักษณ์ของเรือนอีสานแบบดั้งเดิมกับเรือนพื้นถิ่นของกลุ่มคนไทย-อีสาน และรูปลักษณ์เรือนโคราชแบบดั้งเดิมกับเรือนพื้นถิ่นของกลุ่มคนไทย-โคราช ในชุมชนบ้านค่าย (น.256)
- ภาพที่ 10ภาพสามมิติแสดงตัวอย่างและรูปลักษณ์และผังเรือนของกลุ่มคนไทย-อีสานและกลุ่มคนไทย-โคราช ในชุมชนบ้านค่ายหมื่นแผ้ว (น.267)
- ภาพที่ 11แสดงตัวอย่างเรือนกรณีศึกษาที่นำรูปแบบและองค์ประกอบของผังพื้นเรือนระหว่างกันมาใช้และภาพสามมิติที่แสดงตัวอย่างของการนำมาใช้แบบที่ 3(นำมาใช้โดยปรับให้เข้ากัน) (น.259)
- ตารางที่ 1 แสดงสถานภาพของประเพณีฮีตสิบสองที่ยังคงถือปฏิบัติของกลุ่มคนไทย-อีสานและกลุ่มคนไทย-โคราช ในชุมชนบ้านค่ายหมื่นแผ้ว (น.246)
- ตารางที่ 2แสดงจำนวนและรูปแบบเรื่อนพื้นถิ่นของกลุ่มคนไทย-อีสานและกลุ่มคนไทย-โคราช ที่สำรวจพบในชุมชนบ้านค่ายหมื่นแผ้ว (247)

Text Analyst Date of Report 05 ม.ค. 2566
TAG เรือนพื้นถิ่น, ไทยอีสาน, ไทยโคราช, แบบผสม, ความสัมพันธ์, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง