สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ผู้ไทย ,โส้ โซร ซี,กะเลิง,การรักษาป่า,มุกดาหาร,นครพนม,สกลนคร
Author สุรัตน์ วรางค์รัตน์
Title ศักยภาพในการรักษาป่าชุมชนของชนกลุ่มผู้ไทย โซ่ และกะเลิง
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ผู้ไท ภูไท, โส้ โทรฺ, กะเลิง, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 85 Year 2535
Source มหาวิทยาลัยขอนแก่นและวิทยาลัยครูสกลนคร
Abstract

สรุปสาระสำคัญ มีเนื้อหาอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน มนุษย์กับป่า การพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการรักษาป่า ระบบคิด ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรม ข้อบังคับและกฎระเบียบชุมชน ของกลุ่มกะเลิง บ้านบัว อ.กุดบาก จ.สกลนคร กลุ่มโซ่ บ้านโคกนาดี กิ่งอ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม กลุ่มผู้ไทย บ้านคำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร

Focus

สถานะของป่า สถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน มนุษย์กับป่า ศักยภาพของชุมชนในการรักษาป่า ระบบคิด ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรม ข้อบังคับและกฎชุมชน และความสนใจของชุมชนในการพัฒนาป่าในอนาคต ของกลุ่มกะเลิง บ้านบัว อ.กุดบาก จ.สกลนคร กลุ่มโซ่ บ้านโคกนาดี กิ่งอ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม กลุ่มผู้ไทย บ้านคำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร (หน้า 1-2)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ผู้เขียนเรียกชาติพันธุ์ที่ศึกษาว่า "ผู้ไทย" "ชาวกะเลิง" และ "ชาวโซ่" (หน้า 2, 60-61) ส่วนใหญ่อยู่ในชุมชนเขตอีสานตอนบนหรืออีสานเหนือ ได้แก่ จังหวัด สกลนคร มุกดาหาร นครพนม (หน้า 15)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ศึกษาระหว่างเดือนมีนาคม - พฤษภาคม พ.ศ.2535 (หน้า 3)

History of the Group and Community

กลุ่มชาติพันธุ์ภาษาในเขต จังหวัด สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร ส่วนใหญ่มีบรรพบุรุษอพยพมาจากเมืองต่าง ๆ ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงโดยเฉพาะสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เริ่มกวาดต้อนผู้คนมาตั้งบ้านตั้งเมืองขึ้น การเคลื่อนย้ายของผู้คนเกิดขึ้นหลายครั้งเพื่อตามญาติพี่น้องหรือหาแหล่งทำมาหากินทางฝั่งสยาม ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเกิดกบฏชาวจีนได้โจมตีหัวเมืองต่างๆทางฝั่งซ้าย ทำให้ชาวพื้นเมืองอพยพเข้ามาเป็นจำนวนมาก จากคำอ้างอิงของคนเก่าแก่ที่รับการถ่ายถอดคำบอกเล่าสืบต่อกันว่า "อพยพมาตั้งแต่สมัยศึกฮ่อ" (หน้า 21-22) กะเลิง อพยพมาถึงหนองหารแต่ไม่ประสงค์จะตั้งบ้านเรือนในเขตเมืองสกลนคร เนื่องจากเป็นที่ลุ่มจึงพากันขึ้นเชิงเขาภูพานหาหลักแหล่งตั้งบ้านเรือนเป็นชุมชนขึ้น (หน้า 21,22) ผู้ไทย อพยพมาจากเมืองต่าง ๆ ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงข้ามห้วยมุกเข้าสู่เขตดงไม้บ้านคำชะอีเป็นแหล่งทำมาหากินโดยน่าจะคำนึงถึงปัจจัย 3 ประการ คือมีป่าไม้ แหล่งน้ำและพื้นที่ราบเป็นป่าโปร่งสามารถบุกเบิกเป็นพื้นที่ทำนาได้ (หน้า 22) โซ่กลุ่มใหญ่ อพยพมาจากเมืองบก เมืองวัง เมืองพิณ เมืองนอง ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง โดยเฉพาะในช่วง พ.ศ.2385 ภายใต้การการนำของท้าวเพี้ยเมืองสูง เพี้ยบุตโคต ได้เข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร พระประเทศธานี (คำ) ต้องการให้โซ่ตั้งบ้านแถบลำห้วยขนานประชิดเมืองละคร (นครพนม) ต่อมาเป็นเมืองกุสุมาลย์ ในพ.ศ.2387 ดังนั้น โซ่จึงไม่มีโอกาสเลือกพื้นที่ป่าเขาเช่นกลุ่มอื่น ๆ จึงต้องปรับพฤติกรรมจากความเคยชินในพื้นที่สูงมาเป็นการทำนาในพื้นที่ราบและการหาของป่าก็ลดลง อย่างไรก็ตาม โซ่ยังกระจายอยู่เป็นบริเวณกว้าง บ้านโคกนาดีเกิดจากชีปะขาวผู้หนึ่งได้ลาสิกขาบทแล้วแต่งงานมีครอบครัว เนื่องจากเป็นผู้มีคาถาอาคมเป็นที่หวาดกลัวแก่ชาวบ้านนาขมิ้น จึงได้นำครอบครัวมาอยู่บ้านโคกนาดีซึ่งห่างจากบ้านนาขมิ้นประมาณ 4 กิโลเมตร ปัจจัยสำคัญในการตั้งบ้านเรือนคือ มีความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ป่า (หน้า 22-23)

Settlement Pattern

ในพื้นที่ศึกษาหมู่บ้านบัว บ้านโคกนาดี บ้านคำชะอี ส่วนใหญ่พบว่ามีพื้นที่ทำกินอยู่ใกล้พื้นที่ป่า เช่น ป่าช้า ป่าธรณีสงฆ์ ป่าทำเลเลี้ยงสัตว์ ในลักษณะล้อมรอบพื้นที่ป่า จึงส่งผลให้มีการบุกรุกป่าเพื่อขยายพื้นที่ทำกินได้ง่าย ขณะที่ชุมชนตั้งอยู่ห่างจากป่าจึงไม่มีการบุกรุกป่าเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย และในบางหมู่บ้าน เช่น หมู่บ้านโคกนาดีมีถนนตัดผ่านระหว่างพื้นที่ป่าและที่ทำกินกับชุมชน ทำให้ชุมชนไม่มีการขยายตัวของพื้นที่ง่ายเหมือนที่ทำกิน ส่วนป่าปู่ตาและป่ามเหศักข์ที่ตั้งอยู่ไกลจากชุมชนแต่ไม่มีการบุกรุกเนื่องจากเป็นป่าศักดิ์สิทธิ์ตามประเพณีความเชื่อที่ยังมีการนับถือของชุมชน (หน้า 4-14)

Demography

ข้อมูลจากตารางที่ 2 ระบุว่าหมู่บ้านบัวปัจจุบันมีจำนวน 615 หลังคาเรือนและมีประชากร 2,834 คน (พ.ศ.2535) (หน้า 16 ,19) หมู่บ้านโคกนาดีมีจำนวนครัวเรือน 108 หลังคาเรือนและมีประชากร 647 คน หมู่บ้านคำชะอีมีจำนวนครัวเรือน 387 และมีประชากร 1,972 คน (พ.ศ.2535)(หน้า 19)

Economy

แหล่งรายได้และทรัพยากรอาหาร กะเลิงออกหาของป่าจากป่าไม้ในเทือกเขาภูพานเพื่อมาเป็นอาหารมากกว่าโซ่ซึ่งป่าไม้เป็นป่าที่โคกไม่ใช่ป่าตามเชิงเขา ส่วนผู้ไทยอาศัยอยู่ใกล้ป่าโปร่งแหล่งอาหารในป่าภูสีฐานอยู่ไกลและเป็นเขตป่าวนอุทยานจึงนิยมซื้ออาหารสดจากตลาดสดแทน ป่าไม้จึงให้ประโยชน์ในด้านการประหยัดเงินซื้ออาหาร ปัจจุบัน กะเลิงหันมาทำสวนครัวและมีชมรมพันธุ์ไม้พื้นบ้าน นับเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาหารจากที่เคยได้จากป่า (หน้า 18) อาชีพ หมู่บ้านส่วนใหญ่ในภาคอีสานประกอบอาชีพทำนา และมีรายได้หลักจากการขายข้าว นอกจากนั้นอาชีพเสริมนอกเหนือจากการทำนาคือ กะเลิงจะนิยมปลูกมันสำปะหลังและปลูกอ้อย จึงมีรายได้จากการปลูกพืชเศรษฐกิจมากกว่ากลุ่มอื่น ส่วนผู้ไทยจะปลูกมันสำปะหลังน้อยแต่ปลูกอ้อยมากกว่าซึ่งให้ราคาดีกว่าปลูกมันสำปะหลัง นอกจากนั้นชาวผู้ไทยยังนิยมหารายได้จากการค้าขาย การทอผ้าและรับราชการ จึงทำให้มีรายได้จากการสะสมทรัพย์สูงกว่าทุกกลุ่ม ส่วนชาวโซ่จะปลูกมันสำปะหลังบ้างเล็กน้อยเนื่องจากนาเป็นที่ลุ่มมีน้ำขัง (หน้า 18)นอกจากนั้นยังมีอาชีพเลื่อยไม้และเผาถ่านในเขตป่าไม้สาธารณะใกล้หมู่บ้าน (หน้า 37)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ความสัมพันธ์กับรัฐ กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในเขต จ.สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร มีความสัมพันธ์กับรัฐไทยมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษที่อพยพหรือถูกอพยพมาจากเมืองต่าง ๆ ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง การเคลื่อนย้ายหลายครั้งในสมัยสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการอพยพคนเข้ามา และต่อมาก็มีการอพยพกันเข้ามาเองเพื่อตามญาติพี่น้อง หรือหาแหล่งทำมาหากินทางฝั่งสยาม ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเกิดกบฏชาวจีนได้โจมตีหัวเมืองต่าง ๆ ทางฝั่งซ้าย ทำให้ชาวพื้นเมืองอพยพเข้ามาเป็นจำนวนมาก (หน้า 21-22) ต่อมาในปี พ.ศ.2508 ในช่วงคอมมิวนิสต์เข้ามาเผยแพร่ในหมู่บ้านบัว ทำให้ชาวบ้านที่เจ้าหน้าที่สงสัยว่าสนับสนุน ผกค. ถูกลงโทษจากเจ้าหน้าที่รัฐและห้ามชาวบ้านเข้าป่า ปี พ.ศ.2513 รัฐส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกมันสัมปะหลัง ปี พ.ศ. 2519 มีการตัดถนนเข้าหมู่บ้าน ปี พ.ศ.2529 การออกเอกสารสิทธิ์ นส.3 แก่ราษฎร รวมทั้งการสนับสนุนโครงการของรัฐบาล เช่น โครงการสร้างสถานเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน โครงการสร้างสถานีอนามัยตำบล โครงการปักเสาไฟฟ้าแรงสูง เป็นต้น (หน้า 33-37)

Belief System

พิธีกรรมและความเชื่อ โซ่บ้านโคกนาดี มีความเชื่อว่าป่ามีอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งแสดงออกในนามว่า เจ้าป่า เจ้าเขา ปู่ตา มเหศักข์ ผีสาง นางไม้ ผีพราย โดยมีเฒ่าจ้ำเป็นบุคคลที่สำคัญของหมู่บ้าน ในการสื่อสารระหว่างชุมชนและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยเลือกวิธีการเข้าฝัน การเสี่ยงข้อง เสี่ยงทาย การเข้าทรง อย่างใดอย่างหนึ่งมักเป็นผู้ประพฤติดีมีศีลธรรม บทบาทของเฒ่าจ้ำคือการบน การขออำนาจจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ขจัดปัดเป่าความทุกข์ร้อนของชาวบ้าน รวมไปถึงการทำพิธีสำคัญในวันเลี้ยงผีมเหศักข์ ผีปู่ตาใน วันเลี้ยงผีปู่ตา การเตรียมพิธีกรรม จะต้องมีการแต่งขันธ์ 5 ขันธ์ 8 ประกอบด้วยพานหรือจานใส่ดอกไม้ 5 คู่ หรือ 8 คู่ เทียน 1 คู่ หมาก 1 คำ มาทำพิธีบอกกล่าวปู่ตา มเหศักข์ มักถือวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 เรียกว่า "ออกใหม่ 3 ค่ำ" เป็นวันเลี้ยงผีปู่ตาและวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันเลี้ยงผีมเหศักข์ ผีประจำหมู่บ้านมีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น โซ่เรียกเจ้าปู่มเหศักข์ ผู้ไทย-ลาวเรียกผีปู่ตา อำนาจความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าปู่มเหศักข์ ผีปู่ตา เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านนับแต่การบอกกล่าวเมื่อต้องออกจากบ้าน เมื่อกลับบ้าน การไปค้าขายหรือผู้เข้ามาอาศัยในหมู่บ้าน ผีปู่ตาจะอำนวยโชคให้ แต่ในทางตรงข้ามถ้าผู้นั้นปฏิบัติผิดฮีตคองและโดยเฉพาะตัดไม้บริเวณป่าปู่ตาจะทำให้ผู้นั้นได้รับความเจ็บป่วยจนถึงตายหรือประสบอุบัติเหตุจนถึงแก่ชีวิต (หน้า 27-28)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

สำหรับโซ่ และผู้ไทย ความเจ็บป่วยมักสัมพันธ์กับความเชื่อว่าเกิดจากอำนาจของผีปู่ตา เจ้าปู่มเหศักข์ ถ้าผู้นั้นปฏิบัติผิดฮีตคองและโดยเฉพาะตัดไม้บริเวณป่าปู่ตาจะทำให้ผู้นั้นได้รับความเจ็บป่วยจนถึงตายหรือประสบอุบัติเหตุจนถึงแก่ชีวิต (หน้า 28) แต่กะเลิง ปัจจุบันหันมาพึ่งยาซองแบบแพทย์แผนปัจจุบันมากขึ้น การใช้สมุนไพรปรุงยาพื้นบ้านเริ่มลดลง (หน้า 44)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

เอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์ ผู้ไทยมีลักษณะการเคารพเชื่อฟังผู้นำ มีประวัติศาสตร์ยาวนานร่วมกัน ส่วนกะเลิงรักสงบและมีวิถีชีวิตพึ่งพาป่าสูง โซ่มีลักษณะคล้ายกับกะเลิง รักสงบ รักความเป็นระเบียบและการประหยัด (หน้า 60)

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

การอนุรักษ์ป่าในพื้นที่ศึกษา การอนุรักษ์ป่าในหมู่บ้านบัวเริ่มขึ้นในช่วงปี พ.ศ.2534 โดยกลุ่มผู้นำหมู่บ้านร่วมกับชาวบ้านหลังจากมีความขัดแย้งกับกลุ่มผู้นำเดิมในหมู่บ้าน ที่บุกรุกป่าทำเลเลี้ยงสัตว์ ป่าช้าและป่าธรณีสงฆ์ ในปีพ.ศ.2535ชาวบ้านร่วมกับเจ้าหน้าที่ได้ปักหลักเขตป่าช้าเพื่อทำแนวเขตป้องกันการบุกรุก ส่วนป่าปู่ตาได้รับผลกระทบน้อยกว่าป่าแห่งอื่นๆ เป็นป่าสุดท้ายของหมู่บ้านที่ยังมีอยู่ และชาวบ้านถือเป็นป่าศักดิ์สิทธิ์ การอนุรักษ์ป่าในหมู่บ้านโคกนาดี การอนุรักษ์ป่าเริ่มขึ้นในพ.ศ.2538 จากผู้นำหมู่บ้านและชาวบ้าน มีการรณรงค์ต่อสู้กับการบุกรุกป่าจากบุคคลภายนอกและภายในหมู่บ้าน ในระยะแรกการบุกรุกป่ายังไม่มากนักจนกระทั่งมีการบุกรุกเพื่อยายพื้นที่ทำนาจากบุคคลภายนอก ขบวนการอนุรักษ์ป่าจึงเริ่มเกิดขึ้น ในระยะต่อมาได้มีการตั้งกฎเกณฑ์เพื่อการอนุรักษ์ป่า 3 แห่ง คือ ป่าทำเลเลี้ยงสัตว์ ป่าธรณีสงฆ์และป่าช้าโดยมีคณะกรรมการหมู่บ้านเป็นผู้ดูแลและลงโทษในกรณีที่มีการฝ่าฝืนตัดต้นไม้ ซึ่งประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่การบุกรุกป่าก็ยังเกิดขึ้นแม้จะมีการปักหลักเขตป่า นอกจากนั้นยังมีป่าปู่ตาที่มีความสำคัญต่อความเชื่อ มีพื้นที่ 1 งาน การอนุรักษ์ป่าในหมู่บ้านคำชะอี ในปีพ.ศ.2513 เริ่มการบุกรุกที่ดินเพื่อปลูกมันสำปะหลังและบุกรุกป่าสาธารณะ ต่อมาพ.ศ.2530 ผู้นำหมู่บ้านได้เริ่มรณรงค์รักษาพื้นที่ป่าเดิมและการขอพื้นที่ป่าเพิ่ม โดยให้การดูแลป่าเป็นหน้าที่ของหมู่บ้าน เช่น ป่าดงอีห้ม 400 ไร่ การขอดูแลป่าดงสีฐานจากกรมป่าไม้ซึ่งมีพื้นที่ 200,000 ไร่และการล้อมรั้วป่าอุทยานน้ำตก โดยชาวบ้านสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์จากป่าได้ การใช้พื้นที่ป่าสร้างวัดป่าสุภัทราวาสเพื่อเป็นการอนุรักษ์ป่า นอกจากนั้น ยังมีพื้นที่ป่าช้าเจ้าปู่คานตึงและป่าเจ้าปู่มเหศักข์ตามความเชื่อ และป่าปู่ตามีพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ ปัจุบันได้มีการรื้อฟื้นประเพณีในการเลี้ยงผีปู่ตา เพื่อถือเป็นวันเยี่ยมพี่น้อง รดน้ำขอพรจากผู้ใหญ่ ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับระบบนิเวศ การพึ่งพาป่าในช่วงการอนุรักษ์ ชาวบ้านสามารถพึ่งพาอาหารและไม้ใช้สอยที่มาจากป่าได้ แต่มีจำนวนลดลงเนื่องจากพื้นที่หมู่บ้านบัว หมู่บ้านโคกนาดี หมู่บ้านคำชะอีมีการเพิ่มขึ้นของประชากร ขณะที่พื้นที่ป่าลดลง แม้จะมีการใช้มาตรการทางกฎหมายแต่การบุกรุกป่าก็ยังคงเกิดขึ้น

Map/Illustration

แผนที่และตาราง 1.แผนที่แสดงแหล่งวิจัยป่าชุมชน 3 จังหวัดในภาคอีสานตอนบน (หน้า 4) 2.แผนที่บ้านบัวแสดงหมู่บ้านและป่าชุมชน (หน้า 5) 3.แผนที่ป่าช้าบ้านบัว (หน้า 6) 4.แผนที่ป่าธรณีสงฆ์บ้านบัว (หน้า 7) 5.แผนที่บ้านโคกนาดี แสดงหมู่บ้านและป่าสาธารณะ (หน้า 8) 6.แผนที่ป่าดงกำพร้า บ้านโคกนาดี (หน้า 9) 7.แผนที่ป่าช้าสาธารณะ บ้านโคกนาดี (หน้า 10) 8.แผนที่บ้านคำชะอี แสดงหมู่บ้านและป่าชุมชน (หน้า 11) 9.แผนที่ป่าช้าและป่ามเหศักข์ บ้านคำชะอี (หน้า 12) 10.แผนที่ป่าน้ำตก บ้านคำชะอี (หน้า13) 11.แผนที่ป่าวัดสุภัทราวาส บ้านคำชะอี (หน้า 14) 12.ตารางที่1.แสดงพื้นที่ทำกินของครอบครัวในปัจจุบัน (หน้า 17) 13.ตารางที่2.แสดงสภาพสถานะปัจจุบันของประชากร (หน้า19) 14.ตารางที่3.แสดงพื้นที่ป่าก่อนตั้งชุมชน (หน้า 25) 15.ตารางที่4.แสดงจำนวนพื้นที่ป่าชุมชนในช่วงเวลาต่างๆ (หน้า26) 16.ตารางที่5.แสดงช่วงระยะเวลาและการใช้พื้นที่ทำกิน (หน้า 29) 17.ตารางที่6.แสดงการใช้พื้นที่ป่าปลูกสร้างบ้านเรือนและพื้นที่ทำกินของชุมชนในช่วงเวลาต่างๆ (หน้า 31) 18.ตารางที่7.เปรียบเทียบการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา (หน้า 69) 19.ตารางที่8.แสดงชื่อพันธ์ไม้ที่ชาวบ้านใช้ในปัจจุบัน (หน้า 72) 20.ตารางที่9.สรุปการใช้ประโยชน์จากป่าต่างๆในอดีต-ปัจจุบัน (หน้า 74) 21.ตารางที่10.เปรียบเทียบรายชื่อสัตว์และแมลงที่ชาวบ้านนำมาเป็นอาหาร (หน้า 75)

Text Analyst ทรงศักดิ์ ปัญญา Date of Report 01 พ.ย. 2555
TAG ผู้ไทย, โส้ โซร ซี, กะเลิง, การรักษาป่า, มุกดาหาร, นครพนม, สกลนคร, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง