สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject บ้านพื้นถิ่น, ลาวเวียง, บ้านเลือก, แบบแผนของที่ว่าง
Author วันดี พินิจวรสิน
Title บ้านพื้นถิ่นลาวเวียง...ที่บ้านเลือก
Document Type บทความ Original Language of Text -
Ethnic Identity ลาวเวียง ลาวกลาง, Language and Linguistic Affiliations -
Location of
Documents
มหาวิทยาลัยศิลปากร, ฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย
[เอกสารฉบับเต็ม]
Total Pages 20 Year 2555
Source วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย ฉบับที่ 8 (ก.ย. 2554 – ส.ค. 2555) หน้า 216-235
Abstract

กลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง มีการปลูกสร้างบ้านเรือนที่มีรูปแบบเฉพาะทางสถาปัตยกรรม อย่างไรก็ตาม เมื่อวันเวลาผันผ่านจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงแปรผันตามยุคสมัยผสมกลมกลืนกับลักษณะเรือนไทยภาคกลาง ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนในพื้นที่ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี อันเป็นแหล่งตั้งมั่นของชนกลุ่มนี้มาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี โดยสามารถสังเกตเห็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของเรือนไทยภาคกลางในเรือนลาวเวียง ประกอบด้วย การปิดล้อมบริเวณเรือนนอนที่มีการใช้ผนังฝาปะกนและหลังคาจั่วทรงสูงแบบมีตัวเหงา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของบ้านเรือนในชุมชนบ้านเลือก ยังคงรักษาแบบแผนและลำดับ รวมถึงที่ว่างภายในเรือนสมัยอดีตเอาไว้ได้เป็นอย่างดี

Focus

แม้ว่าชาวลาวเวียงจะอพยพโยกย้ายจากเมืองเวียงจันทน์มาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลากว่า 2 ศตวรรษ แต่การศึกษาลักษณะทางสถาปัตยกรรมกลับไม่มีปรากฏให้เห็น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำการศึกษาเพื่อให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของบ้านเรือนชาวลาวเวียง 

Theoretical Issues

พื้นที่ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี นับว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ต่อกลุ่มชนชาติพันธุ์ลาวเวียง เนื่องจาก เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี และเพื่อให้งานศึกษาวิจัยเกิดคุณค่าอย่างสูงสุดจึงค้นหาข้อมูลผ่านหลักฐานบันทึกต่าง ๆ และลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยใช้วิธีการสังเกตและสัมภาษณ์ทั้งแบบเดี่ยวและสนทนากลุ่ม เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) สำหรับส่วนสถาปัตยกรรมจะวิเคราะห์โดยการจัดกลุ่ม (Classification) และกรณีตัวอย่างที่คล้ายกัน (Cross-casa analysis)  โดยแบ่งการศึกษาตามอายุของเรือนได้เป็น 2 กลุ่ม คือ บ้านเรือนดั้งเดิมซึ่งมีอายุมากกว่า 100 ปี และกลุ่มเรือนที่ปลูกสร้างในช่วง 40-60 ปีที่ผ่านมา จากการศึกษา พบว่า บ้านเรือนของชาวลาวเวียงในตำบลบ้านเลือก ได้รับอิทธิพลจากเรือนไทยภาคกลาง อย่างไรก็ตาม ยังมีบางองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่และความเชื่อที่แตกต่างกัน เช่น หลังคาคลุมพื้นที่ระเบียงที่ทำให้เกิดบ้านแบบหลังคาจั่วคู่ การมีหลังคาเทิบด้านหน้าบ้าน และการมีหิ้งผี/หิ้งคุณพระนอกเปิง องค์ประกอบเหล่านี้สะท้อนถึงความเชื่อเรื่องอำนาจศักดิ์สิทธิ์ของชาวลาวเวียง อาจกล่าวได้ว่า ชุมชนชาวลาวเวียง ตำบลบ้านเลือกยังคงสืบสานความสำคัญทางวัฒนธรรมไว้ได้ ในขณะเดียวกันยังส่งผลต่อข้อสงสัยในการปรับเปลี่ยนว่าเป็นไปในทิศทางใดเมื่อเทียบกับเรือนพื้นถิ่นดั้งเดิม ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งควรศึกษาเปรียบเทียบต่อไป

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง สืบเชื้อสายมาจากเมืองเวียงจันทน์ และมักพูดลงท้ายประโยคว่า “ตี้” เป็นเหตุให้บางครั้งถูกเรียกว่า “ลาวตี้” (น.219) 

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาลาวเวียงถูกจัดอยู่ในกลุ่มชนที่ใช้ภาษาตระกูลไท (น.219)  

Study Period (Data Collection)

มกราคม พ.ศ. 2553 - มกราคม พ.ศ. 2554 

History of the Group and Community

ราชบุรีเป็นที่อยู่อาศัยของชาวลาวเวียงมานานนับแต่สมัยกรุงธนบุรีและดำเนินเรื่อยมาจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น การกวาดต้อนครอบครัวลาวครั้งสำคัญเกิดขึ้นในราวปลายปี พ.ศ. 2321 เมื่อทัพไทยนำโดยเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์ไปตีเมืองเวียงจันทน์และยึดได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2322 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงโปรดฯ ให้ชาวลาวหลายหมื่นคนไปตั้งบ้านเรือนที่เมืองสระบุรี และบางส่วนไปเมืองราชบุรีตามหัวเมืองตะวันตกและเมืองจันทบุรี การกวาดต้อนครอบครัวลาวจากเมืองเวียงจันทน์ครั้งใหญ่ เกิดขึ้นอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 3 อันเนื่องมาจากการก่อกบฏของเจ้าอนุวงศ์ ในครั้งนี้ทรงมีพระราชประสงค์ให้กวาดต้อนผู้คนจากเมืองเวียงจันทน์และหัวเมืองลาวใกล้เคียงมาให้ได้มากที่สุดและถูกส่งไปอยู่รวมกับพวกที่เคยอยู่ก่อนตามหัวเมืองต่าง ๆ โดยเฉพาะตามหัวเมืองชั้นใน เพื่อต้องการให้เป็นกำลังในการป้องกันข้าศึก ป้องกันการหนีกลับประเทศ และเสริมสร้างความั่นคงทางเศรษฐกิจโดยการทำหน้าที่เป็นไพร่หลวงส่งส่วยตามทรัพยากรในพื้นที่ของตน สำหรับพื้นที่ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี มีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชาวลาวเวียงโดยอ้างอิงจากวัดบ้านเลือกที่ก่อสร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2334

การตั้งถิ่นฐานสมัยแรก ๆ ของชาวลาวเวียงนิยมตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณริมน้ำแม่กลอง โดยเฉพาะบริเวณวัดคงคารามในปัจจุบัน กระทั่งต่อมารัชกาลที่ 1 ทรงพระราชทานให้ชาวมอญมาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่บ้านโป่งถึงโพธาราม ชาวลาวเวียงจึงถอยร่นห่างแม่น้ำเข้ามาทางด้านทิศตะวันออก ซึ่งเป็นที่ดอนและชาวลาวเวียงคุ้นเคยมากกว่า

ชาวลาวเวียงนิยมปลูกบ้านเรือนเป็นชุมชนหมู่บ้าน โดยเรียกว่า “บ้าน” และถูกกำหนดให้ตั้งหมู่บ้านสลับไปกับหมู่บ้านของคนไทยและห้ามโยกย้ายไปที่อื่น ต่อมาในปี พ.ศ. 2417 เมื่อเกิดการยกเลิกระบบไพร่ ชาวลาวเวียงจึงได้รับอิสระในการตั้งบ้านเรือนและที่ทำมาหากิน จึงแยกย้ายออกเป็น 2 สาย สายแรกไปทางตะวันตกของแม่น้ำแม่กลองจากบริเวณเขาแร้งไปยังอำเภอจอมบึง สายที่สองขยายมาทางตะวันออก จากวัดพญาไม้กระจายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อไปหาแหล่งที่อยู่ซึ่งอุดมสมบูรณ์มากกว่า ปัจจุบันการตั้งถิ่นฐานของชาวลาวเวียงในพื้นที่จังหวัดราชบุรีพบได้ในหลายพื้นที่ ได้แก่ ตำบลเขาแร้ง อำเภอเมือง ตำบลบ้านฆ้อง ตำบลบ้านสิงห์ ตำบลบ้านเลือก ตำบลดอนทราย อำเภอโพธาราม ตำบลกรับใหญ่ ตำบลหนองกบ ตำบลปากแรต ตำบลหนองอ้อ ตำบลท่าผา อำเภอบ้านโป่ง ตำบลจอมบึง ตำบลปากช่อง อำเภอจอมบึง อีกทั้งยังได้รับเลือกเป็นตัวแทนทางวัฒนธรรมร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ในจังหวัดราชบุรี และสามารถดำรงสภาพแวดล้อมทางกายภาพของบ้านเรือนและชุมชนในลักษณะพื้นถิ่นและอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มชุมชนอย่างเหนียวแน่นจนถึงปัจจุบัน (น.220-221)

Settlement Pattern

แรกเริ่มเดิมทีชาวลาวเวียง ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี นิยมตั้งบ้านเรือนริมน้ำแม่กลอง จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 1 ทรงมีพระราชประสงค์ให้ชาวมอญมาตั้งถิ่นฐานริมน้ำแม่กลองโดยกินพื้นที่ตั้งแต่บ้านโป่งถึงโพธาราม ชาวลาวเวียงจึงถอยร่นห่างแม่น้ำเข้ามายังที่ดอนซึ่งรู้สึกคุ้นเคยมากกว่า โดยนิยมปลูกบ้านเรือนเป็นชุมชนหมู่บ้าน เรียกว่า “บ้าน” และถูกกำหนดให้ตั้งหมู่บ้านสลับไปกับหมู่บ้านของคนไทยและห้ามโยกย้ายไปที่อื่น ทั้งนี้ บ้านเรือนของชาวลาวเวียงตำบลบ้านเลือก ในอดีตมีลักษณะเป็นเรือนยกพื้นสูง ใต้ถุนบ้านเป็นพื้นที่โล่งสำหรับไว้วัวและเก็บอุปกรณ์การทำนา ภายในชุมชนมีทั้งเรือนไม้จริงหรือเรือนเครื่องสับซึ่งมักเป็นเรือนของผู้มีฐานะและเรือนเครื่องผูกทำด้วยไม้ไผ่มักเป็นเรือนของผู้มีรายได้ไม่มากนัก ซึ่งบ้านเรือนโดยรอบจะถูกโอบล้อมด้วยทุ่งนา (น.224) นอกจากที่พักอาศัยยังมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คือ ศาลปู่ตาหรือศาลปู่ตาเจ้านาย ที่ตั้งอยู่กลางหมู่บ้าน สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงบรรพบุรุษซึ่งยังอยู่ที่นครเวียงจันทน์ให้มาสิงสถิตเพื่อปกป้องคุ้งครองลูกหลานเชื้อสายชาวลาวเวียงให้อยู่เย็นเป็นสุข อย่างไรก็ตาม พบการขยายตัวชุมชนจากพื้นที่ใกล้เคียง โดยเฉพาะตำบลบ้านฆ้องมายังตำบลบ้านเลือก เห็นได้ชัดเจนในหมู่ที่ 2 (บ้านดอนกลาง) เป็นต้น

Demography

ตำบลบ้านเลือกมีประชากรรวมทั้งสิ้น 10,022 คน 3,551 ครัวเรือน (น.222) 

Economy

แต่ดั้งเดิมอาชีพหลักของชาวลาวเวียง ในตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี คือ การทำนาตามฤดูกาลโดยอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติ จึงอาจกล่าวได้ว่า เป็นการทำนาที่ไม่พึ่งพาเทคโนโลยี โดยมีพื้นที่การทำนาหลักอยู่บริเวณท้องทุ่งที่ต่างมีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น ทุ่งหนองเดียว ทุ่งหนองแข้ ทางลาด เป็นต้น ต่อมาใน พ.ศ. 2532-2533 ชาวบ้านส่วนใหญ่ขายที่ทำกินให้แก่นายทุน อาชีพทำนาจึงหายไป ปัจจุบัน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปและทำตุ๊กตา ยังคงมีบางส่วนประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา เลี้ยงสัตว์ รับราขการ ค้าขาย และประกอบธุรกิจส่วนตัว (น.222)  

Social Organization

ชาวลาวเวียง ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่นิยมตั้งบ้านเรือนในลักษณะของการกระจุกตัวอยู่เฉพาะในกลุ่มเครือญาติของตน ซึ่งมักกระจายอยู่ตามริมแม่น้ำ ความใกล้ชิดของสถานที่นำมาซึ่งความใกล้ชิดของผู้คน ส่งผลให้ชาวลาวเวียง ณ บ้านเลือกยังคงไปมาหาสู่กัน มีความสนิทสนมและความเป็นอยู่แบบพี่น้องและเครือญาติที่คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (น.222) 

Political Organization

ตำบลบ้านเลือกปกครองภายใต้เทศบาลตำบลบ้านเลือก ประกอบด้วย 9 หมู่บ้าน ในจำนวนนี้มี 7 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1-6 และหมู่ที่ 8 มีประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายลาวเวียง ทั้งนี้หมู่ที่ 6 จะมีชาวจีนรวมอยู่ด้วย ส่วนอีก 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 9 เป็นหมู่บ้านไทย และหมู่ที่ 7 เป็นหมู่บ้านมอญและจีน ภายในตำบลมีวัดทั้งสิ้น 5 วัด เป็นวัดของชาวลาวเวียง 3 วัด ได้แก่ วัดโบสถ์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 วัดบ้านเลือก ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 และวัดหนองรีตั้งอยู่หมู่ที่ 8 ส่วนอีก 2 วัด ได้แก่ วัดหุบมะกล่ำ ตั้งอยู่หมู่ที่เป็นวัดของชาวมอญ และวัดพระศรีอารย์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 เป็นวัดไทย (น.222)

Belief System

ชาวลาวเวียง ตำบลบ้านเลือก เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ผู้คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธและยังดำรงประเพณีสำคัญเอาไว้ เช่น งานบุญข้าวจี่หรือบุญข้าวหลาม ซึ่งจะจัดในเดือนสาม ประเพณีสงกรานต์ จัดในเดือนห้า งานเบิกบ้านและทำบุญกลางลานซึ่งจัดขึ้นในเดือนหก งานวันสารทลาวหรือแก้ห่อข้าว ซึ่งจัดในเดือนสิบ (น.222)  

Art and Crafts (including Clothing Costume)

เรือนพื้นถิ่นของชาวลาวเวียง ตำบลบ้านเลือก มีลักษณะของเรือนนอนซึ่งเป็นเรือนหลักคล้ายเรือนแบบไทยภาคกลาง ส่วนใหญ่จะมีขนาด 3 ห้อง ภายในมีการกั้นห้องเรียกว่า “ในเรือน” ในอดีตจะมีการปิดล้อมเป็นห้องขนาด 2 ช่วงเสาเพื่อให้เป็นห้องลูกสาว ที่ว่างหน้าห้องเรียกว่า “นอกเปิง” ซึ่งเป็นห้องโล่ง เรียกว่า ห้องศพ/ห้องผี เพราะใช้เป็นที่ตั้งหิ้งพระ ร้านคุณพระหรือหิ้งผี นอกจากนี้ ยังใช้เป็นที่นอนของผู้เฒ่าผู้แก่ รวมถึงใช้เป็นพื้นที่จัดงานพิธีต่าง ๆ โดยเฉพาะตั้งศพของผู้เสียชีวิต สำหรับพื้นที่ระเบียงใช้สำหรับเป็นที่นั่งของผู้หลักผู้ใหญ่หรือพระสงฆ์เมื่อมาเยี่ยมบ้าน จากพื้นที่ระเบียงจะเป็นพื้นที่นอกชานเปิดโล่ง แล้วจึงมีบันไดขึ้นลง มีเรือนครัวตั้งอยู่ท้ายระเบียง ใกล้เรือนครัวเป็นที่ตั้งยุ้งข้าว (น.224-225) อย่างไรก็ตาม รูปแบบทางสถาปัตยกรรมของเรือนชาวลาวเวียงในตำบลบ้านเลือก สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มแรก คือ กลุ่มบ้านดั้งเดิมซึ่งมีอายุมากกว่า 100 ปี ซึ่งเคยมีแบบแผนของบ้านเรือนในอดีตและถูกปรับเปลี่ยนมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้บ้านแต่ละหลังมีความแตกต่างกัน แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะตามรูปแบบของหลังคา คือ เรือนหลังคาจั่วคู่ และเรือนจั่วคู่แบบขนาน

กลุ่มสอง คือ กลุ่มบ้านที่มีอายุประมาณ 40-60 ปี มีทั้งแบบที่เป็นบ้านมาจากบ้านดั้งเดิมและการย้ายตำแหน่งที่ปลูก โดยยังคงองค์ประกอบในพื้นชั้นบนของบ้านไว้ แต่ปรับระดับพื้นนอกชานให้เสมอกับระดับระเบียงและต่อเติมหลังคาจากคลุมพื้นที่นอกชานเดิม และย้ายครัวเรือนไปอยู่ใต้ถุนบ้าน สำหรับกลุ่มบ้านที่ปลูกขึ้นใหม่ จะมีลักษณะเป็นเรือนจั่วคู่หลังคาทรงมะลิลาที่มีขนาดไม่เท่ากัน โดยส่วนคลุมเรือนนอนจะมีขนาดใหญ่กว่าส่วนที่คลุมพื้นที่โถง และเรือนจั่วเดี่ยวหลังคามักมีลักษณะของความลาดเอียงต่ำ สำหรับบ้านที่ปลูกขึ้นใหม่ในพื้นที่นอกเขตของชุมชนเดิมส่วนมากเป็นเรือนหลังคาจั่วเดี่ยวที่มีความลาดชันต่ำหรือทรงบังกะโล โดยสรุปจะเห็นได้ว่า ภาพรวมของบ้านในกลุ่มนี้เกือบทั้งหมดมีลักษณะคล้ายคลึงกัน มีเพียงบางหลังที่ยังคงมียุ้งข้าว แต่ปรับเปลี่ยนการใช้งาน เช่น เป็นส่วนเก็บของหรือส่วนแต่งตัวและเก็บเสื้อผ้า ในขณะที่บางหลังมีห้องน้ำอยู่ชั้นบน (น.227-229)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

กลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง มีอัตลักษณ์ซึ่งแสดงออกถึงความเป็นตัวตนอย่างชัดเจน สะท้อนผ่านเรื่องราวทางสถาปัตยกรรมและความเชื่อ ดังเช่น ศาลปู่ตาหรือศาลปู่ตาเจ้านาย สถานที่ศักดิ์สิทธิ์กลางหมู่บ้าน ที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงบรรพบุรุษ โดยอัญเชิญดวงวิญญาณบรรพบุรุษและเจ้านายที่เคารพซึ่งยังอยู่ที่นครเวียงจันทน์ให้มาสิงสถิตเพื่อปกป้องคุ้งครองลูกหลานชาวลาวเวียงให้อยู่เย็นเป็นสุข นอกจากนี้ ยังมีศาลเจ้านายหรือศาลปู่ทุ่ง ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อปกป้องคุ้มครองไร่ นา และการทำมาหากินของลูกหลานให้พ้นจากภัยพิบัติ นอกจากนี้ อัตลักษณ์ของชาวลาวเวียงยังแทรกอยู่ในลักษณะทางสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะรูปแบบเรือนดั้งเดิมที่ปลูกสร้างจากไม้จริง มีทั้งแบบเรือนจั่วเดี่ยวและเรือนจั่วคู่ ในเรือนหลังหนึ่ง ๆ มักประกอบด้วย เรือนนอน ระเบียง นอกชาน เรือนครัว และยุ้งข้าว แต่ในปัจจุบัน บ้านเรือนของชาวลาวเวียงมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การหายไปของโครงสร้างไม้แป้นท่องและองค์ประกอบของหิ้งคุณพระหรือหิ้งผี ซึ่งสะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงด้านความเชื่อและวิถีปฏิบัติของชาวบ้าน พื้นที่นอกเปิงไม่ได้คงความหมายทางวัฒนธรรมของพื้นที่ต้องห้ามเหมือนเดิมอีกต่อไป นอกจากนี้ การจัดงานศพของชาวบ้านยังเปลี่ยนไปประกอบพิธีกรรมกันที่วัด ยุ้งข้าวถูกดัดแปลงหรือถูกรื้อถอน มีแนวโน้มว่าบ้านแต่ละหลังจะสร้างห้องน้ำเพิ่มขึ้นในชั้นบน มีการต่อเติมพื้นที่ใต้ถุนบ้านด้วยการเทคอนกรีตปิดล้อมเพื่อใช้เป็นห้องนอน รวมถึงย้ายครัวลงมาใต้ถุนบ้าน นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างบริเวณหน้าบ้านและต่อเติมหลังคาลงมาจากผนังชั้นสองเพื่อใช้พื้นที่ชั้นล่าง ทำให้ลักษณะของที่ว่างที่มีความลดหลั่นกับสภาพแวดล้อมจนกลายเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน (น.232) อย่างไรก็ตาม ชาวลาวเวียง ตำบลบ้านเลือก มักตั้งบ้านเรือนในลักษณะของการกระจุกตัวในกลุ่มเครือญาติตามบริเวณริมน้ำลำคลองและถนนของชุมชน ปัจจุบันบ้านเรือนส่วนใหญ่มีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปเหลือบ้านที่ยังคงรูปแบบดั้งเดิมกระจายกันออกไป โดยเฉพาะในบริเวณหมู่ที่ 3 ชุมชนหมู่ที่ 1 (บ้านวัดโบสถ์) และชุมชนหมู่ที่ 6 (น.225) 

Map/Illustration

- ภาพแหล่งที่ตั้งของชาวลาวเวียง (ชาวลาวหัวเมืองลาว) ในภาคกลางสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (น.219)       
- ขอบเขตและลักษณะของตำบลบ้านเลือก (น.222)
- การแบ่งหมู่ของตำบลบ้านเลือก (น.222)
- ศาลปู่ตาในบ้านขนุน หมู่ 3 (น.223)
- ศาลปู่ทุ่งในบ้านเลือก หมู่ 4 (น.223)
- การจำลองลักษณะผังเรือนในอดีตของชาวลาวเวียงในตำบลบ้านเลือก (น.225)
- ไม้แป้นท่องและการถ่ายระดับของเรือนนอนและระเบียง (น.225)
- บ้านจั่วคู่ที่มีการต่อเติมองค์ประกอบมาก (น.226)
- ผังเรือน (ซ้าย) ลักษณะภายนอกบ้านจั่วคู่แบบขนาน (กลาง - ขวา) (น.226)
- ผังเรือนชั้นบน (บนซ้าย) รูปตัดเรือน (บนขวา) บ้านจั่วเดี่ยวและมีหลังคาปีกนกด้านหน้า (เทิบ) (ล่างซ้าย) บริเวณนอกชานเดิม (ล่างขวา) (น.227)
- เรือนจั่วคู่ (น.228)
- บ้านจั่วเดี่ยว (น.228)
- การลดระดับพื้นภายในของเรือนนอนและโถง (น.229)
- ลักษณะการปิดล้อมบริเวณโถง (น.230)
- บริเวณหน้าบ้านที่มีการยกหลังคาสูงสองชั้นในบ้านพื้นถิ่นของชาวลาวเวียงที่มีการขยับขยายออกมาจากพื้นที่ชุมชนในหมู่ 1 (น.230)
- การต่อเติมหลังคาบริเวณหน้าบ้านเพื่อทำการค้าในหมู่ที่ 1 (น.231)  

Text Analyst สุธาสินี บุญเกิด Date of Report 11 ม.ค. 2566
TAG บ้านพื้นถิ่น, ลาวเวียง, บ้านเลือก, แบบแผนของที่ว่าง, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง